Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 จากกระทู้ อนัตตา กับความว่าง อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 23 ธ.ค.2004, 10:00 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผมได้แสดงความเห็นในกระทู้ที่มีผู้ตั้งไว้ว่าอนัตตากับความว่าง (ในเวบอื่น)



เรื่องนี้สำคัญจึงเอามาเขียนไว้ที่นี่เสียใหม่



และเป็นธรรมดาที่การแสดงความเห็นทางธรรมะมักแตกต่างกันออกไป



อนัตตา คืออะไร ในอนัตตลักขณะสูต พระพุทธเจ้าถามปัญจวัคคีย์ว่า



"สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทึกข์ หรือเป็นสุข"



ปัญจวัคคีย์ ตอบว่า "เป็นทุกข์พระเจ้าข้า"



พระพุทธเจ้าถามว่า "สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอัตตาหรืออนัตตา"



ปัญจวัคคีย์ตอบว่า "เป็นอนัตตาพระเจ้าข้า"



ดังนั้น"สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา"



โดยนัยนี้ อนัตตาเป็นทุกข์



แต่หลักธรรมที่ว่า "สัพเพ ธัมมา อนัตตา" ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา



และ "นิพพานัง ปรมัง วทัญ ติ พุทธา" ท่านผู้รู้ทั้งหลายกล่าวว่าพระนิพพาน

เป็นธรรมอย่างยิ่ง



เมื่อพระนิพพานเป็น"ธรรม" เมื่อธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา พระนิพพานก็เป็นอนัตตาด้วย



ข้อที่ว่านิพพานเป็นธรรมนั้น ในโลกุตรธรรม ๙ มี มรรค ๔ ผล๔ นิพพาน ๑

ก็ยืนยันว่านิพพานเป็น "ธรรม"



ดังนั้นอนัตตานัยหนึ่งเป็น"ทุกข์" อีกนัยหนึ่งหมายถึงพระนิพพาน



แต่"นิพพานัง ปรมัง สุขัง" นิพพานนั้นเป็นสุขอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้นอนัตตาก็เป็นสุขอย่างยิ่งด้วย และเป็นทุกข์ด้วย



อนัตตาเป็นทุกข์ นั้นหมายถึงอนัตตาที่เป็น สังขตธรรม (ธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่ง)



ส่วนอนัตตาที่เป็นสุขอย่างยิ่งนั้น หมายถึงอนัตตาที่เป็น อสังขตธรรม



ทีนี้ความว่างหรือสุญญตา เมื่อดูที่ "นิพพานัง ปรมัง สุญญัง"นิพพานเป็นความว่างอย่างยิ่ง



สุญญตาในความหมายนี้เป็น อสังขตธรรม



ความแตกต่างระหว่าง สุญญตา (ความว่าง) กับ อนัตตา



แตกต่างกันตรงที่ อนัตตาเป็นทั้งสังขตธรรมและอสังขตธรรม



แต่สุญญตาเป็น เพียง อสังขตธรรมเท่านั้น



ในความหมายของความว่าง หมายถึงว่างจากกิเลส ว่างจากการปรุงแต่ง ว่างจากการยึดมั่นถือมั่น หรือว่างจากตัวตน



หรือพูดง่ายๆ เมื่อว่างก็ไม่มีตัวตน เมื่อไม่มีตัวตนก็ว่าง (อสังขตธรรม)



แต่คนอื่นๆอาจแสดงความเห็นเป็นอย่างอื่น นี่ก็เป็นเรื่องนานาจิตตัง
 
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 24 ธ.ค.2004, 11:30 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กราบสวัสดีครูบาอาจารย์ทุกท่านด้วยความเคารพ



ขออนุญาตแสดงความคิดเห็น



.....แต่การปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงสภาวะธรรมดังกล่าว เป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อนยิ่งนัก สภาวะธรรมแห่งความว่างเป็นอย่างไร ก็ต้องปฏิบัติให้เข้าถึงสภาวะธรรมนั้นจริงๆว่า ว่างเป็นอย่างไร ว่างไม่ได้หมายถึงไม่มีอะไร



สภาวะแห่งความว่าง ก็ยังมีจิตอยู่ แล้วจิตในสภาวะธรรมนั้นเป็นอย่างไร นอกจากจิตแล้ว ยังมีปัญญาอันละเอียดอ่อนผุดขึ้นตามสภาวะธรรมแห่งความว่างด้วย แล้วปัญญาตรงนั้นเป็นอย่างไร



แต่"นิพพานัง ปรมัง สุขัง" นิพพานนั้นเป็นสุขอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้นอนัตตาก็เป็นสุขอย่างยิ่งด้วย และเป็นทุกข์ด้วย ฉะนั้น.....การปฏิบัติเข้าไปสู่สภาวะธรรมแห่งการดับทั้งทุกข์และสุขนั้น ทำอย่างไร ก็ต้องถึงรอบที่เข้าไปดับสภาวะนั้นให้ได้ด้วยตนเองอีก



ทุกข์แห่งสภาวะธรรมที่จะเข้าไปดับได้นั้นเป็นอย่างไร

สุขแห่งสภาวะธรรมที่จะเข้าไปดับได้นั้นเป็นอย่างไร



มณี ปัทมะ ตารา

 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
สุรพงษ์
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 24 ธ.ค.2004, 12:15 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ธรรมะเป็นปัจจัตตัง รู้ได้เฉพาะบุคคล "อนัตตา"เป็นสภาวะธรรมที่รู้ได้เฉพาะบุคคล ไม่ควรสนใจว่าเป็นอย่างไร แต่ควรสนใจวิธีและตั้งใจปฎิบัติเพื่อให้เข้าถึง ก็จะรู้ได้เองว่าอัตตา หรือ อนัตตาเป็นเช่นไร คนที่ตาบอดแต่กำเนิดมองไม่เห็นสีเขียว สีแดงเป็นเช่นไร พูดอย่างไรอธิบายอย่างไรย่อมไม่สำเร็จ จนกว่าจะทำให้หายตาบอดได้นั้นแหละ
 
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 24 ธ.ค.2004, 1:54 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สภาวความว่างนั้นไม่สามารถหยั่งลงด้วยจิตของปุถุชนได้



มีแต่พระอรหันต์เท่านั้นจึงจะหยั่งถึง



จึงไม่สามารถอธิบายสภาวธรรมนี้ด้วยการหยั่งถึงด้วยใจ หรือการตรึก



มีแต่อธิบายสภาวธรรมนี้โดยพยัญชนะแต่อย่างเดียวเท่านั้น



เพราะปุถุชนไม่สามารถจะใช้จิตเข้าไปหยังถึงธรรมอันลึกนี้



แต่การอธิบายด้วยพยัญชนะนี้เอง



ที่จะนำไปสู่แนวทางแห่งสัมมาทิฐิ ในการปฏิบัติต่อไป



นอกจากนัยแห่งพยัญชนะแล้ว แม้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าจะทรงอธิบาย



ก็ไม่สามารถหยั่งธรรมตามลงไปได้



เว้นแต่ผู้บรรลุพระอรหันต์เท่านั้น



เพราะธรรมนี้ลึกซึ้ง



ดังนั้นแม้ฟังธรรมแห่งพระพุทธเจ้า



ก็หยั่งถึงด้วยพยัญชนะ



และธรรมแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น



พยัญชนะและอรรถะย่อมตรงกันไม่ผิดเพี้ยนแต่อย่างใด



การอธิบายตามพยัญชนะก็เป็นสิ่งเพียงพอ



เพราะธรรมไม่ได้มีมากกว่านี้เลย



จพอธิบายอย่างไร



ก็หยั่งลงในที่เดียวกันทั้งสิ้น
 
P
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 24 ธ.ค.2004, 5:33 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ความว่างจาก กรรมฐาน นี่เป็นอารมณ์รึเปล่าครับ
 
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 24 ธ.ค.2004, 8:51 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ที่จริงแล้วคำว่า "กรรมฐาน"ไม่มีในพระไตรปิฏก เป็นคำที่บัญญัติขึ้นภายหลัง มาจากคำว่า"กัมมัฏฐาน"ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค เขาแปลว่า อารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งการงานของใจ



ก็แสดงว่าว่างจากอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งการงานของใจ นี่แปลตรงตัวเลย



แต่ไม่ทราบว่าถามเรื่องนี้ทำไมหรือครับ



หรือจะมีคำถามให้ต่อที่จะต้องตอบอีกหรือเปล่าครับ ถ้ามีก็ลองถามต่อนะครับ
 
P:)
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 24 ธ.ค.2004, 9:19 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ไม่มีคำถามต่อครับ ขอบคุณครับคุณโอ๋สำหรับคำตอบ
 
สำเร็จ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 24 ธ.ค.2004, 11:38 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คำว่า ไตรลักษณ์ คือลักษณะ 3 อย่าง..ได้แก่.



1.อนิจจัง...ความไม่เที่ยง

2.ทุกขัง.....ความที่ทนอยู่ไม่ได้

3.อนัตตา....ความไม่มีตัวตน หรือ บังคับบัญชาไม่ได้



ลักษณ์ทั้ง 3 อย่างนี้เป็นผลจากการพิจารณาธรรมต่างๆ..

ทำให้ทราบว่าธรรมทั้งหลาย(ยกเว้นนิพพาน) มีลักษณะ 3 อย่างนี้ประจำ



การที่จะทราบได้...ก็โดยการอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้า..

มิฉะนั้นจะไม่มีใครรู้ได้...



มีแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วสั่งสอนมนุษย์ เทวดา อินทร์ พรหม ฯลฯ

ให้รู้ถึงกฏพระไตรลักษณ์...

และถ้าผู้ใดเห็นจริงตามนั้น....ผู้นั้นคือพระอรหันต์

การจะเห็นจริงตามนั้นจึงเป็นเรื่องยาก..สำหรับปุถุชน(ผู้มีกิเลสหนา)



การจะทราบไตรลักษณ์...เป็นเรื่องที่ละเอียด...ไม่ใช่ธรรมง่ายๆ

คนไม่เข้าใจ..ไม่ศึกษาจริงเข้าใจได้ยากมาก

จึงเกิดการโต้เถียงกันอยู่เสมอ..



จนปัจจุบันบางสำนักก็สอนว่า...พิจารณาคำสอนของพระพุทธอง์แล้ว

สรุปว่า นิพพานเป็นอัตตา



บางสำนักก็สรุปว่า...นิพพานเป็นอนัตตา



ความจริงมีพระบาลี..แสดงไว้ชัดว่า..นิพพานเป็นอนัตตา..

อีกฝ่ายก็ไม่ยอมรับ...อย่างนี้เป็นต้น





การที่ไตรลักษณ์ มีลักษณะ 3 อย่าง

คงพอจะสรุปให้เข้าใจง่ายๆได้ว่า.



อนิจจัง..ไม่ใช่..ทุกขัง

ทุกขัง....ไม่ใช่...อนัตตา

อนัตตา...ไม่ใช่...อนิจจัง



พระพุทธองค์ทรงแยกแยะความแตกต่าง..

ให้สาวกได้ทราบรายละเอียด...ให้เห็นลักษณะที่ต่างกัน



แต่...คุณโอ่แสดงธรรมยืดยาว(ซึ่งก็มีส่วนถูกอยู่มาก)...แล้วสรุปว่า...



ดังนั้น อนัตตานัยหนึ่งเป็นทุกข์ ....แล้วก็ขยายความไปอีก

จะกี่นัยก็ตาม .... อนัตตาไม่ใช่ทุกข์ ..... ทุกข์ต่างหากที่เป็นอนัตตา

อย่ากลับข้างกัน...ธรรมะที่พระพุทธเจ้าสอนนั้ละเอียดมาก



ผมขอบอกว่า...เป็นการสรุปที่คลาดเคลื่อน...เพราะ

ลักษณะของอนัตตา..ไม่เหมือนกับลักษณะของทุกข์



ถ้าสรุปอย่างนี้...ไตรลักษณ์...ก็มีเพียง 2

เพราะถ้าสรุปว่า อนัตตาเป็นทุกข์ ทุกข์เป็นอนัตตา..

ทุกข์กับอนัตตาก็จะมีลักษณะเดียวกัน



แสดงว่าศึกษามาแล้วเข้าใจเอาเอง....ก็เลยสรุปไปอย่างนั้น.





ขอแยกขยายให้เห็นชัดๆว่า...



สิ่งใดเป็นทุกข์สิ่งนั้นเป็นอนัตตา.....อันนี้ถูก.....(เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า)



โดยนัยนี้ อนัตตาเป็นทุกข์..........อันนี้ผิด......(เป็นข้อสรุปของคุณโอ่)...

ไม่มีคำสอนที่กลับข้างหน้าข้างหลังแบบนี้



ถ้าสรุปแบบที่คุณโอ่ว่าไว้....การที่นิพพานเป็นอนัตตา.....

นิพานก็จะกลายเป็นทุกข์ไป...เป็นการสรุปที่ใช้ไม่ได้

จะมาทำเป็นแยกเป็นนัยๆ...ก็ไม่มีพุทธพจน์แสดงไว้





ต้องดูรายละเอียดให้ดี....อย่ากลับข้างกัน....ความหมายจะเสีย



ตอนที่คุณโอ่ยกเอาพุทธพจน์มาแสดง...นั้นถูกแล้ว



แต่ตอนที่คุณโอ่สรุปเอาเอง....ดูเหมือนจะใช้ไม่ได้..



เรื่องนี้เป็นเรื่องสูงสุดของศาสนาพุทธ...

ควรทำความเข้าใจให้ถูกต้อง..



การที่ผมมาเห็นต่างกับคุณโอ่...ก็ไม่ใช่เรื่องใหม่อะไร...

มีการถกเถียงกันมาก..มานานแล้ว



ผมเองมิได้คิดจะทำความเสียหายให้กับคุณโอ่....โปรดเข้าใจ

ผมคิดว่า...เป็นการนำเสนอสิ่งที่ผมคิด...แค่นี้เอง









 
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 25 ธ.ค.2004, 3:41 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอบคุณครับคุณสำเร็จ เป็นอย่างที่คุณว่าจริงๆ



ที่จริงแล้วตอนนั้นที่พูดถึงทุกข์ ว่าสิ่งใดเป็นทุกข์สิ่งนั้นเป็นอนัตตา



จริงๆแล้วคำว่า"ทุกข์"นั้นหมายถึงเบญจขันธ์เท่านั้นอง



เนื่องจากอนัตตา เป็นทั้งสังขตธรรมและอสังขตธรรมเลยทำให้สับสน



จริงๆแล้วเรื่องนิพพานนั้น ถ้าศึกษา ความว่าง วิโมกข์ นิโรธ มาประกอบ



แล้วความเห็นว่านิพพานเป็นอัตตาไม่น่าจะมี เพราะไม่มีอะไรที่เป็นอัตตา



เลย ถ้ามีพระพุทธเจ้าต้องยกเรื่องอัตตามาแสดงว่ามีอยู่ให้ได้รู้



 
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 25 ธ.ค.2004, 10:43 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กราบสวัสดีครูบาอาจารย์ทุกท่าน ด้วยความเคารพ



ขอแสดงความคิดเห็น



การปฏิบัติธรรม คงไม่มีท่านผู้ปฏิบัติท่านใดหวังไว้ว่า จะต้องเป็นนั่นเป็นนี่ จะต้องได้ขั้นนั้นขั้นนี้ถึงจะอธิบายได้ หากปฏิบัติแล้วผ่านสภาวะธรรมนั้นๆ ก็สมควรที่จะอธิบายได้



เมื่อได้อ่านกระทู้นี้ ด้วยความเข้าใจว่าผู้ตั้งกระทู้ผ่านสภาวะธรรมนี้มา จึงแสดงความคิดเห็นถามถึงสภาวะธรรม มิได้มีเจตนากล่าววาจาก้าวล่วงแต่อย่างใด



.....สภาวะแห่งความว่าง ก็ยังมีจิตอยู่ แต่สภาวะธรรมแห่งจิตนั้น เป็นเพียงจิตที่อ่านไม่ออก อ่านไม่ออกเพราะไม่มีอะไรเหลือเชื้อที่จะให้อ่าน นอกจากจิตแล้ว ยังมีปัญญาอันละเอียดอ่อนผุดขึ้นตามสภาวะธรรมแห่งความว่างด้วย ปัญญาแห่งสภาวะธรรมอันละเอียดอ่อนนั้น ดูเหมือนไม่มีอะไร แต่จะแสดงออกมาด้วยธรรมแห่งปัจจุบัน



การปฏิบัติเข้าไปสู่สภาวะธรรมแห่งการดับทั้งทุกข์และสุขนั้น ก็ต้องถึงรอบที่เข้าไปดับสภาวะนั้นๆ ทุกข์แห่งสภาวะธรรมที่จะเข้าไปดับได้นั้น เป็นสภาวะแห่งทุกข์ที่สุด เบื่อที่สุด ไม่ว่าจะเป็นทางกายทางใจ พลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส ก็สามารถเข้าไปดับสภาวะแห่งทุกข์ที่สุดนั้นได้ด้วยตัวเอง ในขณะที่ดำรงชีวิตอยู่ ทุกข์ตรงไหนก็เข้าไปดับตรงนั้น แต่ทุกข์ไม่ได้เกิดจากเข้าปฏิบัติสมาธิเสมอไป อาจเป็นทุกข์จากการดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมมนุษย์เรานั่นเอง



ทีนี้สุข สภาวะแห่งสุขนั้นสุขที่สุด สุขก็ไม่จำเป็นต้องอยู่ในขณะที่เข้าปฏิบัติกรรมฐาน สุขแบบล้นหลากเหมือนสายน้ำ สุขตอนไหน ก็สุขทุกขณะจิตที่ดำรงชีวิตอยู่เป็นมนุษย์ในทุกอิริยาบทของชีวิตประจำวัน สุขที่สุดมันล้นมาจากไหน ก็ย้อนกลับเข้าไปดับตรงนั้น



ทีนี้เมื่อผ่านสภาวะธรรมแห่งการเข้าไปดับทั้งทุกข์และสุขได้แล้ว สภาวะธรรมแห่งจิตก็ไม่มีอะไรที่เหลือเชื้อให้อ่านอีกแล้ว มันก็ไม่ต้องคอยเข้าไปปรับเกิดดับ เมื่อมากระทบ ไม่ต้องมานั่งกลัวว่าจะมากระทบ แล้วจะเกิด ไม่ต้องกลัวว่าเมื่อเกิด แล้วต้องวุ่นวายตามเข้าไปดับอีก เพราะมันราบเรียบเสมอกันไปหมดแล้ว



สมมติบัญญัติต่างๆ ก็อันตรธานหายไป ด้วยธรรมดาแห่งสภาวะของรอบการปฏิบัติธรรม ไม่ต้องเป็นนั่นเป็นนี่ให้วุ่นวาย.....มนุษย์.....



ธรรมะสวัสดี



มณี ปัทมะ ตารา







 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 25 ธ.ค.2004, 1:45 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ก่อนอื่นขอบอกว่าไม่บังอาจในการรับคำกล่าวว่าได้ผ่านสภาวะความว่าง

และไม่ได้ปรารถนาจะเข้าถึงสภาวะความว่างทั้งในพระพุทธเจ้าองค์นี้ และองค์ต่อไปด้วย เพราะยังไม่ถึงเวลานั้น



แต่พูดถึงความว่างตามพยัญชนะ

เพราะพยัญชนะนี่เองที่สืบทอดศาสนาไว้ ให้คนได้สำเร็จเป็นอรหันต์ ในแต่ละยุค พยัญชนะนี้จึงมีความสำคัญ

 
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 25 ธ.ค.2004, 4:37 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สภาวะของโลก(โลกียะ) ทั้งหมดเป็นไตรลักษณ์ เรียกว่าทุกข์ เพราะไตรลักษณ์ ไม่ได้เป็นลักษณะของความสุข จะเรียกว่าดับทุกข์ ดับสุขไม่สมควร เพราะมีแต่ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป ส่วนสุขนั้นไม่มี จึงไม่มีให้ดับ



ถ้าสภาวะความว่างยังมีจิตดังที่ท่านว่า จิตนั้นก็ว่างจากกิเลส คือว่างจากราคะ ว่างจากโทสะ ว่างจากโมหะ



ส่วนจิตอ่านออกหรืออ่านไม่ออกนั้น ผมไม่มีความเข้าใจตรงนี้ เพราะต้องดูว่าอะไรไปอ่านจิต หรือจิตไปอ่านอะไร และทำไมต้องอ่าน อาการอย่างไรจึงเรียกว่าอ่าน ถ้ามีความเข้าใจตรงกันแล้ว พอจะมีความเห็นตามพยัญชนะได้ แต่เมื่อความเห็นในอรรถก็ดี ในพยัญชนะก็ดี ยังไม่มีความตรงกัน การแสดงความเห็นในลักษณะเนี้เกรงว่าจะคลาดเคลื่อนต่อความเข้าใจ จึงไม่กล้าแสดงความเห็นประเด็นนี้



ส่วนทุกข์ที่เข้าไปดับที่ว่าบื่อที่สุดนั้น ถ้าหมายความว่าเห็นทุกข์ที่เบื่อที่สุดแล้วดับได้นั้น คนป่วยหนักที่โรงพยาบาลก็เห็นทุกข์ ทั้งเบื่อทั้งไม่ต้องการ แต่ก็ไม่สามารถจะดับทุกข์นั้นได้ ด้วยอาการเห็นเช่นนั้น ตามสภาวะในอิริยาบถชีวิตประจำวันดังท่านว่า



ผมเห็นว่าการดับทุกข์ตามพยัญชนะนั้น มิได้เป็นดังท่านว่าเลย แต่เห็นว่าการดับทุกข์นั้นเป็นการเห็นภายในอายตนะภายในหรือภายนอก และการเห็นว่าสิ่งนั้นหรือสิ่งนี้เป็นทุกข์นั้นเป็นการเห็นด้วยปัญญา



เช่นเห็นว่าความคิดถึงรสเป็นที่รักใคร่เป็นที่น่าพอใจ ตัณหานั้นเมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความคิดถึงรสนั้น เมื่อจะดับก็จะดับที่ความคิดถึงรสนั้น



อะไรเกิดขึ้นที่ไหน รู้ได้ที่นั่น ก็ดับได้ที่นั่น ถ้ายังรู้ด้วยปัญญาไม่ได้ก็ย่อมดับไม่ได้ ความรู้นั้นจึงต้องหยั่งด้วยปัญญา



เหตุนี้จึงอาศัยศีลอบรมสมาธิ อาศัยสมาธิอบรมปัญญา อาศัยปัญญาอบรมจิต จิตจึงหลุดพ้นจากอาสวะ



เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว สมมุติบัญญัติจะอันตรธานหรือไม่ก็ตาม หรือมีอยู่จิตก็ไม่ติดยึด เพราะว่าเมื่อยังต้องอยู่ในโลก ต้องสื่อสารกับคนในโลก จิตผู้หลุกพ้นก็ต้องอาศัยสมมุติบัญญัติในการสื่อสาร การพูด



เมื่อจิตหลุกพ้น เป็นวิมุติหลุดพ้น ก็ย่อมเห็นสมมุติบัญญัติเป็นสมมุติบัญญัติที่แท้จริง มิใช่รู้โดยคำกล่าวเพียงว่านั่นเป็นสมมุติบัญญัติ นี่เป็นสมมุติบัญญัติ แต่รู้โดยความเป็นจริง ความเป็นจริงนี่ก็มิได้เป็นสมมุติสัจจะ แต่เป็นปรมัตถ์สัจจะ



เพราะรู้ตามปรมัตถ์สัจจะ นั่นเอง จึงทำให้รู้ว่านั่นเป็นสมมุติสัจจะ นี่เป็นสมมุติสัจจะ สมมุติสัจจะมิได้อันตรธานไปไหน มีแต่เข้าใจไม่ติดยึดไม่หมายมั่นมิใช่หรือครับ
 
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 26 ธ.ค.2004, 8:31 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กราบสวัสดีครูบาอาจารย์ทุกท่าน ด้วยความเคารพ



ขออนุญาตแสดงความคิดเห็น



.....อะไรเกิดขึ้นที่ไหน รู้ได้ที่นั่น ก็ดับได้ที่นั่น ถ้ายังรู้ด้วยปัญญาไม่ได้ก็ย่อมดับไม่ได้ ความรู้นั้นจึงต้องหยั่งด้วยปัญญา



เหตุนี้จึงอาศัยศีลอบรมสมาธิ อาศัยสมาธิอบรมปัญญา อาศัยปัญญาอบรมจิต จิตจึงหลุดพ้นจากอาสวะ.....



การศึกษาจึงควรควบคู่ไปกับการปฏิบัติ ให้เข้าใจในความหมายของสภาวะธรรมที่สื่อออกมาเป็นพยัญชนะ เปรียบเสมือนการอ่านผลการทดลองทางวิทยาศาสตร์ หากไม่ลงมือปฏิบัติเอง ก็เป็นเพียงแต่ได้อ่านผลการทดลองของผู้อื่น แต่ไม่สามารถเข้าใจรายละเอียดของผลการทดลองนั้นได้ด้วยตนเอง



ธรรมะสวัสดี



มณี ปัทมะ ตารา





 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 26 ธ.ค.2004, 9:32 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เมื่อรู้ได้ที่นั่น นั่นเป็นการรู้ได้ด้วยปัญญา มิได้รู้ได้อย่างอื่น แต่เมื่อไม่มีปัญญา แม้สิ่งนั้นจะเกิดขึ้นที่นั่นก็รู้ไม่ได้เลย เพราะว่าการรู้นั่นรู้ด้วยญาณคือปัญญา จึงไม่ได้บอกว่ารู้ด้วยปัญญา เพราะละไว้เป็นที่เข้าใจแล้ว



เพราะไม่รู้ด้วยปัญญาแล้วจะรู้ทันสิ่งที่เกิดเร็วมากได้อย่างไร จริงมั้ยครับ
 
สำเร็จ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 27 ธ.ค.2004, 3:30 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขออภัยเจ้าของกระทู้ด้วยครับ



เนื่องจากผมพบว่ามีข้อผิดในการออกความเห็น

จึงขอแก้คำผิดหน่อย...ที่ผมแสดงไว้ว่า.....



" จะกี่นัยก็ตาม ...อนัตตาไม่ใช่ทุกข์...ทุกข์ต่างหากเป็นอนัตตา "

เป็นการแสดงที่ผิดครับ....ทุกข์เป็นอนัตตาไม่ได้



ขอแก้เป็น...



" จะกี่นัยก็ตาม....อนัตตาไม่ใช่ทุกข์... สิ่งใดเป็นทุกข์ต่างหากเป็นอนัตตา "



เนื่องจากไม่มีการถามในรายละเอียดตรงจุดนี้..

ผมจึงของดเว้นไม่อธิบายต่อว่า..ทำไมจึงกล่าวอย่างนี้



ขอขอบคุณครับ









 
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 27 ธ.ค.2004, 4:47 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณสำเร็จทำผมงง

ผมนึกไม่ออกว่า "ทุกข์" กับ "เป็นทุกข์"นั้นต่างกันหรือเหมือนกัน



อย่างเช่นขันธ์ห้าเป็นทุกข์ กับ ขันธ์ห้าคือตัวทุกข์ ไม่เหมือนกันหรือ ผมคิดว่าจะเหมือนกันเสียอีก
 
สำเร็จ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 28 ธ.ค.2004, 1:05 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ต้องแบ่งอย่างนี้ครับ..ถึงจะไม่งง



สิ่งใด..คืออย่างหนึ่ง

เป็นทุกข์..คืออย่างหนึ่ง



กล่าวว่า สิ่งใด เป็นทุกข์ สิ่งนั้น เป็นอนัตตา



สิ่งใดหมายถึง จิต เจตสิก รูป (ไม่รวมนิพพาน)

ทุกข์คืออาการ....ของสิ่งใด (หมายถึงอาการของ จิต เจตสิก รูป)





ขอยกตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม...ประกอบ

มีคนรักหมาอยู่คนหนึ่ง...ไปไหนเอาหมาไปด้วย...เขียนหนังสือไว้ท้ายรถว่า...



มีหมาเป็นเพื่อน ดีกว่า มีเพื่อนเป็นหมา



คำว่าหมา...หมายถึงหมาเท่านั้น

คำว่าเพื่อนหมายถึง หมา แมว เพื่อน พ่อ แม่ พี่น้อง ญาต ....ฯลฯ



คำว่าเป็นทุกข์ กับ ทุกข์ ไม่แตกต่างกันเลย...ถูกแล้ว..



 
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 28 ธ.ค.2004, 6:42 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอบคุณครับที่ช่วยอธิบาย
 
ดนุวัติ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 28 ธ.ค.2004, 1:26 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

 
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 30 ธ.ค.2004, 6:52 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พระอานนท์ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค กราบทูลถามว่าที่ว่าโลกสูญ ๆนั้นด้วยเหตุเพียงเท่าไร ตรัสตอบว่า เพราะเหตุที่สูญจากตนและจากสิ่งที่เนื่องด้วยตน จึงชื่อว่าโลกสูญ แล้วได้ตรัสแจกอายตนะภายในมีตาเป็นต้น อายตนะภายนอกมีรูปเป็นต้น รวมทั้งวิญญาณ ผัสสะ เวทนา ว่าล้วนสูญจาตน และจากสิ่งที่เนื่องด้วยตน



ในภาคอธิบายได้กล่าวถึงความสูญ สูญจากสังขาร ความสูญเพราะปรวนแปร ความสูญที่เลิศคือพระนิพพาน ความสูญจากลักษณะ ความสูญตามลักษณะวิมุติ ๕ เป็นต้น จนถึงความสูญโดยปรมัตถ์ คือสูญโดยประการทั้งปวง
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง