Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ลานธรรมเสวนาแก้อารมณ์กรรมฐานพอง-ยุบและพุทโธเป็นต้นไม่ได้ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 14 ต.ค.2007, 9:15 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผู้ปฏิบัติธรรม เท่าที่เห็นตามเว็บไซต์ธรรมะ มี 2 แบบ

-บริกรรมภาวนาแบบหนึ่ง

-ไม่ภาวนาอะไรดูกันทื่อๆแบบหนึ่ง

ผู้ที่ปฏิบัติแต่ละแบบ ภาวะจิตจะต่างกันดังขาวกับดำ

อารมณ์ความรู้สึกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ให้คำปรึกษากันและกันไม่ได้ เหมือนถามว่า

ไปไหนมา? ตอบ... สามวาสองศอก

เพราะสภาวธรรมที่ภาวนามัยบุคคลประสบจากภาวนานั้นลึกซึ้งละเอียดกว่าผู้นั่งตรึกนึก

คิดเอา

-ที่เว็บไซต์หนึ่งที่ห้องสติปัฏฐานสนทนากันอยู่ 2 กลุ่ม

กลุ่มหนึ่งเรียกตนว่าผู้ดูจิต คอยตอบคำถาม (วิสัชนา)

ผู้บริกรรมภาวนาพุทโธบ้าง พองหนอ ยุบหนอบ้าง เป็นฝ่ายถาม (ปุจฉา)

ฝ่ายปุจฉา ปฏิบัติหลักภาวนามัย ภาวนาไปๆแล้วติดขัดจึงถาม

ฝ่ายวิสัชนา ตอบโจทก์ตามแนวคิดของตน ซึ่งไม่ลึกเท่าฝ่ายบริกรรมภาวนา

ทั้งสองกลุ่มจึงเหมือนพูดกันคนละภาษา คือสื่อภาษาธรรมปฏิบัติต่างอารมณ์ความรู้สึก

กันอธิบายความหาข้อสรุปเรื่องที่สนทนากันไม่ได้

ผู้ภาวนาโดยตรง จึงสับสนไขว่เขว พลาดจากกรรมฐาน เกิดสงสัยว่า เอ..ที่เรากำลัง

ประสบอยู่นี่มันคือะไร และจะหลุดพ้นได้อย่างไร จึงเสียโอกาสตรงนี้ไป ติดตัน

อยู่ตรงนั้น เดินหน้าก็ไม่ได้ ถอยหลังก็ไม่คืนที่ ดีไม่ดีสภาวะนั้นรบกวนความรู้สึกสะ

อีก

-ดูที่เขาวิสัชนา (ลิงค์ข้างล่าง) มีรายหนึ่งปุจฉา ดังนี้ => เมื่อวันที่ 22-29 กันยา

ดิฉันได้ไปฝึกวิปัสสนากรรมฐานที่วัดแห่งหนึ่ง วันแรกเดินจงกรม แล้วนั่งสมาธิ

พอนั่งสมาธิกำหนดพองหนอ ยุบหนอ แล้วกำหนดตามจริงที่เรารับรู้ โดยไม่ปรุงแต่ง

จิต รู้สึกว่าพองหนอ ยุบหนอ หาย ลมหายใจเข้า-ออกหาย ตัวเบาสบาย แต่

ตกใจทำไมไม่มีลมหายใจ ก็เลยให้กำหนดหายใจอีกครั้งปรากฎว่ามันก็ยังอยู่

พอวันต่อๆมา พองหนอ ยุบหนอ หายไป กำหนดรู้ที่ลมหายใจเข้า-ออก พอลมหายใจ

เข้าออกหาย กำหนดรู้ที่นั่งหนอ ถูกหนอ ปวดหนอ ยินหนอ เห็นหนอ ดับหนอ

พอทุกอย่างมันดับ แต่มันเหมือนดับแปปเดียว แล้วก็งงว่าไอ้ที่เหลืออยู่นี่มันอะไร

หว่า

อยากถามว่าไอ้ที่เหลืออยู่นี่มันอะไรหรอคะ มันคือสติหรือว่าจิตที่คิด แล้วสติกับจิต

ถือว่าเป็นนามหรือเปล่า ถ้าใช่ แล้วจะดับได้อย่างไร ควรจะภาวนาอย่างไรต่อ

งงกับตัวเอง


(ดูปุจฉา วิสัชนาเต็มๆ ที่ลิงค์นี้) =>

http://larndham.net/index.php?showtopic=28501&st=0
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 29 พ.ย.2009, 5:10 am, ทั้งหมด 2 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 15 ต.ค.2007, 7:23 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ประเด็นโจทก์ ดังนี้=>

วันต่อๆมา พองหนอ ยุบหนอ หายไป
กำหนดรู้ที่ลมหายใจเข้า-ออก พอลมหายใจเข้าออกหาย
กำหนดรู้ที่นั่งหนอ ถูกหนอ ฯลฯ ดับหนอ
พอทุกอย่างมันดับ แต่มันเหมือนดับแปปเดียว
แล้วก็งงว่าไอ้ที่เหลืออยู่นี่มันอะไรหว่า

อยากถามว่าไอ้ที่เหลืออยู่นี่มันอะไรหรอคะ มันคือสติหรือว่าจิตที่คิด
แล้วสติกับจิตถือว่าเป็นนามหรือเปล่า
ถ้าใช่ แล้วจะดับได้อย่างไร


-เค้าเป็นงง เพราะเมื่อกำหนด นาม-รูป พองหนอ-ยุบหนอ เป็นต้น
พองหนอ ยุบหนอ ก็หายไป (คือดับลง)
จึงมากำหนดรู้ลมหายใจเข้า-ออกบ้าง
ลมเข้าลมออก หายอีก (ดับลงอีก)
ก็จึงกำหนดรู้รูปนั่ง...รูปนั่งก็หายอีก

สรุปว่ากำหนดตรงไหน ตรงนั้นๆก็ดับ เกิด เกิดดับ เกิดดับ เกิดดับ ต่อเนื่องเรื่อยไปไม่มีประมาณ
(ธรรมดานาม-รูปเป็นอย่างนี้เกิดดับๆอย่างนั้นแหละ ยิ่งเมื่อสติสมาธิปัญญาแข็งแรงขึ้นเท่าไหร่จะเห็นได้ละเอียดยิบยิบขึ้นเท่านั้น)

ที่ว่า => มันคือสติหรือว่าจิตที่คิด แล้วสติกับจิตถือว่าเป็นนามหรือเปล่า

มันก็คือนามธรรมนั่นเอง จะแยกเรียกว่าสติก็ถูกว่าจิตก็ไม่ผิด เพราะคำว่านามรวมกันทั้งจิตและเจตสิก ทั้งสองนี้เกิดดับพร้อมกัน ปัญญาอย่างพวกเราแยกออกยากโดยทางปฏิบัติ แต่ว่าโดยการปริยัติแล้วแยกได้ เพราะเขียนเป็นตัวหนังสือ

แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า=>ถ้าใช่ แล้วจะดับได้อย่างไร

ตรงนี้เขาเข้าใจคำว่า “ดับ” ผิด คือเข้าใจว่า “ดับ” แล้วต้องไม่มีอะไรเลยหายเกลี้ยง เหมือนไฟดับ (ดับอย่างนั้นต้องเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ต้องขั้นพระอนาคามีหรือพระอรหันต์โน่น ท่านว่าเป็นสมาบัติที่ดับสัญญาและเวทนาว่าคล้ายๆกับคนตาย)

ส่วนคำว่า “ดับ” ที่ได้ยินบ่อยๆว่า รูป-นาม เกิดดับเกิดดับ ก็ลักษณะนี้
เมื่อสิ่งหนึ่งเกิด เกิดแล้วก็ดับลง อีกสิ่งหนึ่งก็เกิดขึ้น รับช่วงต่อไป แล้วก็ดับลง....

จะเทียบให้พอเห็นภาพ เหมือนเรายืนต่อแถวเป็นลักษณะวงกลม แล้วรับ-ส่งสิ่งของกัน คนหนึ่งส่ง คนหนึ่งรับๆแล้วส่งต่อ รับส่งรับส่งๆๆ
รูป-นามก็ลักษณะนี้
เมื่อเห็นนาม-รูปเกิดและดับลงชัดเจนด้วยตนเองเมื่อไหร่ เช่นเห็นสุข-ทุกข์เป็นต้น เกิดแล้วดับทุกขณะๆ เมื่อไหร่ เมื่อนั้นจิตจะคลายความยึดมั่นในนาม-รูปลงเรื่อยๆ

สภาวธรรมดังกล่าวผู้ที่บริกรรมภาวนานาม-รูป เท่านั้นจึงจะเห็นได้ละเอียดขนาดนี้

ควรจะภาวนาอย่างไรต่อ งงกับตัวเอง

-ภาวนาลักษณะนั้นต่อไป เดินจงกรม+นั่งกำหนดนาม-รูป กำหนดสิ่งที่ผ่านมาให้ถี่ขึ้น

ทำงานประจำวันก็คุมความคิดทำความรู้สึกตัวให้อยู่กับงานที่ทำ คุมจิตไม่ให้ฟุ้งซ่านออกไปนอกงานที่อยู่ตรงหน้า (ใช้งานฝึกจิตอิทธิบาท 4 ก็เข้าครบ)

-อนึ่ง เมื่อพอง-ยุบคืนแล้วก็กำหนดพองหนอ ยุบหนอ ต่อไป ยึดหลักไว้ ไม่อย่างนั้นความคิดจะเคว้งคว้างไม่มีหลักยึด
เมื่อสิ่งใดกระทบรู้สึก จึงกำหนดสะทีหนึ่ง เมื่อไม่มีอะไรกระทบก็กำหนดพอง-ยุบ นั่งหนอ
ถูกหนอ ต่อไป
เมื่อเข้าใจหลักกว้างๆ แล้ว โยคีหาอุบายวิธีกำหนดอารมณ์เองขณะปัจจุบันแต่ละขณะๆของจิต

ขั้นฝึกจิตหรือขั้นให้จิตค่อยๆเรียนรู้ความจริงไม่มีกฏตายตัวหรอกครับ อะไรเกิดรู้สึกตัวก็กำหนดรู้ตามที่มันเป็นมันเกิดนั่นแหละของจริง หรือสภาวธรรม
อุบายวิธีนี้...


ต่างจากผู้ปฏิบัติแบบนึกคิดค้นหาธรรมะตามตัวหนังสือตามความยึดถือว่า

ต้องกลางๆ ดูด้วยจิตที่เป็นกลาง ไม่แทรกแซง (นามธรรมใช้อะไรวัด ถึงรู้ว่าตรง

กลางอยู่ระดับไหนแค่ไหนกลาง)

ที่เก็งว่าตรงกลาง ไม่แทรกแซงนั่นแหละ ขณะนั้นความคิดเดิมเปลี่ยนไปแล้ว แค่คิด

ว่าไม่แทรกแซง นั่นแหละแทรกแซงเขาแล้ว แต่ตนไม่รู้ว่าเป็นคนละขณะความคิด

กัน (เป็นความคิดอีกขณะจิตหนึ่งแล้ว)

หรือคิดว่าเราจะดูด้วยจิตที่เป็นกลาง นั่นนั่นไม่กลางแล้วเบี้ยวแล้ว ความคิดเดิม

เปลี่ยนไปอีกแล้ว ขณะจิตเปลี่ยนจากวงจรเดิมไปแล้ว แต่ตนเข้าไม่ถึงความคิดแต่

ละขณะ ๆ

จึงยึดถือความคิดที่เก็งไว้ ว่าอย่างนี้แหละเป็นกลางและไม่แทรกแซง ไล่คิดความคิด

ไปเรื่อยๆ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 29 พ.ย.2009, 8:17 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 16 ต.ค.2007, 1:47 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สิ่งที่จะต้องคัดออกไปก็คือสมมุติบัญญัติ เพราะวิปัสสนานั้นสติต้องระลึกตรงต่อปรมัตถธรรม สติต้องระลึกตรงต่อปรมัตถธรรมอย่างสุดส่วน คือรู้เฉพาะปรมัตถ์ให้มากที่สุดให้ยิ่งที่สุด เรียกว่าคัดสมมุติออกไปจากใจให้มากที่สุด ให้คงเหลืออยู่กับสภาวปรมัตถ์

ฉะนั้นการที่มีความจงใจในการใช้สมมุติบัญญัติเช่น คำบริกรรมต่าง ๆ ต้องละออกไปทั้งหมด คำบริกรรม เช่น พุทโธก็ดี พองหนอยุบหนอก็ดี ขวาย่างหนอหรือว่าคำว่ารูปคำว่านามก็ดี หรือคำใด ๆ ก็ตามที่เป็นคำพูด ที่เป็นภาษา จะต้องคัดออกไปให้เหลือแต่สติสัมปชัญญะล้วน ๆ ที่ทำหน้าที่รับรู้รับทราบต่อสภาวธรรมต่าง ๆ ที่ปรากฏ

โดยปรกติแม้จะไม่ได้ตั้งใจจะใช้ภาษา ไม่ได้ตั้งใจจะใช้คำพูดมาบริกรรม จิตเขาก็คอยจะนึกถึงภาษาอยู่แล้ว นึกถึงคำพูดอยู่แล้ว ถ้าหากว่าเป็นผู้ที่สังเกตจิตใจตัวเองเป็นก็จะพบว่าจิตคอยมีภาษาอยู่ คอยมีคำพูดอยู่ เรียกว่าจิตคอยไหลไปสู่บัญญัติไปสู่สมมุติอยู่ตลอด ในขณะที่จิตไหลไปสู่สมมุติก็คือจิตกำลังถูกปรุงแต่ง

จิตกำลังถูกปรุงแต่งด้วยสัญญาความจำได้หมายรู้ วิตกคือตัวตรึกนึก วิจารเคล้าไปในอารมณ์นั้น สิ่งเหล่านี้เป็นต้นที่กำลังปรุง ปรุงแต่งจิตอยู่ อารมณ์ของจิตก็จึงต้องเป็นสมมุติเป็นภาษาขึ้น จากที่เคยจดจำไว้ ชำนาญในภาษาไทยมันก็คอยจะผุดเป็นภาษาไทย ชำนาญในภาษาอื่นมันก็ผุดเป็นภาษาอื่น นี้คือสัญญามันได้ปรุงในจิต มีตัวตรึกนึก อารมณ์ของจิตก็เป็นบัญญัติ

เพราะฉะนั้นการที่จะให้จิตหลุดจากบัญญัติหลุดจากสมมุติ สติจะต้องระลึกเข้ามาที่การปรุงแต่ง จำไว้ สติจะต้องระลึกเข้ามาที่การปรุงแต่ง คือระลึกที่ความจำก็ดี ระลึกที่การตรึกก็ดี การนึกก็ดี ที่กำลังปรากฏอยู่ในขณะที่จิตมีกระแสแล่นไปสู่บัญญัติอารมณ์ หรือพูดง่าย ๆ ว่า รู้สึกว่ามันมีคำพูดขึ้นในใจ มีภาษาขึ้นมาในใจ ขณะนั้นน่ะมีการปรุงแต่ง สติก็ระลึกเข้ามาที่ความปรุงแต่งในกระแสจิต

แทนที่จะไปนึกถึงคำพูด แทนที่จะไปนึกถึงความหมาย แทนที่จะไปนึกที่เรื่องราวอันเป็นบัญญัติ แต่หันมุมมองมาสู่แหล่งผลิตคำพูดก็คือการปรุงแต่งนั่นเอง ถ้าสติระลึกเข้ามาที่ปรุงแต่ง เรียกว่าสติระลึกปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์ จิตเขาก็จะเปลี่ยนหรือทิ้งออกจากบัญญัติมาเป็นปรมัตถ์ เพราะจิตรับได้ทีละอารมณ์ เมื่อจิตอันประกอบด้วยสติมาระลึกถึงจิตที่กำลังถูกปรุงแต่ง เขาก็ทิ้งจากบัญญัติ ฉะนั้นคำพูดก็จะหลุดไป ภาษาจะหลุดไป นี้โดยเหตุผลมันจะต้องเป็นอย่างนั้น


อ่านต่อ...“วิธีหลุดจากบัญญัติ”
พระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรํสี)

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=1802
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 16 ต.ค.2007, 7:24 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

นาย ก. กับนาย ข. ถูกเสือไล่ติดตาม พากันวิ่งหนีมาถึงฝั่งแม่น้ำสายหนึ่ง เมื่อหนีไป

ทางไหนไม่ได้แล้ว จึงปรึกษากันว่าเอาไงดีเพื่อน ขืนอยู่ฝั่งนี้ถูกเสือกินแน่ เราหา

ทางข้ามไปฝั่งโน้นได้ก็ปลอดภัยรอดตายแล้ว

มองไปเห็นเรือลำหนึ่งจอดอยู่ ... "มีทางรอดแล้วเพื่อน"

นาย ก. พูดด้วยความดีใจ

“อะไร” นาย ข. สงสัย

“เรือๆ” นาย ก. ตอบ นี้เขาเรียกว่าเรือ

เราจะแจวเรือข้ามไปฝั่งโน้นกัน


“แล้วนั่นล่ะอะไร” นาย ข. ถามอีก

“อ๋อ...นั่นแจว”

มีไว้สำหรับแจวเพื่อให้เรือเคลื่อนที่ได้ไง

ไปกันเถอะเดี๋ยวเสือตามมาทัน ตายกันหมดนะเพื่อน


นาย ข. กล่าวแย้งว่า “เรือ” ไม่มี

“แจว” ก็ไม่มี โดยปรมัตถ์ ไม่มีเรือ ไม่มีแจว


“เดี๋ยวเสือกัดตายนะเพื่อน” นาย ก. เตือน

“ปรมัตถ์ไม่มีวันตายเพื่อน” นาย ข. พูดด้วยความมั่นใจแล้วเดินหลีกไป.


-ทั้งสองคนสื่อสารไม่ตรงกัน คนหนึ่งพูดถึงบัญญัติ

แต่อีกคนพูดถึงปรมัตถ์


ควรทำความเข้าใจก่อนว่ากำลังสื่อกันในแง่ใด แง่ปรมัตถ์หรือบัญญัติ

เวลาคิด (โดยเฉพาะนักคิด) ก็เช่นกัน

แยกให้ออกไม่พึงคิดปนกัน ไม่พึงอธิบายบัญญัติกับปรมัตถ์ปะปนกัน

ไม่อย่างนั้นจะเกิดความผิดพลาด สื่อสารกับมนุษย์ในสังคมไม่รู้เรื่อง

สภาวะ (หรือปรมัตถ์) กับสมมุติ (หรือบัญญัติ) เป็นสิ่งจำเป็น

สภาวะเป็นสิ่งสำหรับรู้เข้าใจ

ส่วนบัญญัติที่มนุษย์ใช้พูดกันใช้สื่อสารกัน เช่น เรือ แจว นาย ก. นาย ข. เป็นต้น

สำหรับใช้สื่อกันพูดกัน ควรแยกออกจากัน แต่ก็มีสภาวะรองรับอยู่อีกชั้นหนึ่ง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 29 พ.ย.2009, 8:26 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 16 ต.ค.2007, 10:13 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สัจจะ 2 ระดับ


-ผู้สดับคำสอนในพระพุทธศาสนาบางคน เกิดความสับสน เมื่อได้อ่านได้ฟังข้อ

ความบางอย่าง เช่นบางแห่งว่า ไม่ควรคบคนพาล ควรคบบัณฑิต คน

พาลมีลักษณะอย่างๆนี้ บัณฑิตมีลักษณะอย่างนี้ๆ ควรยินดีแต่ของของตน ไม่ควร

อยากได้ของของผู้อื่น ตนเป็นที่พึงแห่งตน ดังนี้เป็นต้น

-แต่บางแห่งว่า พึงพิจารณาเห็นตามความเป็นจริงว่า กายก็แค่กาย ไม่ใช่สัตว์

บุคคล ตัวตนเราเขา พึงรู้เท่าทันตามเป็นจริงว่า ไม่ใช่ของเรา

ไม่ใช่ตัวตนของเรา

สิ่งทั้งหลายเป็นอนัตตาดังนี้ เป็นต้น แล้วมองว่า คำสอนในทางพระพุทธศาสนาขัด

แย้งกันเอง หรือไม่ก็งงแล้วไม่เข้าใจหรือบางคนเข้าใจบ้างแต่ไม่ชัดเจนพอ ทำให้

เกิดการปฏิบัติสับสนผิดพลาด ดำเนินชีวิตไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง

ในเวลาที่ควรพูดควรปฏิบัติตามความรู้ในชีวิตประจำวันของชาวบ้าน กลับพูดหรือ

ปฏิบัติด้วยความยึดถือในความรู้สภาวะ เป็นต้น ทำให้เกิดความวุ่นวายและเสียหาย

ทั้งแก่ตนและผู้อื่น

ท่านจึงสอนให้รู้จักแยกสัจจะหรือความจริงเป็น 2 ระดับ กล่าวคือ


1. สมมติสัจจะ- ความจริงโดยสมมติ (หรือโวหารสัจจะ- ความจริงโดยโวหาร หรือ

โดยสำนวนพูด) คือ จริงตามมติร่วมกัน ตามที่ได้ตกลงกันไว้ หรือหมายรู้ร่วม

กัน เป็นเครื่องมือสื่อสาร พอให้สำเร็จประโยชน์ในชีวิตประจำวัน เช่น คน

สัตว์ คนดี คนชั่ว โต๊ะ หนังสือ เป็นต้น


2 .ปรมัตถสัจจะ- ความจริงโดยปรมัตถ์

-คือ จริงตามความหมายสูงสุด ตามความหมายแท้อย่างยิ่ง หรือ ตามความหมาย

แท้ขั้นสุดท้ายที่ตรงตามสภาวะและเท่าที่พอจะกล่าวถึงได้ เข้าใจกันได้ เพื่อสำหรับ

ให้เกิดความรู้ความเข้าใจเท่าทันความเป็นจริงของสิ่งทั้งหลาย

คือ รู้จักสิ่งเหล่านั้นตามที่มันเป็น และเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด คือ การหยั่งรู้

สัจธรรม ที่จะทำให้ความยึดติดถือมั่นหลงผิดทั้งหลายสลายหมดไป ทำให้วางใจ

วางท่าทีต่อสิ่งทั้งหลายอย่างถูกต้อง หลุดพ้นจากกิเลสและความทุกข์ มีจิตใจ

เป็นอิสระ ปลอดโปร่ง ผ่องใส เบิกบาน มีความสุขที่แท้จริง สิ่งที่เป็นจริงโดย

ปรมัตถ์ เช่น นามธรรม รูปธรรม เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 29 พ.ย.2009, 8:28 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 16 ต.ค.2007, 10:16 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

“ภิกษุทั้งหลาย เราไม่ขัดแย้งกับโลกดอก โลกต่างหากย่อมขัดแย้งกับเรา

ธรรมวาที ย่อมไม่ขัดแย้งกับใครในโลก สิ่งใดบัณฑิตในโลกสมมุติกันว่าไม่มี เราก็กล่าวสิ่ง

นั้นว่าไม่มี สิ่งใดบัณฑิตในโลกสมมุติกันว่ามี เราก็กล่าวสิ่งนั้นว่ามี” เหล่านี้เป็นโลก

สมัญญา เป็นโลกนิรุติ เป็นโลกโวหาร เป็นโลกบัญญัติ ซึ่งตถาคตใช้พูดจา แต่ไม่ยึดถือ”
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 17 ต.ค.2007, 7:02 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-บัญญัติ คือ คำเรียกขาน ชื่อเรียก คำกำหนดที่วางไว้ เช่น ชื่อเรียกว่า

พื้นดิน ภูเขา รถ คน ทิศเหนือ ทิศใต้ หลุม บ่อ เกาะ แหลม เป็นต้น

ซึ่งตัวจริงของสิ่งที่บัญญัติเรียกนั้น เป็นของมีจริงก็มี ไม่มีอยู่จริงก็มี แต่จะมีหรือ

ไม่มีก็ตาม

คำบัญญัตินั้น ก็เป็นกาลวินิมุต คือไม่ขึ้นต่อกาล และไม่พินาศ

เช่น ช่องว่างที่ลึกลงไปในแผ่นดินเราเรียกว่าหลุม ช่องเช่นนั้นมีที่ไหน เมื่อใด

ก็เรียกว่าหลุม คงที่เสมอไป

แต่หลุมต่างหากจากช่องในแผ่นดินหามีไม่ และหลุมเองทุกๆหลุมย่อมตื้นเขิน

ย่อมพัง

ย่อมเปลี่ยนแปลงไปกลายเป็นอื่นได้


หรือ เช่น สิ่งที่เรียกว่าสัญญา ย่อมเกิดดับเสื่อมสลายไป แต่บัญญัติว่าสัญญา

หาเสื่อมสลายไป เพราะสิ่งที่มีภาวะเช่นนั้นเกิดขึ้นที่ไหน เมื่อใด ก็เรียกว่า

สัญญาเสมอไป (ถ้าได้ตกลงไว้อย่างนั้น) หรือ เช่น สิ่งที่เป็นร่างกายย่อมทรุด

โทรมแตกสลายได้

แต่บัญญัติว่ากายย่อมคงที่ ของอย่างนั้น เกิดที่ไหนพบที่ไหน ก็เรียกอย่างนั้น

ตามบัญญัติ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 29 พ.ย.2009, 8:30 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 23 ต.ค.2007, 9:29 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

“บัญญัติ” ความหมายทางศาสนาได้แก่ชื่อเสียงเรียงนาม...ที่มนุษย์ตั้งขึ้นมาเพื่อ

สะดวกในการสื่อสารเรียกขานกันเข้าใจ

แต่เมื่อพิจารณาอธิบายความวิธีหลุดจากบัญญัติที่คุณปุ๋ยนำมาเผยแพร่แล้ว ดูพิกลๆ

อธิบายวนๆอยู่เหมือนไม่เข้าใจคำว่าบัญญัติ ไม่รู้ปรมัตถ์ หรือสภาวะด้วยซ้ำ

-ตัวอย่างง่ายๆ ดังนี้ครับ... สภาวะที่ไหลเนื่องกันเป็นสาย ผ่านใจกลางกรุงเทพมหา

นคร ไหลเนื่องกันไปจนออกปากอ่าวไทย

เราสมมุติเรียกสภาวะเช่นนั้นว่า แม่น้ำเจ้าพระยา คำว่า แม่น้ำเจ้าพระยา เป็น

บัญญัติ

ก็ในเมื่อเป็นอย่างนี้ พระครูจะสอนวิธีหลุดจากบัญญัติทำไมครับ ก็เขาสมมุติเรียก

กันอย่างนั้น เพียงแต่รู้จักแยกแยะให้ออกว่า อะไรเป็นบัญญัติ อะไรเป็นปรมัตถ์หรือ

สภาวธรรม

อีกตัวอย่างหนึ่ง ... เช่น เตียงเกิดจากนำส่วนประกอบต่างๆ มาประกอบเข้าด้วยกัน

ตามรูป

แบบที่กำหนด ตัวตนของเตียงที่ต่างหากจากส่วนประกอบเหล่านั้นไม่มี เมื่อแยก

ส่วนประกอบต่างๆ หมดสิ้นแล้ว ก็ไม่มีเตียงอีกต่อไป เหลืออยู่แต่บัญญัติว่า เตียง

ที่เป็นความคิดในใจ

แม้บัญญัตินั่นเองที่มีความหมายอย่างนั้นก็ไม่มีอยู่โดยตัวของมันเอง แต่ต้องสัมพันธ์

เนื่องอาศัยกับความหมายอื่นๆ เช่น บัญญัติว่าเตียง ย่อมไม่มีความหมายของมันเอง

โดยปราศจากความสัมพันธ์กับ การนอน แนวระนาบ ที่ตั้ง ช่องว่าง เป็นต้น

ในความรู้สึกสามัญของมนุษย์ ความรู้สึกในบัญญัติต่างๆ เกิดขึ้น โดยพ่วงเอา

ความเข้าใจ

ในปัจจัยและความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องเข้าไว้ด้วยเหมือนกัน แต่เมื่อเกิดความกำหนด

รู้ขึ้นแล้ว ความเคยชินในการยึดติดด้วยตัณหาอุปาทาน ก็เข้าเกาะกับสิ่งในบัญญัติ

นั้นจนเกิดความรู้สึก

เป็นตัวตนขึ้นอย่างหนาแน่น บังความสำนึกรู้และแยกสิ่งนั้นออกจากความสัมพันธ์

กับสิ่งนั้น

ทำให้ไม่รู้สึกเห็นตามที่มันเป็น อหังการและมมังการจึงแสดงบทบาทได้เต็มที่
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 29 พ.ย.2009, 8:31 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 30 ต.ค.2007, 5:39 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ถ้ารู้ว่าไม่เที่ยงแล้ว สุดท้ายก็คือไม่มี แล้ววนมาอีก อย่างเช่น

นั่งสมาธิแล้วรู้ว่ามีพอง -ยุบ พองยุบแต่ละครั้งไม่เหมือนกัน

บางครั้งพองยาว บางครั้งยุบยาว

บางครั้งมีแต่พอง พอง พอง

หรือมีแต่ยุบ ยุบ ยุบ

แล้วไม่มี คือจับอาการพองยุบไม่ได้

จากนั้นก็มีอย่างอื่นมาแทน อย่างเช่น ตัวสั่นเล็กน้อย มันก็คือ อนิจจัง

ทุกขัง อนัตตา



ครับ ถ้าเรารู้แบบข้างบนนั้นจะเป็นการคิดเรื่องท้อง (บัญญัติ) คือรู้ด้วย

การคิดๆ มันจะวนคิดเวียนคิดหาคำตอบเพื่อตอบสนองความอยากรู้แบบไม่รู้จบครับ




- คำถาม-ตอบนี้นำมาจากลิงค์ลานธรรมเสวนาข้างต้น

ดู คห.7 ตอบโจทก์ จขกท. เห็นชัดว่า ภาวนามัย กับ จินตามัยไปด้วยกันไม่ได้

คนละอารมณ์ความรู้สึกดังกล่าวไม่ผิดเพี้ยน

ถามว่า ท้องพองขึ้น- ยุบลง เกิดจากอะไร ?


ตอบ เกิดจากลมหายใจเข้า-ลมหายใจออก

ลมเข้าท้องพอง

ลมออกท้องยุบ



-ดูพุทธพจน์หมวดกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน นำมาเป็นตัวอย่างดังนี้

-เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว

-เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว

-เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น

-เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้าสั้น


พูดง่ายๆว่า รู้เห็นตามที่มันเป็นของมันเอง อย่างนี้แหละเรียกว่าสภาวธรรม

จขกท. รู้เห็นด้วยตนเองว่า พอง-ยุบไม่เหมือนกัน

บางครั้งพองยาว บางครั้งยุบสั้น...ตามโจทก์

แต่ผู้วิสัชนา ตอบแบบ ไปไหนมา? สามวาสองศอก

...นี่ไม่ใช่นั่น ต้องโน่นๆ

คือคิดเข้าไม่ถึงภาวนามยปัญญา ทั้งที่อ่านคัมภีร์มาเยอะ.... แต่ก็หลงสภาวธรรมไม่

เข้าใจธรรมชาติตามที่มันเป็นของมัน จึงพูดโยกไปมา

แล้วก็ติดบัญญัติ เข้าไม่ถึงปรมัตถ์อีกคนหนึ่ง

ส่วนผู้ภาวนา ภาวนาไปๆเห็นพองหนอ ยุบหนอตัวตนหายหมดตามเหตุปัจจัยของ

มัน โดยไม่ต้องคิดแยกเอาเอง



-สรุปประเด็น..ความรู้สึกของนักคิด กับนักภาวนาจะต่างกันดังขาวกับดำ ดังคนเล่น

สกี กับ คนไต่เขาเทียบกันไม่ได้


-คำตอบสุดท้ายที่เขาเข้าใจเอาเองว่าอาการ....ดังกล่าวจะวนไปวนมา...แบบไม่รู้

จบครับ

-ขอตอบว่า ชีวิตมนุษย์มีแค่นั้นแหละท่าน มีแต่ลมหายใจเข้า-ออกกับ

ความคิดซึ่งทำงานสัมพันธ์กันเช่นนั้น

จะกี่ปีกี่ชาติก็อย่างนั้น สภาวะจะเกิดดับเกิดดับวนไปวนมาอยู่แค่นั้น ไม่มีอะไรนอก

เหนือจากนี้

เมื่อโยคีรู้เห็นสภาวธรรมนั้นเปลี่ยนแปลงซ้ำๆซากๆ ชัดเจนขึ้น

จิตจะปล่อยวางนาม-รูป คลายความยึดติดถือมั่นลงเอง

จะมุ่งมั่นปฏิบัติตรงดิ่งต่อสภาวะสิ้นทุกข์ซึ่งเห็นแล้วนั้นว่าเป็นทางรอด

ซึ่งต่างจากคิดนึกเองว่า นี่ไม่ใช่นั่นๆคิดวนไม่รู้จบ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 29 พ.ย.2009, 8:38 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 03 พ.ย.2007, 8:57 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ่านแล้วสงสารภาวนามัยบุคคล ศรัทธามั่นหมั่นปฏิบัติหมั่นภาวนา

แต่หากัลยาณมิตรที่รู้แนวทางนี้ยากสะเหลือเกิน

เช่นรายนี้ถามว่า
=>



เมื่อปลายเดือนตุลา 50 ได้ไปปฏิบัติวิปัสสนาเป็นครั้งแรก (โยคี) 8 วัน 7 คืน ได้เห็นนิมิตและได้พบสภาวะทางธรรมหลายอย่าง ทั้งตัวสั่น เอน หงาย ตากระตุก คันหยุบหยิบตามใบหน้า ฯลฯ

ปฎิบัติประมาณวันที่ 4 มีอาการปวดศีรษะ คลื่นใส้ หน้ามืด (ตอนไม่ได้อยู่ในสมาธินะคะ) ซึ่งจะรู้สึกหนักศีระษะบ่อยๆค่ะ ยิ่งเวลานั่งสมาธิ หรือ เดินจงกรมจะยิ่งปวดมากขึ้น

ตอนนี้ไม่ได้เป็นโยคีแล้วก็ยังมีอาการหนักศีรษะอยู่บ่อยๆ
ยิ่งตอนเวลาทำอะไรที่ใช้สมาธิ เช่น การอ่านหนังสือก็จะยิ่งเป็นค่ะ แต่คลื่นไส้ไม่ค่อยเป็นแล้ว และตอนนี้เวลาไปนั่งสมาธิที่วัด 30 นาที จะมีอาการเหมือนมีอะไรมาพัดทำให้ตัวเอน

ก็พยายามกำหนดสติให้ตั้งหนอๆ ก็จะตั้ง แต่ก็เป็นเรื่อยๆ และก็รู้สึกหนักศีรษะ ทั้งที่พยายามกำหนดหลายๆ อย่างไม่ติดอยู่กับพอง ยุบอย่างเดียว

(นำมาจากลิงค์นี้) =>

http://larndham.net/index.php?showtopic=28923&st=0
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 29 พ.ย.2009, 10:41 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 03 พ.ย.2007, 9:11 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คห. 1 บอร์ดนั้นตอบสภาวะนั้นประมาณว่า เป็นสมถะ (ไม่เป็นวิปัสสนา)

-ดังกล่าวไว้ว่าอารมณ์ของภาวนามัยลึกกว่าการนั่งตรึกนึกคิด เทียบกันไม่ได้

ถาม-ตอบแก้ปัญหากันและกันไม่ได้

ช่วย จขกท. รอดพ้นจากสภาวะนั้นไม่ได้


-ผู้ที่ใช้บริกรรมภาวนา พุทโธ ก็ดี พองหนอ ยุบหนอ ก็ดี อื่นๆอีกก็ตาม บอร์ดนั้น

แก้อารมณ์กรรมฐานไม่ได้ดอก


อีกฝ่ายหนึ่งคิดว่า เป็นอย่างนั้นอย่างนี้

แต่อีกฝ่ายภาวนาไปๆ จนสภาวะปรากฏ แล้วกำหนดรู้สภาวธรรมนั้น ๆ

ตามที่มันเป็นแต่ละขณะๆ จนรู้เห็นสภาวะนั้นว่าเป็นไตรลักษณ์
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 29 พ.ย.2009, 10:45 am, ทั้งหมด 2 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 03 พ.ย.2007, 10:54 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

นำปัญหาลิงค์นั้นมาลงตรงนี้เท่าที่จำเป็น ดังนี้=>


สภาวะทางธรรมหลายอย่าง ทั้ง ตัวสั่น เอน หงาย ตากระตุก คันหยุบหยิบตามใบหน้า ฯลฯ ปฎิบัติประมาณวันที่ 4 มีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ หน้ามืด (ตอนไม่ได้อยู่ในสมาธินะคะ) ซึ่งจะรู้สึกหนักศีรษะบ่อยๆค่ะ ยิ่งเวลานั่งสมาธิ หรือ เดินจงกรมจะยิ่งปวดมากขึ้น

ตอนนี้ไม่ได้เป็นโยคีแล้วก็ยังมีอาการหนักศีรษะอยู่บ่อยๆ ยิ่งตอนเวลาทำอะไรที่ใช้สมาธิ เช่น การอ่านหนังสือก็จะยิ่งเป็นค่ะ แต่คลื่นไส้ไม่ค่อยเป็นแล้ว และตอนนี้เวลาไปนั่งสมาธิที่วัด 30 นาที จะมีอาการเหมือนมีอะไรมาพัดทำให้ตัวเอน ก็พยายามกำหนดสติให้ตั้งหนอๆ ก็จะตั้ง แต่ก็เป็นเรื่อยๆ และก็รู้สึกหนักศีรษะ ทั้งที่พยายามกำหนดหลายๆอย่างไม่ติดอยู่กับพอง ยุบอย่างเดียว



รู้สึกเห็นใจ อยากช่วยแต่เข้าไปตอบที่นั่นไม่ได้เลย
จึงนำปัญหาตอบทิ้งไว้ตรงนี้ จขกท. จะพลัดหลงเข้ามาเห็นปัญหาของตนหรือไม่แล้วแต่วาสนาแล้วกัน
แต่ถึงอย่างไรก็น่าจะเป็นอุทาหรณ์แก่ผู้เดินทางสายนี้อยู่บ้าง ไม่มากก็น้อยในอนาคต

-สภาวะที่เกิดแก่ผู้นี้ หากได้ผู้แนะนำที่เข้าใจอารมณ์กรรมฐาน โดยเฉพาะวัดนั้น

(ไม่ทราบวัดอะไร) ซึ่งไม่ใช่สิ่งสุดวิสัยแต่อย่างใด

-วิธีแก้ให้รอดพ้นจากสภาวะนั้นๆ หรือที่เรียกรู้กันในหมู่ผู้ปฏิบัติธรรมว่าแก้อารมณ์ มีอย่างเดียว คือกำหนดรู้สภาวะนั้นตามเป็นจริง คือกำหนดรู้ตัวตามที่มันเป็นนั่นแหละ สภาวะจะคืนปกติ
ใหม่ๆ คืนแล้วอาจเกิดอีก เกิดอีกต้องกำหนดอีก กำหนดทุกครั้งที่มันเกิด ทุกอย่างทุกสภาวะจำไว้เลย

-ผู้ปฏิบัติไม่เข้าใจ คิดว่ากำหนดครั้งเดียวหายจ้อยไม่เป็นอีก ไม่ใช่ ๆ
แรกๆองค์ธรรมมี สติสมาธิปัญญาเป็นต้นยังอ่อนอยู่ ก็ต้องอาศัยการกำหนดปัจจุบันธรรมแต่ละขณะๆนี่แหละ

สภาวะต่างๆ เมื่อมีเหตุเกิดมันก็เกิด เกิดได้ดับได้ ไม่ต้องหวั่นใจ
ใหม่ๆ โยคีพึงกำหนดรู้หรือภาษาทางธรรมเรียกว่าปริญญาในทุกข์ (กำหนดรู้ทุกข์)
เผชิญหน้าต่อทุกข์ ตามเป็นจริง มันเป็นอย่างไร กำหนดอย่างนั้น


อุบายนี้นักปฏิบัติธรรมชาติ พากันพลาดหมด

ตัวอย่างที่ถูกต้องแต่ทำแล้วไม่ทำต่อ
=>


พยายามกำหนดสติให้ตั้งหนอๆ ก็จะตั้ง แต่ก็เป็นเรื่อยๆ


เมื่อกำหนดทันสภาวะ มันก็คืน แต่คืนแล้วอาจเกิดอีก เกิดอีกกำหนดอีกๆๆๆ
อย่างที่บอกสติสมาธิยังอ่อนยังไม่แข็งแรงพอ

-จึงหวั่นๆเริ่มใจเสีย ว่าเอ..อะไรเป็นแล้วเป็นอีก
ไม่อยากกำหนดแล้ว จิตเริ่มยึดสภาวะแล้ว
ปล่อยๆ มันไป เพราะไม่แน่ใจแล้วนี่ เมื่อจิตยึดไม่กำหนดดังว่า จึงทำให้รู้สึกเหมือนว่าหนักขึ้นๆ นี่แหละอิทธิพลของอุปาทาน
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 29 พ.ย.2009, 10:49 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 03 พ.ย.2007, 12:49 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อาการปวดศีรษะ

อย่างที่บอกเป็นอย่างไรกำหนดอย่างนั้น
ปวดหัว “ปวดหัวหนอๆๆ”
กำหนดลงไปตรงที่ปวดนั้น กำหนดแล้ววาง
จับพองหนอ ยุบหนอ ต่อ
รู้สึกปวดอีก “ปวดหนอๆๆๆ” กำหนดแล้ววาง
จับพอง-ยุบ ภาวนา พองหนอ ยุบหนอ ต่อไป

สภาวธรรมอื่นๆ ก็ลักษณะเดียวกันนี้
ต่อให้มีสักร้อยสักพันเหตุการณ์ก็ไม่กลัวกำหนดตามนั้นเลย
.........

คลื่นไส้

“คลื่นไส้หนอๆๆ”

หน้ามืด

“หน้ามืดหนอ”
กำหนดแล้ววาง
พองหนอ ยุบหนอ นั่งหนอ (พิจารณารูปนั่งทั้งหมด)

(ตอนไม่ได้อยู่ในสมาธินะคะ) ซึ่งจะรู้สึกหนักศีรษะบ่อยๆค่ะ
ยิ่งเวลานั่งสมาธิ หรือ เดินจงกรมจะยิ่งปวดมากขึ้น


แม้จะเลิกนั่งกำหนดอารมณ์แล้ว แต่สภาวะยังค้างอยู่ จะคลายตัวได้ใช้เวลานิดหนึ่ง
แม้ออกจากสมาธิแล้ว รู้สึกอย่างไรก็ต้องกำหนดอย่างนั้น กำหนดแวบปล่อย

จิตที่เป็นสมาธิแล้ว แค่เรามองสิ่งใดนิ่งๆ จิตจะรวมตัววูบเป็นสมาธิเลย จะรู้สึกเหมือนกล้ามเนื้อบีบรัดตามตัวหน้าตา รู้สึกตึงตรงนั้นตรงนี้ นี่คืออาการของมัน ไม่ต้องตกใจ กำหนดตามรู้สึกแล้วปล่อย

เวทนาเกิดแรง เดินจงกรมระยะที่หนึ่ง ซ้าย ย่างหนอ ขวา ย่าง หนอ ให้มากขึ้นหน่อยแก้ เดินเร็วๆ นิดหนึ่ง สมาธิจิตจะคลายตัว อาการบีบรัดตรงนั้นตรงนี้จะคลาย เพราะจงกรมระยะที่หนึ่งวิริยะเกิดมากกว่าองค์ธรรมอื่น ทำให้กายใจจะเบา ผ่อนคลายกล้ามเนื้อทุกส่วน

-ใช้ชีวิตประจำวันอาการดังกล่าวก็เกิดได้ ไม่แปลกเพราะสภาวะยังไม่คลายตัว

เคยมีคนๆหนึ่งไปปฏิบัติสำนักแถวๆเมืองกาญจน์ ปวดที่หน้าผากติดมาด้วยไม่มีใครสอนวิธีแก้ให้

กลับบ้านทำงานสภาวะทุกข์ยังรบกวนอยู่ เคร่งตึงรบกวนเวลาทำงานใช้สมาธิตลอด เมื่อแนะนำให้กำหนดเมื่อจิตแวบไปเกาะตรงที่ปวด แล้วปล่อย แล้วแก้ เดินจงกรมระยะต่ำๆ ก็จะเป็นปกติเอง
-ภาวนามัย ขยันกำหนดอารมณ์ตามสภาพนี่สำคัญ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 03 พ.ย.2007, 3:20 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ตอนนี้ไม่ได้เป็นโยคีแล้วก็ยังมีอาการหนักศีรษะอยู่บ่อยๆ ยิ่งตอนเวลาทำอะไรที่ใช้สมาธิ
เช่น การอ่านหนังสือก็จะยิ่งเป็นค่ะ แต่คลื่นไส้ไม่ค่อยเป็นแล้ว

และตอนนี้เวลาไปนั่งสมาธิที่วัด 30 นาที จะมีอาการเหมือนมีอะไรมาพัดทำให้ตัวเอน

ก็พยายามกำหนดสติให้ตั้งหนอๆ ก็จะตั้ง แต่ก็เป็นเรื่อยๆ และก็รู้สึกหนักศีรษะ ทั้งที่พยายามกำหนดหลายๆอย่างไม่ติดอยู่กับพอง ยุบอย่างเดียว



-แนะอุบายวิธีรอดจากสภาวะข้างต้นไว้พอเห็นแนวทางแล้ว คือให้กำหนดตามที่มันเป็น

-หน้านี้จะกล่าวธรรมโดยรวมบ้าง ซึ่งได้แก่รูป-นาม หรือกายกับใจนี้
ที่มีสภาวะสำคัญ คือความเป็นไตรลักษณ์ ซึ่งพูดถึงบ่อยๆ จนจำได้แล้ว (บางคนบอกว่ารู้แล้วๆจำได้แล้ว ต้องการรู้ปฏิจจสมุปบาทบ้าง)... แต่รู้เห็นด้วยสัมมาปัญญาค่อนข้างยาก

เช่นรู้เห็นว่า
-ภาวะที่ไม่เที่ยงไม่คงที่ เกิดแล้วสลายไปที่เรียกว่าอนิจจตา (อนิจจัง)

-ภาวะที่ถูกบีบคั้นด้วยเกิดสลาย มีความกดดันขัดแย้งแฝงอยู่ ไม่สมบูรณ์ในตัว ที่เรียกว่า
ทุกขตา (ทุกขัง)

-ภาวะที่ไร้ตัวตนที่แท้จริงของมันเองที่เรียกว่า อนัตตตา (อนัตตา)

มิใช่เห็นได้ง่ายๆ แต่ท่องจำไม่ยาก

นาม-รูป หรือกายกับใจนี่แหละ (พอง-ยุบและความคิด) เกิดสลายเปลี่ยนแปลงบีบคั้นกดดันความรู้สึกมนุษย์ทุกวินาที ทุกลมหายใจเข้าออก

-สังเกตภาวะหยาบๆทั้งหลายที่เกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัติ ไม่มีสิ่งใดที่คงที่ยั่งยืน เดี๋ยวภาวะนั้นเกิด
อันนี้สลายหายไปบีบคั้นจิตใจเหลือเกิน
ภาวะบางอย่างให้ความอิ่มเอมใจ... แสดงถึงความเป็นอนัตตา

อาการคลื่นไส้ เกิดแล้วก็กำลังจะสลายไป
ความรู้สึกว่าเหมือนมีอะไรพัดให้ตัวเอนเกิดขึ้นมาอีก

(อันที่จริงตัวไม่เอนหรอก แต่ความรู้มันเอน ภาวะใดที่เกิดขึ้น เมื่อต้องการพิสูจน์ว่าเอนเป็นต้นจริงหรือไม่ ลองค่อยๆลืมตาดูก็ได้ ยังนั่งตัวตรงอยู่นั่นแหละ เพราะสังขารในไตรลักษณ์ปรุงแปรให้เป็นเช่นนั้น)

สภาวะต่างๆดังกล่าวเป็นต้น ผู้ใช้ภาวนาเท่านั้นจึงจะประสบ ไปถามที่บอร์ดนั้น อย่างเก่งก็บอกว่าเป็นสมถะไม่ใช่วิปัสสนา เพ่งเกินไป แล้วก็บอกให้เลิกทำอย่างนี้ แล้วนั่งคิดแบบของเค้า

สภาวธรรมที่ปรากฎแก่ผู้ภาวนาหลากหลาย เมื่อยังไม่รู้สาเหตุ บ้างก็โทษเจ้ากรรมนายเวรเป็นอุปสรรคคอยขัดขวาง

(ความจริงไม่มีอำนาจเร้นลับที่ไหนคอยขัดขวางหรือกลั้นแกล้งดอก เมื่อปฏิบัติถึงตรงนี้สภาวะเป็นอย่างนั้นเอง) ...หยุดเลิกปฏิบัติเลยก็มี เพราะขาดกัลยาณมิตรที่เข้าใจสภาวธรรมแนะนำ

ทั้งที่พยายามกำหนดหลายๆอย่างไม่ติดอยู่กับพอง ยุบอย่างเดียว

-ทำความเข้าใจพอง-ยุบหน่อย
พอง-ยุบ เป็นเสมือนหลัก เมื่อสิ่งใดมากระทบค่อยปล่อยหลักไปกำหนดสิ่งที่กระทบนั้น แล้วกลับมาจับหลัก คือ พอง-ยุบ กำหนดต่อไป ไม่พึงทิ้งหลัก ไปเลย
แม้หลักเองก็เป็นไตรลักษณ์อยู่ในตัวมันเอง กำหนดตามให้ทัน

มีอาการเหมือนมีอะไรมาพัดทำให้ตัวเอน

-รู้สึกว่าตัวเอน “เอนหนอๆๆ” ก็จะคืน หรือเมื่อไม่รู้ว่าจะกำหนดยังไงดี “รู้หนอๆๆ” ก็ได้ คือรู้ว่า...เป็นยังงั้น


จงกรมศึกษาที่=>

http://www.whatami.ob.tc/-View.php?N=30
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 04 พ.ย.2007, 7:58 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

http://larndham.net/index.php?showtopic=28923&st=2

ลิงค์เดิม คห. 3 แนะนำบ้าง =>

ตรงที่ภาวนาตั้งหนอ ๆ นั่นไม่ใช่ การเจริญสติอะไรเลยครับ
เป็นอาการของสมถะ ธรรมดา ๆ ครับ


เขาไม่เข้าใจสภาวะสมถะ ไม่เข้าใจสภาวะสติ รู้จักชื่อเรียกถูกว่า สติๆ

สมถะๆ

แต่ไม่รู้วิธีเจริญสติว่าต้องอาศัยเหตุปัจจัยอะไรบ้าง สติจึงจะเจริญขึ้นได้

สุดท้ายก็บอกให้เขาเลิกทำหันมาคิดแบบตนดีฝ่า

เข้าไม่ถึงภาวนามัยจริงๆ ด้วย

ศึกษาการทำงานของสติ-สัมปชัญญะ และวิธีเจริญสติสัมปชัญญะ

ตั้งแต่ คห.7 เป็นต้นไปที่=>


http://www.whatami.ob.tc/-View.php?N=28
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
jinny95
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 07 พ.ย. 2007
ตอบ: 6
ที่อยู่ (จังหวัด): Ayutthaya

ตอบตอบเมื่อ: 12 พ.ย.2007, 5:03 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ทำต่อไปครับ
ตำรา ก็ วาง ๆ บ้างก็ดีนะครับ
ทำไป แล้วตามดูว่า เป็นอย่างไร
สิ่งใดใจจิตใจเกิดขึ้น
เกิดทับเกิดซ้อนกัน
เกิดต่อเนื่องกัน
แล้ว เป็นอย่างไร
 

_________________
สิ่งที่คุณหา มันก็อยู่ที่คุณนั่นแหล่ะ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 12 พ.ย.2007, 5:38 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ธรรมสากัจฉากันนะครับ คุณ jinny 95

กำลังหาเพื่อนแลกเปลี่ยนปฏิบัติกรรมฐานอยู่พอดี

เข้าไปตั้งกระทู้สนทนากันตามลิงค์ครับ

http://www.whatami.ob.tc/

ลิงค์ข้างบนเปิดยาก ก็ที่ลิงค์นี้ =>

http://www.free-webboard.com/index.php?user=vipassanatipani
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 26 มี.ค.2008, 5:12 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 04 ก.พ.2008, 9:52 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



อ้างอิงจาก:
ขณะใดที่ จิต รู้อารมณ์ โดยที่ไม่มีความรู้สึกตัว ในขณะนั้นเป็นสมถะ

http://larndham.net/index.php?showtopic=30295&st=1



อธิบายธรรมโดยองค์รวมขัดแย้งกันเอง

ที่พลาดจนเสียหายแก่ธรรม คือ สภาวะของสมถะที่ว่า ว่าไม่มีความรู้สึกตัวบ้าง ลืมกายลืมใจ

บ้าง

อธิบายสภาวธรรมชั้นสูงตอนที่ว่า =>

เมื่อจิตรู้อารมณ์และรู้สึกตัว และอาศัยการฟังธรรมเรื่องอริยสัจจ์มาก่อน หรือเคยได้ยินได้ฟัง

เรื่องไตรลักษณ์มาก่อน จิตจะยกภูมิขึ้นสู่การพิจารณาสภาวธรรมต่างๆจนเห็นสามัญลักษณะ

หรือไตรลักษณ์ได้เอง (น้อมไปไม่ได้ บังคับไม่ได้ จิตจะพิจารณาธรรมเอง)



พูดเหมือนกับว่า อริยสัจ ไตรลักษณ์ เป็นสิ่งเลื่อนๆลอยๆ

ศึกษาไตรลักษณ์และสิ่งที่ปิดบังไตรลักษณ์ลิงค์นี้

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=15357
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 17 เม.ย.2008, 5:24 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ลิงค์นี้

http://larndham.net/index.php?showtopic=30856&st=20

เป็นเครื่องยืนยันในตัวมันเองว่า ว่าวิธีดูจิต กับ วิธีที่ใช้คำบริกรรม เป็นต้นว่าใช้

พุท-โธ พอง-ยุบ เป็นอย่างที่เกริ่นไว้ข้างต้นจริงๆ

เหตุเพราะความลึกของสภาวะอารมณ์ที่สัมผัสนั้นต่างระดับกัน

ภาวนามัยลึกกว่าที่นักดูจิตจะเข้าใจ

วิธีดูจิตแบบนั้นระดับต้นๆ อารมณ์ยังลอยๆด้วยรูปแบบที่คิดขึ้นมาใช้ทำ

แม้จะพอเทียบได้กับจิตตานุปัสสนา แต่สิ่งสำคัญคือขาดหลัก (คือกาย) มันถึงลอย

เรียกว่าลอยไปตามจิต คือจิตเองลอยเอง


เพราะฉะนั้น การสนทนา จึงเข้าลักษณะถามอย่างตอบอย่าง

เมื่อคำตอบไม่ตรงกับคำถาม ไม่ถูกอารมณ์ไม่โดนใจ

ความรู้สึกจึงพรั่งพรูออกมาประมาณว่า


อย่าเพิ่งรำคาญกับสิ่งที่ดิฉันสงสัยเลยนะคะ ดิฉันเพียงแต่อยากเข้าใจและได้รับความกระจ่าง

จากผู้รู้เท่านั้นคะ ถ้ายังมีคำถาม ก็ผ่านจุดนี้ไม่ได้ซะที ตัวเองก็อึดอัดนะคะ

และเรียนรู้ว่า เรื่องปฏิบัติธรรมละเอียดอ่อนเกินกว่าจะคุยกับเพื่อนหรือญาติ

เพราะต่างคนต่างมีประสบการณ์ที่ได้จากการปฏิบัติต่างกัน


ลานธรรมจึงเป็นที่พึ่งเพื่อขอความกระจ่างแบบไม่ bias นะคะ

ถ้าคุณวัชรพลหรือสมาชิกท่านใดเข้าใจสภาวะที่ดิฉันเป็นอยู่ หรือเคยผ่านประสบการณ์แบบนี้

ดิฉันรอฟังคำแนะนำนะคะ

ขอบคุณอีกครั้งค่ะ

 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 17 เม.ย.2008, 7:04 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


2 ลิงค์นี้

http://www.free-webboard.com/view.php?user=vipassanatipani&wb_id=28&topic=รวมสภาวะของผู้เริ่มภาวนา

http://www.free-webboard.com/view.php?user=vipassanatipani&wb_id=27&topic=คำบริกรรมภาวนา

เป็นสภาวธรรมซึ่งเกิดจากการภาวนา ซึ่งผู้ปฏิบัติกรรมฐานไม่เข้าใจหลงวน

อยู่นักต่อนักแล้ว แม้แต่ผู้ตั้งตนเป็นวิปัสสนาจารย์ (ส่วนมาก) เองก็ไม่เว้น


สรุปประเด็นนี้ว่า สภาวะอารมณ์ที่เกิดจากการภาวนา จะต้องแก้ด้วยภาวนาเท่านั้น

มิใช่แก้ด้วยคำพูดคำแนะนำแบบนักปรัชญา
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง