Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 สมาธิในชีวิตประจำวัน : พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 01 เม.ย.2006, 5:50 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

สมาธิในชีวิตประจำวัน
โดย พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต)

วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
แขวงกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร



สมาธิ คือ ความตั้งใจมั่นอยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เรากำหนดใจว่าจะทำให้สำเร็จ ใจเราปักหลักอยู่กับเรื่องนั้นเท่านั้น สมาธิมีความหมายอีกอย่างหนึ่งว่า เอกัคคตา แปลว่า คิดเรื่องเดียว เลือกเรื่องที่ท่านจะทำ ลองกำหนดตารางเวลา ผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพนั้นจะกำหนดเวลาเป็นช่วงๆ อันไหนเรื่องด่วนเรื่องสำคัญแล้วก็ทุ่มเททำเรื่องนั้นจนหมดเวลา หรือเสร็จเรื่องแล้วจึงค่อยเปลี่ยนหรือสวิชต์ไปเรื่องอื่น เขาคิดทีละเรื่อง ไม่ใช่ให้เรื่องต่างๆ เข้ามาพันกันจนยุ่งไปหมด

การมีสมาธิ หมายความว่า เรากำลังคิดเรื่องอะไรก็มีสติในเรื่องนั้น ใจอยู่กับเรื่องนั้นเพียงเรื่องเดียว อย่างที่หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ ท่านสอนให้ทำสมาธิด้วยกายคตาสติ คือ กำหนดดูมือที่ขึ้นและลง ขึ้นก็รู้ ลงก็รู้ มีสติกับ การเคลื่อนไหวของมือในปัจจุบันตลอดเวลา ไม่วอกแวกไปไหนเลย สติที่ติดตามการเคลื่อนไหวของมืออย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดสมาธิ มือในปัจจุบันขณะอยู่ตรงไหน สติรู้ทันหมด หรือในการฝึกสติตามการเดินว่า ซ้ายย่างหนอ ขวาย่างหนอ สำหรับคนเริ่มฝึกขั้นแรก เขายกเท้าซ้ายแล้วก็วาง ยกเท้าขวาแล้วก็วางให้มีสติตามทันการเคลื่อนไหว คนที่ฝึกขั้นสูงสติรู้ปัจจุบันละเอียดขึ้นอีก ยก-ย่าง-เหยียบ อย่างนี้เป็นต้น

เมื่อฝึกสติมากขึ้น สติจะตามทันทุกอย่าง ทันแม้กระทั่งความคิดของตัวเอง เวลาที่จิตโกรธ เราจะรู้ทันและใส่เบรกให้กับตัวเองได้ จุดประสงค์ที่แท้จริงต้องมาถึงขั้นที่ว่า ถ้าเกิดโกรธหรือกลัวขึ้นมาก็สามารถที่จะห้ามความโกรธหรือปลุกปลอบใจได้ ถ้าหากว่าเราเริ่มจะขุ่นมัว สติจะเป็นเครื่องตรวจสอบตนเอง รู้ทันแม้กระทั่งความคิดของตนเองได้ เพราะฉะนั้นคนที่มักโกรธควรเจริญสติจะได้ใจเย็นลง สติเป็นตัวกระบวน การฝึกอยู่กับปัจจุบัน เช่น กำหนดลมหายใจเข้าออก ลมถูกปลายจมูกก็รู้ ลมหายใจเข้าก็รู้ หายใจออกก็รู้ อย่างนี้เป็นต้น ไม่วอกแวกไปที่อื่น สติอยู่กับลมหายใจเข้าออกเท่านั้นเรียกว่า อานาปานสติ คือ สติกำหนดลม หายใจเข้าและออก เมื่อทำสติเช่นนี้ต่อเนื่องจะเกิดสมาธิคือปักใจอยู่กับลมหายใจอย่างเดียว

สมาธิมี 3 ขั้นด้วยกัน คือ

1. ขณิกสมาธิ สมาธิชั่วขณะ
2. อุปจารสมาธิ สมาธิเกือบจะแน่วแน่
3. อัปปนาสมาธิ สมาธิแน่วแน่


ขั้นที่ 1 เรียกว่า ขณิกสมาธิ เป็นสมาธิขั้นต้นสำหรับชาวบ้าน สมาธิชั่วขณะที่ทำสิ่งนั้นๆ เช่น อยู่กับขณะของลมหายใจเข้า-ออก แน่วแน่อยู่กับเรื่องนั้น สมาธิที่ใช้ทั่วไปในชีวิตประจำวันเราอ่านหนังสือหนึ่งเล่มจนจบได้ต้องมีขณิกสมาธิ ในการที่ท่านฟังบรรยายนี้เข้าใจจะต้องมีขณิกสมาธิทุกคน ถ้าไม่มีสมาธิขั้นนี้เรียนอะไรไม่ได้

ใครมีขณิกสมาธิมากก็จะมีกระแสจิตที่แรงกล้า เพราะสมาธิคือการรวมพลังให้กับกระแสจิต อย่างที่ท่านมองใครสักคนหนึ่งท่านมองอย่างตั้งใจก็คือระดมความคิดไปที่เขา การระดมกระแสจิตไปนั้นก็คือ สมาธินั่นเอง ในขณะนั้นท่านมองอย่างโกรธ มองอย่างรักหรือมองอย่างเมตตา กระแสสมาธิจึงมีอยู่หลากหลาย อย่างเช่น ท่านแผ่เมตตาก็คือทำสมาธินั่นเอง นึกถึงใครด้วยเมตตากรุณาคือความรักความสงสาร ก็เป็นกรรมฐานอย่างหนึ่ง

พระพุทธเจ้าเองนิยมใช้การกำหนดลมหายใจ เข้า-ออก ที่เรียกว่า อานาปานสติ หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ นิยมใช้กายคตาสติ รู้ทันการเคลื่อนไหวของมือ คิดอยู่เรื่องเดียว มองจะต้องให้เห็น คือรู้ทันปัจจุบัน ปรากฏว่า บางคนทำแล้ววอกแวก เพราะแทนที่จะไปดูมือ ไปดูเส้นลายมือ คิดว่าเส้นลายมือเรามันขาด เส้นโชคเมื่อไรจะขึ้นสักทีหนอ มือซีดเหลือเกิน จิตวิ่งไปเรื่องไหนต่อเรื่องไหน พอให้กำหนดลมหายใจเข้า-ออก เป็นหวัดเสียแล้ว คิดไปเรื่องโน้นเรื่องนี้ ฟุ้งซ่านไปหมด

สมาธิขั้นสูงขึ้นไปเกือบจะเป็นฌาน เรียกว่า อุปจารสมาธิ แปลว่าใกล้ จะแน่วแน่ ขั้นนี้สามารถกำจัดนิวรณ์ทั้งห้าคือ กามฉันทะ (ความพอใจใน กาม) พยาบาท (ความขัดเคือง) ถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม) อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและรำคาญใจ) และวิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) อุปจารสมาธิยังไม่เรียกว่าฌาน เพราะยังไม่มีองค์ฌานทั้งห้า

สมาธิขั้นสูงสุดเรียกว่า อัปปนาสมาธิ หมายถึง สมาธิแน่วแน่ เป็นสมาธิของผู้เข้าฌาน มีองค์ฌานทั้งห้า คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา พระพุทธเจ้าเวลาเข้าฌานสมาบัติ ฟ้าผ่าลงมาใกล้ๆ ก็ไม่ได้ยิน จิตแน่วแน่มาก อันนี้เราทำในชีวิตประจำวันไม่ได้ เพราะเสียงจะเป็นข้าศึกเป็นปฏิปักษ์ต่อสมาธิ ผู้ต้องการบรรลุสมาธิขั้นนี้อาจต้องเข้าป่า แต่สำหรับคนที่จะบรรลุเป็นพระอรหันต์ไม่จำเป็นต้องได้อัปปนาสมาธิก่อน ท่านทำขณิกสมาธิแล้วเข้าวิปัสสนาไปเลย

ความต่างของสมาธิและวิปัสสนาอยู่ตรงที่ สมาธิเป็นเรื่องของความแน่วแน่ของจิต วิปัสสนาเป็นเรื่องของปัญญา วิปัสสนาคือเอาจิตไปดูอนิจจัง ความไม่เที่ยง เกิด-ดับๆ ของจิต หรือความรู้สึก เช่น เมื่อครู่นั่งแล้วมีความสุข ตอนนี้มีความทุกข์ สุขทุกข์ไม่เที่ยงคือเห็นไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ถ้าเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เรียกว่า วิปัสสนา เป็นเรื่องของปัญญา แต่ถ้าเป็นเรื่องของสมาธิในชีวิตประจำวันหรือเป็นเรื่อง ความสงบนิ่งแห่งจิต เป็นเรื่องจิตคิดน้อยที่สุดจนหยุดคิด ท่านจะมีความสุขสงบมีพลังในการทำงาน เป็นประโยชน์ในชีวิตทั่วไป แล้วทำให้ท่านไม่เครียด

คนเครียดคือคนแบกเรื่องหนักไว้เต็มหัว พรุ่งนี้หรือมะรืนนี้จะถึงวันงาน กังวลว่านี่ก็ยังไม่ได้ทำ นั่นก็ยังไม่ได้ทำ คิดจะทำเรื่องหนึ่งก็มีเรื่องนี้มาเรื่องนั้นมากวนใจ เช่น ไปอยู่ที่ทำงานรู้สึกเครียดก็หอบงานกลับไปทำที่บ้าน พอกลับบ้านก็หอบงานกลับไปทำที่ทำงาน อยู่ที่ทำงานก็ห่วงบ้านจนต้องโทรศัพท์กลับไปที่บ้าน พอไปอยู่ที่บ้านก็โทรศัพท์กลับไปที่ทำงาน หรือตอนทำงานก็วางแผนพักร้อน ตอนไปพักร้อนก็หอบเอางานไปทำด้วย และพอกลับไปที่ทำงานก็วางแผนพักร้อนต่อไป อะไรก็ไม่รู้ ทำอะไรไม่จริงสักอย่าง ใจวุ่นวายสับสน คนที่ไม่เครียด ก็คือทำทีละเรื่อง ที่ละอย่าง อันไหนจำเป็นรีบด่วนก็ทำ หรือที่เราเรียกว่าการจัดลำดับความสำคัญนั่นเอง คนที่มีระเบียบในชีวิตบางคนทำงานได้หลายเรื่องในวันเดียวกัน ข้อสำคัญต้องมีระเบียบว่า ขั้นนี้เราทำให้เต็มที่ เสร็จแล้วจึงจับงานอื่นขึ้นมาทำ ทำทีละเรื่องๆ เหมือนกับยกเก้าอี้ทีละตัว ถ้าท่านพยายามยกทีละ 10 ตัว ก็ยกไม่ไหว

นโปเลียนมหาราชเป็นผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพคนหนึ่ง จิตแพทย์เขียนเล่าไว้ว่า ตอนนโบเลียนมีอำนาจวาสนารบเก่งมาก ตีชนะเกือบทั่วยุโรปจนถึงรัสเซีย รบก็เก่ง และเป็นนักบริหารที่เก่งในยามสงบ บริหารการคลังเยี่ยมเงินเต็มคลัง พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 กับพระนางมารีอังตัวเนตใช้เงินหมดเลย ไม่มีเงินเหลือ แต่นโปเลียนสามารถทำเงินให้เต็มคลัง ไปรบที่ไหนเขียนจดหมายถึงมเหสี เขียนจดหมายสั่งงานได้ มีจดหมาย และบันทึกของนโปเบียนเก็บไว้เป็นหลักฐาน ในปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ถึง 80,000 ฉบับ บางฉบับแปลมาเป็นภาษาไทย คือเรื่องจดหมายรักนโปเลียน เขาเอาเวลาที่ไหนมาทำเรื่องต่างกันได้ เรื่องเศรษฐกิจกับการรบมันคนละอย่าง จิตแพทย์สงสัยว่านโปเลียนทำได้อย่างไร ตอนนั้นนโปเลียนถูกจับปล่อยเกาะ จิตแพทย์ก็ยังอุตส่าห์นั่งเรือไปสัมภาษณ์

นโปเบียนก็ขยายความลับบอกว่า เราฝึกคิดทีละเรื่อง ทำเรื่องไหนนึกคิดเรื่องนั้นเท่านั้น คือทำสมาธินั่นเอง มีสติจดจ่ออยู่กับเรื่องนั้น เขาไม่ได้เรียนรู้วิธีทำสมาธิแบบพุทธเขาฝึกด้วยวิธีของตนเอง เขาบอกว่า ฝึกจินตนาการให้หัวสมองเขาเหมือนกับตู้มีลิ้นชักหลายลิ้นชัก แต่ละลิ้นชักเก็บไว้ 1 เรื่องเท่านั้น เรื่องสงครามเก็บไว้ลิ้นชักนี้ เรื่องจดหมายเก็บไว้ลิ้นชักนั้น เรื่องอื่นเก็บไปลิ้นชักอื่น และจะคิดเรื่องไหนก็เปิดลิ้นชักนั้นออกมาเท่านั้น ปิดลิ้นชักอื่นให้หมด ไม่ให้มันตีกัน และเวลาหยุดคิดก็ปิดลิ้นชักอื่นให้หมดเลย

นโปเลียนกล่าวว่า ถ้าไม่เชื่อจะทดลองทำให้ดู เราจะไม่คิดอะไรเลย ว่าแล้วก็หลับตาเอนกายลงนอน ไม่ถึง 5 นาทีนโปเลียนหลับสนิทเลย จิตแพทย์อัศจรรย์ใจ จับชีพจรดูลมหายใจแล้วเห็นว่าเขาหลับจริง หลอกหมอไม่ได้หรอก นโปเลียนทำได้เพราะฝึกคิดทีละเรื่อง ทำทีละอย่างให้ดี หมดเวลาก็หยุดทำ

มีเรื่องเล่าทำนองเดียวกันว่า นายกรัฐมนตรีคนหนึ่ง ขณะที่ต่างชาติยกทหารบุกเข้ามา ปรากฏว่าในรั้วในวังตกใจกันใหญ่เลย วิจารณ์กันว่าจะรบดีไหม ท่านนายกรัฐมนตรีไม่ประกาศสงครามสักที ยังอึมครึมกันอยู่จนกระทั่งเวลาเลี้ยงอาหารค่ำงานใหญ่มีเจ้าหญิงร่วมเสวย เขาก็คุยกันเรื่องสงครามว่า รัฐบาลจะรบหรือไม่รบ แต่นายกรัฐมนตรีนั่งรับประทานเฉยไม่พูดกับใคร คนก็วิจารณ์กันรอบๆ โต๊ะ ในที่สุดเจ้าหญิงองค์หนึ่งทนไม่ได้ ถามท่านนายกรัฐมนตรีตรงๆ ว่า ท่านยังมัวรออะไรอยู่ละ ท่านนากยกฯ ก็ทูลตอบว่า กำลังรอของหวานรายการต่อไป

นี่เป็นสมาธิฝึกมีระเบียบในชีวิต พวกที่เครียดจนเป็นโรคกระเพาะ กินไม่ได้ นอนไม่หลับ ควรฝึกคิดทีละเรื่องเหมือนนโปเลียน หัดสร้างระเบียบให้กับชีวิตตนเอง

การทำสมาธิก็คือมีสติอยู่กับเรื่องเฉพาะหน้านั้น และเอาจิตใจตามเรื่องนั้นอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสายเหมือนกับกระแสน้ำที่อยู่ในเขื่อน แล้วปล่อยออกมาทางเดียวจะเป็นพลังผลิตกระแสไฟฟ้าได้ ถ้ากระแสจิตซัดส่ายไปหลากหลายจะไม่มีพลังพอจะแก้ปัญหา บางครั้งถ้าท่านมีปัญหาอะไรคิดไม่ออก ให้นอนหลับตื่นเช้าขึ้นมา สมองจะปลอดโปร่ง ความคิดของท่านสดใสขึ้น ไอเดียต่างๆ จะเกิดขึ้น นักคิดหลายคนได้ความคิดที่ดีตอนเช้ามืดเมื่อสมองปลอดโปร่ง เพราะได้พักตอนนอนหลับ กระแสจิตมีพลัง


จาก...หนังสือคนเก่งและดีต้องมีความสุข
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=436
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
โมกข์ป่า
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 10 ม.ค. 2008
ตอบ: 22

ตอบตอบเมื่อ: 11 ม.ค. 2008, 3:28 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอขอบคุณมากๆ ค่ะ ที่นำเรื่องดีๆ มาให้ได้อ่านกัน

อ่านตัวอย่างของบุคคลที่ทำสมาธิแล้ว ให้นึกทึ่งเหมือนกันค่ะ และก็จะพยายามทำให้ได้เช่นกัน

ขออนุโมทนาค่ะ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
NuNee
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 22 ก.พ. 2008
ตอบ: 13

ตอบตอบเมื่อ: 22 ก.พ.2008, 2:30 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอบคุณมากค่ะ อ่านแล้วมีประโยนช์กับตัวเอง
ขออนุโมทนาด้วยค่ะ


ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม

ชีวิตคือการต่อสู้ ....จงเป็นอยู่ด้วยความอดทน
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง