Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 วิปลาส หรือ วิปัลลาส ๓ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 04 เม.ย.2008, 12:44 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

วิ ป ล า ส : วิ ปั ล ล า ส ๓

วิปลาส คือความรู้ที่คลาดเคลื่อน
ความรู้ที่ผันแปรผิดพลาดไปจากความเป็นจริง


หมายถึงความรู้คลาดเคลื่อนขั้นพื้นฐาน
ที่นำไปสู่ความเข้าใจผิด หลงผิด การลวงตัวเอง วางใจ วางท่าที
ประพฤติปฏิบัติไม่ถูกต้อง ต่อโลก ต่อชีวิต ต่อสิ่งทั้งหลายทั้งปวง
และเป็นเครื่องกีดกั้นขัดขวางบังตา ไม่ให้มองเห็นสัจสภาวะ

วิปลาส มี ๓ อย่างคือ

๑. สัญญาวิปลาส : สัญญาคลาดเคลื่อน หมายรู้ผิดพลาดปากความเป็นจริง
๒. จิตวิปลาส : จิตคลาดเคลื่อน ความคิดผิดพลาดจากความเป็นจริง
๓. ทิฏฐิวิปลาส : ทิฏฐิคลาดเคลื่อน ความเห็นผิดพลาดไปจากความเป็นจริง

สัญญาวิปลาส

หมายรู้คลาดเคลื่อน เช่นคนตกใจเห็นเชือกเป็นงู กา และกวางป่า
มองหุ่นฟางสวมเสื้อ กาวเกงมีหม้อครอบ เห็นเป็นคนเฝ้านา
คนหลงทางเห็นทิศเหนือเป็นทิศใต้ เห็นทิศใต้เป็นทิศเหนือ
คนเห็นแสงไฟโฆษณากรพริบอยู่กับที่ เป็นไฟวิ่ง เป็นต้น

จิตวิปลาส

ความคิดคลาดเคลื่อน เช่นคนบ้าคิดเอาหญ้าเป็นอาหารของตน
คนจิตฟั่นเฟือนมองเห็นคนเข้ามาหาคือกว่าเขาจะทำร้าย
คนเป็นเงาเคลื่อนไหวในที่มืดสลัว คิดวาดภาพเป็นผีหลอก
กระต่ายตื่นตูม ได้ยินเสียงลูกมะพร้าวหล่น
คิดวาดภาพเป็นว่าโลกกำลังแตก เป็นต้น

ทิฏฐิวิปลาส

ความเห็นคลาดเคลื่อน ตามปกติ
สืบเนื่องมาจากสัญญาวิปลาสและจิตวิปลาสนั่นเอง
เมื่อหมายรู้ผิดอย่างไร ก็เห็นผิดไปตามนั้น
เมื่อคิดวาดภาพเคลื่อนคลาดไปอย่างไร
ก็พลอยเห็นผิด เชื่อถือผิดพลาดไปตามอย่างนั้น

ยกตัวอย่าง เช่น เมื่อหมายรู้ผิดว่าเชือกเป็นงู
ก็อาจลงความเห็นยึดถือว่าสถานที่บริเวณนั้นมีงูหรือมีงูชุม
เมื่อหมายรู้ว่าผืนแผ่นดินเรียบราบขยายออกไปเป็นเส้นตรง
ก็ลงความเห็นยึดถือว่าโลกแบน

เมื่อคิดไปว่าสิ่งทั้งหลายเกิดขึ้น เป็นไป เคลื่อนไหวต่างๆ
ก็ต้องมีผู้จัดแจงผลักดัน
ก็จึงลงความเห็นยึดถือว่าฟ้าร้อง ฟ้าผ่า แผ่นดินไหว ฝนตก น้ำท่วม
มีเทพเจ้าประจำอยู่และคอยบันดาล เป็นต้น

ตัวอย่างที่กล่าวมานี้ เป็นขั้นหยาบๆ ที่เห็นง่ายๆ
อาจเรียกอย่างภาษาพูดว่า เป็นความวิปลาสขั้นวิปริต

ส่วนในทางธรรม

ท่านมองความหมายของวิปลาสอย่างละเอียดถึงขั้นพื้นฐาน

หมายถึงความรู้คลาดเคลื่อนชนิดที่มิใช่มีเฉพาะในบางคนบางกลุ่มเท่านั้น
แต่มีในคนทั่วไปแทบทั้งหมดอย่างไม่รู้ตัว
คนทั้งหลายตกอยู่ใต้อิทธิพลครอบงำของมัน
และวิปลาสทั้ง ๓ ชนิดนี้ จะสอดคล้องประสานกันเป็นชุดเดียว
วิปลาสขั้นละเอียดหรือขั้นพื้นฐานนั้น พึงเป็นตามบาลีดังนี้


ภิกษุทั้งหลาย สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส
มี ๔ อย่าง ดังนี้ มีอย่างอะไรบ้าง?

๑. สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส ในสิ่งไม่เที่ยง ว่าเที่ยง
๒. สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส ในสิ่งที่เป็นทุกข์ ว่าเป็นสุข
๓. สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส ในสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน ว่าตัวตน
๔. สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส ในสิ่งที่ไม่งาม ว่างาม


วิปลาสเหล่านี้เป็นอุปสรรคต่อการฝึกอบรมเจริญปัญญา
และก็เป้าหมายของการฝึกอบรมเจริญปัญญาที่จะกำจัดมันเสีย


การพัฒนาความรู้และเจริญปัญญาตามวิธีที่กล่าวไว้ในพุทธธรรม
ล้วนช่วยแก้ไขบรรเทาและกำจัดวิปลาสได้ทั้งนั้น
เฉพาะอย่างยิ่งการใช้โยนิโสมนสิการแบบสืบสาวหาเหตุปัจจัย
และแยกแยะองค์ประกอบตรวจดูสภาวะโดยมีสติพร้อมอยู่


สาธุ สาธุ สาธุ

(ที่มา : “วิปลาส หรือ วิปัลลาส ๓” ใน
ข่าวสารกัลยาณธรรม ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๑, หน้า ๘)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
cat
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 21 ก.พ. 2008
ตอบ: 20

ตอบตอบเมื่อ: 04 เม.ย.2008, 3:58 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ แจ่ม
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 05 เม.ย.2008, 10:51 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ สาธุจ้า...คุณุหลาบสีชา

ธรรมะสวัสดวันพระค่ะ

ยิ้ม ยิ้มแก้มปริ สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง