Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ธรรมะใส่กระปุก (ท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 16 พ.ค.2007, 5:37 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

อย่าเลี้ยงความไม่สบายใจ

คำว่า "ไม่สบายใจ" อย่าใช้ และอย่าให้มีขึ้นในใจต่อไป
"Let it go and get it out !"
ก่อนมันจะเกิดต้อง "Let it go"
ปล่อยให้มันผ่านไป อย่ารับเอาความไม่สบายใจไว้

ถ้าเผลอไปมันแอบเข้ามาอยู่ในใจได้
พอมีสติรู้สึกตัวว่า ความไม่สบายใจเข้ามาแอบอยู่ในใจ
ต้อง Get it out ! ขับมันออกไปทันที
อย่าเลี้ยงเอาความไม่สบายใจไว้ในใจ มันจะเคยตัว
ทีหลังจะเป็นคนอ่อนแอออดแอด

อะไรผิดพลาดนิดๆ หน่อยๆ ก็ไม่สบายใจ เคยตัว
เพราะความไม่สบายใจนี้แหละ เป็นศัตรู เป็นมาร
ทำให้ใจไม่สงบ ประสาทสมองไม่ปกติ
เป็นเหตุให้ร่างกายผิดปกติ พลอยไม่สงบไม่สบายไปด้วย
ทำให้สมองทึบไม่ปลอดโปร่งแจ่มใส เป็น habit ความเคยชินที่ไม่ดี
เป็นอุปสรรคกีดกั้นขัดขวางสติปัญญาไม่ให้ปลอดโปร่งแจ่มใส

ต้องฝึกหัดแก้ไขปรับปรุงจิตใจเสียใหม่
ทั้งก่อนที่จะทำอะไรหรือกำลังกระทำอยู่
และเมื่อเวลากระทำเสร็จแล้ว ต้องหัดให้จิตใจแช่มชื่นรื่นเริง
เกิดปีติปราโมทย์ เป็นสุขสบายอยู่เสมอ
เป็นเหตุให้เกิดกำลังกาย กำลังใจ
"Enjoy living" มีชีวิตอยู่ด้วยความเบิกบาน
จะศึกษาเล่าเรียนก็เข้าใจง่าย
เหมือนดอกไม้ที่แย้มบานต้องรับหยาดน้ำค้าง
และอากาศอันบริสุทธิ์ฉะนั้น


สาธุ สาธุ สาธุ
 


แก้ไขล่าสุดโดย ลูกโป่ง เมื่อ 17 พ.ค.2007, 9:51 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 17 พ.ค.2007, 9:51 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คนเราเมื่อมีลาภก็เสื่อมลาภ เมื่อมียศก็เสื่อมยศ
เมื่อมีสุขก็มีทุกข์ เมื่อมีสรรเสริญก็มีนินทา
เป็นของคู่กันมาเช่นนี้ จะไปถืออะไรกับปากมนุษย์
ถึงจะดีแสนดีก็มีที่ติ ถึงจะชั่วแสนชั่วมันก็ชม
นับประสาอะไร พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐเลิศดีกว่ามนุษย์และเทวดา
ยังมีมารผจญ ยังมีคนนินทาติเตียน
ปุถุชนอย่างเราจะหลุดพ้นจากโลกะธรรมดังกล่าวแล้วไม่ได้
ต้องคิดเสียว่าเขาจะติก็ช่าง จะชมก็ช่าง
เราไม่ได้ทำอะไรให้เขาเดือดเนื้อร้อนใจ
ก่อนที่เราจะทำอะไรเราคิดแล้วว่า
ไม่เดือดร้อนแก่ตัวเราแลคนอื่น เราจึงทำ
เขาจะนินทาว่าร้ายอย่างไรก็ช่างเขา บุญเราทำกรรมเราไม่สร้าง
พยายามสงบกาย สงบวาจา สงบใจ จะต้องไปกังวลกลัวใครติเตียนทำไม
ไม่เห็นมีประโยชน์ เปลืองความคิดเปล่าๆ



ท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต
วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเพฯ


สาธุ สาธุ สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 17 พ.ค.2007, 9:54 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เห็นเสือหมอบ...อย่าเชื่อ...ว่าเสือไหว้
เผลอเมื่อไหร่...เสือกิน...สิ้นทั้งขน
เป็นคนต้อง...เกรงเยงยำ...น้ำใจคน
เขาถ่อมตน...อย่าเหมา...ว่าเขากลัว

เขาไม่สู้...อย่าเหมา...ว่าเขาแพ้
คชสีห์แท้...หรือจะสู้...หมูชั่ว
วางตนสม...คมประจักษ์...ในฝักตัว
ชาติชนชั่ว...ลบหลู่...อย่าสู้มัน

เมื่อน้ำไหว...ไหลเชี่ยว...เป็นเกลียวกล้า
เอานาวา...ขวางไว้...ภัยมหันต์
เรื่องของคน...ปนยุ่ง...นังนุงครัน
ต้องปล่อยมัน...เป็นไป...ใจสบาย

อวดฉลาด...พูดออก...บอกว่าโง่
ฟังเขาโอ้...อวดอ้าง...อย่างขวางเขา
ขัดคอเขา...เขาโกรธ...พิโรธเรา
เป็นเรื่องเร่า...ร้อนใจ...ไม่เป็นการ

ใครมีปาก...อยากพูด...ก็พูดไป
เรื่องอะไร...ก็ช่าง...อย่าฟังขาน
เราอย่าต่อ...ก่อก้าว...ให้ร้าวราว
ความรำคาญ...ก็จะหาย...สบายใจ



โอวาทท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต (ธมฺมวิตกฺโกภิกฺขุ)
วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพฯ


สาธุ สาธุ สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 18 พ.ค.2007, 5:05 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อานุภาพของไตรสิกขา

ด้วยอานุภาพของไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ และ ปัญญา นี้แล
พีงชนะข้าศึก คือ กิเลสอย่างหยาบ อย่างกลาง และอย่างละเอียดได้

1. ชนะความหยาบคาย ซึ่งเป็นกิเลสอย่างหยาบที่ล่วงทางกายวาจาได้ด้วย ศีล
ชนะความยินดี ยินร้าย หลงรัก หลงชัง ซึ่งเป็๋นกิเลสอย่างกลางที่เกิดขึ้นในใจได้ด้วย สมาธิ
และชนะความเข้าใจผิด รู้ผิด เห็นผิดจากความเป็นจริงของสังขาร
ซึ่งเป็นกิเลสอย่างละเอียด ชนะได้ด้วย ปัญญา

2. ผู้ใดศึกษาและปฎิบัติตามไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา นี้
โดยพร้อมมูลบริบูรณ์สมบูรณ์ด้วย
ผู้นั้นจึงเป็นผู้พ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้เป็นแน่นอน ไม่ต้องสงสัยเลย
เพราะฉะนั้น จึงควรสนใจ เอาใจใส่ ตั้งใจศึกษาและปฎิบัติตามไตรสิกขา
คือ ศีล สมาธิ ปัญญา นี้ทุกเมื่อเทอญ



ท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต (ธมฺมวิตกฺโกภิกฺขุ)
วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพฯ


สาธุ สาธุ สาธุ
 


แก้ไขล่าสุดโดย ลูกโป่ง เมื่อ 18 พ.ค.2007, 5:51 pm, ทั้งหมด 5 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 18 พ.ค.2007, 5:12 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คำสอนเรื่องปฎิบัติบูชา
ท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต

พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า “ปฏิบัติบูชาเป็นบูชาอย่างเลิศสูงสุด”
คือปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระองค์ เป็นการบูชาอย่างถูกพระทัย
และเป็นการสนองพระคุณพระพุทธเจ้าอย่างสูงสุด


คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่เป็นหลักหัวใจสำคัญที่สุด
ก็คือ ทางกาย วาจา ใจ ทิฏฐิ ความเห็นด้วยปัญญา

1. ศีล
คือ การฝึกกาย วาจา ให้สุภาพ อ่อนโยน
นิ่มนวล ละมุนละไม ไม่มีเวร ไม่มีภัยกับใครๆ
เป็นเหตุให้ผู้ประสบพบเห็นเกิดความรัก ความเอ็นดู
ความเมตตา กรุณาปรานี และเกรงใจ
ศีลเป็นเสน่ห์สำคัญ ให้เกิดความรัก ความเอ็นดู กรุณาปรานี
ช่วยอนุเคราห์-สงเคราะห์ ให้สำเร็จกิจที่ประสงค์ได้อย่างนี้

2. สมาธิ
คือ การฝึกหัดใจให้อ่อนโยน สุภาพ นิ่มนวล ละมุนละไม
ไม่อยู่ใต้อำนาจของความอาฆาต พยาบาท โลภ อิจฉาริษยา
ความลุ่มหลงมัวเมา ความหดหู่ ซบเซามึนซึม ท้อแท้อ่อนแอ
เกียจคร้าน สะดุ้งหวาดกลัว ตื่นเต้น ประหม่า ฟุ้งซ่านรำคาญใจ
และความสงสัยลังเลเงอะๆ งะๆ ไม่แน่ใจเหล่านี้
เมื่อจิตมีอำนาจอยู่เหนืออารมณ์ฝ่ายต่ำที่กล่าวมานี้แล้ว
เป็นเหตุให้จิตใจสดชื่น แจ่มใส ปลอดโปร่ง เข้มแข็ง กล้าหาญเด็ดขาด
เป็นเหตุให้เกิดอำนาจทางจิต
เป็นเสน่ห์ที่จะดึงดูดใจผู้ที่ได้ประสบพบเห็น
ให้เกิดความรัก ความเมตตาเอ็นดู กรุณาปรานี และเกรงใจ
ช่วยสงเคราะห์-อนุเคราะห์ เป็นเหตุให้ประสบความสำเร็จกิจที่มุ่งหมาย

3. ปัญญา
คือ การพิจารณาให้เห็นคนทุกชั้นเป็นเพื่อนทุกข์ เกิด-แก่-เจ็บ-ตาย
รักสุขเกลียดทุกข์ ร่วมสุขร่วมทุกข์ หัวอกอันเดียวกันทั้งนั้น
เป็นเหตุให้เกิดความรักความเอ็นดู ความเมตตา กรุณาปรานี
ซึ่งจะแสดงออกมาทางจิตใจ และกาย วาจา
เป็นเหตุให้ผู้ประสบพบเห็นทุกชั้นวรรณะที่่เกี่ยวข้องติดต่อในสังคม
เกิดความรัก ความเอ็นดู ความเมตตา กรุณาปรานี
ยินดีช่วยสงเคราะห์ให้สำเร็จกิจที่สมประสงค์


ที่มา...หนังสือ เรียนธรรมะ บูชาพระสุปฏิปันโน


สาธุ สาธุ สาธุ
 


แก้ไขล่าสุดโดย ลูกโป่ง เมื่อ 18 พ.ค.2007, 5:51 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 18 พ.ค.2007, 5:21 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

แนวทางปรับปรุงนิสัยตัวเอง

นิสัยของคนเรานั้น อาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้แม้ยากสักหน่อย
คุณสมบัติและนิสัย ที่ควรพูดควรคิดอยู่เสมอนั้นคือ

๑. เราต้องทำใจให้สงบ ไม่ว่าในเวลามีเหตุการณ์ใดๆ
เราจะมีความไว้ใจในตัวเราเองเสมอ

๒. เราต้องข่มความหวาดกลัว
ความตื่นเต้นและความรู้สึกที่เป็นภัยแก่ตัว

๓. เราต้องทำดวงจิตของเราให้ผ่องใสไม่ขุ่นมัว
และเป็นนายตัวเราเองไม่ว่าต่อหน้า ใคร

๔. เราต้องปลูกนิสัยของเราให้ขึ้นสู่ชั้นสูงสุด
เท่าเทียมคนอื่นๆ ที่เขามีนิสัยดีที่สุด

๕. เราต้องทำสิ่งซึ่งถึงเวลาจะต้องทำ
แม้มีสิ่งใดๆ มาขัดขวางก็จะต้องทำให้จงได้

๖. เราจะบังคับตัวและบังคับใจของเรา
ไม่ยอมให้เป็นไปในทางที่จะทำให้เราเดินออกไปนอกทางที่เรามุ่งหมาย
และนอกหลักธรรมในใจเรา

๗. เราต้องพินิจพิเคราะห์ โดยถี่ถ้วน ก่อนที่จะปลงใจยอม
ตามความคิดความเห็น อย่างใด อย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นแก่เรา
หรือที่มีใครบอกเราหรือที่เราได้อ่านจากหนังสือ

๘. เราต้องมีความมานะ มีจิตตานุภาพ
ที่สามารถ บังคับบุคคลหรือเหตุการณ์ ทั้งหลายได้



ท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต (ธมฺมวิตกฺโกภิกขุ)
วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพฯ


ตามรอยธรรม เรียบเรียง


สาธุ สาธุ สาธุ
 


แก้ไขล่าสุดโดย ลูกโป่ง เมื่อ 18 พ.ค.2007, 5:52 pm, ทั้งหมด 3 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 18 พ.ค.2007, 5:30 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ทำดี ดีกว่าขอพร

"จงเลือกทำแต่กรรมที่ดีๆ นะ !"
เตือนให้เตรียมตัวไว้ดำเนินชีวิตต่อไป
เป็นคำแทนคำอวยพรอย่างสูงสุดประกอบด้วยเหตุผล
เมื่อทำกรรมดีแล้วไม่ให้พรก็ต้องดี
เมื่อทำกรรมชั่วแล้วจะมาเสกสรรปั้นแต่ง
อวยพรอย่างไรก็ดีไม่ได้

ทำชั่วเหมือนโยนหินลงน้ำ หินจะต้องจมน้ำทันที
ไม่มีผู้วิเศษใดๆ จะมาเสกเป่าอวยพร
อ้อนวอนขอร้องให้หินลอยน้ำขึ้นมาได้
ทำกรรมชั่วจะต้องล่มจมป่นปี้
เสียราศีเกียรติคุณชื่อเสียง
เหมือนก้อนหินหนักจมลงไปอยู่กับโคลนใต้น้ำ

ทำดีเหมือนน้ำมัน..เบา..เมื่อเทลงน้ำ
ย่อมลอยเป็นประกายมันปลาบอยู่เหนือน้ำ
ทำกรรมดีย่อมมีสง่าราศี มีเกียรติคุณชื่อเสียง
มีแต่คนเคารพนับถือยกย่องบูชาเฟื่องฟู
ลอยน้ำเหมือนน้ำมันลอยน้ำ
ถึงจะมีศัตรูหมู่ร้ายจงใจเกลียดชังมุ่งร้าย
อิจฉาริษยาด่าแช่งให้จม
ก็ไม่สามารถจะเป็นไปได้ กลับจะแพ้เป็นภัยแก่ตัวเอง

ขอให้จงตั้งใจกล้าหาญ พยายามทำแต่กรรมดีๆ
โดยไม่เกรงกลัวหวั่นไหวต่ออุปสรรคใดๆ ทั้งสิ้น
ผู้ที่มีความเลื่อมใสในคุณพระรัตนตรัย
ผู้ที่มีความสุข และผู้ที่มีความเจริญ
ประสงค์ใดสำเร็จสมประสงค์
ก็คือผู้ประกอบกรรมทำแต่ความดีอย่างเดียวนั่นเอง



ท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต (ธมฺมวิตกฺโกภิกขุ)
วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพฯ


สาธุ สาธุ สาธุ
 


แก้ไขล่าสุดโดย ลูกโป่ง เมื่อ 18 พ.ค.2007, 5:50 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 18 พ.ค.2007, 5:44 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

"PERSONAL MAGNET"

เรื่องที่มีคนเมตตากรุณา เห็นอกเห็นใจนั้น
เป็นเพราะ คุณธรรมความดีของตนเอง หลายประการด้วยกัน
เป็นต้นว่า วิริยะ อุตสาหะ บากบั่น เข้มแข็ง แรงกล้า
และจิตใจเมตตากรุณา ไม่เย่อหยิ่งจองหอง
เป็นเหตุให้ผู้ที่แวดล้อมอยู่ เกิดความเมตตากรุณา
รักใคร่เห็นอกเห็นใจ คิดที่จะช่วยเหลือคน
ซึ่งมี กิริยา มารยาทอ่อนโยน สุภาพนิ่มนวล
ย่อมเป็นที่เสน่หารักใคร่ของคนที่ได้พบเห็นและพยายามที่จะช่วยเหลือ
นี่เป็น Personal Magnet คือ เสน่ห์ในตัวของตัวเอง
เพราะฉะนั้น จงพยายามรักษาคุณสมบัติดังกล่าวนี้ไว้
จะเป็นเครื่องช่วยตัวเองให้บรรลุความสำเร็จสมประสงค์ทุกประการ
ทุกกาลเวลา ทั้งปัจจุบันและอนาคต



ท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต (ธมฺมวิตกฺโกภิกขุ)
วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพฯ


สาธุ สาธุ สาธุ
 


แก้ไขล่าสุดโดย ลูกโป่ง เมื่อ 18 พ.ค.2007, 5:49 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 18 พ.ค.2007, 5:48 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เมตตา

อย่ากลัว จงรักษาตัวให้บริสุทธิ์ ไม่มีอะไรทำอันตรายได้
เจ้าจงจำไว้ว่า ถ้าปรารถนาความเมตตาและความเห็นอกเห็นใจจากผู้อื่น
ก็ควรส่งกระแสใจที่ประกอบด้วยความเมตตาและความเห็นอกเห็นใจ ไปยังท่านเหล่านั้น
แล้วก็จะได้รับความเมตตาและความเห็นอกเห็นใจจากท่านเหล่านั้น
เช่นเดียวกัน นี่เป็นกฏของจิตตานุภาพแล้วความสำเร็จทั้งหลายที่ปรารถนา
ก็จะบังเกิดแต่ตนสมประสงค์ทุกประเด็นแน่นอนไม่ต้องสงสัยเลย



ท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต (ธมฺมวิตกฺโกภิกขุ)
วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพฯ


สาธุ สาธุ สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 21 พ.ค.2007, 2:19 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผิดหนึ่งพึงจดไว้ในสมอง
เร่งระวังผิดสองภายหน้า
สามผิดเร่งคิดตรองจงหนักเพื่อนเอย
ถึงสี่อีกที่ห้าหกซ้ำอภัยไฉน



คัดลอกจาก...หนังสืออนุสรณ์ ธมฺมวิตกฺโกภิกฺขุ
พระยานรรัตนราชมานิต (ตรึก จินตยานนท์)


สาธุ สาธุ สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 21 พ.ค.2007, 2:29 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อย่าทำผิดซ้ำซาก

จงระลึกถึงคติพจน์ว่า.....

“do no wrong is do nothing”
ทำอะไรไม่ผิดเลย ก็คือไม่ทำอะไรเลย


ความผิดนี้แหละเป็นครูอย่างดี
ควรจะรู้สึกบุญคุณของตัวเอง ที่ทำอะไรผิดพลาด
และควรสบายใจที่ได้พบกับอาจารย์ผู้วิเศษ คือ ความผิด
จะได้ตรงกับคำว่า “เจ็บแล้วต้องจำ”
ตัวทำเอง ผิดเอง นี้แหละ เป็นอาจารย์ผู้วิเศษ
เป็น “good example” ตัวอย่างที่ดี
เพื่อจะได้จดจำไว้สังวรระวังไม่ให้ทำผิดต่อไป
แล้วตั้งต้นใหม่ด้วยความไม่เลินเล่อ เผลอประมาท
อดีตที่ผิดไปแล้วก็ผ่านล่วงเลยไปแล้ว แต่อาจารย์ผู้วิเศษยังอยู่
คอยกระซิบเตือนใจอยู่เสมอทุกขณะว่า

“ระวัง อย่าประมาทนะ อย่าให้ผิดพลาดเช่นนั้นอีกนะ”


“ผิดหนึ่งพึงจดไว้ ในสมอง เร่งระวังผิดสอง ภายหน้า
สามผิดเร่งคิดตรอง จงหนัก เพื่อนเอย ถึงสี่อีกทีห้า หกซ้ำ อภัยไฉน”


จงสังเกตพิจารณาดูให้ดีเถิด จะเห็นได้ว่า
นักค้นคว้าวิทยาศาสตร์ทางโลกก็ดี
และท่านผู้วิเศษที่เป็นศาสดาจารย์ในทางธรรมทั้งหลายก็ดี
ล้วนแต่ผ่านพ้นอุปสรรคความผิดพลาด



ท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต (ธมฺมวิตกฺโกภิกขุ)
วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพฯ


สาธุ สาธุ สาธุ
 


แก้ไขล่าสุดโดย ลูกโป่ง เมื่อ 21 พ.ค.2007, 3:59 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 21 พ.ค.2007, 3:53 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ธรรมดาชีวิตทุกชีวิตทั้งมนุษย์และสัตว์
ตลอดทั้งพืชพันธ์พฤกษาชาติ เป็นอยู่ได้ด้วยการต่อสู้

ตรงกับคำว่า
ชีวิตคือการต่อสู้ เมื่อต่อสู้ไม่ไหวขณะใด
ก็ต้องถึงที่สุดแห่งชีวิตคือ ความตาย



ท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต (ธมฺมวิตกฺโกภิกขุ)
วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพฯ


สาธุ สาธุ สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 21 พ.ค.2007, 3:57 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

จงหมั่นเจริญสติ

ที่จะทำอะไรไม่ผิดนั้น ข้อสำคัญอยู่ที่สติ
ถ้ามีสติคุ้มครองกาย วาจา ใจ อยู่ทุกขณะ
จะทำอะไรก็ไม่ผิดพลาดเลย
ที่ผิดพลาดเพราะขาดสติคือ เผลอ เหม่อ
เลินเล่อ ประมาท ระเริง หลงลืม จึงผิดพลาด

จงนึกถึงคติพจน์ว่า
“กุมสติต่างโล่ป้อง อาจแกล้วกลางสนาม”


ธรรมดาชีวิตทุกชีวิตทั้งมนุษย์และสัตว์
ตลอดทั้งพืชพันธุ์พฤกษาชาติ เป็นอยู่ไปด้วยการต่อสู้
ตรงกับคำว่า “Life is fighting-ชีวิตคือการต่อสู้”
เมื่อต่อสู้ไม่ไหวขณะใด ก็ต้องถึงที่สุดแห่งชีวิต คือ “Death-ความตาย”
เพราะฉะนั้น ยังมีสติอยู่ตราบใด ถึงตายก็ตายแต่กาย
เช่น กับพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์
ท่านมีสติไพบูลย์ทุกขณะจิต ท่านจึงทำอะไรไม่ผิด และถึงซึ่งอมตธรรม
คือ ธรรมที่ไม่ตาย ตรงกับคำว่า “immortal” จึงเรียกว่า ปรินิพพาน
คือ นาม รูป สังขาร ร่างกาย ที่เรียกว่า เบญจขันธ์
ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แตกดับไปเท่านั้น
เพราะฉะนั้น ความฝึกฝนสติสัมปชัญญะ
เมื่อทำเสร็จแล้วก็มีสติตรวจตรา
พิจารณาดูว่า บกพร่องอย่างไร หรือเรียบร้อยบริบูรณ์ดี
ถ้าบกพร่องก็รีบแก้ไขเพื่อให้สมบูรณ์ต่อไป
ถ้าเรียบร้อยดีอยู่แล้วก็พยายามให้เรียบร้อยดียิ่งๆ ขึ้นไปจนถึงที่สุด


ท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต (ธมฺมวิตกฺโกภิกขุ)
วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพฯ


สาธุ สาธุ สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 26 พ.ย.2007, 1:13 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

จงเอาอย่างดอกมะลิ

ดอกมะลิเป็นดอกไม้ที่ถูกรับรองแล้วว่า
เป็นดอกไม้ที่หอมเย็นชื่นใจที่สุด และขาวบริสุทธิ์ที่สุดในบรรดาดอกไม้ทั้งหลาย ชีวิตของมนุษย์ที่เป็นอยู่ก็เช่นเดียวกับการเล่นละคร
ขอให้เป็นตัวเอกที่มีชื่อเสียงที่สุด เช่นเดียว หรือลักษณะเดียว กับดอกมะลิ
อย่างเป็นตัวผู้ร้ายที่เลวที่สุด
และให้เห็นว่า ดอกมะลินี้จะบานเต็มที่เพียง ๒-๓ วัน ก็จะเหี่ยวเฉาไป
ฉะนั้น ขอให้ทำตัวเราให้ดีที่สุดเมื่อยังมีชีวิตอยู่ ให้หอมที่สุดเหมือนดอกมะ
ลิที่เริ่มแย้มบานฉะนั้น


ท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต (ธมฺมวิตกฺโกภิกขุ)
วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพฯ


สาธุ สาธุ สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 26 พ.ย.2007, 1:19 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

จงเข้าถึงสุขอันยิ่ง

พระพุทธเจ้าสอนว่า
"นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ
สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี"


หมายความว่า ความสุขอื่นมีเช่นกับความสุขในการดูละคร ดูหนัง
ความสุขในการเข้าสังคม (Social) ในการมีคู่รักคู่ครอง หรือในการมีลาภยศ
การได้รับความสุข สรรเสริญ และได้รับความสุขจากสิ่งเหล่านี้ก็สุขจริง
แต่ว่าสุขเหล่านี้มีทุกข์ซ้อน อยู่ทุกอย่าง ต้องคอยแก้ไขปรับปรุงกันอยู่เสมอ ไม่เหมือนกับความสุขที่เกิดจากสันติ ความสงบ เป็นความสุขที่เยือกเย็น และไม่ซับซ้อนด้วยความทุกข์ และไม่ต้องแก้ไขปรับปรุงตกแต่งมาก
เป็นความสุขที่ทำได้ง่ายๆ เกิดกับกายใจ ของเรานี่เอง
อยู่ในที่เงียบๆ คนเดียวก็ทำได้ หรืออยู่ในสิ่งแวดล้อมสังคมก็ทำได้
ถ้ารารู้จักแยกใจหาสันติสุข กายนี้ก็เพียงสักแต่ว่าอยู่ในที่ระคนด้วยความยุ่ง สิ่งแวดล้อมเหล่านั้นไม่ยุ่งมาถึงใจ แม้เวลาเจ็บหนักมีทุกขเวทนา ปวดร้าวไปทั่วกาย แต่เรารู้จักทำใจให้เป็นสันติสุขได้
ความเจ็บนั้นก็ไม่สามารถจะทำให้ใจเดือดร้อนตามไปด้วย
เมื่อใจสงบแล้ว กลับจะทำให้กายนั้นสงบ หายทุกขเวทนาได้ด้วย และประสบสันติสุขอื่นยิ่งกว่าสันติสุขนั้น


พระพุทธเจ้าสอนให้ฝึกเป็น ๓ ทาง คือ

๑. สอนให้สงบกาย วาจา ด้วยศีล
ไม่ทำโทษทุจริตอย่างหยาบที่เกิดทางกาย วาจา
เป็นเหตุให้เกิดสันติสุขทางกาย วาจา เป็นประการต้น


๒. สอนให้ฝึกหัดให้เกิดสันติสุขทางใจด้วยสมาธิ
หัดใจไม่ให้คิดถึงความกำหนัด ความโกรธ ความโลภ ความหลง
ความกลัว ความฟ้งซ่านรำคาญ ความลังเลใจ
ทำให้ใจไม่เด็ดเดี่ยว ไม่เด็ดขาดเมื่อละสิ่งเหล่านี้ได้ เป็นเหตุให้ใจสงบ เป็นสันติสุขทางจิตใจอีกประการหนึ่ง


๓. ทรงสอนให้ฝึกหัดให้เกิดสันติสุขทางทิฏฐิ (ความเห็น) ด้วยปัญญา พิจารณาให้เห็นว่าสรรพสิ่งทั้งหลายไม่แน่นอน เป็น "อนิจจัง" ไม่เที่ยง คงทนอยู่ไม่ได้ ต้องเสื่อมสิ้น แปรปรวนไป ดับไป เรียกว่าเป็น "ทุกข์""
ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา อ้อนวอนขอร้อง
หรือเร่งรัดให้เป็นไปตามความประสงค์ ท่านเรียกว่า "อนัตตา""

เมื่อเรารู้เห็นตามเป็นจริงเช่นนี้ จะทำให้จิตใจของเราเข้มแข็งมั่นคงเด็ดเดี่ยว ไม่หวั่นไหวไปตามเหตุการณ์ทั้งหลาย เพราะรู้เห็นตามเป็นจริงด้วยปัญญาว่า สิ่งเหล่านั้นมันไม่แน่นอน มันคงอยู่ไม่ได้ ต้องเปลี่ยนแปลงเสื่อมสิ้นดับไป ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาฝ่าฝืนของเรา
อย่าไปเร่งรัดให้เสียกำลังใจ คงรักษาใจเราให้เป็นอิสระมั่นคงอยู่เสมอ ไม่หวั่นไหวไปตามเหตุการณ์เหล่านั้น เป็นเหตุให้ใจตั้งอยู่ในสันติสุข เป็นอิสระ
เกิดอำนาจทางจิต -Mind Power
ที่จะให้ทำกิจกรณียะอันเป็นห้าที่ของตนได้สำเร็จสมประสงค์


สาธุ สาธุ สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 26 พ.ย.2007, 1:44 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คัดลอกจาก...

http://www.phuttawong.net/index.aspx?ContentID=ContentID-051228172801232

http://www.polyboon.com/worship/dhumma02_0812.html

http://www.boonluen.com/tamma/nor/nor.htm

http://www.geocities.com/clcseacon/monkseven.html

สาธุ สาธุ สาธุ
 


แก้ไขล่าสุดโดย ลูกโป่ง เมื่อ 26 พ.ย.2007, 2:47 pm, ทั้งหมด 4 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 26 พ.ย.2007, 1:57 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

...คราวหนึ่งมีนักเรียนแพทย์ที่จบจากศิริราช
จะออกไปเป็นแพทย์ฝึกหัดตามโรงพยาบาลต่าง ๆ ได้มาขอโอวาทจากท่านขอให้ท่านกรุณาให้โอวาทด้วย
เพราะจะออกไปปฏิบัติหน้าที่แล้ว
ท่านธมมวิตกโกได้ให้โอวาทว่า
ถ้าจะมาขอโอวาท ก็จะเตือนให้ระวังระเบิดสามลูก มีชื่อ ราคะ โทสะ และโมหะ ระเบิดสามลูกนี้ร้ายกาจมาก เป็นรากเหง้าของความชั่วร้าย
เรื่องโทสะเห็นจะไม่มีใครชอบ เพราะเป็นของร้อนและเห็นได้ง่ายว่าเป็นทุกข์ แต่ราคะและโมหะให้ระวังให้มาก เพราะมาในรูปของไฟเย็นให้ความสุขได้มองไม่ค่อยเห็นความทุกข์ และราคะนั้นเมื่อมีโมหะเข้าช่วยจะไปกันใหญ่ เพราะจะพากันหลงรักหลงชัง เมื่อท่านให้โอวาทจบได้ถามแพทย์ผู้หนึ่งว่าจะไปอยู่ไหน นายแพทย์ผู้นั้นตอบว่าไปอยู่โรงพยาบาลเชียงใหม่ ท่านธมมวิตกโกบอกว่าคุณต้องระวังให้มากนะ เพราะจะเดือดร้อนจากระเบิดสามลูกนี้โดยเฉพาะลูกที่ชื่อราคะ...


สาธุ สาธุ สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 26 พ.ย.2007, 1:59 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

...ในวันวิสาขบูชาวันหนึ่ง หลังจากเวียนเทียนเสร็จ ได้มีหนุ่มสาวคู่หนึ่งเข้าไปกราบท่านธมมวิตกโกขณะที่ท่านเดินอยู่ ท่านได้หยุดและถามว่ามีเรื่องอะไรหรือ
หนุ่มสาวคู่นั้นได้เรียนท่านว่ามาขอพรให้เกิดมาพบกันอีก
ท่านได้ตอบว่า “มีแต่เขาไม่อยากจะมาเกิด นี่ทำไมอยากมาเกิดอีก อย่างอาตมาถ้าใครแช่งให้ไม่รู้จักผุดจักเกิด
อาตมาก็จะขอบใจ เอาละเมื่อมาขอพรก็จะให้
แต่จะบอกว่าคนเราไม่ได้อะไรง่าย ๆ ด้วยการร้องขอ อยากได้อะไรต้องทำถึงจะได้” เรื่องการขอพรนี้มีคนไปขอพรท่านมาก ใครอยากได้อะไรก็ไปขอ จนท่านได้เขียนโอวาทเป็นข้อสุดท้ายลงในหนังสือสันติวรบทของท่านว่า ทำดีดีกว่าขอพร ท่านบอกว่าพรเป็นเพียงกำลังใจให้คนประพฤติปฏิบัติเท่านั้น และพุทธศาสนาก็ไม่ใช่ศาสนาของการสวดอ้อนวอนร้องขออะไร พระบรมศาสดาสอนให้เชื่อในเรื่องกรรมและผลของกรรมนั้น
ฉะนั้นท่านจึงบอกว่า “ทำดีดีกว่าพร”...


สาธุ สาธุ สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 26 พ.ย.2007, 2:08 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ความทะเยอทะยาน

พระพุทธเจ้าท่านทรงสอนว่า ความทะเยอทะยาน อยากได้ใฝ่สูงจนเกินไป

ถ้าได้สมหวังก็ดี ถ้าพลาดพลั้งไม่ได้สมหวัง จะเป็นเหตุให้เกิดทุกข์อย่างมหันต์

พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ปฏิบัติอย่างสายกลาง อย่าให้ตึงนักและอย่าให้หย่อนเกินไป

เหมือนพิณ 3 สาย ถ้าตึงเกินไป...ดีดก็ขาด ถ้าหย่อนเกินไป...เสียงก็ไม่เพราะ

ต้องพอดีๆ ไม่ตึงนักและไม่หย่อนนัก

การตามใจตัวมากไป ก็ทำให้เกียจคร้าน...ย่อหย่อน...ทำงานไม่สำเร็จ

การบังคับตัว เคร่งเครียดมากเกินไป ก็เป็นการทรมานตัว

เป็นเหตุให้หักกลางคัน ไปไม่ตลอด ไม่ถึงจุดหมายปลายทาง

จงปฏิบัติให้พอเหมาะพอดีทั้งทางร่างกายและจิตใจ

ระวังรักษาสุขภาพให้สมส่วนทั้งทางกาย ทางใจ จึงจะบรรลุความสำเร็จ. . .


สาธุ สาธุ สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 26 พ.ย.2007, 2:13 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

วิธีขับอารมณ์ร้าย

อารมณ์ร้าย คือ ความกลัว ความกังวลกลุ้มใจ ความร้อนใจ
ความห่วงใย ความเกลียด ความโกรธ ความหึงหวง ความริษยา
ใจคอเหี่ยวแห้ง ความโศก ความตื่นเต้น ความเสียใจ โทมนัส
ความบ่นเพ้อรำพันด้วยเสียใจ โหยหวน โศกเศร้าคร่ำครวญ มืดมน ความเสียใจตรอมใจ

เมื่ออารมณ์ร้ายเหล่านี้เกิดขึ้นในใจ จงหายใจเข้าให้ลึกๆ สร้างมโนภาพ
สูดเอากำลังงานของชีวิต ที่มีอยู่ในสากลโลก
อำนาจ ความแข็งแรง และกำลังเข้าไป
เมื่อหายใจออกจงนึกขับอารมณ์ร้ายเหล่านี้ออกมา
และเพ่งกล่าวในใจว่า ออกไป ออกไป ออกไป พร้อมกับทำความรู้สึกว่าอารมณ์ร้ายเหล่านี้ออกไปจากใจแล้ว ปฏิบัติอย่างนี้จนกว่าอารมณ์นั้นจะจางหายไป ถ้าไม่หายอย่าเพิ่งเลิก

หรืออีกอย่างหนึ่งเพ่งดูอารมณ์ร้ายเหล่านั้นที่เกิดขึ้น แยกใจออก เหมือนกับดวงจันทร์แยกออกจากเมฆ
อารมณ์ร้ายเหล่านี้เป็นเมฆหมอกจะมาบังใจ
ตามปกติไม่ได้อยู่ที่ใจ มันจรมาเป็นครั้งคราว
เหมือนมารมาผจญหรือลองใจว่า เราจะเข้มแข็งหรือไม่
ถ้าเรามีกำลังต่อต้านพอ มันก็พ่ายแพ้ ค่อยๆ จางไปทีละน้อยๆ จนมันหลบหน้าหายไป ในทางตรงกันข้าม ถ้ากำลังใจต่อต้านไม่พอ มันก็กำเริบได้ใจ
ผจญเราล่มจมป่นปี้ไปเหมือนกัน
เพราะฉะนั้นเวลามันเกิดขึ้นให้มีสติระลึกว่า เวลานี้เจ้าอารมณ์ร้ายเหล่านี้เกิดขึ้นแก่เราแล้ว วางใจเฉยเพ่งดู ต่อต้านอย่างสงบ

นึกในใจว่า ปล่อยมันไป อย่ายึดมันไว้
สักประเดี๋ยวมันก็ค่อยๆ จางหายไป

อารมณ์ร้ายเหล่านี้อ่อนแอเหมือนเมฆในท้องฟ้า สู้กำลังที่เข้มแข็งไม่ได้
เว้นไว้แต่เราจะชอบมัน แล้วเลี้ยงมันไว้เป็นมิตรสหายสนิทกับใจ
มันก็จะทำลายใจเราทีละน้อยๆ เหมือนสนิมกัดเหล็กให้กร่อนไปทีละน้อย
เพราะฉะนั้นอย่าประมาท จงระวังให้มากที่สุด
งอย่าสมาคมกับอารมณ์เหล่านี้เป็นอันขาด

ในทางตรงกันข้าม ถ้าอารมณ์ดีมีประโยชน์
ที่ให้เกิดความกล้าหาญ บากบั่น วิริยะ อุตสาหะ เข้มแข็ง
อดทนก้าวหน้าเหล่านี้ควรรักษาไว้ และบำรุงให้เจริญวัฒนาถาวรยิ่งๆ ขึ้น เหมือนกับดวงจันทร์ที่ปราศจากเมฆหมอกฉะนั้น


สาธุ สาธุ สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง