Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 19 เม.ย.2008, 4:47 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)


๏ พระศาสนกิจในต่างประเทศ

เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ก็ได้ทรงปฏิบัติพระกรณียะต่างๆ
มาแต่ครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสาสนโสภณ
เช่น การจัดให้มีการเทศน์เป็นภาษาอังกฤษ
จัดให้มีการสอนกรรมฐานแก่ชาวต่างประเทศ
และจัดให้มีการสนทนาธรรมแก่ชาวต่างประเทศเป็นประจำ
(ทุกวันจันทร์ วันพุธ และวันศุกร์)

โดย เจ้าพระคุณสมเด็จฯ เป็นผู้ดำเนินการเองร่วมกับพระภิกษุไทย
และพระภิกษุชาวต่างประเทศที่บวชอยู่ วัดบวรนิเวศวิหาร
นอกจากนี้ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ยังได้เสด็จไปปฏิบัติศาสนกิจ
เกี่ยวกับการพระศาสนาในต่างประเทศอีกหลายคราว คือ

• พ.ศ. ๒๕๐๙

ในฐานะประธานกรรมการอำนายการฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ
ได้เสด็จไปเป็นประธานสงฆ์
ในพิธีเปิดวัดพุทธประทีป กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ฯ พระบรมราชินีนาถ
เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิด
เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๙

การเสด็จไปประเทศอังกฤษ คราวนี้
ก็เป็นโอกาสให้ได้ดูกิจการพระธรรมทูต
และการพระศาสนาในประเทศนั้น
และในประเทศอิตาลีในขากลับประเทศไทยอีกด้วย

• พ.ศ. ๒๕๑๐

ในฐานะกรรมการมหาเถรสมาคม ได้ตามเสด็จ
สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายี) วัดมกุฏกษัตริยาราม
ซึ่งเสด็จเยือนประเทศศรีลังกาอย่างเป็นทางการ
ตามคำทูลอาราธนาของรัฐบาลศรีลังกา
เพื่อเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างศาสนิกชนแห่งประเทศทั้งสอง

และเป็นการตอบแทนไมตรีของรัฐบาลไทย
ที่ได้นิมนต์พระมหานายกะของสยามวงศ์นิกายแห่งลังกา
มาเยือนประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๙

• พ.ศ. ๒๕๑๑

เสด็จไปดูการพระศาสนา วัฒนธรรม และการศึกษาทั่วไป
ในประเทศอินโดนีเซีย ออสเตรเลีย และฟิลิปปินส์
ในฐานะประธานสภาการคึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย
โดยอนุมัติของมหาเถรสมาคม
พร้อมด้วย พระเทพกวี (ประยูร สนฺตงฺกุโร ป.ธ. ๙)
(สมณศักดิ์สุดท้ายที่ สมเด็จพระญาณวโรดม)
เลขาธิการสภาการศึกษาฯ ในขณะนั้น

เนื่องจากการเดินทางครั้งนี้
ผลปรากฏว่าต่อมาได้มีการติดต่อกับหัวหน้าชาวพุทธไปประเทศอินโดนีเซีย
และได้วางโครงการร่วมกันในอันที่จะฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศนั้น
สุดท้ายหัวหน้าชาวพุทธในประเทศอินโดนีเซียได้เดินทางเข้ามาประเทศไทย
เจรจากับ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ
ในฐานะประธานกรรมการอำนวยการฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ
ขอพระธรรมทูตไทยออกไปช่วยฟื้นฟูพุทธศาสนาในประเทศอินโดนีเซีย

กรมการศาสนาร่วมกับสำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ
จึงได้คัดเลือกพระธรรมทูตไทย ๔ รูป เสนอ มหาเถรสมาคม
ส่งออกไปปฏิบัติศาสนกิจช่วยฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศนั้น
พระธรรมทูตชุดแรกออกไปเมื่อวันที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๒
และพระธรรมทูตชุดนี้ปฏิบัติศาสนกิจอยู่ในประเทศนี้ถึง ๑๐ ปีเศษ

สำหรับประเทศออกเตรเลียนั้น
ปรากฏว่ามีผู้นับถือและสนใจพระพุทธศาสนาอยู่เป็นจำนวนมาก
มีความประสงค์ให้มีพระสงฆ์อยู่
เพื่อประกาศพระพุทธศาสนาในประเทศนั้นด้วย

เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ในฐานะผู้อำนวยการมหามกุฏราชวิทยาลัย
จึงได้เสนอเรื่องการจัดตั้งสำนักสงฆ์ไทยในออสเตรเลีย
ต่อคณะกรรมการมหามกุฏราชวิทยาลัย และผู้ที่เกี่ยวข้อง
ก็ได้รับความเห็นชอบ และจัดตั้งสำนักสงฆ์ไทยขึ้นในประเทศนั้น
ในความอุปการะของ มหามกุฏราชวิทยาลัย

และได้จัดส่งพระภิกษุไทยร่วมกับพระภิกษุชาวต่างประเทศ
(ซึ่งบวชอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร) ออกไปปฏิบัติศาสนกิจเป็นครั้งแรก
เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๑๖ และต่อมาก็ได้จัดตั้งวัดขึ้น
และประกอบพิธีเปิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๘

Image

• พ.ศ. ๒๕๑๓

เสด็จไปประเทศอินโดนีเซียอีกครั้งหนึ่ง
ตามคำอาราธนาของหัวหน้าพระธรรมทูตไทย
และ พระชินรักขิตเถระ หัวหน้าพุทธศาสนิกชนชาวอินโดนีเซีย

เพื่อให้การบรรพชาอุปสมบทแก่กุลบุตรชาวอินโดนีเซีย ๗ คน
พร้อมด้วย พระธรรมโสภณ (สนธิ์ กิจฺจกาโร)
(ภายหลังเลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเป็นที่ พระญาณวโรดม
รองเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร)

การเดินทางไปประเทศอินโดนีเซียครั้งนี้
เป็นโอกาสให้ได้สังเกตการณ์เกี่ยวกับความเป็นอยู่
วัฒนธรรม และความเป็นไปของพระพุทธศาสนาในประเทศนั้น

พระขนฺติปาโล ได้บันทึกการเดินทางเล่าถึงสิ่งที่พบเห็น
และข้อคิดเห็นบางประการไว้อย่างน่าสนใจ
หนังสือเล่มนี้พิมพ์เผยแพร่เป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๔

Image
พระญาณวโรดม (สนธิ์ กิจฺจกาโร)


(มีต่อ ๒๐)
 

_________________
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 19 เม.ย.2008, 4:47 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)


• พ.ศ. ๒๕๑๔

ในฐานะประธานสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย
เสด็จไปดูการศาสนาและการศึกษา
ในประเทศปากีสถาน เนปาล และอินเดีย
พร้อมด้วย พระเทพกวี (ประยูร สนฺตงฺกุโร ป.ธ. ๙)
(สมณศักดิ์สุดท้ายที่ สมเด็จพระญาณวโรดม)
เลขาธิการสภาการศึกษาฯ ในขณะนั้น

ในโอกาสเดียวกัน ก็ได้รับอนุมัติจาก มหาเถรสมาคม
ให้เป็นผู้แทนของคณะสงฆ์ไทยไปเยี่ยมเยียนพระสงฆ์
และวัดพระพุทธศาสนาในประเทศปากีสถานตะวันออก
และนำสาส์นของ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายี)
ถึงพุทธศาสนิกชนชาวปากีสถานตะวันออก

Image
สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายี)


พร้อมทั้งนำเอาวัสดุสิ่งของต่างๆ และกัปปิยภัณฑ์จำนวนหนึ่ง
ซึ่งทางคณะสงฆ์ไทยได้จัดหามาไปมอบแก่
พระภิกษุสามเณรและชาวพุทธในประเทศปากีสถานตะวันออก
ที่ประสบวาตภัยครั้งใหญ่ในคราวนั้นด้วย

เมื่อกลับจากการเดินทางครั้งนั้นแล้ว
ก็ได้ทำรายงานเสนอมหาเถรสมาคม
ทำให้คณะสงฆ์ได้ทราบถึงความเป็นไปของพระพุทธศาสนาในประเทศนั้นๆ
ซึ่งกำลังต้องการความช่วยเหลือในการฟื้นฟู

และทำให้คณะสงฆ์เห็นชอบด้วยกับความดำริของคณะสงฆ์เนปาล
ซึ่งจะฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศนั้น
และยินดีสนองความต้องการของคณะสงฆ์เนปาล

ในขั้นแรกนี้สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย
ได้เสนอให้ทุนการศึกษาจำนวน ๒ ทุน
สำหรับให้พระภิกษุสามเณรชาวเนปาล
เข้ามาศึกษาพระพุทธศาสนาในประเทศไทย

ต่อมาคณะสงฆ์เนปาลก็ได้คัดเลือกสามเณร ๒ รูป
ส่งเข้ามาศึกษาในประเทศไทย โดยพักอยู่ที่ วัดบวรนิเวศวิหาร
เข้าศึกษาที่สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย ในหลักสูตรพิเศษ ๓ ปี
สำหรับพระภิกษุและสามเณรชาวต่างประเทศ

• พ.ศ. ๒๕๑๘

เสด็จไปเป็นประธานสงฆ์ในพิธีเปิด วัดพุทธรังษี สแตนมอร์
ณ นครซิดนีย์ รัฐนิวเซ้าท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย

ซึ่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ฯ สยามมกุฏราชกุมาร
เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีเปิด
และทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวิสาขบูชา
ระหว่างวันที่ ๒๒ พฤษภาคม-๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๘

• พ.ศ. ๒๕๒๐

เสด็จไปบรรพชากุลบุตรชาวอินโดนีเซียจำนวน ๔๓ คน
ณ เมืองสมารัง ประเทศอินโดนีเซีย
ตามคำอาราธนาของคณะสงฆ์สังฆเถรวาทอินโดนีเซีย
ได้เสด็จไปเยี่ยมชมกิจการพระศาสนา ณ ประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์

ขากลับทรงแวะเยี่ยมชมการพระศาสนา ณ ประเทศสิงคโปร์ ด้วย
ระหว่างวันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๐-๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๑

• พ.ศ. ๒๕๒๓

เสด็จไปร่วมประชุม สหพันธ์คีตาอาศรมสากล
ในฐานะที่ทรงเป็นพระอาคันตุกิเศษ ณ ประเทศอินเดีย

เมื่อทรงเสร็จภารกิจที่ประเทศอินเดียแล้ว
ได้เสด็จไปเยี่ยมชมกิจการพระศาสนา ณ ประเทศเนปาล อีกครั้งหนึ่ง
ระหว่างวันที่ ๑๑-๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๓

ในศกเดียวกัน เสด็จไปทรงดูกิจการพระศาสนา
ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศยุโรป
ตามคำอาราธนาของบริษัท ศรีกรุงวัฒนา จำกัด

พร้อมด้วย พระธรรมดิลก (ปุญฺญาราโม วิชมัย บุญมาก)
(สมณศักดิ์สุดท้ายที่ พระพรหมมุนี)
ระหว่างวันที่ ๓ เมษายน-๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๓

• พ.ศ. ๒๕๒๘

เป็นประธานคณะสงฆ์พร้อมด้วยพระสงฆ์อีก ๑๙ รูป
จากประเทศไทยไปทรงประกอบพิธีผูกพัทธสีมาพระอุโบสถ
วัดจาการ์ตาธรรมจักรชัย ณ ประเทศอินโดนีเซีย
ตามคำอาราธนาของคณะสงฆ์เถรวาทอินโดนีเซีย

เป็นการผูกพัทธสีมาพระอุโบสถวัดพระพุทธศาสนาเถรวาท
เป็นครั้งแรกในประเทศอินโดนีเซียนั้น

ระหว่างวันที่ ๒๒-๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๘

ในศกเดียวกัน เสด็จพร้อมด้วยคณะสงฆ์จากประเทศไทย
ไปเป็นประธานบรรพชากุลบุตรศากยะแห่งเนปาล
จำนวน ๗๓ คน ณ กรุงกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล
ตามคำอาราธนาของคณะสงฆ์เนปาล
ระหว่างวันที่ ๒๓-๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๘

• พ.ศ. ๒๕๓๖

เสด็จเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการ
ตามคำกราบทูลอาราธนาของรัฐบาลจีน
โดยได้เสด็จเยือนเมืองต่างๆ คือ
ปักกิ่ง ซีอาน คุนหมิง และสิบสองปันนา
ระหว่างวันที่ ๒๐ มิถุนายน-๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๖

นับเป็นการเจริญศาสนสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
เป็นทางการเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์
แห่งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสอง


• พ.ศ. ๒๕๓๘

เสด็จไปทรงเป็นประธานวางศิลาฤกษ์
วัดไทยลุมพินี ณ เมืองลุมพินี ประเทศเนปาล
ซึ่งรัฐบาลไทยได้จัดสร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา
และเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เนื่องในวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี
ระหว่างวันที่ ๑๘-๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๘


(มีต่อ ๒๑)
 

_________________
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 19 เม.ย.2008, 4:48 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ


๏ การสาธารณูปการ

นับแต่ทรงเป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร
ได้ทรงบูรณะซ่อมแซมเสนาสนะและถาวรวัตถุต่างๆ ภายในวัด
ตลอดถึงการก่อสร้างถาวรวัตถุอันเป็นสาธารณประโยชน์
ในที่อื่นๆ ภายนอกวัดบวรนิเวศวิหาร อีกเป็นจำนวนมาก

ถาวรวัตถุที่สร้างขึ้นใหม่ในวัดบวรนิเวศวิหารคือ

๑. ตึกกวีบรรณาลัย ห้องสมุดของสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย
๒. ตึกวชิรญาณวงศ์ อาคารเรียนของวัดบวรนิเวศ
๓. ซุ้มปรางที่ประดิษฐานพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๔ บนลานประทักษิณชั้นที่ ๒ ของพระเจดีย์ใหญ่
๔. กุฏิหลวงเจริญฤทธิศาสตร์ ในคณะเหลืองรังษี
๕. กุฏิพระนิกรบดี คณะเขียวรังษี
๖. ตึก ภ.ป.ร. พิพิธภัณฑ์วัดบวรนิเวศวิหาร
๗. กุฏิคุณหญิงจี๊ด สัตยานุรักษ์ ในคณะเหลืองรังษี
๘. กุฏิรามเดชะ ในคณะสูง
๙. ถังน้ำบ่อบาดาล พร้อมติดตั้งนาฬิกาไฟฟ้าและระฆัง ข้างตึกมนุษยนาควิทยาทาน
๑๐. อาคารกิจกรรม หลังตึกวชิรญาณวงศ์ โรงเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร
๑๒. มณฑปที่ประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง หลังพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร
๑๓. โพธิฆระ (เรือนโพธิ์) หลังพระวิหารพระศาสดา
๑๔. ศาลาวชิรญาณ วัดบวรนิเวศวิหาร ๑๕๐ ปี
๑๕. ศาลาหน้าศาลาวชิรญาณ
๑๖. กุฏิตึกหน้ากุฏิใหญ่คณะเขียวรังษี

Image
ตึกวชิรญาณสามัคคีพยาบาร ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย


ส่วนเสนาสนะและถาวรวัตถุอื่นๆ ภายในวัดบวรนิเวศวิหาร
ก็ได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่หมดทั้งพระอาราม ที่สำคัญคือ


๑. ปิดทองเจดีย์ใหญ่ด้วยโมเสกสีทองตลอดทั้งองค์
๒. ประดับหินอ่อนพระอุโบสถตลอดทั้งหลัง

การก่อสร้างถาวรวัตถุอื่นๆ ภายนอกวัด
ตลอดถึงการอุปถัมภ์การก่อสร้างวัดต่างๆ นั้นก็มีจำนวนมาก ที่สำคัญคือ


Image
ป้ายชื่อตรงปากทางเข้าวัดญาณสังวราราม อ.บางละมุง จ.ชลบุรี


๑. สร้างตึกวชิรญาณวงศ์ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
สำหรับเป็นตึกสงฆ์และใช้ประโยชน์ทางการแพทย์
๒. สร้างตึกวชิรญาณสามัคคีพยาบาร ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
สำหรับเป็นตึกสงฆ์และใช้ประโยชน์ทางการแพทย์
๓. ทรงอุปถัมภ์การสร้างวัดล้านนาสังวราราม อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
๔. ทรงสร้างวัดสันติคีรี ณ ดอยแม่สลอง บ้านสันติคีรี
ตำบลแม่สลองนอก อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย
๕. ทรงอุปถัมภ์การสร้างโรงเรียนมัธยมญาณสังวร อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร
๖. ทรงอุปถัมภ์การสร้างวัดรัชดาภิเษก อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี
๗. ทรงอุปถัมภ์การสร้างวัดพุมุด อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี
๘. สร้างวัดญาณสังวราราม ตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี

Image
อาคารสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา อ.เมือง จ.กาญจนบุรี



๙. สร้างโรงเรียน และโรงพยาบาลสมเด็จพระปิยะมหาราชรมณียเขต
ตำบลไทรโยค อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี
๑๐. ทรงอุปถัมภ์การสร้างตึก ภ.ป.ร.
(ตึกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย)
๑๑. ทรงอุปถัมภ์การสร้างโรงพยาบาลวัดญาณสังวราราม
ตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
๑๒. ทรงจัดสร้างพระบรมธาตุเจดีย์ศรีนครินทรามหาสันติคิรี
ณ ดอยแม่สลอง ตำบลแม่สลองนอก อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย

Image
ตึกวชิรญาณวงศ์ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย


นอกจากนี้ ก็ยังทรงอุปถัมภ์การก่อสร้างวัดในต่างประเทศอีกหลายแห่งคือ

๑. วัดพุทธรังษี สแตนมอร์ ณ นครซิดนีย์ รัฐนิวเซ้าท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย
ในความอุปถัมภ์ของมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๕ และเปิดวัดเป็นทางการเมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๘
๒. วัดจาการ์ตาธรรมจักรชัย ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
เริ่มก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๕ และผูกพัทธสีมาเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๘
๓. พระอุโบสถวัดนครมณฑปศรีกีรติวิหาร
ณ เมืองกิรติปูร กรุงกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล
วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๑
๔. วัดแคโรไลนาพุทธจักรวนาราม
ณ เมืองโบลิเวีย รัฐแคโรไลนาเหนือ ประเทศสหรัฐอเมริกา
ก่อตั้งเมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๑

Image
พระอุโบสถวัดนครมณฑปศรีกีรติวิหาร ณ เมืองกิรติปูร ประเทศเนปาล


(มีต่อ ๒๒)
 

_________________
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 19 เม.ย.2008, 4:48 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
พระพุทธคยาเจดีย์ วัดญาณสังวราราม อ.บางละมุง จ.ชลบุรี

Image
พระบรมธาตุเจดีย์มหาจักรีพิพัฒน์ วัดญาณสังวราราม อ.บางละมุง จ.ชลบุรี

Image
สะพานสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร อ.เมือง จ.กาญจนบุรี

Image
วัดพุทธรังษี สแตนมอร์ ณ นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย

Image
พิพิธภัณฑ์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
ประดิษฐาน ณ วัดประดู่ ต.วัดประดู่ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม
ภายในพิพิธภัณฑ์ฯ สามารถใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมได้



“พิพิธภัณฑ์สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก”

สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๘ มีลักษณะเป็นทรงไทย ๒ ชั้น ๔
หลังคาแฝด ชั้นบนเป็นไม้สักทองฝาสกล สร้างขึ้นเพื่อเป็นการรำลึกถึง
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
เมื่อครั้งเสด็จทรงเยี่ยมวัดประดู่ เมื่อวันที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๘
แล้วได้เสด็จทอดพระเนตร “พิพิธภัณฑ์เครื่องราชศรัทธา
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕”



(มีต่อ ๒๓)
 

_________________
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 19 เม.ย.2008, 4:48 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)


๏ การสาธารณสงเคราะห์

เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้ทรงบำเพ็ญพระกรณียกิจเป็นสาธารณสงเคราะห์
เพื่อสุขประโยชน์ของสาธารณชนเป็นเอนกประการ
ทั้งในด้านการศึกษา ด้านการสาธารณสุข และด้านสาธารณประโยชน์อื่นๆ

เป็นต้นว่า ประทานทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่ขาดแคลน
ทั้งในโรงเรียนในกรุงเทพมหานคร และโรงเรียนในต่างจังหวัดจำนวนมาก

ทรงจัดสร้างสถานศึกษา เช่น
โรงเรียนสมเด็จพระปิยะมหาราชรมณียเขต
อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี
เป็นต้น
เพื่ออำนวยให้เยาวชนมีที่ศึกษาเล่าเรียนได้โดยสะดวก

ทรงจัดสร้างโรงพยาบาล
สำหรับเป็นที่รักษาพยาบาลทั้งแก่ประชาชนทั่วไป
และพระภิกษุสามเณรอาพาธ เช่น
โรงพยาบาลวัดญาณสังวราราม อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
โรงพยาบาลสมเด็จพระปิยะมหาราชรมณียเขต
อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี
เป็นต้น

ที่นับว่าสำคัญก็คือเมื่อวันที่ ๒๓ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๔๒
ทรงพระดำริให้จัดสร้าง “ตึกสกลมหาสังฆปริณายก”
สำหรับสงฆ์อาพาธในโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร
เพื่อถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระสังฆราช
แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ทุกพระองค์ รวม ๑๙ พระองค์


ในถิ่นที่ขาดแคลนสถานพยาบาล
กระจายไปในจังหวัดต่างๆ ทุกภาคของประเทศ

พร้อมทั้งโปรดให้สร้างพระรูปของสมเด็จพระสังฆราชทั้ง ๑๙ พระองค์
ประดิษฐานไว้เป็นที่สักการบูชาประจำโรงพยาบาล
ที่สร้างถวายเป็นพระอนุสรณ์แต่ละแห่ง
และเป็นที่สักการบูชาของพุทธศาสนิกชนสืบไป ดังนี้

“ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ๑”
ณ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระอริยวงษญาณ
สมเด็จพระสังฆราช (ศรี) วัดระฆังโฆสิตาราม

“ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ๒”
ณ โรงพยาบาลละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์
ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระอริยวงษญาณ
สมเด็จพระสังฆราช (ศุข) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์

“ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ๓”
ณ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชจอมบึง จังหวัดราชบุรี
ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระอริยวงษญาณ
สมเด็จพระสังฆราช (มี) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์

“ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ๔”
ณ โรงพยาบาลเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี
ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระอริยวงษญาณ
สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์

“ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ๕”
ณ โรงพยาบาลแม่จัน จังหวัดเชียงราย
ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระอริยวงษญาณ
สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์

“ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ๖”
ณ โรงพระปริยัติธรรมวัดพระบาทมิ่งเมือง จังหวัดแพร่
ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระอริยวงษญาณ
สมเด็จพระสังฆราช (นาค) วัดราชบุรณะ

“ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ๗”
ณ โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่
ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
(พระองค์เจ้าวาสุกรี) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

“ตึกสกลมหาสังปริณายก ๘”
ณ โรงพยาบาลหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี
ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
(พระองค์เจ้าฤกษ์ ปญฺญาอคฺโค) วัดบวรนิเวศวิหาร

“ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ๙”
ณ โรงพยาบาลชลบุรี จังหวัดชลบุรี
ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช
(สา ปุสฺสเทโว) วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม

“ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ๑๐”
ณ โรงพยาบาลนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร
ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
(พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ) วัดบวรนิเวศวิหาร

“ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ๑๑”
ณ โรงพยาบาลนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
(หม่อมเจ้าภุชงค์ ชมพูนุท) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม

“ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ๑๒”
ณ โรงพยาบาลขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช
(แพ ติสฺสเทโว) วัดสุทัศน์เทพวราราม

“ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ๑๓”
ณ โรงพยาบาลสมเด็จพระญาณสังวร อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย
ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
(ม.ร.ว.ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต) วัดบวรนิเวศวิหาร

“ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ๑๔”
ณ โรงพยาบาลอ่าวลึก จังหวัดกระบี่
ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช
(ปลด กิตฺติโสภโณ) วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม

“ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ๑๕”
ณ โรงพยาบาลตราด จังหวัดตราด
ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช
(อยู่ ญาโณทโย) วัดสระเกศ

“ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ๑๖”
ณ โรงพยาบาลภูกระดึง จังหวัดเลย
ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช
(จวน อุฏฐายี) วัดมกุฏกษัตริยาราม

“ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ๑๗”
ณ โรงพยาบาลลานสะกา จังหวัดนครศรีธรรมราช
ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช
(ปุ่น ปุณฺณสิริ) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

“ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ๑๘”
ณ โรงพยาบาลไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช
(วาสน์ วาสโน) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม

“ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ๑๙”
ณ โรงพยาบาลท่าม่วง อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี
ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช
(เจริญ สุวฑฺฒโน) วัดบวรนิเวศวิหาร


Image
โรงพยาบาลท่าม่วง อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี


(มีต่อ ๒๔)
 

_________________
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 19 เม.ย.2008, 4:49 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)


๏ พระนิพนธ์

ทางด้านงานพระนิพนธ์ หรือตำรับตำรานั้น
เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ก็ได้เริ่มเกี่ยวข้องมาตั้งแต่ยังทรงเป็นพระเปรียญ
โดยการเป็นเจ้าหน้าที่แผนกตำราของมหามกุฏราชวิทยาลัย
และเป็นเจ้าหน้าที่หนังสือธรรมจักษุ เป็นต้น

ได้เรียบเรียงเรื่องต่างๆ ไว้มาก
บางเรื่องก็ได้พิมพ์ออกเผยแพร่มาแล้วหลายครั้ง
บางเรื่องก็ยังไม่เคยได้พิมพ์เผยแพร่
กล่าวเฉพาะเรื่องที่เคยพิมพ์มาแล้ว
ซึ่งอาจแบ่งออกได้เป็นประเภท ดังนี้

Image

ประเภทตำรา

พ.ศ. ๒๔๙๒ เรียบเรียงอธิบายวากยสัมพันธ์ ภาค ๑-๒
เป็นหนังสืออธิบายบาลีไวยากรณ์
สำหรับใช้เป็นหนังสือประกอบการศึกษาของนักเรียนบาลี

และ พ.ศ. ๒๕๑๒ ทรงเป็นผู้อำนายการในการจัดทำปทานานุกรม
บาลี ไทย อังกฤษ และสันสกฤต
ฉบับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาท

ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้พิมพ์ขึ้นในงานทำบุญอายุ ๖๐ ปี ของหม่อมหลวงบัว กิตติยากร
พระชนนีของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๒

Image

ประเภททั่วไป

เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้ทรงเรียบเรียงไว้มาก เช่น
๑. แนวความเชื่อ
๒. บัณฑิตกับโลกธรรม
๓. บวชดี
๔. การนับถือพระพุทธศาสนา
๕. คำกลอนนิราศสังขาร
๖. บุพพการี-กตัญญูกตเวที
๗. อาหุเนยโย
๘. ตำนานวัดบวรนิเวศวิหาร (เล่ม ๒)
๙. หลักพระพุทธศาสนา
๑๐. พระพุทธเจ้าของเรานั้นท่านเลิศล้ำ
๑๑. แนวปฏิบัติในสติปัฏฐาน
๑๒. ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า
๑๓. พระพุทธเจ้าสั่งสอนอะไร ไทย-อังกฤษ
๑๔. วิธีปฏิบัติตนให้ถูกต้องทางธรรมะ
๑๕. ศีล ไทย-อังกฤษ
๑๖. เรื่องกรรม
๑๗. สันโดษ
๑๘. อวิชชา
๑๙. หลักธรรมสำหรับการปฏิบัติอบรมทางจิต
(ทางลม-อาหารใจ-ปริญญา-บันทึกกรรมฐาน)
๒๐. พระพุทธศาสนากับสังคมไทย
๒๑. การบริหารจิตสำหรับผู้ใหญ่

(เริ่มแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๒ รวมพิมพ์เป็นเล่มใหญ่เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๕
โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์
เนื่องในพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลฉลองพระชนมายุครบ ๗๒ พรรษา
ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๕)

Image


(มีต่อ ๒๕)
 

_________________
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 19 เม.ย.2008, 4:49 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
‘พระรูปเขียนสี’ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)


ประเภทพระธรรมเทศนา

เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้ทรงเรียบเรียงไว้มาก และพิมพ์เป็นเล่มแล้ว
เช่น ปัจคุณ ๕ กัณฑ์ ทษพลญาณเทศนา ๑๐ กัณฑ์
มงคลเทศนาถึงมงคลคาถาที่ ๖ โอวาทปาฏิโมกข์เทศนา ๓ กัณฑ์
สังฆคุณ ๙ กัณฑ์ พระมงคลวิเสสกถา
และพระธรรมเทศนาในการพระราชกุศล รวม ๑๐๙ กัณฑ์ เป็นต้น

ประเภทริเริ่มให้มีการรวบรวมและแปล

เนื่องในการจัดงานมหาสมณานุสรณ์ครบ ๕๐ ปี นับแต่วันสิ้นพระชนม์ของ
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
ได้ทรงดำริให้รวบรวมพระนิพนธ์เรื่องต่างๆ
ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้าพระองค์นั้น
อันนอกเหนือไปจากที่ใช้เป็นหลักสูตรนักธรรมชั้นตรี โท เอก อยู่แล้ว
ซึ่งบางเรื่องนั้นยังไม่เคยพิมพ์เผยแพร่มาก่อน
และบางเรื่องเคยพิมพ์แล้วแต่หายาก หรือกระจัดกระจายอยู่
ให้เป็นหมวดหมู่ตามประเภท เป็นหนังสือขนาดใหญ่
(เท่าที่พิมพ์เสร็จแล้วในขณะนั้น) ๑๗ เล่ม
โดยมหามกุฏราชวิทยาลัยฯ เป็นผู้จัดพิมพ์เผยแพร่

และต่อมาเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๑๕
ทางวัดได้จัดงานวชิรญาณวงศานุสรณ์ครบ ๑๐๐ ปี
นับแต่วันที่ประสูติของ
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
ได้ทรงดำริให้รวบรวมพระนิพนธ์ของสมเด็จพระสังฆราชเจ้าพระองค์นั้น
พิมพ์ขึ้นเป็นหนังสือชุดรวม ๖ เล่ม
โดยมหามกุฏราชวิทยาลัยเป็นผู้จัดพิมพ์เผยแพร่เช่นเดียวกัน

และได้ให้มหามกุฏราชวิทยาลัยฯ จัดรวบรวมและพิมพ์พระราชนิพนธ์
ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ออกเผยแพร่ด้วย
โดยจัดพิมพ์เป็นหนังสือชุดแบ่งตามประเภทของเรื่อง
ขณะนี้ได้จัดพิมพ์แล้ว ๔ เล่ม (ส่วนที่เหลือจะจัดพิมพ์ต่อไป)

Image
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ)
ทรงฉายเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๔ ซึ่งเป็นปีสุดท้ายแห่งพระชนมชีพ



นอกจากนี้ ยังได้ให้รวบรวมประวัติวัดบวรนิเวศวิหาร
จัดพิมพ์ออกเผยแพร่ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษด้วย


ในด้านการริเริ่มในการแปลตำราภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษนั้น
เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ก็ได้จัดให้พระภิกษุไทยร่วมกับพระภิกษุชาวต่างประเทศ
ที่บวชจำพรรษาอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหารช่วยกันแปลหนังสือขึ้น
เป็นคู่มือในการศึกษาพระพุทธศาสนา

ซึ่งเป็นพระนิพนธ์ของ
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
เป็นภาษาอังกฤษหลายเล่ม เช่น

๑. นวโกวาท ซึ่งเป็นหนังสือหลักในการศึกษาพระวินัยของพระภิกษุ
๒. วินัยมุข เล่ม ๑-๓ ซึ่งเป็นหนังสืออธิบายขยายความนวโกวาทให้เข้าใจง่ายขึ้น
๓. พุทธประวัติ เล่ม ๑-๒-๓ เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังได้ทรงริเริ่มให้มีการแปลหนังสือพุทธศาสนาที่สำคัญๆ
จากภาษาไทยเป็นภาษาต่างประเทศ
เพื่อเป็นการเผยแพร่และเป็นคู่มือการศึกษาพระพุทธศาสนา
สำหรับชาวต่างประเทศอีกเป็นจำนวนมาก

เช่น หนังสือภิกขุปาติโมกข์ อุปสมบทวิธี ทำวัตรสวดมนต์ เป็นต้น
แล้วโปรดให้มหามกุฏราชวิทยาลัยฯ จัดพิมพ์เผยแพร่

ในระยะเดียวกันนี้
โปรดให้จัดตั้งแผนกจำหน่ายหนังสือพระพุทธศาสนาต่างประเทศ
ของมหามกุฏราชวิทยาลัยฯ ขึ้นด้วย

เพื่อให้เป็นศูนย์หนังสือทางพระพุทธศาสนา
สำหรับชาวต่างประเทศที่สนใจจะศึกษาพระพุทธศาสนา
ตลอดถึงชาวไทยที่ต้องการหนังสือพระพุทธศาสนา
ในภาษาต่างประเทศไว้ประกอบการศึกษา
ซึ่งได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๑๒
และเจริญก้าวหน้ามาด้วยดีจวบจนทุกวันนี้

Image
ตึกมนุษยนาคมานพวิทยาทาน ณ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ


(มีต่อ ๒๖)
 

_________________
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 21 เม.ย.2008, 1:42 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)


๏ ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์

• พ.ศ. ๒๕๒๙

มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ถวายปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาปรัชญา

• พ.ศ. ๒๕๓๒

มหาวิทยาลัยมหิดล
ถวายปริญญาอักษรศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาศาสนาเปรียบเทียบ

• พ.ศ. ๒๕๓๓

มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งคณะสงฆ์ไทย
ถวายปริญญาพุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์

• พ.ศ. ๒๕๓๗

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ถวายปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา

• พ.ศ. ๒๕๓๘

มหาวิทยาลัยนเรศวร
ถวายปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการบริหารการศึกษา

• พ.ศ. ๒๕๓๙

มหาวิทยาลัยศรีนครินทราวิโรฒ
ถวายปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์

• พ.ศ. ๒๕๔๑

มหาวิทยาลัยขอนแก่น ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาภาษาไทย

• พ.ศ. ๒๕๔๓

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ถวายปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์

• พ.ศ. ๒๕๔๕

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ถวายปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์

Image
ภาพทรงฉายร่วมกับคณะสงฆ์ของวัดบวรนิเวศวิหาร
เนื่องวันวันคล้ายวันประสูติ ๙๒ พรรษา เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๘



๏ ตำแหน่งหน้าที่ในปัจจุบัน

๑. เป็นประธานกรรมการมหาเถรสมาคม
๒. เป็นเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต
๓. เป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร
๔. รักษาการเจ้าอาวาสวัดญาณสังวราราม ในพระบรมราชูปถัมภ์
๕. เป็นนายกสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย
๖. เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนพระสังฆาธิการคณะธรรมยุต
๗. เป็นประธานคณะกรรมการอำนวยการจัดสร้างพุทธมณฑลฝ่ายสงฆ์
๘. เป็นประธานคณะกรรมการจัดงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา
เนื่องในเทศกาลวันวิสาขบูชา
๙. เป็นนายกกรรมการมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
๑๐. เป็นประธานกรรมการมูลนิธิพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย
๑๑. เป็นประธานกรรมการมูลนิธิวัดญาณสังวราราม ในพระบรมราชูปถัมภ์

Image
เนื่องในมงคลวโรกาสคล้ายวันประสูติ ๙๕ พรรษา
สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน) วันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๑



(มีต่อ ๒๗)
 

_________________
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 21 เม.ย.2008, 1:46 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

๏ ชีวิตและปฏิปทาแบบอย่าง

ชีวิตของ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ นั้น
ก็ไม่แตกต่างไปจากชีวิตของคนทั่วๆ ไป
คือมีทั้งผิดหวังและสมหวัง มีทั้งสำเร็จและล้มเหลว มีทั้งดีใจและเสียใจ

แต่โดยที่ทรงมีคุณธรรมหลายประการ
ที่โดดเด่นเป็นแกนหรือเป็นแก่นของชีวิต
ชีวิตของพระองค์จึงมีความสมหวังมากกว่าผิดหวัง
มีความสำเร็จมากกว่าความล้มเหลว
และมีความดีใจมากกว่าเสียใจ

กล่าวโดยรวมก็คือ ด้วยคุณธรรมอันเป็นแกนของชีวิตดังกล่าว
พระองค์จึงทรงประสบความสำเร็จ
หรือทรงเจริญก้าวหน้าไปตามครรลองของชีวิตจนถึงที่สุด
ดังเป็นที่ปรากฏอยู่ในบัดนี้


หากวิเคราะห์ตามที่ปรากฏในพระประวัติ
ก็จะเห็นได้ว่าพระคุณธรรมที่โดดเด่นในชีวิตของพระองค์ก็คือ
• อดทน
• ใฝ่รู้
• กตัญญู
• ถ่อมตน
• คารวธรรม

Image

ความอดทน (ขันติ : พระคุณธรรมประการแรก)

ที่ปรากฏเด่นชัดในชีวิตของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ก็คือ ความอดทน (ขันติ)
เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงมีพระสุขภาพอ่อนแอไม่แข็งแรงมาตั้งเยาว์วัย
และมีผลสืบเนื่องมาจนถึงเมื่อทรงบรรพชาเป็นสามเณร

พระสุขภาพที่อ่อนแอนับเป็นอุปสรรคสำคัญของการศึกษาเล่าเรียน
พระองค์ต้องทรงใช้ความอดทนอย่างหนัก
จึงสามารถผ่านพ้นอุปสรรคแต่ละขั้นตอนมาได้
ทรงเล่าว่า บางครั้งเมื่อถึงเวลาสอบ
ต้องทรงใช้ผ้าสักหลาดพันรอบอกหลายชั้น
เพื่อไม่ให้เกิดอาการหนาวสั่นในเวลานั่งสอบ

นอกจากจะต้องอดทนต่อความไม่สมบูรณ์ของร่างกายแล้ว
ยังต้องงอดทนต่อเสียงค่อนแคะของเพื่อนร่วมสำนักอีกนานัปการ

แต่สิ่งเหล่านี้แทนที่จะทำให้กำลังพระทัยลดน้อยลง
แต่กลับทำให้ทรงรู้สึกว่าจะต้องมีความอดทนมากขึ้น


ความใฝ่รู้ (สิกขกามตา) : พระคุณธรรมที่โดดเด่นประการต่อมา

เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงเป็นผู้ใฝ่รู้มาโดยตลอด
แม้เมื่อทรงเป็นพระมหาเถระแล้ว พระอัธยาศัยใฝ่รู้ของพระองค์ก็ไม่เคยจืดจาง
ได้ทรงแสวงหาความรู้อยู่เสมอด้วยการทรงอ่านหนังสือ
ทั้งที่เป็นหนังสือภาษาไทย และภาษาอังกฤษ

หนังสือดีมีประโยชน์บางเรื่องที่ทรงอ่านแล้ว
ยังทรงพระเมตตาแนะนำให้ผู้ใกล้ชิดอ่านด้วย โดยมักมีรับสั่งว่า

“เรื่องนี้เขาเขียนดี น่าอ่าน”

พระคุณธรรมข้อกตัญญูดังกล่าวมาแล้วในตอนต้นว่า
เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงมีพระคุณธรรมข้อนี้อย่างเด่นชัด
และทรงหาโอกาสสนองคุณของผู้ที่มีพระคุณต่อพระองค์
แม้เพียงเล็กน้อยอยู่เสมอ

Image
พระรูปปั้นหุ่นขี้ผึ้งสมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร)


ดังเช่น เมื่อทรงได้รับพระราชทานสถาปนา
เป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระญาณสังวร
ก็ทรงรำลึกถึงพระคุณของ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร)
ที่ทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระญาณสังวร
เป็นรูปแรกในยุคกรุงรัตนโกสินทร์

เพราะหากไม่มี สมเด็จพระญาณสังวร (สุก) เป็นรูปที่ ๑
ก็คงไม่มีสมเด็จพระญาณสังวร คือพระองค์เอง เป็นรูปที่ ๒

ฉะนั้นเมื่อถึงเทศกาลเข้าพรรษา
จึงเสด็จไปถวายสักการะพระรูป สมเด็จพระญาณสังวร (สุก)
ที่วัดราชสิทธารามเป็นประจำทุกปีตลอด

อีกกรณีหนึ่ง เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ พระธรรมวราภรณ์
และทรงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหารใหม่ๆ (พ.ศ.๒๕๐๔)

คราวหนึ่ง สมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ญาโณทโย) วัดสระเกศ
ได้ทรงปรารภกับพระองค์ด้วยความห่วงใยว่า

“เจ้าคุณ จะเอาวัดบวรได้อยู่หรือ”

ซึ่งหมายความว่า จะปกครอง วัดบวรนิเวศวิหาร
ที่เป็นพระอารามหลวงที่สำคัญ ทั้งมีพระเถระที่มีอาวุโสมากกว่า
อยู่มากองค์ในขณะนั้นให้เรียบร้อยได้หรือ

ด้วยพระปรารภดังกล่าวนี้ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงถือว่า
สมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ญาโณทโย) ทรงมีพระเมตตาต่อพระองค์
จึงทรงรำลึกถึงพระคุณของสมเด็จพระสังฆราชพระองค์นั้นอยู่เสมอ

เมื่อถึงเทศกาลเข้าพรรษาจึงทรงไปถวายสักการะ
สมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ญาโณทโย) พระองค์นั้น
นับแต่เมื่อยังมีพระชนม์อยู่และตลอดมาจนกระทั่งสิ้นพระชนม์


Image
สมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ญาโณทโย)


พระคุณธรรมข้อถ่อมตน (นิวาตะ)

เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงมีความถ่อมพระองค์มาแต่ต้น
เพราะความถ่อมตน เจ้าพระคุณสมเด็จฯ
จึงทรงเป็นพระเถระที่สงบเสงี่ยม สำรวมระวัง ตรัสน้อย และไม่ชอบแสดงตน

ดังเช่นในการสอนสมาธิกรรมฐาน
พระองค์ก็มิได้แสดงพระองค์ว่าเป็นผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญกว่าใครๆ
แต่มักตรัสว่า

“แนะนำในฐานะผู้ร่วมศึกษาปฏิบัติด้วยกัน”

บางครั้งมีผู้กล่าวถึงพระองค์ว่า
เป็นพระอาจารย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เมื่อทรงทราบจะทรงแนะว่า ไม่ควรกล่าวเช่นนั้น เพราะ

“ใครๆ ไม่ควรที่จะอวดอ้างตนว่าเป็นครูอาจารย์
ของเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินทุกคนมีหน้าที่ต้องถวายงานสนองพระราชประสงค์เท่านั้น”


อีกตัวอย่างหนึ่ง เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงเป็น กรรมการมหาเถรสมาคม
มาตั้งแต่ทรง ดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสาสนโสภณ และทรงเป็นตลอดมาทุกสมัย

ในการประชุมมหาเถรสมาคมแต่ละครั้ง
เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ประทับเก้าอี้ท้ายแถวเสมอ

กระทั่งครั้งหนึ่ง สมเด็จพระสังฆราช (จวน) วัดมกุฎกษัตริยาราม
ซึ่งทรงเป็นประธานกรรมการมหาเถรสมาคมในขณะนั้น
ทรงทักแบบสัพยอกด้วยพระเมตตาว่า

“เจ้าคุณสานั่งไกลนัก กลัวจะเป็นสมเด็จหรือไง”

พระคุณธรรมข้อคารวธรรม

คือความเป็นผู้มีความเคารพต่อผู้ที่ควรเคารพ

คารวธรรม ประการแรกของ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ
ก็คือความเคารพในพระรัตนตรัย

Image

ความเคารพในพระพุทธเจ้า

ทรงแสดงออกด้วยการเคารพต่อพระพุทธรูปในทุกสถานการณ์
ดังเช่น ทรงแนะนำภิกษุสามเณรอยู่เสมอว่า
การลงโบสถ์ทำวัตรเช้าค่ำนั้น ก็เสมือนการไปเฝ้าพระพุทธเจ้าประจำวัน
ทำให้รำลึกถึงพระพุทธคุณ จิตใจไม่ห่างไกลจากพระธรรม

ข้อที่ทรงแนะนำอีกประการหนึ่งก็คือ
พระพุทธรูปไม่ควรตั้งวางในที่ต่ำ
หรือในที่ที่จะต้องเดินข้ามไปข้ามมาเป็นต้น

ความเคารพต่อพระธรรม

ก็ทรงแสดงออก
ด้วยการเคารพต่อพระคัมภีร์ เช่นพระคัมภีร์ทาง
พระพุทธศาสนาทุกชนิดทรงเก็บรักษาไว้ในที่สูงเสมอ
ไม่เก็บไว้ในที่ที่ต้องเดินข้ามเดินผ่านเช่นกัน

แม้หนังสือธรรมทุกชนิดก็ไม่ทรงวางบนพื้นธรรมดา
ต้องวางไว้บนที่สูงเช่น บนโต๊ะ บนพานเป็นต้น
หากทรงเห็นใครวางหนังสือธรรมบนพื้น ก็จะตรัสเตือนว่า

“นั่นพระธรรม อย่าวางบนพื้น”

ความเคารพในพระสงฆ์

ก็ทรงแสดงออกโดยทรงมีความเคารพต่อ
พระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ หรือที่เรียกกันว่าพระกรรมฐานเป็นพิเศษ

เช่นเมื่อมีพระกรรมฐานเป็นอาคันตุกะมาสู่พระอาราม
แม้จะเป็นผู้ที่มีอาวุโสน้อยกว่าก็ทรงต้อนรับปฏิสันถารด้วยความเคารพ

พระคุณธรรมข้อนี้ที่ปรากฏต่อสาธารณชนทั่วไปก็คือ
ทรงแสดงความเคารพต่อพระเถระผู้มีอาวุโสมากกว่าพระองค์ทุกรูป
ไม่ว่าพระเถระรูปนั้นจะเป็นภิกษุธรรมดาไม่มียศศักดิ์อะไร
หากมีอาวุโสพรรษามากกว่า
พระองค์ก็ทรงกราบแสดงความเคารพเสมอ

เมื่อมีพระสงฆ์จากที่ต่างๆ มาเข้าเฝ้า
หากมีพระเถระผู้เฒ่ามาด้วยก็จะทรงถามก่อนว่า

“ท่านพรรษาเท่าไร”

หากมีอายุพรรษามากกว่า
จะทรงนิมนต์ให้นั่งบนอาสนะและทรงกราบตามธรรมเนียมทางพระวินัย

พระคุณธรรมเหล่านี้ ทำให้ชีวิตของ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ
เป็นชีวิตที่งดงามหรือกล่าวอย่างภาษาชาวโลกก็คือ

เป็นชีวิตที่ประสบความสำเร็จ
เป็นชีวิตที่สามารถยึดถือเป็นแบบอย่างได้สำหรับทุกคน
ไม่ว่าจะเป็นบรรพชิตหรือคฤหัสถ์
ไม่ว่าจะเป็นชีวิตทางโลกหรือชีวิตทางธรรม


Image

การกล่าวถึงพระคุณธรรมในชีวิตของ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ข้างต้นนั้น
เป็นการมองชีวิตของ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ในภาพรวม
เช่นกับชีวิตของคนทั่วไปว่า

ทรงมีอะไรบ้าง ทรงทำอะไรบ้าง
แต่ถ้ามองชีวิตของพระองค์ในฐานะที่ทรงเป็นพระสงฆ์รูปหนึ่ง
ก็จะเห็นแบบอย่างของชีวิตในทางธรรมที่ชัดเจนอีกภาพหนึ่ง

นั่นคือ ปฏิปทาอันควรค่าแก่การเป็นแบบอย่าง
สำหรับพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบทั่วไป
พระปฏิปทาอันเป็นแบบอย่างดังกล่าวก็คือ


• ความเป็นผู้ทรงปริยัติและไม่ทิ้งปฏิบัติ
• ความเป็นผู้สำรวมระวังในพระวินัย
• ความเป็นผู้มักน้อยสันโดษ



.............................................................

คัดลอกมาจาก ::
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=15226
 

_________________
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 06 ส.ค. 2009, 10:53 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

• รวมพระนิพนธ์ “สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=43452

• พระประวัติและปฏิปทา “สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=20232

• “ผู้นำคณะสงฆ์สูงสุดแห่งโลกพระพุทธศาสนา”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=43245

• สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน) กับ วงศ์พระกรรมฐาน
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=43517

• ประมวลพระรูป “สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=29577

• “สองธรรมราชา” ในหลวง กับ สมเด็จพระสังฆราช
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=45825

• Post Card สมเด็จพระสังฆราช เจริญพระชันษา ๙๙ ปี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=43451

• พระประวัติสมเด็จพระสังฆราช ๑๙ พระองค์
http://www.dhammajak.net/history-somdet/somdet1.html
 

_________________
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง