Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 วาจาสุดท้ายที่พระพุทธองค์ทรงฝากไว้ (พระพรหมคุณาภรณ์) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 29 พ.ย.2007, 4:15 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้เป็นหลักการ
ถ้าว่าตามปัจฉิมวาจาหรือวาจาสุดท้าย ก็ตรัสบอกว่า
สิ่งทั้งหลายที่เกิดจากปัจจัยปรุงแต่ง
หรือสังขารทั้งหลาย มีการเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา
ไม่ว่าจะเป็นชีวิตมนุษย์ก็ตาม หรือสังคมอารยธรรมอะไรต่างๆ
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นแล้ว
ก็มีการแตกสลายกันไปตามเหตุปัจจัย
สิ่งที่มนุษย์ต้องทำคือ ต้องไม่ประมาท
ดังนั้นก็ตรัสฝากไว้ว่า “ให้ไม่ประมาท”

เมื่อเราไม่ประมาท
เราก็จะใช้ประโยชน์จากหลักอนิจจัง
หรือความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ถูกต้อง
ว่าในขณะที่สิ่งทั้งหลายเสื่อมสลายเปลี่ยนแปลงไป


หนึ่ง ตัวเราเองไม่นิ่งนอนใจ
เรากระตือรือร้นในการที่จะพัฒนาชีวิตของตน
ให้วันเวลาผ่านไปอย่างดีที่สุด เป็นประโยชน์ที่สุด

สอง คือสังคม ประเทศชาติ ตลอดจนอารยธรรมของโลก
ก็ต้องศึกษาวิเคราะห์เหตุปัจจัย เพื่อให้ไม่ประมาทว่า
อะไรจะเป็นเหตุปัจจัยแห่งความเสื่อม
แล้วก็แก้ไขป้องกันเหตุปัจจัยเหล่านั้น
อะไรที่จะเป็นเหตุปัจจัยของความเจริญงอกงาม
ก็ชวนกันรีบสร้างสรรค์ขึ้น
อันนี้เป็นหลักปฏิบัติในการเป็นอยู่โดยไม่ประมาท

เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสเรื่องอนิจจัง คือ เรื่องไม่เที่ยง
มักจะตรัสควบกับความไม่ประมาท
นั่นคือ มนุษย์จะได้ประโยชน์จากความไม่เที่ยง
และจากเรื่องของการแตกสลายเสื่อมโทรม
ซึ่งเป็นธรรมชาติของสิ่งทั้งหลายที่มันไม่คงทนอยู่ตลอดไป
แต่ที่สำคัญก็คือ หลักการใหญ่ของพระพุทธศาสนาบอกไว้ว่า
การที่สิ่งทั้งหลายจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรนั้น
มันเป็นไปตามเหตุปัจจัย
มนุษย์จะอยู่ได้ดีที่สุดก็ต้องไม่ประมาท ไม่ประมาทอย่างไร


หนึ่ง ในการศึกษาเรียนรู้ ให้เข้าใจเหตุปัจจัย

สอง นำความรู้นั้นมาปฏิบัติแก้ไขเหตุปัจจัยที่จะทำให้เสื่อม
และสร้างสรรค์เหตุปัจจัยที่จะทำให้เจริญ
อย่างน้อยก็ดำรงรักษาเหตุปัจจัยในฝ่ายดีไว้

อย่างสังคมไทยเราปัจจุบันนี้
ควรจะพิจารณาตรวจสอบดูว่า
ชีวิตและสังคมของเราตั้งอยู่ในความไม่ประมาทไหม
และมีสภาพของความเสื่อมมากมายหรือเปล่า
พวกเรากำลังทำเหตุปัจจัยของความเสื่อมกันอยู่มากมายหรือเปล่า
ในแง่ของความเจริญ เราเจริญจริงหรือเปล่า
และเราทำเหตุปัจจัยของความเจริญกันบ้างหรือเปล่า
หรือว่าเราได้เพียงแค่รับเอาภาพของความเจริญมา
แต่เราไม่ได้ทำเหตุปัจจัยของความเจริญ
เราอาศัยเหตุปัจจัยของความเจริญจากที่อื่น
และรับเอาแต่เพียงผลจากเขา ใช่หรือไม่

ถ้าเราไม่ทำเหตุปัจจัยของความเจริญ
เราจะเจริญงอกงามได้ยาก
สิ่งที่เอามานั้นเป็นเหมือนของยืม
หรือเป็นของที่ถูกหลอกถูกล่อให้เอามาใช้หลอกตัวเองเท่านั้น
ถ้าอย่างนี้ก็ไม่ยั่งยืน
อันนี้เป็นเรื่องที่ต้องมาวิเคราะห์ตรวจสอบตัวเองกันบ้าง
ตามหลักพุทธศาสนา สังคมพุทธต้องเป็นสังคมแห่งปัญญา
เมื่อจะมีศรัทธาก็ต้องมีเราเป็นศรัทธาในพระพุทธศาสนาที่แท้หรือไม่


หนึ่ง ที่ว่าเรามีศรัทธาในพระพุทธศาสนานั้น
เรามีศรัทธาถูกต้องหรือเปล่า
ศรัทธาของเราเป็นศรัทธาในพระพุทธศาสนาที่แท้หรือไม่

สอง ศรัทธาที่จะถูกต้องก็คือ ต้องมีปัญญา
เรามีปัญญาประกอบหรือไม่

สาม เรามีการพัฒนาในเรื่องศรัทธาและปัญญานี้หรือไม่
เราได้มีการวิเคราะห์สภาวการณ์และใช้ปัญญากันจริงจังหรือเปล่า
แม้แต่จะสร้างวิถีชีวิตแห่งปัญญาให้เกิดเป็นวัฒนธรรมแห่งปัญญา
เช่นมีความใฝ่รู้ ชอบศึกษา เราทำกันบ้างไหม
การใฝ่รู้ชอบศึกษาทำให้เกิดความเจริญปัญญาในตนเอง
แต่นอกจากนั้นยังทำให้เรารู้เข้าใจสภาพความเป็นจริงของชีวิต
และเหตุการณ์ของโลก
ซึ่งจะทำให้ตื่นขึ้นมาด้วยความรู้เท่าทันว่า
โลกที่เจริญอย่างปัจจุบันนี้ เจริญจริงหรือเปล่า เจริญในแง่ไหน
มีความเสื่อมพ่วงอยู่ หรือซ่อนอยู่อย่างไร มีเหตุปัจจัยอย่างไร
เราควรจะเลือกรับส่วนไหนและจะนำมาปรับใช้
จะแก้ไข จะพัฒนาต่อไปอย่างไร

มนุษย์ที่มีปัญญา เป็นชาวพุทธ จะต้องใช้ปัญญาพิจารณาและแก้ไข
ไม่ใช่ตื่นไปกับภาพของสิ่งที่จะมาบำรุงบำเรอ
ฉาบฉวยผิวเผินไปเรื่อย ๆ อย่างไม่มีหลัก
คติพระพุทธศาสนาที่จะนำมาใช้ปฏิบัติได้มีมากมาย
อยู่ที่เราจะใช้ปัญญาวิเคราะห์พิจารณาหรือไม่

การเวียนมาถึงของวันวิสาขบูชา ก็คือ เป็นการเตือนใจเรา
และเป็นโอกาสสำหรับเราจะได้มารำลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า
แล้วศึกษาให้เข้าใจ และนำมาใช้ประโยชน์
เมื่อทำอย่างนี้อารยธรรมนุษย์ก็จะพัฒนาได้ต่อไป
ไม่อย่างนั้นเราก็เป็นเพียงผู้เสวยผลที่มีมาในอดีต
ไม่รู้จักสร้างสรรค์อะไรเลย
โดยแม้แต่จะรับก็อาจจะเลือกไม่เป็น เพราะไม่ใช้ปัญญา
บางทีก็ไปเอาส่วนเสื่อมโทรมในที่ต่างๆ มารวมไว้กับตัวเอง
ฉะนั้น เมื่อถึงวันวิสาขบูชา
อย่างน้อยก็ควรถือเอาประโยชน์จากการที่พระพุทธเจ้า
ได้สอนเราให้มีความไม่ประมาท
ในการที่จะใช้ปัญญาศึกษาเหตุปัจจัย
แล้วก็ใช้เรี่ยวแรงความเพียรในการกระทำของตนเอง
ทำการแก้ไขและสร้างสรรค์ขึ้นมา ก็จะมีความเจริญได้อย่างแท้จริง
วันวิสาขบูชาจะเป็นวันสำคัญของโลกได้
ก็ต้องมีความสำคัญเริ่มตั้งแต่ที่ตัวของแต่ละคน แต่ละชีวิต
แต่ละท้องถิ่น แล้วก็แต่ละสังคม
ถ้าเราสามารถทำให้พระพุทธศาสนามีความหมาย
ความสำคัญต่อประเทศไทยได้
ก็จะเกิดความสำคัญต่อโลกพ่วงมาด้วย
และจะให้สำคัญต่อโลกแท้จริง
ก็ต่อเมื่อคนไทยรู้จักนำเอาหลักพุทธศาสนา
มาใช้สร้างสรรค์แก้ไขปัญหาของสังคมตนเอง
แล้วก้าวไปแก้ไขปัญหาของโลกด้วย

เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่า เวลานี้โลกมีปัญหามากมายเพียงไร
เราก็เอาภาพความฟุ้งเฟ้อผิวเผินอะไรบางอย่างมากลบๆ กันไว้
ลึกลงไปใต้นั้นก็ซ่อนเต็มไปด้วยปัญหาทั้งนั้น
ประเทศพัฒนาแล้วก็ตาม กำลังพัฒนา หรือด้อยพัฒนา ล้าหลังก็ตาม
เวลานี้มีปัญหาอะไรก็รู้กันอยู่แล้ว
เจริญกันมากพัฒนากันไป
เดี๋ยวก็บอกว่า เป็นการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน
โลกนี้ถูกคุกคามด้วยปัญหาธรรมชาติแวดล้อมเสื่อมโทรม
สังคมที่พัฒนาแล้วหรือประเทศเจริญมากอย่างอเมริกา
มีปัญหาตั้งแต่ชีวิตจิตใจเครียดมีความทุกข์มาก
ฆ่าตัวตายมาก ฆ่ากันตายมาก ปัญหาความรุนแรง
เด็กนักเรียนประถมเอาปืนไปยิงเพื่อนนักเรียนบ้าง
ยิงครูที่โรงเรียนบ้าง ติดยาเสพติด ยาบ้า ยาอี โคเคน
ครอบครัวก็แตกสลาย เด็กหญิงยังไม่ได้แต่งงาน
มีลูกตั้งแต่อายุ 12 ลูกก็ไม่มีพ่อ ตัวเองก็ยังเลี้ยงลูกไม่เป็น
เด็กก็เจริญเติบโต มาเป็นส่วนประกอบของสังคมที่เป็นปัญหา
ซึ่งจะทำให้สังคมเสื่อมโทรมลงระยะยาว
ไหนจะมีความแบ่งแยกรังเกียจเหยียดผิวกันเรื้อรังมาเป็นศตวรรษ
มองกว้างออกไปก็มีการแย่งชิงทรัพยากรกันในหมู่ประเทศต่างๆ
ประเทศที่มีอำนาจมากก็แข่งขันกัน
ในการที่จะแผ่อำนาจทางเศรษฐกิจ หาผลประโยชน์
หากแหล่งทรัพยากรมีการขัดแย้งผลประโยชน์
ระหว่างประเทศร่ำรวยด้วยกัน
ความหวั่นกลัวต่อการครอบงำและเอารัดเอาเปรียบ
ระหว่างประเทศที่มั่งคั่ง กับประเทศที่ขาดแคลน
ระบบและองค์กรที่ว่าตั้งขึ้นเพื่อการค้าขายที่เสรีมีความเสมอภาค
ก็เป็นที่สงสัยว่าจะไม่เกิดจากวัตถุประสงค์ที่จริงใจ ฯลฯ
ถ้าสนใจเอาจริงเอาจัง รู้จักรับฟัง ก็จะมองเห็นสภาพปัญหาเหล่านี้

แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นภาพทั่วไป ก็คือ การมองไปที่สิ่งเสพบริโภค
ซึ่งมาล่อให้ตื่นเต้น โดยบางทีเราก็ไม่ได้มองว่า
เบื้องหลังของสิ่งเหล่านี้มีอะไร
คนที่มีปัญญาจะอยู่เพียงกับภาพที่ปรากฏผิวเผินภายนอกไม่ได้
จะต้องใช้ปัญญาพิจารณาวิเคราะห์
ถ้าเราจะต้องการแก้ปัญหาและสร้างสรรค์ชีวิตสังคม
และอารยธรรมของโลกกันจริงๆ ก็เป็นโอกาสว่า
เมื่อถึงวันวิสาขบูชาทีหนึ่งก็มาทบทวน ตรวจสอบ วิเคราะห์
แล้วก็พยายามที่จะนำเอาหลักการของพระพุทธศาสนา
มาใช้ให้เป็นประโยชน์ทั้งในการสร้างสรรค์ค์และแก้ปัญหา


จากหนังสือ ธรรมลีลา ปีที่ 6 ฉบับ 66 พฤษภาคม 2549
โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) วัดญาณเวศกวัน


คัดลอกจาก...

http://www.kanlayanatam.com/sara/sara76.htm

สาธุ สาธุ สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 29 พ.ย.2007, 4:40 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ...สาธุ...สาธุ โมทนาด้วยค่ะคุณลูกโป่ง สาธุ

"ถ้าเราไม่ทำเหตุปัจจัยของความเจริญ
เราจะเจริญงอกงามได้ยาก
สิ่งที่เอามานั้นเป็นเหมือนของยืม
หรือเป็นของที่ถูกหลอกถูกล่อให้เอามาใช้หลอกตัวเองเท่านั้น
ถ้าอย่างนี้ก็ไม่ยั่งยืน
อันนี้เป็นเรื่องที่ต้องมาวิเคราะห์ตรวจสอบตัวเองกันบ้าง
ตามหลักพุทธศาสนา สังคมพุทธต้องเป็นสังคมแห่งปัญญา
เมื่อจะมีศรัทธาก็ต้องมีเราเป็นศรัทธาในพระพุทธศาสนาที่แท้หรือไม่"


ความประมาทเป็นเหตุแห่งความเสื่อม...โดยแท้
สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
I am
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ต.ค. 2006
ตอบ: 972

ตอบตอบเมื่อ: 30 พ.ย.2007, 8:04 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

"ศรัทธาที่จะถูกต้องก็คือ ต้องมีปัญญา
เรามีปัญญาประกอบหรือไม่"

สาธุจ้า... สาธุ ยิ้มเห็นฟัน
 

_________________
ทุกข์ใดดับได้ด้วยปัญญา ทุกข์นั้นจะไม่เกิดอีก
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง