Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 โลกุตระในความคิดท่านเป็นอย่างไร อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 15 ต.ค.2007, 8:26 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อยากจะทราบความคิดเห็นจากท่านทั้งหลาย

โลกุตระ เรากล่าวถึงกันบ่อยๆมาก

แต่เราไม่ค่อยจะได้รู้ความหมายกันจริงๆว่าเป็นอย่างไร

คิดว่าความคิดเห็นคงหลากหลายมาก

ครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
bad&good
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 06 ส.ค. 2007
ตอบ: 115

ตอบตอบเมื่อ: 15 ต.ค.2007, 10:33 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ที่สุดของโลกุตระ คือ ความไม่มีอะไร
(ซึ่งเดิมรู้ธรรมสูงสุดแล้ว แต่จบด้วย จิตว่างจากกิเลส จิตว่างสงบ-ไม่มีอะไร คือ ธรรม-สงบ สงบ-ธรรม)
..........................
คือ หมดคำถาม หมดคำตอบ
คือ รู้แล้ว ต้องทำตน อย่างไร
จึงสงบ
 

_________________
อริยมรรคมีองค์ 8 คือ สูตรสำเร็จแห่งการดับทุกข์
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 16 ต.ค.2007, 1:11 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ทำลายกิเลส ด้วยการเจริญกุศลให้สมบูรณ์เต็มที่เป้าหมายของการศึกษา ประพฤติปฏิบัติธรรม ก็เพื่อจะทำลายกิเลส เข้าถึงซึ่งความหลุดพ้นจากกิเลสทั้งหลาย

การทำลายกิเลส ไม่ใช่ไปเข่นฆ่า เหมือนกับไปทำลาย วัตถุสิ่งมีชีวิตต่างๆ กิเลสต่างๆ จะลอยออกมา หรือ ถูกประหารได้ ก็ด้วยการเจริญกุศลธรรมต่างๆ ที่มีอยู่ให้สมบูรณ์เต็มที่

เจริญ สติ สมาธิ ปัญญาให้มากขึ้น จนมีกำลังสมบูรณ์ถึงขั้นโลกุตตระ เกิดกุศลขั้นโลกุตตระขึ้น
หรือ เมื่อกุศลธรรมมีความสมบูรณ์พร้อม อกุศลก็จะถูกทำลายไป การที่กิเลสถูกทำลาย ไม่ใช่เอากุศลไปเข่นฆ่าประหัตประหาร

จากการศึกษา จะพบว่า เมื่อโลกุตตระธรรมเกิดขึ้นก็ไม่มีอารมณ์เป็นกิเลสไม่มีอารมณ์เป็นอกุศลธรรม กลับไปมีอารมณ์เป็นพระนิพพาน เพราะเมื่ออกุศลมีความสมบูรณ์พร้อม อกุศลก็จะถูกทำลายลงไป


อ่านต่อ...ธรรมบรรยาย ตอนที่ 4
รู้จำ รู้จัก รู้แจ้ง
โดย พระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรํสี)

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7057
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 17 ต.ค.2007, 9:41 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอบคุณท่านbad&good ท่นปุ๋ย ครับ

ที่ร่วมสนทนา
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 17 ต.ค.2007, 10:00 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

โลกุตระ แปลว่า เหนือโลก (โลก+อุตระ=โลกุตระ -ความเต็มๆ คือ โลกุตรจิต -ความคิดอยู่เหนือโลก)

ถามว่า ใครที่อยู่เหนือโลก ?
ตอบ พระอริยะ

-โลกได้แก่อะไร ?
-ได้แก่ โลกธรรม 8

(โลกธรรมแปด 1.มีลาภ 2. เสื่อมลาภ 3.มียศ 4. เสื่อมยศ 5.สุข 6.ทุกข์ 7.สรรเสริญ
8.นินทา)
-จิตใจของท่าน คือของพระอริยบุคคล ย่อมไม่ไหวหวั่นสั่นระริกต่อคำนินทาว่าร้าย หรือฟูฟ่องล่องลอยต่อคำสรรเสริญเยินยอปอปั้น จิตใจท่านปกติราบเรียบสงบเย็น

ฯลฯ

หรือ "โลก" อีกนัยหนึ่งได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส สิ่งนึกคิด (ธรรมารมณ์)

พระอริยะมีปกติจิตต่อสิ่งเร้าทางอายตนะภายนอกดังกล่าว อย่างที่พวกเราจำมาถาม-พูดกันบ่อยๆ ว่าเห็นสักแต่ว่าเห็น ได้ยินสักแต่ว่าได้ยิน เป็นต้น มีจิตใจอยู่เหนือโลก
(โลกุตรจิต) คือท่านอยู่ในโลกแต่ไม่ติดโลก เหมือนบัวอยู่ในน้ำเกิดโตในน้ำ แต่ไม่ติดน้ำฉะนั้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 18 ต.ค.2007, 4:52 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ครั้งหนึ่ง เมื่อพระพุทธเจ้ากำลังเสด็จพุทธดำเนินทางไกล พราหมณ์ผู้หนึ่งได้เดินทางไกล
ทางเดียวกับพระองค์ มองเห็นรูปจักรที่รอยพระบาทแล้วมีความอัศจรรย์ใจ

ครั้นพระองค์เสด็จลงไปประทับนั่งพักที่โคนไม้ต้นหนึ่งข้างทาง
พราหมณ์เดินตามรอยพระบาทมา มองเห็นพุทธลักษณาการที่ประทับนั่งสงบลึกซึ้งน่าเลื่อมใสยิ่งนัก จึงเข้าไปเฝ้าแล้ว
ทูลถามว่า “ท่านผู้เจริญ คงจักเป็นเทพเจ้า”
พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า “แน่ะพราหมณ์ เทพเจ้าเราก็จักไม่เป็น”

ทูลถามต่ออีกว่า “ท่านผู้เจริญ คงจักเป็นคนธรรพ์”
“คนธรรพ์ เราก็จักไม่เป็น”

“ท่านผู้เจริญ คงจักเป็นยักษ์”
“ยักษ์เราก็จักไม่เป็น”

“ท่านผู้เจริญ คงจักเป็นมนุษย์”
“มนุษย์ เราก็จักไม่เป็น”

ทูลถามว่า “เมื่อถามว่า ท่านผู้เจริญ คงจักเป็นเทพ ท่านก็กล่าวว่า เทพเราก็จักไม่เป็น
เมื่อถามว่า ท่านผู้เจริญ คงจักเป็นคนธรรพ์...เป็นยักษ์...เป็นมนุษย์ ท่านก็กล่าว่า จักไม่เป็น เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านผู้เจริญจะเป็นใครกันเล่า”

จึงตรัสตอบว่า “นี่แน่ะพราหมณ์ อาสวะเหล่าใดที่เมื่อยังละไม่ได้จะเป็นเหตุให้เราเป็นเทพเจ้า...เป็นคนธรรพ์...เป็นยักษ์...เป็นมนุษย์ อาสวะเหล่านั้น เราละได้แล้ว ถอนรากเสียแล้ว...หมดสิ้น ไม่มีทางเกิดขึ้นอีกต่อไป เปรียบเหมือนดอกอุบล ดอกปทุม ดอกบุณฑริก เกิดในน้ำ เจริญในน้ำ แต่ตั้งอยู่พ้นน้ำ ไม่ถูกน้ำฉาบติด ฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน เกิดในโลก เติบโตในโลก แต่เป็นอยู่เหนือโลก ไม่ติดกลั้วด้วยโลก ฉันนั้น นี่แน่ะพราหมณ์ จงถือเราว่าเป็น “พุทธะ” เถิด”
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 19 ต.ค.2007, 10:30 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เทพ เทวาดา รูปพรหม อรูปพรหม

ก็ยังอยู่ในระดับโลกิยะ

เช่นเดียวกันกับมนุษย์

ทั้ง มนุษย์ เทพ เทวาดา รูปพรหม อรูปพรหม ต้องปฏิบัติธรรมเช่นเดียวกันจึงถึงโลกุตระ

ฉนั้นไม่ว่าเทพ เทวาดา รูปพรหม อรูปพรหม มนุษย์ จึงบรรลุธรรมสิ้นอาสวะสำเร็จเป็นอริยะบุคคลได้ในสภาวะนั้นๆ

หมายถึงว่า

เทพก็มีอรหันต์ เทวาดาก็มีอรหันต์ รูปพรหมก็มีอรหันต์ อรูปพรหมก็มีอรหันต์

ไม่แตกต่างกับมนุษย์

อาจแตกต่างกันที่สภาวะ

ถ้าความเข้าใจผมผิดท่านที่รู้โปรดชี้แนะ

ผมไม่แน่ใจว่าความคิดนี้จะเป็นธรรมของลัทธินิกายอื่นหรื่อไม่

 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
ช้างชูธง
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 18 พ.ค. 2007
ตอบ: 50

ตอบตอบเมื่อ: 19 ต.ค.2007, 2:39 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

โลกุตระธรรม ๙ โส โส สะ สะ อะ อะ อะ อะ นิ
โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล
สกิทาคามีมรรค สกิทาคามีผล
อนาคามีมรรค อนาคามีผล
อรหัตมรรค อรหัตผล
นิพพาน
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
jojam
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 27 พ.ค. 2004
ตอบ: 62

ตอบตอบเมื่อ: 25 ต.ค.2007, 1:51 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อสังคตธรรม เป็น ธรรมที่ พ้น จากความปรุงแต่ง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง