Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ปัญญาในพระพุทธศาสนา (สมเด็จพระญาณสังวรฯ) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
I am
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ต.ค. 2006
ตอบ: 972

ตอบตอบเมื่อ: 05 พ.ย.2007, 8:38 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

ชุดความรู้เรื่องพระพุทธศาสนา

ปัญญาในพระพุทธศาสนา


พระนิพนธ์
สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
 

_________________
ทุกข์ใดดับได้ด้วยปัญญา ทุกข์นั้นจะไม่เกิดอีก
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
I am
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ต.ค. 2006
ตอบ: 972

ตอบตอบเมื่อ: 05 พ.ย.2007, 8:39 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คำนำ

มหามกุฎราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมป์ มีนโยบานที่จะจัดพิมพ์หนังสือทางพระพุทธศาสนาเพื่อประชาชนทุกระดับชั้น สามารถอ่านศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับคำสอนของพระพุทธศาสนาได้โดยง่าย

อันจะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปประพฤติปฏิบัติให้ เกิดสันติสุขแก่ชีวิตและสังคม ทั้งจะเป็นการช่วยกันดำรงและส่งเสริมพระพุทธศาสนาให้มั่นคงสถาพรสืบไปด้วย

มหามกุฎราชวิทยาลัยได้พิจารณาเห็นว่า พระนิพนธ์ของเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เหมาะสมเป็นอย่างยิ่งที่จะจัดพิมพ์เผยแพร่ตามนโยบายดังกล่าว

เพราะเป็นบทพระนิพนธ์ที่ประกอบด้วยเนื้อหาสาระครบถ้วนบริบูรณ์ และอ่านเข้าใจง่ายสำหรับผู้อ่านทุกระดับ มหามกุฏราชวิทยาลัย จึงได้เลือกสรรมาจัดพิมพ์เผยแพร่เป็นชุดๆ เป็นลำดับไป

เรื่องปัญญาที่จัดพิมพ์ขึ้นครั้งนี้ ปรับปรุงมาจากธรรมบรรยายของเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช ที่ทรงสอนพระนวกภิกษุ วัดบวรนิเวศวิหาร ในพรรษกาล ๒๕๒๓ และ ๒๕๓๐โดยคัดเลือดตัดตอนมาเฉพาะส่วนที่เห็นว่า จะทำให้ผู้อ่านได้ ความรู้ความเข้าใจเรื่องปัญญา ตามหลักคำสอนตามความมุ่งหมายทางพระพุทธศาสนา

โดยมีเนื้อหาไม่ยากและไม่ง่ายจนเกินไป ทั้งไม่ยาวและไม่สั้นจนเกินไปด้วย แต่ก็มีเนื้อหาพอเพียงที่จะทำให้ผู้อ่านได้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องปัญญาได้อย่างดีเป็นพื้นฐานที่จะศึกษาในรายละเอียดต่อไปได้
 

_________________
ทุกข์ใดดับได้ด้วยปัญญา ทุกข์นั้นจะไม่เกิดอีก
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
I am
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ต.ค. 2006
ตอบ: 972

ตอบตอบเมื่อ: 05 พ.ย.2007, 8:41 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สารบัญ

๑. ความหมายของปัญญา
๒. ปัญญา ๓ ระดับ
๓. ความสำคัญของปัญญา
๔. ความรู้ทางอายตนะ
๕. มโนเป็นตัวเชื่อมระหว่างรูปและนาม
๖. วิถีจิตใจเทียบกับระบบมันสมอง
๗. ความรู้ทางอายตนะไม่ใช่ตัวปัญญา
๘. ทางให้เกิดปัญญา
๙. ปัญญาที่แท้จริง
๑๐. ปัญญาอริยสัจ
๑๑. รู้จริงต้องละได้เว้นได้
๑๒. ให้รู้จักกำหนดรู้
 

_________________
ทุกข์ใดดับได้ด้วยปัญญา ทุกข์นั้นจะไม่เกิดอีก
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
I am
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ต.ค. 2006
ตอบ: 972

ตอบตอบเมื่อ: 05 พ.ย.2007, 8:43 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ปัญญาในพระพุทธศาสนา

๑. ความหมายของปัญญา

O ปัญญานั้น แปลว่า ความรู้ทั่ว อันหมายความว่าความรู้ทั่วถึงเหตุและผล รู้เหตุถึงผล รู้ผลถึงเหตุ ตามสัจจัคือความจริง เมื่อมีความรู้ดังกล่าวในสิ่งใด ก็ชื่อว่ามีปัญญาในสิ่งนั้น แต่ถ้าเป็นความรู้หลง รู้ผิด คือไม่ใช่เป็นความรู้จริง ก็ไม่เรียกว่าปัญญา และมีคำเรียกรู้ถูกต้องว่า สัมมัปปัญญา ปัญญาชอบ ส่วนรู้ผิด รู้หลง เรียกว่า มิจฉาปัญญา หรือ มิจฉัปปัญญา ปัญญาผิด ก็แปลว่าเมื่อแยกเรียกดังนี้

O ปัญญาก็เป็นคำกลางๆ แต่ต้องเป็นความรู้ถูกต้องถึงเป็นปัญญาหรือสัมมัปปัญญานั้นเอง จึงเป็นปัญญา ถ้าไม่ใช่สัมมัปปัญญา เป็นมิจฉัปปัญญา ปัญญาผิด ก็ไม่เรียกว่าปัญญา แต่เป็นความรู้หลง รู้ผิด เพราะฉะนั้น เมื่อเรียกว่าปัญญาโดยทั่วไป จึงมุ่งถึงในทางดี อันหมายถึงว่ารู้ถูกต้อง ดังที่อธิบายไว้ข้างต้นว่า รู้ทั่วถึงเหตุผลตามสัจจะคือตามที่เป็นจริง

O คำว่าตามที่เป็นจริงนั้น เรียกว่าตามสัจจัคือความจริงอย่างนั้นก็ได้ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ยถาภูตะ ตามที่เป็นแล้ว ตามที่มีแล้ว คือว่ามีแล้วเป็นแล้วอย่างไร ก็รู้อย่างนั้น ไม่ใช่รู้ผิดไปจากที่มีแล้วที่เป็นแล้ว พูกดันสั้นๆ ก็รู้ตามเป็นจริง ปัญญาดั่งกล่าวนี้เป็นสิกขา คือเป็นข้อที่พึงศึกษา อันหมายความว่าเรียนให้รู้จักว่าปัญญาที่เป็นตัวปัญญาดังกล่าวนั้นเป็นอย่างไร และก็ปฏิบัติให้ปัญญาดังกล่าวนี้มีขึ้นเป็นขึ้น


๒. ปัญญา ๓ ระดับ

O ความรู้ที่เกิดจากการเรียนต่างๆ เป็รศิลปวิทยา ตลอกจนถึงเรียนพุทธศาสนาดีงที่เรียนกันอยู่นี้ ใช้ตาใช้หูก็เป็นความรู้ขึ้นมา ดังนี้เรียกกันว่าปัญญา เป็น ปริยัติปัญญา ปัญญาทาง ปริยัติคือการเรียน

และคำว่าการเรียนนั้น จึงมีความหายว่าฟังแต่โบราณก็ใช้ฟัง ไม่มีตัวหนังสือ เมื่อมีตัวหนังสือขึ้นก็มีอ่านท่องบ่นจำทรง เพ่งด้วยใจอันหมายถึงว่าพินิจพิจารณา ขบเจาะด้วยทิฐิ ความเห็น คือทำความเข้าใจให้ถูกต้อง นี่เป็นปริยัติปัญญา ปัญญาทางปริยัติ

O เมื่อเรียนรู้แล้วก็ปฏิบัติ ดังเช่นเมื่อเรียนู้ศิลปวิทยแล้วนำมาปฏิบัติ เหมือนอย่างเรียนการช่าง เรียนรู้แล้วก็มาประกอบสิ่งนั้นๆ ที่เป็นเรื่องของช่าง เช่น สร้างสิ่งนั้น สร้างสิ่งนี้ สร้างตึกรามบ้านเรือน เป็นต้น

และเมื่อเรียนทางพระพุทธศาสนา มีความรู้ทางปริยัติแล้ว ก็นำมาปฏิบัติทางกาย ทางวาจา ทางใจ เช่น เมื่อเรียนรู้จักศีล รู้จักสมาธิ รู้จักปัญญา ก็นำมาปฏิบัติให้เป็นศีล เป็นสมาธิ เป็นปัญญา ขึ้นที่ตนเอง ก็ได้ปัญญาที่เกิดจากการปฏิบัติขึ้นโดยลำดับ

และโดยเฉพาะพุทธศาสนา ซึ่งคือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้น ล้วนเป็นคำสั่งสอนที่ให้ละชั่ว ทำดี ให้สอนของพระพุทธเจ้านั้น ล้วนเป็นคำสั่งสอนที่ให้ละชั่ว ทำดี

ให้ชำระจิตของตนให้บริสุทธิ์ ผ่องใส เป็นเครื่องขัดเกลากิเลส เครื่องเศร้าหมอง คือตัณหาความดิ้นรนทะยานออก กิเลสกองโลภกองโกรธกองหลง หรือกิเลสกองราคะโทสะโมหะให้หมดไป จากจิตใจ ก็ได้ปัญญาคือความรู้ในการปฏิบัติ อันเป็นเครื่องขัดเกลาดังกล่าวนี้ขึ้นไปโดยลำดับ ดังนี้ก็เป็นปฏิบัติปัญญา ปัญญาอันเกิดจากการปฏิบัติ

O เมื่อปฏิบัติไปจนถึงที่สุด อันหมายความว่าชำระจิตใจด้วยปัญญา ให้บริสุทธิ์หมดจดได้บางส่วนหรือสิ้นเชิง ที่เรียกว่า เป็นมรรค เป็นผล เป็นนิพพาน

ตั้งแต่ชั้นต้น คือโสดาปัตติมาค โสดาปัตติผล จนถึงขั้น อรหัตตมาค อรหัตตผล อันเป็นชั้นสูงสุด กำจัดกิเลสได้หมดสิ้น ก็เรียกรวบยอดว่า ปฏิเวธปัญญา ปัญญาคือความรู้แจ้งแทงตลอด อันหมายความว่าเจาะแทงกิเลสที่หุ้มห่อจิตใจให้หลุดไปได้หมดสิ้นให้บรรลุถึงความบริสุทธิ์สิ้นเชิง

เพราะฉะนั้น ปัญญา จึงมี ๓ อันดับ ปริยัติปัญญา ปฏิบัติปัญญา ปฏิเวธปัญญา


(มีต่อ)
 

_________________
ทุกข์ใดดับได้ด้วยปัญญา ทุกข์นั้นจะไม่เกิดอีก
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
I am
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ต.ค. 2006
ตอบ: 972

ตอบตอบเมื่อ: 05 พ.ย.2007, 8:47 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๓. ความสำคัญของปัญญา

O ปัญญานี้เป็นธรรมข้อสำคัญ แม้ในทางปฏิบัติ ก็มุ่งปฏิบัติให้เกิดปัญญาในธรรมเป็นข้อสำคัญ เช่น ในสิกขา ๓ ก็มี ปัญญาสิขา เป็นข้อสูงสุด ในธุระ ๒ ก็มี วิปัสสนาธุระ เป็นข้อสูงสุด เพราะการปฏิบัติทุกอย่างถ้าขาดการปฏิบัติให้เกิดปัญญาก็เหมือนอย่างการเดินไปโดยไม่ลืมตาดู ไม่มีความรู้ ความเห็นอะไรเกิดขึ้น

O แต่ว่า คำว่า ปัญญานี้ ได้มีควาหมายที่ใช้กัน ทั้งใน ทางรู้ผิด ทั้งในทางรู้ถูก เมื่อเป็นความรู้ถูก เรียกว่า สัมมาปัญญา หรือสัมัปปัญญา ความรู้ถูกต้อง มิจฉัปปัญญา คือมิจฉาปัญญา รู้ผิด ทางพุทธศาสนาต้องการให้ ละมิจฉัปปัญญา แต่ปฏิบัติให้ได้สัมมัปปัญญา ปัญญาคือความรู้ถูกต้อง

O ก็แหละความรู้นี้เป็นธรรมชาติของจิตของทุกคน เพราะทุกคนนั้นมีจิตซึ่งเป็น วิญญาณธาตุ คือ ธาตุรู้ คือย่อมรู้อะไรๆได้ แต่ว่าธาตุรู้ของจิตนี้ เมื่อยังมีอวิชชาคือความไม่รู้อันหมายความว่าความไม่รู้จริงประกอบอยู่ ก็ทำให้จิตซึ่งเป็นธาตุรู้นี้เป็นความรู้ผิด

เพราะฉะนั้น จิตซึ่งเป็นธาตุรู้นี้เป็นความรู้ผิด เพราะฉะนั้นจิต ซึ่งเป็นธาตุรู้อันประกอบด้วยอวิชชา และเมื่ออวิชชาแสดงออกมา จึงทำให้ความรู้ผิดเป็นความรู้หลงอันเรียกว่า โมหะคือความหลง เพราะที่เรียกว่าโมหะคือความหลงนั้น ก็ต้องมีความรู้อยู่เหมือนกัน ไม่ใช่ไม่รู้แต่ว่าเป็นความรู้ผิด รู้ที่ถือเอาผิด จึงเรียกว่าเป็นความหลง ก็คือเป็นความรู้หลงหรือความรู้ผิดนั่นเอง


๔. ความรู้ทางอายตนะ

O ความรู้ที่บุคคลและสัตว์ดิรัจฉานได้รับกันอยู่เหมือนๆกันก็คือความรู้ทางอายตนะ สำหรับคนนั้นมีอายตนะที่เป็นภายในสำหรับต่อให้จิตซึ่งเป็นธาตุรู้ออกมารู้อะไรๆ ได้ ๖ ทาง จึงเรียกว่าทวารทั้ง ๖ อันได้แก่ จักขุทวาร ทวารตา คือทางตา โสตทวาร ทวารหูคือทางหู ฆานทวาร คือทางจมูก ชิวหาทวาร คือทางลิ้น กายทวาร คือทางกาย และมโนทวาร คือทางใจอันได้แก่มโน ซึ่งมโนทวารคือทางใจนี้

O ในบัดนี้บางท่านได้มีความเห็นว่าได้แก่มันสมอง แต่ในทางพระพุทธศาสนานั้นได้แสดงไว้ในด้านของความรู้ซึ่งเป็นหลักการ และก็ยังนับว่าตั้งอยู่ในระหว่าง รูป และ นาม เพราะว่า เป็นสื่อสำคัญที่จะให้รูปนั้นได้เกิดเป็นความรู้ซึ่งเป็นนามธรรมขึ้นมา ถ้าไม่มีมโนเป็นสื่อกลางอยู่ รูปธรรมก็ไม่อาจก่อให้เกิดนามธรรมได้ ดังเช่น ตา หู จมูก ลิ้น และกาย ทั้ง ๕ นี้เป็นรูปทั้งหมด ส่วนเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณซึ่งแสดงไว้ในขันธ์ ๕ นี่เป็นนาม


(มีต่อ)
 

_________________
ทุกข์ใดดับได้ด้วยปัญญา ทุกข์นั้นจะไม่เกิดอีก
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
I am
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ต.ค. 2006
ตอบ: 972

ตอบตอบเมื่อ: 05 พ.ย.2007, 8:50 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๕. มโนเป็นตัวเชื่อมระหว่างรูปและนาม

O คราวนี้รูปกับนามนี้จะมาต่อกันเข้าได้ สัมพันธ์กันได้ ก็ด้วยมีมโนเป็นสื่อ สำหรับที่จะทำให้จิตซึ่งเป็นธาตุรู้ออกมาอาศัยมโน รับรู้เรื่องรูปทางตา เรื่องเสียงทางหู เรื่องกลิ่นทางจมูก เรื่องรสทางลิ้น เรื่องสิ่งถูกต้องทางกาย และเรื่องของเรื่องเหล่านี้ทางมโนคือใจเอง

เพราะฉะนั้น จึงมีแสดงว่า ในการที่ตาจะมองเห็น หูจะได้ยิน และจมูกลิ้นกายจะได้ทราบ ก็ต้องมโนคือใจนี้เข้าไปประกอบอยู่ด้วย ในขณะที่เห็น ในขณะที่ได้ยิน ในขณะที่ได้ทราบนั้น หรืออีกอย่างหนึ่ง จะต้องเข้าไปประกอบด้วย จักขุประสาท โสตประสาท ฆานประสาท ชิวหาประสาทและกายประสาท

ซึ่งเป็นที่ ๕ นั้นด้วย จึงจะทำให้เกิดการมองเห็น เกิดการได้ยิน เกิดการได้ทราบ เป็นต้น ทางทวารทั้ง ๕ ข้างต้นนั้น และแม้ปราศจากทวารทั้ง ๕ นั้น ตัวมโนเองซึ่งเป็นข้อที่ ๖ นั้น ก็คิดรู้ถึงเรื่องอะไรต่ออะไร มีเรื่องรูปเป็นต้นที่ประสบพบผ่านมาแล้วได้ เช่นว่าเมื่อไปเห็นรูปอะไรมาเมื่อเช้าวันนี้ มาบัดนี้ก็นึกถึงรูปที่เห็นเมื่อเช้านั้นได้โดยไม่ต้องอาศัยตาในปัจจุบัน ดังนี้เป็นวินัยของมโนเอง


๖. วิถีจิตใจเทียบกับระบบมันสมอง

O การที่มีมโนต้องเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยทุกทางดังนี้ ก็ไปตรงกับแผนที่ของมันสมอง ดังที่มีแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์กรรมฐานที่ตึก ภปร. ดังที่มีแสดงไว้ว่า รูปที่ตาเห็นนั้นก็ไปกระทบประสาทตา แล้วก็ต้องเข้าไปกระทบประสาทที่เป็นมันสมองส่วนหนึ่ง

สำหรับรับสิ่งที่เข้าไปทางประสาทตานั้น ต้องมี ๒ อย่างและอันนี้แหละที่ท่านผู้ศึกษาธัมมะบางท่านเห็นว่า มโนเป็นมันสมอง ก็หมายถึงมันสมองส่วนนั้น แต่ว่าการจะเทียบกับอวัยวะร่างกายนั้น จะเทียบอะไรกับอะไรก็สุดแต่ผู้รู้จะเทียบกันไป

แต่พุทธศาสนานั้นได้แสดงเอาสิ่งที่เป็นปรากฏการณ์ของจิตใจเป็นสำคัญ เมื่อปรากฏการณ์ทางจิตใจได้ปรากฏว่ามีมโนอีกอันหนึ่งมาประกอบอยู่ดังนี้ จึงได้แสดงเอาไว้ ก็เป็นอันว่าพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้เกี่ยวกับเรื่องวิถีจิตใจไว้อย่างถูกต้องและมาตรงกับระบบมันสมองในปัจจุบัน

O วิถีจิตใจดังที่กล่าวมาถึงมโนนี้ ดังที่ยกมาเทียบนี้ ทุกคนก็สามารถที่จะพิสูจน์ได้ในบัดนี้ว่า ในเวลาที่ประสาท ๕ ข้างต้นปฏิบัติหน้าที่อยู่ จะต้องมีมโนเข้าไปประกอบด้วย จึงจะทำให้การปฏิบัติหน้าที่ของประสาทนั้นเสร็จ เช่น ตา ก็สำเร็จ เป็นการเห็นรูปดังกล่าวมาแล้วถ้าไม่มีมโนเข้าไปประกอบแล้วตาเห็นรูปจริง แต่ก็เหมือนกับไม่เห็นถ้าไม่มีมโนเข้าไปเกี่ยว

O เสียงที่พูดนั้นก็เหมือนกัน หูฟังคือประสาทหูกระทบเสียงแต่ว่าต้องมีมโนเข้าไปเกี่ยวด้วยจึงจะได้ยินเสียง ดังเช่นที่กำลังพูดอยู่นี้ ถ้ามโนคือใจของผู้ฟังไม่ตั้งใจฟังไปพร้อมกับหู คือส่งใจไปคิดถึงเรื่องอื่น เมื่อส่งใจไปคิดถึงเรื่องอื่นเมื่อใด หูกับดับเมื่อนั้น คือฟังไม่ได้ยิน

ต่อเมื่อส่งใจมาพร้อมกับหูด้วย จึงจะได้ยินทุกถ้อยคำ ถ้ามโนคือใจของตนเองนั้นออกไป เมื่อใดหูก็ดับเมื่อนั้น ไม่ได้ยินเสียงที่พูดนี้ หากจะถามว่าการที่ไม่ได้ยินนั้น เป็นเพราะหูหนวกหรือไม่ ก็ตอบได้ว่าไม่ใช่เพราะหูหนวก ประสาทหูยังดี

เสียงที่พูดอยู่นี้กับหูก็ยังกระทบกับประสาทหูนั้นรับเสียงได้ แต่เพราะมโนคือใจ คือไม่ได้ตั้งใจฟัง ใจไม่ฟังด้วย เพราะฉะนั้น หูก็ดับ ต้องมโนคือใจ คือตั้งใจฟังด้วย หูจึงใช้ได้คือได้ยินเสียงและทราบเรื่อง ทางตา ทางจมูก ทางลิ้น ทางกายก็เช่นเดียวกัน ต้องมีมโนคือใจ

คือต้องมีความตั้งใจเข้าไปประกอบอยู่ ในการดูอะไร ถ้าไม่มีใจเข้าไป ประกอบอยู่ ตาแม้จะตาดีไม่บอด ก็เหมือนตาบอดไม่เห็น จมูกก็เหมือนลิ้น ลิ้นก็เหมือนกัน กายก็เหมือนกัน ต้องมีมโนคือใจเข้าไปประกอบด้วย

O เพราะฉะนั้น ตัวมโนนี้จึงเป็นตัวเชื่อมในระหว่างรูปและนาม ถ้าหากว่าไม่มีมโนเป็นตัวเชื่อมแล้ว รูปกับนามก็ต่อกันไม่ได้ คือรูปเองนั้นที่รปะสารทต่างๆ ก็ไม่สำเร็จประโยชน์คือใช้ไม่ได้ ต่อเมื่อมีมโนเข้าไปประกอบ ประสาทต่างๆ นั้นจึงใช้ได้และก็ก่อให่เกิดนามธรรม เป็นเวทนา เป็นสัญญา เป็นสังขาร เป็นวิญญาณ ในอารมณ์นั้นๆ คือในเรื่องนั้นๆเพราะฉะนั้น จึงต้องมีมโนอยู่ดังนี้


(มีต่อ)
 

_________________
ทุกข์ใดดับได้ด้วยปัญญา ทุกข์นั้นจะไม่เกิดอีก
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
I am
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ต.ค. 2006
ตอบ: 972

ตอบตอบเมื่อ: 05 พ.ย.2007, 8:55 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๗. ความรู้ทางอายตนะไม่ใช่ตัวปัญญา

O จิตซึ่งเป็น ธาตุรู้ นี้ ก็ออกรู้เรื่องต่างๆ เรื่องรูป เรื่อง เสียง เรื่องกลิ่น เรื่องรส เรื่องโผฏฐัพพะคือสิ่งที่กายถูกต้องอยู่โดยปกติ สัตว์ดิรัจฉานก็มีอายตนะ มนุษย์ก็มีอายตนะสัตว์ก็มองเห็นอะไรได้ ได้ยินอะไรได้ มนุษย์ก็มีตามีหูที่เห็นที่ได้ยินอะไรได้

และก็มีความรู้อายตนะดังกล่าวนี้ด้วยกัน บางอย่างสัตว์มีความรู้ทางอายตนะยิ่งกว่าคน หรือดีกว่าคนในบางอย่าง ในบางอย่างคนมีอายตนะที่ให้รู้อะไรยิ่งกว่าสัตว์ดิรัจฉาน แต่ว่าความรู้ทางอายตนะดังที่กล่าวมานี้ เป็นความรู้ที่เป็นไปตามธรรมชาติธรรมดา ยังไม่เรียกว่าเป็นตัวปัญญา

O มนุษย์นั้นเป็นสัตว์โลกที่ได้รับนับถือว่ามีพื้นปัญญามาแต่กำเนิด เรียกว่า สชาติปัญญา ปัญญาที่มาพร้อมกับชาติเพราะว่าความเกิดมาเป็นมนุษย์นี้ เกิดมาได้ด้วยอำนาจของกุศลธรรม

กรรมที่เป็นกุศล คือเป็นกรรมที่กระทำด้วยความฉลาดกุศลแปลว่ากิจของคนฉลาด แต่ก็แปลอย่างอื่นได้อีก เพราะฉะนั้นเมื่อมีกุศลอันเป็นกิจของคนฉลาด ก็แปลว่าเป็นกรรมของคนมีปัญญานำให้เกิดมาเป็นมนุษย์ จึงได้มีปัญญาที่เป็นตัวความฉลาดอันสูงยิ่งกว่าความรู้ทางอายตนะนี้มาแต่กำเนิด


เพราะฉะนั้นมนุษย์เราจึงปัญญาที่เป็นตัวความรู้ทั่วถึง ที่เป็นตัวความฉลาดติดมาแต่กำเนิด มีความรู้ถึงสัจจะคือความจริงของโลกในเรื่องต่างๆ และสามารถที่จะนำพัฒนาให้เกิดความเจริญขึ้นทั้งทางร่างกาย ทั้งทางจิตใจ ต่างจากสัตว์ดิรัจฉานเป็นอันมาก ที่ก็มีความรู้ทางอายตนะอยู่ด้วยกัน

บางอย่างสัตว์มีความรู้ทางอาตยะดียิ่งกว่าคน สัตว์บางชนิดสามารถที่จะเห็นอะไรในกลางคืน ในความมืดได้ดียิ่งกว่าคน สามารถที่จะได้สัมผัสทางกายอะไร ได้ดียิ่งกว่าคนดังนี้เป็นต้น แต่ว่าทำไมสัตว์ดิรัจฉานจึงได้มีภาวะอยู่แค่นั้น

ตั้งแต่ดึกดำบรรพ์มาอย่างไร เดี๋ยวนี้ก็เป็นอย่างนั้น ไม่มีความเจริญขึ้นในทางร่างกายและทางจิตใจขึ้นมากมาย ทั้งนี้ก็เพราะมีตัวปัญญาที่เป็นพื้นอยู่ และก็มาประกอบสั่งสมปัญญาที่เป็นความรู้เข้าถึงสัจจะที่เป็นตัวความจริงนี้ให้มากขึ้นๆ พัฒนามาโดยลำดับ


๘. ทางให้เกิดปัญญา

O ความรู้ที่เป็นตัวปัญญาที่พัฒนามาโดยลำดับนี้ ก็อาศัยความรู้ทางอายตนะนี่แหละมาประกอบกระทำการปฏิบัติปลูกปัญญต่างๆ ด้วยวิธีที่ทางพุทธศาสนาได้ย่อลงเป็น ๓ คือ

O ทางสุตะ คือทางฟัง หมายรวมทั้งการอ่าน และหมายรวมทั้งการที่ทราบทางอายตนะอย่างอื่น อันการฟังนั้นได้ทางหูอ่านได้ทางตา การทราบนอกจากนี้ก็ได้ทางจมูกทางลิ้นทางกายอาศัยทางทั้ง ๕ นี้เสริมความรู้ให้มากขึ้น

แต่ว่าทางเสริมความรู้เหล่านี้ครั้งโบราณไม่มีตัวหนังสือ ก็ต้องอาศัยหู อาศัยฟังทางหู เป็นข้อสำคัญ จึงได้ยกเอาสุตะคือการสดับฟังขึ้นมาเป็นทางให้เกิดปัญญา และปัญญาที่ได้จากการฟัง อันรวมทั้งการอ่านและการทราบทางจมูกทางลิ้นทางกายเหล่านี้ ก็รวมเรียกว่าสุตมัยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการสดับ

O อาศัยจินตา คือความคิด คิดค้นพิจารณาจับเหตุจับผลที่ถูกต้อง เรียกว่า จินตา ก็เป็นทางให้เกิดปัญญา เรียกว่าจินตาปัญญา ปัญญาที่เกิดทางจินตา คือความคิดพินิจพิจารณา และยังต้องอาศัยการประกอบกระทำ ทำให่มีขึ้นให้เป็นขึ้น อันเรียกว่า

O ภาวนา ที่แปลว่า การกระทำให้มีขึ้นให้เป็นขึ้นได้แก่ภาคปฏิบัติ ปัญญาที่ได้ทางนี้เรียกว่า ภาวนามัยปัญญาปัญญาที่เกิดจากภาวนา การปฏิบัติทำให้มีขึ้นให้เป็นขึ้น

ทางพุทธศาสนาได้ตรัสแสดงปัญญาไว้ ๓ ทางดังนี้แต่ก็พึงทราบว่า ทั้ง ๓ ทางเหล่านี้นั้น คือตัวสุตะ การสดับฟัง จินตา ตัวความพินิจพิจารณา กับภาวนา การปฏิบัติอบรมให้มีขึ้นให้เป็นขึ้นนั้น เป็นทางให้เกิดปัญญา แต่ไม่ใช่ตัวปัญญา


(มีต่อ)
 

_________________
ทุกข์ใดดับได้ด้วยปัญญา ทุกข์นั้นจะไม่เกิดอีก
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
I am
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ต.ค. 2006
ตอบ: 972

ตอบตอบเมื่อ: 05 พ.ย.2007, 8:59 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๙. ปัญญาที่แท้จริงคือรู้ทั่วถึงสัจจะ

O ตัวปัญญาที่เป็น ปัญญาที่แท้จริง นั้น จะต้องเป็นปัญญาที่รู้ทั่วถึงสัจจะคือความจริง ตามเหตุและผล หรือรู้ทั่วถึงเหตุผลตามความเป็นจริง คือว่าปัญญาต้องรวมกับสัจจะคือความจริงเป็นความรู้จริง รู้จริง รู้ถูกต้อง จับเหตุผลได้จริงได้ถูกต้องในสิ่งอันใด สิ่งอันนั้นเป็นปัญญา เพราะฉะนั้น ปัญญากันสัจจะจึงต้องประกอบกันเป็นความรู้ทั่วถึงจริงหรือเป็นความรู้จริง จึงจะเป็นตัวปัญญา

O ความรู้ทางอายตนะนั้น เหมือนดังที่สัตว์ดิรัจฉานมีอยู่และที่คนก็มีอยู่ด้วยกันนั้น เป็นความรู้ที่ยังไม่ให้ความจริงโดยแท้จริง แต่เป็นทางให้เกิดปัญญาที่เป็นความรู้จริงได้ เช่นว่าเมื่อมองดูด้วยตาไปตามถนน คือเมื่อยืนกลางถนน และเมื่อมองดูไปสุดตา จะเห็นว่าถนนนั้นเล็กเข้ามาทุกที จนถึง ๒ ข้าง ถนนนั้นรวมเข้ามาเป็นเส้นเดียว

เมื่อเรามองสิ่งที่ห่างออกไปจากสายตา จะเห็นว่าเล็กเข้าทุกที เช่นว่าเห็นดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เป็นวงกลม เล็กไม่โตนัก เห็นดวงดาวที่มีอยู่บนท้องฟ้ายิ่งเล็กเข้าไปอีก เพราะเหตุว่ามีขอบเขตของตาและหู เช่น ตาก็ดูได้เห็นชัดเจน และก็เห็นใกล้เคียงกับความเป็นจริงในรูปร่างสัณฐานในเมื่ออยู่ใกล้ แต่เมื่อไกลออกไปแล้วจะเห็นไม่ชัด และสิ่งที่ใหญ่ก็จะเห็นเล็กเข้าๆ จนเห็นเล็กที่สุด

แต่ความจริงนั้นถนนไม่ได้เล็กเข้าอย่างนั้น ถนนก็ยังคงเป็นถนนอยู่ตามเดิมนั่นแหละ แต่ตาคนเห็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้น จึงเชื่อตาไม่ได้ เมื่อตาเห็นอย่างนั้น จะบอกว่าถนนสายนี้สายนี้ตรงที่ยืนอยู่นั้นโต แต่ว่าข้างหน้านั้นเล็กเข้าๆ ทุกที จะไปเชื่อตาอย่างนี้ไม่ได้

หูก็เหมือนกันจะไปเชื่อหูก็ไม่ได้ยิ่งไปมีความยึดถือ มีสมมติปัญญัติเข้ามาอีกก็ยิ่งทำให้เกิดความเข้าใจผิดในเรื่องเสียงอีกเป็นอันมาก ดังคนเราได้ยินเสียงลมพัด ก็ไม่รู้สึกว่าอะไร เป็นลมพัดอู้ อู้ อู้มา แต่ว่าถ้าได้ยินเสียงคนพูด ถ้าเป็นแจ๊กพูด หรือว่าฝรั่งพูดที่เราไม่รู้ ภาษาของเขา เราก็ไม่รู้อะไร ก็เฉยๆ

แต่ว่าถ้าได้ฟังคนไทยพูดที่รู้ภาษากัน หรือคนพูดภาษาอื่นที่รู้ภาษากันแล้ว ก็รู้ว่าเขาพูดนินทาบ้าง เขาพูดสรรเสริญบ้าง เขาพูดเรื่องนั้นบ้าง เรื่องนี้บ้างใจก็เลยไปยึดถือในเสียงซึ่งปรากฏออกมาเป็นภาษา แล้วก็มีสมมติมีบัญญติเป็นโน่นเป็นนี่อะไรต่างๆ ตามที่โลกได้บัญญติกันขึ้นจึงได้มีความเข้าใจผิดในเสียงนั้นว่าเป็นอย่างนั้น

ก็เขายึดถือกันอย่างนั้นก็ต้องยึดถือในเสียงนั้นว่าเป็นอย่างนั้น ก็เขายึดถือกันอย่างนั้นก็ต้องยึดถือไปตามกัน ไม่สบายใจบ้าง เพราะว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นสิ่งสมมติบัญญติกันขึ้น ก็ไม่ต่างอะไรกับเสียงลมที่พัดอู้ๆมาที่ฟังแล้วก็ไม่รู้ว่าเป็นอะไร ก็ไม่เป็นไร


๑๐. ปัญญาในอริยสัจเป็นปัญญาสูงสุด

นอกจากนี้ยังมีอื่นๆ อีกมาก ตลอดจนถึงความคิดทางใจที่เกิดขึ้นจากการที่ได้เห็นได้ยินนั้น ก็เป็นไปต่างๆ ซึ่งก็ถูกบ้างไม่ถูกบ้าง หรือว่าผิดมากถูกน้อยอะไรเหล่านี้เป็นต้น ก็ขาดปัญญาที่เป็นความรู้จริงดังกล่าวนี้นั้นเอง

เพราะฉะนั้น คนเราจึงได้มีความฉลาดที่รู้จักใช้ความรู้ทางตาทางหูนี้เองมาพัฒนาขึ้นให้เป็นความรู้ที่เข้าถึงความจริงขึ้นได้โดยลำดับ คือรู้จักว่าอำนาจของตาของหูเป็นต้นนี้มีขอบเขตอย่างไร และสิ่งที่ตาเห็นนั้นเช่นว่าเห็นถนนตรงที่ยืนอยู่ใหญ่ข้างหน้าเล็กเห็นดวงเดือนดวงตะวันเล็ก ดาวยิ่งเล็กขึ้นไปอีกนั้น

ความจริงนั้นไม่ใช่อย่างนั้น ดวงอาทิตย์นักวิทยาศาสตร์บัดนี้ ก็พบว่าใหญ่ยิ่งกว่าโลก ดวงดาวต่างๆ ก็ต่างว่าเป็นดวงอาทิตย์บ้าง เป็นดาวบริวารต่างๆ บ้างเป็นต้น ซึ่งล้วนแต่ใหญ่โตทั้งนั้น ไม่ใช่เล็กอย่างนั้น

นี่อาศัยความรู้ที่เกิดจินตา เอาการดูการเห็นนั่นแหละมาคิดพินิจพิจารณา และก็เอามาพิสูจน์ทดลองต่างๆ เป็นภาคปฏิบัติ จนถึงกับจับได้ คือจับสัจจะคือความจริงได้ เป็นขั้นๆ เป็นตอนๆ ขึ้นมา จึงมีความรู้ที่พัฒนาขึ้นมาจนถึงปัจจุบัน

O พระพุทธเจ้าเองก็ทรงพัฒนาความรู้ดังกล่าวนี้แหละขึ้นมาเป็นบารมี คือเป็นความรู้ที่ถูกต้องขึ้นโดยลำดับ จนถึงได้ตรัสอริยสัจ ๔ ทำทุกข์ให้สิ้นไป เป็นอันว่าได้ทรงพัฒนาความรู้ทางจิตใจขึ้นมาจนถึงที่สุด ส่วนในทางก็มีการพัฒนาความรู้ขึ้นมาอีกมากมายดังที่ปรากฏนี้

ทั้งในด้านสร้างทั้งในด้านทำลายแต่ความรู้ของพระพุทธเจ้าที่ปัญญาบารมีนั้น เป็นความรู้ที่ยิ่งไปกว่าความรู้ในทางโลกนี้ เพราะเหตุว่ามีความรู้ในอริยสัจ ๔ ซึ่งทรงรู้จักเหตุผลในด้านเป็นทุกข์ ทรงรู้เหตุผลในด้านความดับทุกข์ ส่วนในทางโลกนั้นมีความรู้เหตุผลในด้านสร้าง ในด้านทุกข์ไม่ได้มุ่งถึงความดับทุกข์

เพราะฉะนั้น จึงได้มีการสร้างกันทั้งในด้านเกื้อกูล ทั้งในด้านทำลายดังที่ปรากฏอยู่ แต่พระพุทธเจ้านั้นทรงตรัสรู้ถึงว่า ความรู้ในทางโลกนั้นจะมากเท่าไหร่ก็ตามแต่ก็ยังเป็นไปในด้านก่อทุกข์อยู่ร่ำไป เพราะยังดับตัณหาคือความดิ้นรนทะยานอยากไม่ได้

เมื่อดับตัณหาได้จึงดับทุกข์ได้เพราะฉะนั้น จึงได้ตรัวรู้ทั้งในด้านทุกข์ ทั้งในด้านดับทุกข์ ซึ่งเป็นปัญญาในอริยสัจอันนับว่า เป็นปัญญาสูงสุด อันนี้ก็เป็นผลจากปัญญาบารมีที่ทรงได้บำเพ็ญมาโดยลำดับนั้นเอง

O เพราะฉะนั้น จึงจำเป็นต้องมีศาสนาสำหรับเป็นเครื่องสั่งสอนอบรม คือ เป็นเครื่องปกครองอบรมจิตใจนี้นั่นเอง และปัญญาก็เป็นข้อสำคัญที่กำลังกล่าวถึงอยู่นี้ เพราะว่าเมื่อได้ปัญญารู้เหตุผลใช้เหตุใช้ผล ก็ย่อมจะเป็นไปในทางที่ดี เป็นไปในทางที่เจริญ ถ้าไม่ใช่ปัญญาก็เป็นไปในทางที่เสื่อม

ที่กล่าวดังนี้ก็หมายความว่ามีปัญญารู้เหตุรู้ผลและใช้เหตุใช้ผลนั้น ก็คือรู้เหตุผลอันถูกต้อง รู้เหตุผลที่เป็นตัวความจริง ใช้เหตุใช้ผลนั้นก็หมายความว่าใช้เหตุผลที่ถูกต้อง และปัญญาที่รู้หรือใช้เหตุ ผลที่ถูกต้องนี้ก็ไม่ใช่สิ่งที่จะพึงได้จากโรงเรียนโดยตรง หรือจากการอบรมต่างๆ โดยตรง แต่เกิดจากตัวเองที่จะต้องมีศีลคือความสำรวม จะต้องมีจิตตั้งเพื่อที่ฟังเพื่อที่จะรู้อันเป็นสมาธิดังในเหตุการณ์ทั้งหลายที่ประสบ เมื่อเป็นดังนี้ ความรู้ที่เป็นตัวปัญญาจะผุดขึ้นมา

เหมือนเช่นการเข้าโรงเรียน เรียนวิชาความรู้ต่างๆ หรือแม้การฟังธรรม การเรียนธรรมในโรงเรียนหรือแม้ว่าการฟังธรรมบรรยายที่สอนก็เหมือนกัน ตั้งจิตฟังก็ได้ปัญญาคือความรู้ในธรรม แต่เป็นความรู้ในขั้นปริยัติที่รู้จำรู้เข้าใจแต่อาจจะไม่ใช่ตัวปัญญาที่รู้ถึงเหตุจริงผลดังที่กล่าวมานั้น ยังไม่ใช่ก็ได้ แต่ว่ารู้จำรู้เข้าใจ จึงเป็นปัญญาในขั้นปริยัติ


(มีต่อ)
 

_________________
ทุกข์ใดดับได้ด้วยปัญญา ทุกข์นั้นจะไม่เกิดอีก
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
I am
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ต.ค. 2006
ตอบ: 972

ตอบตอบเมื่อ: 05 พ.ย.2007, 9:03 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๑๑. รู้จริงต้องละได้เว้นได้

O อันปัญญาที่รู้จริงถึงเหตุถึงผลต้องเป็นปัญญาที่มีลักษณะอีกอย่างหนึ่ง คือ จะต้องละได้เว้นได้เป็นประการสำคัญดังจะมีตัวอย่างเล่าให้ฟังต่อไป เช่น ฟังเรื่องศีล ๕ แล้วรู้ จำและเข้าใจ ศีล ๕ ก็ได้แก่ เว้นจากการฆ่า เว้นจากการลัก เว้นจากความประพฤติผิดในกาม เว้นจากการพูดเท็จ และเว้นจากการดื่มน้ำเมา ฟังแล้วรู้ เข้าใจและจำได้

เพราะเคยฟังมานักหนาตามที่พ่อแม่สั่งสอนตั้งแต่เป็นเด็กว่า นี่ดีควรทำ นี่ชั่วอย่าทำ แล้วฟังคำสอนทางศาสนาว่าอะไรเป็นบาป อะไรเป็นบุญ ก็รู้ก็จำได้ ซึ่งก็เป็นปัญญาเหมือนกัน เป็นปัญญาที่เป็นปริยัติปัญญา แต่จะเว้นการกระทำนั้นได้เท่าใด

เมื่อพิจารณาที่ตัวเองทุกคนก็จะรู้ได้ว่าทำได้บ้างไม่ได้บ้าง อยากทำบ้างไม่อยากทำบ้างก็แสดงว่ายังทำดีทำชั่วกันอยู่ ทั้งที่รู้ว่าควรหรือไม่ควร จึงต้องมาพิจารณาว่าเพราะอะไร ก็เพราะลุอำนาจของตัณหาคือความดิ้นรนทะยานอยากของใจเป็นข้อสำคัญ

อีกอย่างหนึ่งก็คือว่ายังลุอำนาจต่อความโลภ โกรธ หลง คือโลภอยากได้ขึ้นมาก็ต้องเอาให้ได้ โกรธมีโทสะขึ้นมาก็ต้องทำร้ายเขาให้ได้ หลงขึ้นมาก็ต้องว่ากันไปตามที่หลงใหลนั้น พูดรวมเข้ามาก็คือว่าลุอำนาจของตัณหา คือความดิ้นรนทะยานอยาก

เพราะฉะนั้น ทั้งที่รู้อยู่ก็ไม่สามารถจะห้ามได้ จึงต้องทำชั่วกันบ้างทำดีกันบ้างดังที่เป็นไปกันอยู่ ดังนี้เรียกว่ากำลังปัญญายังไม่พอ ยังเป็นปัญญาคือความรู้ที่ทำให้ละยังไม่ได้ตัดไม่ได้ ยังเป็นปริยัติปัญญา

O คราวนี้ปัญญาที่ต้องการจริงๆ นั้น ต้องการปัญญาที่รู้แล้วก็ละได้ตัดได้ แต่ปัญญาดังกล่าวนี้ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างที่เราต้องการให้เกิด ต้องปฏิบัติให้ถึงขั้นถึงตอน หรือว่าต้องอบรมให้ถึงขึ้นถึงตอน ถ้ายังไม่ถึงขั้นถึงตอนก็ไม่ได้ แต่ถ้าถึงขั้นถึงตอนแล้วได้แสงอะไรแหย่เข้าไปนิดเดียว จิตจะได้ความรู้ที่ละได้ตัดได้ทันที

จิตที่ได้ความรู้ที่ละได้ตัดได้ทันทีนั้น อันที่จริงก็เกิดจากการที่อบรมบ่อยๆ นั้นแหละ ทำมาเรื่อยๆ จะทำมาในอดีตนานเท่าใดก็ตาม หรือในปัจจุบันก็ตาม เมื่อถึงขั้นถึงตอนเข้าแล้วก็จะได้ความรู้ความสำนึกที่ละได้ตัดได้

นั่นเป็นตัวปัญญาที่ต้องการ ซึ่งปัญญาที่ต้องการนี้ก็ดังที่ได้กล่าวแล้วว่าเมื่อถึงขั้นถึงตอนแล้ว ได้อะไรเข้าไปตักเตือน แนะแนวหรือชี้ทางแล้วจะเกิดปัญญาขึ้นมาทันทีที่ละได้ตัดได้อย่างไม่น่าเชื่อ


O ดังเช่นเรื่ององคุลีมาลโจรที่ต้องการความรู้ก็ไปเรียนวิชาจากอาจารย์ อาจารย์ก็ประสาทวิชาให้ คราวลูกศิษย์ด้วยกันอิจฉาริษยาว่าอาจารย์จะรักองคุลีมาลมาก เพราะว่าตั้งใจเรียนตั้งปฏิบัติ จึงยุแหย่อาจารย์ว่าเป็นศิษย์ที่คิดทรยศต่ออาจารย์ อาจารย์ก็เกิดความแคลงใจตามคำยุยง

ครั้นจะฆ่าจะทำลายศิษย์ของตนเองก็น่าเกลียดจึงได้แกล้งบอกวิธีที่จะให้สำเร็จความรู้อย่างสูงสุด คือ ต้องไปฆ่าคนแล้วเอานิ้วมาให้ครบพัน จึงจะประสาทวิทยาที่สูงสุดได้ องคุลีมาลก็เชื่อ ก็กลายเป็นโจรฆ่าคนตัดนิ้วมารวม

แล้วพระพุทธเจ้าทรงเห็นอุปนิสัยขององคุลีมาลโจรว่า อันที่จริงนั้นได้อบรมบารมีมาดีมาก และก็ต้องการความรู้ไม่มีเจตนาที่เป็นสันดานชั่วสันดานทรามอย่างไร แต่เพราะหลงผิดตามคำบอกของอาจารย์ สันดานไม่ชั่วร้ายพอที่จะโปรดได้

จึงได้เสด็จไปโปรด องคุลีมาลโจรเห็นพระพุทธเจ้าก็วิ่งไล่ตามพระพุทธเจ้าก็เสด็จเดินไปตามผกติ แต่องคุลีมาลก็ไล่ไม่ทัน ก็ร้องบอกว่า สมณะ สมณะ จงหยุด จงหยุด พระพุทธเจ้าก็ทรงตอบว่า เราหยุดแล้วแต่ท่านยังไม่หยุด

ด้วยคำเพียงเท่านี้ไปจี้ใจขององคุลีมาลโจรให้ได้ความสำนึกที่เป็นตัวปัญญาขึ้นมาแล้วก็รู้ตัวเองว่าไม่หยุดจริง คือยังฆ่ามนุษย์ทำบาปหบายช้าอยู่เป็นอันมาก ก็ได้สติได้ปัญญาขึ้นมา ก็ทิ้งดาบกรายพระพุทธเจ้าแล้วขอบวช ก็ได้บวชเป็นภิษุแล้วบำเพ็ญเพียรจนสำเร็จได้เป็นพระอรหันต์องศ์หนึ่ง ก็ด้วยวาจาเพียงเท่านี้ก็จี้ใจขององคุลีมาลโจรให้ได้ปัญญาขึ้นได้

O ปัญญานี้แหละที่ต้องการ แม้จะไปเทศน์สัก ๒-๓ ชั่วโมง ก็ไม่ได้ปัญญาอันนี้ ถ้าจี้ให้ถูกจุดแล้วก็ได้ปัญญาอันนี้ขึ้นมาก็จะหยุด อันนี้แหละสำคัญ เป็นปัญญาที่ได้โดยไม่มีหลักสูตรและไม่มีโรงเรียน แต่กล่าวได้ว่าเกิดจากการปฏิบัติอบรมให้มากขึ้นๆ นี้แหละ แล้วจะถึงจุดที่ต้องการของภูมิสาวกคือหยุดได้แต่ถ้าไม่มีผู้จี้ก็จะไม่ได้

คราวนี้ตัวอย่างในปัจจุบันก็มี คือมีผู้บวชเป็นนวกะที่วัดนี้นานมาแล้ว เป็นนายทหาร เล่าว่า เดิมก็ชอบไปยิงนก เป็นการสนุก วันหนึ่งพาลูกไปยิงนกด้วย ยิงถูกนกตาลงมา จึงสั่งให้ลูกไปเก็บ ลูกไปเห็นนกยังไม่ตายนอนกระสับกระส่ายทำตาปริบๆ อยู่

ลูกเกิดความสำนึกขึ้นมาก็ถามพ่อว่า นี่นกไปทำอะไรให้พ่อจึงไปยิงมัน คำถามของลูกเป็นเครื่องละกิดใจทำให้ได้สติปัญญา ก็หยุดยิงนกตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา นี้เป็นเพียงคำพูดของเด็กที่พูดออกไปอย่างซื่อ เท่านี้ที่ไปสะกิดใจให้ได้สติปัญญา นี้เป็นปัญญาที่ต้องการ ซึ่งคนเราสามารถที่จะได้ปัญญาอันนี้เข้าถึงเหตุผลที่เป็นจริง ใช้เหตุผลและก็ช่วยได้จริงๆ


๑๒. ให้รู้จักกำหนดรู้

O เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสสอนให้รู้จักกำหนดรู้ด้วยความรู้ เรียกว่า ญาตปริญญา กำหนดรู้ด้วยความรู้ คำว่าปริญญา นั้น ท่านมักแปลว่ากำหนดรู้ แต่ตามศัพท์แปลว่ารู้รอบคอบ ปริ แปลว่า รอบคอบ ญา แปลว่า รู้ รวมกันเป็น ปริญญา แปลว่ารู้รอบคอบ

แต่มักจะแปลกันในทางปฏิบัติว่ากำหนดรู้ ก็คือกำหนดรู้ให้รอบคอบนั้นเองด้วยความรู้ คือว่าด้วยความรู้ที่ได้จากตา ได้จากหู เป็นการเห็น เป็นการได้ยิน ที่ได้จากจมูก ที่ได้จากลิ้น ที่ได้จากกาย จากความที่ทราบที่รู้ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และจากมโนคือใจ

คือที่ได้คิด ได้รู้ทางใจ ให้กำหนดรู้ ความรู้เหล่านี้แหละให้รอบคอบ ดังนี้เรียกว่า ญาตปริญญาแปลว่ากำหนดรู้ด้วยความรู้หรือด้วยการรู้ คือเมื่อรู้ด้วยตาด้วยหูเป็นต้นดังที่กล่าวนี้แล้ว ก็ไม่ใช่ว่าพอเพียงเท่านั้น ต้องทำความกำหนดรู้ให้รอบคอบในความรู้ ในการรู้ ตลอดถึงในสิ่งที่รู้และเมื่อได้กำหนดรู้ด้วยความรู้ดังนี้แล้ว

O ขั้นต่อไปก็คือว่า ตีรณปริญญา กำหนดรู้ด้วยการพิจารณาคือพิจารณาสิ่งที่รู้นั้นให้รู้จักสภาพคือความเป็นไปของตน ของสิ่งเหล่านั้น ตามเป็นจริง คือตามที่เป็นแล้วว่าอย่างไร

O และต่อจากนั้นก็ตรัสสอนให้ปฏิบัติในปริญญาขั้นต่อไปคือปหทานปริญญา กำหนดรู้ด้วยการละซึ่งเป็นหลักปฏิบัติโดยตรงในพระพุทธศาสนา คือ ละฉันทราคะ ความติดใจยินดีพอใจในทุกๆ สิ่ง ซึ่งเป็นการปฏิบัติขัดเกลากิเลสในจิตใจ ละความทุกข์ที่บังเกิดขึ้นให้สิ้นไปตามเป้าหมายทางพระพุทธศาสนา ซึ่งจะต้องมีปหานะคือการละ ละสิ่งที่พึงละไปโดยลำดับ

O เพราะฉะนั้น ปริญญาในพุทธศาสนานั้นจึงมี ๓

ญาตปริญญา กำหนดรู้ด้วยความรู้
ตีรณปริญญา กำหนดรู้ด้วยการพิจารณา
ปหานปริญญา กำหนดรู้ด้วยการละ นี่เป็นตัวปัญญาในพุทธศาสนา



>>>>> จบ <<<<<

สาธุ สาธุ สาธุ

เจริญธรรมครับ... ยิ้มเห็นฟัน
 

_________________
ทุกข์ใดดับได้ด้วยปัญญา ทุกข์นั้นจะไม่เกิดอีก
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 26 พ.ย.2007, 11:04 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ สาธุค่ะ...คุณ I am

อนุโมทนาบุญกับสิ่งดีดีต่างๆที่คุณ I am หมั่นสะสมมา...อย่างเสมอต้นเสมปลายนะคะ

เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปนะคะ

ธรรมะสวัสดีค่ะ

ยิ้ม ยิ้มแก้มปริ สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง