Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 การไกล่เกลี่ยแบบพุทธ : พระอาจารย์ไพศาล วิศาลโล อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 28 มี.ค.2008, 3:18 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

ก า ร ไก ล่ เ ก ลี่ ย แ บ บ พุ ท ธ
พระอาจารย์ไพศาล วิศาลโล

ห ลั ก ก า ร ไ ก ล่ เ ก ลี่ ย แ บ บ พุ ท ธ

คราวนี้อาตมาจะพูดถึงเรื่องการไกล่เกลี่ยแบบพุทธ
บางท่านอาจจะสงสัยว่าพุทธศาสนาเกี่ยวข้องอะไรกับการไกล่เกลี่ย

เพราะว่าตามความเข้าใจของเรา
เรามักจะเข้าใจว่าพุทธศาสนาเน้นเรื่องอุเบกขาหรือความวางเฉย

แต่ที่จริงไม่ใช่ ที่จริงแล้วพุทธศาสนาส่งเสริมให้คนดีกัน
ไม่ใช่แค่วางเฉยเวลามีความขัดแย้ง


ถึงแม้ว่าเราจะมีคำพังเพยไทยหลายอย่าง
เช่น เอาหูไปนา เอาตาไปไร่
หรือว่าพูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทองอะไรทำนองนั้น
คำพังเพยเหล่านี้ไม่สอดคล้องกับหลักพุทธศาสนา

พุทธศาสนาเห็นว่าเมื่อมีความขัดแย้งต้องหาทางทำให้คืนดี

พระพุทธเจ้าตรัสไว้

"เมื่อคนเหล่าอื่นขัดแย้งกันอยู่ ผู้ใดพยายามประสานให้เขาคืนดีกัน
ผู้นั้นชื่อว่าเป็นผู้มีความรับผิดชอบ เป็นผู้จัดธุระที่ยอดเยี่ยม"


ทรงสรรเสริญคนที่จะพยายามให้มีความคืนดีกัน
ถ้ามีความขัดแย้งแล้ว
ถืออุเบกขาอันนั้นถือว่าไม่สอดคล้องกับหลักพุทธศาสนา


ในพุทธประวัติมีหลายครั้งที่พระพุทธองค์ได้ทรงเป็นผู้ไกล่เกลี่ย

หลายท่านคงทราบดีว่าสมัยหนึ่ง
พวก ศากยะ กับ โกลิยะ เคยจะทำสงครามกันเพื่อแย่งน้ำ พระองค์ก็ไปห้าม
รายละเอียดเดี๋ยวอาตมาจะเล่าอีกที

อีกคราวหนึ่ง พระเจ้าวิฑูฑภะ โอรสพระเจ้าปเสนทิโกศล
เคยคิดจะยกทัพไปทำลายพวกศากยะที่กรุงกบิลพัสดุ์
ซึ่งเป็นพระญาติของพระพุทธองค์
พระองค์ก็เข้าไปห้ามเช่นกัน เข้าไปเตือน
ซึ่งเดี๋ยวอาตมาก็จะพูด

บางครั้งพระองค์ถึงกับตรัสตำหนิพระอานนท์ที่วางเฉย
มีคราวหนึ่งพระอุทายีได้จ้วงจาบพระสารีบุตร แล้วพระอานนท์นิ่งเฉย
พระองค์ก็เลยตรัส อย่าลืมว่าตอนนั้นพระอานนท์เป็นโสดาบันแล้ว

พระพุทธองค์ตรัสว่า

"ดูกร อานนท์
ไฉนพวกเธอจึงวางเฉยต่อภิกษุผู้เถระซึ่งถูกเบียดเบียนอยู่ (คือถูกจ้วงจาบ)
เพราะความการุณย์หรือความกรุณา
ย่อมไม่เกิดขึ้นจากการปล่อยให้ภิกษุผู้เถระถูกเบียดเบียน"


พระพุทธองค์ทรงเห็นว่าเรื่องแบบนี้วางเฉยไม่ได้
พุทธศาสนาไม่วางเฉยเมื่อมีความขัดแย้ง ต้องเข้าไปแก้ไข
เพราะถือเป็นกิจส่วนรวม เป็นประโยชน์ท่าน นี่ประการที่หนึ่ง

ประการที่สอง หลักการของพุทธ
ให้ความสำคัญกับสิ่งที่เราเรียกว่า อกุศลมูล
แต่ก่อนที่จะพูดต่อไป ขอให้มาดูเรื่องของความขัดแย้งในภาพรวม

(มีต่อ)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 28 มี.ค.2008, 3:27 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

๓ อ ง ค์ ป ร ะ ก อ บ แ ห่ ง
ค ว า ม ขั ด แ ย้ ง แ ละ ก า ร แ ก้ ไ ข ค ว า ม ขั ด แ ย้ ง


องค์ประกอบที่หนึ่ง

คือประเด็นหรือข้อเรียกร้อง
เช่น เรื่องเขื่อน โรงไฟฟ้า ค่าชดเชย รัฐธรรมนูญ เป็นต้น
นี่เป็นเรื่องเกี่ยวกับประเด็นปัญหา

องค์ประกอบที่สอง

ก็คือ บุคคลหรือคู่ขัดแย้ง

องค์ประกอบที่สาม

ก็คือกระบวนการหรือปฏิสัมพันธ์
เช่น การตอบโต้กัน การเผชิญหน้ากัน
การใช้ความรุนแรงต่อกัน หรือการเจรจาต่อกัน
อันนี้เป็นเรื่องของปฏิสัมพันธ์

ประเด็นปัญหาหลายแง่มุม

เช่นอาจจะเป็นเรื่องผลประโยชน์ทางวัตถุ
เช่น เงินชดเชย อาจเป็นเรื่องอำนาจหรือศักดิ์ศรี
เช่น ๒-๓ ปีก่อน พจนานุกรม LONGMAN
พูดถึงกรุงเทพฯว่าเป็นแหล่งโสเภณี
ก็มีการประท้วงกัน มีการขัดแย้งกันขึ้นมา
อันนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับศักดิ์ศรีของประเทศชาติ

ประเด็นปัญหาในบางแง่

อาจจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับความคิดเห็น ความเชื่อ
เช่น เรื่องเกี่ยวกับศาสนาเมื่อปีที่แล้วก็มีการจุดประเด็นว่า
ควรจะให้พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติหรือไม่
นี่เป็นเรื่องเกี่ยวกับความคิดเห็นหรือความเชื่อ

หรืออาจมีกรณีโต้เถียงกันว่านักศึกษาควรแต่งกายอย่างไรดี
ที่จุฬาฯ อาจารย์บอกว่านักศึกษาควรจะนุ่งกระโปรงให้ยาวๆ หน่อย
นักศึกษาบอกว่าไม่ยอม ถือว่าขัดสิทธิเสรีภาพ
นี่เป็นเรื่องเกี่ยวกับความเห็นความเชื่อ

ในทางพุทธศาสนาเรามีคำสำหรับพวกนี้
ถ้าเป็นเรื่องผลประโยชน์ทางวัตถุมันเป็นเรื่องเกี่ยวกับตัณหา
อำนาจศักดิ์ศรีจะเกี่ยวข้องกับเรื่องมานะ

ความเชื่อเป็นเรื่องของ ทิฏฐิ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ คือปัญหา
เราจะเรียกว่าเป็นกิเลสก็ได้ เวลาคนมีความขัดแย้งกันขึ้นมา
ถ้าไปเกี่ยวข้องกับปัญหาต่างๆ เหล่านั้น
โดยอาศัยแรงจูงใจ ๓ ประการที่ว่า
ก็มักจะเกิดความขัดแย้งรุนแรงขึ้นและแก้ไขลำบาก


อันที่สองเรื่องบุคคล

เรื่องบุคคลมักจะหนีไม่พ้นเรื่องโลภะ โทสะ โมหะ
คนไทยเราคุ้นกับคำว่า อคติ เช่น โทสาคติ ความลำเอียงเพราะโกรธ
โมหาคติ ความลำเอียงเพราะหลง ภยาคติ ความลำเอียงเพราะกลัว
จริงๆ มีความลำเอียงเพราะชอบหรือ ฉันทาคติ
แต่ว่าฉันทาคติมักจะไม่ค่อยเกี่ยวข้องโดยตรงกับความขัดแย้งเท่าไร

กระบวนการหรือปฏิสัมพันธ์

ก็เช่นว่า แต่ละฝ่ายเกี่ยวข้องกันอย่างไร
เจรจาด้วยอารมณ์โกรธใช้ถ้อยทีที่สุภาพวิธีการโปร่งใสหรือเปล่า
หรือคิดแต่เอาชนะ กระบวนการเหล่านี้ มันก็ปรุงแต่งไปด้วย โลภะ โทสะ โมหะ

(มีต่อ)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 28 มี.ค.2008, 3:33 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

อ กุ ศ ล มู ล คื อ ตั ว ก า ร

ถ้าดูแล้วจะเห็นว่า
ทั้ง ๓ ส่วนนี้มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกันมาก


ยกตัวอย่างเช่น กรณีขยะเชียงใหม่
ปฏิสัมพันธ์ที่ผ่านมาในอดีตก็คือว่าเทศบาลเคยรับปากกับชาวบ้านว่า
ถ้าจะเอาขยะไปทิ้งต้องมีวัสดุรองพื้นหลุมขยะเสียก่อน
เช่น พลาสติกหรือว่าปูนซีเมนต์
เพื่อที่จะไม่ให้ขยะนั้นซึมไปทำให้น้ำใต้ดินสกปรก
ปรากฏว่าเทศบาลไม่ได้ทำ

เมื่อเทศบาลไม่ได้ทำ
อคติเกิดขึ้นในหมู่ชาวบ้าน
พอเกิดอคติขึ้นมาแล้วมันก็นำไปสู่ความโกรธได้ง่าย
และเกิดความไม่ไว้วางใจ
นี่เป็นเรื่องเมื่อ ๒ ปีที่แล้ว

ทีนี้พอเทศบาลหรือบริษัทเอกชนที่ได้สัมปทานจะไปขอที่ชาวบ้าน
เพื่อทำที่รองรับขยะ ก็มีปัญหาขึ้นมาทันที

หลายท่านอาจจะบอกว่ากรณีขยะเชียงใหม่
มีเรื่องการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง ผลประโยชน์ท้องถิ่นเข้ามาเกี่ยวข้อง
อันนี้อาตมาไม่ปฏิเสธ แต่ว่าเป็นเพียงปัจจัยหนุน

ถ้าหากว่าชาวบ้านเขามีความไว้เนื้อเชื่อใจบริษัทหรือเทศบาลแล้ว
ปัญหาพวกนี้จะไม่เกิดขึ้นยืดเยื้อเป็นเดือน
เพราะฉะนั้น ตัวปฏิสัมพันธ์ อคติ อกุศลมูล
ทำให้ความขัดแย้งลุกลาม แล้วทำให้ปัญหาแก้ยาก

อกุศลมูล เปรียบเสมือนกับตัวที่ทำให้ประเด็น
หรือความขัดแย้งมีความขุ่นมัวมึนทึม
ทำให้ทุกอย่างยืดเยื้อไปหมด


ขอให้นึกถึงเขื่อนปากมูล นึกถึงกรณีแก่งเสือเต้น นึกถึงกรณีท่อก๊าซพม่า
กรณีเหล่านี้ยืดเยื้อเพราะบุคคลมีอคติต่อกัน

อกุศลมูล หรือ โลภ โกรธ หลง ยังทำให้ประเด็นปัญหาบานปลาย

จำกรณีไทยซัมมิทได้ไหม เดิมเป็นการประท้วงเรื่องค่าแรง
ประท้วงไปประท้วงมาเกิดตีกันพอตีกันเกิดอะไรขึ้นมา
ประเด็นก็เปลี่ยน กลายเป็นเรื่องเจ้าหน้าที่รัฐรังแกชาวบ้าน
ประเด็นมันเปลี่ยนไปเลย มีหลายครั้งที่ประเด็นเปลี่ยนไปสู่เรื่องอื่น

พูดในแง่พุทธศาสนา
ความขัดแย้งแก้ยากเพราะว่า ความโลภ โกรธ หลง


กรณีล่าสุด กรณีนักศึกษาเชียงใหม่อยากจะตบอาจารย์
หลายท่านคงได้ยินข่าวนักศึกษาเชียงใหม่อยากจะตบอาจารย์
มันสะท้อนถึงอิทธิพลของอกุศลมูลได้ไม่น้อย

เรื่องของนักศึกษาเชียงใหม่เริ่มต้นเมื่อนักศึกษาพบว่าอาจารย์ไม่ตั้งใจสอน
อาจารย์เวลามาพูดหน้าชั้นก็มักจะพูดถึงประวัติของตัวเอง
พูดถึงเรื่องลูก พูดถึงเรื่องสามี ไม่ค่อยได้สอน
แถมมีการลอกเอาตำราของอาจารย์บางท่านมาสอน

นักศึกษาคนหนึ่งก็เกิดความหงุดหงิดไม่พอใจ
เดินออกนอกห้องเป็นการประท้วง
พอเดินออกมา เกิดอะไรขึ้นมาอาจารย์ก็ไม่พอใจ
พอมีการประกาศผลสอบปรากฏว่านักศึกษาคนนั้นได้ เกรด D

(มีต่อ)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 28 มี.ค.2008, 3:39 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

การขยายตัวของความขัดแย้งไม่แน่ชัดว่า
การที่อาจารย์ให้เกรด D แก่นักศึกษาคนนั้น
เกี่ยวกับการที่อาจารย์ไม่พอใจนักศึกษาที่เดินออกนอกห้องหรือไม่
อาจจะไม่เกี่ยวข้องกันก็ได้

แต่นักศึกษาคนนั้นคิดว่าเกี่ยวข้อง ก็เลยทำเรื่องประท้วง
เขียนจดหมายเปิดผนึกถึงอาจารย์ทุกคนในคณะนั้น
แล้วก็ลงชื่อตัวเอง แต่ไม่เอ่ยชื่ออาจารย์คนนั้น

อาจารย์คนนั้นก็ไม่พอใจ
เลยพูดด่าว่านักศึกษาคนนั้นตามห้อง ตามชั้นเรียนต่างๆ

จะเห็นได้ว่าความขัดแย้งมันเริ่มขึ้น
อันนี้ โทสะ เป็นตัวหลักเลย รวมทั้ง โมหะ ด้วย


นักศึกษาได้ยินก็ต้องการไปฟังกับหู
เข้าไปในห้องอาจารย์กำลังสอนก็เกิดการเผชิญหน้า

อาจารย์ก็ไม่พอใจเลยบอกให้นักศึกษาคนนั้นออกจากห้อง
พูดไปพูดมานักศึกษาก็เข้าไปประชิดตัวอาจารย์
เพราะไม่พอใจที่อาจารย์จะไล่ตัวเองออกนอกห้อง ถือว่าไม่มีเหตุผล
มิหนำซ้ำอาจารย์บอกว่าจะเรียกเจ้าหน้าที่ ร.ป.ภ. มาจัดการ

นักศึกษาก็เลยเข้าไปประชิดตัว
เกิดการเผชิญหน้าทางกายภาพไม่ใช่เฉพาะทางถ้อยคำ
อาจารย์ก็เลยพูดถึงบุพการีของนักศึกษาผู้นั้นว่าไม่สั่งสอน
นักศึกษาคนนั้นเลยบอกว่าอยากจะตบอาจารย์สักหน่อย แต่ว่าไม่ทำ

เห็นได้ชัดว่าอกุลศลมูลมันทำให้ความขัดแย้งลุกลาม
จะเรียกว่าเป็นเกลียวที่พุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ


อาตมาพูดยาวเพื่อที่จะชี้ให้เห็นว่า

ทางพุทธศาสนาเราเน้นให้ความสำคัญกับเรื่องอกุศลมูล
คือ โลภะ โทสะ โมหะ มาก
เพราะว่ามันเป็นตัวทำให้เกิดความขัดแย้งลุกลามขึ้นมา


คราวนี้หลักการของพุทธคืออะไร
ก็คือว่าต้องจัดการกับอกุศลมูลให้ได้
เพราะถ้าอกุศลมูลแก้ไม่หมด
มันจะทำให้แก้ปัญหาครึ่งๆ กลางๆ


ยกตัวอย่างเช่น ในหลายกรณีแม้ว่าในที่สุดรัฐบาล
หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะดึงดันจนได้ตามที่ต้องการ
เช่น สร้างเขื่อนขึ้นมาได้ สร้างท่อก๊าซขึ้นมาได้

แต่ว่าเมื่อไม่จัดการกับอกุศลมูล ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกันอยู่
ยังมีอคติต่อกันอยู่ ผลก็คือเรื่องยืดเยื้อ
เขื่อนปากมูลสร้างขึ้นมาได้เสร็จ ๔-๕ ปีแล้ว
ก็ยังยืดเยื่อต่อมาอีกนาน
ประชุมกันที่ทำเนียบนายกฯ ก็หลายครั้ง
แต่ทุกวันนี้ก็ยังระแวงกันอยู่ ปัญหายังไม่จบง่ายๆ

เรื่องท่อก๊าซ ป.ต.ท. ก็เหมือนกัน
แม้ว่าสร้างท่อก๊าซได้ แต่เมื่อไม่ได้จัดการกับตัวอกุศลมูล
โดยเฉพาะความโกรธ ยังคุกรุ่นอยู่ ปัญหาก็จะตามมาอีก
นี่เรียกว่าเป็นการแก้ปัญหาแบบครึ่งๆ กลางๆ
เพราะไม่ได้จัดการกับอกุศลมูล

เพียงแต่พยายามผลักดันให้ได้ข้อเรียกร้องที่ตัวเองต้องการ ซึ่งไม่พอ

พุทธศาสนาเห็นว่า ต้องจัดการกับอกุศลมูลด้วยกุศล
ทีนี้จะจัดการอย่างไร ก็ต้องใช้กุศลเอา


ก็คือเอาชนะความโกรธด้วยความไม่โกรธ

มีพุทธพจน์พูดไว้หลายครั้งหลายหนหลายที่

เช่น เอาชนะความชั่วด้วยความดี
เอาชนะความตระหนี่ด้วยการให้
เอาชนะความเท็จด้วยสัจจะ
ก็คือการให้กุศลเอาชนะอกุศล


(มีต่อ)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 28 มี.ค.2008, 3:45 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

บ ท บ า ท ข อ ง ผู้ ไ ก ล่ เ ก ลี่ ย

ทีนี้มาพูดถึงเรื่องบทบาทของผู้ไกล่เกลี่ย

พุทธศาสนาก็มีความเห็นว่า
ผู้ไกล่เกลี่ยจะต้องช่วยหาทางขจัดอคติ
หรืออกุศลมูลในใจคู่ขัดแย้งให้ได้


เช่น ผู้ไกล่เกลี่ยต้องช่วยทำให้คู่กรณีตระหนักว่า
สิ่งที่ตนเองเรียกร้องอาจจะเรียกร้องมากเกินไป
หรือทำให้เขาเห็นว่าข้อเรียกร้องที่เขาต้องการที่จริงแล้ว
มันไม่คุ้มค่ากับสิ่งที่เขาพยายามลงทุนลงแรงไปเลย

พระพุทธองค์เคยเตือนพวกโกลิยะและศากยะที่จะทำสงครามเพื่อแย่งน้ำ

พระพุทธองค์ถามว่าน้ำกับกษัตริย์ อะไรมีค่ามากกว่ากัน
ทุกคนก็บอกว่ากษัตริย์มีค่ามากกว่า
ก็เมื่อกษัตริย์มีค่ามากกว่าจะทำสงครามแย่งน้ำกันไปทำไม

ทุกคนก็ได้สติ โลภะมันหายไปเลย
ผู้ไกล่เกลี่ยทำให้โลภะลดลงไป
โดยทำให้คู่กรณีตระหนักว่า
มีสิ่งอื่นที่มีค่ามากกว่าผลประโยชน์ทางวัตถุ
นี่เป็นการทำให้โลภะลดลง

คราวนี้ในแง่โทสะ จะลดโทสะอย่างไร
เราลดโทสะได้โดยทำให้คู่ขัดแย้งเห็นโทษของความโกรธเช่นว่า
ทำให้เกิดความสูญเสียมากขึ้น

อย่างกรณีตัวอย่างนักศึกษาเชียงใหม่
เมื่อต่างคนต่างโกรธใส่กันแล้ว มันบานปลายแล้ว ทุกฝ่ายสูญเสีย
ผลปรากฏอาจารย์คนนั้นก็เสียสติไป ร้องให้ฟูมฟาย เรียกว่า สติแตก
ส่วนนักศึกษาก็เสียใจ และเสียการเรียน
เพราะถูกลงโทษให้พักการเรียน

นักศึกษาบอกว่า คิดเพียงจะให้อาจารย์สำนึกตัวต่อไปจะได้สอนดีๆ
ปรากฏว่าผลที่ออกมาคนละเรื่องไปเลย

โทษของความรุนแรง ถ้าเราตระหนักแล้ว
เราจะพบว่าการระงับยับยั้งชั่งใจ ให้ผลดีกว่า
มันให้ผลตามเป้าหมายมากกว่า

ผู้ไกล่เกลี่ยสามารถลดโทสะด้วยการทำให้เกิดเมตตาต่อกัน
เห็นความทุกข์ความยากลำบาก หรือเจตนาของอีกฝ่ายหนึ่งแล้ว


เราต้องมองให้ลึกลงไปด้วยว่า
เพราะการกระทำของเราทำให้คู่กรณีมีส่วนแข็งกร้าวต่อเราหรือเปล่า
บางครั้งความขัดแย้งลุกลามไปได้เพราะตัวเราเอง
การกระทำของเราเอง โดยที่เราเองไม่รู้ตัว

ผู้ไกล่เกลี่ยควรทำหน้าที่นี้
ควรจะทำให้คู่กรณีตระหนักว่าอะไรจะเกิดขึ้น


ถ้าหากไม่ยอมเจรจากัน
ให้นึกถึงสถานการณ์เลวร้ายที่สุดสิว่ามันจะเป็นอย่างไรถ้าไม่มีการเจรจากัน


นี่คือการช่วยทำให้เขาเห็นภาพว่า
ถ้าความขัดแย้งลุกลามต่อไปจะเกิดอะไรขึ้นมา
อันนี้ก็จะช่วยให้เกิดสติและลดโทสะลงไปได้เหมือนกัน

อันหนึ่งที่สำคัญคือการลดโมหะหรือลดโมหาคติ เมื่อมีความขัดแย้ง

เช่นระหว่างชาวบ้านกับผู้ว่าราชการ มักจะมีอคติทั้ง ๒ ฝ่าย
ฝ่ายทางบ้านเมืองก็มักจะคิดว่า
ฝ่ายชาวชาวบ้านมีผู้หนุนหลังได้แก่นักการเมืองท้องถิ่น
ส่วนชาวบ้านก็มักจะคิดว่า ข้าราชการกับนายทุนฮั้วกัน

นี่คือทัศนคติซึ่งบางครั้งเป็นโมหาคติ ที่ควรจะแก้ไข

ผู้ไกล่เกลี่ยจะช่วยได้ในการทำให้เกิดความเข้าใจที่ดีต่อกัน
ที่สำคัญคือการทำให้เห็นมุมมองที่ต่างกัน
สถานการณ์เดียวกัน พฤติการณ์อย่างเดียวกัน
แต่มองคนละแง่คนละมุมก็ทำให้เกิดอคติต่อกันได้

อันนี้ผู้ไกล่เกลี่ยควรจะช่วยทำให้เขาได้ตระหนักว่า
จริงๆ แล้วทั้ง ๒ ฝ่ายไม่ได้มีเจตนาหรือมีอคติต่อกัน
หรือการทำให้คู่กรณีได้ชั่งใจระหว่างประโยชน์ระยะสั้น
จนลืมประโยชน์ระยะยาวไปเสีย

(มีต่อ)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 28 มี.ค.2008, 3:52 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

บทสรุปก็คือว่า

บทบาทสำคัญของผู้ไกล่เกลี่ยก็คือการลดอคติในคู่กรณี
ไม่ว่าจะเป็น โทสะ โลภะ หรือโมหะ


และวิธีกระตุ้น และวิธีที่จะช่วยลดอคติได้ดีที่สุดคือ

การกระตุ้นให้คิด เทศนาสั่งสอนบางครั้งก็ไม่ช่วย
การกระตุ้นให้เขาฉุกคิดขึ้นมาได้มีประโยชน์มากกว่า


อย่างที่อาตมายกกรณีพระพุทธองค์ห้ามสงคราม
ระหว่างพระเจ้าวิฑูฑภะที่จะยาตราทัพไปถล่มกรุงกบิลพัสดุ์ของเจ้าศากยะ

วิฑูฑภะนี้มีแม่เป็นศูทร เป็นนางทาส
เนื่องจากพวกศากยะหลอกให้ พระเจ้าปเสนทิโกสล แต่งงานกับนางทาส
วิฑูฑภะก็เลยเป็นลูกของนางทาส
จึงถูกรังเกียจเหยียดหยามจากพวกศากยะซึ่งเป็นพวกถือวรรณะ
วิฑูฑภะเกลียดชังพวกศากยะมากเมื่อได้เป็นเจ้าแผ่นดิน
ก็จะยาตราทัพไปทำลายกรุงกบิลพัสดุ์

พระพุทธองค์เข้าไปห้าม ห้ามอย่างไร
ทรงเข้าไปห้ามโดยพระองค์ไปนั่งอยู่กลางแดด
วิฑูฑภะเมื่อยาตราทัพผ่านมาก็ถามว่า
ทำไมพระพุทธองค์ไม่ไปนั่งใต้ร่มไม้

พระพุทธองค์ก็ตรัสว่า

"เงาของหมู่ญาติร่มเย็นกว่าร่มไม้"

พูดอย่างนี้เข้าวิฑูฑภะก็สำนึกขึ้นมาได้ว่า
พระญาติเป็นสิ่งสำคัญก็เลยยกทัพกลับ
แต่ตอนหลังพระพุทธองค์ก็ห้ามไม่ได้

กรณีแม่น้ำโรหิณีที่ว่าแย่งน้ำกันระหว่างพวกศากยะกับพวกโกลิยะ
พระพุทธองค์ทีแรกก็ถามว่าน้ำกับกษัตริย์อะไรมีค่ามากกว่ากัน
พอถามเช่นนี้ทั้ง ๒ ฝ่ายก็ระลึกขึ้นได้ว่า ไม่สมควรฆ่ากันเพื่อแย่งน้ำ

กรณีร่วมสมัยกรณีหนึ่ง
อาตมาคิดว่าน่าสนใจเมื่อประมาณปี ๒๕๑๐
เกิดสงคราม ๖ วันระหว่างอียิปต์กับอิสราเอล

อิสราเอลก็ยึดบางส่วนของประเทศอียิปต์
ได้ที่ราบสูงโกลานและแหลมไซนาย
ทางอียิปต์ก็เรียกร้องขอให้อิสราเอลถอนกำลังทหารออกจากดินแดนซึ่งเป็นของอียิปต์
ก็ยื้อกันทั้ง ๒ ฝ่าย เพราะว่าอิสราเอลไม่ยอม

อียิปต์ก็ยืนกระต่ายขาเดียว
ให้อิสราเอลถอนทหารออกไปจากดินแดนของตนเอง
มีคราวหนึ่งนักข่าวก็ไปถาม นัสเซอร์ (ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีอียิปต์เวลานั้น) ว่า

"ท่านต้องการเรียกร้องอะไรจากอิสราเอล"

นัสเซอร์ก็บอกว่าขอเรียกร้องให้อิสราเอล
ถอนกำลังทหารออกจากพื้นที่ของอียิปต์ทั้งหมด
ไม่ว่าจะเป็นแหลมไซนาย หรือที่ราบสูงโกลานอย่างไม่มีเงื่อนไขใดๆ

นักข่าวคนนั้นก็ถามว่า

อะไรจะเกิดขึ้นกับ โกลด้า แมร์ นายกรัฐมนตรีอิสราเอล
ถ้าหากวันพรุ่งนี้เธอไปปรากฏตัวต่อหน้าสถานีวิทยุโทรทัศน์
แล้วบอกกับประชาชนว่า

"ต่อไปนี้ เราจะถอนทหารอิสราเอลทั้งหมด
ออกจากที่ราบสูงโกลานและแหลมไซนายออกไปให้หมดเลย
นอกจากนี้ข้าพเจ้ายังมีข่าวบอกอีกว่า เราจะถอนไปโดยที่เราไม่ได้อะไรเลย"


นักข่าวคนนั้นถามว่า

ถ้าโกลด้า แมร์ พูดอย่างนี้กับประชาชนอิสราเอล
ท่านคิดว่าอะไรจะเกิดขึ้น นัสเซอร์ก็บอกว่า

ถ้าพูดอย่างนี้ โกลด้า แมร์ก็แย่แน่ๆ เลย

(มีต่อ)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 28 มี.ค.2008, 3:55 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

ผู้ไกล่เกลี่ยควรทำหน้าที่เหมือนนักข่าวคนนั้น
คือตั้งคำถามให้คู่กรณีตระหนักว่า

ข้อเรียกร้องของตนเองนั้นบางครั้งก็มากเกินไป
ขอให้สังเกตว่าผู้ไกล่เกลี่ย
จะสามารถระงับความขัดแย้งได้เพราะการตั้งคำถาม

การตั้งคำถามเป็นเครื่องมือที่สำคัญมากสำหรับผู้ไกล่เกลี่ย
การเทศน์ช่วยได้บ้าง
แต่การตั้งคำถามให้คู่กรณีคิดขึ้นมาเองจะช่วยมากกว่า


และคำถามควรจะเป็นคำถามเปิดไม่ใช่คำถามปิด

ทุกวันนี้คนไทยเราทะเลาะกัน เพราะเราใช้คำถามปิดกัน
เช่น จะเอาเขื่อนแก่งเสือเต้นหรือไม่ จะเอาเขื่อนน้ำโจนหรือเปล่า
จะเอาโรงไฟฟ้าขยะหรือไม่ มีแต่คำถามที่ต้องตอบว่า ใช่หรือไม่ใช่ทั้งนั้น
นี่เรียกว่าคำถามปิด ตั้งคำถามผิด ความคิดเราก็เลยติดตัน

เพราะเราถามกันแต่เพียงว่า จะเอาเขื่อนหรือไม่เอาเขื่อน

ถ้าเราถามอย่างนี้มันก็จะมี ๒ พวก
พวกหนึ่งเอา พวกหนึ่งไม่เอา แบ่งเป็น ๒ ขั้ว ขัดแย้งกัน
เราควรจะถามใหม่ว่าเราเรียกร้องเขื่อนแก่งเสือเต้นไปเพื่ออะไร
เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมใช่ไหม

ถ้าเป็นเช่นนั้นเราควรจะถามคำถามใหม่ว่าเราจะแก้ปัญหาน้ำท่วมได้อย่างไร?

คำถามว่า "อย่างไร" นี่ตอบได้เยอะเลย
นี่เรียกว่าคำถามเปิด


ถ้าเราใช้คำถามว่า "เอาหรือไม่เอา" "ใช่หรือไม่ใช่" นี่เป็นคำถามปิด

มันเกิด ๒ พวกขึ้นมา

แต่ถ้าเราตั้งคำถามเปิดเช่น จะแก้ปัญหาอย่างไร
คำถามเปิดอย่างนี้มันทำให้จินตนาการกว้างไกล
คิดได้ร้อยแปดว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร
โดยที่ไม่ติดกับเขื่อนหรือไม่เขื่อน

กรณีเขื่อนแก่งเสือเต้นเป็นกรณีหนึ่ง
ที่อาตมาคิดว่าเราควรตั้งคำถามใหม่ควรตั้งคำถามเปิด
และผู้ไกล่เกลี่ยควรทำหน้าที่นี้คือตั้งคำถามเปิดเป็นหลัก
ไม่ใช่ตั้งคำถามปิด

นอกจากนั้นการพูดด้วยสัจจะ เมตตา และสติเป็นสิ่งสำคัญ

แต่อาตมาไม่มีเวลาจะลงรายละเอียด

(มีต่อ)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 28 มี.ค.2008, 4:03 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

ธ ร ร ม ะ แ ล ะ วิ นั ย :
สิ่ ง จำ เ ป็ น สำ ห รั บ ก า ร ไ ก ล่ เ ก ลี่ ย


อาตมาคงจะไม่ใช้เวลามาก
แต่คิดว่ามีอีก ๒-๓ ประเด็นอยากจะเน้น
คือการพยายามที่จะช่วยให้คู่ขัดแย้งพยายามคิดในกรอบใหม่

คือ ไม่ใช่คิดแต่ในแง่แพ้หรือชนะ
แต่คิดในกรอบที่เรียกว่าได้ประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่าย
จะเรียกว่าประสานประโยชน์ก็ได้


เพราะการคิดแบบแพ้ชนะ
ในที่สุดแล้ว มักจะลงเอยด้วยการแพ้ ทั้ง ๒ ฝ่าย


กรณีเขื่อนปากมูลถึงแม้จะสร้างได้
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า กฟผ. หรือ ปตท. ชนะ
เพราะว่าเสียชื่อ เสียหายหลายอย่าง
เสียเงินอีกด้วยเพราะโครงการยืดเยื้อ
และบางกรณีก็ยับเยินไปเลย

กรณีแทนทาลัมที่ภูเก็ต ปี ๒๕๒๙
ยับเยินทั้ง ๒ ฝ่าย โรงงานสร้างไม่ได้
เพราะถูกเผา คนภูเก็ตก็เสียหาย
ไม่มีโครงการอะไรที่จะมาลงที่ภูเก็ตต่อไปเพราะเขากลัว

ในสหรัฐฯมีกรณีผัวเมียแบ่งสมบัติหลังจากหย่ากัน
พอศาลบอกว่าให้แบ่งสมบัติกันคนละครึ่ง
สามีขายอะไรได้ต้องแบ่งให้ภรรยาครึ่งหนึ่ง สามีก็ไม่พอใจ

สามีทำอย่างไรทราบไหม
เอารถราคานับหมื่นไปขายด้วยราคา ๑ เหรียญ
เพราะไม่อยากให้ภรรยาได้เงินมาก

ผลคืออะไรสามีก็ได้แค่ครึ่งเหรียญ
นี่เรียกว่าวิธีคิดแบบแพ้ทั้ง ๒ ฝ่าย
เพื่อที่ต้องการแก้แค้นอีกฝ่ายหนึ่งให้มันสะใจ
ไม่อยากให้อีกฝ่ายหนึ่งได้เงินมากก็เลยแกล้งเขา
ผลคือตัวเองก็เดือดร้อนด้วย

จะสังเกตว่าบางทีเราแก้ปัญหากันอย่างนี้ทั้งนั้น
เพื่อความสะใจเพราะขาดสติ
ตรงนี้ผู้ไกล่เกลี่ยต้องเตือนสติตรงนี้


ที่อาตมาพูดมาทั้งหมดนี้เน้นเรื่องธรรมะ
หรือปรับทัศนคติปรับจิตปรับใจ

แต่อย่าเพิ่งเข้าใจว่าพุทธศาสนา เน้นเฉพาะเรื่องธรรมะ
หรือเน้นเฉพาะเรื่องการทำใจให้มีขันติ
ให้มีเมตตา ให้ลดโทสะ โลภะ โมหะ เท่านั้น

ที่จริงพุทธศาสนามีมากกว่านั้น
พุทธวิธีไม่ได้เน้นเฉพาะเรื่องธรรมะอย่างเดียว
วิธีการหรือกระบวนการก็มีความสำคัญ


จริงๆ แล้วในพุทธศาสนามีกระบวนการแก้ไขความขัดแย้งอยู่มาก
แต่ว่ากระบวนการเหล่านั้นเป็นกระบวนการที่มักจะใช้ในคณะสงฆ์

เวลาพระมีความขัดแย้ง เราเรียกว่า อธิกรณ์
พระวินัยที่เกี่ยวกับอธิกรณ์มีเยอะมาก
ระเบียบขั้นตอนต่างๆ ที่เรียกว่ากระบวนการนี่มีเยอะ
วิธีการแก้ไขความขัดแย้งทำได้หลายอย่าง

เช่น วิธีการตัดสินโดยใช้เสียงส่วนใหญ่
เรียกว่า เยภุยยสิกา
วิธีการยอมรับผิดโดยที่ไม่จำเป็นต้องให้มีการพิจารณาก็มี
เรียกว่า ปฏิญญาตกรนะ
วิธีการให้ประนีประนอมกันทั้ง ๒ ฝ่าย
เรียกว่า ติณวัตถารกวินัย ไม่ต้องชี้ถูกชี้ผิดก็มี

กรณสมถะ หรือวิธีการระงับความขัดแย้งในคณะสงฆ์มีถึง ๗ วิธี
ที่อาตมาพูดมาเมื่อกี้มีแค่ ๓ วิธีเท่านั้น


พุทธศาสนาให้ความสำคัญกับกระบวนการมาก
ไม่ใช่เน้นให้ทุกคนมีเมตตาอย่างเดียว
แต่ยังคิดค้นกระบวนวิธี
เพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งหรืออธิกรณ์อย่างมีประสิทธิภาพ


พุทธศาสนาบางทีมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ธรรมวินัย
ธรรมะ เป็นเรื่องในใจ
วินัย เป็นเรื่องเกี่ยวกับระเบียบข้อบังคับ กฎเกณฑ์ภายนอก
ทั้ง ๒ อย่างต้องไปด้วยกัน จะขาดอันใดอันหนึ่งไม่ได้


อย่างไรก็ตาม ทั้งธรรมะและวินัย
เป็นสิ่งที่เราควรจะคิดต่อ และทำให้เป็นรูปธรรม
โดยเฉพาะวินัยส่วนที่เป็นกระบวนไกล่เกลี่ยนั้น
ที่พูดมาข้างต้นเป็นวิธีการที่ใช้สำหรับคณะสงฆ์เท่านั้น

ควรที่เราจะพัฒนาและปรับปรุงเพื่อให้เหมาะแก่สังคมฆราวาสด้วย

อาตมาเชื่อว่าในพุทธศาสนามีขุมทรัพย์อีกมากมาย
ที่เราสามารถ "ขุด" มาใช้
เพื่อการไกล่เกลี่ยคืนดีในสังคมไทยได้อย่างสมสมัย
ประเด็นอยู่ที่ว่าเราให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เพียงใด


สาธุ สาธุ สาธุ

(ปรับปรุงจากการบรรยายในการประชุมปฏิบัติการเรื่อง
"รัฐธรรมนูญกับการระงับความขัดแย้งในสังคมไทย"
จัดโดยสภาความมั่งคงแห่งชาติและสถาบันสันติศึกษา, มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๔๑)


สาธุ สาธุ สาธุ

(คัดลอกบางตอนและเรียบเรียงมาจาก
หลักการไกล่เกลี่ยแบบพุทธ โดย พระไพศาล วิศาโล)

http://review.semsikkha.org/content/view/474/76/
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง