Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 มาทำความเข้าใจ เกี่ยวกับ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 18 ธ.ค.2007, 9:31 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

มาทำความเข้าใจ เกี่ยวกับ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
ที่ข้าพเจ้า นำเอา เรื่องเกี่ยวกับ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค มาเขียน เพื่อจะได้ทำความเข้าใจกับท่านทั้งหลายที่ศรัทธาในศาสนาพุทธ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย หรือไม่ว่าจะเป็นผู้เกี่ยวข้องในทางศาสนาพุทธทุกท่าน มีความเข้าใจผิด อันเกี่ยวกับความหมายของคำว่า ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค
หากไม่มีบรรทัดฐาน ในการที่จะให้ความหมาย หรือแปลความหมาย หรือไม่มีบรรทัดฐานในทางที่ถูกต้องแล้ว ความเข้าใจผิด โดยความรู้เท่าไม่ถึงกาล ของท่านทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมเกิดมี และเกิดมีขึ้นมาแล้วโดยตลอด อันจักเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาที่ต้องมานั่งถกเถียงกันไม่รู้จักจบสิ้น เนื่องเพราะสาเหตุแห่งความไม่เข้าใจในความหมายของภาษา ไม่เข้าใจความหมายของคำว่า ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค อย่างแท้จริง
หากทุกท่านทุกคน ไม่ว่าจะอยู่ในแวดวงใดใด อันเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา ไม่ว่าจะเป็นฆราวาส หรือนักบวชทั้งหลาย ได้รู้ ได้เข้าใจ ในเรื่องของ อริยสัจสี่ หรือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เป็นไปในบรรทัดฐานเดียวกันแล้ว การเรียน การสอน ในพุทธศาสนาย่อมง่าย ย่อมเกิดความเจริญงอกงาม ย่อมมีความเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน และถูกต้องเหมือนกัน ดังนั้น หากท่านทั้งหลายไม่ว่าจะอยู่ในบทบาทใดใด ได้อ่านบทความนี้แล้ว โปรดได้ใช้วิจารญาณ คิดพิจารณาอย่างถ่องแท้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน มิให้เกิดความสับสนในการทำความเข้าใจ เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี ที่ถูกต้อง ให้กับลูกหลายในภายภาคหน้า ดังต่อไปนี้
ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ในทางพุทธศาสนา รวมเรียกว่า “อริยสัจสี่” หรือ ความจริงอันประเสริฐ ,ความจริงของพระอริยะ,หรือความจริงอันทำให้มนุษย์เป็นอริยะ 4 ประการ (จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฏก)
อริยสัจสี่ หรือ ความจริงอันประเสริฐ ,ความจริงของพระอริยะ,หรือความจริงอันทำให้มนุษย์เป็นอริยะ 4 ประการ (จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฏก) นั้น เป็นศัพท์ ภาษาในทางพุทธศาสนา จึงมีความหมายของภาษาที่แตกต่างไปจากศัพท์ภาษาทั่วไป เพราะ
คำว่า “ทุกข์” หมายถึง “1.สภาพที่ทนอยู่ได้ยาก, สภาพที่คงทนอยู่ไม่ได้ เพราะถูกบีบคั้นด้วยความเกิดขึ้นและความดับสลาย เนื่องจากต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่ไม่ขึ้นต่อตัวมันเอง 2.สภาพที่ทนได้ยาก, ความรู้สึกไม่สบาย ได้แก่ ทุกขเวทนา, ถ้ามาคู่กับโทมนัส (ในเวทนา ๕) ทุกข์ หมายถึงความไม่สบายกายคือทุกข์กาย (โทมนัสคือไม่สบายใจ) แต่ถ้ามาลำพัง (ในเวทนา ๓) ทุกข์ หมายถึงความไม่สบายกายไม่สบายใจ คือทั้งทุกข์กายและทุกข์ใจ” (จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฏก) แต่ในความหมายของคำว่าทุกข์ ในทางอริยะสัจสี่นั้น หมายถึง “สิ่งที่เป็นความโลภ ความโกรธ ความหลง หรือสิ่งที่ทำให้เกิด ความโลภ ความโกรธ ความหลง” หรือในทางตรงกันข้าม “ความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นตัวควบคุม หรือเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิด”สิ่งที่เรียกว่า “ทุกข์”
ความโลภ ความโกรธ ความหลง ล้วนเกิดจากการได้สัมผัสหรือประสบ แล้วเกิดความคิด เกิดความรู้สึก เกิดอารมณ์ และสภาพสภาวะจิตใจในรูปแบบต่างๆกัน เช่น ความสบายใจ ความดีใจ เสียใจ ฯลฯ อย่างนี้เป็นต้น และ ความโลภ ความโกรธ ความหลง อันเกิดจากการได้สัมผัสหรือประสบนั้น ก็คือ “ทุกข์” ในแง่ของ หลักอริยะสัจสี่
แต่ ความทุกข์ ในทางทั่วๆไปนั้น ก็คือ “1.สภาพที่ทนอยู่ได้ยาก, สภาพที่คงทนอยู่ไม่ได้ เพราะถูกบีบคั้นด้วยความเกิดขึ้นและความดับสลาย เนื่องจากต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่ไม่ขึ้นต่อตัวมันเอง 2.สภาพที่ทนได้ยาก, ความรู้สึกไม่สบาย ได้แก่ ทุกขเวทนา, ถ้ามาคู่กับโทมนัส (ในเวทนา ๕) ทุกข์ หมายถึงความไม่สบายกายคือทุกข์กาย (โทมนัสคือไม่สบายใจ) แต่ถ้ามาลำพัง (ในเวทนา ๓) ทุกข์ หมายถึงความไม่สบายกายไม่สบายใจ คือทั้งทุกข์กายและทุกข์ใจ” (จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฏก)
ซึ่งถ้าจะกล่าวแบบภาษาชาวบ้านทั่วไปแล้ว ก็คือ ทุกข์เกิดจาก ไม่มีเงิน ไม่มีอาหาร ไม่มีเครื่องนุ่งห่ม ไม่มียารักษาโรค ไม่มีที่อยู่อาศัย ไม่มีงานทำ ฯลฯ ดังนั้น ความหมายของคำว่า “ทุกข์” ตามหลักอริยะสัจสี่ กับคำว่า “ทุกข์”ตามความเข้าใจของคนทั้งหลาย จึงแตกต่างกันออกไป ทั้งๆที่มันก็คือสิ่งๆเดียวกัน
เมื่อท่านทั้งหลายได้อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ท่านทั้งหลายอาจเกิดความสับสน หรือไม่เข้าใจว่า คำว่า “ทุกข์” ตามหลักอริยสัจสี่นั้น แท้จริงหมายถึงอะไรกันแน่
“ทุกข์” ตามหลักอริยสัจสี่ แท้จริงแล้ว ย่อมหมายถึง ความโลภ ความโกรธ ความหลง หรือหมายถึง “สิ่งที่ทำให้เกิด ความโลภ ความโกรธ ความหลง” หรือหมายถึง “ความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นตัวควบคุม หรือเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดทุกข์”
ซึ่งย่อมมีความหมายแตกต่างไปจาก คำว่า “ทุกข์”ในศัพท์ภาษาทั่วๆไป เพราะ หลักอริยสัจสี่ คือ ความจริงอันประเสริฐ ,ความจริงของพระอริยะ,หรือความจริงอันทำให้มนุษย์เป็นอริยะ 4 ประการ (จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฏก) จึงมีความหมายที่จำเพาะเจาะจง ไปทางที่จะทำให้เกิดความคิด เกิดการพิจารณาให้รู้แจ้งถึง ความโลภ ความโกรธ ความหลง ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “กิเลส” นั่นเอง

(จบตอนที่ 1)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 19 ธ.ค.2007, 1:51 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ตอนที่ 2....
“สมุทัย” เป็นข้อที่ 2 ตามหลักอริยะสัจสี่ มีความหมายตามพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฏกว่า
“เหตุให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา คือความทะยานอยาก เช่น อยากได้นั่นได้นี่ อยากเป็นโน่นเป็นนี่ อยากไม่เป็นโน่นเป็นนี่ (ข้อ ๒ ในอริยสัจ ๔) ดู ตัณหา”
“ความทะยานอยาก, ความดิ้นรน, ความปรารถนา, ความเสน่หา มี ๓ คือ ๑.กามตัณหา ความทะยานอยากในกาม อยากได้อารมณ์อันน่ารักใคร่ ๒.ภวตัณหา ความทะยากอยากในภพ อยากเป็นนั่นเป็นนี่ ๓.วิภวตัณหา ความทะยานอยากในวิภพ อยากไม่เป็นนั่นไม่เป็นนี่ อยากพรากพ้นดับสูญไปเสีย”
แต่ในทางที่เป็นจริงแล้ว เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์นั้น ถ้าจะให้ความหมายตามแนวทางศาสนา ย่อมล้วนเกิดจาก สภาพสภาะจิตใจ ที่เรียกว่า ความโลภ ความโกรธ และความหลง อันได้สัมผัสหรือประสบกับสิ่งต่างๆทั้งภายในร่างกายและภายนอกร่างกาย ซึ่งย่อมหมายรวมไปถึงความรู้ ความจำ ที่มีอยู่ในบุคคลนั้นๆ สภาพสภาวะจิตใจที่เรียกว่า ความโลภ ความโกรธ ความหลง อันเกิดจากการได้สัมผัสหรือประสบกับสิ่งต่างๆ ทั้งภายในร่างกายและภายนอกร่างกาย รวมไปถึง ความรู้ ความจำ ที่มีอยู่ในบุคคล ล้วนเป็น เหตุที่ทำให้เกิดความทุกข์ ซึ่ง สภาพสภาวะจิตใจ ที่เรียกว่า ความโลภ ความโกรธ ความหลงนั้น จะแปรเปลี่ยนเป็นความคิด แล้วแปรเปลี่ยนเป็นพฤติกรรมทั้งทางกาย วาจา และใจ ซึ่งเมื่อความโลภ ความโกรธ ความหลง ได้แปรเปลี่ยนเป็นความคิด และพฤติกรรมทั้งทางกาย วาจา และใจ แล้ว จึงเรียกว่า
“ตัณหา คือความทะยานอยาก เช่น อยากได้นั่นได้นี่ อยากเป็นโน่นเป็นนี่ อยากไม่เป็นโน่นเป็นนี่”
“ความทะยานอยาก, ความดิ้นรน, ความปรารถนา, ความเสน่หา มี ๓ คือ ๑.กามตัณหา ความทะยานอยากในกาม อยากได้อารมณ์อันน่ารักใคร่ ๒.ภวตัณหา ความทะยากอยากในภพ อยากเป็นนั่นเป็นนี่ ๓.วิภวตัณหา ความทะยานอยากในวิภพ อยากไม่เป็นนั่นไม่เป็นนี่ อยากพรากพ้นดับสูญไปเสีย”
แต่ถ้าหากจะกล่าวในทางศัพท์ภาษาโดยทั่วไปแล้ว เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ก็คือ การดำเนินกิจกรรม การดำเนินชีวิต ของแต่ละบุคคล อันปฏิสัมพันธ์ หรือเกี่ยวข้องกับบุคคลอื่น เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิประเทศ เกี่ยวข้องกับ เครื่องอุปโภค บริโภค หรือจะกล่าวในอีกรูปแบบหนึ่งก็คือ เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์นั้น ก็คือ การดำเนินกิจกรรม หรือการดำเนินชีวิต ของแต่ละบุคคล อันปฏิสัมพันธ์ หรือเกี่ยวข้อง กับ คน สัตว์ พืช สิ่งของ อากาศ และลักษณะภูมิประเทศ อย่างนี้เป็นต้น
ในที่นี้จะไม่กล่าวถึงรายละเอียดใน “เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์” อันเป็นหลักธรรม เพราะในบทความนี้ เน้นทำความเข้าใจ และเพื่อเป็นบรรทัดฐานในการตีความและหรือให้ความหมาย ที่ถูกต้อง และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

(จบตอนที่ 2)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 21 ธ.ค.2007, 9:24 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เนื่องจากติดธุระส่วนตัว เขียนต้นฉบับไม่ทัน ขอติดค้างไว้ ต้นเดือน มกราคม 2551 จะนำเอา ตอนที่ 3 และตอนที่ 4 มาเสนอขอรับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ดุสิตธานี
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 21 ก.ย. 2007
ตอบ: 352
ที่อยู่ (จังหวัด): สุโขทัยธานี

ตอบตอบเมื่อ: 22 ธ.ค.2007, 8:58 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สู้ สู้ สาธุ
 

_________________
“จงทำจิตให้บริสุทธิ์” ด้วยความดี ไม่เบียดเบียนผู้อื่น หรือแม้กระทั่ง “ตัวของเราเอง”
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ชัย
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 25 ต.ค. 2006
ตอบ: 26
ที่อยู่ (จังหวัด): ร้อยเอ็ด

ตอบตอบเมื่อ: 23 ธ.ค.2007, 9:06 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ อนุโมทนาสาธุครับ สาธุ สาธุ
 

_________________
ทำวันนี้ให้ดีที่สุด
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 01 ม.ค. 2008, 4:08 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เนื่องด้วยมีเหตุขัดข้องจำเป็น ไม่สามารถนำเอารายละเอียด ของ นิโรธ และมรรค มาเสนอได้ในตอนนี้ ขอเลื่อนไปต้นเดือนกุมภาพันธ์ จะนำมาเสนอใหม่ โดยจะตั้งเป็นกระทู้ใหม่ ตอนที่ 2
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ลุงดำ
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 24 พ.ย. 2007
ตอบ: 59

ตอบตอบเมื่อ: 02 ม.ค. 2008, 8:51 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ลุงกลัวทุกคนจะอดใจ ไม่ไหว
เลยไปคัดลอกจาก
http://www.larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/001603.htm
มาให้อ่าน
สาธุ สาธุ สาธุ
อริยสัจ 4
การปฏิบัติหน้าที่อย่างถูกต้องต่ออริยสัจ ๔
อริยสัจ ๔มีหน้าที่ประจำแต่ละข้อ
ถ้าปฏิบัติต่ออริยสัจ ๔ แต่ละข้อผิด ก็ถือว่าเราได้เดินทางผิดแล้ว
อริยสัจข้อที่ ๑ ทุกข์ คือ ตัวปัญหา
เรามีหน้าที่ต่อมันอย่างไร
หน้าที่ต่อปัญหา หรือความทุกข์ ก็คือ
หน้าที่ที่เรียกว่าทำความรู้จัก
ท่านเรียกว่า กำหนดรู้
รู้จักว่ามันคืออะไร อยู่ตรงไหน มีขอบเขตเพียงใด
เราจะแก้ปัญหา เราจะแก้ความทุกข์ เราต้องรู้ว่าทุกข์คืออะไร
ปัญหาของเราคืออะไร ขอบเขตของมันอยู่ที่ไหน
อะไรเป็นที่ตั้งของปัญหา
ถ้าจับไม่ถูกแล้วก็เดินหน้าไปไม่ได้
จับตัวปัญหาให้ได้เสียก่อน
แล้วก็เรียนรู้สิ่งที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับปัญหานั้นทั้งหมด
เราไม่มีหน้าที่ที่จะไปสร้างปัญหา
เราไม่มีหน้าที่ไปเอาปัญหามาวุ่นวายใจ มาเก็บ มากังวลใจ
มาทำให้เกิดความทุกข์ ไม่ใช่อย่างนั้น
เราไม่มีหน้าที่ทุกข์
แต่เรามีหน้าที่รู้จักทุกข์ นี้เป็นประการที่หนึ่ง คือ รู้จักตัวปัญหาตามที่เป็นจริง

อริยสัจข้อที่ ๒ สมุทัย คือ เหตุของทุกข์
เรามีหน้าที่อย่างไร หน้าที่ที่จะต้องทำต่อ สมุทัย
ก็คือ สืบสาวค้นหามันให้พบ
ให้รู้ว่ากระบวนการที่มันเกิดขึ้นเป็นอย่างไร
แล้วละมันให้ได้
แก้ไขกระบวนการให้เสร็จ คือ
กำจัดสาเหตุของปัญหา หรือสาเหตุของความทุกข์
ไม่ใช่กำจัดปัญหา ปัญหานั้นเรากำจัดไม่ได้
เราแก้ปัญหาด้วยการกำจัด เหตุ ของมัน

อริยสัจข้อที่ ๓ นิโรธ คือความดับทุกข์
การแก้ปัญหาสำเร็จหรือ ภาวะปราศจากปัญหา เป็นความมุ่งหมาย
การแก้ปัญหาสำเร็จคืออะไร
จุดหมายที่ต้องการคืออะไร เป็นสิ่งที่เป็นไปได้หรือไม่
กระบวนการแก้เป็นอย่างไร
เมื่อรู้ว่ามันคืออะไรและเป็นไปได้แล้ว
เราก็มีหน้าที่ต่อมันคือบรรลุถึงหรือเข้าถึง
แต่การที่จะเข้าถึงมัน คือ จะเข้าถึงจุดหมายก็ดี จะกำจัดสาเหตุของปัญหาก็ดี
แก้ปัญหาได้ก็ดี จะต้องไปสู่ข้อสุดท้าย คือ มรรค

อริยสัจข้อที่ ๔ คือ มรรค
มรรคเป็นทางเดินก็คือข้อปฏิบัติ
ซึ่งเรามีหน้าที่ คือ ลงมือทำ
เป็นข้อสุดท้าย ต้องลงมือทำตั้งแต่บุพนิมิต ของมรรค
เป็นต้นไปทีเดียว
ธรรมทั้งหมด จัดเข้าในอริยสัจ ๔ ได้ทั้งสิ้น
-สิ่งทั้งหลายในโลกนี้ ตามที่สัมพันธ์กับมนุษย์
หรือที่มนุษย์เกี่ยวข้อง
ประเภทหนึ่งนั้น
จัดเข้าในจำพวกที่เรียกว่าทุกข์
ซึ่งเป็นปัญหาและสิ่งที่ต้องเผชิญ

-สิ่งทั้งหลายในโลกนี้ ประเภทที่ ๒
จัดเข้าในจำพวกสิ่งที่เป็นโทษก่อทุกข์ภัย หรือเป็นสาเหตุของปัญหา

-สิ่งทั้งหลายในโลกนี้ประเภทที่ ๓
จัดเข้าในจำพวกสิ่งที่พึงประสงค์หรือเป็นจุดมุ่งหมาย และ

-สิ่งทั้งหลายประเภทที่ ๔
จัดเข้าในจำพวกสิ่งที่จะต้องทำหรือเป็นวิธีปฏิบัติ
และเราก็มีหน้าที่ปฏิบัติต่อมันให้ถูกต้อง

อย่างที่หนึ่ง ทำความรู้จักกำหนดให้ถูก
อย่างที่สอง กำจัดสาเหตุ
อย่างที่สาม คือ เข้าถึงจุดหมาย
และอย่างที่สี่ คือ ลงมือทำหรือลงมือเดินทาง

หลักการนี้ก็ใช้ในการปฏิบัติธรรมเหมือนกัน คือ
ในเวลาที่ไปเกี่ยวข้องกับธรรม
ก็ควรจะจัดให้ถูกด้วยว่า
ธรรมนั้นอยู่ในประเภทไหน ใน ๔ ข้อนี้
เมื่อจัดเข้าถูกต้องแล้ว เราก็จะปฏิบัติถูกหน้าที่ต่อข้อนั้น
คือ เราจะต้องทำอะไร อย่างไร
ธรรม ๔ ประเภทนั้น หรือสิ่งทั้งหลายทั้งปวงนั้น
มีชื่อเรียกเฉพาะตามหน้าที่ ที่เราพึงปฏิบัติต่อมัน คือ

๑. สิ่งทั้งหลายที่เป็นทุกข์
เป็นปัญหา เป็นที่ตั้งของปัญหา หรือเป็นจุดเกิดปัญหา
เมื่อมนุษย์ปฏิบัติต่อมันไม่ถูกต้อง เรียกว่า ปริญไญยธรรม
คือ สิ่งที่จะต้องกำหนดรู้ หรือทำความรู้จัก
ตัวอย่างเช่น ร่างกาย จิตใจ ชีวิต โลก ความผันผวน
ปรวนแปร วิปโยค โศกเศร้า ผิดหวัง ความรู้สึกสุขหรือทุกข์
รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ความคิด ความจำ ความเปลี่ยนแปลง
ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ฯลฯ
(ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ไตรลักษณ์ และธรรมอื่นทำนองนี้)

๒. สิ่งทั้งหลายที่เป็นจำพวกเหตุก่อทุกข์
หรือสาเหตุของปัญหา เรียกว่า ปหาตัพพธรรม
คือ สิ่งที่จะต้องละ เลิก แก้ไข กำจัด
ตัวอย่างเช่น ความโลภ ความโกรธ ความหลง
ความเห็นแก่ตัว ความถือตัว ความเย่อหยิ่ง ความเกียจคร้าน
ความเกลียดชัง ความริษยา ความเบื่อหนาย ความท้อแท้
ความเฉื่อยชา ความฟุ้งซ่าน ความระแวง ความประมาท
ความโง่เขลา ฯลฯ (อกุศลมูล กิเลส ตัณหา มานะ ทิฏฐิ
อวิชชา อุปาทาน สังโยชน์ นิวรณ์ และธรรมอื่นทำนองนี้)

๓. สิ่งทั้งหลายที่พึงประสงค์ เป็นจุดหมายที่ควรทำให้เสร็จ
หรือควรได้ ควรถึง เรียกว่า สัจฉิกาตัพพธรรม
คือ สิ่งที่จะต้องเข้าถึง หรือ ประจักษ์แจ้ง
ตัวอย่างเช่น ความสงบ ความร่มเย็น ความบริสุทธิ์
ความปลอดโปร่งโล่งเบา ความผ่องใส ความเบิกบาน
ความไร้ทุกข์ ความสุขที่แท้ สุขภาพ ภาวะปลอดพ้นปัญหา
ความเป็นอิสระ หรืออิสรภาพ ฯลฯ
(วิชชา วิมุตติ วิสุทธิ สันติ นิพพาน และธรรมอื่นทำนองนี้)
๔. สิ่งทั้งหลายที่เป็นข้อปฏิบัติ
เป็นวิธีการ เป็นสิ่งที่ต้องทำ
ต้องบำเพ็ญ เพื่อก้าวให้ไปถึงจุดหมาย เรียกว่า ภาเวตัพพธรรม
คือ สิ่งที่จะต้องทำให้มี ให้เป็นขึ้น
ให้เจริญงอกงาม เพิ่มพูนขึ้น
หรือต้องลงมือทำ ลงมือปฏิบัติ
ตัวอย่างเช่น เมตตา ไมตรี หรือมิตรภาพ กรุณา
ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความเสียสละ ความขยันหมั่นเพียร
ความมีกำลังใจ ฉันทะ ศรัทธา สติ สมาธิ ปัญญา
สัมปชัญญะ ฯลฯ
(มรรค ไตรสิกขา สมถะ วิปัสสนา และธรรมอื่นทำนองนี้)
รายละเอียดของธรรม ๔ ประเภท
หรือ การจัดประเภทสิ่งทั้งหลายในโลกมีอย่างไร จะไม่กล่าวในที่นี้
แต่พูดง่าย ๆ ว่าหลักนี้ท่านให้ใช้ในการตรวจสอบวัดผลสำเร็จในการศึกษา
หรือการปฏิบัติธรรมว่า
-สิ่งที่ควรกำหนดรู้ เราได้กำหนดรู้ หรือ รู้จักแล้วหรือไม่
-สิ่งที่ควรแก้ไขกำจัด เราได้แก้ไข กำจัดแล้วหรือยัง
-สิ่งที่ควรประจักษ์แจ้ง เราได้ประจักษ์แจ้งแล้วแค่ไหน และ
-สิ่งที่ควรปฏิบัติจัดทำให้เกิดให้มีขึ้นจนบริบูรณ์
เราได้ปฏิบัติจัดทำแล้วเพียงใด"
โดย ท่านพระธรรมปิฎก ป.อ. ปยุตฺโต ,ปฏิบัติธรรมให้ถูกทาง,
ทุนส่งเสริมพุทธธรรม,พิมพ์ครั้งที่ ๒๖ (ปรับปรุงครั้งที่ ๒),
๒๕๓๖,หน้า ๗๑-๗๕

****************
 

_________________
ถ้ามีเวลาว่างเกินไป ก็ไปช่วยเขาทำงานบ้าน บ้าง เอ้อ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ลุงดำ
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 24 พ.ย. 2007
ตอบ: 59

ตอบตอบเมื่อ: 02 ม.ค. 2008, 9:13 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เอ้อ ลุงว่า เอาแบบที่สุดแห่งการดับทุกข์ เลย
อ่านแล้วต้อง อนุโมทนาเลย เอ้อ เอ้อ
ลุงอ่านแล้ว ถือได้ว่า อริยสัจ 4 ถือเป็นหลักธรรมอย่างยิ่ง
ที่สุดแห่งการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เอ้อ เอ้อ สาธุ.....สาธุเจ้าข้า

ลุงคัดมาจาก
http://www.palungjit.com/smati/books/index.php?cat=18
ท่านหลวงพ่อฤาษีลิงดำ
สาธุ สาธุ สาธุ สาธุ สาธุ
อริยสัจ
1) สำหรับการที่เราเจริญพระกรรมฐานก็ต้องใคร่ครวญอยู่เสมอว่า
เราเจริญพระกรรมฐานเพื่อต้องการความรู้เป็นเครื่องพ้นจากความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย
เพราะความเกิดเป็นทุกข์ ความแก่เป็นทุกข์ ความเจ็บ ความตายเป็นทุกข์
ถ้าเรายังต้องเกิดแก่เจ็บตายอยู่อย่างนี้ เราก็มีแต่ความทุกข์ เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏฏะ
การเจริญสมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน เราทำเพื่อสิ้นความเกิด
เพราะเราไม่ต้องการความทุกข์ต่อไป
จงพิจารณาหาทุกข์ให้พบในอริยสัจ

2) ให้พิจารณาเห็นว่า ทุกข์ทั้งหมดที่ได้รับเป็นประจำไม่ว่างเว้นนี้
เกิดมีขึ้นได้เพราะอาศัย ตัณหา ความทะยานอยาก 3 ประการ คือ
อยากมีในสิ่งที่ไม่เคยมี
อยากเป็นในสิ่งที่ไม่เคยเป็น
อยากปฏิเสธในเมื่อความสลายตัวเกิดขึ้น ไม่อยากให้สลายตัว
เจ้าความอยากทั้ง 3 นี้แหละ เป็นผู้สร้างความทุกข์ขึ้นมา
ทุกข์นี้จะสิ้นไปได้ก็เพราะเข้าถึงจุดความดับ คือ นิโรธ เสียได้

จุดดับนั้นท่านวางมาตราฐานไว้ 3 ประการ คือ
ศีล สมาธิ ปัญญา
ที่ท่านเรียกว่า มรรค 8
ย่อมรรค 8ลงเหลือ 3 คือ ศีล สมาธิ ปัญญา นี้
เพราะ อาศัยศีลบริบูรณ์ สมาธิเป็นฌาน
ปัญญารู้เท่าทันสภาวะความเป็นจริง
หมดความเมาในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และดับอารมณ์พอใจ ไม่พอใจเสียได้
ตัดอารมณ์พอใจในโลกีย์วิสัยได้
ตัดความกำหนัดยินดีเสียได้ ด้วยปัญญาวิปัสสนาญาณ ชื่อว่าเห็นในอริยสัจ 4
ทำอย่างนี้ คิดอย่างนี้ให้คล่อง
จนจิตครอบงำ ความรัก ความโลภ ความโกรธ ความหลง ความเมาในชีวิต เสียได้
ชื่อว่าท่านได้ วิปัสสนาญาณ 9 และอริยสัจ 4
แต่อย่าเพิ่งพอ หรือคิดว่าดีแล้ว ต้องฝึกฝนพิจารณาเรื่อยไป
จนตัดสังโยชน์ ทั้ง 10 ประการได้แล้ว นั่นแหละ ชื่อว่าเอาตัวรอดได้แล้ว

3) เราเกิดมาเพื่อประสบกับความทุกข์
คนที่เกิดมาแล้วทุกคนจะไม่มีทุกข์เป็นไม่มี
ถ้าหากว่าเรายังยึดถือว่า ร่างกายเป็นของเรา ทรัพย์สินเป็นของเรา
ญาติพี่น้องเพื่อนฝูงเป็นของเรา
อารมณ์ทุกข์มันก็เกิด เกิดเพราะว่าเราเกาะ ที่เรียกว่า อุปาทาน
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โลกธรรม 8 ประการ คือ
มีลาภ ดีใจ ลาภสลายตัวไป เสียใจ มียศดีใจ ยศสลายตัวไป เสียใจ
มีความสุขในกาม ดีใจ ความสุขหมดไป ร้อนใจ
ได้รับคำนินทา เดือดร้อน ได้รับคำสรรเสริญ มีสุข
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแนะนำให้พวกเราใช้อารมณ์คิดอยู่เสมอว่า
ทุกข์นี้เป็นกฎธรรมดาของโลก ทุกอย่างเราทำงานตามหน้าที่

4) แล้วตัวสำคัญที่ร้ายที่สุดที่สร้างความทุกข์ ก็คือ อารมณ์ความรักในกามารมณ์
นี่ตัวสำคัญ เป็นตัวสร้างเหตุร้ายให้เกิดขึ้นกับจิต
หรือเป็นเหตุให้เกิดขึ้นกับจิต
หรือเป็นเหตุให้เกิดขึ้นกับกาย
อาศัยความรักเป็นสำคัญ ที่เราจะต้องเศร้าโศกเสียใจ
เพราะอาศัยของรักพลัดพรากไป
ภัยอันตรายจะเกิดขึ้นกับเรา
โทสะ ความพยาบาทมันจะเกิดขึ้น จะต้องประทุษร้ายซึ่งกันและกัน ก็เพราะว่าสิ่งที่เรารัก
ความรักที่เนื่องด้วยกามารมณ์ไม่มีสำหรับเราแล้ว มันจะเป็นภัยอันตรายมาจากไหน
จะมีความเศร้าโศกเสียใจมาจากไหน ตอนนี้เป็นอันว่า กิเลสหยาบหมดไป
ที่องค์สมเด็จพระจอมไตรว่า อันนี้เป็น อธิจิตสิกขา
ก็หมายความว่า ต้องทรงอารมณ์ในด้านความรู้สึกอย่างนี้เป็นปกติ
มีความเข้มแข็งพอที่จะไม่ทำลายความดีส่วนนี้ไปจากจิต
มันจะทรงอยู่ได้ทุกขณะจิต ที่ชีวิตเราทรงอยู่ตลอดไป

5) เหตุของความทุกข์จริง ๆ คือ ตัณหา
ได้แก่ ความทะยานอยาก
เมื่อเรามีตัณหาขึ้นมาแล้วร่างกายมันจึงมี อารมณ์จิตเรามีตัณหา มันจึงมีร่างกาย
ร่างกายเป็นจุดรับภาระของความทุกข์ทั้งหมด
ขึ้นชื่อว่าทุกข์ทุกอย่างที่เราจะมีขึ้นมาได้ ก็อาศัยร่างกายเป็นสำคัญ
ถ้าเราไม่มีร่างกายเราก็ หมดตัณหา
ถ้าหมดทั้ง 2 อย่าง คือ หมดตัณหาก็ชื่อว่าหมดร่างกาย
ถ้าเราไม่ติดอยู่ในร่างกายก็ชื่อว่าหมดตัณหา
คำว่าไม่ติดในร่างกายก็หมายถึงว่า ไม่ติดอยู่ในร่างกายของเราด้วย และก็ไม่ติดอยู่ในร่างกายของบุคคลอื่นด้วย อารมณ์ไม่ติดอยู่ในวัตถุธาตุใด ๆ ด้วย
โดยยอมรับนับถือกฎของธรรมดา ที่เราเรียกกันว่า วิปัสสนาญาณ ตัวสุดท้าย
การยอมรับนับถือนี้ก็หมายถึง ว่าอารมณ์มัน เฉย
คำว่าอารมณ์เฉย
ไม่ได้หมายความว่า อารมณ์ไม่คิดตามที่เขาบอกว่าอารมณ์ว่าง ว่างโดยไม่คิดอะไรเลยนั้น ไม่มีในชีวิตของคน

6) อริยสัจ เขาสอนสองอย่างเท่านั้น
สำหรับอีกสองอย่าง ไม่มีใครเขาสอนหรอก
อย่าง นิโรธะ แปลว่า ดับ อันนี้มันตัวผล ไม่ต้องสอน มันถึงเอง
มรรค คือ ปฏิปทาเข้าถึงความดับทุกข์ มันก็ทรงอยู่แล้ว คือ ศีล สมาธิ ปัญญา นี่ อริยสัจ เขาตัดสองตัว
(อริยสัจ) คือ ทุกข์ กับสมุทัยเท่านั้น
 

_________________
ถ้ามีเวลาว่างเกินไป ก็ไปช่วยเขาทำงานบ้าน บ้าง เอ้อ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 03 ม.ค. 2008, 1:15 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เข้าข่าย บิดเบือนคำสอน
ต้องอดใจรอ ตอนที่ 2 เพราะติดเหตุขัดข้องจำเป็น ขอรับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ลุงดำ
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 24 พ.ย. 2007
ตอบ: 59

ตอบตอบเมื่อ: 03 ม.ค. 2008, 7:40 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Buddha พิมพ์ว่า:
เข้าข่าย บิดเบือนคำสอน
ต้องอดใจรอ ตอนที่ 2 เพราะติดเหตุขัดข้องจำเป็น ขอรับ


โอ้ โอ้ อืม อืม เอ้อ
ลุงไม่อยากจะพูดอะไรมาก
แม้แต่ พระสงฆ์กล่าวเช่นนี้ พ่อBudยังยืนยันเช่นนั้น
ลุงก็ไม่กล่าวอะไรต่อนะ ตัวใครตัวมันนะ
เอ้อ งานนี้ลูกศิษย์ ใคร ต่อ ลูกศิษย์ใคร เคลียร์กันเอาเองน่ะ
ลุงไม่ได้เขียนเองนะ คัดลอกมาให้อ่าน นา เอ้อ
โมหะ แท้ ๆ พ่อBud
อืมม์ อืมม์ อืมม์
คิดก่อนพูด คิดก่อนเขียน นา เอ้อ
 

_________________
ถ้ามีเวลาว่างเกินไป ก็ไปช่วยเขาทำงานบ้าน บ้าง เอ้อ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 04 ม.ค. 2008, 8:51 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เฮ้อ ....ไม่อยากเขียนคำว่าพระสงฆ์นะหนูดำ เพราะคำว่าพระสงฆ์มันรวมไปหมดทุกรูป
เอาเป็นว่าพระรูปที่เขียนนั้น ไม่รู้จริง กล่าวไปด้วยความรู้เท่าไม่ถึงกาลนะหนูนะ
จึงทำให้บิดเบือนคำสอนที่แท้จริง ไปนะหนูนะ แล้วพ่อจะนำมาเผยแพร่ ตอนที่ 2 นะ ต้นฉบับเขียนไว้แล้วนะ แต่มีข้อขัดข้องบางประการนะหนูนะ
ต้นเดีอน กุมภาพันธ์ แน่นอน รับรองได้นะหนูนะ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ลุงดำ
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 24 พ.ย. 2007
ตอบ: 59

ตอบตอบเมื่อ: 04 ม.ค. 2008, 9:20 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Buddha พิมพ์ว่า:
เฮ้อ ....ไม่อยากเขียนคำว่าพระสงฆ์นะหนูดำ เพราะคำว่าพระสงฆ์มันรวมไปหมดทุกรูป
เอาเป็นว่าพระรูปที่เขียนนั้น ไม่รู้จริง กล่าวไปด้วยความรู้เท่าไม่ถึงกาลนะหนูนะ
จึงทำให้บิดเบือนคำสอนที่แท้จริง ไปนะหนูนะ แล้วพ่อจะนำมาเผยแพร่ ตอนที่ 2 นะ ต้นฉบับเขียนไว้แล้วนะ แต่มีข้อขัดข้องบางประการนะหนูนะ
ต้นเดีอน กุมภาพันธ์ แน่นอน รับรองได้นะหนูนะ


ก็เพราะมันไม่ได้อ่านเลย ว่า อะไร เอ้อ
รู้อย่างเดียวว่า ที่ลุงคัดลอกมา มันบิดเบือน เอ้อ
เอ้อ ไม่ต้องรีบเขียน นะ ค่อย ๆ เขียน เขียนให้เนียล ที่สุดนะ
ลุงจะรออ่าน เอ้อ คนมันมีจิตที่จะแย้งทุกเรื่อง เป็นของเด็กชายBud ต้องถูกต้องที่สุด
คนมันชอบแสดงออก มากกว่าเดินตามทางที่ดีอยู่แล้ว เอ้อ
เหมือนหุงข้าวหอมมะลิให้กิน กลับไม่กิน กลับไปหุงข้าวหม้อใหม่จากข้าวสาร กข... เอ้อ
 

_________________
ถ้ามีเวลาว่างเกินไป ก็ไปช่วยเขาทำงานบ้าน บ้าง เอ้อ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
วิชชา
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 05 พ.ย. 2007
ตอบ: 31
ที่อยู่ (จังหวัด): เชียงใหม่

ตอบตอบเมื่อ: 05 ม.ค. 2008, 3:42 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

นี่ก็เป็นเรื่องของนานาความคิดจริงๆ ซึ่งถ้าไม่ศึกษาพระธรรมโดยละเอียดแล้ว ก็จะไม่รู้วาระจิต

ของตนเอง คือ ไม่ได้พิจารณาจิต แต่ถ้าเป็นผู้ที่รอบคอบ ก็จะรู้ว่า (ถึง)คำพูดอาจจะน่าฟัง แต่ว่า

ไม่เป็นประโยชน์ หรือว่า คำพูดที่ไม่ตรง และก็ไม่เกื้อกูลแด่บุคคลอื่น...ก็ไม่ควรที่จะกล่าว ถ้าเป็น

ธรรมะที่ถูกต้องและผู้ฟังสามารถที่จะพิจารณาเหตุผลได้ก็ควรที่จะมีเมตตา ที่ใคร่ที่จะให้ผู้ที่มี

อกุศลรู้ตัวว่ามีอกุศล เพราะฉะนั้นก็ข่มด้วย "เหุตผลของพระธรรม" ไม่ใช่ข่มด้วย "อธรรมะ"

นี่ก็เป็นสิ่งที่เราต้องพิจารณาจิตของตนเองโดยละเอียด


เราไม่ควรจะข่มใครด้วย "อธรรมะ" เพราะจะกลายเป็น "วิวาทะ"

พระพุทธเจ้าเรียกบุคคลที่วิวาทกันด้วยคารมณ์ว่า "โมฆบุรุษ" ครับ

http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=4908
 

_________________
ไม่มี
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวตำแหน่ง AIMYahoo MessengerMSN Messenger
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 06 ม.ค. 2008, 10:53 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

หนูดำ หนูเป็นเด็ก จึงยังไม่รู้อะไร คือธรรม อะไรคือบิดเบือนพระธรรม พ่อจะเอามาให้หนูได้พิจารณาเอาไว้ด้านล่างนี้แหละ ที่พ่อว่า เข้าข่าย บิดเบือน

"จุดดับนั้นท่านวางมาตราฐานไว้ 3 ประการ คือ
ศีล สมาธิ ปัญญา
ที่ท่านเรียกว่า มรรค 8
ย่อมรรค 8ลงเหลือ 3 คือ ศีล สมาธิ ปัญญา นี้
เพราะ อาศัยศีลบริบูรณ์ สมาธิเป็นฌาน
ปัญญารู้เท่าทันสภาวะความเป็นจริง "

เพราะอะไรรู้ไหม เพราะพระพุทธเจ้า พระสมณโคดมไม่ได้สอน แต่ไม่รู้ใครนำมาสอน แล้วยังมีหน้าอธิบายว่า
" ที่ท่านเรียกว่า มรรค 8
ย่อมรรค 8ลงเหลือ 3 คือ ศีล สมาธิ ปัญญา นี้
เพราะ อาศัยศีลบริบูรณ์ สมาธิเป็นฌาน
ปัญญารู้เท่าทันสภาวะความเป็นจริง
หมดความเมาในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และดับอารมณ์พอใจ ไม่พอใจเสียได้
ตัดอารมณ์พอใจในโลกีย์วิสัยได้
ตัดความกำหนัดยินดีเสียได้ ด้วยปัญญาวิปัสสนาญาณ ชื่อว่าเห็นในอริยสัจ 4 "

พ่อไม่กล่าวว่า พระสงฆ์รูปที่เขียนบทความนั้น "อวดอุตริฯ " หรือจะกล่าวเป็นศัพท์ชาวบ้านว่า หลอกลวงผู้ศรัทธา ทำให้ศาสนาเสื่อม ก็นับว่า พ่อนับถือพระสงฆ์มากที่สุดแล้ว นะหนูนะ

แล้วพวกหนูๆ จะได้รู้ว่า หลักธรรมในศาสนาพุทธที่มีอยู่นั้น มีเคล็ดวิชา ที่จะคิดพิจารณาทำให้หลุดพ้น เอาแค่บรรลุโสดาบันได้อย่างไร โปรดรอ
นี้ไม่ใช่ราคาคุยนะ เรื่องจริง รับรองได้เลยว่า ถ้าพ่อเขียนแยกแยะรายละเอียดแล้วละก้อ ถึงบางอ้อกันทุกรูป ทุกคน นะหนูนะ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง