Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 หลวงปู่เทพโลกอุดร อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
sithiphong
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 19 ต.ค. 2007
ตอบ: 87

ตอบตอบเมื่อ: 05 ธ.ค.2007, 2:14 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

คณะหลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร (คณะพระโสณะและพระอุตตระ)

1. หลวงปู่พระอุตตรเถระเจ้า

2. หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า

3. หลวงปู่พระมูนียเถระเจ้า
(หลวงปู่อิเกสาโร หรือหลวงปู่โพรงโพธิ์)

4. หลวงปู่พระฌาณียเถระเจ้า
(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า หรือหลวงพ่อกบ วัดเขาสาริกา จ.ลพบุรี)

5. หลวงปู่พระภูริยเถระเจ้า
(หลวงปู่หน้าปาน หรือหลวงพ่อโอภาสี อาศรมบางมด วัดโอภาสี กรุงเทพฯ)
 

_________________
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1. หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2. หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3. หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร) 4. หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า 5. หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้าhttp://board.palungjit.com/showthread.php?t=22445
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
sithiphong
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 19 ต.ค. 2007
ตอบ: 87

ตอบตอบเมื่อ: 05 ธ.ค.2007, 2:20 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
Image
หลวงปู่พระมูนียเถระเจ้า (พระมูนียะ)


ปกติภาพหลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดรที่เห็นกันอยู่ทุกวันนี้โดยทั่วๆ ไปนั้น จะเป็นเพียงภาพของ หลวงปู่พระมูนียเถระเจ้า หรือพระมูนียะ หรือหลวงปู่อิเกสาโร หรือหลวงปู่โพรงโพธิ์ หรือหลวงปู่เดินหน พระเทพโลกอุดร องค์ที่ 3
 

_________________
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1. หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2. หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3. หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร) 4. หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า 5. หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้าhttp://board.palungjit.com/showthread.php?t=22445
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
sithiphong
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 19 ต.ค. 2007
ตอบ: 87

ตอบตอบเมื่อ: 05 ธ.ค.2007, 2:21 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
หลวงปู่พระมูนียเถระเจ้า (พระมูนียะ)


ประวัติหลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร
ลิขสิทธิ์ท่านอาจารย์ประถม อาจสาคร



กาลามสูตร
ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระบรมครู
1. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามกันมา
2. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสืบๆ กันมา
3. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ
4. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์
5. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก
6. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะการอนุมาน
7. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล
8. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้ากันได้กับทฤษฏีที่พินิจไว้แล้ว
9. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้
10. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่าท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา

เรื่องราวเกี่ยวกับคณะบรมครูพระเทพโลกอุดร มีมาช้านานแล้ว เริ่มต้นในยุคสมัยสุวรรณภูมิ หริภุญไชย สุโขทัย อยุธยา และต้นโกสินทร์ หลักฐานที่ปรากฏชัดแต่ขาดการค้นคว้าอย่างจริงจัง รู้ในชนกลุ่มน้อยทางเจโตบ้าง เช่น พระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสฺโส) และหลวงปู่คำคะนิง จุลมณี ต่างเห็นพ้องต้องกันว่า คณะบรมครูพระเทพโลกอุดร เคยมาพำนัก ณ ถ้ำดอยเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวไปก็ไม่มีผู้ใดเห็นอย่างท่าน บางท่านที่มีวาสนาก็พบเห็นท่านและยืนยัน ครั้นจะเอาเข้าจริงก็ไม่สามารถพบเห็นท่าน คล้ายคนหนึ่งเคยเห็นผีแต่หลายคนอยากเห็นบ้างก็ไม่เห็น จนเกือบจะเป็นเรื่องอจิณไตย (คือเรื่องที่ไม่ควรนึกคิด) แต่ก็ไม่ใช่นิยาย

Image
พระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสฺโส)


ท่านมักอยู่ไม่เป็นหลักแหล่ง สามารถปรากฏได้ในสถานที่ต่างๆ ไม่จำกัด ทั้งผู้ที่พบเห็นก็ปราศจากความรู้ว่าเป็นบรมครูพระเทพโลกอุดรพระองค์ใดกันแน่ เพราะมีอยู่ด้วยกันถึง 5 พระองค์ และอาจมาในรูปต่างๆ ไม่ซ้ำกัน หรือปรากฏรูปเดิม แต่ที่มีวาสนาบารมีสูงส่ง ก็คือ คุณดอน นนทะศรีวิไล คนลาวไปประกอบอาชีพที่ประเทศแคนาดา ท่านผู้นี้ปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด ถือเอกามังสะวิรัติมานานกว่าสิบปี ซึ่งบรมครูพระเทพโลกอุดรโปรดปรานมาก คุณดอน นนทะศรีวิไล และครอบครัว เคารพนับถือบรมครูพระเทพโลกอุดรมาก และเล่าให้ฟังว่าได้พบเห็นบรมครูพระเทพโลกอุดร ด้วยตาเนื้อ 2 ครั้ง

ครั้งแรกหลังจากเสร็จจากการนั่งสมาธิประจำวัน เป็นเวลาทางประเทศแคนาดา 00.02 น. ปรากฏพระภิกษุชรารูปหนึ่งเดินเข้ามาในบ้าน คุณดอนทราบทางจิตว่าเป็นบรมครูพระเทพโลกอุดรแน่ จึงก้มลงกราบและเรียนถามว่า “หลวงปู่คือพระเทพโลกอุดรใช่ไหม” ท่านตอบว่า “ใช่” คุณดอนไม่ทันได้เตรียมตัวและไม่ได้ถามถึงข้อปฏิบัติธรรม จึงถามว่า “พระพิมพ์ที่อาจารย์ประถมฝากมาให้เป็นของหลวงปู่อธิฐานจิตจริงหรือเปล่า” ท่านตอบว่า “จริง” ต่อจากนั้นคุณดอนก็ตื่นเต้นไม่ทราบจะถามอะไรอีกต่อไป ครั้นแล้วหลวงปู่ก็หายไป การที่ท่านปรากฏเช่นนั้นเรียกว่าปรากฏกายธรรม สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเนื้อและสัมผัสได้ จึงเกิดปัญหาถกเถียงกันสำหรับผู้มีภูมิปัญญาไม่ถึงขั้น ไม่รู้จักคำว่า กายทิพย์ กายธรรม

Image
หลวงปู่คำคะนิง จุลมณี


มีต่อ >>>>>
 

_________________
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1. หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2. หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3. หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร) 4. หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า 5. หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้าhttp://board.palungjit.com/showthread.php?t=22445
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
sithiphong
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 19 ต.ค. 2007
ตอบ: 87

ตอบตอบเมื่อ: 05 ธ.ค.2007, 2:22 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ครั้งที่สอง เป็นการนั่งทำสมาธิทั้งคณะประมาณ 5 คนด้วยกัน หลวงปู่พระเทพโลกอุดรมาปรากฏอีก ท่านยืนไม่ได้เตรียมอาสนะไว้ต้อนรับ ท่านแสดงธรรมย่อ และว่าคณะปฏิบัติธรรมพอจะทราบอะไรบ้างแล้วพอสมควร ต่อไปท่านอาจจะไม่มาอีก จะให้ของไว้เป็นเครื่องระลึก แล้วท่านก็มองไปยังแก้วน้ำ ปรากฏเป็นแสงสีเขียว พุ่งออกจากดวงตาข้างหนึ่ง ทันใดนั้นน้ำในแก้วได้จับตัวแข็งเป็นก้อนเล็กๆ หลายก้อนด้วยกัน ท่านบอกว่าให้แบ่งกันเก็บเอาไว้เป็นของดี มีอะไรคุณดอนก็เล่าสู่กันฟัง เป็นที่เชื่อถือได้ และมีตัวตนจริง

Image
หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม


หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม แห่งวัดอัมพวัน อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี เคยได้พบท่านโดยที่ไม่ทราบว่าเป็นบรมครูพระเทพโลกอุดร พบที่โคนต้นไทรใหญ่ โดยได้รับการบอกเล่าจากเจ้าของที่ดินว่า ถึงปีหลวงปู่พระเทพโลกอุดรจะมาปักกลดอยู่ชั่วระยะหนึ่ง เจ้าของที่ดินเล่าว่า ตั้งแต่จำความได้จนถึงอายุได้ 80 ปีเศษ หลวงปู่ก็ยังคงทรงลักษณะเดิมไม่แปรเปลี่ยน หลวงพ่อจรัญ เรียกท่านว่า “หลวงพ่อดำ” ได้ศึกษาวิปัสสนากรรมฐานจากท่านพอสมควร บางทีคนมีวาสนาได้พบท่านแล้วไม่รู้จักว่าท่านเป็นใครมีอยู่มาก

คณะหลวงปู่พระเทพโลกอุดร เป็นชาวเนปาล อย่าเข้าใจผิดว่าเป็นคนไทย การที่ท่านพูดภาษาไทยได้ก็เนื่องจากบรรลุปฏิสัมภิทาญาณ สามารถรู้ภาษาคนและสัตว์ได้ ท่านชอบปรากฏองค์ทางป่าเมืองกาญจนบุรี เช่น อำเภอไทรโยค อำเภอทองผาภูมิ ครั้งล่าสุดท่านปรากฏองค์ที่เขาใหญ่ ท่านอภิชิโต ภิกขุ และท่านพันเอกชม สุคันธรัต ไปเฝ้าท่านอยู่นานวัน และท่านอภิชิโต ภิกขุได้มรณภาพได้ไม่นาน เรื่องราวบางตอนได้อาศัยท่านอภิชิโต ภิกขุ เป็นผู้บอกเล่า มิได้เป็นนวนิยายเลื่อนลอยไม่จำเป็นต้องรอการพิสูจน์ และโปรดเข้าใจด้วยว่า ภาพหลวงปู่พระเทพโลกอุดรองค์ที่สาม มีนามว่า “พระอิเกสาโร หรือหลวงปู่โพรงโพธิ์” การปรากฏกายธรรมในปัจจุบัน ส่วนมากมักจะเป็นหลวงปู่พระเทพโลกอุดรองค์ที่สาม และแทรกซ้อนด้วย หลวงปู่แจ้งฌาน ซึ่งเป็นศิษย์เอกคู่กับ สมเด็จกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ ซึ่งท่านทั้งสอง ท่านอภิชิโต ภิกขุ เรียกว่า “ครูฝึก” ปกติหลวงปู่ไม่ได้ลงมือสอนวิชาด้วยตนเอง ให้ศึกษากับครูฝึก เมื่อจบขั้นแล้วท่านจึงจะทำการทดสอบทุกครั้งไป


มีต่อ >>>>>
 

_________________
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1. หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2. หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3. หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร) 4. หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า 5. หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้าhttp://board.palungjit.com/showthread.php?t=22445
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
sithiphong
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 19 ต.ค. 2007
ตอบ: 87

ตอบตอบเมื่อ: 05 ธ.ค.2007, 2:22 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร


วิเคราะห์คำว่า “อรหันต์”

“อรหัน” หมายถึง ผู้สำเร็จอภิญญาโลกีย์ หรืออภิญญาห้า ไม่สามารถทำอาสวะให้สิ้น ทุกอย่างมีอิทธิวิธีแบบพระอรหันต์ขีณาสพทั้งสิ้น พิจารณาอย่างเราๆ ปุถุชนมองไม่ออก ประเภทนี้การกระทำตนแบบโพธิสัตว์ เช่น โป๊ยเซียนโจ๊วซือทั้ง 8 พระแม่กวนอิม ฯลฯ และประเทศลาวก็มี สำเร็จลุน (ไม่ใช่สมเด็จลุน ท่านมิได้เป็นพระราชาคณะ) สามเณรคำ ดังนั้น “อรหัน” จึงแปลว่าผู้วิเศษตามคำนิยามในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน อรหันทองคำ จั๊บโป้ยล่อฮั่น ตั๊กม้อ โจ๊วซือ ก็ประเภท “อรหัน” นี่แหละ

ผมก็ไม่กล้าที่จะวิเคราะห์ครูบาอาจารย์ให้เกินเหตุ เพียงแต่ว่าจะชี้แนะตามหลักวิชาให้หูตาสว่างตามประวัติกล่าวว่า พระโสณะและพระอุตตระเป็นพระอรหันต์ ส่วน “พระเทพโลกอุดร” มาจากคำ อุตร แปลว่า ผู้เหนือโลกย์ พระโสณะบรรลุธรรมก่อนพระอุตตระ ซึ่งเป็นพี่ชายร่วมสายโลหิต จึงเรียกว่า “พระโสณอุตตร” ไม่เรียก “พระอุตตรโสณ”

คำว่า “หลวงปู่ใหญ่” หมายถึง “พระอุตตรเถระเจ้า” เป็นพระอรหันต์ยังไม่จบกิจ แบบพระแม่กวนอิมโพธิสัตว์ ยังค้ำจุนพระศาสนา ไปกว่าจะสิ้นพุทธธันดร (พ.ศ. 5000) ถ้าจบกิจแล้วท่านก็หมดหน้าที่ เพียงแต่ท่านไม่ต้องสร้างบารมีต่อแบบอีกสององค์ คือ หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า หลวงปู่หน้าปาน ซึ่งยังต้องบำเพ็ญเพียรสร้างบารมีต่อ ท่านมิได้ประกาศตนแจ้งชัด เพียงแสดงปริศนาธรรม เช่น หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า ซึ่งมีอายุมากกว่าหลวงปู่ใหญ่ด้วยซ้ำไป มาในรูปหลวงพ่อกบ วัดเขาสาริกา บ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี แสดงปริศนาธรรม หลวงปู่ขรัวขี้เถ้าเผาแหลก มีอะไรเผาจนหมดจนกลายเป็นขี้เถ้า ให้รู้ว่าแม้แต่ตัวเราต่อไปก็ไม่พ้นการเป็นขี้เถ้า

หลวงปู่หน้าปาน ท่านก็บอกอยู่โต้งๆ แล้วว่า ท่านเป็นพระสำเร็จ (อรหันต์) มาอาศัยร่างท่านมหาชวน (หลวงพ่อโอภาสี) เพื่อบำเพ็ญบารมีต่อ ท่านอภิชิโต ภิกขุ กล่าวกับผมว่า นับตั้งแต่เป็นศิษย์หลวงปู่ใหญ่ครั้งยังบรรพชาเป็นสามเณร จนอายุได้ 70 ปี ยังศึกษาไม่จบ ท่านเป็นอาจารย์ที่ผมรักและเคารพมาก ผมไม่อยากให้คนมีจิตฟุ้งติดฤทธิ์มากนัก เพียงอยากให้เป็นความรู้ในด้านสารคดี อรรถคดีพอสมควร มิฉะนั้นเรื่องจะยาวเกินควร


มีต่อ >>>>>
 

_________________
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1. หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2. หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3. หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร) 4. หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า 5. หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้าhttp://board.palungjit.com/showthread.php?t=22445
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
sithiphong
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 19 ต.ค. 2007
ตอบ: 87

ตอบตอบเมื่อ: 05 ธ.ค.2007, 2:23 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ปริเฉทหนึ่ง

กล่าวย้อนไปถึงอดีตกาล พุทธศักราชผ่านพ้นไป 303 ปี (ตามหลักฐานบันทึกในหนังสือมหาวงศ์พงศาวดารลังกา คำบรรยายของหลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ (ป่วน อินทุวงศ์) อดีตภัณฑารักษ์เอก กรมศิลปากร) และตามหลักฐานของวัดเพชรพลี (บันทึกอักษรเทวนาครี ขุดค้นพบ ณ ซากศิลา วัดคูบัว ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี) ว่า พระพุทธศาสนาได้เริ่มแพร่เข้าสู่แคว้นสุวรรณภูมิในปีพุทธศักราช 235 ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันถึง 68 ปี พระเจ้าอโศกมหาราช ได้ทรงกระทำตติยสังคายนาพระไตรปิฎก คือ การชำระพระไตรปิฎกขึ้นเป็นครั้งที่ 3 ครั้นแล้วจึงอาราธนา พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ องค์อรหันต์เป็นประธานคัดเลือกบรรดาพระอรหันต์เถระออกทำการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศต่างๆ ดังนี้

1. พระมัชฌันติกเถระ ไปยังกัสสมิรและคันธารประเทศ (คือประเทศแคชเมียร์และอัฟกานิสสถาน ในปัจจุบัน) แห่งหนึ่ง

2. พระมหาเทวเถระ ไปยังมหิสมมณฑล (คือแว่นแคว้นทางใต้ ลำน้ำโคทาวดี อันเป็นประเทศไมสอหรือไมเซอร์ ในปัจจุบัน) แห่งหนึ่ง

3. พระรักขิตเถระ ไปยังวนวาสีประเทศ (คือแว่นแคว้นกะนาราเหนือ อันเป็นเขตเมืองบอมเบย์ ในปัจจุบัน) แห่งหนึ่ง

4. พระธรรมรักขิตเถระ ไปยังปรันตกประเทศ (คือแว่นแคว้นตอนชายทะเลด้านเหนือเมืองบอมเบย์ ในปัจจุบัน) แห่งหนึ่ง

5. พระมหาธรรมรักขิตเถระ ไปยังมหารัฐประเทศ (คือแว่นแคว้นตอนเหนือของลำน้ำโคทาวารี) แห่งหนึ่ง

6. พระมหารักขิตเถระ ไปยังโยนกประเทศ (คือบรรดาหัวเมืองต่างๆ ที่พวกโยนกได้ครองความเป็นใหญ่ในดินแดนประเทศเปอร์เซีย ในปัจจุบัน) แห่งหนึ่ง

7. พระมัชฌิมเถระ ไปยังหิมวันตประเทศ (คือมณฑลซึ่งตั้งอยู่เชิงเขาหิมาลัย มีเนปาลราช เป็นต้น) แห่งหนึ่ง

8. พระโสณเถระกับพระอุตรเถระ ไปยังสุวรรณภูมิประเทศ แห่งหนึ่ง

ข้อถกเถียงเรื่องสุวรรณภูมิเป็นมาช้านาน ฝ่ายไทยอ้างนครปฐมเป็นราชธานีของสุวรรณภูมิ พม่าอ้างเมืองสะเทิมอันเป็นมอญฝ่ายใต้เป็นสุวรรณภูมิ เขมรและลาวต่างก็อ้างว่าประเทศของตนคือสุวรรณภูมิ แต่ใครจะอ้างอย่างไร ก็ล้วนมีส่วนถูกด้วยกันทั้งสิ้น คือ ท่านศาสตราจารย์เดวิดส์ อธิบายว่า เริ่มแต่รามัญประเทศไปจรดเมืองญวน และตั้งแต่พม่าไปจรดแหลมมะลายู หรือที่เรียกว่าอินโดจีน เป็นสุวรรณภูมิทั้งนั้น

Image
สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ


สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงรับสั่งว่าคำที่เรียกสุวรรณภูมิประเทศนั้น จะหมายรวมดินแดนที่มีเป็นประเทศมอญและไทยภายหลังทั้งหมด เหมือนอย่างที่เราเรียกว่า อินเดีย เป็นชมพูทวีปก็เป็นได้ เพราะฉะนั้น ใครในแหลมอินโดจีนจะอ้างว่า ประเทศของตนเป็นสุวรรณภูมิ จึงเป็นการถูกต้องด้วยกันทั้งนั้นไม่มีปัญหา ที่ไทยอ้างนครปฐมเป็นราชธานีนั้น ก็เพราะจังหวัดนครปฐมมีเนื้อที่ภูมิประเทศกว้างขวางและมีโบราณวัตถุสถานสร้างไว้มาก แต่จะเรียกชื่อเมืองหลวงว่ากระไรในครั้งกระนั้นได้แค่สันนิษฐาน เห็นจะเรียกสุวรรณภูมินั่นเอง ชื่อนี้จึงได้แต่เป็นที่รู้กันแพร่หลายไปถึงอินเดียและลังกา จนเป็นเหตุให้ใช้ชื่อนี้ในหนังสือมหาวงศ์ฯ ว่า พระโสณะกับพระอุตระได้อัญเชิญพระพุทธศาสนามาประดิษฐานสถานที่เมืองสุวรรณภูมิ และเป็นเหตุให้เรียกชื่อมหาสถูปที่เมืองนั้นว่า “พระปฐมเจดีย์” หมายความว่า เป็นพระเจดีย์องค์แรกที่ได้สร้างขึ้นในแถบประเทศตะวันออกนี้

ส่วนคำจารึกอักขรเทวนาครี ฉบับวัดเพชรพลี ปรากฏข้อความที่พิศดารยิ่งขึ้น โดยกล่าวถึงคณะพระธรรมฑูตได้เดินทางมาเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยทางเรือประกอบด้วย พระโสณะ พระอุตตระ พระมูนิยะ พระฌานียะ พระภูริยะ สามเณรอิสิจน์ สามเณรคุณะ พระสามเณรนิตตย เขมกะอุบาสก อนีฆาอุบาสิกา อดุลยอำมาตย์และคุณหญิงอดุลยา พราหมณ์และนางพราหมณี ผู้คนอีก 38 คน ได้มาพักที่วัดช้างค่อม (นครศรีธรรมราช) เมื่อวันขึ้น 14 ค่ำ เดือนอ้าย พ.ศ. 235 ออกบิณฑบาต วันขึ้น 15 ค่ำ แล้วเทศนาพรหมชาลสูตรและได้วางวิธีอุปสมบทญัตติจตุตถกรรมวาจา โดยใช้อุทกเขปเสมาหรือเสมาน้ำและได้วางเพศชีไทยโดยถือแบบเหล่าพระสากิยานี ซึ่งเป็นต้นของพระภิกษุณีโดยบวชหรือบรรพชาไม่มีเรือน ออกจากเรือน (อาคารสมา อนาคาริยปพพชชา) ได้วางวิธีสวดปาติโมกข์หรืออุโบสถกรรม ปวารณากรรม

เมื่อพระเจ้าโลกละว้าราชา (เจ้าผู้ครองแคว้นสุวรรณภูมิ) รับสั่งให้ มนต์ขอมพิสนุ ขอมเฉย ขอมสอน ขอมเมือง สร้างวัดมหาธาตุ ท่านได้วางวิธีกำหนดนิมิตผูกขันธ์สีมา พ.ศ. 238 เดือน 5 ขึ้น 15 ค่ำขณะอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ท่านได้สอนพระบวชใหม่ให้ท่องพระปาฏิโมกข์จบหลายองค์ แล้วจึงวางวิธีสวดสาธยายโดยฝึกซ้อมให้คล่อง เมื่อคล่องแล้วจึงจะสัชณายกันจริงๆ ท่านให้มนต์ขอมปั้นพระพุทธรูปด้วยปูนขาวเป็นพระประธานในโรงพิธี เมื่อเรียบร้อยแล้วท่านวางวิธีกราบสวดมนต์ไหว้พระ เห็นดีแล้วจึงให้สร้างพระพุทธรูปประจำพระอุโบสถ จึงเป็นธรรมเนียมสืบต่อกันมา ท่านได้วางวิธีกฐินและธุดงค์ไปในเมืองต่างๆ คือ การเที่ยวจาริก

การสร้างพระพุทธรูปในสมัยดังกล่าวนี้ ก็ล้วนเป็นสิ่งสมมุติ มีพระพุทธรูปเป็นองค์สมมุติ พระสงฆ์ก็เป็นเพียงสมมุติสงฆ์ ส่วนพระธรรมนั้นเป็นเพียงเสียงสวด ท่านจึงใช้วงล้อเกวียนประดิษฐ์เป็นธรรมจักรแทนพระธรรม กับมี มิค (มิ–คะ) คือสัตว์ประเภท กวาง ฟาน หรือเก้ง เป็นเครื่องหมาย ในสมัยสุวรรณภูมิ

พระพุทธรูปที่มีกวางกับธรรมจักรกลับไม่มี การสร้างหรือออกแบบในสมัยนั้น มีอยู่สี่ลักษณะด้วยกันคือ (ประสูติ ตรัสรู้ แสดงธรรมจักร และปรินิพพาน) มีอักษรเทวนาครีจารึกระบุพระนามว่า โลกกน แบบประภามณฑลมี 3 วงซึ่งเป็นเครื่องหมายพระนามว่า “โลก” คือ วัฏฏ 3 แบบโปรดสหาย พระยศ ส่วนปางมารวิชัยและปางสมาธิมีทุกสมัย

ต่อมาในปี พ.ศ. 239 พระโสณะกับพระเจ้าโลกละว้าราชา ได้ส่งพระภิกษุไทย 10 รูป มีพระญาณจรณะ (ทองดี) เป็นหัวหน้า 3 รูป อุบาสก อุบาสิกา ไปเรียนและศึกษา ณ กรุงปาตลีบุตรแคว้นมคธ นับเป็นเวลา 5 ปี พระญาณจรณะ (ทองดี) ท่านนี้ปรากฏหลักฐานเพียงรูปของพระพิมพ์ มีลักษณะอวบอ้วนคล้ายพระมหากัจจายนเถระเจ้า ด้านหลังมีรูปพระ 9 องค์เป็นอนุจร หรือบวชทีหลัง คนชั้นหลังเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าเป็นองค์เดียวกับพระมหากัจจายนเถระเจ้า และเรียกเพี้ยนเป็นพระสังขจาย เรียกกันมานานนับพันๆ ปี ศัพท์สังขจายไม่มีคำนิยามในพจนานุกรม พุทธสาวกทุกพระองค์จะมีนามเป็นภาษาบาลีทั้งสิ้น ไม่มีนามเป็นภาษาไทย พระญานจรณะ (ทองดี) บรรลุอรหันต์และจบกิจนานนับพันปีแล้ว ปัญหาเช่นดังกล่าวนี้หากนำพระปิดตาขึ้นมาพิจารณาก็ยากที่จะตัดสินว่าเป็นพุทธสาวกองค์ใดกันแน่ อาจจะเป็นพระมหากัจจายนเถระเจ้า ปางเนรมิตวรกายก็ได้ อาจจะเป็นพระควัมปติเถระ ก็ได้ เป็นพุทธสาวกทรงเอตทัคคะด้วยกัน แต่เป็นคนละองค์ คำว่า พระควัมบดี ไม่มี)

ลุปี พ.ศ. 245 พระเจ้าโลกละว้าราชาสิ้นพระชนม์ ตะวันทับฟ้าราชบุตรขึ้นครองราชย์ ทรงมีพระนามว่า ตะวันอธิราชเจ้า ถึงปี พ.ศ. 264 พระโสณเถระใกล้นิพพาน พระโสณเถระอยู่ ณ แดนสุวรรณภูมิ วางรากฐานธรรมวินัยในพระบวรพุทธศาสนา เป็นระยะเวลา 29 ปี และท่านนิพพานในปีนั้น หลักฐานต่างๆ ตามที่กล่าวจารึกด้วยอักษรเทวนาครี ขุดพบที่โคกประดับอิฐ ตำบลคูบัว จังหวัดราชบุรี พบรูปปั้นลอย องค์ลักษณะนั่ง ลักษณะนั่งห้อยเท้า มีลีลาแบบปฐมเทศนา มีเศียรโล้น ด้านหนึ่งจารึกว่า โสณเถระ ด้านล่าง อุตตรเถระ ด้านล่างสุด สุวรรณภูมิ มีอยู่ด้วยกัน 5 องค์ ผู้ค้นพบทุบเล่น 3 องค์ เหลือเพียง 2 องค์ ตกเป็นสมบัติของวัดเพชรพลี ส่วนครบชุด 5 องค์ คือ พระโสณเถระ พระอุตตรเถระ พระมูนียเถระ พระฌานียเถระ และพระภูริยเถระ ในท่านั่งแสดงธรรม สมัยต่อมาในรัชกาลที่ 4-5 มีการสร้างแบบพระสมเด็จขึ้น แล้วเห็นเป็นพระสมเด็จผิดพิมพ์อีกด้วย จึงเป็นการสับสนสำหรับผู้ที่ไม่รู้จริง

Image
สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี


จะเห็นได้ว่าตามหลักฐานบันทึก กล่าวเพียงพระโสณเถระ ไม่ได้กล่าวถึงพระอุตตรเถระ (อุตร ก็คือ อุดร) เป็นปัญหาว่า หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดรเป็นองค์ใดกันแน่ เพราะในสมัยปัจจุบันกล่าวถึงบรมครูพระเทพโลกอุดร ไม่มีใครรู้จักพระโสณะเถระ ข้อเท็จจริง ท่านทั้งสองเป็นพี่น้องร่วมสายโลหิต องค์พี่คือพระอุตตระ มีร่างกายสันทัด องค์น้องคือพระโสณะ มีร่างกายสูงใหญ่ มีฉายาว่าขรัวตีนโต ถ้านำพระธาตุมาตรวจนิมิตจะบอกว่า โสณ-อุตตร ไม่แยกจากกัน องค์น้องบรรลุอรหันต์ก่อนองค์พี่ แต่มีความเคารพองค์พี่มากต้องกราบองค์พี่ แต่เหตุที่บรรลุก่อนพี่ชายจึงเรียกว่า โสณ-อุตตร ไม่เรียกว่า อุตตร-โสณ ฉะนั้น หลวงปู่ใหญ่ก็คือ พระอุตตระ นั่นเอง ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี กล่าวพระนามขององค์ท่านว่า พระโสอุดรพระโลกอุดร ด้วยเหตุนี้ทำให้ผมเกิดความคิดจัดกลุ่มพระเทพโลกอุดรขึ้น และเขียนเรื่องลงในวารสารพระเครื่อง โดยแบ่งกลุ่มออกดังนี้

กลุ่มที่ 1 มีพระโสณะ และพระอุตตระ, กลุ่มที่ 2 พระมูนียะ (หลวงปู่โพรงโพโพธิ์) เป็นเอกเทศ และกลุ่มที่ 3 พระณานียะ (หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) และพระภูริยะ (หลวงปู่หน้าปาน) รวมเป็น 3 กลุ่มด้วยกัน แต่ไม่เป็นการถูกต้องตามข้อเท็จจริง

ได้เกิดนิมิตครั้งแรกพบเพียงพระอุตตรเถระเจ้า ปรากฏกายเพียงครึ่งท่อน (สอบแล้วตรงกับคนใต้ท่านหนึ่ง) ท่านบินเข้าสู่โดยลักษณาการที่รวดเร็วยิ่ง ตรงเข้ากอดรัดด้วยความเมตตา ผมทัดท่านว่า “หลวงปู่ใหญ่” ท่านยิ้มแล้วบอกกับผมว่า “ปู่ชื่อเปลี่ยนนะลูก” ขอให้ลูกจงหลุดจากการยึดมั่นถือมั่น ท่านสอนธรรมง่ายๆ แต่มันลึกและเป็นขั้นสูง ไม่ธรรมดา ท่านมาองค์เดียว ท่านอภิชิโต ภิกขุก็เคยเล่าให้ฟังว่าหลวงปู่อยู่องค์เดียว นอกนั้นก็เป็นเพียงศิษย์ในสำนัก เรื่องนี้ผมไม่ได้คุยให้ใครฟังมากนักเกรงจะไม่เชื่อ คนที่มาหาก็ชอบแต่ส่องพระด้วยแว่นไม่ส่องด้วยจิต และผมจะดีใจในเมื่อพบคนส่องพระทางจิต คุยกันถูกคอ

อยู่มาวันหนึ่ง ท่านอาจารย์บุญส่ง สามผ่องบุญ โรงเรียนทวีธาภิเศก ได้มาเยือนผมถึงบ้านพัก ท่านมาด้วยกันหลายคน พร้อมภรรยา แต่ทิ้งไว้ในรถยนต์ ท่านเล่าว่าที่มานี้ก็เพราะได้รับประสบการณ์ คือ มีพรรคพวกของท่านคนหนึ่งแขวนพระพิมพ์โลกอุดร รุ่นเทิดพระเกียรติวังหน้า พิมพ์ปิดตาสี่กร เกิดไปปะทะกับรถยนต์บรรทุกสิบล้อเข้าอย่างจัง แต่หาอันตรายอันใดมิได้ พระพิมพ์วิเศษชนิดนี้หากเอาพระสมเด็จวัดระฆังที่เขานิยมกัน องค์ละ 3 ล้าน 3 องค์มาแลกอย่าได้เอา แล้วท่านก็แนะนำตนเองว่าได้ฝึกฝนในด้านสมาธิมานาน จบธรรมกายอรหันต์ละเอียดแล้ว ไปศึกษาพุทโธสายท่านอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ละเลิกการติดฤทธิ์แล้ว ตัวท่านเองรู้จักกับพระภิกษุและวัดต่างๆ ในกรุงเทพฯ มากมาย แต่น่าอัศจรรย์ใจคือ มีบุคคลท่านหนึ่งประสงค์จะอุปสมบท และขอร้องให้ท่านช่วยไปหาสำนักที่ดีๆ ให้ด้วย ท่านพาดุ่มไปยังที่หนึ่ง ไม่เคยรู้จักกับสมภารเจ้าอาวาสวัดนั้นมาก่อน เป็นสมภารหนุ่ม เรียนจบขั้นปริญญาโทจากต่างประเทศ และมีภาพพระเทพโลกอุดรขนาดใหญ่ตั้งบูชาอยู่

ท่านอาจารย์บุญส่งก็ถามว่า “อาจารย์ก็นับถือหลวงปู่พระเทพโลกอุดร เหมือนกันหรือ” ท่านเจ้าอาวาสตอบว่า “ใช่ เคารพนับถือมาก” ทันใดนั้นท่านอาจารย์บุญส่งก็กำหนดจิตไปยังเจ้าอาวาส ปรากฏเป็นพระเทพโลกอุดรทาบร่างเจ้าอาวาส มีรัศมีทองคำแพรวพราว และสอนธรรมประโยคหนึ่งก็คือสอนท่านอาจารย์บุญส่งแหละ ผมรีบถามขึ้นว่า “ท่านสอนว่ากระไร ทีนี้ผมจะสอบอาจารย์บ้างล่ะ” ท่านอาจารย์บุญส่งตอบว่า “ท่านสอนให้สิ้นการยึดมั่นถือมั่น” ผมจึงสิ้นฤทธิ์ไม่ติดฤทธิ์ต่อไป ผมจึงตอบท่านอาจารย์บุญส่งว่า “ใช่ครับเป็นคำสอนของหลวงปู่ใหญ่ ผมขอรับรอง ไม่ใช่คำพูดของเจ้าอาวาส” ตัวผมเองไม่ได้ฌานได้ญาณอะไรกับเขาหรอก ท่านอาจารย์บุญส่งไม่เรียกผมอาจารย์ขอเรียกพี่ ครั้นแล้วท่านอาจารย์บุญส่งก็เล่นงานผมเข้าให้บ้าง แผล็บเดียวก็คุกเข่าก้มลงกราบ ผมถามว่า “อาจารย์ทำไมทำเช่นนี้” อาจารย์บุญส่งไม่ตอบ เรียกคนในรถทุกคนให้ขึ้นบ้าน บอกว่าเข้ามากราบได้สนิท ผมก็ยิ่งสงสัยว่านี่มันอะไรกัน

ท่านอาจารย์บุญส่งจึงไขข้อปัญหาว่า “พี่ก็เป็นอย่างเดียวกับท่านเจ้าอาวาสนั่นแหละ เพียงแต่รังสีไม่เฉิดฉายเท่ากับท่านเจ้าอาวาส เพราะท่านเป็นผู้ทรงศีลบริสุทธิ์ แสดงว่าพี่เป็นคนของหลวงปู่และสิ้นการสงสัย” ต่อจากนั้นท่านก็ทำนายทายทักว่าผมจะเจ็บป่วยอีกครั้งและกำหนดระยะเวลาให้ ซึ่งผมก็ต้องเข้าโรงพยาบาลรามาธิบดี ทำการผ่าตัดนิ่วถุงน้ำดีและพักอยู่นานวัน ท่านสงสารในสุขภาพของผม ท่านบอกว่าเรามาถ่ายทอดพลังปราณกันเถอะ แล้วเราก็เอามือทั้งสองยันกันทำสมาธิถ่ายทอดพลังลมปราณสู่กัน ท่านถ่ายทอดพลังเย็นคืออาโปธาตุสู่ตัวผมผมเองก็ถ่ายไปตามเรื่อง ท่านบอกว่าของผมเป็นเตโชพลังร้อนซึ่งก็เป็นความจริง ก่อนที่ท่านจะลากลับ ผมแจกพระพิมพ์โลกอุดรเป็นที่ระลึกให้กับท่านและผู้ติดตาม และเห็นท่านเดินไปทางหลังบ้าน คิดว่าจะเข้าห้องน้ำ ปรากฏความจริงว่าท่านได้มอบเงินจำนวนหนึ่งให้กับลูกสาวผมไว้ โดยที่ลูกสาวไม่รู้เรื่องและปฏิเสธ ภายหลังท่านพยายามยัดเยียดเงินให้แล้วรีบเดินทางกลับ หลังจากนั้นเราไม่ได้พบกันอีก ท่านเป็นคนดีมากคนหนึ่ง

Image
ท่านพระอาจารย์วิชัย เขมิโย


คำสอนของหลวงปู่พระเทพโลกอุดร เป็นตัวสุดท้ายในมหาสติปัฎฐานสี่ กาย เวทนา จิต ธรรม สักแต่ว่า ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา อย่างที่เขาสอนกัน กายในกาย จิตในจิต ไม่ติดมันก็หลุด ก็ไม่รู้จะหลุดอย่างไร ตามความเข้าใจของผม ธรรมตัวนี้ก็คือ สภาวะธรรม มันแปรเปลี่ยนไม่คงที่คือ ทุกข์ การทนอยู่ไม่ได้ สิ่งที่มีชีวิตและปราศจากชีวิตมันเสื่อมสิ้นไปตามสภาวะธรรม ไม่ยืนยงคงที่ หลวงปู่จึงให้ปริศนาว่า “ปู่ชื่อเปลี่ยนนะลูก” เมื่อมันไม่ดำรงคงที่ มันก็ไม่เที่ยงนะซี มันทุกข์ อนิจจัง ก็เมื่อมันไร้สาระเช่นนี้จะไปยึดถือเป็นตัวเป็นตนทำไม อนัตตา สัพเพธัมมาทุกขา สัพเพธัมมาอนิจจา สัพเพธัมมาอนัตตา ติ ถ้าจะตัดรูปนาม ปล่อยเวทนาสัญญาไว้ ละเพียงสังขาร เครื่องปรุงแต่งจิตอันเป็นตัวอุปาทาน ตัดตัวนี้เปรียบเหมือนการตัดคัดเอ้าท์สวิทช์ไฟฟ้า ไฟฟ้าดวงอื่นพากันดับหมด เป็นสุญญตนิพพาน

ท่านพระอาจารย์วิชัย เขมิโย แห่งสำนักสงฆ์ถ้ำผาจม อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย เคยนำมาแสดงธรรมในรายการธัมมะ ทาง ที.วี. ผมฟังแล้วถึงกับก้มลงกราบเพราะความถูกใจ ไปเรียนให้มากทำไม ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถระ) แห่งวัดเทพศิรินทราวาส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ อบรมสั่งสอนสานุศิษย์ให้ไหว้ 5 ครั้ง ให้มีศีลบริบูรณ์ ไหว้พระเสร็จให้ทำสมาธิ ก่อนตายให้พิจารณาถึง สัพเพ ธัมมา อนัตตา จะไม่กลับมาเกิดอีก จึงกล่าวได้ว่าหลวงปู่ท่านสอนตามขั้นภูมิธรรมปัญญา ฟังดูง่ายๆ แต่ทำยาก

Image
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถระ)


นิมิตครั้งที่ 2 พบกับพระโสณเถระเจ้า ท่านมากับพระมูนียเถระเจ้า (พระอิเกสาโร) จิตผมทราบทันทีว่าเป็นหลวงปู่องค์ที่สอง รูปกายท่านสูงใหญ่ เกสายาวประมาณ 1 องคุลี ผมคิดอยู่ภายในใจว่าอยากจะได้เกสาของท่านไว้บูชา หลวงปู่เรียกผมเข้าไปใกล้ ผมก้มลงกราบท่านๆ ยิ้มด้วยความปราณี ยกมือลูบศรีษะของผมพลางเรียกชื่อ ท่านมิได้กล่าวธรรมอันใด ส่วนองค์ที่นั่งถัดไปประมาณ 4 วา ปรากฏเกสายาวคลุมด้านหลัง ห่มจีวรสีกรัก แสดงว่าเป็นพระอิเกสาโร (เกสา แปลว่าผม) มิได้กล่าวธรรมใดเช่นกัน แสดงชัดว่าพระอิเกสาโรเป็นสานุศิษย์พระโสณะ

ภาพนิมิตเลือนหายไป ปรากฏเห็นพระภิกษุชรารูปหนึ่ง ร่างกายใหญ่ ยืนเทียบแล้วยังสูงไม่พ้นไหล่ท่าน มีขนตายาวพิเศษ ประกอบอารมณ์ขัน ท่านยกมือลูบศรีษะของผมพลางกล่าวว่า “ลงศีรษะมากมายจริง” ทันใดนั้นท่านก็หัวเราะก๊าก ผลักผมกระเด็นไปประมาณ 2 วา แล้วกล่าวว่า “โอ้โฮมีพระมากจัง” แล้วท่านก็พาเดิน ผมก็ตามหลังท่านไป ในจิตรู้ว่าท่านคือ หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า จนในที่สุดไปพบกลุ่มพระภิกษุและฆราวาสกลุ่มหนึ่ง มีฆราวาสท่านหนึ่งอุ้มขันสำริดเดินอยู่ในกลุ่ม ท่านชี้มือไปยังบุคคลผู้นั้นและกล่าวว่า “ท่านผู้นี้เป็นสามี” ทำให้ผมต้องตีปัญหาพักใหญ่ ขันนั้นน่าจะหมายถึงขันธ์ห้า คำว่าสามีแปลได้หลายอย่าง เจ้าของ ผัว ตำแหน่ง พระสังฆราชบัณฑิต น่าจะเป็นบัณฑิตนั่นเอง ท่านผู้นี้จิตบอกว่าเป็นหลวงปู่ขรัวหน้าปานองค์ที่ห้า เป็นอันว่าผมได้เห็นหน้าพระเทพโลกอุดรครบทุกพระองค์

9. พระมหินทรเถระ เป็นพระราชบุตรของพระเจ้าอโศกมหาราช พร้อมด้วยพระภิกษุหลายรูปไปลังกาทวีป แห่งหนึ่ง


มีต่อ >>>>>
 

_________________
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1. หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2. หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3. หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร) 4. หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า 5. หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้าhttp://board.palungjit.com/showthread.php?t=22445
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
sithiphong
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 19 ต.ค. 2007
ตอบ: 87

ตอบตอบเมื่อ: 05 ธ.ค.2007, 2:23 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ปริเฉทสอง

พระอุตตรเถระเจ้า อวตารเป็น พระอุทุมพรมหาสวามี ในสมัยพระเจ้าลิไทแห่งราชวงศ์สุโขทัย เมื่อปี พ.ศ. 1900 ห่างจากระยะแรกประมาณ 1600 ปี มีบางท่านกล่าวว่าในสมัยหริภุญไชย ท่านมาเกิดเป็นครูบาบุญทา แต่เป็นเรื่องของความฝันไม่ปรากฏหลักฐานแจ้งชัด และมีผู้เล่าให้ฟังว่าในครั้งกระนั้น ผมเป็นสามเณรอาศัยอยู่กับท่านมีชื่อว่า “น้อยคำอ้าย” เป็นสล่าคือช่างปั้นพระ คนเล่าเป็นพนักงานธนาคารออมสินสำนักงานใหญ่ โดยการผ่านร่างแต่ไม่ถึงกับประทับทรง จึงเกิดปัญหาว่า คนฝันกับคนที่เป็นร่างผ่านให้ข้อความไม่ตรงกัน จึงตัดออกเอา แต่เรื่องที่มีหลักฐานมากล่าวและมีบันทึกคณะพระเทพโลกอุดรมีหน้าที่ดูแลทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาไปจนกว่าจะสิ้นพุทธธันดร (พ.ศ. 5000) คราใดที่พระพุทธศาสนาอ่อนแอลง ท่านมักจะมาโปรด ท่านเป็นฑูตเดินทางมาจากประเทศลังกาสู่ประเทศมอญ

ความว่า ในสมัยนั้นมีพระอาจารย์ชาวลังกาท่านหนึ่งนามว่า “พระมติมา” เป็นศิษย์ในสำนักพระอุทุมพรมหาสวามีสังฆราช ซึ่งมีวัตรปฏิบัติเคร่งครัดที่สุดในประเทศลังกา มาตั้งสำนักที่เมืองนครพันหรือเมืองเมาะตะมะของมอญ ในสมัยพระสุตโสมเป็นพ่อเมือง พระเถระทางกรุงสุโขทัยได้ทราบข่าวเกิดความศรัทธาปสาทะ จึงพากันมาขออุปสมบทใหม่ในสำนักพระมติมาและข่าวได้แพร่ไปถึงพระเจ้าลิไท แห่งกรุงสุโขทัย จึงจัดส่งสมณฑูตอาราธนาพระมติมามาอยู่ ณ กรุงสุโขทัย แล้วพระองค์จึงได้ทรงผนวชในสำนักพระมติมา ทรงอธิษฐานจิตประกาศปรารถนาพุทธภูมิแล้วลาสิกขา เพื่อบำเพ็ญพระราชกรณียกิจตามเดิม หลังจากนั้นได้ทรงสถาปนาพระมติมาให้ดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสวามี (ตำแหน่งพระสังฆราชของลังกา)

“พระมติมา” ได้พยากรณ์ไว้ว่า พระพุทธศาสนาจะไม่ตั้งมั่นในมอญ แต่จะตั้งมั่นในไทยจนถึง พ.ศ. 5000 (เป็นอันแสดงว่าพระสังฆราชรูปนี้เป็นชาวลังกา) บางท่านยังอ้างข้อความบางตอนในศิลาจารึก กล่าวถึงความเค่งครัดของท่านว่า มีจริยาวัตรเยี่ยงพระอรหันต์ แต่หลักฐานในหนังสือชินกาลบาลีปกรณ์ ระบุความตอนหนึ่งว่า พระสังฆราชรูปนี้ความจริงเป็นชาวสุโขทัย ชื่อพระสุมนเถระ เดิมได้ศึกษาเล่าเรียนธรรมจากสำนักต่างๆ หลายสำนักจากเมืองอโยชฌปุระ (อยุธยา) จนความรู้แตกฉานแล้วกลับมาอยู่ที่เมืองสุโขทัยตามเดิม ครั้นต่อมาได้ทราบข่าวว่า พระมหาสวามี องค์เถระชาวลังกาผู้ทรงคุณอันเลิศในทางธรรม ชื่อว่า “อุทุมพร” ได้จาริกจากลังกามาอยู่ที่รัมนะประเทศ (ในพงศาวดารโยนกเรียกชื่อว่า เมืองเมาะตะมะ ส่วนในศิลาจารึกเรียกชื่อว่า นครพัน) พระสุมนเถระจึงชักชวนพระภิกษุซึ่งเป็นสหายทางธรรมจำนวนหนึ่ง พากันเดินทางจากกรุงสุโขทัยไปกราบนมัสการพระมหาสวามีอุทุมพร แล้วอยู่ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมกับพระมหาสวามีอุทุมพร นั้น

กาลต่อมา ความทราบถึงพระกรรณพระมหาธรรมราชาแห่งกรุงสุโขทัย (คือพรญาศรีสูรยพงศ์รามมหาธรรมราชาธิราช พระเจ้าแผ่นดินองค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์สุโขทัย ซึ่งก็คือพระเจ้าลิไท แต่คำในลายสือไทอ่านยากมิได้จารึกคำว่า “ลิไท” โดยตรง มีพระนามว่าก่อนเสวยราชย์ว่า พรญาฤาไท อ่านอย่างภาษามคธว่า “ลิไท” คำว่าพรญาศรีสูรยพงศ์เป็นพระนามเดียวกับพระราชบิดา เพียงแต่เติมคำว่าบุตรต่อท้ายคำ) ว่า พระมหาสวามีอุทุมพรจาริกมาจากเมืองลังกามาอยู่ที่เมืองรัมมประเทศ ก็ทรงมีพระราชประสงค์ใคร่จักได้พระภิกษุสงฆ์ผู้สามารถคงแก่เรียนกระทำสังฆกรรมได้ครบถ้วน มาประจำที่สำนักเมืองสุโขทัย จึงจัดส่งสมณฑูตไปนมัสการพระมหาสวามีอุทุมพร เพื่อขอพระภิกษุผู้ทรงคุณธรรมดังกล่าว พระมหาสวามีอุทุมพรจึงได้ส่งพระสุมนเถระพร้อมด้วยคณะที่มาด้วยกัน ให้แก่พระมหาธรรมราชาประจำกรุงสุโขทัย พระสุมนเถระและคณะได้นมัสการพระมหาสวามีอุทุมพร แล้วเดินทางกลับกรุงสุโขทัย พระมหาธรรมราชาทรงดีพระทัยยิ่งนักโปรดเกล้าให้สร้าง “วัดอัมพวนาราม” (คือวัดป่ามะม่วงในปัจจุบัน) แล้วได้นิมนต์พระสุมนเถระให้อยู่ที่วัดนั้น (ในศิลาจารึกไม่มีคำว่าวัด มีแต่อาวาสสุมม่วง สุม คือ ซุ้ม หมายถึง ซุ้มมะม่วง ป่ามะม่วง ปรากฏว่าเป็นสถานที่เดียวกัน)

ปัญหาที่เคยสงสัยกันว่า ถ้าพระมหาสวามีสังฆราชเป็นภิกษุชาวลังกาจริงแล้ว ได้ทำการเผยแผ่ธรรมแก่ชาวบ้าน เป็นการยากที่จะทำความเข้าใจได้ง่ายๆ (ความคิดเช่นนี้ยังไม่ลึกซึ้งพอ ไม่ได้ศึกษาในเรื่องปฏิสัมภิทาญาณสี่ จะเข้าใจผิดกันไปใหญ่ และก็เมื่อตอนที่คณะพระธรรมฑูตชุดแรกที่มาเผยแผ่พระพุทธศาสนายังแคว้นสุวรรณภูมิเล่าท่านจะทำประการใด ท่านก็เทศน์โปรดตามภาษาพื้นบ้านนั้นเอง และในการตรวจพระพิมพ์โลกอุดร โดยพระวิปัสสนาจารย์รูปหนึ่ง ท่านไม่มีความรู้เรื่องพระเทพโลกอุดร จึงใช้จิตถาม พระพิมพ์ตอบว่า ข้าคือบรมครูศรีสัชนาลัย ซ้ำอยู่ 2 ครั้ง ซึ่งหมดภูมิปัญญาของผู้ตรวจ จึงได้รับคำอธิบายจากตัวกระผมผู้เขียนเรื่องว่าถูกแล้ว เพียงศิษย์ท่านยังเป็นถึงพระสังฆราช องค์ท่านจะเป็นอะไรก็ดี (เลิกเรียกพระครูโลกอุดรกันเสียทีเถอะ) และการที่พระสุมนเถระเพียงถวายพระธรรมคำสอนแก่พระมหาธรรมราชา ช่วงระยะพรรษาเดียวก็ทรงบรรลุภูมิธรรมแตกฉาน ก็คือภาษาไทยนี้เอง ต่อมาได้ทรงสถาปนาพระสุมนเถระ ขึ้นดำรงตำแหน่ง “พระสวามีสุมนเถระ”

อนึ่ง พิจารณาแผ่นศิลาจารึกของวัดป่ามะม่วง เป็นศิลาจารึกลายสือไทหลักที่ 27 ได้กล่าวถึงพรญาศรีสูรยพงศ์รามมหาธรรมราชาทรงผนวช แต่อักษรจารึกด้านที่ 1 และด้านที่ 2 ชำรุดอ่านไม่ได้ความ คงเหลือเพียงด้านที่ 2 และด้านที่ 4 ตัดเฉพาะด้านที่ 2 ถอดความเป็นภาษาไทยปัจจุบันดังนี้ “...อั (น)... นี้ ในกลางสุมม่วงให้ประดิษฐานกุฎีพิหาร แถลงเมื่อพระนิรพาน ทางกุสินารนคร แถลงฝูงขสินาสรพนั้งบริพารแถลงทั้งพระอารยกัสสปมาทูลฝ่าตีนพระเจ้าอันชำแรกจากโลงทองแถลงทั้งขุนมัลลราชที่คนมากระทำบูชา ประดิษฐานทั้งปฏิมากระลาอุโบสถ แลเสมานั้นโสดเทียน ญ่อมฝูงสงฆ์อันคง...ปรัชญา...ร...อันมีสังฆราชา...พระไตรปิฏกอันได้...บวชแต่...ไ...ฝูงมหาสมณลังกาทวีป น...มานั้น...นั้น ที่พรญาศรีสูรยพงศ์ธรรมราชาธิราชออกผนวชแลแผ่นดินป่า ม่วงนี้ไหว...มหาสมณทั้งอัน...เลิก...น ปลายพ...ปาลย...น นำให้ฝูง...ทั้งหลายเห็น

ซึ่งผมขอถอดและขยายความดังนี้ ภายในบริเวณศูนย์กลางของอาวาสสุมม่วงหรือวัดป่ามะม่วง มีการก่อสร้างเป็นกุฏีวิหาร ปรากฏภาพเจียน ภายในผนังพระวิหารแสดงภาพพระอรหันต์ขีณาสพมาประชุมกันหนาแน่นดุจกำแพงกั้นน้ำ เพื่อเตรียมถวายเพลิงพระบรมศพพระผู้เป็นเจ้าซึ่งดับขันปรินิพพาน แสดงภาพพระมหกัสสปเถระเจ้า ก้มถวายบังคมเบื้องพระยุคคลบาทซึ่งยื่นจากโลงทองบรรจุพระบรมศพ แสดงภาพขุนมัลลราช คือเหล่าบรรดามัลลกษัตริย์ทั้งสี่ (ทรงเชี่ยวชาญในวิชามวยปล้ำ) กำลังถวายสักการะ ภายในพระวิหารมีพระประธานประกอบด้วยพระอัครสาวกซ้ายขวา มีตู้พระไตรปิฏกโดยรอบๆ พระวิหารประกอบด้วยพันธเสมาแสดงภาพพระภิกษุสงฆ์ผู้คงแก่เรียนอันได้แก่ พระสุมนสวามีสังฆราช ฝูงสมณแห่งลังกาทวีปคือ คณะของพระอุทุมพรสวามีสังฆราช (บรมครูพระเทพโลกอุดร)

ปรากฏในศิลาจารึกเนินปราสาทด้านที่ 2 บรรทัดที่ 17-18 “เมื่อได้สมเด็จพระมหาเถระกับพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายมา” พรญาศรีสูรยพงศ์รามมหาธรรมราชาธิราช มีพระบัญชาให้ราชบัณฑิตไปอาราธนาพระมหาสวามีอุทุมพรจากเมืองนครพัน ทราบว่าท่านรับการอาราธนาและเดินทางมาได้ครึ่งทางแล้ว (ทราบทางจิต) พรญาศรีสูรยพงศ์มหาธรรมราชาธิราชทรงจัดให้หมู่อำมาตย์มุขมนตรีและบรรดาราชตระกูล ไปเตรียมการต้อนรับทำการสักการบูชาพระอุทุมพรมหาสวามีสังฆราช ตามหัวเมืองต่างๆ ที่ทรงจาริกผ่าน เริ่มจัดเครื่องสักการบูชาตั้งแต่เมืองเชียงทอง เมืองจันทร์ เมืองบางพาร ตลอดมาจนถึงเมืองสุโขทัย นับว่าเป็นการต้อนรับเป็นพิธีการอันยิ่งใหญ่ของเมืองสุโขทัย

Image
หลวงพ่อโอภาสี (พระมหาชวน)


วันทรงผนวช ขณะที่พรญาศรีสูรยพงศ์รามมหาธรรมราชาธิราชรับผ้าไตรจากพระอุปัชฌาย์แล้ว ทรงอธิษฐานจิตประกาศปรารถนาพุทธภูมิ ได้ยังเกิดแผ่นดินไหวไปทั่วทุกสารทิศในบริเวณอาวาสสุมม่วง เป็นที่ประจักษ์แก่ฝูงชนทั้งหลายทั่วกัน พระองค์ได้รับพระฉายาในสมณเพศว่า “ปับละวะราชา” (ปลลุวราชา) แปลว่า พระราชาผู้เป็นหน่อเนื้อพุทธางกูร สันนิษฐานว่า พระอุทุมพรมหาสวามีสังฆราช พร้อมคณะ น่าจะพำนัก ณ อาวาสสุมม่วงชั่วระยะหนึ่ง โดยธรรมเนียมพระมหากษัตริย์ในสมัยโบราณมักนิยมสร้างพระพุทธรูปพระพิมพ์พระเครื่องเพื่อหวังอานิสงส์ แลบรรจุกรุเจดีย์ไห้สืบพระพุทธศาสนา จึงมีการสร้างพระพิมพ์เนื้อดินขึ้นชุดหนึ่งนิยมเรียกกันว่า พระพิมพ์วัดป่ามะม่วง เป็นพระพิมพ์ที่พระอุทุมพรมหาสวามีสังฆราชทรงอธิษฐานจิตให้สมัยสุโขทัย หลวงพ่อโอภาสี (พระมหาชวน) แห่งอาศรมบางมด ยืนยันว่า พระพิมพ์โลกอุดรวิเศษกว่าพระสมเด็จวัดระฆังฯ มากมาย สิ่งนี้เป็นข้อยืนยันสำหรับปริเฉทสอง


มีต่อ >>>>>
 

_________________
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1. หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2. หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3. หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร) 4. หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า 5. หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้าhttp://board.palungjit.com/showthread.php?t=22445
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
sithiphong
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 19 ต.ค. 2007
ตอบ: 87

ตอบตอบเมื่อ: 05 ธ.ค.2007, 2:23 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร


ปริเฉทสาม

เริ่มสมัยรัตนโกสินทร์ในรัชกาลที่ 4 ประมาณเมื่อปี พ.ศ. 2395 ในขณะที่พระองค์เจ้ายอดยิ่งยศ หรือพระองค์เจ้ายอดยิ่งประยุรยศ บวรราโชรสรัตนราชกุมาร (ประสูติ ณ วันพฤหัสบดี เดือน 10 แรม 2 ค่ำ ปีจอสัมฤทธิศก จุลศักราช 1200 พุทธศักราช 2381 ในรัชกาลที่ 3 เป็นพระเจ้าลูกยาเธอ นับเป็นพระราชโอรสองค์ต้นในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว และเจ้าจอมมารดาเอม) ทรงพระชนมายุได้ 14 พรรษา เป็นการปรากฏทั้งคณะพระธรรมฑูต มีดังนี้

1. พระอุตตรเถระ เรียกกันว่า พระครูโลกอุดร หรือหลวงปู่ใหญ่ หรือหลวงพ่อดำ ซึ่งท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี เรียกท่านว่า “พระโลกอุดร”

2. พระโสณเถระ เรียกกันว่า พระครูโลกอุดร เช่นกัน ฉายานาม หลวงปู่ขรัวตีนโต ซึ่งท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี เรียกท่านว่า “พระโสอุดร”

3. พระมูนียะ เรียกกันว่า หลวงปู่โพรงโพธิ์ หรือท่านอิเกสาโร หรือหลวงปู่เดินหน

4. พระฌานียะ เรียกกันว่า หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า

5. พระภูริยะ เรียกกันว่า หลวงปู่หน้าปาน

ทราบโดยญาณของผมเองว่า พระอิเกสาโรเป็นศิษย์พระโสณเถระ ส่วนอีกสองท่านจะเป็นศิษย์พระอุตตรเถระหรือพระโสณเถระยังไม่แจ้งชัด เพียงอาจารย์ผมบอกว่าท่านพระฌานียะ ยังมีอายุแก่กว่าพระอุตตรเถระด้วยซ้ำไป หลวงปู่ขรัวขี้เถ้ากับหลวงปู่หน้าปานจะจบกิจเป็นพระอรหันต์หรือยัง มิอาจทราบได้ เพียงท่านหายไปตอนแรกอาจเป็นเพียงอรหัน (ตามคำวิเคราะห์ศัพท์ในตอนต้น) จึงต้องมาสร้างบารมีเพิ่มในรูปของหลวงหลวงพ่อกบ วัดเขาสาริกา อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ก็คือท่านขรัวขี้เถ้าเผาแหลก มีอะไรท่านเผาหมด เป็นปริศนาธรรมอันหนึ่งว่า “ตูนี่แหละคือขรัวขี้เถ้า” ท่านแปรธาตุแบบสำนักโลกอุดร เป็นกบเลี้ยงลูกศิษย์ จึงมีฉายาว่า หลวงพ่อกบ กล่าวกันว่าเมื่อท่านมรณภาพแล้วนำใส่โลงศพ ได้เกิดหายไปไม่มีร่องรอย ก็จะเห็นท่านตามจริงเสียเมื่อไร ที่เห็นนั่นเป็นเพียงกายธรรมเท่านั้น

ส่วนอีกท่านหนึ่งมาในนามของหลวงพ่อโอภาสี หรือพระมหาชวน แห่งอาศรมบางมด ท่านก็บอกว่าพระมหาชวนตายไปแล้ว ท่านเป็นพระสำเร็จมาอาศัยร่างเพื่อสร้างบารมีต่อ ปริศนาธรรมของท่านก็คือ มีพระบรมสาทิศลักษณ์ของล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 คนก็ตีความไปต่างๆ นาๆ ว่า รัชกาลที่ 5 มาเกิดบ้าง ก็เมื่อรัชกาลที่ 5 เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2453 ท่านพระมหาชวนเกิดก่อน แล้วความจริงก็คือ “ตูนี่แหละพระเทพโลกอุดร องค์ที่ 5” ก็เท่านั้น

พระองค์เจ้ายอดยิ่งยศ น่าจะสร้างบารมีต่อเนื่องมาแต่ปางบรรพ์ ทรงมีธรรมาพิสมัยแต่ครั้งยังเยาว์วัย นอกจากจะทรงสนพระทัยในวิทยาการทางอักษรศาสตร์ รัฐศาสตร์ การฝีมือ ยุทธศาสตร์ วิชาการฟ้อนรำ ตลอดจนถึง ทรงสนพระทัยในวิปัสสนากรรมฐานแต่เยาว์วัย ขณะที่พระชนมายุเพียง 14 พรรษา ฝึกฝนจนอินทรียพละแก่กล้าพอควร หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร (พระอุตตรเถระ) เห็นว่าเจ้าชายท่านนี้เคยเป็นศิษย์ในความอุปการะกันมา จึงมาเข้านิมิตสอนธรรมกรรมฐานโดยต่อเนื่องในสภาพกายทิพย์ (มองเห็นได้ด้วยตาใน) จนเห็นว่าบรรลุขั้นทิพยจักษุแล้ว จึงปรากฏเป็นกายธรรมมองเห็นได้ด้วยตาเนื้อ และสามารถใช้ผัสสะจับต้องได้ โดยที่ผู้ศึกษาไม่ถึงจะตู่ว่าเป็นองค์จริงแทบร้อยทั้งร้อย นั้นคือความไม่รู้จริงแล้วคิดว่ารู้ สำหรับเรื่องนี้พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว มหาอุปราชแห่งพระราชวังหน้า ก็มิได้ทราบความจริงเท่าใดนัก เพียงแต่กล่าวกันว่าพระองค์เจ้ายอดยิ่งยศ มักจะหายไปคราวหนึ่งๆ ประมาณ 15-20 วัน คงมีแต่เจ้าจอมมารดาเอม ซึ่งเป็นพระชนนีที่ทราบความเป็นไป

Image
สมเด็จกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ (พระองค์เจ้ายอดยิ่งยศ)


ต่อมาพระองค์เจ้ายอดยิ่งยศได้รับพระราชทานเลื่อนพระอิสริยยศเป็น สมเด็จกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ ตำแหน่งวังหน้า และในการที่ สมเด็จกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ (พระองค์เจ้ายอดยิ่งยศ) เสด็จทิวงคตด้วยโรควักกะ (ไต) พิการ ในปี พ.ศ. 2428 นั้น ท่านก็มิได้ทิวงคตจริง แต่หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดรหรือหลวงปู่ดำพาไปอยู่ด้วย และเสกใบพลูแทนตัวไว้ เรื่องออกจะเหลือเชื่อแต่ก็น่าเชื่อเพราะปรากฏหลักฐานยืนยันจาก ท่านอาจารย์ชาญณรงค์ ศิริสมบัติ หรือท่านอภิชิโต ภิกขุ ที่ได้ไปพบท่านวังหน้าที่สำนักพระเทพโลกอุดร แต่ไม่ใช่ถ้ำวัวแดงอย่างที่เล่าลือกัน โดยท่านวังหน้ากับท่านพระอาจารย์แจ้งฌาณ 2 รูปนี้ เป็นพี่เลี้ยงถ่ายทอดวิชาให้ ท่านอภิชิโต ภิกขุ มักเรียกว่า “ครูฝึก” ซึ่งโดยปกติหลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดรจะมิได้ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้โดยตรง ต่อเมื่อเรียนจบขั้นหนึ่งๆ แล้วท่านจะต้องทดสอบความรู้และรับรองให้เรียนขั้นสูงต่อไป นับถึงปัจจุบันหากท่านวังหน้ายังดำรงชีวิตอยู่ จะมีอายุประมาณ 150 ปีเศษ ท่านรู้จักผมดี เรียกผมว่า “โยมประถม”

ท่านอภิชิโต ภิกขุ ได้ให้ช่างวาดภาพท่านวังหน้า (พระองค์เจ้ายอดยิ่งยศ) ด้วยถ่านเครยอง มองเห็นครั้งแรกเกิดความสนใจคิดว่าเป็นภาพหลวงปู่ใหญ่เพราะเป็นภาพของบรรพชิต แต่กลับเป็นภาพของท่านวังหน้า ส่วนภาพหลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดรที่เห็นกันอยู่ทุกวันนี้ เป็นเพียงภาพของพระอิเกสาโรหรือหลวงปู่โพรงโพธิ์ พระเทพโลกอุดร องค์ที่ 3 เคยมีผู้นำภาพถ่ายขนาดเล็กมาให้ชม ท่านเขียนเป็นภาษาขอมว่า “ไตรโลกอุดร” หมายถึง พระเทพโลกอุดร องค์ที่ 3 ผมเคยเรียนถามหลวงปู่ว่าในการอธิษฐานจิตพระพิมพ์โลกอุดรกรุแรก ซึ่งบรรจุในเจดีย์วัดบวรสถานสุธาวาส หรือวัดพระแก้ววังหน้า หลวงปู่ได้มาในสภาพของกายทิพย์ หรือกายธรรม ท่านตอบว่าท่านอยู่ในรูปแห่งกายธรรม ถามท่านว่าปัจจุบันเหตุใดท่านไม่เสด็จมาในรูปกายธรรมอีก ท่านหัวเราะตอบว่าคนเราในสมัยปัจจุบันไม่เหมือนกับคนในสมัยก่อน


มีต่อ >>>>>
 

_________________
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1. หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2. หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3. หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร) 4. หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า 5. หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้าhttp://board.palungjit.com/showthread.php?t=22445
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
sithiphong
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 19 ต.ค. 2007
ตอบ: 87

ตอบตอบเมื่อ: 05 ธ.ค.2007, 2:24 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า


บุคลิกภาพและจริตแห่งพระเทพโลกอุดร

พระเทพโลกอุดรทั้ง 5 พระองค์ ท่านไม่ใช่คนไทย เป็นชาวเนปาล แต่ละองค์มีจริตและบุคลิกภาพแตกต่างกัน ผู้ที่อวดรู้เห็นยากที่จะเข้าใจได้ว่าเป็นพระเทพโลกอุดรองค์ไหน ดีไม่ดีไปพบหลวงปู่แจ้งฌาน คิดว่าเป็นพระเทพโลกอุดรเข้าก็อาจเป็นได้ หลวงปู่ท่านนี้ได้อภิญญาโลกีย์และเป็นพระสำเร็จ ชอบท่องเที่ยวไปทุกหนทุกแห่ง นอกจากท่านอภิชิโต ภิกขุแล้ว ยากที่ผู้อื่นจะดูออก ท่านอภิชิโต ภิกขุ มักจะสัพยอกครูฝึกว่า “นี่คนหรือผีกันแน่ เห็นมากี่สิบปีร่างกายก็คงเดิมไม่แปรเปลี่ยน” สมัยยังมีการใช้รถราง บางครั้งก็จ๊ะเอ๋กันในรถราง ก็ยังเคยถามท่านอภิชิโต ภิกขุ ว่าตามที่เขาลือกันว่าหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า และหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน ซึ่งเป็นสานุศิษย์สายพระโลกอุดร ไม่มรณภาพจริง อาจารย์เคยพบบ้างไหม

ท่านตอบว่า ไม่เคยพบ เป็นอันแสดงว่าสายของพระเทพโลกอุดรมีอยู่หลายสายด้วยกัน และยังแยกออกเป็นสายในดงและสายนอกดงสาย ในดงคือไปศึกษาความรู้จากองค์ท่าน สายนอกดงนำมาสอนกันสืบต่อไป อาจเป็นทั้งฆราวาสและบรรพชิต เช่น อาจารย์พัว แก้วพลอย, อาจารย์ฉลอง เมืองแก้ว, อาจารย์ชม สุคันธรัต เป็นต้น พยายามศึกษาให้แตกฉานนะครับ อย่าเขียนเรื่องเรื่อยเปื่อยจะเป็นบาป หลวงปู่ท่านเคยตำหนิว่ามีชายแก่นำชื่อท่านไปขาย ถามว่าเป็นตัวผมหรือเปล่า ท่านว่าไม่ใช่ ที่ผมทำไปนั้นถูกต้องแล้ว

Image
หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน


องค์ที่หนึ่ง พระอุตตรเถระ หรือหลวงปู่ใหญ่ คือหลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร ลักษณะรูปร่างสันทัด ผิวกายค่อนข้างดำคล้ำ จึงมีฉายาว่า “หลวงพ่อดำ” มีจิตเยี่ยงพระโพธิสัตว์เจ้า บรรลุอภิญญาหก แต่ในบทสวดกล่าวว่าเตวิชโชคือวิชชาสาม ซึ่งไม่น่าจะเกี่ยวกับปฏิสัมภิทาญาณ แต่ในบทสวดก็กล่าวว่าท่านบรรลุซึ่งปฏิสัมภิทาญานเช่นกัน ท่านได้วางหลักสูตรในการฝึกสมาธิซึ่งเรียกว่า “วิทยาศาสตร์ทางใจ” มิใช่วิชาไสยศาสตร ์และมิใช่มายากล ศิษย์ในดงนอกดงสามารถแปรธาตุได้ เช่น หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน, หลวงพ่อปาน วัดคลองด่าน, หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า, ท่านอภิชิโต ภิกขุ, อาจารย์พัว แก้วพลอย, อาจารย์ฉลอง เมืองแก้ว และหลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง เป็นต้น

ท่านเชี่ยวชาญในวิชาแพทย์และเภสัชกรรม ใจดีประกอบด้วยเมตตา มีอารมณ์ขัน หากจะกล่าวถึงหัวหน้าคณะพระธรรมฑูตซึ่งเดินทางมาเผยแผ่พระพุทธศาสนายังสุวรรณภูมิแหลมทอง คงได้แก่ พระโสณเถระ ซึ่งท่านเป็นน้องชายพระอุตตรเถระ แต่บรรลุอรหันต์ก่อนพี่ชาย บทบาทของพระอุตตรเถระจึงไม่ค่อยมีปรากฏ และพระโสณเถระก็บรรลุปฏิสัมภิทาญาณเช่นกัน มิฉะนั้นจะสอนพระศาสนาแก่คนต่างชาติได้อย่างไร ปฏิสัมภิทาญาณสี่ มีดังนี้

1. อัตถปฏิสัมภิทา คือ ความแตกฉานในอรรถ เข้าใจถืออธิบายอรรถแห่งภาษิตให้พิศดาร และ เข้าใจคาดคะเนล่วงหน้าถึงผลอันจักมีเข้าใจผล

2. ธรรมปฏิสัมภิทา คือ ความแตกฉานในธรรม เข้าใจถือเอาใจความแห่งอธิบายนั้นๆ ตั้งเป็นกระทู้หรือหัวข้อขึ้นได้สาวเหตุในหนหลังให้เข้าใจเหตุ

3. นิรุตติปฏิสัมภิทา คือ ความแตกฉานในภาษา และรู้จักใช้ถ้อยคำ ตลอดจนรู้ถึงภาษาต่างประเทศ

4. ปฏิภาณสัมภิทา คือ ความแตกฉานในปฏิภาณ มีไหวพริบ เข้าใจทำให้สบเหมาะในทันทีหรือในเมื่อเหตุเกิดขึ้นโดยฉุกเฉินหรือกล่าวตอบโต้ได้ทันท่วงที

ท่านมีสภาวะจิตที่รวดเร็วมากเพียงนึกถึงท่าน ท่านจะบอกให้นิมิต “เมื่อเจ้าต้องการพบเรา เราก็มา เรามาจากทางไกล” ด้วยความรวดเร็วยิ่งในการตรวจพิมพ์ของท่าน ซึ่งผมก็ไม่ทราบว่าท่านเป็นบรมครูพระเทพโลกอุดร ท่านอภิชิโต ภิกขุ มอบให้เป็นสมบัติ บอกว่าอาจารย์ท่านคือหลวงปู่ดำเสกให้ เคยทดลองให้ท่านอาจารย์วิเชียร คำไสสว่าง ชีปะขาวผู้ทรงคุณกำหนดจิตดูท่านอาจารย์บอกว่าพระนี้ว่องไวและรวดเร็วยิ่ง ต่อมาเพื่อเป็นการพิสูจน์ทดสอบ ได้นำพระพิมพ์ที่ว่านำไปตรวจสอบกับพระพิมพ์โลกอุดรกรุวังหน้า ปรากฏว่าเหมือนกันทุกประการ

Image
หลวงพ่อปาน วัดคลองด่าน


องค์ที่สอง พระโสณเถระ หรือหลวงปู่ขรัวตีนโต รูปกายสูงใหญ่ ผิวดำ ทรงคุณสมบัติเช่นองค์ที่หนึ่ง เว้นแต่วิชาแพทย์ ใจดี เยือกเย็นประกอบด้วยเมตตาธรรม ชอบผาดโผน เหินฟ้านภาลัยโขดเขินเนินไศลเป็นที่สัญจร

องค์ที่สาม พระมูนียะ หรือพระอิเกสาโร, หลวงปู่โพรงโพธิ์, หลวงปู่เดินหน ล้วนเป็นองค์เดียวกัน มีบุคลิกภาพอันสง่างามปรากฏตามภาพซึ่งใช้บูชากันอยู่ในปัจจุบัน เชี่ยวชาญในวิชาแปรธาตุ เป็นผู้คงแก่เรียน ชอบเจริญอสุภกรรมฐาน 10 มักสร้างรูปบูชาเป็นโครงกระดูก พูดน้อยค่อนข้างเคร่งขรึมคล้ายดุ แต่ก็ไม่ดุ เป็นพระอาจารย์ของหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน และหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ห่มจีวรสีหมองคล้ำ หากปรากฏภาพในนิมิตมักจะปรากฏเส้นเกสายาวจรดเอวทีเดียวแสดงว่า “อิเกสาโร” (เกสา แปลว่า เส้นผม) ท่านมีบทบาทไม่น้อย ตามความรู้สึกน่าจะมีบทบาทมากกว่าองค์อื่นๆ ด้วยซ้ำไป

องค์ที่สี่ พระณานียะ หรือหลวงปู่ขรัวขี้เถ้า เป็นพระอาจารย์ของหลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง จังหวัดนครปฐม ท่านมีรูปกายค่อนข้างสูงใหญ่ ขนตาดกยาวแปลกกว่าองค์อื่น มีอำนาจ แต่ขี้เล่นใจดี นิมิตไม่แน่นอนอาจเป็นรูปพระภิกษุ ท่านจะชื่ออะไรไม่ทราบแต่แปรธาตุเสกใบมะม่วงเป็นกบนำมาพร่า ยำ เลี้ยงสานุศิษย์ เลยเรียกกันว่าหลวงพ่อกบ ท่านมาสร้างบารมีต่อ ปริศนาธรรมคือขรัวขี้เถ้าเผาแหลกมีอะไรเผาหมด แบบเถ้าสู่เถ้า ผงคลีสู่ผงคลี ดินจะใหญ่สักปานใดมันก็ไม่พ้นจากความเป็นขี้เถ้าหรอก ในที่สุดท่านก็มรณภาพและสานุศิษย์นำใส่โลงศพรอวันเผา หลวงปู่เกิดหายไปไร้ร่องรอย เลยไม่มีการฌาปนกิจศพ

Image
หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง


องค์ที่ห้า พระภูริยะ หรือหลวงปู่หน้าปาน บางคนก็เรียกท่านว่า หลวงปู่แก้มแดง เคยเรียนถามท่านอภิชิโต ภิกษุ ท่านบอกว่าขรัวหน้าปานองค์นี้สำเร็จปรอท ล่องหนย่นระยะทางเก่ง ถ้าท่านเอาลูกปรอทมาอมทางแก้มซ้าย ทางด้านซ้ายจะแดง ถ้าเปลี่ยนเป็นอมทางแก้มขวา ทางด้านขวาจะแดง จึงเกิดถกเถียงกันไม่รู้จบ ท่านเป็นสหธรรมิกกับหลวงปู่ขรัวขี้เถ้า มาสร้างเสริมบารมีในระยะเวลาเดียวกัน โดยอาศัยร่างท่านพระมหาชวนหรือหลวงพ่อโอภาสี แห่งอาศรมบางมด ท่านเป็นพระภิกษุทรงศีล เมื่อมีผู้ซักถาม ท่านก็บอกตามตรงว่าพระมหาชวนได้ตายไปแล้ว อาตมาเป็นพระสำเร็จมาอาศัยร่างสร้างบารมีต่อ


มีต่อ >>>>>
 

_________________
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1. หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2. หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3. หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร) 4. หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า 5. หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้าhttp://board.palungjit.com/showthread.php?t=22445
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
sithiphong
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 19 ต.ค. 2007
ตอบ: 87

ตอบตอบเมื่อ: 05 ธ.ค.2007, 2:24 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

วิธีบูชาหลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร

จะเป็นภาพถ่ายหรือรูปหล่อของหลวงปู่ท่าน หรือพระพิมพ์ที่หลวงปู่ท่านได้อธิษฐานจิตไว้ ย่อมใช้ได้ทั้งสิ้น หลวงปู่ท่านโปรดผู้ประพฤติอยู่ในศีลธรรม ชอบอาหารมังสะวิรัติ ชอบฟังคำสวดยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก ชอบบูชาด้วยดอกมะลิสด น้ำฝน 1 แก้ว เทียนหนักหนึ่งบาท 1 คู่ ธูปหอม 5 ดอก (คณะหลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร 1. หลวงปู่พระอุตตรเถระเจ้า 2. หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3. หลวงปู่พระมูนียเถระเจ้า (หลวงปู่อิเกสาโร) 4. หลวงปู่พระฌาณียเถระเจ้า (หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า หรือหลวงพ่อกบ วัดเขาสาริกา) 5. หลวงปู่พระภูริยเถระเจ้า (หลวงปู่หน้าปาน หรือหลวงพ่อโอภาสี อาศรมบางมด วัดโอภาสี กรุงเทพฯ) การปฏิบัติธรรมสังวรณ์ในกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ประกอบด้วยศีล 5 เป็นอย่างน้อย ย่อมเป็นสิ่งพึงพอใจของหลวงปู่ และทั้งยังให้ความสุขความเจริญทั้งคดีโลกและคดีธรรมแก่ผู้ปฏิบัติ

สำหรับพิมพ์อรหันต์ พิมพ์ปิดตา และพิมพ์มหากัจจายนะ ซึ่งเป็นองค์เดียวกันแต่ปางต่างกัน หากจะอาราธนาอย่างพิศดารก็ย่อมกระทำได้ กล่าวคือ พิมพ์อรหันต์ใหญ่ พิมพ์อรหันต์กลาง และพิมพ์อรหันต์น้อย อยู่ในหมวดพระมหากัจจายนะรูปงาม ซึ่งเป็นรูปเดิมก่อนการอธิษฐานวรกาย ให้ต่อท้ายด้วยคาถาดังนี้

พิมพ์อรหันต์

อรหันติกัจจายนะเถโร มหาโภโค มหาลาโภ รูปะวะระเชยยะสิทธิเม
(เชยยะ อ่านว่า ไชยะ ; รูปะวะระ แปลว่า รูปงาม)

*** โลกุตตะโร ปัญจะ มหาเถโร อะหัง วันทามิตัง สะทา อรหันติกัจจายนะเถโร มหาโภโค มหาลาโภ รูปะวะระเชยยะสิทธิเม ***

สำหรับสำหรับพิมพ์พระปิดตาซึ่งเป็นปางอธิษฐานวรกายให้สวดพระคาถา โลกุตตะโร ปัญจะ มหาเถโร อะหัง วันทามิตัง สะทา แล้วต่อท้ายด้วยพระคาถาต่อไปนี้

พิมพ์พระภควัมปติ (ปิดตา)
ควัมปติ จะ มหาเถโร มหาโภโค มหาลาโภ เชยยะสิทธิเม

*** โลกุตตะโร ปัญจะ มหาเถโร อะหัง วันทามิตัง สะทา ควัมปติ จะ มหาเถโร มหาโภโค มหาลาโภ เชยยะสิทธิเม ***

สำหรับพิมพ์พุงพลุ้ยที่นิยมเรียกกันว่า พระสังกัจจายน์ คำนี้ไม่มีศัพท์นี้ในภาษาบาลี ที่ถูกต้องคือ พระมหากัจจายนะ เถระเจ้าอันเป็นปางหลังจากที่นิมิตวรกายแล้ว ให้สวดพระคาถา โลกุตตะโร ปัญจะ มหาเถโร อะหัง วันทามิตัง สะทา แล้วต่อท้ายด้วย พระคาถาต่อไปนี้

อรหันติกัจจายนะเถโร มหาโภโค มหาลาโภ เชยยะสิทธิเม

***โลกุตตะโร ปัญจะ มหาเถโร อะหัง วันทามิตัง สะทา อรหันติกัจจายนะเถโร มหาโภโค มหาลาโภ เชยยะสิทธิเม ***

จะเห็นว่าตัดเอาคำว่า รูปะวะระ ออกไปเพราะสิ้นความงดงามแล้ว

พระพิมพ์ของคณะหลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดรนั้น ทุกรูปแบบทุกพิมพ์ทรงมีอานุภาพครอบจักรวาล อาราธนาทำน้ำมนต์ประสิทธิ์ยิ่งนัก โดยให้นำเอาพระแช่ในภาชนะที่บรรจุน้ำเรียบร้อยแล้ว บูชาด้วยดอกไม้ จุดธูปเทียน แล้วอธิษฐานตามความมุ่งหมาย เสร็จแล้วให้รีบนำพระขึ้นเช็ดน้ำด้วยสำลีหรือผ้าสะอาด ผึ่งลมให้แห้งก่อนนำไปบรรจุตลับ องค์พระจะไม่ละลายลบเลือนและไม่ควรแช่ในน้ำนานเกินควร จงทะนุถนอมให้จงดี เพราะหาไม่ได้อีกแล้ว สำหรับท่านที่มีพระอันเป็นทิพยสมบัติอันทรงคุณค่า โดยได้รับสืบทอดมาจากบรรพชนหรือได้รับจากทางใดทางหนึ่งก็ตาม เสมือนมีแก้วสารพัดนึกอยู่กับตัว ไม่จำเป็นต้องขวนขวายในอิทธิวัตถุอื่นอีก

คำบูชาหลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร

นะโมตัสสะภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ฯลฯ (3 จบ)

โย อะริโย มะหาเถโร อะระหัง อะภิญญาธะโร ปฎิสัมภิทัปปัตโต เตวิชโช พุทธะสาวะโก พะหู เมตตาทิวาสะโน มะหาเถรา นุสาสะโก โส โลกุตตะโร นาโม อัมเหหิ อะภิปูชิโต อิฐะ ฐานูปะมาคัมมะ กุสะเล โน นิโยชะเย ปุตตะเมวะ ปิยัง เทสิ มัคคะผะลัง วะ เทสสะติ ปะระมะสาริกะธาตุ วะชิรัญจา ปิวานิตัง โส โลเก จะ อุปปันโน เอเกเนวะ หิตังกะโร อะยัง โน โข ปุญญะลาโภ อัปปะมัตโต ภะเวตัพโพ สาธุกันตัง อะนุกะริสสามะ ยัง เวเรนะ สุภาสิตัง โลกุตตะโร จะ มหาเถโร เทวะตา นะระปูชิโต โลกุตตะระคุณัง เอตัง อะหัง วันทามิ ตัง สะทา มะหาเถรา นุภาเวนะ สุขัง โสตถี ภะวันตุ เม

บทสวดแบบย่อหรืออาราธนาพระพิมพ์ (ได้ทุกทรงพิมพ์)

โลกุตตะโร ปัญจะ มะหาเถโร อะหัง วันทามิ ตัง สะทา
หรือภาวนา ๓ จบ, ๗ จบ, ๙ จบ (เช้า-เย็น ตื่นนอนและก่อนนอน)
โลกุตตะโร ปัญจะ มะหาเถโร อะหัง วันทามิ ตัง สะทา เมตตาลาโภ นะโสมิยะ อะหะพุทโธ

ผมขอเสริมนะครับ ท่านสามารถอาราธนาเป็นภาษาไทยได้นะครับ ถ้ายังจำบทสวดของท่านไม่ได้ครับ ท่านที่ห้อยพระหลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร ที่ท่านเมตตาเสกให้นั้น หากมีความจำเป็นที่ต้องไปในสถานที่อโคจรทั้งหลาย ผมมีบทสวดที่ใช้ในการนี้มาฝากทุกท่านครับ

ก่อนที่จะเข้าไปในสถานที่อโคจรให้สวด อิติภะคะโว
กลับออกมาจากสถานที่อโคจรให้สวด โสภะคะวา

หรือก่อนที่จะเข้าไปในสถานที่อโคจรให้สวด อะระหัง
กลับออกมาจากสถานที่อโคจรให้สวด หังระอะ

บทแผ่เมตตาโบราณ
นะเมตตา โมเมตตา ปะวาเสนตัง อะหังโหมิ สุจิตตาปะมาทาตุ สุจิตโตปะโมทาตุ

บทแผ่เมตตาอันยิ่งใหญ่
มหาโคตะโมปาทะเกอิ จะอะปาทะเกอิ เมเมตตังเมตตัง

สำหรับท่านที่ได้บูชาพระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร อธิษฐานจิตไว้ให้นั้น ผมขอเรียนชี้แจงให้ทราบกันนะครับว่า การวางพระพิมพ์หรือวัตถุมงคลต่างๆ ต้องวางไว้ในที่เหมาะสม ควรใช้พวงมาลัยไว้พระพิมพ์ (เป็นการไหว้หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร และเทวดาผู้ที่รักษาพระพิมพ์) พวงมาลัยที่ใช้ไหว้นั้น ต้องเป็นพวงมาลัยที่มีดอกรัก, ดอกมะลิ, ดอกกุหลาบ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ แต่ห้ามใช้พวงมาลัยที่เป็นดอกดาวเรืองโดยเด็ดขาด ส่วนการวางพวงมาลัย ควรหาพานมาเพื่อใช้ในการวางพวงมาลัยครับ

หากท่านใดที่ได้ทำบุญไม่ว่าจะเป็นการทำบุญเรื่องอะไรก็ตาม ควรที่จะกรวดน้ำให้กับผู้เสก, ผู้สร้าง และเทวดาประจำองค์พระพิมพ์ด้วยทุกๆ ครั้งนะครับ

http://board.palungjit.com/showthread.php?t=22445
 

_________________
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1. หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2. หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3. หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร) 4. หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า 5. หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้าhttp://board.palungjit.com/showthread.php?t=22445
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
sithiphong
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 19 ต.ค. 2007
ตอบ: 87

ตอบตอบเมื่อ: 11 ธ.ค.2007, 4:22 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....
http://board.palungjit.com/showthread.php?p=857577#post857577

เมื่อวันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม 2550 ผมไปถ่ายรูป (ออร่า) มา 2 รูปนะครับ

โดยรูปแรกจะใส่พระพิมพ์
http://board.palungjit.com/attachment.php?attachmentid=249417&d=1197356355

รูปที่สองไม่ใส่รูปพระพิมพ์ (สีขาวที่หน้าผม ผมขอปิดหน้าผมเองนะครับ)
http://board.palungjit.com/attachment.php?attachmentid=249418&d=1197356355

ปี 2549
http://board.palungjit.com/attachment.php?attachmentid=249429&d=1197358252

ปี 2550
http://board.palungjit.com/attachment.php?attachmentid=249417&d=1197356355

ในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ ปี 2551 (ตามแบบสากล) ผมขออาราธนาพระบารมีคุณพระศรีรัตนตรัย, พระบารมีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า, พระบารมีพระอรหันต์ทุกๆ พระองค์, พระบารมีหลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร, พระบารมีพระโพธิสัตว์ทุกๆ พระองค์ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลก โปรดจงดลบันดาลให้ทุกๆ ท่าน มีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์และแข็งแรง ไม่มีโรคภัยเบียดเบียน ในสิ่งที่ทุกๆ ท่านคิด กระทำการต่างๆ ในสิ่งที่ดี ที่งาม ที่ถูกต้อง ขอให้ประสบกับความสำเร็จ สำเร็จ สำเร็จ ทุกๆ ประการตลอดปีและตลอดไปด้วยเทอญ

หมายเหตุ : บทความที่นำมาเสนอนี้ ได้รับการอนุญาตในการคัดลอกและเรียบเรียงเพื่อเผยแผ่เป็นวิทยาทาน จากท่านอาจารย์ประถม อาจสาคร เป็นที่เรียบร้อยแล้ว นับเป็นพระคุณและความกรุณาอย่างยิ่ง ทั้งนี้ ห้ามบุคคลใดๆ นำประวัติหลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร ไปเผยแพร่เพื่อการค้า (หรือการพาณิชย์) ทั้งทางตรงและทางอ้อม และต้องขออนุญาตท่านอาจารย์ประถม อาจสาคร เป็นลายลักษณ์อักษรนะครับ ขอบคุณครับ
 

_________________
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1. หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2. หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3. หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร) 4. หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า 5. หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้าhttp://board.palungjit.com/showthread.php?t=22445
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
sithiphong
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 19 ต.ค. 2007
ตอบ: 87

ตอบตอบเมื่อ: 01 ม.ค. 2008, 9:53 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เรื่องของพลังอิทธิคุณกับกรอบพลาสติกนั้น พลาสติกไม่กี่มิลลิเมตรจะปิดกั้นอำนาจของผู้ปลุกเสกได้ ผมจะยกตัวอย่างเปรียบเทียบนะครับ เช่นก้อนแร่รังสีปรมนู ถ้านำไปเก็บไว้ในที่เก็บ รังสีจะออกมาได้หรือไม่ และทำอันตรายกับผู้คนที่อยู่บริเวณนั้นได้หรือไม่หรือเพียงแต่นำเอาตะกั่วแผ่นบางๆ หุ้มก้อนแร่รังสีปรมณูไว้ รังสีสามารถออกมาทำอันตรายกับสิ่งมีชีวิตรอบข้างได้หรือไม่ แต่ถ้านำออกมาวางไว้กลางแจ้ง ผู้คนที่อยู่รอบข้างจะได้รับรังสีหรือไม่ เฉกเช่นเดียวกับพลังจิตของผู้ที่ปลุกเสกพระครับ หรือเปรียบเทียบกับสายไฟฟ้าภายในบ้าน ถ้าเราเปิดไฟ กระแสไฟฟ้าก็จะวิ่งมาตามสายไฟ ซึ่งมีฉนวนหุ้มอยู่ เราสามารถจับสายไฟเส้นนั้นได้ แต่ถ้าเราลอกฉนวนออก เราก็ไม่สามารถจับสายไฟเส้นนั้นได้ ใช่ไหมครับ เรื่องของพลังจิตนั้น เป็นนามธรรม เป็นสิ่งที่ไม่สามารถจับต้องได้ แต่สามารถสัมผัสได้หากบุคคลผู้นั้น ได้ปฏิบัติธรรมมาจนถึงในระดับหนึ่งนะครับ ทุกๆ สิ่งในโลกนี้ ย่อมมีของที่กันหรือแก้ในตัวเองอยู่ เพียงแต่ว่าเราจะรู้หรือไม่รู้เท่านั้น

เรื่องของพลังอิทธิคุณ ต้องเดินทางในอากาศธาตุนะครับ เหมือนกับกระแสไฟฟ้าซึ่งต้องเดินบนตัวนำไฟฟ้า แต่จะไม่เกี่ยวข้องกับความศักดิ์สิทธิ์หรือไม่ศักดิ์สิทธิ์ครับ พระพิมพ์หรือวัตถุมงคล ที่ผ่านพิธีพุทธาภิเษกมานั้น ย่อมมีความศักดิ์สิทธิ์ทั้งนั้น แต่ว่าจะมากน้อยนั้น อยู่ที่ผู้เสกเป็นสำคัญครับ

พระพิมพ์ที่ผมห้อยอยู่นั้น ผมเลี่ยมแล้วผมนำเข็มเย็บผ้าไปลนไฟให้ร้อนแล้วเจาะรูบริเวณด้านล่างหรือตรงกลางของกรอบพระ (จะกี่รูก็ได้) ครับ ท่านอาจารย์ประถมท่านเองเลี่ยมพระแบบเปิด คือหมายความว่า เป็นการเลี่ยมจับขอบเท่านั้น ไม่มีพลาสติกหุ้มอยู่ทั้งด้านหน้าและด้านหลังเลยครับ

ผมเองเคยมีประสบการณ์ กรอบพระสแตนเลสระเบิดออกมา พระที่กรอบสแตนเลสระเบิดเป็นหลวงปู่ม่น วัดเนินตามาก ชลบุรีครับ ถ้าเป็นทางวิทยาศาสตร์จะไม่สามารถอธิบายได้ว่า ระเบิดออกมาได้อย่างไร ก่อนวันสงกรานต์ ผมได้ไปทำความสะอาดพระ ที่กุฏิที่ผมเคยไปบวช วันนั้นผมห้อยพระไป 5 องค์ โดยองค์กลางเป็นพระธาตุพระสิวลี องค์อยู่ข้างบนต่อมาด้านซ้ายเป็นหลวงปู่ทิม วัดระหารไร่ องค์ด้านขวา เป็นหลวงปู่ม่น วัดเนินตามาก ผมทำความสะอาดพระซึ่งมีเป็นจำนวนมาก ผมไปเห็นโกฏิที่ใส่กระดูกคนตาย ที่อยู่หลังพระพุทธรูปองค์ใหญ่ พี่เขยผมไม่เข้าไปยุ่ง ไม่ได้นำออกมาทำความสะอาด แต่ผมนำออกมาวางบนตู้พระไตรปิฎก ซึ่งผมลืมคิดไปว่าไม่สมควร ผมนำผ้าชุบน้ำแล้วทำความสะอาด พอทำความสะอาดเสร็จแล้ว ผมกำลังนำผ้าไปซัก เดินพ้นจากตู้พระไตรปิฎกมา 2 ก้าว ปรากฏว่าเหรียญหลวงปู่ม่นซึ่งผมเลี่ยมใส่กรอบพลาสติกและผมได้เจาะรูไว้ 3 รูนั้น ได้เกิดระเบิดขึ้น ผมเองก็ตกใจว่าเกิดอะไรขึ้น ผมกลับไปมองที่โกฏินั้น ผมเห็นว่าไม่สมควรที่จะนำไปวางไว้บนตู้พระไตรปิฎก ผมจึงรีบนำโกฏิไปไว้ที่เดิม ต่อมาผมได้สอบถามเพื่อนผม เพื่อนบอกว่าหลวงปู่ม่นท่านดังในเรื่องของการไล่ผีมาก (ในตอนแรกๆ ผมไม่ค่อยศรัทธาหลวงปู่ม่นเท่าไร ท่านคงมาช่วยผมไว้และแสดงให้เห็นว่าหลวงปู่ม่น ท่านก็ไม่ธรรมดา) การที่กรอบแสตนเลสระเบิดนั้น มันเกิดจากสาเหตุอะไร ลองคิดดูกันเองนะครับ

เรื่องของการจับพลังพระพิมพ์นั้น มีปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้องอยู่หลายประการ อาทิเช่น

1. พระพิมพ์บางองค์ เวลาที่กดพระพิมพ์นั้น อาจกดไปโดนฤกษ์ดอกลูกพิษ ถ้าพระพิมพ์องค์ไหน กดโดนฤกษ์ดอกลูกพิษ ไม่ว่าพระองค์ไหน ก็เสกไม่เข้าทั้งสิ้น ฤกษ์ดอกลูกพิษนั้น มีทุกวัน แต่ว่ามีเป็นช่วงๆ บางครั้งในหนึ่งวัน มีช่วงเดียว บางครั้งในหนึ่งวัน อาจมีหลายช่วงก็เป็นไปได้ทั้งสิ้น

2. ในการจับพลังองค์พระพิมพ์นั้น บางวัน พระผู้เสกท่านอาจปิดกระแสขององค์พระพิมพ์ก็เป็นได้ การปิดกระแสนั้น พระผู้เสกย่อมทำได้เนื่องจากว่า ระดับของญาณหรืออภิญญาสูงกว่าผู้จับพลังองค์พระพิมพ์ มีเพื่อนผมคนหนึ่ง สามารถจับพลังขององค์พระพิมพ์ได้ มีอยู่วันหนึ่ง เพื่อนผมผู้นี้ได้นำพระพิมพ์องค์หนึ่ง ไปให้อาจารย์ของเขาตรวจพลังให้ แต่ปรากฏว่า อาจารย์ของเขาได้บอกว่า พระพิมพ์องค์นี้ ไม่มีพลัง ไม่มีอะไรเลย แต่เพื่อนผมได้นำพระพิมพ์องค์เดิมไปให้เพื่อนของเขาจับ ปรากฎว่าเพื่อนของเขาจับพลังได้ และยังบอกอีกว่า พลังขององค์พระพิมพ์นั้น แรงมากด้วย ในเรื่องนี้ ความคิดเห็นส่วนตัวผม ผมเห็นว่า พระผู้เสกท่านอาจปิดกระแสไม่ให้อาจารย์ของเพื่อนตรวจพลัง นะครับ

3. ในบางวัน พระผู้เสก ท่านอาจปิดกระแสขององค์พระพิมพ์ ก็เป็นไปได้เช่นเดียวกัน

4. และในบางวัน ผู้ที่ตรวจพลังของพระพิมพ์ เป็นวันที่เบื้องบนไม่ให้ตรวจพลังขององค์พระพิมพ์ ก็เป็นไปได้เช่นเดียวกัน

5. พิมพ์ทุกองค์นั้น เวลาที่ผ่านการปลุกเสกแล้ว จะมีเทวดารักษาองค์พระพิมพ์ทุกองค์ บางครั้งเทวดาที่รักษาองค์พระพิมพ์อาจจะปิดกระแสก็เป็นไปได้อีกเช่นกัน

6. ในบางครั้งพระปลอมก็มีพลังเช่นเดียวกัน ถ้าผู้ทำพระปลอมได้นำพระไปเข้าพิธีพุทธาภิเษก

7. หรือบางครั้งผู้ทำพระปลอมได้นำเศษพระแท้ผสมลงไป ก็สามารถมีพลังได้เหมือนกัน เพียงแต่พลังอาจจะน้อยกว่าพระแท้ครับ

8. การนำพระแท้ไปไว้ในที่ไม่สมควร เทวดาที่รักษาองค์พระพิมพ์ ท่านอาจจะไม่อยู่ครับ และทำให้พลังขององค์พระพิมพ์นั้นเสื่อมได้ครับ ตามหลัก มีเกิดได้ก็มีดับได้นะครับ

9. พระพิมพ์ที่ปลุกเสกโดยพระคณาจารย์บางองค์นั้น จะเป็นสื่อให้กับพระคณาจารย์หรือเทพเบื้องบน เวลาที่มีเหตุให้ช่วย พระคณาจารย์หรือเทพเบื้องบนบางองค์จะทราบและจะลงมาช่วยเหลือ โดยพระพิมพ์เป็นเพียงสื่อให้พระคณาจารย์หรือเทพเบื้องบนเท่านั้นครับ

การตรวจสอบพลังอิทธิคุณขององค์พระพิมพ์นั้น ผมแนะนำให้ไปหาผู้ทรงฌานหรือผู้ทรงญาณ หลายๆ ท่าน (ควรไม่ต่ำว่า 5 ท่าน) นะครับ และผลที่ตรวจได้นั้น ต้องตรงกัน

การตรวจสอบพระพิมพ์นั้น ที่ถูกต้องที่สุดก็คือการตรวจทั้งรูป (เนื้อหาทรงพิมพ์) และนาม (พลังอิทธิคุณขององค์พระพิมพ์) การตรวจเฉพาะนาม (เนื้อหาทรงพิมพ์) โดยการส่องกล้องเพียงอย่างเดียวนั้น หากว่าผู้ตำผง (โดยปกติต้องใช้เวลาตำผง 4 ชั่วโมงต่อ 1 ครกนั้น) ตำเพียง 2 หรือ 3 ชั่วโมง เนื้อขององค์พระพิมพ์นั้นก็จะไม่เหมือนกันการตำที่ใช้ระยะเวลา 4 ชั่วโมง หรือบล็อกแม่พิมพ์นั้น มีการสร้างโดยช่างสิบหมู่หลายๆ ท่าน ในแต่ละท่านอาจมีสัญลักษณ์ (ที่เราๆ เรียกว่าโค๊ต) ของตนเองก็มีครับ

เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผมเอง แล้วแต่ท่านผู้อ่านใช้ว่ามีคิดเห็นกันอย่างไรครับ

สุดท้ายผมขอโมทนาในบุญกุศลที่ทุกๆ ท่านได้ทำด้วยครับ

http://board.palungjit.com/showthrea...22445&page=673
 

_________________
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1. หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2. หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3. หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร) 4. หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า 5. หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้าhttp://board.palungjit.com/showthread.php?t=22445
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
sithiphong
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 19 ต.ค. 2007
ตอบ: 87

ตอบตอบเมื่อ: 08 ม.ค. 2008, 6:52 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
รูปหล่อหลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร


ความจริงแล้วพระภิกษุรูปนี้จะมีตัวตนจริงหรือไม่นั้น ปัจจุบันมีนักปฏิบัติทางจิตหลายท่านได้ออกมาเปิดเผยโดยให้ข้อสันนิษฐาว่า หลวงปูเทพโลกอุดร น่าจะเป็น พระอรหันต์ในอดีตกาล ท่านหนึ่ง ส่วนจะเคยมีชีวิตอยู่ในยุคใด สมัยใดนั้นยังไม่มีใครระบุได้ เพราะจากประสบการณ์จากผู้ที่เคยพบเห็นนั้นบอกว่า “หลวงปู่เทพโลกอุดร” มักไม่ค่อยเปิดเผยที่มาของตัวท่านเอง เวลาที่ท่านมาปรากฏตัวท่านจะบอกเสมอว่า...อดีต ปัจจุบัน อนาคต เป็นเรื่องไม่จำเป็นสำหรับท่าน

ปัจจุบันมีพระสงฆ์ซึ่งเป็นพระปฏิบัติ พระป่าหรือพระเกจิอาจารย์ชื่อดังหลายท่านออกมายอมรับว่า หลวงปู่เทพโลกอุดร มีตัวตนจริงและต่างก็เคยเป็นศิษย์หลวงปู่เทพโลกอุดรมาแล้วทั้งนั้น อาทิ หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม แห่งวัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี หลวงปู่โง่น โสรโย วัดพระพุทธบาทเขารวก จ.พิจิตร (ละสังขารแล้ว) หลวงพ่อครูบาลุ่น วัดจันทาราม จ.เพชรบูรณ์ (เคยเรียนวิชากับหลวงปู่ฯ ที่ถ้ำวัวแดง) หลวงตาจี๊ด วัดวังขร จ.ชัยนาท (ละสังขารแล้วโดยสำเร็จเป็นอรหันต์ อัฐิเป็นสีนิลและชมพู) ฯลฯ

ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาก็มีหลวงปู่อยู่รูปหนึ่งที่ทราบกันว่าท่านเป็นศิษย์เคยเรียนธรรมะมาจาก หลวงปู่เทพโลกอุดร ในป่าลึก ปัจจุบันพระรูปนี้ท่านอายุ 104 ปีแล้ว มีชื่อว่าหลวงปู่กอง จันทวังโสจำวัดอยู่ที่วัดสระมณฑลท่านเป็นพระใจดียังแข็งแรง ไม่ค่อยเจ็บป่วยและความจำยังดีมากไม่หลงลืมทั้งที่อายุท่านก็เลยไปถึงหลักร้อยแล้ว

วัดสระมณฑลเป็นวัดเล็กๆ ซึ่งถ้าใครได้ไปเห็นก็จะรับรู้ถึงความสมถะ รักสันโดษและความเรียบง่ายของหลวงปู่รูปนี้ ท่านอาศัยอยู่เฉพาะในโบสถ์ ภายในวัดก็ไม่มีกุฏิ ศาลาการเปรียญหรือวิหารใหญ่โตใดๆ เลย รอบๆ บริเวณเนื้อที่แคบๆ นี้มีเพียงโบสถ์หลังเล็กหลังเดียวตั้งอยู่และรายล้อมไปด้วยบ้านเรือนชาวบ้านที่มาอาศัยอยู่ชิดติดเขตวัด

หลวงปู่กอง จันทวังโสท่านมีลูกศิษย์ลูกหามากมายหลายอาชีพ ตั้งแต่ระดับชาวบ้านธรรมดาไปถึงชันรัฐมนตรี (ในรัฐบาลปัจจุบันก็มี) ต่างให้ความเคารพนับถือท่าน โดยเฉพาะท่านเป็นเกจิที่ขึ้นชื่อในเรื่อง “การเสกตะกรุด” ที่นักเลงพระนิยมกันมาก แต่ปัจจุบันนี้ท่านเสกไม่ไหวแล้ว เพราะการเสกแต่ละครั้งต้องใช้พลังอำนาจจิตเป็นเวลานาน ประกอบกับปัจจุบันท่านก็ชราภาพมากแล้วจึงมี “ป้ากวย ถนอมทรัพย์” หลานสาวของหลวงปู่มาช่วยดูแลเพราะพระที่เคยมาบวชและอยู่ดูแลหลวงปู่ก่อนหน้านี้ก็มรณภาพไปก่อนแล้ว

ป้ากวยได้บอกเล่าเรื่องราวของหลวงปู่กองให้ผู้เขียนฟังคร่าวๆ ว่า หลวงปู่กอง จันทวังโสเดิมท่านชื่อว่า กอง ถนอมทรัพย์ ท่านบวชและร่ำเรียนวิชามาสารพัดตั้งแต่รุ่นหนุ่ม ในสมัยที่ท่านออกบวชท่านชอบธุดงค์ไปตามป่าเขา ในดินแดนทุรกันดาร จนกระทั่งวันหนึ่งเกิดเดินพลัดตกเขาสลบไป ก็ปรากฏร่างของพระสงฆ์รูปหนึ่งมาช่วยไว้ หลวงปู่กองท่านเรียกพระรูปนั้นว่า “หลวงปู่ใหญ่” ซึ่งก็คือ หลวงปู่เทพโลกอุดร หลังจากนั้นหลวงปู่กองก็ได้ปฏิบัติทาง “จิต” และร่ำเรียนวิชาที่เป็นศาสตร์ลี้ลับจากหลวงปู่ใหญ่อีกมากมายหลายวิชา เมื่อสำเร็จแล้วจึงออกจากป่ามาจำพรรษาอยู่ตามวัดต่างๆ และร่ำเรียนวิชาจากพระเกจิชื่อดังอีกหลายรูป อาทิ หลวงปู่เทียม แห่งวัดกษัตราธิราช จ.พระนครศรีอยุธยา (อยู่ตรงข้ามไม่ไกลจากวัดสระมณฑ,ปหลวงปู่กองอยู่จำพรรษาที่วัดกษัตราฯ เป็นเวลานานกระทั่งเห็นว่าวัดสระมณฑลที่อยู่ไม่ไกลกันนี้เป็นวัดร้างไม่มีพระจำพรรษาอยู่ท่านจึงขอมาอยู่ที่นี่เพียงรูปเดียวกระทั่งปัจจุบันนี้

ภายในโบสถ์วัดสระมณฑลหลังนี้มีรูปหล่อของหลวงปู่เทพโลกอุดรองค์ใหญ่ที่หลวงปู่กองให้หล่อนขึ้นไว้บูชา ป้ากวยได้เล่าถึงอภินิหารของรูปหล่อหลวงปู่เทพโลกอุดรให้ฟังว่า เมื่อรูปหล่อหลวงปู่เทพฯ มาถึงวัดขณะที่แดดกำลังเปรี้ยงแต่แล้วฟ้ากลับครึ้มและมีฝนตก แล้วเมื่อถึงเวลาจะยกเข้าประตูโบสถ์ ก็ปรากฏว่าทำยังไงก็ยกเข้าไม่ได้ เพราะองค์พระใหญ่กว่าประตูมาก จนหลวงปู่กองต้องบริกรรมคาถาอยู่ครู่ใหญ่จึงสามารถยกรูปหล่อหลวงปู่เทพฯ เข้ามาได้ เป็นที่น่าอัศจรรย์

สำหรับ “ป้ากวย” เองก็เคยพบปาฏิหาริย์จาก “หลวงปู่เทพโลกอุดร” หรือ “หลวงปู่ใหญ่” ด้วยตัวเองอยู่บ่อยครั้ง ป้ากวยได้เล่าให้ฟังว่า

“ก็มีอยู่วันนึงมีพระมาจากไหนก็ไม่รู้เข้ามาในโบสถ์นี่ มากราบหลวงปู่กองและก็บอกหลวงปู่กองว่าวันนี้ประมาณ 6 โมงจะมีพระรูปหนึ่งมากราบ พูดจบท่านก็ลากลับไป แล้วเมื่อถึงเวลานั้นก็มีพระมาจริงๆ แล้วหน้าตาก็เหมือนรูปปั้นนั่นไม่ผิดเพี้ยน (หมายถึงรูปหล่อหลวงปู่เทพโลกอุดร) เป็นพระหนุ่มนะ แล้วคืนนั้นท่านก็อยู่ค้างด้วย ป้าก็นอนกับญาติอีกคนข้างๆ ไม่ห่างจากพระองค์นี้ แต่น่าแปลกที่พอตกดึกป้าหันไปตรงที่ท่านนอน กลับไม่เห็นท่าน ก็นึกเอะใจแล้วพอหันไปไปดูอีกที เอ๊ะ...ท่านก็ยังนอนอยู่ตรงที่เดิมนี่ แล้วทำไมเมื่อกี้ไม่เห็นก็คิดว่ายังไงๆ อยู่ พอตอนเช้าท่านจะลากลับ ก็เข้าไปกราบหลวงปู่กองและพูดบอกให้หลวงปู่กองมีชีวิตอยู่ต่อไปเพื่อช่วยดำรงพระพุทธศาสนา แล้วท่านก็ลากลับ แต่ตอนนี่ท่านจะเดินออกจากประตูโบสถ์นี่สิ ป้าเห็นรูปร่างท่านเปลี่ยน จากรูปร่างคนธรรมดากลายเป็นตัวสูงจรดประตูโบสถ์ ทั้งที่ประตูโบสถ์ก็สูงแล้วนะ และสังเกตเห็นเท้าท่านใหญ่มาก พอท่านเดินออกไปปุ๊บป้าก็เดินตามไปชั่วพริบตา ไม่เห็นท่านเสียแล้ว ท่านมาแปลก เวลาจะไปก็ไปแปลก”

ยังมีเรื่องเล่าที่แปลกเกี่ยวกับ “หลวงปู่เทพโลกอุดร” อีกเรื่องหนึ่งคือเรื่องที่ท่านสามารถแปลงกายให้เป็นอะไรก็ได้เช่นแปลงเป็นพระแก่ พระหนุ่ม สามเณร แขก คนชรา คนพิการ ฯลฯ แล้วบังเอิญได้ไปเห็นภาพถ่ายของพระหนุ่มรูปหนึ่งที่วัดสระมณฑล ทราบว่าภาพนั้นคือภาพของหลวงปู่เทพโลกอุดรที่แปลงเป็น “พระหนุ่ม” ซึ่งมีผู้ที่ทราบและได้ถ่ายรูปไว้ เป็นที่ฮือฮามากสำหรับภาพดังกล่าว และก็เคยมีเรื่องเล่าว่าท่านเคยแปลงกายเป็นพระหนุ่มเพื่อโปรดผู้มีบุญที่นครปฐม

เรื่องนี้เล่ากันปากต่อปากที่เชื่อว่าเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นนานมาแล้ว เรื่องมีอยู่ว่ามีคหบดีชาวนครปฐมคนหนึ่งได้จัดงานบวชลูกชายขึ้นเป็นงานใหญ่โต คนหบดีเศรษฐีคนนี้ปกติแล้วก็เป็นคนใจบุญสุนทาน ตั้งมั่นอยู่ในศีลในธรรมอยู่เสมอ ในงานวันนั้นเศรษฐีได้นิมนต์พระมาสวดมนต์ 9 รูป แต่เมื่อถึงเวลามีพระไปได้เพียง 8 รูปทีนี้ก็เดือดร้อนต้องวิ่งหาพระกันยกใหญ่เพราะพระไม่ครบ ก็เผอิญในละแวกนั้นปรากฏว่าพระธุดงค์หนุ่มรูปหนึ่งมาปักกลดอยู่ใต้ต้นข่อย เจ้าภาพเศรษฐีก็เลยให้คนไปนิมนต์มา พระธุดงค์หนุ่มรูปนั้นก็รับนิมนต์มาในงาน เมื่อมาถึงท่านก็ก้าวเข้าไปนั่งประจำที่พระอาวุโสสุด ทำให้พระทั้ง 8 รูป ซึ่งอาวุโสกว่าไม่พอใจ เพราะเห็นว่าพระภิกษุรูปนี้หน้าตาและรูปร่างยังหนุ่มแน่น ไม่น่าจะมีพรรษามากนักเห็นจะเป็นประธานสงฆ์ในงานนี้ไม่ได้ พระรูปหนึ่งจึงได้ต่อว่าท่านในเชิงไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง ไม่รู้อาวุโสและยังพูดแดกดันอีกว่า เป็นพระจริงหรือพระปลอมก็ไม่รู้ มาจากไหนก็ไม่รู้พระหนุ่มได้ยินดังนั้นก็ไม่ได้ว่าอะไรแต่ทันใดนั้นก็เกิดอาเพทขึ้น เกิดฟ้ามืดครึ้ม ลมพัดปั่นป่วนไปหมด ท่ามกลางความตกตะลึงของทุกคน ในขณะที่พระธุดงค์รูปนั้นนั่งสมาธิบริกรรมคาถาอยู่เพียงครู่เดียว ร่างของท่านก็เปลี่ยนไปเป็นพระภิกษุชรา เนื้อหนังย่น พระภิกษุและชาวบ้านที่อยู่ ณ ที่นั้นเมื่อได้ประจักษ์ในอิทธิฤทธิ์ของพระรูปนั้นก็ก้มกราบขอขมากันยกใหญ่ที่ได้ล่วงเกินไป แล้วพระธุดงค์รูปนั้นก็เนรมิตร่างให้เป็นหนุ่มตามเดิมและได้พูดคุยกับพระและญาติโยมเป็นปกติ มีผู้เล่าบางคนบอกว่าท่านได้บอกชื่อเสียงเรียงนามของท่านด้วยว่าท่านคือ “หลวงปู่เทพโลกอุดร” แล้วเขายังเล่ากันอีกว่าวันนั้นท่านฉันภัตตาหารเพียงคำเดียว จากนั้นก็กล่าวลาญาติโยมหายไปจากที่นั่น และมีคนไปดูที่ที่ท่านปักกลดก็ไม่พบท่านอีกแล้ว

ในเรื่องการปรากฏตัวของ “หลวงปู่เทพโลกอุดร” ในที่ต่างๆ เพื่ออะไรนั้นมีผู้รวบรวมไว้ 3 สาเหตุคือ

1. ปรากฏตัวเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ตกอยู่ในภาวะช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ โดยเฉพาะผู้ที่ตกอยู่ในอันตรายตามบริเวณป่าเขา เช่นเคยช่วยทหารตำรวจตระเวณชายแดนหรือช่วยเหลือพระป่า พระธุดงค์รวมทั้งนักปฏิบัติธรรมที่เป็นฆราวาสที่ได้รับอันตรายขณะออกธุดงค์ตามป่าเขาถิ่นทุรกันดาร บางครั้งท่านก็ปรากฏตัวเพื่อรักษาคนที่กำลังเจ็บไข้ได้ป่วย จึงทำให้ทราบว่านอกจากท่านจะมีความเก่งกล้าในทางฤทธิ์อภิญญาแล้วท่านยังมีความรู้ เชี่ยวชาญในเรื่องแพทย์แผนโบราณ เรื่องการใช้ยาสมุนไพรด้วย ผู้ที่เคยเป็นศิษย์ของท่านทุกคนจะได้รับการสอนให้มีความรอบรู้ในเรื่องตัวยาสมุนไพรด้วย

2. ปรากฏตัวเพื่อช่วยชี้แนะหรือสั่งสอนวิชาคาถาอาคม และการฝึกปฏิบัติวิปัสสนา รวมทั้งเรื่องการแพทย์แผนโบราณ การใช้ยาสมุนไพร บางครั้งก็ปรากฏตัวเพื่อรับคนเป็นศิษย์ การปรากฏตัวแบบนี้มีทั้งปรากฏในนิมิตของศิษย์คนนั้นหรือปรากฏให้เห็นโดยตาเนื้อก็มี

3. ปรากฏตัวเพื่อมาโปรดสัตว์ การปรากฏตัวแบบนี้ก็มีบ่อยครั้งเช่นเคยปรากฏตัวเพื่อรับบิณฑบาตที่บ้านวังยาว อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน หรือปรากฏตัวโปรดคนป่วยโรคมะเร็งก่อนเสียชีวิต ที่บางจาก พระโขนง กรุงเทพฯ ฯลฯ

การปรากฏตัวแต่ละครั้งของ “หลวงปู่เทพโลกอุดร” นั้นนักปฏิบัติทางจิตเชื่อกันว่า หลวงปู่ฯท่านจะมาปรากฏตัวให้เห็นก็ต่อเมื่อท่านต้องการจะให้เห็นท่านนั้น ไม่ใช่ใครอยากจะเจอท่านก็ได้เจอ แต่ถ้าต้องการสัมผัสกับบุคคลที่เคยเห็นหลวงปู่ฯ มาแล้วก็ไปคุยกับ “ป้ากวย ถนอมทรัพย์” และ “หลวงปู่กอง” ดูได้ที่วัดสระมณฑล จ.พระนครศรีอยุธยา (แต่ปกติถ้าไปหลวงปู่กองอาจจะกำลังจำวัด เพราะท่านก็ชราภาพมากแล้ว) ถ้ารู้จักวัดกษัตราธิราชแล้วหาไม่ยาก ข้ามฝั่งแม่น้ำวัดกษัตราธิราชมาจะเป็นพระเจดีย์ศรีสุริโยทัยตั้งตระหง่ายอยู่ แล้ววัดสระมณฑลก็อยู่ฝั่งเดียวกับพระเจดีย์ฯ เพียงเลยมาอีกหน่อยก่อนถึงทางแยกไปวัดไชยวัฒนารามจะเห็นซอยเล็กๆ เข้าไปในซอยนั้นแล้วถามชาวบ้านดูจะทราบว่าวัดนี้อยู่ตรงไหน ถ้าจะนั่งรถเมล์ไปก็ขึ้นรถเมล์ไปก็ขึ้นรถเมล์สีขาวที่ตลาดเจ้าพรหม ที่เขียนว่าไปวัดไก่เตี้ย ก็จะผ่านวัดนี้ ซึ่งหาไม่ยาก...


นำมาจาก : นิตยสารหญิงไทย
 

_________________
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1. หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2. หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3. หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร) 4. หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า 5. หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้าhttp://board.palungjit.com/showthread.php?t=22445
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
sithiphong
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 19 ต.ค. 2007
ตอบ: 87

ตอบตอบเมื่อ: 05 ต.ค.2008, 12:18 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

http://board.palungjit.com/showthread.php?p=1552953#post1552953

พระบรมสารีริกธาตุ
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระนาม สมณโคดม

พระเสโธธาตุ (เหงื่อ)

บริเวณหน้าอก, ปอด, หัวใจ

(ผิวหนัง ด้านหลัง)

พระบรมสารีริกธาตุ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระนาม สมณโคดม
และพระธาตุพระอรหันต์

--------------------------------------------

พระบรมสารีริกธาตุ
องค์พระปัจเจกพุทธเจ้า

กราบ กราบ กราบ กราบ กราบ
sithiphong
คณะพระวังหน้า ,ชมรมพระวังหน้า
__________________

รูป สงวนลิขสิทธิ์

__________________
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ขอความเมตตาช่วยต่อชีวิตพระเณรบช.ออมทรัพย์ 2030-06304-5 บัญชี รร.พระปริยัติธรรมบ่อเงินบ่อทองบมจ.ธ.กรุงไทย สาขาพนมสารคาม

ขอเชิญร่วมสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง ณ สำนักสงฆ์ผาผึ้ง อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ บมจ.ธ.กรุงไทย สาขาลาดพร้าว102 บช.ออมทรัพย์เลขที่1890-13128-8 บัญชี นางพิชญ์สินี ชาญปารีสชญา,นายอุเทน งามศิริ,นายสิรเชษฎ์ ลีละสุนทเลิศ

หลวงปู่โลกอุดร ประวัติหลวงปู่ โลกอุดร

"พระวังหน้า อกาลิโก"
พระวังหน้า
กองทุนผู้ป่วยโรคมะเร็ง
 

_________________
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1. หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2. หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3. หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร) 4. หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า 5. หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้าhttp://board.palungjit.com/showthread.php?t=22445
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง