Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 โสฬสญาณ (ญาณ 16) หรือ ปัญญา 16 ขั้น อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 09 เม.ย.2008, 1:58 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

จะทราบได้อย่างไรว่า ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานได้ถึงขั้น มีอะไรเป็นตัวบ่งชี้ว่าปฏิบัติ

ได้ถึงขั้นไหนแล้ว เพราะเชื่อว่า ถ้าปฏิบัติโดยไม่มีอาจารย์ควบคุมและสอบอารมณ์

อย่างใกล้ชิด

ก็อาจจะหลงผิดคิดไปเองได้ เพื่อเป็นการป้องกันความผิดพลาด

จึงขอเรียนถามด้วยความเคารพค่ะ

จาก =>

http://www.jarun.org/v6/board/viewtopic.php?t=9100


อีกท่านหนึ่งความว่า


หลังจากผมปฏิบัติที่บ้าน ผมอยากได้คู่มือการสอบอารมณ์ไว้ศึกษา

ผมทราบว่าพระเดชพระคุณหลวงพ่อท่านเคยเขียนหนังสือสอบอารมณ์ไว้

ไม่ทราบผมจะหาอ่านได้จากที่ไหนครับ


จาก =>

http://www.jarun.org/v6/board/viewtopic.php?t=9110
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 26 ธ.ค.2009, 7:13 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 09 เม.ย.2008, 2:33 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ได้อ่านข้อความดังกล่าวแล้ว เห็นว่า จขกท. ยังไม่มีไม่ได้คำตอบที่ชัดเจน

กรัชกายจึงรวบรวมหลักสอบอารมณ์ หรือสอบความรู้สึก หรือ สอบความคิดของตน

ว่าหลังจากปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานแล้วว่า ว่าจะเป็นอย่างที่วิตกกังวลหรือไม่

น่าจะเป็นประโยชน์แก่ภาวนามัยบุคคลผู้อ่านกระทู้นี้บ้างไม่มากก็น้อย
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 10 เม.ย.2008, 10:04 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 09 เม.ย.2008, 2:41 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

หลักธรรมสำหรับสอบอารมณ์

คัมภีร์วิสุทธิมรรคสรุป ไตรสิกขา-วิสุทธิ 7- วิปัสสนาญาณ 9-โสฬสญาณ (ญาณ 16)

ทั้งหมดเข้าด้วยกันได้ลงตัวพอดีไม่ขาดไม่เกิน ตามหมวดธรรมนั้นๆ

แต่ท่านแสดงไว้รวมๆ กัน น่าจะเป็นการดีที่ผู้ศึกษาแล้วยึดติดตำรา

จะไม่เห็นแย้งกัน เหตุจากดูตำราที่มาต่างกัน

แต่อาจสังเกตยากซักหน่อยสำหรับผู้อ่อนเชิงปริยัติ

จึงทำที่สังเกตไว้ให้ เช่น

อักษรที่เน้น สีน้ำเงิน หมายถึง วิสุทธิ 7

จาก 1-7

- สีน้ำตาล หมายถึง วิปัสสนาญาณ 9

จาก 1-9

-สีแดง หมายถึง ญาณ 16 จาก 1-16

ไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา) ข้อ ก. ข. ค.

ทั้งหมดมาจากหนังสือพุทธธรรมหน้า 360 โดยท่านเจ้าคุณ ป.อ.ประยุทธ์ ปยุตฺโต
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 26 ธ.ค.2009, 7:14 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 09 เม.ย.2008, 2:58 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


เบื้องต้น พึงเข้าใจความหมายของศัพท์สำคัญที่จะเห็นข้างหน้าก่อน

-วิสุทธิ แปลว่า ความหมดจด คือ ความบริสุทธิ์ที่สูงขึ้นเป็นขั้นๆ

หมายถึง ธรรมที่ชำระสัตว์ให้บริสุทธิ์ ยังไตรสิกขาให้บริบูรณ์เป็นขั้นๆ ไปโดยลำดับ

จนบรรลุจุดหมายคือนิพพาน จำแนกเป็น 7 ขั้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 10 เม.ย.2008, 10:07 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 09 เม.ย.2008, 3:01 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ปริญญา แปลว่า การกำหนดรู้ หรือทำความรู้จัก

หมายถึง การทำความเข้าใจสิ่งต่างๆ โดยครบถ้วน หรือรอบด้าน แบ่งเป็น 3 ขั้น

คือ

1) ญาตปริญญา

กำหนดรู้ขั้นรู้จัก คือ รู้ตามสภาวะลักษณะ ได้แก่ รู้จักจำเพาะตัวของสิ่งนั้นตามสภาวะ

ของมัน เช่น รู้ว่า นี้คือเวทนา เวทนาคือสิ่งที่มีลักษณะเสวยอารมณ์

นี้คือสัญญา สัญญาคือสิ่งที่มีลักษณะกำหนดได้หมายรู้ ดังนี้ เป็นต้น (= รู้ว่าคืออะไร)


2) ตีรณปริญญา

กำหนดรู้ขั้นพิจารณา คือ รู้ด้วยปัญญาที่หยั่งลึกซึ้งไปถึงสามัญลักษณะ ได้แก่ รู้ถึงการที่

สิ่งนั้น ๆ เป็นตามกฎธรรมดา โดยพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เช่นว่า

เวทนาและสัญญานั้นไม่เที่ยง มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ไม่ใช่ตัวตน เป็นต้น

(=รู้ว่า เป็นอย่างไร)


3) ปหานปริญญา

กำหนดรู้ถึงขั้นละได้ คือ รู้ถึงขั้นที่ทำให้ถอนความยึดถือ เป็นอิสระจากสิ่งนั้นๆได้

ไม่เกิดความผูกพันหลงใหล ทำให้วางใจ วางท่าที และปฏิบัติต่อสิ่งต่างๆ ได้ถูกต้อง

เช่น เมื่อรู้ว่าสิ่งนั้นๆ เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วก็ละนิจจสัญญา เป็นต้น

ในสิ่งนั้นๆ ได้ (= รู้ว่าจะทำอย่างไร)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 26 ธ.ค.2009, 9:52 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 09 เม.ย.2008, 3:03 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-วิปัสสนาญาณ แปลว่า ญาณ หรือ ปัญญาในวิปัสสนา หรือ ญาณที่นับเข้าในวิปัสสนา

หรือ ญาณที่จัดเป็นวิปัสสนา ได้แก่ ความรู้ที่ทำให้เกิดความเห็นแจ้ง เข้าใจสภาวะ

ของสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง ทำให้จิตหลุดพ้นจากกิเลสและกองทุกข์ได้

แบ่งเป็น 9
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 26 ธ.ค.2009, 9:53 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 10 เม.ย.2008, 11:24 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอนำคำอธิบายหลักวิสุทธิข้อแรก คือ ศีลวิสุทธิกว้างๆก่อน

ด้วยบางครั้งผู้ปฏิบัติธรรมประพฤติศีลขาดเป้าหมาย ทำให้บดบังปัญญา

เช่นความเห็นหนึ่งลิงค์นี้


http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=15492


ไตรสิกขา มีหลักว่า ศีลเพื่อสมาธิ สมาธิเพื่อปัญญา ปัญญาเพื่อวิมุตติ

การปฏิบัติจะส่งผลต่อกันเป็นทอดๆ ท่านเปรียบเหมือนนั่งรถ 7 ผลัด

(มิใช่นั่งจมอยู่ที่รถคันใดคันหนึ่ง)


ความสำนึกในการรักษาศีลหรือปฏิบัติตามศีล แยกออกได้เป็น 2 ด้าน คือ

- การฝึกหัดขัดเกลาตนเอง (เพื่อความก้าวหน้าในคุณธรรมที่ยิ่งๆขึ้นไป)

อย่างหนึ่ง

-การคำนึงถึงประโยชน์ของผู้อื่นหรือของสังคม อย่างหนึ่ง


พุทธธรรม (หน้า 432 ) อธิบายเกี่ยวกับศีลไว้กว้างขวาง

แต่พอสรุปว่าศีลที่เป็นองค์มรรคมีหลักกว้างๆ ที่พระพุทธเจ้าทรงสอนตามฐานะ

ที่เป็นธรรม......


สำหรับคนทั่วไป ศีลหมายถึงความประพฤติสุจริตและการที่มิได้เบียดเบียนก่อความเสียหาย

เดือดร้อนแก่ใครๆ ซึ่งจะทำให้เกิดความเดือดร้อนวุ่นวายใจและเสียความมั่นใจในตนเอง

เป็นเสี้ยนหนามคอยทิ่มแทงระคายหรือสะดุดสะกิดสะกัดขัดขวางรบกวนไว้ไม่ให้ใจเข้าสู่ความ
สงบเรียบสนิทได้ (เท่านี้ก็ปฏิบัติกรรมฐานได้แล้ว)


สิ่งที่ผิดพลาดก็คือ การถือศีลโดยงมงาย สักว่าทำตามๆกันมา อย่างไม่เข้าใจความ

มุ่งหมาย ไม่เห็นเหตุผล จนหลงไปว่าจะถึงความบริสุทธิ์ จะบรรลุจุดหมายสุดท้าย

เพียงด้วยศีลวัตร ขยายรูปแปลกประหลาดพิสดารเตลิดออกไปเป็นข้อปฏิบัตินอกแนวทาง

ของพระพุทธศาสนา หรือรักษาศีลบำเพ็ญระเบียบปฏิบัติต่างๆ โดยมีตัณหาทิฏฐิแอบแฝง

อยากได้ลาภ ยศ...เป็นผลตอบแทน จนบดบังความมุ่งหมายที่แท้จริง และปิดกั้นไม่ให้

เข้าถึงจุดหมายของการปฏิบัติธรรม

หรือรักษาศีลบำเพ็ญวัตร ทำตามระเบียบแบบแผนพิธี อย่างอสัตบุรุษ คือ เกิดความมัวเมา

ลุ่มหลงตนเอง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 26 ธ.ค.2009, 7:18 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 10 เม.ย.2008, 4:34 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


คัมภีร์วิสุทธิมรรคกล่าวว่า ขณะที่ฝึกกรรมฐานอยู่นั้น

-สังวรคือควบคุมกิริยาอาการให้อยู่ในภาวะถนัดหรือเหมาะดีที่สุดแก่งาน (= กรรมฐาน)

เป็นอธิสีลสิกขา (= ศีล)

-การทำจิตให้ตั้งมั่นแน่วแน่ อยู่กับงานคืออารมณ์ที่กำหนด เป็นอธิจิตตสิกขา (= สมาธิ)

-การใช้ปัญญา หรือความรู้ความเข้าใจที่เกิดขึ้นเป็นไปอยู่ในเวลานั้น

เป็นอธิปัญญาสิกขา (= ปัญญา)

(วิสุทธิ. 2/61)

อนึ่ง อริยมรรคมีองค์ 8 มีสัมมาทิฏฐิ เป็นต้น ท่านก็จัดเข้าในศีล สมาธิ ปัญญา นี่เอง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 14 พ.ค.2008, 3:28 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 10 เม.ย.2008, 4:42 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ต่อไปพิจารณาที่ท่านสรุป ไตรสิกขา-วิสุทธิ 7- วิปัสสนาญาณ 9-โสฬสญาณ (ญาณ 16)

เข้าด้วยกัน ดังนี้ =>


ก. ระดับศีล (อธิสิลสิกขา)

1. สีลวิสุทธิ


-ความหมดจดแห่งศีล คือประพฤติดี เลี้ยงชีวิตถูกต้อง มีศีลตามภูมิชั้นของตน

คัมภีร์วิสุทธิมรรค กล่าวมุ่งเฉพาะการปฏิบัติของพระภิกษุ หมายเอา ปาริสุทธิศีล 4 ปาฏิโมกข์สังวรศีล

อินทรีย์สังวรศีล อาชีวปาริสุทธิศีล และปัจจัยสันนิสิตศีล

นอกจากศีล อาจเลือกสมาทานวัตร โดยเฉพาะธุดงค์ 13 บางข้อ เพื่อส่งเสริมความมักน้อยสันโดษ

เป็นต้น เป็นการขูดเกลากิเลส เกื้อกูลแก่ภาวนาต่อไป
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 31 ส.ค. 2011, 1:23 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 10 เม.ย.2008, 5:30 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ข. ระดับสมาธิ (อธิจิตตสิกขา)

2. จิตตวิสุทธิ

- ความหมดจดแห่งจิต คือ ฝึกอบรมจิต หรือพัฒนาคุณภาพและสมรรถภาพของจิต

จนเกิดสมาธิพอเป็นบาทหรือเป็นปทัฏฐานแห่งวิปัสสนา

คัมภีร์วิสุทธิมรรคว่า ได้แก่ อุปจารสมาธิ จนถึงอัปปนาสมาธิ ในฌานสมาบัติทั้ง 8

และแสดงวิธีเจริญสมาธิ จนถึงได้ผลพิเศษ คือโลกียอภิญญาทั้ง 5


(สมาธิ หรือ อธิจิตสิกขา วิสุทธิมรรค กล่าวไว้สุดขอบเขตสมาธิเลย เป็นธรรมดาผู้เขียนตำรา

เมื่อยกข้อธรรมใดขึ้นอธิบาย ก็ต้องอธิบายข้อธรรมนั้นจนจบ

อย่างไรก็ตาม กรณีสมาธิภาคปฏิบัติยืดหยุ่นได้ เพราะฉะนั้นผู้ปฏิบัติกรรมฐานไม่ควรมองข้าม
หรือ หวาดกลัวสมาธิ เหมือนบางบอร์ดคิดกัน)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 10 เม.ย.2008, 5:44 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ค. ระดับปัญญา (อธิปัญญาสิกขา)

1) ขั้นญาตปริญญา คือ รู้จักสภาวะ

-ขั้นทุกขววัฏฐาน คือ กำหนดทุกขสัจจ์

3. ทิฏฐิวิสุทธิ

- ความหมดจดแห่งทิฏฐิ คือ ความรู้เข้าใจมองเห็นนามรูปตามสภาวะที่เป็นจริง

ทำให้ระงับความเข้าใจผิดว่า เป็นสัตว์บุคคลเสียได้ เริ่มดำรงในภูมิแห่งความไม่หลงผิด

บางทีกำหนดเรียกเป็นญาณอย่างหนึ่ง มีชื่อว่า นามรูปปริจเฉทญาณ (1)

หรือ เรียกว่า สังขารปริจเฉท บ้าง นามรูปววัฏฐาน บ้าง

หมายถึง ความรู้จักรูปธรรมนามธรรมว่า สิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่ พอนับได้ว่าเป็นของจริง

ก็มีแต่รูปธรรมและนามธรรมเท่านั้น และกำหนดได้ว่าในการรับรู้และเคลื่อนไหวต่างๆ

ของตนนั้น อะไรเป็นรูปธรรม อะไรเป็นนามธรรม (ตัวอย่าง เช่น เมื่อเห็นรูปหรือสีต่างๆ

เป็นรูปธรรม การเห็นเป็นนามธรรม เป็นต้น)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 10 เม.ย.2008, 5:58 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


-ขั้นสมุทัยววัฏฐาน คือ กำหนดสมุทัยสัจ

4. กังขาวิตรณวิสุทธิ

-ความหมดจดแห่งญาณ เป็นเหตุข้ามพ้นความสงสัย หรือ ความบริสุทธิ์ขั้นที่ทำให้กำจัด

ความสงสัยได้ คือ กำหนดรู้ปัจจัยแห่งนามรูป ตามแนวปฏิจจสมุปบาทก็ตาม

ตามแนวกฎแห่งกรรมก็ตาม ตามแนวกระบวนการรับรู้ก็ตาม ตามแนววัฏฏะ 3 ก็ตาม

หรือ ตามแนวอื่นก็ตามว่า นามธรรมและรูปธรรมล้วนเกิดจากเหตุปัจจัย และเป็นปัจจัย

แก่กันและกันอาศัยกัน อันเป็นความรู้ที่ทำให้สิ้นความสงสัยเกี่ยวกับกาลทั้ง 3 คือ อดีต อนาคต
และปัจจุบัน

ความรู้นี้เป็นญาณขั้นหนึ่ง

บางทีเรียกว่า นามรูปปัจจัยปริคคหญาณ (2) แปลว่า ญาณที่กำหนด

ปัจจัยของนามรูป


ญาณขั้นนี้ เรียกได้หลายชื่อว่า ธัมมัฏฐิติญาณ บ้าง ยถาภูตญาณ บ้าง สัมมาทัสสนะ บ้าง

และผู้ประกอบด้วยญาณขั้นนี้ พระอรรถกถาจารย์เรียกว่า “จูฬโสดาบัน” คือพระโสดาบัน

น้อย เป็นผู้มีคติ คือ ทางไปก้าวหน้าที่แน่นอน ในพระพุทธศาสนา.
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
มรรคคา
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 30 มี.ค. 2008
ตอบ: 77
ที่อยู่ (จังหวัด): ภูเก็ต

ตอบตอบเมื่อ: 10 เม.ย.2008, 10:25 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ในหนังสือ สัตว์โลกย่อมเป็นตามกรรม เล่ม ๒ ของพระเดชพระคุณหลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน
สิงห็บุรี ตอนภาคผนวกมีการเขียนเรื่อง การสอบอารมณ์พระกรรมฐาน เอาไว้
เพื่อให้บรรดาผู้สนใจธรรมได้อ่านและก็ปฏิบัติตามกัน

ถ้าท่านผู้ใดสนใจก็ลองหาดูได้นะครับ

ในส่วนนี้จะมีการอธิบายเรื่องญาณ ตั้งแต่ญาณ ๑-ญาณ ๑๖ เอาไว้
พร้อมด้วยวิธีการแก้ปัญหา และขั้นตอนการเดินจงกรมเอาไว้ด้วยครับ
 

_________________
มีสติสัมปชัญญะกับทุกลมหายใจเข้าออก
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 11 เม.ย.2008, 1:26 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


2) ขั้นตีรณปริญญา คือ รู้สามัญลักษณะ หรือ หยั่งถึงไตรลักษณ์

-ขั้นมัคคววัฏฐาน คือ กำหนดมรรคสัจ (เฉพาะข้อ 5)

5. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ

-ความหมดจดแห่งญาณ ที่รู้เห็นว่าเป็นทางหรือมิใช่ทาง คือ ยกเอารูปธรรมและนามธรรม

ทั้งหลายขึ้นมาพิจารณาเป็นหมวดๆ ตามแนวไตรลักษณ์ทีละอย่างๆ เช่น พิจารณารูป

โดยอนิจจลักษณะ โดยทุกขลักษณะ โดยอนัตตลักษณะ แล้วพิจารณาเวทนา สัญญา สังขาร

วิญญาณตามลำดับ

และโดยลักษณะแต่ละลักษณะไปทีละอย่าง แล้วพิจารณาข้อธรรมอื่นๆ เช่น

ในหมวดอายตนะ 12 ปฏิจจสมุปบาท ฯลฯ (รวมความก็อยู่ในขันธ์ 5) จนเริ่มมองเห็น

ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งสังขารทั้งหลาย


เรียกว่า เกิดเป็น ตรุณวิปัสสนา คือ วิปัสสนาญาณอ่อนๆ และในช่วงนี้ ก็จะเกิดสิ่งที่เรียกว่า

วิปัสสนูปกิเลส 10 ประการ ชวนให้หลงผิดว่าบรรลุมรรคผลแล้ว หรือหลงยึด

เอาวิปัสสนูปกิเลสนั้นว่าเป็นทางที่ถูก

ถ้าหลงไปตามนั้น ก็เป็นอันพลาดจากทาง เป็นอันปฏิบัติผิดไป


แต่ถ้ามีสติสัมปชัญญะแก้ไขได้ ก็จะกำหนดแยกได้ว่า วิปัสสนูปกิเลส 10 นั้นไม่ใช่ทาง

แล้วกำหนดวิปัสสนาญาณที่ดำเนินถูกทางพ้นจากอุปกิเลสแล้วว่า นั่นแหละเป็นทาง

หรือมรรคาแท้จริง ซึ่งจะพึงเดินต่อไป

เมื่อความรู้นี้เกิดขึ้นแล้ว ก็เรียกว่า มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ.
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 11 เม.ย.2008, 1:41 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ในวิสุทธิข้อนี้ (มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ) มีเนื้อหาซับซ้อนที่พึงทำความเข้าใจ คือ


-การเจริญวิปัสสนาในขั้นที่จะให้เกิดวิสุทธิข้อนี้ เรียกว่า นยวิปัสสนา (การเจริญวิปัสสนาโดย

นัย คือ พิจารณาโดยจับแง่ความหมาย ตามแนววิธีที่ท่านแสดงไว้ในพระบาลี เช่น ว่า

รูปอย่างหนึ่งอย่างใดก็ตาม จะเป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบัน ก็ตาม ภายในหรือภายนอกก็

ตาม ฯลฯ ล้วนไม่เที่ยงดังนี้ เป็นต้น)


หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กลาปสัมมสนะ (การพิจารณาเป็นหมวดๆ หรือรวบเป็นกลุ่มๆ)

และความรู้ที่เกิดขึ้นในขั้นนี้

บางทีจัดกันเป็นญาณขั้นหนึ่ง เรียกว่า สัมมสนญาณ (3) แปลว่า

ญาณที่พิจารณาหรือตรวจตรา (นามรูปตามแนวไตรลักษณ์)


เมื่อพิจารณาด้วยสัมมสนญาณไปจนญาณแก่กล้าขึ้น เริ่มมองเห็นความเกิดขึ้น.

และความเสื่อมสลายไปของสิ่งทั้งหลาย มองเห็นความแปรปรวนของปัจจุบันธรรมว่า

ธรรมเหล่านี้ ไม่มีแล้วก็มีขึ้น มีขึ้นแล้วก็ดับล่วงไป มองเห็นการเกิดและดับสลายทั้งโดยปัจจัย

และเป็นขณะๆ ไป

ก็เริ่มเกิดญาณใหม่เรียกว่า อุทยัพพยานุปัสสนา

แต่ยังเป็นญาณใหม่ๆอยู่และญาณนี้ ตอนนี้เองที่เรียกว่า ตรุณวิปัสสนา

หรือ ตรุณวิปัสสนาญาณ (วิปัสสนาญาณอ่อนๆ)


ผู้ได้ตรุณวิปัสสนานี้ เรียกว่า อารัทธวิปัสสก (ผู้เริ่มเห็นแจ้งหรือผู้ได้เริ่มวิปัสสนาแล้ว)

และในตอนนี้เอง วิปัสสนูปกิเลส 10 อย่าง เช่น โอภาส คือ แสงสว่างแสนงาม

เป็นต้น จะเกิดขึ้น ชวนให้หลงผิดและติดใจ

ถ้ากำหนดรู้เท่าทัน ก็ผ่านพ้นไปได้

กำหนดแยกว่าอะไรเป็นทาง อะไรไม่ใช่ทางได้แล้ว ก็เป็นอันจบสิ้นวิสุทธิข้อนี้.
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 11 เม.ย.2008, 1:53 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


3) ขั้นปหานปริญญา คือ รู้ถึงขั้นละความหลงผิด ถอนตัวเป็นอิสระได้

6. ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ

-ความหมดจดแห่งญาณอันรู้เห็นทางดำเนิน

โดยสาระแท้ๆ หมายถึงวิปัสสนาที่ถึงจุดสุดยอดด้วยอำนาจวิปัสสนาญาณ 8

กับวิปัสสนาญาณข้อที่ 9 คือ สัจจานุโลมิกญาณ

แต่พูดอย่างกว้างๆ วิสุทธิข้อนี้ ได้แก่ วิปัสสนาญาณ 9 นั่นเอง คือ นับตั้งแต่ อุทยัพพยญาณ

ที่พ้นจากวิปัสสนูปกิเลสแล้ว เป็นต้นไป จนสุดทางแห่งความเป็นปุถุชน หรือสุดวิปัสสนา
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 11 เม.ย.2008, 2:01 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


-วิปัสสนาญาณ 9 นับตั้งแต่ญาณนี้ไป

1. อุทยัพพยานุปัสสนา
หรือเรียกสั้นๆว่า อุทยัพพยญาณ (4)

-ญาณหรือปัญญา อันตามเห็นความเกิดดับ คือ พิจารณาความเกิดขึ้นและความดับไป

แห่งเบญจขันธ์ (ขันธ์ห้า = กายกับใจ) จนเห็นปัจจุบันธรรมที่กำลังเกิดขึ้น

และดับสลายไปๆ ชัดเจน เข้าใจภาวะที่เป็นของไม่เที่ยง ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้

ไม่อยู่ในบังคับบัญชาตามความอยากของใคร

หยั่งทราบว่า สิ่งทั้งหลาย เกิดขึ้น ครั้นแล้ว ก็ต้องดับไป ล้วนเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปทั้งหมด


เมื่อเกิดการรับรู้ หรือเคลื่อนไหวใดๆ ในแต่ละขณะ ก็มองเห็นนามธรรม รูปธรรม

และตัวรู้หรือผู้รู้ ที่เกิดขึ้นแล้วทั้งรูปธรรมและนามธรรม และตัวรู้นั้นก็ดับไปพร้อมกัน

ทั้งหมด เป็นความรู้เห็นชัดแก่กล้า (พลววิปัสสนา) ทำให้ละนิจจสัญญา สุขสัญญา

และอัตตสัญญาได้
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 11 เม.ย.2008, 2:06 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


2. ภังคานุปัสสนาญาณ เรียกสั้นๆ ว่า ภังคญาณ (5)

-ญาณอันตามเห็นความสลาย คือ เมื่อเห็นความเกิดดับเช่นนั้น ชัดเจนถี่เข้าๆ

ก็จะคำนึงเห็นเด่นชัด ในส่วนความดับที่เป็นจุดจบสิ้น มองเห็นแต่อาการที่สิ่งทั้งหลาย

ดับไปๆ เห็นว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ล้วนจะต้องดับสลายไปทั้งหมด
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 11 เม.ย.2008, 5:33 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



3. ภยตูปัฏฐานญาณ
หรือสั้นว่า ภยญาณ (6)

-ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว คือ เมื่อพิจารณาเห็นแต่ความแตกสลาย

อันมีแก่สิ่งทั้งปวงหมดทุกอย่างเช่นนั้นแล้ว สังขารทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นไปในภพใดก็ตาม

ก็ปรากฏเป็นของน่ากลัว เพราะล้วนแต่จะต้องแตกสลายไป ไม่ปลอดภัยทั้งสิ้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 11 เม.ย.2008, 5:35 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



4 .อาทีนวานุปัสสนาญาณ
เรียกสั้นว่า อาทีนวญาณ (7)

-ญาณอันคำนึงเห็นโทษ คือ เมื่อพิจารณาเห็นสังขารทั้งปวง ล้วนต้องแตกสลายไป

เป็นของน่ากลัว ไม่ปลอดภัยทั้งสิ้นแล้ว ย่อมคำนึงเห็นสังขารทั้งนั้นว่าเป็นโทษ

เป็นสิ่งที่มีความบกพร่อง จะต้องระคนอยู่ด้วยทุกข์
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง