Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ความพอเพียง ในแง่ศาสนาฯ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 13 พ.ย.2007, 11:03 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อะไร คือ ความพอเพียง นี้เป็นคำถาม ที่ท่านทั้งหลายควรได้หาคำตอบด้วยตัวเอง
ความพอเพียงของแต่ละบุคคลขึ้นอยู่กับความคิดความต้องการของแต่ละบุคคลใช่หรือไม่
ถ้าความพอเพียงของทุกคน คือ การมีบ้าน มีที่อยู่อาศัย พร้อม เครื่องอำนวยความสะดวก หรือพร้อมด้วยเครื่องอุปโภคบริโภค อย่างครบครัน
ถ้า ความพอเพียงของทุกคน คือ การมีรถยนต์ สักคันไว้ใช้งาน
ถ้า ความพอเพียงของทุกคน คือ การมีรายได้เดือนละ หนึ่งหมื่นห้าพันบาท
ถ้า ความพอเพียงของทุกคน คือ การมีเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มราคาแพงใส่
หรือ ถ้าความพอเพียงของทุกคน คือ การที่ไม่ต้องทำงาน แต่มีเงินใช้
ที่ได้กล่าวไป เป็นความคิดของท่านทั้งหลายบ้างหรือไม่
ถ้าท่านทั้งหลาย คิดว่า ความพอเพียงคือสิ่งที่ได้กล่าวไป ก็ต้องโทษรัฐบาลละนะ ที่ไม่สามารถบริหารให้ได้ตามความต้องการของประชาชน เนื่องเพราะทุกชีวิต ทุกอาชีพ ล้วนเกี่ยวโยง เกี่ยวข้อง ถึงกันและกัน อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อีกทั้งยังมีปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ราคาน้ำมัน ฯลฯ อันเป็นตัวแปรที่จะทำให้ข้าวของเครื่องใช้ มีราคาสูงขึ้น อันเป็นเหตุให้ ความต้องการที่จะได้เงินมาเพื่อจับจ่ายใช้สอยเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย

แต่ถ้าความพอเพียง ของทุกคน ของทุกท่าน ของทุกอาชีพ เหมือนกัน โดยมีรัฐบาลเป็นพี่เลี้ยงคอยสนับสนุน คอยแก้ไขปัญหาอันจะช่วยแบ่งเบาภาระ ในการใช้จ่ายให้น้อยลง ซึ่งเป็นความจำเป็นในชีวิตประจำวัน ในบางอย่างบางเรื่อง เช่น ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปทำงาน ค่าใช้จ่ายในการเรียนการศึกษาของบุตรธิดา ค่าใช้จ่ายในสิ่งอุปโภคพื้นฐาน เช่น ไฟฟ้า แก๊ส น้ำมัน สิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นต่อการครองชีพ บางอย่าง ฯ

ที่ได้กล่าวไปนี้ รัฐบาลควรได้สนับสนุน หรือคอยช่วยเหลือแบ่งเบาภาระของประชาชน อันจะเป็นการลดรายจ่าย เพื่อให้เหลือเก็บ เหลือใช้ เพราะมนุษย์ทุกคนในสังคม ล้วนต้องมีความคิดในอันที่จะคิดถึงบั้นปลายของชีวิต ต้องเก็บออมเพื่อความอุ่นใจ เพื่อไว้แก้ปัญหาในยามจำเป็น

ในด้านหนึ่งนั้น
"ความพอเพียง" ของประชาชน จึงอยู่ ที่ความคิด ของประชาชนเองว่า จะมีความต้องการในเครื่องอุปโภค บริโภค อย่างไร เมื่อใด ที่ไหน เท่าไหร่ จึงจะเรียกว่า "พอเพียง"
ถ้าความคิด ความต้องการของแต่ละบุคคล เพียงต้องการ ให้มีกิน มีใช้ เหลือเก็บบ้าง มีเครื่องอุปโภค ที่จำเป็น ตามสภาพการเงินของตัวเอง ความพอเพียง ก็เกิดขึ้น

อีกด้านหนึ่งนั้น จะกล่าวโดยส่วนรวม
ก็ย่อมขึ้นอยู่กับ ผู้บริหารประเทศ หรือรัฐบาล ว่าจะมีสมองสติปัญญา หรือนโยบาย มีความเข้าใจในความต้องการของประชาชนหรือไม่
การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ รายจ่ายของประชาชนเพิ่มขึ้น เพราะรัฐวิสาหกิจเช่น ปตท. อันเกี่ยวข้องกับ น้ำมัน เป็นปัจจัยและตัวแปรที่สำคัญอย่างยิ่งต่อทุกแขนงอาชีพ ต่อทุกอุตสาหกรรม และอื่นๆ
การแปรรูป ปตท. เท่ากับเป็นการเพิ่มรายจ่าย เพราะการแปรรูป ก็เพื่อผลกำไร ไม่ใช่เพื่อพัฒนา เพราะการพัฒนานั้น ไม่จำเป็นต้องแปรรูปรัฐวิสาหกิจเลยแม้แต่น้อย
นอกจากนั้น รัฐบาลควรได้มีการตรวจสอบดูแล ติดตามผล ติดตามพฤติกรรมของข้าราชการบางประเภท อันนำเอางบประมาณ ไปใช้โดยไม่เกิดผลประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ คือหน่วยเหนือให้ทำอย่างหนึ่ง ดันไปทำอีกอย่างหนึ่ง ตัวอย่างเช่น นโยบายของกระทรวงมหาดไทย ในเรื่อง " แผนชุมชน" แทนที่จะเป็นการ กำชับ กำกับดูแล ให้หน่วยงานอันเกี่ยวข้องกับชุมชน ได้ทำงานตามหน้าที่ กลับกลายเป็น ให้ชุมชนแก้ไขปัญหากันเอง
ทั้งๆที่ หน้าที่ต่างๆเหล่านั้น เป็นหน้าที่ของหน่วยงานต่างๆ
รัฐบาล ควรได้มีแผนแก้ไขปัญหา ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ค่าใช้จ่ายในสิ่งอุปโภคสาธารณะ ค่าใช้จ่ายในการศึกษาของบุตร ธิดา เพื่อแบ่งเบาปัญหา ทางด้านค่าแรง ถ้าค่าแรงไม่เพิ่ม น้ำมันไม่เพิ่ม เครื่องอุปโภค บริโภค ก็ไม่ขึ้นราคา ความเป็นอยู่ของประชาชน ก็จะอยู่กันอย่าง พอเพียง ได้ เพราะมันเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน เป็นลูกโซ่
ถ้าจะเรียกว่า เป็น วัฏจักร ก็คงไม่ผิด เพราะถ้า น้ำมัน ไฟฟ้า น้ำประปา มีราคาสูงขึ้น ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปทำงาน มีราคาสูง แรงงานทั่วๆไป ก็ต้องมีรายจ่ายเพิ่ม
เมื่อขึ้นค่าแรง หรือขึ้นเงินเดือน ให้ข้าราชการ อย่างอื่นก็ขึ้นตามไปด้วย เป็นวัฏจักรแห่งความเลวร้าย เป็นอยู่อย่างนั้น มานาน ไม่รู้จักสิ้นสุด
ดังนั้น ความพอเพียง ของประชาชน จึงขึ้นอยู่ กับ ตัวประชาชนเอง และขึ้นอยู่กับ ผู้บริหารประเทศ หรือรัฐบาล เป็นประการสำคัญ

ซึ่งที่ได้กล่าวไป ล้วนเป็น ความพอเพียง ในแง่ศาสนา ส่วนจะเป็นข้อใดบ้าง ก็ขอให้ท่านทั้งหลายได้คิดพิจารณาด้วยตัวเอง เถิด
จึงขอฝากไว้เป็นข้อคิดข้อพิจารณา
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
z
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 23 ต.ค. 2007
ตอบ: 46
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 14 พ.ย.2007, 9:48 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

...รู้.....

...เข้าใจ....

...ยอมรับ...

...เลิกสนใจ...
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 14 พ.ย.2007, 7:26 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ควรสนใจในสิ่งที่ควรสนใจ
เพราะต่อจากนี้ไป ล้วนเป็นหน้าที่ของประชาชนคนไทย ที่จะได้เลือก
คนที่รู้
เข้าใจ
สนใจ
แก้ไข
ส่งเสริม
ให้ประชาชนได้อยู่กันอย่างมีความพอเพียง ตามแนวทางเศรษกิจพอเพียง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 18 พ.ย.2007, 9:00 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ก็ได้ยินได้เห็นข่าว จะลอยตัวราคาแก๊ส และได้เห็นได้ยิน พวกเขาอ้างถึงการจะขึ้นราคาแก๊สแล้ว น่าสมเพชในความคิดและน่าอนาถใจเป็นอย่างยิ่ง

"เขาบอกว่า ราคาแก๊สนอกประเทศมีราคา ต่อตันสูงกว่า ราคาในประเทศไทย ถ้าไม่ขี้นราคา บริษัทต่างๆจะส่งออกไปขายต่างประเทศกันหมด
แสดงให้เห็นว่า การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ทำให้สินค้าสาธารนูปโภค ที่จำเป็น และได้กำไรแน่ๆ กลายเป็นสินค้าหวังผลกำไร จากประชาชนไปซะฉิบ
ถ้าไม่ให้ส่งออกแก๊ส จะทำได้ไหม มันต้องทำได้อยู่แล้ว
ถ้าไม่ขึ้นราคาแก๊สหุงต้ม จะทำได้ไหม แน่นอน ย่อมทำได้อยู่แล้ว ถ้ายังคงเป็นรัฐวิสาหกิจ อันไม่หวังผลกำไร จากประชาชน แต่เป็นสินค้าสาธารนูปโภค สำหรับคนทั้งชาติ
ไอ้พวกที่มันออกกฎหมายแปรรูปวิสาหกิจ ไม่รู้ว่า พวกมันซื้อหุ้นไว้เท่าไหร่ กำไร แน่ๆ ไม่มีการขาดทุน น้ำมัน ไฟฟ้า นำประปา โทรศัพท์ ฯ
พอมีองค์กร หรือเครือข่าย เสนอให้เลิกแปรรูป พวกมันก็อ้างว่า ยุ่งยากอย่างนั้นอย่างนี้
แต่ในที่เป็นจริงไม่ได้ยุ่งยากอะไรเลย มันก็อยู่ของมันอย่างเดิมนั่นและ
ระบบบริหาร หรือจัดการก็ใช้แบบที่กำลังใช้อยู่นั่นแหละทำไมไม่ได้
ถ้าพวกมันจะอ้างว่า การแปรรูปเป็นการระดมทุน คำอ้างนี้เป็นคำอ้างของบุคคลที่ไร้สมองสติปัญญา เพราะการระดมทุนนั้นทำได้หลากหลายวิธี จะให้เร็วก็ได้ เพียงแค่ลดขั้นตอนในการอนุมัติ ก็บริหารจัดการ แบบใดใดก็ได้ทั้งนั้น ไม่จำเป็นต้องยึดติดว่า ต้องผ่านคณะรัฐมนตรี หรือต้องผ่านสภา
มนุษย์ เป็นผู้สร้างกฎเกณฑ์กติกาขึ้น มนุษย์ก็ย่อมสามารถทำให้กฏเกณฑ์กติการนั้นสะดวก รวดเร็ว หรือง่ายต่อการใช้ได้
สรุปแล้ว เงิน ต้วเดียว แท้ๆ ตายแล้วเอาไปด้วยก็ไม่ได้ เอาไว้ให้ลูกให้หลานอีกหน่อยมันก็ตายเหมือนกัน
พอมี พออยู่ พอกิน
จะมีรัฐบาลชุดไหนบ้างหนอ ที่จะให้เงิน กับประชาชน คนละหนึ่งล้านบาท เป็นเงินติดกระเป๋าไว้ ทุกครัวเรือน อยากจะเห็นเหมือนกันว่า เศรษฐกิจมันจะดีมากน้อยเพียงใด
จะมาอ้างเดี๋ยวเงินจะเฟ้อ ไม่มีการเฟ้อดอกขอรับ ให้เงินทุกครัวเรือนแล้ว ประกาศ ลดราคาสิ้นค้าทุกชนิด 15 % เป็นอย่างสูง 10 % เป็นอย่างน้อย ดูซิว่า จะขายได้มากกว่าเดิมไหม เงินจะสะพัดไหม อยากเห็นจริงๆนะ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง