Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 อาศัยตัณหาเพื่อละตัณหา (สมเด็จพระญาณสังวรฯ) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
I am
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ต.ค. 2006
ตอบ: 972

ตอบตอบเมื่อ: 02 พ.ย.2006, 1:26 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

อาศัยตัณหาเพื่อละตัณหา


ตัณหา คือ ความดิ้นรนทะยานอยากของใจ จึงได้แต่สร้างความไม่สงบและความทุกข์ต่างๆ ให้บังเกิดขึ้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้ตรัสสอนให้ปฏิบัติ เพื่อละตัณหา คือความดิ้นรนทะยานอยากปรารถนานั้นเสีย สำหรับผู้ที่ต้องการจะพบกับความสงบ

และในขั้นสามัญก็ได้มีคำสอนอันแสดงไว้ว่า “ให้อาศัยตัณหาละตัณหาเสีย” ความตัณหาละตัณหานั้น ก็หมายความว่า ให้ใช้ความดิ้นรนทะยานอยากในทางที่พบกับความสิ้นทุกข์ คือให้อยากพบความสิ้นทุกข์ อยากบรรลุมรรคผลนิพพาน

อันความอยากดังกล่าวนี้ ถ้าเป็นความพอใจใคร่ที่จะปฏิบัติกระทำท่านเรียกว่า “ฉันทะ” เป็นอธิบาท คือธรรมที่ให้บรรลุถึงความต้องการที่มาก ฉันทะนี้ก็เป็นตัณหา และเมื่อแสดงอย่างละเอียดแม้ฉันทะดังกล่าวนั้นก็เป็นตัณหาอย่างละเอียดอย่างหนึ่ง แต่เป็นตัณหาในทางที่ดี ก็ให้อาศัยตัณหาในทางที่ดีเพื่อละตัณหาในที่สุด

ในข้อนี้ได้มีการแสดงถึงการอาศัยฉันทะเพื่อละฉันทะ ดังที่ท่านพระอานนทเถระได้ตอบปัญหาที่มีผู้ถามว่า “ประพฤติพรหมจรรย์เพื่ออะไร”

ท่านตอบว่า “เพื่อละฉันทะ”

ผู้ถามก็ถามต่อไปว่า “การละฉันทะนั้นจะทำอย่างไร”

ท่านก็ตอบว่า “ให้อบรมทำฉันทะให้บังเกิดขึ้น”

ผู้ถามจึงแย้งว่า “คำตอบเช่นนี้เป็นไปไม่ได้ เพราะทีแรกตอบว่าประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละฉันทะ แล้วทำไมจึงมาตอบอีกว่าให้ปฏิบัติอบรมทำฉันทะ”

ท่านพระอานนท์จึงได้แสดงอุปมาว่า “การที่จะมาสู่อารามนี้ ผู้มาก็ต้องมีฉันทะที่จะมา ต้องมีความเพียรที่จะมา ต้องมีจิตตะที่จะมา ต้องมีความใคร่ครวญที่จะมา แต่ว่าครั้นมาถึงอารามนี้แล้ว ฉันทะนั้นก็สงบ ความเพียรก็สงบ จิตใจที่มาก็สงบ วิมังสา คือความใคร่ครวญพิจารณาที่จะมาก็สงบ ฉะนั้นจึงละฉันทะอย่างนี้”


ตามคำตอบของท่านนี้ ก็คือต้องอาศัยฉันทะในการที่จะทำกรณียะ คือกิจที่ควรทำ ครั้นทำเสร็จแล้ว ฉันทะนั้นก็สงบ ก็เป็นอันว่าละฉันทะ

อาศัยตัณหาเพื่อละตัณหาก็เช่นเดียวกัน อาศัยตัณหา คือความอยากเพื่อที่จะทำกรณียะ คือกิจที่ควรทำ ครั้นทำเสร็จแล้ว ตัณหานั้นก็สงบ แต่ว่าต้องละตัณหาจึงจะพบกับความสงบ อันหมายถึงความสิ้นสุดกิจที่จะพึงทำนั้นได้


ฉะนั้น เมื่อยังมีตัณหาอยู่ก็ให้เป็นนายของตัณหา อย่าให้ตัณหาเป็นนาย ตัณหาเป็นนายนั้นเรียกว่า “ตณฺหาทาโส” แปลว่าเป็นทาสของตัณหา ความเป็นทาสของตัณหานั้นก่อให้เกิดความทุกข์ อันเป็นความไม่สงบด้วยประการทั้งปวง

แต่ความเป็นนายของตัณหานั้น แม้ว่าจะมีความไม่สงบเพราะตัณหา แต่ก็สามารถควบคุมตัณหาได้ ไม่ให้ตัณหานำไปในทางที่ผิด เพราะว่าเมื่อมีความดิ้นรนทะยานอยากบังเกิดขึ้นก็ควบคุมได้ เพราะพิจารณารู้ว่าที่ดิ้นรนทะยานอยากไปอย่างนั้นถูกหรือผิด

ถ้าเป็นไปในทางที่ผิด ก็งดเว้นไม่กระทำ สงบความอยากนั้นเสีย
ถ้าเป็นไปในทางที่ถูกก็กระทำ

ก็เป็นอันว่าเป็นนายของตัณหาควบคุมตัณหาได้ และเป็นการอาศัยตัณหาเพื่อละตัณหาเสียด้วย ก็เพราะว่าเมื่ออยากจะทำกรณียะ คือกิจที่ควรทำอันใดอันเป็นกิจที่ดีที่ชอบ เมื่อกระทำเสร็จลงไปแล้ว ตัณหาในเรื่องนั้นก็สงบ เป็นอันละตัณหานั้นได้ พบความสงบไปชั้นหนึ่งๆ ดังนี้


: ความสงบ
: พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก


สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
แมวขาวมณี
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2006
ตอบ: 307

ตอบตอบเมื่อ: 02 พ.ย.2006, 8:19 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สา....ธุ
ขอบคุณ คุณ I am มากค่ะ
กระทู้นี้ตรงใจที่สุด
อาศัยตัณหาเพื่อละตัณหา

สาธุ สาธุ สาธุ
 

_________________
พฤษภกาสร อีกกุญชร อันปลดปลง
โททนต์ เสน่งคง สำคัญหมาย ในกายมี
นรชาติวางวาย มลายสิ้น ทั้งอินทรีย์
สถิตย์ทั่ว แต่ชั่วดี ประดับไว้ ในโลกา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 03 พ.ย.2006, 11:58 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อนุโมทนาบุญค่ะ...คุณ I am

ธรรมะสวัสดีค่ะ

ดอกไม้ ดอกไม้ ดอกไม้
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ณัฐวรางคณ์
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 20 ก.พ. 2008
ตอบ: 23
ที่อยู่ (จังหวัด): 1/11 ถ.หน้าวัดเกต ต.วัดเกต อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50000

ตอบตอบเมื่อ: 07 มี.ค.2008, 11:56 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุสำหรับคนอกหัก แล้วเข้าใจดีที่สุดคะ เป็นโอกาสดีแล้วที่คู่เทียมจากเราไป พลิกกลับมาละตัณหาซะ ความสุขก็มาเยือน ยิ้มเห็นฟัน
 

_________________
ธรรมะคือคุณากร ขอให้ชีวิตนี้มีสัมมาทิฏฐิ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailตำแหน่ง AIMหมายเลข ICQ
poivang
บัวตูม
บัวตูม


เข้าร่วม: 18 มิ.ย. 2005
ตอบ: 224

ตอบตอบเมื่อ: 08 มี.ค.2008, 3:59 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ อนุโมทนาด้วยค่ะ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง