Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 สิ่งที่ปิดบังไตรลักษณ์ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 26 มี.ค.2008, 9:22 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ตามเว็บไซต์ธรรมะทั่วๆ ไปพูดถึงไตรลักษณ์

(= ลักษณะสาม คือ ความเป็นอนิจจัง ความเป็นทุกข์ ความเป็นอนัตตา)

หรือที่เรียกว่า สามัญลักษณะบ่อยๆ

เพราะว่าเป้าหมายการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ก็เพื่อต้องการรู้เห็นกายใจ

หรือรูปนามตนเองว่าเป็นอย่างนั้น ซึ่งโดยธรรมชาติกายใจมนุษย์นี้

ก็มีสภาพเป็นไตรลักษณ์อยู่เองแล้วโดยธรรมดาของมัน

แต่มนุษย์เองต่างหากที่ไม่มองเห็นเอง เพราะไม่เคยมนสิการโดยชอบมาก่อนเลย

บวกทั้งเหมือนมีสิ่งบดบังไว้ด้วย จึงยากยิ่งเข้าไปใหญ่

เมื่อมนุษย์มองไม่เห็นกายใจนี้ตามที่มันเป็นของมัน

ก็จึงวนเวียนๆ อยู่บนกองทุกข์ซ้ำแล้วซ้ำเล่า


แล้วสิ่งใดกันล่ะที่ปิดบังสามัญลักษณะเหล่านั้น ให้ไม่มองเห็นสภาพความเป็นจริง

ของชีวิต ซึ้ง

 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 26 มี.ค.2008, 12:33 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ต่อไปจะนำคำอธิบายไตรลักษณ์จากพุทธธรรมหน้า 70/6 ซึ่งท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์

นำมาจากวิสุทธิ. 3/275; วิภงฺค.อ.65; วิสุทธิ. ฎีกา. 3/522

ตามลำดับข้อ ดังต่อไปนี้


สิ่งที่ปิดบังไตรลักษณ์

-ทั้งที่ความเป็นอนิจจัง ทุกข์ และอนัตตา นี้ เป็นลักษณะสามัญของสิ่งทั้งหลาย

เป็นความจริง ที่แสดงตัวของมันเองอยู่ตามธรรมดาตลอดทุกเวลา แต่คนทั่วไป

ก็มองไม่เห็น ทั้งนี้เพราะเป็นเหมือนมีสิ่งปิดบังคอยซ่อนคลุมไว้

ถ้าไม่มนสิการ คือไม่ใส่ใจพิจารณาอย่างถูกต้อง ก็มองไม่เห็น

สิ่งที่เป็นเหมือนเครื่องปิดบังซ่อนคลุมเหล่านี้ คือ

1. สันตติ บังอนิจจลักษณะ

2. อิริยาบถ บังทุกขลักษณะ

3. ฆนะ บังอนัตตลักษณะ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 26 มี.ค.2008, 12:38 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ความหมายของศัพท์

-สันตติ - ความสืบต่อ หรือ ความเป็นไปอย่างต่อเนื่อง

-อิริยาบถ-ความยักย้ายเคลื่อนไหว

-ฆนะ- ความเป็นแท่ง เป็นก้อน เป็นชิ้น เป็นอัน เป็นมวล หรือเป็นหน่วยรวม
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 26 มี.ค.2008, 12:44 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ข้อที่หนึ่ง ที่ว่า สันตติ บังความเป็นอนิจจัง ท่านอธิบายไว้ดังนี้


1. สันตติ บังอนิจจลักษณะ


-ท่านกล่าวว่า เพราะมิได้มนสิการความเกิดและความดับ หรือความเกิดขึ้นและความเสื่อม

สิ้นไป ก็ถูก สันตติ ความสืบต่อ หรือ ความเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ปิดบังไว้

อนิจจลักษณะจึงไม่ปรากฏ


สิ่งทั้งหลายที่เรารู้เราเห็นนั้นล้วนแต่มีความเกิดขึ้นและความแตกสลายอยู่ภายในตลอดเวลา

แต่ความเกิดดับนั้นเป็นไปอย่างหนุนเนื่องติดต่อกันรวดเร็วมาก คือ

เกิด-ดับ- เกิด-ดับ เกิด-ดับ ฯลฯ

ความเป็นไปอย่างต่อเนื่องอย่างรวดเร็วยิ่งนั้น ทำให้เรามองเห็นเป็นว่า สิ่งนั้นคงที่ถาวร

เป็นอย่างหนึ่งอย่างเดิม ไม่มีความเปลี่ยนแปลง

เหมือนอย่างตัวเราเอง หรือคนใกล้เคียงอยู่ด้วยกัน มองเห็นกันเสมือนว่าเป็นอย่างเดิม

ไม่เปลี่ยนแปลง

แต่เมื่อเวลาผ่านไปนาน สังเกตดู หรือไม่เห็นกันนานๆ

เมื่อพบกันอีกจึงรู้ว่าได้มีเปลี่ยนแปลงไปแล้วจากเดิม


แต่ตามความเป็นจริง ความเปลี่ยนแปลงนั้นเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาทีละน้อยและต่อเนื่อง

จนไม่เห็นช่องว่าง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 26 มี.ค.2008, 12:50 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ตัวอย่าง เปรียบเทียบพอให้เห็นง่ายขึ้น เช่น ใบพัดที่กำลังหมุนอยู่อย่างเร็วยิ่ง

มองเห็นเป็นแผ่นกลมแผ่นเดียวนิ่ง เมื่อทำให้หมุนช้าลง ก็เห็นเป็นใบพัดกำลังเคลื่อนไหว

แยกเป็นใบๆ

เมื่อจับหยุดมองดูก็เห็นชัดว่าเป็นใบพัดต่างหากกัน 2 ใบ 3 ใบ หรือ 4 ใบ


หรือ เหมือนคนเอามือจับก้านธูปที่จุดไฟติดอยู่แล้วแกว่งหมุนอย่างรวดเร็วเป็นรูปวงกลม

มองดูเหมือนเป็นไฟรูปวงกลม

แต่ความจริง เป็นเพียงธูปก้านเดียวที่ทำให้เกิดรูปต่อเนื่องติดเป็นพืดไป


หรือ เหมือนหลอดไฟฟ้าที่ติดไฟอยู่สว่างจ้า มองเห็นเป็นดวงไฟที่สว่างคงที่

แต่ความจริงเป็นกระแสไฟฟ้าที่เกิดดับไหลเนื่องผ่านไปอย่างรวดเร็ว


หรือ เหมือนมวลน้ำในแม่น้ำ ที่มองดูเป็นผืนหนึ่งผืนเดียว

แต่ความจริงเป็นกระแสน้ำที่ไหลผ่านไปๆ เกิดจากน้ำหยดน้อยๆ มากมายมารวมกัน

และไหลเนื่อง


สิ่งทั้งหลายดังตัวอย่างเหล่านี้ เมื่อใช้เครื่องมือ หรือวิธีการที่ถูกต้อง มากำหนดแยกมนสิการ

เห็นความเกิดขึ้นและความดับไป จึงจะประจักษ์ความไม่เที่ยงแท้ ไม่คงที่ เป็นอนิจจัง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 26 มี.ค.2008, 7:38 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


(เนื่องจากมีผู้นำหลักอนิจจังไปคิดบ่อยๆ คิดผิดบ้าง ถูกบ้าง จึงแทรกข้อคิดไว้ช่วงนี้เลย)


-มีผู้นำ หลักอนิจจตามาใช้เป็นเครื่องปลอบใจตนเอง หรือปลอบใจผู้อื่น ในเมื่อเกิดพิบัติ

ความทุกข์ ความสูญเสียต่างๆ ซึ่งก็ได้ผล ช่วยให้คลายทุกข์ลงได้ มากบ้าง น้อยบ้าง

การใช้หลักอนิจจตาในรูปนี้ ย่อมเป็นประโยชน์บ้าง เมื่อใช้ในโอกาสที่เหมาะสม

และโดยเฉพาะสำหรับให้สติแก่ผู้ไม่คุ้น หรือไม่เคยสำนึกในหลักความจริงนี้มาก่อน

แต่ถ้า ถึงกับนำเอาการปลอบใจตัวแบบนี้มาเป็นหลักในการดำรงชีวิต หรือมีชีวิตอยู่

ด้วยการปลอบใจตัวเองอย่างนี้ จะกลับเป็นโทษมากกว่า เพราะเท่ากับเป็นการปล่อยตัว

ลงเป็นทาสในกระแสโลก หรือการไม่ได้ใช้หลักอนิจจตาให้เป็นประโยชน์นั่นเอง

เป็นการปฏิบัติผิดต่อหลักกรรมในด้านจริยธรรม ขัดต่อการแก้ไขปรับปรุงตนเองเพื่อ

เข้าถึงจุดหมาย ที่พุทธธรรมจะให้แก่ชีวิตได้


บางคนทำงานอะไรไม่ประสบผลสำเร็จมีอุปสรรค ท้อเบื่อชีวิต จึงคิดว่า ทรัพย์สิน เงินทอง

ตายไปก็เอาไปไม่ได้

สิ่งทั้งหลายไม่ยั่งยืน ย่อมเปลี่ยนแปลงไป จะทำอะไรไปทำไมกัน

แล้วปล่อยชีวิตให้เลื่อนลอย ปล่อยอะไรๆ ไปตามเรื่อง แสดงถึงความเข้าใจผิด และปฏิบัติผิด

ต่อหลักอนิจจตา ขัดกับพุทธโอวาทที่เป็นปัจฉิมวาจาว่า “สังขารทั้งหลาย มีความเสื่อมสิ้น

ไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงทำกิจด้วยความไม่ประมาท”


ที.ม.10/143/180)


(แปลอีกอย่างหนึ่งว่า “ท่านทั้งหลายจงยังประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยความ

ไม่ประมาท”
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 27 มี.ค.2008, 8:09 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 26 มี.ค.2008, 8:14 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


(ต่อไปอธิบายข้อ 2 อิริยาบถ ปิดบังทุกข์ ผู้ซึ่งปฏิบัติกรรมฐาน พึงทำความเข้าใจ

เพราะจะเป็นประโยชน์แก่ตน ในขณะปฏิบัติกรรมฐาน)


2. อิริยาบถ บังทุกขลักษณะ


-ท่านกล่าวว่า เพราะมิได้มนสิการความบีบคั้น กดดันที่มีอยู่ตลอดเวลา ก็ถูก อิริยาบถ

คือ ความยักย้ายเคลื่อนไหว ปิดบังไว้

ทุกขลักษณะ จึงไม่ปรากฏ


ภาวะที่ทนอยู่ มิได้

หรือ ภาวะที่คงสภาพเดิม อยู่มิได้

หรือ ภาวะที่ไม่อาจคงอยู่ในสภาพเดิมได้

ด้วยมีแรงบีบคั้น กดดันขัดแย้ง เร้าอยู่ภายในส่วนประกอบต่างๆนั้น (= สภาวะทุกข์)

จะถึงระดับที่ปรากฏแก่สายตา

หรือ ความรู้สึกของมนุษย์

มักจะต้อง ใช้เวลาระยะหนึ่ง (ไม่ระบุเวลาที่แน่นอน)

แต่ในระหว่างนั้น

ถ้ามีการคืบเคลื่อน ยักย้าย

หรือ ทำให้แปรรูป เป็นอย่างอื่นไปเสียก่อน ก็ดี

สิ่งที่ถูกสังเกตเคลื่อนย้าย พ้นจากผู้สังเกตไปเสียก่อน (= สภาวะเปลี่ยนตามเหตุปัจจัยของมัน

แต่โยคีไม่สังเกตรู้)

หรือ ผู้สังเกตแยกพราก จากสิ่งที่ถูกสังเกต ไปเสียก่อน ก็ดี

ภาวะที่บีบคั้น กดดัน ขัดแย้งนั้น ไม่ทันปรากฏให้เห็น (= โยคีเคลื่อนไหว จึงไม่เห็นทุกข์

ตามสภาวะ)

ปรากฏการณ์ ส่วนใหญ่ มักเป็นเช่นนี้ ทุกขลักษณะ จึงไม่ปรากฏ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 26 มี.ค.2008, 8:21 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ในร่างกายของมนุษย์นี้แหละ

ไม่ต้องรอให้ถึงขั้นชีวิตแตกดับดอก

แม้ในชีวิตประจำวันนี้เอง

ความบีบคั้น กดดัน ขัดแย้งก็มีอยู่ตลอดเวลา ทั่วองคาพยพ

จนทำให้มนุษย์ไม่อาจอยู่นิ่งเฉย ในท่าเดียวได้

ถ้าเราอยู่ หรือ ต้องอยู่

ในท่าเดียวนานมากๆ เช่น

ยืนอย่างเดียว

นั่งอย่างเดียว

เดินอย่างเดียว

นอนอย่างเดียว

ความบีบคั้น กดดันตามสภาวะ จะค่อยๆ เพิ่มมากขึ้น ๆ

จนถึงระดับที่เกิดเป็นความรู้สึกบีบคั้น กดดัน

ที่คนทั่วไปเรียกว่า “ทุกข์”

เช่น เจ็บ ปวด เมื่อย

จนในที่สุดก็จะทนไม่ไหว และต้องยักย้ายเปลี่ยน ไปสู่ท่าอื่น

ที่เรียกว่า อิริยาบถอื่น

เมื่อความบีบคั้น กดดัน อันเป็นทุกข์ตามสภาวะนั้นสิ้นสุดลง

ความบีบคั้น กดดัน ที่เรียกว่า ความรู้สึกทุกข์ (ทุกขเวทนา)

ก็หายไปด้วย

(ในตอนที่ความรู้สึกทุกข์หายไปนี้ มักจะมีความรู้สึกสบาย ที่เรียกว่า “ความสุข”

เกิดขึ้นมาแทนด้วย แต่อันนี้ เป็นเพียงความรู้สึกเท่านั้น ว่าโดยสภาวะแล้ว มีแต่ความ

ทุกข์หมดไปอย่างเดียว เข้าสู่ภาวะปราศจากทุกข์)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 26 มี.ค.2008, 8:26 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ในความเป็นอยู่ประจำวันนั้น

เมื่อเราอยู่ในท่าหนึ่ง หรืออิริยาบถหนึ่งนานๆ

พอจะรู้สึก ปวด

เมื่อย

เป็นทุกข์

เราก็ชิงเคลื่อนไหว เปลี่ยนไปสู่ท่าอื่น หรืออิริยาบถอื่นเสีย

หรือ เรามักจะเคลื่อนไหว เปลี่ยนท่า เปลี่ยนอิริยาบถอยู่เสมอ

จึงหนีรอด จากความรู้สึกทุกข์ ไปได้

เมื่อไม่รู้สึก ทุกข์

ก็เลยพลอยมองข้าม ไม่เห็นความทุกข์ ที่เป็นความจริงตามสภาวะ ไปเสียด้วย

ท่านจึงว่า อิริยาบถ บังทุกขลักษณะ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 27 มี.ค.2008, 9:57 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


(ข้อ 3 ฆนะ บังความเป็นอนัตตา

หลักธรรมข้อนี้ ตามเว็บธรรมะเข้าใจผิดอธิบายผิดกันส่วนมาก โดยเฉพาะความเป็นอนัตตา)


3. ฆนะ บังทุกขลักษณะ


-ท่านกล่าวว่า เพราะมิได้มนสิการความแยกย่อยออกเป็นธาตุต่างๆ

ก็ถูก ฆนะ คือ ความเป็นแท่ง เป็นก้อน เป็นชิ้น เป็นอัน เป็นมวล หรือเป็นหน่วยรวม

ปิดบังไว้

อนัตตลักษณะ จึงไม่ปรากฏ


-สิ่งทั้งหลายที่เรียกว่า อย่างนั้นอย่างนี้ ล้วนเกิดจากเอาส่วนประกอบทั้งหลายมารวบรวม

ปรุงแต่งขึ้น เมื่อแยกย่อยส่วนประกอบเหล่านั้นออกไปแล้ว สิ่งที่เป็นหน่วยรวมซึ่งเรียกว่า

อย่างนั้นๆ ก็ไม่มี


โดยทั่วไป มนุษย์มองไม่เห็นความจริงข้อนี้ เพราะถูกฆนสัญญา คือความจำหมาย

หรือความสำคัญหมายเป็นหน่วยรวมคอยปิดบังไว้

เข้ากับคำกล่าวอย่างชาวบ้านว่า เห็นเสื้อ แต่ไม่เห็นผ้า

เห็นแต่ตุ๊กตา มองไม่เห็นเนื้อยาง


คือ คนที่ไม่ได้คิด ไม่ได้พิจารณา บางทีก็ถูกภาพตัวตนปิดบังตาหลอกไว้ ไม่ได้มองเห็น

เนื้อผ้าที่ปรุงแต่งขึ้นเป็นรูปเสื้อนั้น ซึ่งว่าที่จริงผ้านั้นเองก็ไม่มี มีแต่เส้นด้ายมากมายที่มา

เรียงกันเข้าตามระเบียบ ถ้าแยกด้ายทั้งหมดออกจากกัน ผ้านั้นเองก็ไม่มี


หรือ เด็กที่มองเห็นแต่รูปตุ๊กตา เพราะถูกภาพตัวตนของตุ๊กตาปิดบังหลอกตาไว้

ไม่ได้มองถึงเนื้อยาง ซึ่งเป็นสาระที่แท้จริงของตัวตุ๊กตานั้น

เมื่อจับเอาแต่ตัวจริง ก็มีแต่เนื้อยาง หามีตุ๊กตาไม่

แม้เนื้อยางนั้นเอง ก็เกิดจากส่วนผสมต่างๆ มาปรุงแต่งขึ้นต่อๆกันมา

ฆนสัญญา ย่อมบังอนัตตลักษณะไว้ในทำนองแห่งตัวอย่างง่ายๆ ที่ได้ยกมากล่าวไว้นี้


เมื่อใช้อุปกรณ์ หรือวิธีการที่ถูกต้องมาวิเคราะห์มนสิการ เห็นความแยกย่อยออก

เป็นส่วนประกอบต่างๆ จึงจะประจักษ์ในความไม่ใช่ตัวตน มองเห็นว่า เป็นอนัตตา
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 27 มี.ค.2008, 7:38 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


หลักไตรลักษณ์ ท่านอธิบายขยายขอบเขต การพิจาณาออกไปอย่างกว้างขวาง

ครอบคลุมทั้งขันธ์ 5 ที่เป็นภายใน และขันธ์ 5 ที่เป็นภายนอก ทั้งอายนตะภายใน

และอายตนะภายนอก เป็นการมองทั้งชีวิต และสิ่งทั้งปวงที่ชีวิตเข้าไปเกี่ยวข้อง

คือว่า ด้วยชีวิตและโลกทั่วไปทั้งหมดทั้งสิ้น


ส่วนหลักขันธ์ 5 (เบญจขันธ์) ก็ดี

หลักอายตนะ 6 (สฬายตนะ = ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ก็ดี

เน้นการศึกษาพิจารณาเกี่ยวกับชีวิต คือ ว่าด้วยขันธ์ 5 ที่เป็นภายใน และอายตนะภายใน

เป็นสำคัญ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 30 มี.ค.2008, 6:51 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


(หลักไตรลักษณ์ เป็นเสมือนประตูแห่งการรู้แจ้งสัจธรรม ด้วยภาวนามัยอย่างถูกวิธี

การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจึงจะสำเร็จประโยชน์สูงสุด คือ พ้นจากทุกข์ทั้งปวง ไม่ใช่คิดนึก

คาดเดาเอา ว่าน่าจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ หรือ เป็นอย่างนั้นๆ ตามทิฏฐิความเห็นของตน )

บางคนยังไม่ได้รู้เห็นความจริงด้วยความประจักษ์แจ้งไตรลักษณ์ เป็นแต่ได้ยินได้ฟังมา

และคิดเห็นไปตามเหตุผล พร้อมทั้งถือไปตามสัญญาว่า จะต้องไม่ยึดติดถือมั่นสิ่งใดๆ

ในโลก จึงจะหลุดพ้นจากทุกข์

เมื่อคิดคำนึงไปเช่นนั้น จึงพยายามแสดงทั้งแก่ตนและแก่ผู้อื่นว่า ตนไม่ยึดติดถือมั่น

ต่อสิ่งทั้งหลาย หรือหมดกิเลสแล้ว โดยการที่ไม่เอาเรื่องเอาราวอะไร

ทำให้เกิดการกระทำ และ การไม่กระทำที่เกินพอดี และเกินเลยความสมควร

ตามความเป็นจริง

การเพิกเฉยละเลยเรื่องที่ควรเอาใจใส่ และการไม่กระทำกิจที่ควรทำ โดยไม่สมเหตุผล

อาการละเลยการกระทำให้ลักษณะนี้ เรียกว่า ความยึดมั่น ในความไม่ยึดมั่น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 30 มี.ค.2008, 7:04 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 30 มี.ค.2008, 6:57 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ความไม่ยึดติดถือมั่นจะเกิดขึ้นเอง เป็นผลมาจากการมองเห็นสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง

เมื่อมองเห็นไตรลักษณ์ชัดเจนแล้ว

ไตรลักษณ์นั้นเป็นสภาวสัจจะ หรือความจริงตามสภาวะ ซึ่งเป็นเรื่องสำหรับปัญญาจะรู้เข้า

ใจ ซึ่งเมื่อรู้เข้าใจเท่าทันแล้ว ก็จะทำให้จิตหลุดพ้นเป็นอิสระ และในเวลาเดียวกันนั้น

ไตรลักษณ์ ก็เป็นเครื่องเร้าเตือน ทำให้ผู้รู้เข้าใจ ไตรลักษณ์แล้ว เกิดความไม่ประมาท

เร่งรัดทำกิจที่ควรทำ และหลีกเว้นการที่ควรเว้น ขวนขวายสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงาม

ด้วยการปฏิบัติตามหลักจริยธรรมต่างๆ


การเห็นไตรลักษณ์ด้วยมนสิการอย่างถูกวิธี จะนำให้เกิดคุณค่าทางจริยธรรมทั้งความดีงาม

และความงอกงาม ที่มาพร้อมด้วยความสุข กล่าวคือ ดีงามด้วยกุศลธรรมที่แล่นโล่งไป

ไม่มีอกุศลคอยขัดถ่วงหรือบีบเบียน งอกงามด้วยความไม่ประมาทในการทำกิจ และเป็นสุข

ด้วยปัญญารู้เท่าทันธรรมดาของโลก และชีวิตที่ทำให้จิตปลอดโปร่ง

ผ่องใส เบิกบาน เป็นอิสระ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 03 เม.ย.2008, 8:27 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ขอแทรกความรู้ภาคปฏิบัติ เผื่อมีผู้กำลังปฏิบัติกรรมฐาน สงสัยไม่เข้าใจสภาวธรรม

ความจริงที่ปรากฏแก่ตนอยู่บ้าง ยิ้ม

สัพเพ สังขาร อนิจจา

สัพเพ สังขารา ทุกขา

สัพเพ ธัมมา อนัตตา

ที่ท่านกล่าวไว้ข้างต้นว่า

ความเป็นอนิจจัง ทุกข์ และอนัตตา เป็นลักษณะสามัญของสิ่งทั้งหลาย

เป็นความจริง ที่แสดงตัวของมันเองอยู่ตามธรรมดาตลอดทุกเวลา

แต่คนทั่วไป ก็มองไม่เห็น ทั้งนี้เพราะเป็นเหมือนมีสิ่งปิดบังคอยซ่อนคลุมไว้

ถ้าไม่มนสิการ คือไม่ใส่ใจพิจารณาอย่างถูกต้อง ก็มองไม่เห็น



แต่เมื่อใดมนุษย์มนสิการ (กระทำในใจ) อย่างถูกวิธี เช่น ปฏิบัติกรรมฐาน

ซึ่งกระทำโดยใช้คำภาวนากำหนดรูปนามแบบต่างๆ ไตรลักษณ์ก็ปรากฏให้เห็นเมื่อนั้น

เช่นผู้ปฏิบัติท่านหนึ่ง =>

มีใครเป็นแบบผมบ้าง นั่งสมาธิ ช่วงแรกๆ ก็ปรกติดี (คือใช้วิธีกำหนดลมหายใจ)

สักครู่ ก็รู้สึกเหมือนหัวหมุนแล้วตัวก็รู้สึกเหมือนกับจะล้มลง ทั้ง ๆ ที่นั่งอยู่

แล้วทีนี้ มันก็จะหมุนบิดไปมาคล้าย ๆ กับโน้มไปข้างหน้าจนจะล้ม

แล้วก็เอนมาข้างหลัง จนจะหงายหลัง


ด้วยความตกใจเลยค่อยๆ คืนสติลืมตาขึ้น ก็ปรากฏว่ายังนั่งอยู่ในท่าเดิม

เหมือนเดิมทุกประการ


เป็นอย่างนี้มาเป็นสัปดาห์แล้วมันคืออะไร แล้วจะแก้อย่างไร?
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 03 เม.ย.2008, 11:26 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


^
เป็นตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ยังมีอีกมากนัก

ผู้ปฏิบัติกรรมฐาน ต้องการดูอีกก็ที่ ID 0028 ลิงค์นี้

http://www.free-webboard.com/index.php?user=vipassanatipani


ภาวะสัจจะซึ่งเกิดตามเหตุปัจจัยของนามรูป แต่ผู้ปฏิบัติไม่เข้าใจ ก็กลับเป็นทุกข์ได้

เช่น ใน สํ.ข. 17/4/4; 32/21; 87/53 กล่าวว่า การประสบไตรลักษณ์อย่างไม่รู้เท่าทัน

กลับทำให้เกิดทุกข์


ตัวอย่างที่นำลงๆ ไว้ ช่วยอธิบายความนั้นได้เป็นอย่างดี

เพราะเมื่อภาวะปรากฏ แต่ผู้ปฏิบัติไม่กำหนดรู้ตามเป็นจริง หรือ ตามที่มันเป็น

เขาจึงเป็นทุกข์วุ่นวายใจเพียงใด

ครั้นลืมตาดู ก็ไม่มีไม่เป็น (เพราะเป็นความรู้สึก)


ตรงข้ามเมื่อโยคีกำหนดตามสภาวะ ก็จะค่อยๆเรียนรู้รู้เห็นต้นเหตุของสภาวะนั้นๆ

ตามที่มันเป็น จิตก็หลุดพ้นจากอาสวะปล่อยวางโดยอัตโนมัติ

เพราะรู้เห็นรูปนามตามเป็นจริง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
มรรคคา
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 30 มี.ค. 2008
ตอบ: 77
ที่อยู่ (จังหวัด): ภูเก็ต

ตอบตอบเมื่อ: 10 เม.ย.2008, 10:32 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ได้ความรู้เพิ่มขึ้นเยอะเลยครับคุณกรัชกาย
ขอบคุณมากๆเลย


ขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปนะครับ

สาธุ สาธุ สาธุ สาธุ สาธุ สาธุ สาธุ สาธุ สาธุ
 

_________________
มีสติสัมปชัญญะกับทุกลมหายใจเข้าออก
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 11 เม.ย.2008, 9:08 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ความหมายไตรลักษณ์ทั้ง 3 ข้อ

1.สันตติ-บังอนิจจลักษณะ

2.อิริยาบถ-บังทุกขลัษณะ

3.ฆนะ-บังอนัตตลักษณะ

แต่ละข้อท่านแสดงไว้พอเห็นเค้าแล้ว

ต่อไปจะวิเคราะห์ความหมายของไตรลักษณ์เหล่านั้น ให้ละเอียดลึกซึ้งยิ่งขึ้นอีก

ตามหลักวิชาโดยหลักฐานในคัมภีร์ (พุทธธรรมหน้า 70/8)


(จะทวนจากล่างขึ้นบน 3-1 บ้าง เพราะสาระอนัตตามีความลึกซึ้งจึงยากจะเข้าใจ

จึงมีผู้นำไปสอนนำไปปฏิบัติผิดๆ กันอยู่มาก)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 11 เม.ย.2008, 9:16 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


3. อนัตตตา และอนัตตลักษณะ

-คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค แสดงความหมายของอนัตตาไว้อย่างเดียวว่า ชื่อว่าเป็นอนัตตา

โดยความหมายว่าไม่มีสาระ (= อสารกฏฺเฐน)

ที่ว่าไม่มีสาระ ก็คือ ไม่มีแก่นสาร ไม่มีแก่นหรือไม่มีแกน

หมายความว่า ไม่มีสิ่งซึ่งเป็นตัวแท้ที่ยืนยงคงตัวอยู่ตลอดไป

ดังคำอธิบายว่า โดยความหมายว่าไม่มีสาระ
คือ ตัวตน (อัตตสาระ= ตัวตนที่เป็นแก่น หรือตัวตนที่เป็นแกน)

ที่คาดกันเอาว่าเป็นอาตมัน (อัตตา=ตัวตน)

เป็นผู้สิงอยู่หรือครองอยู่ (นิวาสี)

เป็นผู้สร้างหรือผู้สร้างสรรค์บันดาล (การกะ)

เป็นผู้เสวย (เวทกะ)

เป็นผู้มีอำนาจในตัว (สยังวสี)


เพราะว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นย่อมเป็นทุกข์ (คงตัวอยู่ไม่ได้) มันไม่สามารถห้ามความ

ไม่เที่ยง หรือความบีบคั้นด้วยความเกิดขึ้นและความเสื่อมสิ้นไป แม้ของตัวมันเองได้

แล้วความเป็นผู้สร้างผู้บันดาล เป็นต้นของมัน จะมีมาจากที่ไหน


เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้ารูปนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว

ไซร้ รูปนี้ก็ไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ (มีความบีบคั้นขัดแย้งข้องขัดต่างๆ) ดังนี้เป็นอาทิ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 11 เม.ย.2008, 9:35 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


จะสังเกตเห็นว่า ความหมายที่ว่าไม่มีสาระคือตัวตนนี้ ท่านกล่าวไว้โดยสัมพันธ์กับความหมาย

ว่า ดลบันดาลไม่ได้หรือไม่มีอำนาจในตัว

ทั้งนี้เพราะถ้ามีตัวตนคงที่ยั่งยืนอยู่เป็นแก่นเป็นแกนจริงแล้ว ก็ย่อมขืนย่อมฝืน

ความเปลี่ยนแปลงได้ ไม่ต้องเป็นตามความเปลี่ยนแปลงนั้น ยิ่งถ้าเป็นผู้ครอบครอง

ก็ย่อมต้องมีอำนาจบังคับสิ่งที่ถูกครอบครองให้เป็นอย่างไรๆ ก็ได้ตามปรารถนา


แต่ความเป็นจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ ความไม่เป็นตัวตน และความไม่มีตัวตนสิงสู่อยู่ครอง

จึงมีความหมายเด่นในแง่ที่ว่าไม่มีอำนาจบังคับ ไม่เป็นไปในอำนาจ ขัดแย้งต่อความ

ปรารถนา

และโดยนัยนี้ คัมภีร์รุ่นอรรถกถา จึงนิยมแสดงความหมายของอนัตตาว่า ชื่อว่าเป็นอนัตตา

โดยความหมายว่า ไม่เป็นไปในอำนาจ (อวสวตฺตนฏฺเฐน หรือ อวสวตฺตนโต = เพราะไม่

เป็นไปในอำนาจ)

และอธิบายในทำนองว่า ไม่มีใครมีอำนาจบังคับ (ตามใจปรารถนา โดยไม่ทำ

ตามเหตุปัจจัย)
ต่อสังขารทั้งหลายว่า สังขารที่เกิดขึ้นแล้ว จงอย่าถึงความ

ทรงอยู่ ที่ถึงความทรงอยู่แล้ว อย่าชรา ที่ถึงชราแล้ว จงอย่าแตกดับ จงอย่าบอบ

โทรม ด้วยการเกิดขึ้นและการเสื่อมสลาย


ตลอดจนอ้างพุทธพจน์ที่ตรัสว่า “บุคคลย่อมไม่ได้ (ตามปรารถนา) ในรูป

(และ ขันธ์อื่นๆ) ว่ารูปของเราจงเป็นอย่างนี้ รูปของเราอย่าเป็นอย่างนี้”
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 11 เม.ย.2008, 9:42 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ขยายความว่า สิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่ปรากฏเป็นต่างๆนั้น

เมื่อวิเคราะห์ตามสภาวะถึงที่สุดแล้ว หาใช่มีตัวแท้ตัวจริงที่คงที่คงตัวยั่งยืนอยู่ยง

ดังที่เรียกชื่อกันว่าอย่างนั้นอย่างนี้ แต่เป็นเพียงกระบวนธรรม (ปวัตติ)

ที่เกิดจากองค์ประกอบต่างๆ มาประชุมหรือประมวลกันเข้า และองค์ประกอบเหล่านั้น

แต่ละอย่างๆ ล้วนมีการเกิดขึ้น และความเสื่อมสลาย เป็นไปโดยอาการที่สัมพันธ์สืบเนื่อง

ส่งทอดเป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่กัน ทั้งภายในกระบวนธรรมที่กำหนดแยกว่าเป็นกระบวน

หนึ่งๆ และระหว่างกระบวนธรรมต่างกระบวนทั้งหลาย
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง