Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 อันธพาล กับ บัณฑิต (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
I am
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ต.ค. 2006
ตอบ: 972

ตอบตอบเมื่อ: 23 พ.ย.2007, 8:44 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

บัณฑิต บางทีท่านเรียกว่า กัลยาณมิตร คำว่า มิตรมาจาก เมตตา คนที่เป็นมิตรกันนั้น จะหวังดีปรารถนาดีต่อกัน ชักชวนกันแต่ในทางที่ดีที่ชอบเป็นบุญกุศล จึงเรียกว่าว่า มิตร

ในทางตรงข้ามก็เป็นมิตรเหมือนกันแต่เรียกว่า บาปมิตร มิตรชักชวนไปในทางชั่ว เมื่อติดต่อสังคมกันไปนานๆ เข้าก็เป็นอันเดียวกันคบคนชนิดใดก็เป็นคนชนิดนั้นๆ

คบบาปมิตรก็เป็นอันธพาล
คบกัลยาณมิตรก็เป็นบัณฑิต


นั่นเป็นมิตรภายนอก

แต่ว่าอันธพาลและบัณฑิตตัวจริงนั้นไม่ใช่อยู่ที่มิตรภายนอกอย่างนั้น มันอยู่ที่ใจของเราต่างหาก มันเกิดขึ้นที่ใจของเราเอง

ใครๆ ก็รู้จักใจของตนกันทุกคนว่ามันคิดชั่วก็ได้คิดดีก็ได้
เมื่อใดคิดทางชั่วทางไม่ดีแล้วเราไปสนับสนุนมันเข้าก็คือ ไปคบค้ากับคนพาล
ไม่ต้องไปคบใครที่อื่นหรอก มันมีอยู่ในตัวของเรานั่นเอง

ถ้ามันคิดดีคิดชอบประกอบสุจริตแล้วเราสนับสนุน
ได้ชื่อว่าเราคบ บัณฑิต

การสนับสนุนเกิดขึ้นที่ตัวเรานั่นเองไม่ต้องโทษคนอื่น
จะไปโทษเขาทำไม

เขาก็มี บาปมิตรและกัลยาณมิตร ของเขาอยู่แล้วเหมือนกัน
ต่างคนต่างมีของตน
เมื่อเรารู้แล้วว่า

อันธพาล เกิดขึ้นที่ตัวของเรา
บัณฑิต ก็เกิดขึ้นที่ตัวของเรา
ดังนั้นเมื่อต้องการจะเป็น บัณฑิต
ก็สร้างขึ้นมา สนับสนุนส่งเสริม บัณฑิต ให้เจริญขึ้นมา
อย่าไปคบ พาล สนับสนุน พาล ก็แล้วกัน

ถึงคนอื่นจะเป็นพาลกันทั้งโลก
หากเราไม่คบพาลในตัวของเราแล้ว
เราก็ไม่เป็นพาลไปได้

: ดูคนสองจำพวกให้เป็น หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
: วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ. หนองคาย
: วันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๓

http://www.thewayofdhamma.org/page3_2/patum63.html


สาธุ ยิ้มเห็นฟัน
 

_________________
ทุกข์ใดดับได้ด้วยปัญญา ทุกข์นั้นจะไม่เกิดอีก
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 23 พ.ย.2007, 9:15 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ...สาธุ...สาธุ ค่า คุณ I am สาธุ สู้ สู้

ผีเสื้อ ดอกไม้ ผีเสื้อ ดอกไม้ ผีเสื้อ ดอกไม้

ใน มงคลข้อที่ ๒ จาก มงคล ๓๘ ประการ...กล่าวไว้ว่า

การได้คบหาสมาคมกับบัณฑิตนักปราชญ์
ถือว่าเป็น มงคลอย่างยิ่ง
จะเป็นเหตุให้เพิ่มพูนคุณธรรมภายในตัว

เพราะบัณฑิตจะไม่คอยจับผิดคนอื่น
แต่จะแสวงหาสิ่งที่ดีงาม
แล้วนำมา สอนตัวเอง สอนผู้อื่น

จะไม่ชวนทะเลาะให้แตกสามัคคี
มีแต่กล่าวคำที่นำมาซึ่งการสมานไมตรี
คอยชี้เส้นทางสวรรค์ เส้นทาง นิพพานให้ ....


ที่สำคัญ...บัณฑิตประสบทุกข์อย่างไรก็ไม่ทิ้งธรรม

ดังนั้น....ธรรมจึงย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม...เสมอ
ยิ้มเห็นฟัน ยิ้ม
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 23 พ.ย.2007, 3:01 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุจ้า...คุณ I am คุณกุหลาบสีชา

คบคนพาล พาลพาไปหาผิด
คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล


ธรรมะสวัสดีค่ะ

ยิ้ม ยิ้มแก้มปริ สู้ สู้
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง