Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ชีวิต คือ อะไร ? อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 16 ม.ค. 2008, 5:44 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ชีวิตคืออะไร?

-มนุษย์เรียนรู้และกำหนดจดจำสิ่งต่างๆภายนอกได้มากมายหลายอย่างชั่วชีวิตหนึ่งของตน

ยิ่งใช้ชีวิตอยู่บนโลกใบนี้นานเท่าไร ก็มีประสบการณ์มากเท่านั้น

แต่มีสิ่งหนึ่งที่มนุษย์ยังขาดความรู้ความเข้าใจ สิ่งนั้นคือชีวิตของตนคืออะไร

ทั้งที่ส่วนประกอบร่างกายทั้งหมดมีอยู่ และทำหน้าที่ของมันโดยที่มนุษย์ไม่รู้จัก

หรือให้ความรู้จัก หรือแทบจะไม่ได้นึกถึงเลย เช่น ในด้านรูปธรรม อวัยวะภายในร่าง

กายหลายอย่าง ทำหน้าที่ของมันอยู่โดยมนุษย์ผู้เป็นเจ้าของไม่รู้และไม่ได้ใส่ใจที่จะรู้

จนบางคราวมันเกิดความวิปริต หรือทำหน้าที่บกพร่องขึ้น มนุษย์จึงจะหันมาสนใจ


-แม้องค์ประกอบฝ่ายจิตใจก็เป็นเช่นเดียวกัน ต่อเมื่อเกิดทุกข์โทมนัสขึ้นครั้งหนึ่ง

จึงหันมาสนใจมันทีหนึ่ง แก้ทุกข์แก้ปัญหาครั้งหนึ่ง

เมื่อเจ้าตัวไม่เรียนรู้ไม่รู้จักมันมาก่อน การแก้จึงไม่ง่ายนัก

ยิ่งแก้ดูเหมือนยิ่งพัน ยิ่งติดอยู่ในกองทุกข์นั้น

ฉะนั้นการเรียนรู้ชีวิตของตน เบื้องต้นแม้จะแก้ปัญหาไม่ได้ทั้งหมด

แต่ก็บรรเทาทุกข์ได้ระดับหนึ่ง เพราะได้รู้ความจริงว่าชีวิตคืออะไร

ต่อไปจะเฉลยคำถาม ชีวิตคืออะไร ?

จากหนังสือพุทธธรรมโดยท่านเจ้าคุณ ป.อ.ประยุทธ์ ปยุตฺโต มาลงให้พิจารณากันเอง

ตามกำลังสติปัญญาของตนๆ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 17 ม.ค. 2008, 4:20 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 16 ม.ค. 2008, 5:49 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


หนังสือพุทธธรรมทุกหัวข้อธรรมะ ท่านเจ้าคุณแสดงตามคัมภีร์พระไตรปิฎกทั้งสิ้น

มีที่อ้างอิงทุกแห่ง

แต่กรัชกายไม่ใส่ที่มาไว้ให้ เพราะเห็นว่าไม่สะดวกตาต่อผู้อ่าน จึงตัดออกไป

ข้างล่างนี้เป็นข้อเขียนจากท่านเอง
=>


-ในการแสดงพุทธธรรม (ผู้แสดงหมายถึงท่านเจ้าคุณ)

ผู้แสดง ถือว่าได้พยายามที่จะแสดงตัวพุทธธรรมแท้ อย่างที่องค์พระบรมศาสดาทรงแสดง

และทรงมุ่งสอน

ในการนี้

ได้ตัดความหมาย อย่างที่ประชาชนเข้าใจออกโดยสิ้นเชิง ไม่นำมาพิจารณาเลย

เพราะถือว่าเป็นเหตุข้างปลาย ไม่จำเป็นต่อการเข้าใจตัวพุทธธรรมที่แท้แต่ประการใด

แหล่งสำคัญ อันเป็นที่มาของเนื้อหาและความหมายของพุทธธรรม

ที่จะแสดงต่อไปนี้ ได้แก่คัมภีร์พุทธศาสนา

ซึ่งในที่นี้ ถ้าไม่มีกรณีเกี่ยวข้องเป็นพิเศษ จะหมายถึงพระไตรปิฎกบาลีอย่างเดียว เพราะเป็น

คัมภีร์ที่ยอมรับกันทั่วไปแล้วว่า เป็นแหล่งรวบรวมรักษาพุทธธรรมที่แม่นยำและสมบูรณ์ที่สุด

แม้กระนั้น

ก็ได้เลือกสรรเอาเฉพาะส่วนที่เห็นว่า เป็นหลักการดั้งเดิมเป็นความหมายแท้จริงมาแสดง

โดยยึดเอาหลัก ความกลมกลืน สอดคล้องกันในหน่วยรวมเป็นหลัก


ความเต็มๆ ตามลิงค์ ห้อง 9

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?p=57093#57093

 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 16 ม.ค. 2008, 5:58 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

(เริ่มจากหน้านี้เป็นต้นไป)


ชีวิตคืออะไร ?

ชีวิตตามสภาพของมัน

ขันธ์ 5

ส่วนประกอบห้าอย่างของชีวิต
...........................................

ตัวสภาวะ


พุทธธรรมมองเห็นสิ่งทั้งหลายในรูปของส่วนประกอบต่างๆที่มาประชุมกันเข้า

ตัวตนแท้ๆของสิ่งทั้งหลายไม่มี

เมื่อแยกส่วนต่างๆที่มาประกอบกันเข้านั้นออกไปให้หมดก็จะไม่พบตัวตนของสิ่งนั้นเหลืออยู่

ตัวอย่างง่ายๆ ที่ยกขึ้นอ้างกันบ่อยๆ คือ “รถ” เมื่อนำนำส่วนประกอบต่างๆมาประกอบเข้าด้วย

กันตามแบบที่กำหนด ก็บัญญัติเรียกกันว่า “รถ” (สํ.ส.15/554/198)

แต่ถ้าแยกส่วนประกอบทั้งหมดออกจากกัน ก็จะหาตัวตนของรถไม่ได้ มีแต่ส่วนประกอบทั้ง

หลาย ซึ่งมีชื่อเรียกต่างๆ กันจำเพาะแต่ละอย่างอยู่แล้ว คือ ตัวตนของรถมิได้มีอยู่ต่างหาก

จากส่วนประกอบเหล่านั้น มีแต่เพียงคำบัญญัติว่า “รถ”

สำหรับสถานที่มารวมตัวกันข้าวของส่วนประกอบเหล่านั้น แม้ส่วนประกอบแต่ละอย่างๆ

นั้นเอง ก็ปรากฏขึ้นโดยการรวมกันข้าวของส่วนประกอบย่อยๆ ต่อๆไปอีก

และหาตัวตนที่แท้ไม่พบเช่นเดียวกัน เมื่อจะพูดว่าสิ่งทั้งหลายมีอยู่

ก็ต้องเข้าใจในความหมายว่า มีอยู่ในฐานะมีส่วนประกอบต่างๆ มาประชุมเข้าด้วยกัน

เมื่อมองเห็นสภาพของสิ่งทั้งหลายในรูปของการประชุมส่วนประกอบเช่นนี้ พุทธธรรมจึงต้อง

แสดงต่อไปว่า ส่วนประกอบต่างๆ เหล่านั้นเป็นอย่างไร มีอะไรบ้าง อย่างน้อยก็พอเป็นตัวอย่าง

และ โดยที่พุทธธรรม มีความเกี่ยวข้องเป็นพิเศษกับเรื่องชีวิต โดยเฉพาะในด้านจิตใจ

การแสดงส่วนประกอบต่างๆ จึงต้องครอบคลุมทั้งวัตถุ และ จิตใจ

หรือ ทั้งรูปธรรมและนามนาม และมักแยกแยะเป็นพิเศษในด้านจิตใจ

การแสดงส่วนประกอบต่างๆ นั้น ย่อมทำได้หลายแบบ

สุดแต่วัตถุประสงค์จำเพาะของการแสดงแบบนั้นๆ

จะแสดงแบบขันธ์ 5 ซึ่งเนแบบที่นิยมในพระสูตร (ก่อน)

(แบ่งกว้างๆ ว่า นาม และ รูป หรือ นามธรรม รูปธรรม:

แต่ตามแนวอภิธรรมนิยมแบ่งเป็น 3 คือ จิต เจตสิก และรูป

ถ้าเทียบกับขันธ์ 5

จิต=วิญญาณ

เจตสิก= เวทนา สัญญา และ สังขารขันธ์

รูป = รูปขันธ์)

 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 16 ม.ค. 2008, 6:20 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


โดยวิธีแบ่งแบบขันธ์ 5 (The Five Aggregates)

พุทธธรรมแยกแยะชีวิต พร้อมทั้งองคาพยพทั้งหมด

ที่บัญญัติเรียกว่า “สัตว์” “บุคคล”

ออกเป็นส่วนประกอบต่างๆ 5 ประเภท หรือ 5 หมวด

เรียกทางธรรมว่า เบญจขันธ์ คือ

1. รูป (Corporeality)

ได้แก่ ส่วนประกอบฝ่ายรูปธรรมทั้งหมด ร่างกายและพฤติกรรมทั้งหมดของร่างกาย

หรือสสารและพลังงานฝ่ายวัตถุ พร้อมทั้งคุณสมบัติ และ พฤติการณ์ ต่างๆ ของสสารพลังงาน

เหล่านั้น

2. เวทนา (Feeling หรือ Sensation)

ได้แก่ ความรู้สึกสุข ทุกข์ หรือ เฉยๆ ซึ่งเกิดจากผัสสะทางประสาททั้ง 5 และทางใจ

3. สัญญา
(Perception)

ได้แก่ ความกำหนดได้ หรือ หมายรู้ คือ กำหนดรู้อาการเครื่องหมายลักษณะต่างๆ

อันเป็นเหตุให้จำอารมณ์ (object) นั้นๆ ได้

4.สังขาร
(Mental Formations หรือ Volitional Activities)

ได้แก่ องค์ประกอบหรือคุณสมบัติต่างๆของจิตมีเจตนาเป็นตัวนำ ซึ่งแต่งจิตให้ดีหรือชั่ว

หรือเป็นกลางๆ ปรุงแปรการตริตรึกนึกคิดในใจ และการแสดงออกทางกายวาจา

ให้เป็นไปต่างๆ เป็นที่มาของกรรม เช่น ศรัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ เมตตา กรุณา

มุทิตา อุเบกขา มานะ ทิฐิ อิสสา มัจฉริยะ เป็นต้น (=สังขารเจตสิก 50)

เรียกรวมอย่างง่ายๆว่า เครื่องปรุงของจิต เครื่องปรุงของความคิด

หรือเครื่องปรุงของกรรม

(กรรมในที่นี้ ได้แก่ เจตนาเจตสิก ที่พระพุทธเรียกว่า “กรรม” นั่นเอง)


5. วิญญาณ
(Consciousness)

ได้แก่ ความรู้แจ้งอารมณ์ทางประสาททั้ง 5 และ ทางใจ คือ การเห็น การได้ยิน

การได้กลิ่น การรู้รส การรู้สัมผัสทางกาย และการรู้อารมณ์ทางใจ

(4 ข้อหลัง ซึ่งเป็นพวกนามขันธ์ หรือ นามธรรม ข้อ 1 เป็นรูปธรรม)

 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 16 ม.ค. 2008, 6:40 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


(ตามแนวอภิธรรมแบ่ง รูป 28 เจตสิก 52 จิต 89 หรือ 121 )


1. รูป มี 28
คือ

1) มหาภูตรูป 4 (เรียกง่ายๆว่า ธาตุ 4)

1. ปฐวีธาตุ …(สภาพที่แผ่ไปหรือกินเนื้อที่)

2. อาโปธาตุ… (สภาพที่ดึงดูดซาบซึม)

3. เตโชธาตุ...(สภาพที่แผ่ความร้อน)

4. วาโยธาตุ...(สภาพที่สั่นไหว)


2) อุปาทายรูป 24 คือ (รูปอาศัยหรือรูปที่สืบเนื่องมาจากมหาภูตรูป)

-ปสาทรูป มี 5 คือ

1. ตา

2. หู

3. จมูก

4. ลิ้น

5. กาย

(จักขุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย)


-อารมณ์มี 4 คือ

1.รูป

2.เสียง

3.กลิ่น

4.รส

(รูปะ สัททะ คันธะ รสะ; (โผฏฐัพพะ ไม่นับเพราะตรงกับ ปฐวี เตโช และวาโย)

-ความเป็นหญิง (อิตถีภาวะ= อิตถินทรีย์ )

-ความเป็นชาย (ปุริสภาวะ = ปุริสินทรีย์)

-ที่ตั้งของจิต (หทัยวัตถุ)

-การแสดงให้รู้ความหมายด้วยกาย (กายวิญญัติ)

-การแสดงให้รู้ความหมายด้วยวาจา (วจีวิญญัติ)

-ชีวิตินทรีย์ (อินทรีย์คือชีวิต)

-ช่องว่าง (อวกาศ)

-ความเบาของรูป (รูปลหุตา)

-ความอ่อนหยุ่นของรูป (รูปมุทุตา)

-ภาวะที่ควรแก่การงานของรูป (รูปกัมมัญญตา)

-ความเจริญหรือขยายตัวของรูป (รูปอุปจยตา)

-การสืบต่อของรูป (รูปสันตติ)

-ความเสื่อมตัว (ชรตา)

-ความสลายตัว (อนิจจตา)

-และ อาหาร (หมายถึง โอชา)

-คำว่า หทัยวัตถุ แปลกันว่าหัวใจ และถือว่า เป็นที่ทำงานของจิตนั้น

เป็นมติในคัมภีร์รุ่นหลัง ไม่ปรากฏในพระไตรปิฎก


(ในรูป 28 นั้น แบ่งเป็น โอฬาริกรูป กับ สุขุมรูปอีก

สุขุมรูป มี 16 ได้แก่ อาโป อิตถีภาวะ ปุริสภาวะ หทัยวัตถุ กายวิญญัติ วจีวิญญัติ

ชีวิตินทรีย์ อาหารรูป อากาศ

วิการรูป 3 คือ ลหุตา มุทุตา กัมมัญญตา และ ลักขณะรูป 4 อุปจยตา สันตติ ชรตา

อนิจจตา.

สุขุมรูป-เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อนิทัสสนอัปปฏิฆรูป –รูปที่เห็นไม่ได้ กระทบหรือถูกต้องไม่

ได้ อันนับเนื่องในธรรมายตนะ)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 26 ก.พ.2008, 8:30 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 16 ม.ค. 2008, 6:49 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


2. เวทนา แบ่งเป็น 3 คือ

1. สุขเวทนา (สุขทางกายหรือทางใจ)

2. ทุกขเวทนา (ทุกข์ทางกายหรือทางใจ)

3. อทุกขมสุขเวทนา (ไม่ทุกข์ไม่สุข คือ เฉยๆ บางทีเรียกอุเบกขา)

อีกอย่างหนึ่ง

แบ่งเป็น 5 คือ

1. สุข (ทางกาย)

2. ทุกข์ (ทางกาย)

3. โสมนัส (ดีใจ)

4.โทมนัส (เสียใจ)

5.อุเบกขา (เฉยๆ)

แบ่งตามที่เกิดเป็น 6 คือ

-เวทนาเกิดจากสัมผัสทางจักขุ

...ทางโสตะ

...ทางฆานะ

...ทางชิวหา

...ทางกาย

...ทางมโน

 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 16 ม.ค. 2008, 6:51 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


3. สัญญา แบ่งเป็น 6 ตามทางแห่งการรับรู้ คือ

1. รูปะสัญญา ความหมายรู้รูป เช่นว่า ดำ แดง เขียว ขาว เป็นต้น

2. สัททะสัญญา ความหมายรู้เสียง เช่นว่า ดัง เบา ทุ้ม แหลม เป็นต้น

3. คันธะสัญญา ความหมายรู้กลิ่น เช่นว่า หอม เหม็น เป็นต้น

4. รสะสัญญา ความหมายรู้รส เช่นว่า หวาน เปรี้ยว ขม เค็ม เป็นต้น

5. โผฏฐัพพะสัญญา ความหมายรู้สัมผัสทางกาย เช่นว่า อ่อน แข็ง หยาบ ละเอียด

ร้อน เย็น เป็นต้น

6. ธัมมะสัญญา ความหมายรู้อารมณ์ทางใจ เช่นว่า งาม น่าเกลียด เที่ยง ไม่เที่ยง เป็นต้น

 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 19 ม.ค. 2008, 9:43 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


4. สังขาร ท่านแบ่งเป็นเจตสิก 52

ถ้าเทียบกับการแบ่งแบบขันธ์ 5 เจตสิกก็ได้แก่เวทนา สัญญา และสังขารทั้งหมด

บรรดาเจตสิก 52 นั้น

เวทนาเจตสิก จัดเป็นเวทนาขันธ์

สัญญาเจตสิก จัดเป็นสัญญาขันธ์

ที่เหลืออีก 50 เป็นสังขารขันธ์

-สังขาร 50 นั้นจัด ดังนี้

1) อัญญสมานาเจตสิก (เจตสิกที่เข้าได้ทั้งฝ่ายดีฝ่ายชั่ว)

มี 11 (เดิมมี 13 คือ เวทนา กับ สัญญา อยู่ในหมวดนี้)

(1) สัพพจิตตสาธารณเจตสิก (เจตสิกที่เกิดกับจิตทุกดวง)

มี 5 คือ

1.ผัสสะ

2.เจตนา

3.เอกัคคตา

4.ชีวิตินทรีย์

5.มนสิการ

(จำนวนเดิมมี 7 คือ เวทนา กับ สัญญา อยู่ในกลุ่มนี้ )


(2) ปกิณณะกะเจตสิก (เกิดกับจิตได้ทั่วๆไป ทั้งฝ่ายดีฝ่ายชั่ว แต่ไม่ตายตัว)

มี 6

1.วิตก

2.วิจาร

3.อธิโมกข์ (ความปักใจ)

4.วิริยะ

5.ปีติ

6.ฉันทะ


 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 19 ม.ค. 2008, 10:24 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 19 ม.ค. 2008, 9:57 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


2) อกุศลเจตสิก (เจตสิกที่เป็นอกุศล)

มี 14 คือ

(1) อกุศลสาธารณเจตสิก (เกิดกับจิตที่เป็นอกุศลทุกดวง)

มี 4 คือ

1. โมหะ

2. อหิริกะ

3. อโนตัปปะ

4. อุทธัจจะ


(2) ปกิณณกอกุศลเจตสิก (เกิดกับจิตที่เป็นอกุศล แต่ไม่ตายตัวทุกครั้ง)

มี 10 คือ

1.โลภะ

2.ทิฏฐิ

3.มานะ

4.โทสะ

5.อิสสา

6.มัจฉริยะ

7.กุกกุจจะ

8.ถีนะ

9.มิทธะ

10.วิจิกิจฉา
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 19 ม.ค. 2008, 10:13 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


3) โสภณเจตสิก (เจตสิกดีงาม คือ เกิดกับจิตที่เป็นกุศลและอัพยากฤต)

มี 25 คือ

(1) โสภณสาธารณเจตสิก (เกิดกับจิตที่ดีงามทุกดวง)

มี 19 คือ

1.ศรัทธา

2.สติ

3.หิริ

4.โอตตัปปะ

5.อโลภะ

6.อโทสะ (= เมตตา)

7.ตัตตรมัชฌัตตตา (ความมีใจเป็นกลางในสภาวะนั้น บางทีเรียกอุเบกขา)

8.กายปัสสัทธิ (ความสงบแห่งนามกายคือกองเจตสิก)
9.จิตตปัสสัทธิ

10.กายลหุตา (ความเบาแห่งนามกายคือกองเจตสิก)
11.จิตตลุหตา

12. กายมุทุตา (ความอ่อนแห่งนามกายคือกองเจตสิก)
13.จิตตมุทุตา

14.กายกัมมัญญตา (ความควรแก่การแห่งนามกายคือกองเจตสิก)
15.จิตตกัมมัญญตา

16.กายปาคญญตา (ความคล่องแคล่วแห่งนามกายคือกองเจตสิก)
17.จิตตปาคุญญตา

18.กายุชุกตา (ความซื่อตรงแห่งนามกายคือกองเจตสิก)
19.จิตตุชุกตา


(2) ปกิณณกโสภณเจตสิก (เกิดกับจิตฝ่ายดีงาม แต่ไม่ตายตัวทุกครั้ง)

มี 6 คือ

1.สัมมาวาจา

2..สัมมากัมมันตะ

3.สัมมาอาชีวะ

(เรียกว่า วิรตีเจตสิก 3)

4. กรุณา

5. มุทิตา

(เรียกว่า อัปปมัญญาเจตสิก 2)

6. ปัญญา

 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 21 ม.ค. 2008, 12:55 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ในพระสูตร (เช่น สํ.ข.17/116/74)

ตามปกติ ท่านแสดงความหมายของสังขารว่า ได้แก่ เจตนา 6 หมวด คือ

-รูปะสัญเจตนา

-สัททะสัญเจตนา

-คันธะสัญเจตนา

-ระสะสัญเจตนา

-โผฐัพพะสัญเจตนา

-ธรรมะสัญเจตนา

แปลว่า เจตน์จำนง หรือ ความคิดปรุงแต่ง เกี่ยวกับ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ

และ ธรรมารมณ์
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 21 ม.ค. 2008, 1:28 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


5. วิญญาณ แบ่งตามทางที่เกิดเป็น 6 คือ

1.จักขุวิญญาณ

2.โสตะวิญญาณ

3.ฆานะวิญญาณ

4. ชิวหาวิญญาณ

5.กายวิญญาณ

6.มโนวิญญาณ

แปลตามแบบว่า

ความรู้แจ้งอารมณ์ทางตา

...ทางหู

...ทางจมูก

...ทางลิ้น

... ทางกาย

...ทางใจ

ตามแนวอภิธรรม

เรียก วิญญาณขันธ์ ทั้งหมดว่า “จิต”

และ

จำแนกจิตออกเป็น 89 หรือ 121 ดวง คือ

ก. จำแนกตามภูมิ หรือ ระดับของจิต

เป็น

-กามาวจรจิต 54

-รูปาวจรจิต 15

-อรูปาวจรจิต 12

-โลกุตรจิต 8 (แยก พิสดารเป็น 40)


ข.จำแนกโดยคุณสมบัติ เป็น

-อกุศลจิต 12

-กุศลจิต 21 (พิสดารเป็น 37)

-วิบากจิต 36 (พิสดารเป็น 52)

-กิริยาจิต 20


ในที่นี้จะแสดงไว้พอเห็นเค้าเพียงเท่านี้

ส่วนรายละเอียดชื่อจิตแต่ละดวงๆว่าชื่ออะไรบ้าง ประกอบ (สัมปยุต) กับเจตสิกได้เท่าไร

อะไรบ้าง พึงศึกษาตามสำนักเรียนที่เปิดสอนเถิด



 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 27 ม.ค. 2008, 3:29 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ความสัมพันธ์ระหว่างขันธ์ต่างๆ

ขันธ์ทั้ง 5 อาศัยซึ่งกันและกัน

รูปขันธ์เป็นส่วนกาย

นามขันธ์ทั้ง 4 เป็นส่วนใจ

มีทั้งกายและใจจึงจะเป็นชีวิต

กาย กับ ใจ ทำหน้าที่เป็นปกติและประสานสอดคล้องกัน ชีวิตจึงจะดำรงอยู่ได้ด้วยดี

ตัวอย่าง เช่น กิจกรรมของจิตใจ ต้องอาศัยความรู้เกี่ยวกับโลก ซึ่งเกิดขึ้นได้โดยอาศัย

อารมณ์ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งต้องกาย (สัมผัส)

อารมณ์ทั้ง 5 ก็ดี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็ดี ต่างก็เป็นรูปธรรมอยู่ในรูปขันธ์ คือ เป็นฝ่ายกาย

อย่างไรก็ตาม ในที่นี้จะพูดเน้นด้านจิตใจ โดยถือกายเป็นเสมือนอุปกรณ์สำเร็จรูป

ที่สร้างขึ้นมารับใช้กิจกรรมของจิตใจ ถือว่าจิตใจเป็นศูนย์กลางแห่งกิจกรรมของชีวิต

มีความกว้างขวาง ซับซ้อนและลึกซึ้งมาก เป็นที่ให้คุณค่าและความหมายแก่ชีวิต

และเกี่ยวข้องโดยตรงกับพุทธธรรม


นามขันธ์ 4 มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดและส่งอิทธิพลเป็นปัจจัยแก่กัน

การเกิดขึ้นของนามขันธ์ทั้ง 4 เหล่านั้น ตามปกติจะดำเนินไปตามกระบวนธรรม ดังนี้

“เพราะผัสสะ (ตา หู ฯลฯ + รูป เสียง ฯลฯ + วิญญาณ) เป็นปัจจัย

การเสวยอารมณ์ (เวทนา) จึงมี บุคคลเสวยอารมณ์ใด ย่อมหมายรู้อารมณ์นั้น

(สัญญา)

หมายรู้อารมณ์ใด ย่อมตริตรึกอารมณ์นั้น (สังขาร)...”


(ม.ม.12/248/225)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 27 ม.ค. 2008, 3:51 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


พึงสังเกตว่า ในกระบวนธรรมนั้น เวทนามีบทบาทสำคัญมาก

อารมณ์ใดให้สุขเวทนา สัญญาก็มักกำหนดหมายอารมณ์นั้น

ยิ่งให้สุขเวทนามาก ก็จะกำหนดหมายมาก

และเป็นแรงผลักดันให้คิดปรุงแต่งทำการต่างๆ เพื่อให้ได้เสวยสุขเวทนานั้นมากขึ้น

ความเป็นไปอย่างนี้

เรียกได้ว่าเป็นกระบวนธรรมง่ายๆ พื้นๆ เบื้องต้น เป็นแบบสามัญ

หรือแบบพื้นฐาน

ในกระบวนธรรมนี้

เวทนา เป็นตัวล่อและชักจูงใจ เหมือนผู้คอยให้เอาหรือไม่เอาหรือหลีกเลี่ยงอะไร

สัญญา เหมือนผู้สะสมเก็บข้อมูล หรือวัตถุดิบ

สังขาร เหมือนผู้นำเอาข้อมูลหรือวัตถุดิบนั้นไปใช้ปรุงแปรตระเตรียมทำการ

วิญญาณ เหมือนเจ้าของงาน ใครทำอะไรคอยรับรู้ไปหมด เป็นทั้งผู้เปิดโอกาส

ให้มีการทำงานและเป็นผู้รับผลของการทำงาน


(คัมภีร์วิสุทธิมรรค เป็นต้น เปรียบเทียบว่า รูปเหมือนภาชนะ เวทนาเหมือนโภชนะ

สัญญาเหมือนกับข้าว สังขารเหมือนผู้ปรุงอาหาร วิญญาณเหมือนผู้บริโภค...

หรือ รูปเหมือนเรือนจำ เวทนาเหมือนการลงโทษ สัญญาเหมือนโทษ

สังขารเหมือนเจ้าหน้าที่ผู้ลงโทษ วิญญาณเหมือนนักโทษ

(วิสุทธิมรรค 3/58; สง.คห.ฎีกา 227)

 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 25 ก.พ.2008, 8:56 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



สัญญา
เป็นความรู้จำพวกหนึ่ง หมายถึง การหมายรู้ หรือ กำหนดรู้อาการ

ของอารมณ์ เช่น ลักษณะ ทรวดทรง สี สัณฐาน ฯลฯ ตลอดจนชื่อเรียก และสมมุติบัญญัติ

ต่างๆ ว่า เขียว ขาว ฯลฯ

พูดเพื่อเข้าใจกันง่ายๆ สัญญาก็คือกระบวนการเรียกเก็บ รวบรวม และสั่งสมข้อมูล

ของการเรียนรู้ และวัตถุดิบสำหรับความคิดนั้นเอง

ตลอดจนการศึกษาในทางธรรม เช่น หมายรู้ในภาวะที่ไม่เที่ยง หมายรู้ในภาวะที่เป็นอนัตตา

เป็นต้น

สัญญา เกื้อกูลแก่การดำเนินชีวิตของมนุษย์อย่างมาก แต่ในเวลาเดียวกัน ก็มีโทษมิใช่น้อย

เพราะมนุษย์จะยึดติดตามสัญญา ทำให้สัญญากลายเป็นเครื่องกีดกั้นกำบังตนเองและห่อหุ้ม

คลุมตัวสภาวะไว้ ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงความจริงแท้ที่อยู่ลึกลงไป
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 13 เม.ย.2008, 8:01 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



ขอแทรกความรู้เข้าใจการปฏิบัติธรรมแนวสติปัฏฐาน ที่ใช้คำบริกรรม หรือที่กำหนดรู้อารมณ์

ต่างๆ ตามสภาวธรรมแต่ละขณะๆ เช่น คิดหนอ ฟุ้งหนอ ง่วงหนอ ขี้เกียจหนอ เห็นหนอ

เสียงหนอ สุขหนอ ทุกข์หนอ เฉยๆหนอ พองหนอ ยุบหนอ นั่งหนอ ยืนหนอ

กลับหนอ ซ้าย ย่าง หนอ ขวา ย่าง หนอ เป็นต้น

สัญญา ได้ทำหน้าที่ คือ เก็บรวบรวมข้อมูลสภาวะ ปัญญาตรวจสอบตัดสินอารมณ์ สติก็ระลึกรู้

อารมณ์ตามที่โยคีกำหนดตามเป็นจริง สภาวะจะละเอียดลึกลงๆ แล้วแทงตลอดสัจธรรม

ในที่สุด
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 13 เม.ย.2008, 8:15 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาต่อไป ขอแยกสัญญาออกอย่างคร่าวๆ เป็น 2 ระดับ คือ

สัญญาอย่างสามัญ ซึ่งกำหนดหมายอาการของอารมณ์ที่เกิดขึ้นหรือเป็นไปอยู่

ตามปกติธรรมดาของมัน อย่างหนึ่ง

และ สัญญาสืบทอด หรือ สัญญาอย่างซับซ้อน

ที่บางคราวก็ใช้คำเรียกให้ต่างออกไป เฉพาะอย่างยิ่ง ปปัญจสัญญา

อันหมายถึงสัญญาเนื่องด้วยอารมณ์ที่คิดปรุงแต่งขึ้นให้ซับซ้อนพิสดารด้วยแรงผลักดัน

ของตัณหามานะและทิฏฐิ ซึ่งเป็นสังขารชั้นนำในฝ่ายร้าย อีกอย่างหนึ่ง


การที่แยกเช่นนี้จะช่วยให้มองเห็นความหมายของสัญญาที่กำลังแสดงบทบาทอยู่

พร้อมทั้งความสัมพันธ์ ระหว่าง สัญญา กับ ขันธ์อื่นภายในกระบวนธรรมได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 13 เม.ย.2008, 9:35 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


-สัญญา ซึ่งเกิดจากความคิดปรุงแต่งที่เป็นอกุศล เรียก ปปัญจสัญญา คือสัญญาซับซ้อน

หลากหลาย ซึ่งเกิดจากการแต่งเสริมเติมต่อให้พิสดาร ของตัณหา มานะ และทิฏฐิ

เรียกอีกอย่างหนึ่งตามสำนวนอรรถกถาบางแห่งว่า กิเลสสัญญา แปลว่า สัญญาที่เกิดจากกิเลส
หรือ สัญญาที่ประกอบด้วยกิเลส (ม.อ.2/98; สํ.อ.3/33)


สัญญาพวกนี้ถูกกิเลสปรุงแต่งให้ฟั่นเฝือ และห่างเหเฉไฉ ออกไปจากทางแห่งความรู้

ไม่เป็นเรื่องของความรู้ แต่เป็นเรื่องของการที่จะให้เกิดโลภะ โทสะ โมหะ

แทนที่จะช่วยให้เกิดความความรู้ กลับเป็นเครื่องปิดกั้นบิดเบือนความรู้

ยกตัวอย่างเช่น หมายรู้ลักษณะอาการที่สนองความอยากได้อยากเอา

หมายรู้ลักษณะอาการที่ตนเป็นคนยิ่งใหญ่

หมายรู้ลักษณะอาการในผู้อื่นที่ตนถือว่าต่ำต้อยด้อยกว่า ฯลฯ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 13 เม.ย.2008, 9:45 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


-สัญญา ที่เกิดจากความคิดดีงาม หรือเกิดจากความรู้ความเข้าใจถูกต้อง เรียกว่า กุศลสัญญา
บ้าง

วิชชาภาคิยสัญญา (สัญญาที่ช่วยให้เกิดวิชชา) บ้าง

หรือ ที่เรียกอีกชื่ออื่นๆ ในทำนองนี้บ้าง เป็นสัญญาที่ช่วยส่งเสริมความเจริญปัญญา

และความงอกงามแห่งกุศลธรรม เช่น หมายรู้ลักษณะอาการที่ชวนให้เกิดความเป็นมิตร

หมายรู้ลักษณะอาการซึ่งแสดงภาวะที่เป็นไปตามเหตุปัจจัย ภาวะที่เป็นของไม่เที่ยง

ภาวะที่ไร้ตัวตน ฯลฯ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 13 เม.ย.2008, 9:52 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


พระอรหันต์ ก็มีสัญญา แต่เป็นสัญญาที่ปราศจากอาสวะ

คือ สัญญาไร้กิเลส (ม.อุ.14/341/232)

พระอรหันต์ ก็หมายรู้ปปัญจสัญญา ตามที่ปุถุชนเข้าใจ หรือ ตามที่ท่านเองเคยเข้าใจ

เมื่อครั้งยังเป็นปุถุชน แต่ท่านหมายรู้เพียงเพื่อเป็นความรู้ เพื่อใช้ประโยชน์

เช่นในการแก้ไขปัญหาของผู้อื่น ไม่หมายรู้ในแง่ที่จะมีตัวตนออกรับความกระทบ

แม้ผู้ปฏิบัติธรรมก็พึงดำเนินตามแนวทางเช่นนั้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง