Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 รูปเคารพทางศาสนา สำคัญอย่างไร อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 19 พ.ย.2007, 11:19 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

รูปเคารพทางศาสนา สำคัญอย่างไร
กระทู้นี้ จะแนะนำ หรือทำความเข้าใจ หรือให้ความรู้ ต่อท่านที่สนใจ และท่านที่ยังไม่รู้ ท่านที่รู้แล้ว ก็ควรได้ร่วมเสวนาเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่กว้างขวาง เป็นวิทยาทาน อันประเสริฐ เหนือกว่าการให้ทานใดใด ดังต่อไปนี้

รูปเคารพที่มีในศาสนาต่างๆนั้น นับได้ว่า เป็นความฉลาด และความเข้าใจในสภาพธรรมชาติของมนุษย์อย่างแท้จริง เพราะธรรมชาติของมนุษย์นั้น เมื่อไม่เห็นหรือไม่ได้พบสิ่งที่จากกันไปนานๆ ก็จะไม่สามารถเชื่อมโยงความจำหรือเชื่อมโยงความคิด ไปหาข้อมูลเก่าๆหรือความจำเก่าๆที่ได้รับจากสิ่งนั้นๆ
หมายความว่า ถ้าคุณเชื่อมั่นในหลักธรรมใดใด ได้เรียนรู้หลักธรรมใดใด ได้เข้าใจในหลักธรรมใดใด
แต่ด้วยความจำเป็นในการดำรงชีวิต คุณจะลืมซึ่งหลักธรรมที่ได้จากศาสดาเหล่านั้น
ดังนั้นคนในสมัยโบราณ จึงได้สร้างรูปแทนตัวศาสดา หรือจะเรียกว่ารูปเคารพ เพื่อไว้เตือนให้มนุษย์สามารถเชื่อมโยงความคิดไปสู่ความจำแห่งหลักธรรมในศาสดาเหล่านั้น เมื่อได้เห็น

ไม่ใช่มีรูปเคารพทางศาสนา หรือรูปแทนตัวศาสดา ไว้เพื่อ ขอพร ขอหวย ขอความสุข ขอฟ้า ขอฝน ฯลฯ อะไรทำนองนี้

อนึ่ง คงมีหลายท่าน มีความสงสัยว่า ทำไม ศาสนาอิสลาม จึงไม่ให้มีรูปเคารพต่างๆ แต่ศาสนาอิสลามนั้น จะมีการละหมาด ทุกวัน และการละหมาดนั่นแหละคือการกระตุ้นให้บุคคล เชื่อมโยงความคิดไปหาความจำในหลักธรรมแห่งพระอัลลอฮ์ เหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะ เกิดจากสภาพภูมิอากาศ และสภาพภูมิประเทศในดินแดนที่เกิดศาสนาอิสลาม จึงทำให้ต้องแปรเปลี่ยนจากการสร้างรูปเคารพ เป็นการละหมาด หลายๆท่านก็อย่าคิดว่า ศาสนาอิสลามมีความคิดที่ไม่เหมือนศาสนาอื่น เพราะในทางที่เป็นจริงแล้ว ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่รู้จักพลิกแพลงไปตามสถานการณ์

เมื่อกาลเวลาผ่านไป จากอดีตกาล มาถึงปัจจุบัน ความเข้าใจในเรื่องรูปเคารพ และการไม่มีรูปเคารพ กลับถูกแปรเปลี่ยน บิดเบือนจากความจริงเดิมๆ กลายเป็นความรู้ความเข้าใจที่ผิดๆ กลายเป็นการบังคับ และอื่นๆ

ดังนั้น เรื่องของรูปเคารพนั้น จึงเป็นเพียงหลักนำเอาหลักการทางธรรมชาติของระบบสรีระร่างกายของมนุษย์ มาปรุงแต่ง มาสร้างสรรค์ เพื่อให้มนุษย์ได้เกิดการเชื่อมโยงไปสู่ความจำ ในหลักธรรมคำสอน แห่งองค์ศาสดาใดใด
ถึงแม้จะมีบางศาสนา ไม่มีรูปเคารพ แต่ก็มีการประพฤติ เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงไปสู่ความจำ เป็นหลักธรรมคำสอนแห่งองค์ศาสดา ซึ่งถ้าจะกล่าวไปแล้ว ก็เป็นวิธีการทางธรรมชาติของระบบสรีระร่างกายของมนุษย์เช่นกัน แต่จะต่างกันตรงที่ บางศาสนาใช้รูปเคารพ หรือรูปแทนตัวศาสดา เป็นเครื่องกระตุ้น
บางศาสนา ใช้ตัวเองหรือร่างกายของตัวเองเป็นตัวกระตุ้น โดยตรง โดยอาศัย ความศรัทธา ตัวหนังสือซึ่งได้จำไว้ในสมองแล้ว เป็นเครื่องช่วย
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
bad&good
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 06 ส.ค. 2007
ตอบ: 115

ตอบตอบเมื่อ: 19 พ.ย.2007, 7:03 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

รูป (มีรูป มีรูป มีเทวะ)
ข้อดี เมื่อเห็นแล้ว ไม่ต้องจินตนาการ
ข้อเสีย รูปของพระพุทธเจ้า อาจไม่ได้เป็นเช่นนั้น แต่ทุกคนเมื่อเห็นคิดว่าเป็นเช่นนั้น พระพุทธเจ้าอาจมิได้มีรูปงดงามเช่นนั้นก็ได้ เพราะถูกปรับเปลี่ยนโดยคนหลายทวีป หลายประเทศ หลายยุคสมัย หลายภพชาติ
สิ่งที่ทุกคน ไม่เคยคิดที่จะมองเห็นจากรูป คือ พระพุทธเจ้า เป็นผู้รู้แจ้งต่อกิเลสได้อย่างไร
ตื่นจากกิเลสผู้สร้างความทุกข์ ได้อย่างไร
เบิกบานเมื่อพ้นทุกข์สิ้นเชิงอย่างไร

.................................................................................
อรูป (ไม่มีรูป ไม่มีรูปปั้น อเทวะ)
เมื่อไม่เห็นแล้ว กิเลสของแต่ละคน จินตนาการ ไปได้หลากหลาย ไม่มีขอบเขต เป็นอนันต์
แม้นจะกล่าว จะเรียกอย่างไร ทุกคนเมื่อศรัทธาแล้ว ก็ยอมรับ สมคำดังกล่าวนั้น
ทุกคนอย่าได้เสียใจ เพราะเดิมนั้น ศาสนาพุทธ ไม่ได้มี พระพุทธรูป ให้ระลึกถึง
เพราะเดิมนั้น ศาสนาพุทธ ต้องการให้ท่านทั้งหลาย รู้จักทำลายกิเลส ทั้งปวงได้
ให้ท่านทั้งหลาย จำความรู้ ใน พุทธธรรม มากกว่าจำ พระพุทธรูป ได้
ให้ท่านทั้งหลาย ไม่สนใจ ใน รูป และ อรูป
เพราะสิ่งเหล่านั้น คือ กิเลส ทั้งปวง

เมื่อทราบแล้ว จงปล่อยวาง ทั้ง เทวนิยม และ อเทวนิยม คือ ศาสนาพุทธ ไม่ได้ให้ยึดติดใน รูปเคารพ และ อรูปเคารพ

กิเลสในร่าง ของท่านทั้งหลาย จึงไม่มีข้อโต้แย้งต่อผู้อื่น ต่อศาสนาอื่น ในเรื่องของ เทวนิยม และอเทวนิยม
 

_________________
อริยมรรคมีองค์ 8 คือ สูตรสำเร็จแห่งการดับทุกข์
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 19 พ.ย.2007, 7:52 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คำว่ารูปเคารพนั้น มิได้มีความหมายเพียงแค่รูปปั้น หรือพระพุทธรูป หรือเทวรูป รูปเคารพนั้นยังมีอย่างอื่นอีก เช่น ไม้กางเขน กงล้อพระธรรมจักร และอื่นๆอีกมาก ยกเว้น รูปดาวและเดือนเสี้ยว ของอิสลามเท่านั้นที่ไม่ใช่รูปเคารพ

รูปเคารพ หรือรูปแทนศาสดาแห่งศาสนา ล้วนกลายเป็นศิลป อันแฝงไว้ซึ่งข้อคิด ข้ออุทาหรณ์ต่อคนรุ่นหลัง ชวนให้ศึกษาแลค้นคว้าเป็นอย่างมาก
ซึ่งหากท่านทั้งหลายได้มีเวลา หรือได้แบ่งเวลาเพื่อการศึกษาบ้างก็คงจะดีไม่น้อย
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
z
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 23 ต.ค. 2007
ตอบ: 46
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 19 พ.ย.2007, 7:54 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

....เป็น อนุสติ เชื่อมโยงใจ ให้เกิดสมาธิง่าย...เป็นฐานแห่งการปฏิบัติธรรมต่อไป...
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 19 พ.ย.2007, 11:16 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุค่ะ คุณBuddha แสดงว่าคุณเข้าใจธรรมะได้อย่างลึกซึ้งแม้เพียงรูปภาพซึ่งไม่ปรากฏอักษรอธิบายใดๆ สาธุๆ

เจริญในธรรม

มณี ปัทมะ ตารา


ผีเสื้อ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 20 พ.ย.2007, 9:12 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ดีแล้วที่คุณกล่าวคำชม
แต่คำชมนั้นคุณลองพิจารณาต่อไปเถิดว่า เมื่อคุณได้เห็นรูปเคารพทั้งหลายที่มีอยู่ในทางศาสนา คุณจะมีความคิดเยี่ยงไรต่อสิ่งเหล่านั้น ชื่นชมในพุทธศิลป์ แห่งรูปเหล่านั้น หรือชื่นชมในความงามแห่งรูปเคารพทั้งหลายเหล่านั้น
หรือคุณจะชื่นชมกับธรรมะที่มีอยู่ในตัวคุณอยู่แล้ว
ลองพิจารณา,,,,,,
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
bad&good
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 06 ส.ค. 2007
ตอบ: 115

ตอบตอบเมื่อ: 20 พ.ย.2007, 11:00 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

นี้แล คือ บททดสอบ กิเลส อันว่า
สรรเสริญ
เสื่อมสรรเสริญ
ผู้ใดเล่า ติดอยู่ สองสิ่งนี้
.................................................
หากเป็นเพียงความรู้สึก ดังเช่น ท่าน Z
นั้นข้าพเจ้าเห็นด้วย เพื่อให้จิต มีเครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตใจ (ชั่วคราว แล้วปล่อยวาง)
..................................................
การติดอยู่กับ รูปเคารพ ด้วยว่าเป็นศิลปะ ด้วยว่าสิ่งอื่นที่ทำให้กิเลส ผุดขึ้น
ถ้าตั้งใจพิจารณา ต่อเรื่องดังกล่าว หากจิตยึดติดกับกิเลสอย่างลุ่มลึก ลุ่มหลง (โมหะ)
ผู้ใดเล่า ยังติดอยู่กับ สังโยชน์10 ในเรื่องของ
กามราคะ
รูปราคะ
อรูปราคะ
ตามความหมายของพระพุทธทาส

หาอ่านได้ที่
http://www.buddhadasa.com/dhamanukom/166sungyot1.html
..................................................
เราทั้งหลาย คงไม่หลงต่อความสรรเสริญ และนินทา เพียงน้อยนิด
กิเลสอันน้อยนิด ก็คงไม่ติดอยู่กับจิต ผู้ใด
 

_________________
อริยมรรคมีองค์ 8 คือ สูตรสำเร็จแห่งการดับทุกข์
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
bad&good
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 06 ส.ค. 2007
ตอบ: 115

ตอบตอบเมื่อ: 20 พ.ย.2007, 12:09 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

แม้นเรื่อง รูปเคารพ นี้

ก็จัดอยู่ในกิเลส ที่ผุดขึ้นในเรื่อง 4คู่8ข้อของท่านBuddha เอง ดังนี้
1. การให้ทาน 2. การครองเรือน
3. การกตัญญู 4. การเจรจา
5. อาชีพต่างๆ (สรรพอาชีพ) 6.การประพฤติ (การปฏิบัติ หรือพฤติกรรม)
7. การคิด 8. การระลึกถึง(หมายถึงการนึกถึงประสบการณ์ต่างๆ


เรื่องทุกสิ่ง ไม่มีวันพ้นไปจาก 4คู่8ข้อ มิใช่หรือ
นำเสนอกระทู้นี้ เพื่อเหตุใด
 

_________________
อริยมรรคมีองค์ 8 คือ สูตรสำเร็จแห่งการดับทุกข์
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 20 พ.ย.2007, 1:09 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

bad&good พิมพ์ว่า:
แม้นเรื่อง รูปเคารพ นี้

ก็จัดอยู่ในกิเลส ที่ผุดขึ้นในเรื่อง 4คู่8ข้อของท่านBuddha เอง ดังนี้
1. การให้ทาน 2. การครองเรือน
3. การกตัญญู 4. การเจรจา
5. อาชีพต่างๆ (สรรพอาชีพ) 6.การประพฤติ (การปฏิบัติ หรือพฤติกรรม)
7. การคิด 8. การระลึกถึง(หมายถึงการนึกถึงประสบการณ์ต่างๆ


เรื่องทุกสิ่ง ไม่มีวันพ้นไปจาก 4คู่8ข้อ มิใช่หรือ
นำเสนอกระทู้นี้ เพื่อเหตุใด


คุณ bad&good คุณอย่าเข้าใจในหลักธรรมทั้ง 4 คู่ 8 ข้อ ผิดๆ คุณไปอ่านแล้วทำความเข้าใจให้ดี
หลักธรรม ทั้ง 4 คู่ 8 ข้อนั้น แม้จะเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดกิเลส หรือเป็นต้นตอแห่งกิเลส แต่หลักธรรมทั้ง 4 คู่ 8 ข้อ ก็เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความหลุดพ้นจากกิเลสได้เช่นกัน ไปทำความเข้าใจดีดี อย่าบิดเบือนคำสอน
และ
กิเลส หรือสิ่งที่ทำให้เกิดความหลง ความโลภ ความโกรธ นั้น หาใช่สิ่งที่ไม่ดี เพราะกิเลสนั้น ล้วนย่อมมีอยู่ในตัวของสิ่งที่มีชีวิตทุกชนิด เป็นธรรมชาติของมนุษย์อยู่แล้ว
การเขียนเรื่องรูปเคารพ หรือรูปแทนตัวศาสดาแห่งศาสนา ก็เป็นหลักธรรมและ
เป็นหลักธรรมะ ซึ่งมีอยู่ในตัวของแต่ละบุคคลอยู่แล้ว ดังที่ท่านได้กล่าวไปนั่นแหละ
หมายความว่า รูปเคารพทั้งหลายนั้น เกิดจาก การครองเรือน การรู้คุณ การให้ ประกอบไปด้วย การอาชีพที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงการได้คิด และนึกถึง ได้เจรจา แล้วจึงเกิดการประพฤติปฏิบัติ
เมื่อได้สร้างรูปเคารพเพื่อเป็นเครื่องกระตุ้นให้บุคคลผู้ศรัทธา ได้ระลึกนึกถึงหลักธรรมคำสอน กิเลสก็หมดไปในชั้นหนึ่ง
กล่าวคือ เมื่อก่อนจะสร้าง กิเลสได้เกิดขึ้น เมื่อสร้างแล้วกิเลสก็หมดไป นี้เป็นการลบล้างกิเลสในแง่บุคคลทั่วๆไป
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
bad&good
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 06 ส.ค. 2007
ตอบ: 115

ตอบตอบเมื่อ: 20 พ.ย.2007, 5:00 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

รูปเคารพ
ไม่ได้ช่วยอะไร ให้มนุษย์ลดกิเลสเลย
เพียงแค่ ข้าพเจ้า แหย่กิเลส ท่านได้
สัมมาวาจา ของท่านก็ได้เพียงเท่านี้
............................................................................
เพราะมนุษย์ผู้มีกิเลส สร้างรูปเคารพ ด้วยว่าต้องการลบล้างกิเลส
แต่แล้วก็ไม่ทราบถึง การดำรง สัมมาสังกัปโป
การดำรง สัมมาวาจา
การดำรง สัมมาสติ
การดำรง สัมมาสมาธิ
กิเลส ด้านโมหะ โทสะ จึง งอก ออกมา โดยไม่รู้เท่าทัน
...............................................................
การสร้างรูปเคารพ ไว้เต็มบ้านเต็มเมือง จึงไม่ได้ช่วยอะไร แก่มนุษย์ผู้มีกิเลส
เพราะเพี้ยน กลับคาดหวังสิ่งอื่น ทีมีเป็นกิเลส
รูปเคารพ รูปเดียวกัน กลับให้ประโยชน์ต่อผู้ที่เข้าใจในพุทธธรรม
ต่อผู้ที่รู้จักใช้ สัมมาทิฎฐิ เท่านั้น (มีความเห็นชอบ คือ มีความเข้าใจธรรมะอย่างถูกต้อง)
รู้จักใช้รูปเคารพ ได้อย่างงดงาม และทำให้จิตสงบเย็น
ประโยชน์จากรูปเคารพ แม้นรูปเล็ก ก็มีประโยชน์มหาศาล ไม่ต่างจาก รูปใหญ่มหึมา แต่อย่างไร
 

_________________
อริยมรรคมีองค์ 8 คือ สูตรสำเร็จแห่งการดับทุกข์
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 21 พ.ย.2007, 2:06 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

bad&good พิมพ์ว่า:
รูปเคารพ
ไม่ได้ช่วยอะไร ให้มนุษย์ลดกิเลสเลย
เพียงแค่ ข้าพเจ้า แหย่กิเลส ท่านได้
สัมมาวาจา ของท่านก็ได้เพียงเท่านี้
............................................................................
เพราะมนุษย์ผู้มีกิเลส สร้างรูปเคารพ ด้วยว่าต้องการลบล้างกิเลส
แต่แล้วก็ไม่ทราบถึง การดำรง สัมมาสังกัปโป
การดำรง สัมมาวาจา
การดำรง สัมมาสติ
การดำรง สัมมาสมาธิ
กิเลส ด้านโมหะ โทสะ จึง งอก ออกมา โดยไม่รู้เท่าทัน
...............................................................
การสร้างรูปเคารพ ไว้เต็มบ้านเต็มเมือง จึงไม่ได้ช่วยอะไร แก่มนุษย์ผู้มีกิเลส
เพราะเพี้ยน กลับคาดหวังสิ่งอื่น ทีมีเป็นกิเลส
รูปเคารพ รูปเดียวกัน กลับให้ประโยชน์ต่อผู้ที่เข้าใจในพุทธธรรม
ต่อผู้ที่รู้จักใช้ สัมมาทิฎฐิ เท่านั้น (มีความเห็นชอบ คือ มีความเข้าใจธรรมะอย่างถูกต้อง)
รู้จักใช้รูปเคารพ ได้อย่างงดงาม และทำให้จิตสงบเย็น
ประโยชน์จากรูปเคารพ แม้นรูปเล็ก ก็มีประโยชน์มหาศาล ไม่ต่างจาก รูปใหญ่มหึมา แต่อย่างไร


ตอบ....
ขอถามสักหน่อยว่า ข้าพเจ้าเคยสอนคุณไว้ว่า อยางไร จะทวนคำที่ข้าพเจ้าเคยสอนให้ว่า
"คุณควรได้ศึกษาหรือทำความเข้าใจกับบริบทของภาษาหรือความแวดล้อมของภาษาหรือ คำขยายความของภาษาในบทความนั้นให้ดี"
ที่คุณกล่าวมา เหมือนคนที่ดื่มสุราแล้วเข้ามาเล่นเน็ต เขาเขียนอย่าง คุณว่าไปอย่าง
เขาอธิบายให้บุคคลได้เกิดความเข้าใจในเรื่องของรูปเคารพ หรือรูปแทนตัวศาสดาฯ คุณคัดค้านว่ามั่วไปไม่รู้เรื่องรู้ราว เข้าขั้น โรคจิต

ขอถามอีกสักหลายประโยคว่า
คำว่า
สัมมาทิฎฐิ นั้น เกิดจาก อวัยวะส่วนไหนของมนุษย์ 1. มันเกิดขึ้นได้อย่างไร2.

คำว่า
สัมมาสมาธิ นั้น อย่างไรเรียกว่า สัมมาสมาธิ
สัมมาวาจา อย่างไร เรียกว่า สัมมาวาจา
สัมมาสติ อย่างไร เรียกว่า สัมมาสติ

ทั้ง 3 อันนั้น เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ได้อย่างไร
ตอบมาให้ได้นะ ถ้าตอบไม่ได้ ก็ให้ไปศึกษามาใหม่นะคุณ เลว...(มากหรือเปล่าคุณ)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
bad&good
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 06 ส.ค. 2007
ตอบ: 115

ตอบตอบเมื่อ: 21 พ.ย.2007, 6:00 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Buddha พิมพ์ว่า:
bad&good พิมพ์ว่า:
รูปเคารพ
ไม่ได้ช่วยอะไร ให้มนุษย์ลดกิเลสเลย
เพียงแค่ ข้าพเจ้า แหย่กิเลส ท่านได้
สัมมาวาจา ของท่านก็ได้เพียงเท่านี้
............................................................................
เพราะมนุษย์ผู้มีกิเลส สร้างรูปเคารพ ด้วยว่าต้องการลบล้างกิเลส
แต่แล้วก็ไม่ทราบถึง การดำรง สัมมาสังกัปโป
การดำรง สัมมาวาจา
การดำรง สัมมาสติ
การดำรง สัมมาสมาธิ
กิเลส ด้านโมหะ โทสะ จึง งอก ออกมา โดยไม่รู้เท่าทัน
...............................................................
การสร้างรูปเคารพ ไว้เต็มบ้านเต็มเมือง จึงไม่ได้ช่วยอะไร แก่มนุษย์ผู้มีกิเลส
เพราะเพี้ยน กลับคาดหวังสิ่งอื่น ทีมีเป็นกิเลส
รูปเคารพ รูปเดียวกัน กลับให้ประโยชน์ต่อผู้ที่เข้าใจในพุทธธรรม
ต่อผู้ที่รู้จักใช้ สัมมาทิฎฐิ เท่านั้น (มีความเห็นชอบ คือ มีความเข้าใจธรรมะอย่างถูกต้อง)
รู้จักใช้รูปเคารพ ได้อย่างงดงาม และทำให้จิตสงบเย็น
ประโยชน์จากรูปเคารพ แม้นรูปเล็ก ก็มีประโยชน์มหาศาล ไม่ต่างจาก รูปใหญ่มหึมา แต่อย่างไร


ตอบ....
ขอถามสักหน่อยว่า ข้าพเจ้าเคยสอนคุณไว้ว่า อยางไร จะทวนคำที่ข้าพเจ้าเคยสอนให้ว่า
"คุณควรได้ศึกษาหรือทำความเข้าใจกับบริบทของภาษาหรือความแวดล้อมของภาษาหรือ คำขยายความของภาษาในบทความนั้นให้ดี"
ที่คุณกล่าวมา เหมือนคนที่ดื่มสุราแล้วเข้ามาเล่นเน็ต เขาเขียนอย่าง คุณว่าไปอย่าง
เขาอธิบายให้บุคคลได้เกิดความเข้าใจในเรื่องของรูปเคารพ หรือรูปแทนตัวศาสดาฯ คุณคัดค้านว่ามั่วไปไม่รู้เรื่องรู้ราว เข้าขั้น โรคจิต

ขอถามอีกสักหลายประโยคว่า
คำว่า
สัมมาทิฎฐิ นั้น เกิดจาก อวัยวะส่วนไหนของมนุษย์ 1. มันเกิดขึ้นได้อย่างไร2.

คำว่า
สัมมาสมาธิ นั้น อย่างไรเรียกว่า สัมมาสมาธิ
สัมมาวาจา อย่างไร เรียกว่า สัมมาวาจา
สัมมาสติ อย่างไร เรียกว่า สัมมาสติ

ทั้ง 3 อันนั้น เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ได้อย่างไร
ตอบมาให้ได้นะ ถ้าตอบไม่ได้ ก็ให้ไปศึกษามาใหม่นะคุณ เลว...(มากหรือเปล่าคุณ)


ตัวอย่างข้างต้นนี้แล เรียกว่า ไม่ใช่ สัมมาวาจา
 

_________________
อริยมรรคมีองค์ 8 คือ สูตรสำเร็จแห่งการดับทุกข์
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 21 พ.ย.2007, 8:09 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

bad&good พิมพ์ว่า:
รูปเคารพ
ไม่ได้ช่วยอะไร ให้มนุษย์ลดกิเลสเลย
เพียงแค่ ข้าพเจ้า แหย่กิเลส ท่านได้
สัมมาวาจา ของท่านก็ได้เพียงเท่านี้
............................................................................
เพราะมนุษย์ผู้มีกิเลส สร้างรูปเคารพ ด้วยว่าต้องการลบล้างกิเลส
แต่แล้วก็ไม่ทราบถึง การดำรง สัมมาสังกัปโป
การดำรง สัมมาวาจา
การดำรง สัมมาสติ
การดำรง สัมมาสมาธิ
กิเลส ด้านโมหะ โทสะ จึง งอก ออกมา โดยไม่รู้เท่าทัน
...............................................................
การสร้างรูปเคารพ ไว้เต็มบ้านเต็มเมือง จึงไม่ได้ช่วยอะไร แก่มนุษย์ผู้มีกิเลส
เพราะเพี้ยน กลับคาดหวังสิ่งอื่น ทีมีเป็นกิเลส
รูปเคารพ รูปเดียวกัน กลับให้ประโยชน์ต่อผู้ที่เข้าใจในพุทธธรรม
ต่อผู้ที่รู้จักใช้ สัมมาทิฎฐิ เท่านั้น (มีความเห็นชอบ คือ มีความเข้าใจธรรมะอย่างถูกต้อง)
รู้จักใช้รูปเคารพ ได้อย่างงดงาม และทำให้จิตสงบเย็น
ประโยชน์จากรูปเคารพ แม้นรูปเล็ก ก็มีประโยชน์มหาศาล ไม่ต่างจาก รูปใหญ่มหึมา แต่อย่างไร


ตอบ....
ขอถามสักหน่อยว่า ข้าพเจ้าเคยสอนคุณไว้ว่า อยางไร จะทวนคำที่ข้าพเจ้าเคยสอนให้ว่า
"คุณควรได้ศึกษาหรือทำความเข้าใจกับบริบทของภาษาหรือความแวดล้อมของภาษาหรือ คำขยายความของภาษาในบทความนั้นให้ดี"
ที่คุณกล่าวมา เหมือนคนที่ดื่มสุราแล้วเข้ามาเล่นเน็ต เขาเขียนอย่าง คุณว่าไปอย่าง
เขาอธิบายให้บุคคลได้เกิดความเข้าใจในเรื่องของรูปเคารพ หรือรูปแทนตัวศาสดาฯ คุณคัดค้านว่ามั่วไปไม่รู้เรื่องรู้ราว เข้าขั้น โรคจิต

ขอถามอีกสักหลายประโยคว่า
คำว่า
สัมมาทิฎฐิ นั้น เกิดจาก อวัยวะส่วนไหนของมนุษย์ 1. มันเกิดขึ้นได้อย่างไร2.

คำว่า
สัมมาสมาธิ นั้น อย่างไรเรียกว่า สัมมาสมาธิ
สัมมาวาจา อย่างไร เรียกว่า สัมมาวาจา
สัมมาสติ อย่างไร เรียกว่า สัมมาสติ

ทั้ง 3 อันนั้น เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ได้อย่างไร
ตอบมาให้ได้นะ ถ้าตอบไม่ได้ ก็ให้ไปศึกษามาใหม่นะคุณ เลว...(มากหรือเปล่าคุณ)


ตัวอย่างข้างต้นนี้แล เรียกว่า ไม่ใช่ สัมมาวาจา(คุณเลว..ดี ตอบมา)

แค่นี้คุณก็มีความคิดที่ไม่ค่อยดีสมชื่อที่คุณใช้แล้วละคุณ
เอ้าไม่รู้หรือ ให้เวลา 3 วัน ถ้าตอบไม่ได้ต้องกราบข้าพเจ้าเป็นอาจารย์นะ แล้วจะตอบคำถามที่ข้าพเจ้า หรืออธิบายให้คุณได้ศึกษาไว้ ตกลงหรือไม่ละคุณ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
bad&good
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 06 ส.ค. 2007
ตอบ: 115

ตอบตอบเมื่อ: 21 พ.ย.2007, 10:18 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เมื่อข้าพเจ้าตอบรายละเอียดมากขึ้น
จักทำให้ ลด โมหะ โทสะ ของท่าน ได้กี่มากน้อย
.........................................................................................................................
จิตเดิม ท่านเป็นอย่างไร พึงมีสัมมาสติ อยู่เสมอ เพื่อควบคุมร่างกายและจิตใจ ให้สงบลง
เพื่อเปิดใจรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

ท่านเอง ก็รู้จัก สอนธรรม ให้ผู้อื่นรู้จัก นั่งสมาธิ ให้ได้เกิดประโยชน์ ต่อชาติบ้านเมือง
แต่แล้ว พฤติกรรม ที่ไม่ใช่ สัมมา กลับนำมาใช้ แสดงต่อผู้อื่น ต่อInternet
ท่านคิดว่า การแสดงออกเช่นนี้ ถือเป็นสิ่งดี ก็ขอได้แสดงออกต่อไป

การแสดงกรรมดีทางคำพูด คำเขียน ทุกเมื่อ ต่อผู้อื่น ต่อข้าพเจ้า ถือเป็น
สัมมาวาจา

ผู้ใดได้ฟัง ได้ยิน ก็รู้สึก จิตแจ่มใส รู้สึกอยากขอบคุณ ที่ทำให้จิต เพิ่มพูนปัญญาแห่งธรรม
ไม่เป็นการดีหรือ ที่ ท่าน กับ ข้าพเจ้า มาฝึกเขียน สิ่งดี ๆ ให้ผู้อื่นได้อ่าน ได้ฟัง

ถ้าความต้องการแสดง สิ่งที่ไม่ใช่ สัมมาวาจา
ข้าพเจ้าก็ไม่กล้าแสดงออก ต่อ สาธารณชน
มันเป็น ตราบาป ของข้าพเจ้า ที่แสดงต่อผู้อื่น ณ ที่นี้
เป็นหิริ โอตัปปะ เป็นเรื่องน่าละอาย

ส่วนการพิจารณา ความคิดเห็นของข้าพเจ้า หรือ ของท่าน นั้น
เป็นเรื่องของผู้อ่าน ซึ่งโดยผู้อ่าน มีสิทธิที่จะแสดง ความเห็นให้ท่านและข้าพเจ้า ได้ทราบหรือไม่ ก็ได้

ข้าพเจ้า ไม่ได้คิดจะตอบทุกกระทู้ ทุกเรื่องใน เว็บนี้
ข้าพเจ้า เลือกที่จะตอบ หรือไม่ตอบ เพราะเห็นว่า ข้าพเจ้าต้องการแสดงออกว่า ข้าพเจ้าคิดเห็นอย่างไร ไม่ได้กังวลกับเจ้าของกระทู้ว่า ภาษาไทยข้าพเจ้าไม่แข็งแรงอย่างไร

ท่านเอง ก็แสดงความคิดเห็น ต่าง ๆ
แต่กลับ ห้าม ไม่ให้ผู้อื่น แสดงความคิดเห็น ในเชิงตรงกันข้ามกับท่าน
ต้องแสดงความคิดเห็นไปในทางเดียวกับท่าน ท่านจึงจะพอใจ ดีใจ สมใจ


ท่านเอง ก็แสดงความคิดเห็น ต่าง ๆ ขัดแย้ง ไม่เห็นด้วยต่อกระทู้อื่น เช่นกัน
เจ้าของกระทู้ ก็ไม่ได้แสดงความเจ็บปวด อะไร ให้ท่านได้ทราบ
ไม่ได้โอดครวญ เช่นท่าน
เพราะอะไร ท่านคงไม่ทราบ
สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และสิทธิเสรีภาพที่จะเชื่อถือ และยอมรับ เป็นสิ่งที่สอนกันไม่ได้ บังคับกันไม่ได้
ท่านจะแสดง สิ่งใด เรื่องใด ท่านก็ยังเป็นท่าน ไม่ได้มีอะไรสำคัญต่อผู้อื่น เมื่อผู้อื่นเห็นว่า บทความบางเรื่อง ไม่ได้มีความสำคัญอะไร ต่อเขาเหล่านั้น ท่านจะโกรธก็ไม่ได้ เพราะเขาเหล่านั้นไม่ได้แสดงออกให้ท่านเห็น
กรรมจึงตกอยู่ที่ข้าพเจ้า ซึ่งเป็นผู้แสดงความคิดเห็น ซึ่งท่านรับไม่ได้
กลับอยากสอบความรู้ ความสามารถของข้าพเจ้า

สิ่งนี้ ถือว่า ใจของท่านไม่เปิดกว้างเพียงพอ ต่อการรับความคิดเห็นผู้อื่น
ปิดกั้นทางความคิดของผู้อื่น
ปิดกั้นทางความคิดของท่านเอง (คือไม่รับความคิดผู้อื่น)
ใจไม่เป็นผู้นำทางสังคม
ใจไม่เป็นผู้นำของกลุ่มได้ เพราะบีบบังคับ ให้ผู้อื่น ต้องเห็นคล้อยตาม ความคิดของท่าน ทุกเรื่อง


ความคิดเห็นบางกระทู้ บางตอน ที่ท่านแสดงไว้ ในเว็บนี้ (ในหน้าอื่น ๆ)
บางครั้งก็ไม่น่าสนใจ ไม่น่าตอบกระทู้ด้วย ไม่น่าแสดงความคิดเห็นด้วย
บางเรื่องก็เป็นความคิดเห็น ที่ผิดทาง ในศาสนาพุทธ
ข้าพเจ้าก็ ไม่ได้ ร่วมตอบกระทู้ ต่อหน้าเหล่านั้น เพราะเข้าใจดีว่า เสียเวลา
เพราะเข้าใจว่า ชวนคุยกับท่าน มันจะบานปลาย ทำให้ได้อารมณ์โกรธมากขึ้น ข้าพเจ้าสู้สงบนิ่ง ดูกระทู้อื่นต่อไป จะดีกว่า

ดังนั้น การตอบกระทู้ ไม่จำเป็นต้องตอบ ให้ผู้ถามถูกใจ ถ้ายังคงกล่าวด้วยวาจาสุภาพและไม่ใช่เรื่องเลวทราม

ไม่จำเป็นต้องกังวล ในเรื่องบริบททางภาษา สิ่งแวดล้อมทางภาษา
ถ้ามัวแต่กังวล จะเขียนไม่เป็นภาษา เพราะเขียนแล้ว ผู้อื่นอ่านไม่เข้าใจ ก็ไม่ได้ประโยชน์

การตอบกระทู้ เป็นการแสดงออกทางความคิดเห็นของตนเอง หรือคัดลอกมาจากความคิดเห็นผู้อื่น

แต่การยอมรับของผู้อ่าน มีสิทธิที่จะยอมรับความคิดเห็นนั้น ได้หรือไม่ ก็ได้
มีสิทธิเสรีภาพ ที่จะแสดงออก ในขอบเขตทางกฎหมาย หรือในสำนึก ตามแบบ พุทธ

ท่านจะไปโกรธผู้อื่น ที่ไม่ยอมรับท่าน ได้อย่างไร ถ้าเขาเหล่านั้น ไม่แสดงความคิดเห็น

ท่านจะไปโกรธผู้อื่น ซึ่งแสดงออก เพราะข้อความทั้งหมด ปรากฎอยู่ตรงหน้าของท่าน
การไตร่ตรอง และตัดสันใจ ยอมรับความคิดเห็นที่ดี ๆ ของผู้อื่น มันเป็นเรื่องดี ไม่ใช่หรือ ที่จะนำใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง

ถ้าความคิดเห็นของผู้อื่น ไม่ดี ไม่มีประโยชน์ ไม่โวยวาย ไม่โกรธ ไม่ได้หรือ ไม่แสดงออกในสิ่งที่ไม่ดี ต่อหน้าสาธารณชน ไม่ได้หรือ

หรือท่านรู้สึก ดี ที่ได้ทำเช่นนั้น

ท่านต้องการสะสมความดี
หรือสะสมสิ่งอื่น
......................................................................................
ข้าพเจ้าขอบอกตามตรงว่า ข้าพเจ้าไม่ได้มี ภูมิธรรมอะไรมากมายนัก
ข้าพเจ้าขอแค่เพียงข้าพเจ้า ไม่มีกิเลส มากไปกว่านี้
ข้าพเจ้าขอนั่งคอยเฝ้าดูกิเลสไป ทำกิเลสให้น้อยลง ทำใจเป็นสุข
ข้าพเจ้าทราบดีว่า ท่านนั่งสมาธิ ร่างกายโปร่งใส เห็นเป็นลำแสง ซึ่งข้าพเจ้าไม่มี
แต่ข้าพเจ้าไม่ได้ใฝ่หาสิ่งนั้น
ข้าพเจ้าเข้าใจแล้วว่า พระพุทธเจ้าจึงไม่ต้องการให้มนุษย์สนใจ ในเรื่องอิทธิฤทธิ์ ปาฎิหารย์
ข้าพเจ้าเข้าใจแล้วว่า ทำไมพระพุทธเจ้าจึงให้แสดงแต่เรื่องการดับกิเลส มากกว่า การแสดงอิทธิฤทธิ์ ปาฎิหารย์
ข้าพเจ้าจึงไม่ถวิลหา ในสิ่งวิเศษ เหล่านั้น
ข้าพเจ้าเข้าใจแล้วว่า การมีพื้นฐาน ความสงบ สันติ สุข เบาสบาย มันเป็นเรื่องดี อย่างไร

ข้าพเจ้าแล้วว่า ความคิดรวบยอดของการดับกิเลส เป็นคำตอบ ทุกคำตอบ ของคำถามจากจิตของตนเอง เช่นนั้น โดยใช้เครื่องมือไม่ต้องมาก เพียงใช้แต่
1.อริยมรรคมีองค์ 8
2.อริยสัจ 4
3.สังโยชน์ 10
4.กิเลส กามราคะ โลภะ โทสะ โมหะ
5.โลกธรรม 8
6.พรหมวิหาร 4

ทำให้ได้ทุกวัน ก็ทำให้รู้สึกว่า โลกน่าอยู่มากพอแล้ว

....................................................................................
อริยมรรคมีองค์ 8 คือ วิธีการที่ทำให้บรรลุเป้าหมาย นิพพาน ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า (โดยย่อ) มีดังนี้
1.สัมมาทิฏฐิ
คือ รู้และเข้าใจ ในธรรมะ รู้ว่าทำอย่างไรให้หมดกิเลสทั้งปวง
ทำตนให้เชื่อมั่นและศรัทธา ในพุทธธรรมซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
สร้างความคิดเห็นที่ดี ที่ถูกต้อง เพื่อบรรลุนิพพาน
2.สัมมาสังกัปโป
คือ มีเป้าหมายพ้นทุกข์สิ้นเชิง
คือ มีจิตใจปรารถนาที่จะพ้นทุกข์อย่างถูกต้อง เพื่อบรรลุนิพพาน
3.สัมมาวาจา
คือ พูดจาดีและถูกต้องเพื่อบรรลุนิพพาน
(ถ้าเป็นไปได้ โปรดสงบปาก สงบคำ ให้มากที่สุด)
พูดจาด้วยความเมตตา (พรหมวิหาร 4)
ไม่พูดให้ผู้อื่น รู้สึก โกรธ โลภ หลงกิเลส
4.สัมมากัมมันตะ
คือ การกระทำดีและถูกต้องเพื่อบรรลุนิพพาน
ไม่ทำให้ผู้อื่น รู้สึก โกรธ โลภ หลงกิเลส
5.สัมมาอาชีวะ
คือ มีอาชีพถูกต้อง ไม่ผิดกฎหมาย ไม่ผิดความรู้สึก ไม่สั่งสมกิเลส เพื่อบรรลุนิพพาน
(ซึ่งเมื่อเป็นฆราวาสแล้ว คงเลือกอาชีพในลักษณะแบบอย่างเดียวกับพระสงฆ์ ไม่ได้)
6.สัมมาวายามะ
คือ มีความพยายามอย่างยิ่ง พยายาลด ละ เลิก กิเลส อย่างถูกต้อง เพื่อบรรลุนิพพาน
7.สัมมาสติ
คือ ควบคุมสติสัมปชัญญะอย่างสม่ำเสมอ ควบคุมดูแลจิต มีสติปัฎฐานที่ดี
ไม่ดื่มหรือเสพสิ่งอื่นที่ทำให้สติ มึนเมา
ดำรงสติให้รู้เท่าทันกิเลส เพื่อบรรลุนิพพาน
8.สัมมาสมาธิ
คือ มีสมาธิ กระทำแต่ความดี กระทำตามอริยมรรค ทั้ง 7 ข้อข้างต้น อย่างสม่ำเสมอ
มีจิตที่มุ่งมั่นลดละกิเลส เพื่อบรรลุ นิพพาน


****อริยมรรค มี องค์ 8 นี้ พึงฝึกเลือกใช้แต่ละข้อให้เป็น 1 ข้อบ้าง 2-3 ข้อบ้าง 8 ข้อบ้าง เพื่อให้เหมาะสมกับปัญหาทุกข์ที่อาจจะเกิดขึ้นข้างหน้า ไม่ได้ให้ใช้พร้อมกันทั้ง 8 อย่าง ตลอดเวลา เพราะจิตไม่ได้เกิดปัญหาพร้อมกันตลอดวันตลอดเวลา
อริยมรรคมี องค์ 8 ต้องใช้ร่วมกับ อริยสัจ 4 การดับทุกข์ให้หมดทุกข์สิ้นเชิง จึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

****หมายเหตุ การนำอริยมรรค มีองค์ 8 ไปแก้ปัญหาอื่น ที่ไม่ใช่เพื่อ ลด กิเลส การแก้ปัญหานั้นคงไม่ได้ผลอะไรมาก
ไม่ต่างจากมนุษย์ที่นำเอา อริยสัจ 4 ไปแก้ปัญหาสังคม ปัญหาการจัดการธุรกิจ (การแก้ปัญหาโดยสร้างกิเลสอื่นเพิ่มขึ้น ก็คงต้องแก้ปัญหาอื่นต่อไป ไม่มีวันจบสิ้น)
แทนที่จะนำ อริยสัจ 4 ไปแก้ปัญหา ทำอย่างไรให้ กิเลส หมดสิ้นลงทั้งปวง

คำสอนเหล่านี้ ข้าพเจ้าได้บันทึกย่อมาจากคำสอนของพระพุทธเจ้า คำสอนของพระพุทธทาส ประกอบกับ การสร้างคำใหม่บางตอน เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับตนเอง

โดยเฉพาะคำว่า "เพื่อให้บรรลุ นิพพาน" จะมีอยู่ทั้ง 8 ข้อ เพื่อเตือนสติของข้าพเจ้าเองว่า ทำสิ่งเหล่านั้น เพื่อนิพพาน ไม่ได้ทำเพื่ออวด ไม่ได้ทำไว้เพื่อเก็บเป็นองค์ความรู้เพื่อสอนผู้อื่น เพราะข้าพเจ้าเองนั้น ทราบดีว่า ไม่ได้มีความรู้ทางธรรม เช่น พุทธะพหูสุตร

.........................................................
คำสอนของพระพุทธทาส ท่านได้สอนในเรื่องนี้ว่า
การจำธรรม ให้จำเป็น ข้อธรรมหลักใหญ่
อย่าได้จำเป็นตัวหนังสือ อย่าได้เขียนขยายอธิบายความให้ละเอียดละออ ยกตัวอย่างมากมาย จนทำให้เกิดเป็นกรอบ เป็นขอบเขต เป็นคำแปล เป็นความหมายเพียงเท่านั้นอย่างนั้น จิตจะไม่รู้จักคิดว่า สิ่งอื่นนั้น เป็นเรื่องนี้ที่ต้องแก้ไข หรือไม่
การเข้าใจความหมายโดยรวม เป็นหัวข้อธรรมใหญ่ รู้จักย่อ ขยายความหมายในใจ
แล้วใช้จิตพิจารณา วิเคราะห์ ตัดสินใจเพื่อตัดสินใจ การพูด การกระทำ ว่าทำไปเช่นนั้น ทำได้ถูกต้องหรือไม่

ข้าพเจ้าจึงเข้าใจว่า อย่าได้ต้องเป็นปราชญ์ภาษาไทย แปลภาษาไทยอย่างถูกต้อง แปลคำศัพท์ทางธรรมะ ด้วยความเข้าใจอย่างละเอียด ละออ เช่นนั้น ผู้อ่านธรรมะ จะกลายเป็นนักภาษาศาสตร์ ไม่ใช่นักปฎิบัติธรรม

นักภาษาศาสตร์ จึงมักเป็นผู้มีปัญหากับ หนังสือธรรมะ
คือ ต้องการเข้าใจ อย่างละเอียด ละออ
จิตวิ่งวุ่นอยู่กับ ความละเอียด ละออ ในศีล 227 ข้อ ทำให้เป็นพระสงฆ์ เกร็งธรรมะมากเกินไป
ทำตัวไม่เป็นธรรมชาติ ดูเหมือนอะไรเหนี่ยวรั้งจิตใจและร่างกาย

การแสดงความเห็นในคำศัพท์ธรรมะ จึงเป็นเรื่องที่ถกเถียงไม่รู้จบ โดยเฉพาะผู้ที่มีกิเลสอยู่มาก
เข้าใจว่า ตนเองมีความรู้ด้านนี้ นั้น อยู่มาก โต้เถียง อวดรู้ จนเกินงาม

ข้าพเจ้าขอถามว่า มนุษย์เมื่อรู้ ธรรมะอย่างลึกซึ้ง อย่างองค์รวมแล้ว จำเป็นหรือไม่ ที่ต้องให้ขยายความ ข้อธรรมะนั้น ให้ไกล ออกไป ขยายออกไปกลายเป็นหนังสือ ธรรม แสน แสน เล่ม

หนังสือพระไตรปิฎก โดยรวมแล้ว ข้าพเจ้าเห็นว่า พระพุทธเจ้า ตรัส ให้ท่านทั้งหลายได้เข้าใจถึงความหมายของกิเลส และให้รู้จักดับกิเลสให้หมดทุกข์สิ้นเชิง เป็นเป้าหมาย

แม้นยังไม่เข้าใจ จึงตั้ง ศีล กฎวินัย 227 ข้อ เพื่อไม่ให้เกิดข้อกังขา ว่าทำแล้วผิด หรือ ไม่เป็นไร
แม้นยังไม่เข้าใจ จึงต้องใช้หลักธรรมอื่น มาแสดงธรรม ให้เข้าใจ
แม้นยังไม่เข้าใจ จึงกรรมวิธีอื่น เพื่อให้ จิต และร่างกาย รู้สึก เช่นนั้น
แม้นยังไม่เข้าใจ จึงต้องยกเรื่อง ผลแห่งกรรม ชาตินี้ ชาติหน้า
แม้นยังไม่เข้าใจ ก็ยังมีพุทธประวัติ (คงโดยพระสงฆ์ พระอรหันต์) เขียนให้อ่านแบบอย่าง
แม้นยังไม่เข้าใจ ก็ยัง ขยายความละเอียด มาก มาก จน สิ้นความสงสัย สำหรับคนในยุคนั้น

เพราะความซับซ้อนของพฤติกรรมของมนุษย์ ยุคก่อน 2550 ปี ไม่ได้เป็นแบบนี้
มนุษย์ยุคนี้ จึงเข้าใจอะไรได้ยาก ต้องให้เหตุผล เป็นแสน เล่ม คงเพียงพอ

ก็แล้วคำว่า เบื่อหน่าย หรือไม่ กับ วัฎฎสงสาร วนเวียน เกิด แก่ เจ็บ ตาย นั่งทนโต้กระทู้ นั่งทนเรียนหนังสือ นั่งทนทำงาน นั่งทนทำงานบ้าน บ่นว่าทุกข์ แต่ก็ไม่เข้าใจว่า ยังอยากเกิดใหม่
กิเลสเกิด วัฎฎสงสารเกิด
กิเลสดับสิ้นเชิง วัฎฎสงสารดับสิ้นเชิง เช่นกัน
จงหา แหล่งคำตอบใน การดับกิเลส ให้หมดทุกข์สิ้นเชิง
ทุกท่านทราบดี มีอยู่ในหนังสือธรรมะ

ถ้ายังไม่ยอมเข้าใจแบบง่าย เช่นนี้
การอ่านคำสอนของพระพุทธเจ้า ในเรื่องอื่น คงต้องอ่านกันต่อไป เพราะไม่เข้าใจเป้าหมายสำคัญแห่งพุทธ
 

_________________
อริยมรรคมีองค์ 8 คือ สูตรสำเร็จแห่งการดับทุกข์
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
มัทนา ณ หิมะวัน
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 27 ก.ย. 2007
ตอบ: 34

ตอบตอบเมื่อ: 22 พ.ย.2007, 12:30 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ สาธุ ท่านเลว-ดี สาธุ สู้ สู้

จงหา แหล่งคำตอบใน การดับกิเลส ให้หมดทุกข์สิ้นเชิง
ทุกท่านทราบดี มีอยู่ในหนังสือธรรมะ


ดอกไม้ ผีเสื้อ ดอกไม้ ผีเสื้อ ดอกไม้

จะแจ้งใจในการดับกิเลส ให้หมดทุกข์สิ้นเชิง
ไม่จำเป็นต้องไปค้นอะไร...ที่ไหน
เพราะคำตอบมีอยู่ใน...ตัวเราเอง
ยิ้ม
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
bad&good
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 06 ส.ค. 2007
ตอบ: 115

ตอบตอบเมื่อ: 22 พ.ย.2007, 8:53 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ดูก่อน ท่านมัทนา ณ หิมะวัน

การค้นหาคำตอบ ที่ ใจตัวเราเอง

หรือ คำกล่าวขาน ที่ฮิตติดปากที่สุด คือ

ธรรมะอยู่ที่ใจ นั้น

......................................................

ขอให้พิจารณาดังนี้

เด็กน้อย ผู้ใหญ่ ผู้มีกิเลสอยู่เต็ม ไม่มีความรู้ใน พุทธศาสตร์ แม้นแต่น้อย
ได้กล่าวคำนี้ว่า ทุกอย่าง ธรรมะอยู่ที่ใจ
การกล่าวเช่นนี้ ไม่ต่างจาก เถร ส่อง บาตร
ได้แต่เรียนแบบ คำพูด คำจา
แต่ไม่ทราบ ความจริงแท้ ในสิ่งที่กล่าวตามผู้อื่น


และมนุษย์อีกกลุ่มหนึ่ง
เด็กน้อย ผู้ใหญ่ มีความรู้ ความเข้าใจดี ในทางพุทธศาสตร์ ค่อนข้างสมบูรณ์ จนถึงสมบูรณ์
เป็นผู้มีอารมณ์สุข สงบ ระดับหนึ่ง
เป็นผู้มี สัมมาวาจา สัมมากัมมัตตะ สัมมาทิฎฐิ
สามารถหาหนทาง ดับกิเลส ด้าน ราคะ โลภะ โทสะ โมหะ ได้เหมือนพลิกหนังสือธรรมะ แก้ปัญหาได้ทุกเมื่อ

เช่นนี้
มนุษย์กลุ่มหลังนี้
แม้นไม่กล่าวว่า ธรรมะอยู่ที่ใจ
แม้นไม่กล่าวว่า คำตอบมีอยู่ใน ตัวเราเอง

ข้าพเจ้า ขอได้นับถือ ผู้คน เหล่านั้น

การทำให้รู้ พุทธศาสตร์ ได้ เข้าใจได้มาก
ก็ต้องเรียนรู้ ให้มาก กับ ผู้ที่รู้จริง โดยเฉพาะ พระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ แล้ว (ซึ่งต้องเลือก ค้นหา ให้เป็นด้วย)
ไม่ต่างจาก การอยากเป็นแพทย์ แต่ไม่เรียนแพทย์
แต่ใส่ชุดแพทย์ และกล่าวกับผู้อื่นว่า ข้าพเจ้า เป็น แพทย์ เช่นนั้น
 

_________________
อริยมรรคมีองค์ 8 คือ สูตรสำเร็จแห่งการดับทุกข์
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
มัทนา ณ หิมะวัน
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 27 ก.ย. 2007
ตอบ: 34

ตอบตอบเมื่อ: 22 พ.ย.2007, 10:29 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กล่าวได้ดี กล่าวได้โดนใจ...อะไรเช่นนี้ สู้ สู้

ข้าพเจ้าเองก็ ขอได้นับถือ ผู้คน เหล่านั้น เช่นกัน

ผีเสื้อ ดอกไม้ ผีเสื้อ ดอกไม้ ผีเสื้อ

"การทำให้รู้ พุทธศาสตร์ ได้ เข้าใจได้มาก
ก็ต้องเรียนรู้ ให้มาก กับ ผู้ที่รู้จริง โดยเฉพาะ พระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ แล้ว
(ซึ่งต้องเลือก ค้นหา ให้เป็นด้วย)
ไม่ต่างจาก การอยากเป็นแพทย์ แต่ไม่เรียนแพทย์
แต่ใส่ชุดแพทย์ และกล่าวกับผู้อื่นว่า ข้าพเจ้า เป็น แพทย์ เช่นนั้น"


แม่นแล้วท่าน

ผู้เป็นแพทย์ ไม่จำเป็นต้องใส่ชุดแพทย์
แต่ต้องเรียนศาสตร์แห่งการฝึกตนเป็นแพทย์
และลงมือรักษาเพื่อนมนุษย์โดยไม่เลือกชั้นวรรณะ
จึงจะเป็นแพทย์...โดยแท้จริงเท่านั้น
ยิ้มเห็นฟัน

สาธุ สาธุ สาธุ สาธุ...สาธุ

ขอความเจริญในธรรม จงมีแด่ท่านเลว-ดี ยิ่งๆ ขึ้นไปด้วยเทอญยิ้ม
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 22 พ.ย.2007, 9:18 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณเลวดีเขียนว่า เมื่อข้าพเจ้าตอบรายละเอียดมากขึ้น
จักทำให้ ลด โมหะ โทสะ ของท่าน ได้กี่มากน้อย

ตอบ.........ไม่เกี่ยวกับ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ของข้าพเจ้าดอกนะคุณ ขอเพียงคุณตอบมา ก็ย่อมเกิดประโยชน์ต่อสาธารณะชนทั้งหลายอยู่แล้ว
.........................................................................................................................

คุณเลวดีเขียนว่า
จิตเดิม ท่านเป็นอย่างไร พึงมีสัมมาสติ อยู่เสมอ เพื่อควบคุมร่างกายและจิตใจ ให้สงบลง
เพื่อเปิดใจรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

ตอบ........นี้แหละตัวคำถามละ ในเมื่อคุณกล่าวว่า ให้ข้าพเจ้า พึงมีสัมมาสติ อยู่เสมอ
คำถามก็เกิดขึ้น คือ สัมมาสติคืออะไร เกิดจากอะไร และเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปได้อย่างไร คุณนำมากล่าวได้ คุณก็ต้องอธิบายได้ ไม่อย่างนั้นเขาเรียกว่า "อวดอุตริ ฯ " หรือ รู้ไม่จริง แล้วยังมาสอน มีประโยชน์นะขอรับ ถ้าคุณตอบ อย่าตอบแบบเลี่ยงเลยคุณ เอาตรงๆ

คุณเลวดีเขียนว่า
ท่านเอง ก็รู้จัก สอนธรรม ให้ผู้อื่นรู้จัก นั่งสมาธิ ให้ได้เกิดประโยชน์ ต่อชาติบ้านเมือง
แต่แล้ว พฤติกรรม ที่ไม่ใช่ สัมมา กลับนำมาใช้ แสดงต่อผู้อื่น ต่อInternet
ท่านคิดว่า การแสดงออกเช่นนี้ ถือเป็นสิ่งดี ก็ขอได้แสดงออกต่อไป

ตอบ....แล้วที่คุณคิดว่า พฤติกรรมของข้าพเจ้าที่คุณคิดว่าไม่ใช่สัมมานั้นคืออะไรบ้าง คุณมองดูพฤติกรรมของคุณไหม ขนาดข้าพเจ้าแนะนำคุณสอนคุณ ให้คุณได้ทำความเข้าใจกับบริบทของภาษา จะได้ไม่เขียนโต้ตอบแบบบิดเบือนคำสอนของข้าพเจ้า คุณก็ยังเขียนมั่ว แบบว่า ถ้าเป็นภาษาชาวบ้าน เขาเรียกว่า "อวดรู้ อวดฉลาด" (ถึงตอนนี้คุณจะมีความคิดเป็นอย่างไรละ คิดว่า ไม่สัมมา ตามความเข้าใจที่ผิดๆ ของคุณอีกหรือ)

คุณเลวดีเขียนว่าการแสดงกรรมดีทางคำพูด คำเขียน ทุกเมื่อ ต่อผู้อื่น ต่อข้าพเจ้า ถือเป็น
สัมมาวาจา


ตอบ......
แล้วคุณว่า อะไรที่ไม่ใช่กรรมดีทางคำพูด สมมุติว่า ข้าพเจ้า กล่าวในเวบฯนี้ว่า "คุณโง่ แต่อวดฉลาด" (สมมุตินะ) คุณจะคิดอย่างไรกับข้อความที่ข้าพเจ้าเขียนไป แล้วคุณคิดว่า ผู้ที่ได้มาอ่านข้อความเดียวกันที่เขียนไปนั้น พวกเขาจะคิดอย่างไร
คุณว่ามันอยู่ที่ตัวคุณ หรือว่าอยู่ที่ตัวอักษร ขอถาม ตอบมาตรงๆไม่ต้องอ้อมค้อม

คุณเลวดีเขียนว่าผู้ใดได้ฟัง ได้ยิน ก็รู้สึก จิตแจ่มใส รู้สึกอยากขอบคุณ ที่ทำให้จิต เพิ่มพูนปัญญาแห่งธรรม

ตอบ...
การได้ยิน ได้ฟัง แล้วรู้สึก จิตแจ่มใส เพิ่มพูนปัญญา แห่งธรรม ตามที่คุณกล่าวมา เป็นผลแห่งสัมมาวาจา กระนั้นหรือ คุณ
คิดว่า การพูดหวาน หว่านล้อมให้ผู้อื่นหลงเชื่อ โดยความหลอกลวง เป็นสัมมาวาจาด้วยหรือไม่ นี้เป็นคำถาม

คุณเลวดีเขียนว่า
ไม่เป็นการดีหรือ ที่ ท่าน กับ ข้าพเจ้า มาฝึกเขียน สิ่งดี ๆ ให้ผู้อื่นได้อ่าน ได้ฟัง

ตอบ....
แล้วไม่เป็นการดีหรือ ที่คุณจะตอบคำถามที่ข้าพเจ้าได้ถามคุณไว้ เพื่อเป็นวิทยาทานกับคนที่ไม่รู้ว่า สิ่งที่คุณกล่าวมา มันคืออะไร เป็นอย่างไร เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปได้อย่างไร

คุณเลวดีเขียนว่า
ถ้าความต้องการแสดง สิ่งที่ไม่ใช่ สัมมาวาจา
ข้าพเจ้าก็ไม่กล้าแสดงออก ต่อ สาธารณชน
มันเป็น ตราบาป ของข้าพเจ้า ที่แสดงต่อผู้อื่น ณ ที่นี้
เป็นหิริ โอตัปปะ เป็นเรื่องน่าละอาย

ตอบ.......แล้วคุณคิดว่าสิ่งที่คุณกล่าวมาเป็นสัมมาวาจาหรือ คุณคิดผิดแล้ว ข้อความของคุณทึ่เขียนมาไม่ใช่สัมมาวาจา แต่เป็นความกลอกกลิ้งปลิ้นปล้อน (นี้เป็นเพียงความคิดของข้าพเจ้านะ)
ความละอาย และ ความเกรงกลัวต่อบาป ก็เป็นเพียงความคิดชนิดหนึ่ง อันเกิดจาก ความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ ซึ่งเป็นไปตามค่านิยมของสังคมนั้นๆ

คุณเลวดีเขียนว่า
ส่วนการพิจารณา ความคิดเห็นของข้าพเจ้า หรือ ของท่าน นั้น
เป็นเรื่องของผู้อ่าน ซึ่งโดยผู้อ่าน มีสิทธิที่จะแสดง ความเห็นให้ท่านและข้าพเจ้า ได้ทราบหรือไม่ ก็ได้


ข้าพเจ้า ไม่ได้คิดจะตอบทุกกระทู้ ทุกเรื่องใน เว็บนี้
ข้าพเจ้า เลือกที่จะตอบ หรือไม่ตอบ เพราะเห็นว่า ข้าพเจ้าต้องการแสดงออกว่า ข้าพเจ้าคิดเห็นอย่างไร ไม่ได้กังวลกับเจ้าของกระทู้ว่า ภาษาไทยข้าพเจ้าไม่แข็งแรงอย่างไร

คุณเลวดีเขียนว่า
ท่านเอง ก็แสดงความคิดเห็น ต่าง ๆ
แต่กลับ ห้าม ไม่ให้ผู้อื่น แสดงความคิดเห็น ในเชิงตรงกันข้ามกับท่าน
ต้องแสดงความคิดเห็นไปในทางเดียวกับท่าน ท่านจึงจะพอใจ ดีใจ สมใจ


ท่านเอง ก็แสดงความคิดเห็น ต่าง ๆ ขัดแย้ง ไม่เห็นด้วยต่อกระทู้อื่น เช่นกัน
เจ้าของกระทู้ ก็ไม่ได้แสดงความเจ็บปวด อะไร ให้ท่านได้ทราบ
ไม่ได้โอดครวญ เช่นท่าน
เพราะอะไร ท่านคงไม่ทราบ
สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และสิทธิเสรีภาพที่จะเชื่อถือ และยอมรับ เป็นสิ่งที่สอนกันไม่ได้ บังคับกันไม่ได้ ฯลฯ

ตอบ....
ข้าพเจ้าก็ไม่ได้ว่า อะไรให้คุณ ก็คุณบิดเบือนคำสอนของข้าพเจ้าทำให้เกิดความเข้าใจผิด หรือเข้าใจคลาดเคลื่อน ข้าพเจ้าก็สอนคุณแนะนำคุณ
แต่คุณก็เอา สัมมา ฯลฯ อะไรต่อมิอะไรออกมากล่าวมั่วเหมือนคนดื่มสุราแล้วเล่นอินเตอร์เนต
ข้าพเจ้าก็ถามคุณ คุณตอบไม่ได้ ก็บอกตอบไม่ได้ ข้าพเจ้าไม่ใช่คนบ้าที่จะมาบังคับ ให้คุณต้องกราบข้าพเจ้าเป็นอาจารย์
ถ้าคุณตอบว่า คุณตอบคำถามของข้าพเจ้าไม่ได้ ข้าพเจ้าจะว่าอะไรให้คุณ หรือ ก็จบซิคุณ
แต่พฤติกรรมของคุณ มีทิฏฐิ คือมีความคิดในทางที่ผิด กลับกลอก ปลิ้นปล้อน แต่ดันบอกว่า เป็นสัมมา
จบละนะคุณ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
bad&good
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 06 ส.ค. 2007
ตอบ: 115

ตอบตอบเมื่อ: 23 พ.ย.2007, 10:53 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Buddha พิมพ์ว่า:
คุณเลวดีเขียนว่า เมื่อข้าพเจ้าตอบรายละเอียดมากขึ้น
จักทำให้ ลด โมหะ โทสะ ของท่าน ได้กี่มากน้อย

ตอบ.........ไม่เกี่ยวกับ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ของข้าพเจ้าดอกนะคุณ ขอเพียงคุณตอบมา ก็ย่อมเกิดประโยชน์ต่อสาธารณะชนทั้งหลายอยู่แล้ว
.........................................................................................................................

คุณเลวดีเขียนว่า
จิตเดิม ท่านเป็นอย่างไร พึงมีสัมมาสติ อยู่เสมอ เพื่อควบคุมร่างกายและจิตใจ ให้สงบลง
เพื่อเปิดใจรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

ตอบ........นี้แหละตัวคำถามละ ในเมื่อคุณกล่าวว่า ให้ข้าพเจ้า พึงมีสัมมาสติ อยู่เสมอ
คำถามก็เกิดขึ้น คือ สัมมาสติคืออะไร เกิดจากอะไร และเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปได้อย่างไร คุณนำมากล่าวได้ คุณก็ต้องอธิบายได้ ไม่อย่างนั้นเขาเรียกว่า "อวดอุตริ ฯ " หรือ รู้ไม่จริง แล้วยังมาสอน มีประโยชน์นะขอรับ ถ้าคุณตอบ อย่าตอบแบบเลี่ยงเลยคุณ เอาตรงๆ

คุณเลวดีเขียนว่า
ท่านเอง ก็รู้จัก สอนธรรม ให้ผู้อื่นรู้จัก นั่งสมาธิ ให้ได้เกิดประโยชน์ ต่อชาติบ้านเมือง
แต่แล้ว พฤติกรรม ที่ไม่ใช่ สัมมา กลับนำมาใช้ แสดงต่อผู้อื่น ต่อInternet
ท่านคิดว่า การแสดงออกเช่นนี้ ถือเป็นสิ่งดี ก็ขอได้แสดงออกต่อไป

ตอบ....แล้วที่คุณคิดว่า พฤติกรรมของข้าพเจ้าที่คุณคิดว่าไม่ใช่สัมมานั้นคืออะไรบ้าง คุณมองดูพฤติกรรมของคุณไหม ขนาดข้าพเจ้าแนะนำคุณสอนคุณ ให้คุณได้ทำความเข้าใจกับบริบทของภาษา จะได้ไม่เขียนโต้ตอบแบบบิดเบือนคำสอนของข้าพเจ้า คุณก็ยังเขียนมั่ว แบบว่า ถ้าเป็นภาษาชาวบ้าน เขาเรียกว่า "อวดรู้ อวดฉลาด" (ถึงตอนนี้คุณจะมีความคิดเป็นอย่างไรละ คิดว่า ไม่สัมมา ตามความเข้าใจที่ผิดๆ ของคุณอีกหรือ)

คุณเลวดีเขียนว่าการแสดงกรรมดีทางคำพูด คำเขียน ทุกเมื่อ ต่อผู้อื่น ต่อข้าพเจ้า ถือเป็น
สัมมาวาจา


ตอบ......
แล้วคุณว่า อะไรที่ไม่ใช่กรรมดีทางคำพูด สมมุติว่า ข้าพเจ้า กล่าวในเวบฯนี้ว่า "คุณโง่ แต่อวดฉลาด" (สมมุตินะ) คุณจะคิดอย่างไรกับข้อความที่ข้าพเจ้าเขียนไป แล้วคุณคิดว่า ผู้ที่ได้มาอ่านข้อความเดียวกันที่เขียนไปนั้น พวกเขาจะคิดอย่างไร
คุณว่ามันอยู่ที่ตัวคุณ หรือว่าอยู่ที่ตัวอักษร ขอถาม ตอบมาตรงๆไม่ต้องอ้อมค้อม

คุณเลวดีเขียนว่าผู้ใดได้ฟัง ได้ยิน ก็รู้สึก จิตแจ่มใส รู้สึกอยากขอบคุณ ที่ทำให้จิต เพิ่มพูนปัญญาแห่งธรรม

ตอบ...
การได้ยิน ได้ฟัง แล้วรู้สึก จิตแจ่มใส เพิ่มพูนปัญญา แห่งธรรม ตามที่คุณกล่าวมา เป็นผลแห่งสัมมาวาจา กระนั้นหรือ คุณ
คิดว่า การพูดหวาน หว่านล้อมให้ผู้อื่นหลงเชื่อ โดยความหลอกลวง เป็นสัมมาวาจาด้วยหรือไม่ นี้เป็นคำถาม

คุณเลวดีเขียนว่า
ไม่เป็นการดีหรือ ที่ ท่าน กับ ข้าพเจ้า มาฝึกเขียน สิ่งดี ๆ ให้ผู้อื่นได้อ่าน ได้ฟัง

ตอบ....
แล้วไม่เป็นการดีหรือ ที่คุณจะตอบคำถามที่ข้าพเจ้าได้ถามคุณไว้ เพื่อเป็นวิทยาทานกับคนที่ไม่รู้ว่า สิ่งที่คุณกล่าวมา มันคืออะไร เป็นอย่างไร เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปได้อย่างไร

คุณเลวดีเขียนว่า
ถ้าความต้องการแสดง สิ่งที่ไม่ใช่ สัมมาวาจา
ข้าพเจ้าก็ไม่กล้าแสดงออก ต่อ สาธารณชน
มันเป็น ตราบาป ของข้าพเจ้า ที่แสดงต่อผู้อื่น ณ ที่นี้
เป็นหิริ โอตัปปะ เป็นเรื่องน่าละอาย

ตอบ.......แล้วคุณคิดว่าสิ่งที่คุณกล่าวมาเป็นสัมมาวาจาหรือ คุณคิดผิดแล้ว ข้อความของคุณทึ่เขียนมาไม่ใช่สัมมาวาจา แต่เป็นความกลอกกลิ้งปลิ้นปล้อน (นี้เป็นเพียงความคิดของข้าพเจ้านะ)
ความละอาย และ ความเกรงกลัวต่อบาป ก็เป็นเพียงความคิดชนิดหนึ่ง อันเกิดจาก ความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ ซึ่งเป็นไปตามค่านิยมของสังคมนั้นๆ

คุณเลวดีเขียนว่า
ส่วนการพิจารณา ความคิดเห็นของข้าพเจ้า หรือ ของท่าน นั้น
เป็นเรื่องของผู้อ่าน ซึ่งโดยผู้อ่าน มีสิทธิที่จะแสดง ความเห็นให้ท่านและข้าพเจ้า ได้ทราบหรือไม่ ก็ได้


ข้าพเจ้า ไม่ได้คิดจะตอบทุกกระทู้ ทุกเรื่องใน เว็บนี้
ข้าพเจ้า เลือกที่จะตอบ หรือไม่ตอบ เพราะเห็นว่า ข้าพเจ้าต้องการแสดงออกว่า ข้าพเจ้าคิดเห็นอย่างไร ไม่ได้กังวลกับเจ้าของกระทู้ว่า ภาษาไทยข้าพเจ้าไม่แข็งแรงอย่างไร

คุณเลวดีเขียนว่า
ท่านเอง ก็แสดงความคิดเห็น ต่าง ๆ
แต่กลับ ห้าม ไม่ให้ผู้อื่น แสดงความคิดเห็น ในเชิงตรงกันข้ามกับท่าน
ต้องแสดงความคิดเห็นไปในทางเดียวกับท่าน ท่านจึงจะพอใจ ดีใจ สมใจ


ท่านเอง ก็แสดงความคิดเห็น ต่าง ๆ ขัดแย้ง ไม่เห็นด้วยต่อกระทู้อื่น เช่นกัน
เจ้าของกระทู้ ก็ไม่ได้แสดงความเจ็บปวด อะไร ให้ท่านได้ทราบ
ไม่ได้โอดครวญ เช่นท่าน
เพราะอะไร ท่านคงไม่ทราบ
สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และสิทธิเสรีภาพที่จะเชื่อถือ และยอมรับ เป็นสิ่งที่สอนกันไม่ได้ บังคับกันไม่ได้ ฯลฯ

ตอบ....
ข้าพเจ้าก็ไม่ได้ว่า อะไรให้คุณ ก็คุณบิดเบือนคำสอนของข้าพเจ้าทำให้เกิดความเข้าใจผิด หรือเข้าใจคลาดเคลื่อน ข้าพเจ้าก็สอนคุณแนะนำคุณ
แต่คุณก็เอา สัมมา ฯลฯ อะไรต่อมิอะไรออกมากล่าวมั่วเหมือนคนดื่มสุราแล้วเล่นอินเตอร์เนต
ข้าพเจ้าก็ถามคุณ คุณตอบไม่ได้ ก็บอกตอบไม่ได้ ข้าพเจ้าไม่ใช่คนบ้าที่จะมาบังคับ ให้คุณต้องกราบข้าพเจ้าเป็นอาจารย์
ถ้าคุณตอบว่า คุณตอบคำถามของข้าพเจ้าไม่ได้ ข้าพเจ้าจะว่าอะไรให้คุณ หรือ ก็จบซิคุณ
แต่พฤติกรรมของคุณ มีทิฏฐิ คือมีความคิดในทางที่ผิด กลับกลอก ปลิ้นปล้อน แต่ดันบอกว่า เป็นสัมมา
จบละนะคุณ


สิ่งเหล่านี้ ข้างต้น ท่านถือว่า เป็นความถูกต้องของท่าน
และเชื่อว่า ท่าน Buddha คงไม่กล่าวด้วยอารมณ์โกรธ
ข้าพเจ้า คงไม่ต้องกล่าวอะไรเพิ่มเติม

ความตั้งใจ ที่จะเป็น ความคิดเห็น (ทิฏฐิ) ตรงกันข้าม ตลอดกาล
ความไม่รับอะไร
การฝึกโต้วาที เพื่อให้กิเลส ทั้งสองฝ่าย เพิ่มมากขึ้น ไม่ได้ประโยชน์อะไร

หากผู้อื่นสนใจความคิดความเห็น ความเลวทรามอื่น ของข้าพเจ้า
สามารถหาอ่านได้ที่
http://www.dhammajak.net/board/search.php?search_author=bad%26good

หากผู้อื่นสนใจความคิดความเห็นอื่น ของท่านBuddha
สามารถหาอ่านได้ที่
http://www.dhammajak.net/board/search.php?search_author=Buddha

สิ่งที่ท่านลืมไป คือ ข้าพเจ้าเป็นฆราวาส
ข้าพเจ้าเป็นมนุษย์ผู้กิเลส อยู่ ไม่มากก็น้อย
หากเปรียบเป็นกราฟแท่ง 1-10
บางช่วงเวลา ข้าพเจ้าอาจมีกิเลส ด้านโทสะอยู่ถึง 7
บางช่วงเวลา ข้าพเจ้าอาจมีกิเลส ด้านโทสะอยู่ถึง 3
บางช่วงเวลา ข้าพเจ้าอาจมีกิเลส ด้านโทสะอยู่ถึง 5

ถ้าบางช่วงเวลา ข้าพเจ้าอาจมีกิเลส ด้านโทสะอยู่ถึง 1 ข้าพเจ้ารู้สึกมีความสุขสงบ

คำว่า ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน (พึ่งตนควบคุม กิเลสของตนเอง) ยังคงมีประโยชน์สำหรับข้าพเจ้า

ข้าพเจ้ารู้สึกผิด ที่ได้สัญญากับท่าน สองศอ ไว้ เมื่อวันที่ 2/10/2550 ที่หน้า
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13784&postdays=0&postorder=asc&start=30
แต่กลับทำไม่ได้

ไม่นึกไม่ฝันเลย จะต้องพบสภาพแบบนี้

นับจากนี้ไป ข้าพเจ้าขอสัญญาต่อ WebMaster และท่าน Buddha ว่า
1. ถ้าเจ้าของกระทู้เป็นของท่าน Buddha แล้ว ข้าพเจ้าจะไม่ขอตอบความคิดเห็น สิ่งใด
เพราะเข้าใจดีแล้วว่า พฤติกรรมของท่าน Buddha เป็นเช่นนี้
2. ถ้าเจ้าของกระทู้เป็นของผู้อื่น เมื่อมีท่าน Buddha ตอบมาก่อน ข้าพเจ้าจะไม่ขอตอบความคิด
เห็นอื่น ด้วยเกรงว่า ความคิดเห็นอาจขัดแย้งต่อท่าน Buddha
3. นับตั้งแต่วันที่ 23/11/2550 เวลานี้เป็นต้นไป
หากข้าพเจ้าไม่ได้ปฎิบัติตามข้อ 1 และ 2
หรือ หาก วาจาใด คำเขียนใด ของข้าพเจ้า ที่ไม่สุภาพ ที่เป็นความคิดเห็นที่เลวทรามต่อเว็บนี้
ขอท่าน WebMaster จงโปรดตัดสิทธิ ในการใช้ Login bad&good

bad&good (ตั้งชื่อนี้เพื่อรำลึกถึงพระพุทธทาส เตือนสติข้าพเจ้าให้รู้จัก การเปรียบเทียบ
"ของคู่" หรือ "สองสิ่งที่เป็นความตรงข้าม" เพื่อเตือนสติอย่าได้ยึดติด กิเลสด้านดี และ
กิเลสด้านเลว ไม่ได้ให้ทำตนอยู่ตรงกลางดีและเลว [ไม่ใช่มัชฌิมา] แต่ให้อยู่เหนือสิ่งดี-เลว
เหล่านั้น "นิพพาน" จึงจะเกิดขึ้นภายในจิตใจ
ข้าพเจ้าจึงเห็น คำว่า ดีและเลว เป็นสิ่งตรงข้าม ที่พระพุทธเจ้า ชี้ให้เห็น บ่อยครั้งมากที่สุด
เพื่อให้มนุษย์ทราบถึง สิ่งใดเลว สิ่งใดดี แล้วให้เลือกทำแต่ดี ในขั้นฆราวาส ส่วนไม่ติดใน
ความดีนั้นอยู่ในขั้นอริยะ)

4. สิ่งใดที่ข้าพเจ้า ล่วงเกินต่อพระพุทธเจ้า ล่วงเกินต่อพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบแล้ว
ขอได้อภัยต่อข้าพเจ้า เพื่อดำเนินชึวิตทำความดีต่อไป
 

_________________
อริยมรรคมีองค์ 8 คือ สูตรสำเร็จแห่งการดับทุกข์
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
มัทนา ณ หิมะวัน
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 27 ก.ย. 2007
ตอบ: 34

ตอบตอบเมื่อ: 23 พ.ย.2007, 11:51 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ใยต้องน้อยใจ
ใยต้องทดท้อ
ใยต้องเศร้าหมอง

ล่ะ..ท่านเลว-ดี!

ใยต้องปิดโอกาสตัวเองด้วยการสัญญาในข้อ ๒ และ ๓

ข้าพเจ้าว่า...ท่านกำลังจะชนะตัวเองอยู่แล้ว....นี่นา
ข้าพเจ้าว่า...ท่านกำลังจะแจ้งใจในการอุเบกขาอย่างถูกวิธี...มิใช่หรือ?

ทบทวนใหม่...ดีกว่ามั้ยท่าน สงสัย ยิ้ม
(ไม่เอาน่ะ ! อย่าคิดมาก...) สู้ สู้ ยิ้มเห็นฟัน
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง