Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 สัมมาสมาธิ....นั้น เป็นฉันใด อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 28 ต.ค.2007, 6:39 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

รวบรวมบทความจากพระพุทธวจนะ และผู้รู้ สาธุ


อาจจะเป็นประโยชน์ กับเพื่อนสมาชิก
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 28 ต.ค.2007, 6:41 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ไตรสิกขา มี ศีล สมาธิ ปัญญา

ในมรรคแปด ก็มี สัมมาสมาธิ


สัมมาสมาธิ ในมรรคแปด


http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สัมมาสมาธิ&detail=on

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ, จิตมั่นชอบ คือสมาธิที่เจริญตามแนวของ ฌาน ๔



และ จาก พระพุทธวจนะ

อังคิกสูตร
[๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงการเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบ
ด้วยองค์ ๕ อันประเสริฐ เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การ
เจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ ๕ อันประเสริฐเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้
สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เธอทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่ม ซาบ
ซ่าน ด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้ง
ตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง เปรียบเหมือนพนักงานสรงสนาน
หรือลูกมือพนักงานสรงสนานผู้ฉลาด จะพึงใส่จุรณสีตัวลงในภาชนะสำริดแล้ว
พรมด้วยน้ำหมักไว้ ตกเวลาเย็นก้อนจุรณสีตัวซึ่งซึมไปจับติดทั่วทั้งหมด ย่อมไม่
กระจายออกฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่ม ซาบซ่าน
ด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติ
และสุขอันเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นการเจริญสัมมา
สมาธิที่ประกอบด้วยองค์ ๕ อันประเสริฐข้อที่ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใส
แห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจาร
สงบไป มีปีติและสุขที่เกิดแต่สมาธิอยู่ เธอทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่ม
ซาบซ่าน ด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอ
ทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง เปรียบเหมือนห้วงน้ำลึก
ที่มีน้ำปั่นป่วน ไม่มีทางไหลมาได้ ทั้งในด้านตะวันออก ด้านใต้ ด้านตะวันตก
ด้านเหนือ และฝนก็ไม่ตกเพิ่มตามฤดูกาล แต่สายน้ำเย็นพุขึ้นจากห้วงน้ำนั้นแล้ว
จะพึงทำห้วงน้ำนั้นแหละให้ชุ่มชื่น เอิบอาบ ซาบซึมด้วยน้ำเย็น ไม่มีเอกเทศ
ไหนๆ แห่งห้วงน้ำนั้นทั้งหมด ที่น้ำเย็นจะไม่พึงถูกต้อง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น
นั่นแล ย่อมทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่ม ซาบซ่าน ด้วยปีติ และสุขอัน
เกิดแต่สมาธิ ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิด
แต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นการเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบ
ด้วยองค์ ๕ อันประเสริฐ ข้อที่ ๒
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย
สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข เธอทำกายนี้ให้
ชุ่มชื่น เอิบอิ่ม ซาบซ่านด้วยสุขอันปราศจากปีติ ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกาย
ของเธอทั่วทั้งตัวที่สุขอันปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบ
เหมือนในกออุบล กอบัวหลวง หรือกอบัวขาว ดอกอุบล ดอกบัวหลวง หรือ
ดอกบัวขาว บางเหล่าซึ่งเกิดในน้ำ ยังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ในน้ำ อันน้ำหล่อเลี้ยง
ดอกบัวเหล่านั้น ชุ่มชื่น เอิบอาบ ซาบซึมด้วยน้ำเย็นตลอดยอด ตลอดเง่า
ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งดอกอุบล ดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาว ทั่วทุกส่วน
ที่น้ำเย็นจะไม่พึงถูกต้อง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ย่อมทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่น
เอิบอิ่ม ซาบซ่าน ด้วยสุขอันปราศจากปีติ ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอ
ทั่วทั้งตัว ที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง นี้เป็นการเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบ
ด้วยองค์ ๕ อันประเสริฐ ข้อที่ ๓
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌานอันไม่มีสุข
ไม่มีทุกข์ เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสและโทมนัสก่อนๆ ได้
มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แหละ ด้วยใจอันบริสุทธิ์
ผ่องแผ้ว ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ใจอันบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว
จะไม่ถูกต้อง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงนั่งคลุมตัวตลอดศรีษะ
ด้วยผ้าขาว ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายทุกๆ ส่วนของเขา ที่ผ้าขาวจะไม่ถูก
ต้อง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แหละ ด้วยใจอันบริสุทธิ์
ผ่องแผ้ว ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ใจอันบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว
จะไม่ถูกต้อง ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นการเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์
๕ อันประเสริฐ ข้อที่ ๔
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมถือด้วยดี ทำไว้ใน
ใจด้วยดี ใคร่ครวญด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ซึ่งปัจจเวกขณนิมิตด้วยปัญญา
เปรียบเหมือนคนอื่นพึงเห็นคนอื่น คนยืนพึงเห็นคนนั่ง หรือคนนั่งพึงเห็นคนนอน
ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เธอย่อมถือด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี ใคร่ครวญด้วยดี
แทงตลอดด้วยดี ซึ่งปัจจเวกขณนิมิตด้วยปัญญา ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นการ
เจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ ๕ อันประเสริฐ ข้อที่ ๕
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ ๕ อันประเสริฐ
อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว อย่างนี้ ภิกษุจะโน้มน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้ง
ด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมที่จะพึงทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งใดๆ เธอย่อมถึง
ความเป็นผู้ควรเป็นพยานในธรรมนั้นๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่โดยแน่นอน เปรียบ
เหมือนหม้อน้ำตั้งอยู่บนที่รอง เต็มด้วยน้ำเสมอขอบปากพอที่กาจะดื่มได้ บุรุษผู้
มีกำลัง พึงเอียงหม้อน้ำนั้นไปรอบๆ น้ำก็พึงกระฉอกออกมาได้หรือ ฯ
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า อย่างนั้นพระเจ้าข้า
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อสัมมาสมาธิอัน
ประกอบด้วยองค์ ๕ อันประเสริฐ ที่ภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้
เธอโน้มน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมที่จะพึงทำให้แจ้งด้วย
ปัญญาอันยิ่งใดๆ เธอย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยานในธรรมนั้นๆ ในเมื่อ
เหตุมีอยู่ เปรียบเหมือนสระน้ำที่ภูมิภาคอันราบเรียบ กว้างสี่เหลี่ยม กั้นด้วยทำนบ
เต็มด้วยน้ำเสมอขอบปากพอที่กาจะดื่มได้ บุรุษผู้มีกำลังพึงเปิดทำนบสระนั้นทุกๆ
ด้าน น้ำก็พึงไหลออกมาได้หรือ
ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อสัมมาสมาธิอันประ
กอบด้วยองค์ ๕ อันประเสริฐ ที่ภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ เธอ
โน้มน้อมจิตไป เพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมที่จะพึงทำให้แจ้งด้วย
ปัญญาอันยิ่งใดๆ เธอย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยานในธรรมนั้นๆ ในเมื่อ
เหตุมีอยู่ เปรียบเหมือนรถม้าที่เทียมแล้วจอดอยู่ทางใหญ่ ๔ แยก มีพื้นราบเรียบ
มีประตักวางไว้ข้างบน คนฝึกม้าผู้ขยันชำนาญในการฝึกขึ้นขี่รถนั้นแล้ว ถือเชือกด้วย
มือซ้าย ถือประตักด้วยมือขวา พึงขับรถให้เดินหน้าบ้าง ให้ถอยหลังบ้าง ได้ตาม
ต้องการ ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อสัมมาสมาธิอัน
ประกอบด้วยองค์ ๕ อันประเสริฐ ที่ภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้
เธอโน้มน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมที่จะพึงทำให้แจ้งด้วย
ปัญญาอันยิ่งใดๆ เธอย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยานในธรรมนั้นๆ ในเมื่อเหตุ
มีอยู่ ถ้าเธอมุ่งหวังอยู่ว่า เราพึงแสดงฤทธิ์ได้หลายประการ คือ คนเดียวเป็นหลาย
คนก็ได้ ฯลฯ พึงใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ เธอย่อมถึงความเป็น
ผู้ควรเป็นพยานในธรรมนั้นๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่ ถ้าเธอมุ่งหวังว่า เราพึงได้ยิน
เสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ ด้วย
ทิพยโสตอันบริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์ เธอย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยานใน
ธรรมนั้นๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่ ถ้าเธอมุ่งหวังว่า เราพึงกำหนดรู้ใจของ
สัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจ คือ จิตมีราคะ ก็พึงรู้ว่าจิตมีราคะ หรือ
จิตปราศจากราคะ ก็พึงรู้ว่าจิตปราศจากราคะ ฯลฯ หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็พึง
รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น เธอย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยานในธรรมนั้นๆ ในเมื่อเหตุ
มีอยู่ ถ้าเธอมุ่งหวังว่า เราพึงระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติ
หนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ เราพึงระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้ง
อาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ เธอย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยาน
ในธรรมนั้นๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่ ถ้าเธอมุ่งหวังว่า เราพึงเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติกำ
ลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วย
ทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ฯลฯ พึงรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม
ด้วยประการฉะนี้ เธอย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยานในธรรมนั้นๆ ในเมื่อ
เหตุมีอยู่ ถ้าเธอมุ่งหวังว่า เราพึงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อัน
หาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้า
ถึงอยู่ เธอย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยานในธรรมนั้นๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่ ฯ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 28 ต.ค.2007, 6:45 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

จาก หนังสือ พุทธธรรม

ของ ท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ สาธุ



สัมมาสมาธิ





==================================




“สัมมาสมาธิ” ตามคำ จำ กัดความในพระสูตรต่างๆ เจาะจงว่าได้แก่
ฌาน ๔
อย่างไรก็ดี คำ จำ กัดความนี้ ถือได้ว่าเป็นการให้ความหมายโดยยก
หลักใหญ่เต็มรูปขึ้นมาตั้งเป็นแบบไว้ ให้รู้ว่าการปฏิบัติสมาธิที่ถูก จะต้อง
ดำ เนินไปในแนวนี้ ดังที่ผู้ปฏิบัติธรรมสามารถเจริญวิปัสสนาได้โดยใช้สมาธิ
เพียงขั้นต้นๆ ที่เรียกว่า วิปัสสนาสมาธิ ซึ่งเป็นสมาธิในระดับเดียวกับขณิก-
สมาธิ และอุปจารสมาธิ (ท่านลำ ดับไว้ระหว่างขณิกสมาธิกับอุปจารสมาธิ)


ๆลๆ



• ในการปฏิบัติเพื่อเข้าถึงจุดหมายของพุทธธรรมนั้น องค์ธรรมหรือ
ตัวการสำ คัญที่สุดที่เป็นตัวตัดสินขั้นสุดท้าย จะต้องเป็น ปัญญา และ
• ปัญญาที่ใช้ปฏิบัติการในขั้นนี้ เรียกชื่อเฉพาะได้ว่า “วิปัสสนา”
ดังนั้น การปฏิบัติจึงต้องก้าวมาถึงขั้นวิปัสสนาด้วยเสมอ
ส่วนสมาธิ แม้จะจำ เป็น แต่อาจยืดหยุ่นเลือกใช้ขั้นใดขั้นหนึ่งก็ได้
เริ่มแต่ขั้นต้นๆ เรียกว่า วิปัสสนาสมาธิ (ท่านแสดงไว้ในระดับเดียวกับ
ขณิกสมาธิ และอุปจารสมาธิ ดู หน้า ๓๓๑)

ข) สมถะ-วิปัสสนา
โดยนัยนี้ วิถีแห่งการเข้าถึงจุดหมายแห่งพุทธธรรมนั้น แม้จะมีสาระ
สำ คัญว่า ต้องประกอบพร้อมด้วยองค์มรรคทั้ง ๘ ข้อเหมือนกัน แต่ก็อาจ
แยกได้โดยวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการใช้สมาธิ เหมือนเป็น ๒ วิถี หรือวิธี คือ
๑. วิธีการที่มุ่งเฉพาะด้านปัญญา คือการปฏิบัติอย่างที่กล่าวไว้บ้าง
แล้วในเรื่องสัมมาสติ เป็นวิธีปฏิบัติที่สติมีบทบาทสำ คัญ คือ ใช้สมาธิแต่
เพียงขั้นต้นๆ เท่าที่จำ เป็นสำ หรับการปฏิบัติ หรือใช้สมาธิเป็นเพียงตัวช่วย
แต่ใช้สติเป็นหลักสำ คัญ สำ หรับยึดจับหรือมัดสิ่งที่ต้องการกำ หนดไว้ ให้
ปัญญาตรวจพิจารณา นี้คือวิธีปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนา

แท้จริงนั้น ในการปฏิบัติวิธีที่ ๑ นี้ สมถะก็มีอยู่ คือการใช้สมาธิขั้น
ต้นๆ เท่าที่จำ เป็นแก่การทำ งานของปัญญาที่เป็นวิปัสสนา แต่เพราะการฝึก
ตามวิธีของสมถะไม่ปรากฏเด่นออกมา เมื่อพูดอย่างเทียบกันกับวิธีที่ ๒ จึง
เรียกการปฏิบัติในวิธีที่ ๑ นี้ว่าเป็นแบบ วิปัสสนาล้วน

๒. วิธีการที่เน้นการใช้สมาธิ เป็นวิธีปฏิบัติที่สมาธิมีบทบาทสำ คัญ
คือบำ เพ็ญสมาธิให้จิตสงบแน่วแน่ จนเข้าถึงภาวะที่เรียกว่า ฌาน หรือ
สมาบัติ ขั้นต่างๆ เสียก่อน ทำ ให้จิตดื่มดํ่าแน่นแฟ้นอยู่กับสิ่งที่กำ หนดนั้นๆ
จนมีความพร้อมอยู่โดยตัวของมันเอง ที่จะใช้ปฏิบัติการต่างๆ อย่างที่เรียก
ว่าจิตนุ่มนวล ควรแก่การงาน โน้มไปใช้ในกิจที่ประสงค์อย่างได้ผลดีที่สุด
ในสภาพจิตเช่นนี้ กิเลสอาสวะต่างๆ ซึ่งตามปรกติฟุ้งขึ้นรบกวนและ
บีบคั้นบังคับจิตใจพล่านอยู่ ก็ถูกควบคุมให้สงบนิ่งอยู่ในเขตจำ กัด เหมือนผง
ธุลีที่ตกตะกอนในเวลานํ้านิ่ง และมองเห็นได้ชัดเพราะนํ้าใส เหมาะสมอย่าง
ยิ่งแก่การที่จะก้าวต่อไป สู่ขั้นใช้ปัญญาจัดการกำ จัดตะกอนเหล่านั้นให้หมด
ไปโดยสิ้นเชิง การปฏิบัติในชั้นนี้ทั้งหมดเรียกว่าเป็น สมถะ
ถ้าไม่หยุดเพียงนี้ ก็จะก้าวต่อไปสู่ขั้นใช้ปัญญากำ จัดกิเลสอาสวะให้
หมดสิ้นเชิง คือ ขั้นวิปัสสนา คล้ายกับในวิธีที่ ๑ แต่กล่าวตามหลักการว่า
ทำ ได้ง่ายขึ้นเพราะจิตพร้อมอยู่แล้ว
การปฏิบัติอย่างนี้ คือ วิธีที่เรียกว่าใช้ทั้งสมถะ และวิปัสสนา

ๆลๆ



“ภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนา (การเจริญสมาธิ) มี ๔ อย่าง ดังนี้ คือ
๑. สมาธิภาวนาที่เจริญแล้ว ทำ ให้มากแล้ว เป็นไปเพื่อทิฏฐธรรม-
สุขวิหาร (การอยูเป็นสุขในปจั จุบัน)
๒. สมาธิภาวนาที่เจริญแล้ว ทำ ให้มากแล้ว เป็นไปเพื่อการได้
ญาณทัสสนะ
๓. สมาธิภาวนาที่เจริญแล้ว ทำ ให้มากแล้ว เป็นไปเพื่อสติและ
สัมปชัญญะ
๔. สมาธิภาวนาที่เจริญแล้ว ทำ ให้มากแล้ว เป็นไปเพื่อความสิ้นไป
แห่งอาสวะทั้งหลาย”

นี้เป็นตัวอย่างการใช้ประโยชน์ต่างๆ จากการฝึกอบรมสมาธิ

แบบที่ ๑ ได้แก่การเจริญรูปฌาณ ๔ ซึ่งเป็นวิธีเสวยความสุขแบบ
หนึ่ง ตามหลักที่แบ่งความสุขเป็น ๑๐ ขั้น ประณีตขึ้นไปตามลำ ดับ คือ กาม
สุข สุขในรูปฌาน ๔ ขั้น สุขในอรูปฌาน ๔ ขั้น และสุขในนิโรธสมาบัติ พระ
พุทธเจ้าและพระอรหันต์ส่วนมากนิยมเจริญฌาน ๔ นี้ ในโอกาสว่าง เพื่อพัก
ผ่อนอย่างสุขสบาย เรียกว่า ทิฏฐธรรมสุขวิหาร
แบบที่ ๒ อรรถกถาอธิบายว่า หมายถึงการได้ทิพยจักษุ จึงเป็นตัว
อย่างการนำ สมาธิไปใช้ เพื่อผลทางความสามารถพิเศษประเภทปาฏิหาริย์
ต่างๆ
แบบที่ ๓ มีความหมายชัดอยู่แล้ว
แบบที่ ๔ คือการใช้สมาธิเพื่อประโยชน์ทางปัญญา หรือเป็นบาทฐาน
ของวิปัสสนาโดยตรง เพื่อบรรลุจุดหมายสูงสุด คือ ความหลุดพ้นสิ้นอาสวะ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 28 ต.ค.2007, 6:46 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

และ จาก ความเห็นของ อ.เสฐียรพงษ์ วรรณปก สาธุ

http://larndham.net/index.php?showtopic=27781&st=0



แล้วมีในหลักวิชาที่เขาบอกว่าผู้ปฏิบัติวิปัสสนาล้วนๆ ไม่ได้ผ่านทางสมถะก็เป็นพระอรหันต์ได้ หรือจะผ่านทางสมถะก่อน จนกระทั่งได้กสิณได้ฌาน แล้วใช้ฌานนั้นเป็นบาทฐานของวิปัสสนา ก็เป็นพระอรหันต์ได้

ในทฤษฎีกล่าวไว้เช่นนั้น
แต่ในหลักปฏิบัตินั้นไม่มีการตรัสรู้ใดๆ ไม่มีการบรรลุใดๆ ที่ไม่ได้ผ่านสมถะ ต้องมีพลังสมาธิพอสมควร อย่างน้อยก็ได้ขณิกสมาธิ มีสมาธิพอสมควรแล้วถึงจะนำเข้าไปสู่วิปัสสนา ก็สามารถบรรลุได้ เรียกว่าบรรลุโดยวิปัสสนาล้วนๆ โดยซึ่งความหมายจริงๆ มันก็ไม่ล้วน เพราะมีสมาธิเป็นพื้นฐานอยู่ เพียงแต่ว่าไม่ได้เน้นสมาธิมาก ไม่ได้ใช้พลังสมาธิมากเพียงใช้สมาธิพอเป็นพื้นฐานที่จะพิจารณาไตรลักษณ์เข้าสู่วิปัสสนาญาณเท่านั้นเอง

ในหลักวิชาพูดว่ามี สุกขวิปัสสก พระอรหันต์ผู้บรรลุธรรมโดยผ่านวิปัสสนาเท่านั้น แต่ความจริงไม่เท่านั้น เพราะว่าก่อนจะถึงวิปัสสนาก็ต้องผ่านสมถะก่อนอยู่แล้ว
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 28 ต.ค.2007, 6:48 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สมาธิ ๓ คือ
๑. สุญญตสมาธิ
๒. อนิมิตตสมาธิ
๓. อัปปณิหิตสมาธิ;


สุญญตสมาธิ สมาธิอันพิจารณาเห็นความว่าง
ได้แก่ วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดอนัตตลักษณะ

อนิมิตตสมาธิ สมาธิอันพิจารณาธรรมไม่มีนิมิต
คือ วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดอนิจจลักษณะ

อัปปณิหิตสมาธิ การเจริญสมาธิที่ทำให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดทุกขลักษณะ


จาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

สาธุ



และ บทธรรมเทศนา น้ำไหลนิ่

ของ หลวงปู่ ชา สุภัทโท สาธุ


"....โยมรู้จักน้ำที่มันไหลไหม เคยเห็นไหม
น้ำนิ่งโยมเคยเห็นไหม
ถ้าใจเราสงบแล้ว มันจะเป็นคล้ายๆกับน้ำมันไหลนิ่ง โยมเคยเห็นน้ำไหลนิ่งไหม
แน่ะ ก็โยมเคยเห็นแต่น้ำนิ่ง กับน้ำไหล น้ำไหลนิ่งโยมไม่เคยเห็น..... ตรงนั้นแหละ ตรงที่โยมคิดยังไม่ถึงหรอกว่า มันเฉยมันก็เกิดปัญญาได้ เรียกว่าดูใจของโยมมันจะคล้ายน้ำไหล แต่ว่านิ่ง ดูเหมือนนิ่ง ดูเหมือนไหล เลยเรียกว่า น้ำไหลนิ่ง
มันจะเป็นอย่างนั้น ปัญญาเกิดได้ ...."


http://www.watnongpahpong.org/aj27.htm
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 28 ต.ค.2007, 6:51 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

โอวาทธรรม หลวงปู่ชา สุภัทโท สาธุ


เกี่ยวกับ สมถะ-วิปัสสนา

จาก http://mahamakuta.inet.co.th/practice/mk722.html#mk722_11


==================================


ทุกวันนี้ผู้คนไปยึดมั่นอยู่กับชื่อเรียก

ผู้ที่เรียกการปฏิบัติของพวกเขาว่า “วิปัสสนา” สมถะก็ถูก เหยียดหยาม

หรือผู้ที่เรียกการปฏิบัติของพวกเขาว่า “สมถะ” ก็จะพูดว่าจำเป็นต้องฝึกสมถะก่อน วิปัสสนา

เหล่านี้เป็นเรื่องไร้สาระ อย่าไปวุ่นวายคิดถึงมันเลย เพียงแต่ฝึกปฏิบัติไป แล้วท่านจะรู้ได้ด้วย ตัวท่านเอง


==================================


คำถาม....ในการปฏิบัติของเรา จำเป็นที่จะต้องเข้าถึงฌานหรือไม่

คำตอบ.....ไม่ ฌานไม่ใช่เรื่องจำเป็น

ท่านต้องฝึกจิตให้มีความสงบ และมีอารมณ์เป็นหนึ่ง (เอกัคคตา) แล้วอาศัยอันนี้สำรวจตนเอง
ไม่ต้องทำอะไรพิเศษไปกว่านี้
ถ้าท่านได้ฌานในขณะฝึกปฏิบัตินี้ก็ใช้ได้เหมือนกัน แต่อย่าไปหลงติดอยู่ในฌาน หลายคนชะงักติดอยู่ในฌาน มันทำให้เพลิดเพลินได้มากเมื่อไปเล่นกับมัน ท่านต้องรู้ขอบเขตที่สมควร ถ้าท่านฉลาดท่านก็จะเห็นประโยชน์และขอบเขตของฌาน เช่นเดียวกับที่ท่านรู้ขั้นความสามารถของเด็ก และขั้นความสามารถของผู้ใหญ่
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
bad&good
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 06 ส.ค. 2007
ตอบ: 115

ตอบตอบเมื่อ: 28 ต.ค.2007, 9:22 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอบคุณ ขอบคุณครับ
ขออนุโมทนา
.................................
ได้คำแปล สมาธิ อย่างละเอียดมากมาย มากมาย
และเคยได้คำแปล เมนูสมาธิ จากเวบนี้ มากมาย เช่นกัน
ต้องขอขอบคุณ ที่ให้ความกระจ่าง
.................................
ในกระทู้นี้ ข้าพเจ้าจึงเกิดข้อสงสัยตั้งแต่ อังคิกสูตร ตามที่ปรากฎในพระไตรปิฎก ว่าสอดคล้องกับสิ่งที่ข้าพเจ้าเข้าใจหรือไม่

คือ มีคำถามว่า
1.การทำสมาธินั้น ต้องนั่ง เดิน นอน ทำสมาธิ(รวมไปถึงรายละเอียดอื่น ที่ต้องทำประกอบขึ้น) เพียงเท่านั้น ใช่หรือไม่ ?
2.การทำสมาธิ อื่น เช่น การทำงานที่สัมมา การทำกิจวัตรประจำวันที่สัมมา ซึ่งไม่ได้รวมถึงตามข้อ 1 คือ การทำสมาธิ ใช่หรือไม่
( จำได้ว่า พระสงฆ์ผู้ปฎิบัติชอบแล้ว ได้เคยกล่าวไว้ว่า การทำงานอื่น(ที่สัมมา) ทำสมาธิไปพร้อมกันก็ได้ )
และเมื่ออ่าน อังคิกสูตร สมาธิที่องค์ประกอบทั้ง 5 ตามข้างต้น
ข้าพเจ้าจึงเข้าใจว่า หมายรวมถึง การทำสมาธิ ตลอดวัน ตลอดคืน ไม่ว่าจะทำงาน ทำการ ใดใด(ซึ่งเป็นสัมมา) จิตจะไม่ขาดไปจากคำว่า สมาธิ ใช่หรือไม่
3.ถ้าทำเพียงแต่ ข้อที่ 1 แต่ไม่ทำข้อที่ 2 เหมือนดังว่า ทำเพราะเรียกสิ่งนั้นว่า ขั้นตอนการทำสมาธิ ถือว่าเป็นความเห็นที่ถูกต้องหรือไม่
4.ถ้าทำเพียงแต่ ข้อที่ 2 แต่ไม่ทำข้อที่ 1 เหมือนดังว่า ทำเพราะเข้าใจแล้วว่าสมาธิ คือ อะไร แล้ว สมาธิเกิดขึ้นทุกเมื่อ โดยมีสัมมาทิฏฐิ สัมมาสติ รำลึกอยู่เสมอ จึง งด เว้น จาก การทำข้อ 1 ถือว่าเป็นความเห็นที่ถูกต้องหรือไม่

ขอกราบขอบพระคุณต่อคำตอบ เหล่านี้ มาล่วงหน้าครับ
ซึ้ง
 

_________________
อริยมรรคมีองค์ 8 คือ สูตรสำเร็จแห่งการดับทุกข์
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 28 ต.ค.2007, 9:10 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คำถามหนึ่ง ที่มีผู้ถามบ่อยๆ


"เราสามารถเจริญสติในชีวิตประจำวันอย่างเดียวโดยไม่ต้องเจริญสมาธิเลยได้ไหม"....

ลองฟัง ท่านอ.ชยสาโร ท่านตอบน่ะครับ.... :09:


(ผมนำมาจาก"หลับตาทำไม")



------------------------------------------------------------------------ --------------



".......การทำสมาธิจึงช่วยได้ตั้งแต่เรื่องธรรมดา ๆ หรือง่าย ๆ ในชีวิตประจำวันตลอดจนถึงเรื่องสูงสุด คือการบรรลุมรรคผล นิพพาน การพ้นทุกข์ในระดับสูงเกิดจากปัญญาระดับวิปัสสนา ปัญญาระดับวิปัสสนานั้นเกิดจากจิตใจที่สงบ ไม่มีนิวรณ์ณ์ จิตใจที่พ้นนิวรณ์ คือจิตใจที่ได้รับการฝึกอบรมทางสมาธิภาวนา

ฉะนั้น ผู้ที่ต้องการพ้นทุกข์ไม่ว่าระดับไหนก็ตาม ควรสนใจการทำสมาธิภาวนา.....บางคนถามว่าเอาแต่เจริญสติในชีวิตประจำวันได้ไหม....ถ้าทำสติมีความรู้อยู่ทุกอิริยาบถไม่ทำสมาธิได้ไม?

(คำตอบคือ)ไม่ได้ .....คือต้องทำ(สมาธิ)...... ถ้าไม่ทำ สติเราจะไม่ทันเล่ห์เหลี่ยมของกิเลส และจิตใจจะไม่เข้มแข็งพอที่จะปฏิเสธการสำออยของมัน จิตใจที่มีสมาธิย่อมมีกำลังมาก ......"

"......หลักการสำคัญที่ขอย้ำไว้ที่นี่ ก็คือ สมาธิเป็นเครื่องข่มกิเลสไว้ ไม่ใช่เป็นตัวทำลายกิเลส ...แต่ก็จำเป็น .....เพราะการข่มกิเลสไว้ทำให้ปัญญามีโอกาสทำงานคล่องแคล่ว... เหมือนหมอผ่าตัด ต้องวางยาสลบก่อนผ่า ไม่วางยาสลบจะผ่าตัดยากเพราะคนไข้เจ็บแล้วต้องดิ้น .....สมาธิเหมือนยาสลบ .....สิ่งที่สลบไปก็คือ ความรู้สึกยินดียินร้าย ความหลงใหลตามสิ่งที่ปรากฏอยู่ในจิต ด้วยความพอใจและไม่พอใจ ....เมื่อจิตไม่เกิดปฏิกิริยาโต้ตอบ มีการรับรู้ต่อสิ่งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ก็จะเห็นชัดขึ้นซึ่ง อนิจจัง ความไม่เที่ยง ทุกขัง ความบกพร่อง ความไม่สบบูรณ์ และ อนัตตา ความไม่มีเจ้าของหรือแก่นสารในสิ่งเกิดดับ...."
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 28 ต.ค.2007, 9:16 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

bad&good พิมพ์ว่า:
ขอบคุณ ขอบคุณครับ
ขออนุโมทนา
.................................
ได้คำแปล สมาธิ อย่างละเอียดมากมาย มากมาย
และเคยได้คำแปล เมนูสมาธิ จากเวบนี้ มากมาย เช่นกัน
ต้องขอขอบคุณ ที่ให้ความกระจ่าง
.................................
ในกระทู้นี้ ข้าพเจ้าจึงเกิดข้อสงสัยตั้งแต่ อังคิกสูตร ตามที่ปรากฎในพระไตรปิฎก ว่าสอดคล้องกับสิ่งที่ข้าพเจ้าเข้าใจหรือไม่


ขอกราบขอบพระคุณต่อคำตอบ เหล่านี้ มาล่วงหน้าครับ
ซึ้ง




ยินดีครับ ที่สิ่งที่นำเสนอมีประโยชน์ต่อผู้อื่น

ผมเองก็ไม่ใช่ผู้รู้อะไรลึกซึ้งหรอกน่ะครับ.....
เป็นเพียงผู้หาทางพ้นทุกข์คนหนึ่ง ที่พร้อมจะก้าวไปแบบเป็นเพื่อนกับทุกท่านเท่านั้น

ที่นำมาลง ก็เป็นพระพุทธวจนะ และ ความเห็น ของท่านผู้รู้ที่เคยแสดงไว้

วันนี้..... ต้องขอโทษด้วย ที่ตอบช้า เพราะงานภาระยุ่งมาก ....เดี๋ยวต้องไปทำภาระต่ออีก
เรื่อง อังคิกสูตร นั้น เดี๋ยวถ้าพรุ่งนี้ หรือ มะรืน มีเวลาจะมาร่วมสนทนาด้วยครับ

ถ้าหากท่านใด มีความเห็นเช่นไร เชิญพูดคุยกันตามสะดวกเลยน่ะครับ
ไม่ต้องเกรงใจ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
bad&good
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 06 ส.ค. 2007
ตอบ: 115

ตอบตอบเมื่อ: 29 ต.ค.2007, 1:35 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ
ได้อ่านคำเปรียบเปรย แล้ว เหมือน ได้พบขุมทรัพย์แห่งพุทธธรรม อีกแห่งหนึ่ง
ขอข้าพเจ้าได้จำไว้ได้ ขอได้จำไว้ได้

หลักนี้ คงปักลงแน่น คงไม่หลุด เคลื่อน ไปไหน

ขออนุโมทนา
ขออนุโมทนา สาธุ
 

_________________
อริยมรรคมีองค์ 8 คือ สูตรสำเร็จแห่งการดับทุกข์
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 29 ต.ค.2007, 9:16 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

bad&good พิมพ์ว่า:


ในกระทู้นี้ ข้าพเจ้าจึงเกิดข้อสงสัยตั้งแต่ อังคิกสูตร ตามที่ปรากฎในพระไตรปิฎก ว่าสอดคล้องกับสิ่งที่ข้าพเจ้าเข้าใจหรือไม่

คือ มีคำถามว่า
1.การทำสมาธินั้น ต้องนั่ง เดิน นอน ทำสมาธิ(รวมไปถึงรายละเอียดอื่น ที่ต้องทำประกอบขึ้น) เพียงเท่านั้น ใช่หรือไม่ ?
2.การทำสมาธิ อื่น เช่น การทำงานที่สัมมา การทำกิจวัตรประจำวันที่สัมมา ซึ่งไม่ได้รวมถึงตามข้อ 1 คือ การทำสมาธิ ใช่หรือไม่
( จำได้ว่า พระสงฆ์ผู้ปฎิบัติชอบแล้ว ได้เคยกล่าวไว้ว่า การทำงานอื่น(ที่สัมมา) ทำสมาธิไปพร้อมกันก็ได้ )
และเมื่ออ่าน อังคิกสูตร สมาธิที่องค์ประกอบทั้ง 5 ตามข้างต้น
ข้าพเจ้าจึงเข้าใจว่า หมายรวมถึง การทำสมาธิ ตลอดวัน ตลอดคืน ไม่ว่าจะทำงาน ทำการ ใดใด(ซึ่งเป็นสัมมา) จิตจะไม่ขาดไปจากคำว่า สมาธิ ใช่หรือไม่
3.ถ้าทำเพียงแต่ ข้อที่ 1 แต่ไม่ทำข้อที่ 2 เหมือนดังว่า ทำเพราะเรียกสิ่งนั้นว่า ขั้นตอนการทำสมาธิ ถือว่าเป็นความเห็นที่ถูกต้องหรือไม่
4.ถ้าทำเพียงแต่ ข้อที่ 2 แต่ไม่ทำข้อที่ 1 เหมือนดังว่า ทำเพราะเข้าใจแล้วว่าสมาธิ คือ อะไร แล้ว สมาธิเกิดขึ้นทุกเมื่อ โดยมีสัมมาทิฏฐิ สัมมาสติ รำลึกอยู่เสมอ จึง งด เว้น จาก การทำข้อ 1 ถือว่าเป็นความเห็นที่ถูกต้องหรือไม่


ซึ้ง



ขออนุญาต ตอบแบบ สรุปใจความจากคำถามทั้ง4ข้อเลยรวมกันเลยน่ะครับ


เท่าที่พอจะทราบ

ใน อังคิกสูตร พระพุทธองค์บรรยาย ถึงลักษณะขององค์ฌานระดับต่างๆ และอานิสงส์ขององค์ฌานที่เป็นสัมมาสมาธิ อันเป็นแนวทางสำหรับผู้ที่เจริญมุ่งแนวทางเจโตวิมุติ(ใชเสมาธิเป็นบาทในการพิจารณาไตรลักษณ์)พึงศึกษา

แต่ไม่ได้หมายความว่า ฌานเป็นพระนิพพาน
หรือ ไม่ใช่ว่า ทุกคนจำเป็นต้องผ่านฌาน4ทุกคน
มันขึ้นกับลักษณะนิสัย จริต และบารมีเก่าของแต่ล่ะท่าน

ส่วนสมาธินั้น มันต้องมีทั้งสองส่วน
คือ สมาธิที่ฝึกเป็นกิจจะลักษณะ ทั้งการนั่งสมาธิ และการเดินจงกรม ....(ไม่ควรนอน เพราะจะหลับง่าย.... ไม่ควรยืนเฉยๆเพราะสู้เดินไม่ได้ เดินจงกรมได้บริหารร่างกายด้วย )
และ สมาธิที่มีขึ้นในการเจริญสติในชีวิตประจำวัน ทุกอิริยาบถ ทุกขณะ

มันจำเป็นต้องทำให้เกิดสมาธิขึ้น ในทั้งสองส่วนน่ะครับ


และ ครูบาอาจารย์ท่านสอนไว้ว่า
สมาธิจากการเดินจงกรมจะทรงตัวอยู่ได้นานกว่า สมาธิจากการนั่งสมาธิ
อีกทั้ง การทำจิตให้เป็นสมาธินั้นไม่ยากเท่ากับ การรักษาสมาธิที่เกิดขึ้นแล้ว

ก็ลองพิจารณาดูน่ะครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 30 ต.ค.2007, 6:49 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

มีประเด็น เพิ่มเติม....

จากคำถาม


อ้างอิงจาก:
พระอาจารย์ท่านหนึ่ง คือผมเคยฟังเทศน์ของท่านบ้างนะครับ ท่านมักจะบอกว่า ไม่ให้เพ่ง ผมสงสัยว่าการเพ่ง (การใช้สมาธิ) ในการพิจารณารูปนามอย่างใดอย่างหนึ่งจนกระทั่งเห็นการเกิดดับของรูปนามนั้น ก็ถือว่าเป็นการเจริญวิปัสสนาจนบรรลุญาณขั้นต่อ ๆ ไปได้ไม่ใช่หรอครับ (ไม่ใช่สมถะ เพราะเราไม่ได้เพ่งในบัญญัติ)




ผมมีความเห็นดังนี้


ลองอ่าน จาก บทความของ ท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์


[7] ฌาน 2 (การเพ่ง, การเพ่งพินิจด้วยจิตที่เป็นสมาธิแน่วแน่ - meditation; scrutiny; examination)
1. อารัมมณูปนิชฌาน (การเพ่งอารมณ์ ได้แก่ สมาบัติ 8 คือ รูปฌาน 4 และ อรูปฌาน 4 - object-scrutinizing Jhana)
2. ลักขณูปนิชฌาน (การเพ่งลักษณะ ได้แก่ วิปัสสนา มรรค และผล - characteristic-examining Jhana)

วิปัสสนา ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะพินิจสังขารโดยไตรลักษณ์
มรรค ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะยังกิจแห่งวิปัสสนานั้นให้สำเร็จ
ผล ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะเพ่งนิพพานอันมีลักษณะเป็นสุญญตะ อนิมิตตะ และอัปปณิหิตะ อย่างหนึ่ง และเพราะเห็นลักษณะอันเป็นสัจจภาวะของนิพพาน อย่างหนึ่ง
ฌานที่แบ่งเป็น 2 อย่างนี้ มีมาในคัมภีร์ชั้นอรรถกถา.



และ จากพระพุทธวจนะ

“ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศตะวันออก หลั่งไปสู่ทิศตะวันออก บ่าไปสู่ทิศตะวันออกฉันใด ภิกษุเจริญพอกพูนซึ่งฌาน ๔ ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพานฉันนั้น...."

ฌานสังยุต มหา. สํ. (๑๓๐๑-๑๓๐๔ )
ตบ. ๑๙ : ๓๙๒-๓๙๓ ตท. ๑๙ : ๓๖๐-๓๖๑
ตอ. K.S. ๕ : ๓๗๒


ผู้เจริญฌาน4 ย่อมโน้มไปสู่พระนิพพาน....
คือ ฌาน4 มีส่วนช่วยโน้มให้ถึงอรหัตตผล .... แต่พระพุทธวจนะนี้ ไม่ได้หมายถึง ฌาน4เป็นพระนิพพานน่ะครับ


ส่วนความเห็นของอาจารย์ท่านที่กล่าวว่า"ห้ามเพ่ง"นั้น..... เราเองเป็นผู้ฟัง ต้องไตร่ตรองใคร่ครวญเอาเองครับ

ผมมองว่า เรื่อง ห้ามเพ่ง นั้น ..... อาจารย์ ท่านอาจจะหมายถึง ให้กำหนดอารมณ์วิปัสสนาแบบเป็นธรรมชาติ..... ไม่ต้องไปเพ่งมากจนเกินเหตุ.....
อาจจะคล้ายๆกับที่มีท่านผู้รู้กล่าวว่า "พออยู่แค่รู้ ดูอยู่แค่นั้น"(คุ้นๆ ว่าจะป็นคุณดังตฤณกล่าว....ไม่แน่ใจน่ะครับ)
เพราะการกำหนดเพ่งอารมณ์วิปัสสนาจนมากเกินไป ก็อาจจะกลายเป็นทำให้จิตตึงเครียดมากเกินไป โดยเฉพาะถ้าพละ5ในข้อสมาธิมีพื้นฐานที่ไม่ดี อาจจะเข้าข่ายจิตฟุ้งซ่านไป

แต่ถ้าถึงขั้น ห้ามกำหนดทั้งหมดทั้งสิ้น.... ให้ปล่อยจิตล่องลอยไปเรื่อยๆ แล้วมันจะพิจารณาธรรมได้อย่างไรล่ะครับ


จาก บทความท่านพระพรหมคุณาภรณ์มา ที่ว่า

ลักขณูปนิชฌาน (การเพ่งลักษณะ ได้แก่ วิปัสสนา มรรค และผล - characteristic-examining Jhana)

ผมว่า ก็ชัดเจนน่ะครับ ที่ว่า การเจริญวิปัสสนา ไม่น่าจะหมายถึงการ"ห้ามเพ่ง"เสียทีเดียวทั้งหมด
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 30 ต.ค.2007, 6:53 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การเจริญภาวนาตามหลัก สติปัฏฐานสี่นั้น
ท่านผู้รู้ท่านยกย่องว่า เป็นทั้ง สมถะ และ วิปัสสนาอยู่ในตัว


จาก หนังสือพุทธธรรม

โดยท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์



สติปัฏฐานในฐานะสัมมาสติ


สติปัฏฐาน แปลกันว่า ที่ตั้งของสติบ้าง การปรากฏของสติบ้าง ฯลฯ

ถือเอาแต่ใจความง่ายๆ ก็คือ การใช้สติ หรือ วิธีปฏิบัติเพื่อใช้สติให้บังเกิด
ผลดีถึงที่สุด

อย่างที่กล่าวถึงในพุทธพจน์ในมหาสติปัฏฐานสูตรว่า
ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นมรรคาเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้ง
หลาย เพื่อข้ามพ้นโสกะและปริเทวะ เพื่อความอัสดงแห่งทุกข์และโทมนัส
เพื่อบรรลุโลกุตตรมรรค เพื่อกระทำ ให้แจ้งซึ่งนิพพาน นี้คือสติปัฏฐาน

การเจริญสติปัฏฐานนี้ เป็นวิธีปฏิบัติธรรมที่นิยมกันมา และยกย่อง
นับถือกันอย่างสูง ถือว่ามีพร้อมทั้งสมถะ และวิปัสสนาในตัว

ผู้ปฏิบัติอาจเจริญสมถะจนได้ฌาน อย่างที่จะกล่าวถึงในเรื่อง
สัมมาสมาธิ อันเป็นองค์มรรคข้อที่ ๘ ก่อน แล้วจึงเจริญวิปัสสนาตามแนว
สติปัฏฐานไปจนถึงที่สุดก็ได้ หรือจะอาศัยสมาธิเพียงขั้นต้นๆ เท่าที่จำ เป็นมา
ประกอบ เจริญแต่วิปัสสนาฝ่ายเดียวตามแนวสติปัฏฐานนี้ ไปจนถึงที่สุดก็ได้




ทีนี้ ถ้าเกิด มีท่านใดสักท่านหนึ่ง เกิดไปตั้งเงื่อนไขแปลกๆ เอาไว้ว่า ในการภาวนาจะต้องเอาเฉพาะวิปัสสนาล้วนๆ(ในลักษณะแบบที่ต้องปราศจากสมาธิอย่างเด็ดขาด เช่นที่ มีคำถามกล่าวถึง) โดยห้ามไม่ให้มีส่วนของการเพ่ง หรือ สมถะ เข้ามาเจือปนเลย .....

นอกจากจะไม่ตรงกับหลักไตรสิกขา ซึ่งต้อง มีทั้ง ศีล สมาธิ ปัญญา แล้ว

เวลาลงมือปฏิบัติ จะไปปฏิบัติอะไร.....เพราะคงไม่สามารถปฏิบัติตามหลักของสติปัฏฐานได้เช่นกัน

(เนื่องด้วยสติปัฏฐาน มีส่วนของสมถะปนอยู่ด้วยเช่นกัน นั่นเอง....จากที่ท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ท่านกล่าวไว้)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
1เอง
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 29 ต.ค. 2007
ตอบ: 43
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพฯ

ตอบตอบเมื่อ: 05 พ.ย.2007, 9:44 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผมมีความเห็นว่าก็สำคัญทั้ง2อย่างการทำสมาธิในอริยาบท4ก้เพื่อฝึกจิตให้มีกำลังกล้าแข็ง
และเมื่อออกจากสมาธิแล้วใช้ชีวิตประจำวันอยู่ก็ควรเจริญสติต่อไปทุกๆเวลาเพราะสติก้เป็นฐาน
ของสมาธิ ก้เปรียบได้อย่างที่มีผู้ที่มาวัดอยู่วัดทุกวันพระถือศีลเจริญภาวนาขณะอยู่วัด
แต่พอออกจากวัดก็ทิ้งศีลทิ้งการเจริญภาวนาไว้ที่วัด กลับไปมีชีวิตที่วุ่นวายเหมือนเดิม
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 14 พ.ย.2007, 10:42 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อย่ากลัวสุขจากสมาธิ......



สุขจากสมาธิ ไม่ใช่ของน่ากลัว ดังที่มีบางสำนักเข้าใจผิดกันน่ะครับ

พระพุทธเจ้า ท่านตรัสเองว่า อย่ากลัวสุขจากสมาธิ



จาก http://202.44.204.76/cgi-bin/stshow.pl?book=13&lstart=3253&lend=3507


[๑๘๓] ดูกรอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุ
ปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต
ในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิด
แต่สมาธิอยู่ มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุ
ตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข บรรลุ
จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้มีอุเบกขา
เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ฌานทั้งสี่นี้เรากล่าวว่า ความสุขเกิดแต่ความออกจากกาม ความสุข
เกิดแต่ความสงัด ความสุขเกิดแต่ความสงบ ความสุขเกิดแต่ความสัมโพธิ อันบุคคลควรเสพ
ควรให้เกิดมี ควรทำให้มาก


ไม่ควรกลัวแต่สุขนั้น ดังนี้.





ที่พระองค์ทรงเตือน ต่อจากพระพุทธวจนะบาทนี้ คือ ไม่ให้ติดตันยินดีหรืออาลัยอยู่เพียงสุขจากสมาธิ เพราะมีวิมุตติสุขที่เหนือกว่านั้นขึ้นไปอีกต่างหาก
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
วิชชา
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 05 พ.ย. 2007
ตอบ: 31
ที่อยู่ (จังหวัด): เชียงใหม่

ตอบตอบเมื่อ: 15 พ.ย.2007, 3:23 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สมาธิที่เกิดร่วมกับอกุศลเป็นมิจฉาสมาธิ

สมาธิที่เกิดร่วมกับกุศลเป็นสัมมาสมาธิ

อธิบายว่า ขณะที่จิตไม่เป็นไปในเรื่องทาน ศีล ภาวนา ขณะนั้นเป็นอกุศล แม้ขณะนั่ง

สมาธิแต่จิต ไม่สงบ ห รือไม่รู้ว่าสงบเพียงพอใจในความนิ่งอย่างเดียว ขณะนั้นก็เป็นอกุศล

เป็นมิจฉาสมาธิ ถ้าเป็นสัมมาสมาธิ ปัญญาต้องรู้ว่าจิตขณะนั้นรู้อะไร คือเป็นไปในพุทธคุณ

หรือเมตตาจิต เป็นต้น




พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 290


ธรรม ๑๑ ประการ

ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดแห่งสมาธิสัมโพชฌงค์ คือ


ความทำวัตถุให้สละสลวย ๑

ความปรับอินทรีย์ให้เสมอกัน ๑

ความฉลาดในนิมิต ๑

ความยกจิตในสมัย ๑

ความข่มจิตในสมัย ๑

ความทำจิตให้ร่าเริงในสมัย ๑

ความเพ่งดูจิตอยู่เฉย ๆ ในสมัย ๑

หลีกเว้นบุคคลผู้มีจิตไม่เป็นสมาธิ ๑

คบหาบุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิ พิจารณาวิโมกข์ ๑

น้อมจิตไปในสมาธินั้น ๑


คลิกอ่านต่อได้ครับ...

http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?gid=2&id=913
 

_________________
ไม่มี
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวตำแหน่ง AIMYahoo MessengerMSN Messenger
วิชชา
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 05 พ.ย. 2007
ตอบ: 31
ที่อยู่ (จังหวัด): เชียงใหม่

ตอบตอบเมื่อ: 15 พ.ย.2007, 3:33 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สมาธิที่เกิดร่วมกับอกุศลเป็นมิจฉาสมาธิ

สมาธิที่เกิดร่วมกับกุศลเป็นสัมมาสมาธิ

อธิบายว่า ขณะที่จิตไม่เป็นไปในเรื่องทาน ศีล ภาวนา ขณะนั้นเป็นอกุศล แม้ขณะนั่ง

สมาธิแต่จิต ไม่สงบ หรือไม่รู้ว่าสงบเพียงพอใจในความนิ่งอย่างเดียว ขณะนั้นก็เป็นอกุศล

เป็นมิจฉาสมาธิ ถ้าเป็นสัมมาสมาธิ ปัญญาต้องรู้ว่าจิตขณะนั้นรู้อะไร คือเป็นไปในพุทธคุณ

หรือเมตตาจิต เป็นต้น


คลิกอ่านได้จากข้างล่างครับ...

http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?gid=2&id=913
 

_________________
ไม่มี
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวตำแหน่ง AIMYahoo MessengerMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง