Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 อันเนื่องมาจากวิจิกิจฉาเกี่ยวกับ “พุทธพยากรณ์” อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 16 ม.ค. 2008, 9:28 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

อันเนื่องมาจากวิจิกิจฉาเกี่ยวกับ “พุทธพยากรณ์”
เรียบเรียงโดย ปัญญาวัฒน์


ก่อนที่พยากรณ์จะแปลว่าทำนาย

การพยากรณ์ในพระไตรปิฎกและอรรถกถามีแทรกอยู่เป็นจำนวนมาก
บางที่เป็นของพระพุทธเจ้า
บางที่เป็นของพระปัจเจกพระพุทธเจ้า
บางที่เป็นของพระสาวก

คำว่าพยากรณ์ในพระไตรปิฎกมีความหมาย ๔ ประการ คือ

๑. ทำนาย

บอกเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในเบื้องหน้า หรือในอนาคต
เช่น การที่พระพุทธเจ้าทำนายว่า
พระเทวทัตจะเกิดเป็นพระปัจเจกพระพุทธเจ้า

หรือดังที่พระพุทธเจ้าพระนามว่า กกุสันธะ
ทรงทำนายว่า สุเมธดาบส จะได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต

หรือการทำนายทั่วไปในลักษณะของหมอดู

๒. คาดการณ์

เป็นการทำนายเฉพาะหน้า ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ใครจะทำอะไร
จากการประมวลปัจจัยแวดล้อมที่สังเกตได้

๓. ตอบปัญหา

พระพุทธกิจประการหนึ่งของพระพุทธเจ้า
คือ การตอบปัญหาให้แก่ผู้สงสัย

บ้างเป็นพระสาวก บ้างเป็นชาวบ้าน บ้างเป็นพราหมณ์ บ้างเป็นเทวดา
เป็นการตอบปัญหาแก่คนทั่วไป
โดยเฉพาะกับผู้ที่พระองค์ทรงพิจารณาแล้วว่า
สามารถเข้าใจธรรมะที่พระองค์สอนได้

ถ้าเราเรียงปัญหาจัดหมวดหมู่ดูก็จะพบว่า
มีปัญหาที่พระพุทธเจ้าทรงต้องตอบอยู่หลายประเภท

บางประเภทเกี่ยวกับชีวิตในโลกนี้
บางประเภทเกี่ยวกับชีวิตในโลกหน้า
บางประเภทเป็นปัญหาระดับปรัชญา
เช่น โลกเที่ยงหรือไม่ นรก-สวรรค์มีหรือไม่ เป็นต้น

การตอบปัญหาของพระพุทธเจ้า
มีช่วงเวลาชัดเจนว่า
ช่วงไหนตอบปัญหาใคร ช่วงไหนจะทำอะไร

๔. ทำให้แจ้ง

แสดงเหตุผลอธิบายเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
เหตุการณ์ทำนองนี้พบว่า
พระพุทธเจ้าจะทรงพบอยู่เป็นประจำ

บางคราวก็ทรงอธิบายให้พระสาวกฟัง
บางคราวก็เป็นพวกนอกศาสนา
เพื่อให้เข้าใจในสิ่งที่พระพุทะองค์ทรงตรัสหรือคิด
กระทั่งเป็นการแลกเปลี่ยนความเห็น
ก็ใช้คำว่า “พยากรณ์” ในความหมายนี้

การใช้ “พยากรณ์” ในหลายลักษณะอย่างนี้ทำให้ทราบว่า
ในการใช้จริงๆ ในชีวิตประจำวันเมื่อสองพันกว่าปีก่อนนั้น
คำนี้มีความหมายกว้างกว่าปัจจุบันที่ดูเหมือนว่า
เหลือความหมายอยู่อย่างเดียวคือ “ทำนาย”
ที่หมายถึงการบอกว่า อะไรจะเกิดขึ้นในอนาคต
โลกจะเป็นอย่างไร อะไรจะเกิดขึ้นในโลกนี้ และจะเกิดเมื่อไหร่

(มีต่อ ๑)
 


แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 16 ม.ค. 2008, 10:23 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 16 ม.ค. 2008, 9:40 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การพยากรณ์ในพระพุทธศาสนา

ในทางพระพุทธศาสนาแม้ว่าในคำสอนจะไม่มีแนวว่า
สนับสนุนการพยากรณ์ใดใด

แต่ในความเป็นจริง ทั้งพระพุทธเจ้าและพระสาวก
ก็ทรงเข้าไปเกี่ยวข้องกับการพยากรณ์อยู่เป็นประจำ
และมีหลายครั้งที่เป็นเรื่องสำคัญ

ดังเรื่องที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ พระเจ้าปเสนทิโกศล
ซึ่งมีอิทธิพลต่อวงการพระพุทธศาสนาในเวลาต่อมาอย่างมากมาย
พิจารณาได้จากการที่มีการแต่งวรรณกรรมในแนวพุทธทำนายขึ้นอีกหลายฉบับ
หรือได้มาจากการนำพุทธทำนายไปเป็นเครื่องมือสั่งสอน
หรือเผยแผ่ศาสนาอยู่เสมอ

มองในแง่คำสอนก็ยังปรากฏว่า
พระพุทธเจ้าเองก็ไม่ทรงสนับสนุนให้พระสาวกเชื่อในเรื่องโชคลาง
และทรงมีทีท่าว่าทรงตำหนิอย่างรุนแรงด้วย ดังที่เคยทรงตรัสว่า

“พระสมณโคดมทรงเว้นจากการเลี้ยงชีพด้วย เดรัจฉานวิชา
เช่น ทำนายอวัยวะ ทำนายตำนิ ทำนายโชคลาง ฯลฯ”

“เว้นขาดการดูฤกษ์ตาทัพ พยากรณ์ว่าจักมีจันทรคราส หรือสุริยคราส ฯลฯ”

“เว้นขาดการให้ฤกษ์พยากรณ์ว่าฝนจะดี ฝนจะแล้ว”

“เว้นขาดการให้ฤกษ์วิวาห์มงคล อาวหมงคล การหย่าร้าง ฤกษ์เรียงหมอน...”

“เว้นขาดการทำพิธีบนบาน พิธีแก้บน”


(ที.สี.๙/๒๑-๒๘/๙-๑๐)

และทรงสอนโดยปฏิเสธโหราศาสตร์อย่างชัดเจนว่า

“ประโยชน์ได้ล่วงเลยคนโง่เขลา ที่มัวรอฤกษ์ยามอยู่
ประโยชน์เป็นฤกษ์ของประโยชน์เอง ดวงดาวจะทำอะไรได้”


(ขุ.ชาตก.นักขัตตขาดก, ๒๗/๔๙/๒๐)

คำสอนเหล่านี้เป็นเสมือนคำเตือนมิให้ชาวพุทธ
หลงทางหลุดออกไปจาก มรรคมีองค์ ๘


แต่เมื่อพระพุทธศาสนาแพร่หลายไปในภูมิภาคอื่น
ประชาชนมีความเชื่อเรื่องการทำนาย
ความเชื่อเหล่านี้ก็ได้กลมกลืนเข้ากับวิถีชีวิตของผู้นับถือในถิ่นนั้นๆ
ทำให้กลายเป็นพุทธศาสนาอีกแบบหนึ่งที่ต่างไปจากยุคพุทธกาล
ดังปรากฏในสมัยต่อมาหรือทุกยุคสมัย


ในวงการพุทธศาสนาต้องยอมรับว่า
พระสงฆ์ได้มีบทบาทอย่างสำคัญในการเป็นผู้พยากรณ์ชีวิต
และเหตุการณ์สำคัญๆของบ้านเมือง

และดูเหมือนว่า ความเชื่อถือในเรื่องทำนองนี้
สังคมได้มอบหมายไว้ให้พระสงฆ์เป็นผู้กระทำ เป็นผู้พยากรณ์
และแม้ว่าคำสอนในพระพุทธศาสนาไม่ยอมรับในบทบาทนี้ของพระสงฆ์
แต่มักพบว่า โหรที่เก่งๆ ก็มักเป็นพระสงฆ์
เท่ากับมีการยอมรับบทบาทของพระสงฆ์อยู่ในที

ดังเช่น พระสังฆราชญาโณทยะมหาเถระ
(สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ญาโณทโย)
สมเด็จพระองค์ที่ ๑๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์)

ก็เป็นที่ทราบดีกันว่า ท่านเป็นโหรชั้นหนึ่ง

และที่สำคัญพระสงฆ์เหล่านี้
ก็ยังได้ทำประโยชน์จากวิชาพยากรณ์นี้ตลอดมา
ใช้ความรู้เหล่านี้เป็นพลังงานด้านการสงเคราะห์ประชาชน
และโน้มน้าวให้ดำเนินชีวิตตามหลักศาสนา
หรือแม้กระทั่งความดีงามที่สังคมยอมรับเรื่อยมา

(มีต่อ ๒)
 


แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 16 ม.ค. 2008, 10:36 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 16 ม.ค. 2008, 9:47 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

ลักษณะที่สำคัญของการพยากรณ์ในพุทธศาสนา

ถ้าลองเทียบการพยากรณ์ทั่วไป
กับการพยากรณ์ของพระพุทธเจ้า ก็จะพบว่าต่างกัน


โดยวิธีการของพระพุทธเจ้านั้นจะมีแง่มุมของศีลธรรมเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
ดังเช่นกรณีพระเจ้าปเสนทิโกศสที่ฝันเห็นสิ่งประหลาด ๑๖ อย่าง

เมื่อพระพุทธเจ้าทรงทำนาย ก็ทรงแสดงนัยของศีลธรรมไว้ด้วยว่า

“ต่อไปภายหน้าเมื่อคนไม่มีศีลธรรม...”

จะมีปัญหาไม่ว่าการปกครอง
การดำเนินชีวิตทั่วไปผู้คนจะเบียดเบียดกันมากขึ้น
จะเห็นว่าไม่ใช่การทำนายที่ขาดการรับผิดชอบ หรือขาดจรรยาบรรณ

สมัยที่พระพุทธเจ้ายังทรงมีชีวิตอยู่
มีหลายครั้งที่เมื่อพระสาวก หรือใครตาย
พระพุทธเจ้ามักจะทรงทำนายว่า คนนั้นคนนี้จะได้ขึ้นสวรรค์

เมื่อมีคนถามเรื่องนี้ พระองค์ทรงตอบว่า
ทำอย่างนั้นเพราะต้องการให้ผู้ถามสบายใจ เป็นกำลังใจให้ผู้ถาม
ผู้ฟังเมื่อปฏิบัติแล้วจะไปเกิดในที่ดีๆ อย่างนั้นบ้าง

จะเห็นว่ามีแง่มุมทางศีลธรรมอยู่ตลอด
สามารถพูดได้ว่า นี่คือต้นแบบของการทำนายแบบพุทธ


หากพิจารณาแบบผิวเผินจะพบว่า
การพยากรณ์ของพระพุทธเจ้าและพระสาวกก็เหมือนคนธรรมดา
เป็นหมอดู เป็นโหรที่ทำนายไปตามวิชาความรู้ที่สะสมกันมานาน

แต่สำหรับพุทธทำนายแล้ว ยังมีมากกว่านั้น
มีลักษณะบางอย่างที่แปลกไปจากการทำนายจากแหล่งอื่น
คือมีการทำนายที่อิงหลักศีลธรรมของศาสนา
เป็นการจูงใจศาสนิกชนที่ยังมีความเชื่อเรื่องหมอดูได้อุ่นใจ
ฟังการทำนายที่เป็นแนวที่ได้รับจากพระพุทธเจ้าหรือพระสาวก
ไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน หรือตลอดได้อย่างไร


จากเนื้อหาพุทธทำนายในพระไตรปิฎก
นอกจากทำนายฝันของพระเจ้าปเสนทิโกศลแล้ว
ยังมีการเตือนให้แนวทางอีกว่า

ในภายหน้าถ้าคนไม่มีศีลธรรม
สังคมจะพบกับความหายนะหลายประการ เป็นต้น


สาธุ สาธุ สาธุ

(คัดลอกบางตอนมาจาก : พุทธทำนาย : ฤาจะถึงกาลสิ้นยุค;
คือ ๑๖ เหตุ แห่งมหากาลีกาล ซึ่งมนุษย์จะประหารผลาญเผ่าพันธุ์,
เรียบเรียงโดย ปัญญาวัฒน์, พิมพ์ครั้งที่ ๑, ๒๕๔๙)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง