Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ภวังค์ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 8:42 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สภาวะภวังค์คื่อจิตว่างหรื่อไม่(ว่างจากทุกประการ)

การสัปหงกเป็นภวังค์หรื่อไม่

ในการทำสมาถะมักเกิดภวังค์บ่อยๆ

การทำจิตให้เกิดภวังค์มีประโยชน์ต่อการปฏิบัติธรรมหรื่อไม่

ความแตกต่างของสมาธิกับภวังค์คื่ออะไร

ภวังค์คื่อการเผลอสติหรือเปล่า

ครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 26 ก.ย. 2007, 9:46 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เมื่อเราสลบหรือหมดสติไป หรื่อแม้แต่ตอนใกล้หลับจะมารู้ลึกภายหลังว่าจิตใต้สำนึกจะทำงาน

บางคนอาจเหมือนมีใครมาบอกเหตุ

บางคนเหมือนตัวเองเข้าไปอยู่ในเหตุการ์ณในอดีต หรื่ออนาคต

และเป็นเหตุการ์ณ์ในอนาคตที่เป็นจริง(บ้าง)แต่รับรู้ได้

มันยากตรงที่แยกว่าอันไหนเป็นความฝันที่ปกติ

และเหมือนกับจะเห็นชาติอดีตเล็กๆได้ถึงแม้จะสับสน และเลื่อนราง

เป็นอีกบางประการของภวังค์ที่นำมาเล่าสู่กันฟัง

จากที่ได้รับทราบมา และเป็นปัจจตัง

ท่านที่ไม่เชื่อก็ขออภัย

ท่านที่มีประสพการ์ณมาร่วมเล่าสู่กันฟังบ้าง

อย่างน้อยก็เป็นการเติมรสชาดให้ชีวิต
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 26 ก.ย. 2007, 10:43 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

จิตว่างคือไม่คิดถึงสิ่งใด และสภาพสภาวะจิตใจก็จะไม่มีอารมณ์หรือความรู้สีกใดใดอยู่เลย นั้นแหละคือจิตว่าง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 26 ก.ย. 2007, 1:33 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ฝึกหัดจิต ทำสมาธิภาวนาเป็นการฝึกหัดจิต คือ

๑. ให้รู้จักจิต จับจิตได้

๒. ฝึกสติ ตามรู้ รักษาจิตจนเห็นจิตของตนอยู่ทุกขณะ เมื่อเห็นจิตแล้ว

๓. ควบคุมรักษาให้จิตอยู่ในอำนาจของเรา จิตคิดอะไร นึกอะไร ส่งส่ายไปไหน มันปรุงมันแต่งอย่างไร เราอย่าคิดอย่านึกอย่าปรุงอย่าแต่งเสีย จิตมันก็จะนิ่งเฉยอยู่นั่น และฝึกหัดให้เข้าถึงใจได้แล้ว ให้คิดให้นึกก็ได้ ไม่ให้คิด ไม่ให้นึกก็ได้ เรียกว่า เราคุมจิตหรือใจอยู่แล้ว

วิธีฝึกหัดจิตต้องเป็นอย่างนี้ ใครจะฝึกหัดอย่างไหนก็ตาม อาจารย์องค์ไหนก็ตาม พระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ก็ตาม ต้องฝึกหัดอย่างนี้ทั้งนั้น ไม่ฝึกหัดอย่างอื่นหรอก เมื่อฝึกหัดจิตอยู่ อย่างนี้แล้ว มันจะมีเวลารวม เวลารวมเราไม่ต้องไปรวม มันรวมเองของมันต่างหาก จิตรวมนั้นท่าน เรียกว่า ภวังคจิต แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ

๑. ภวังคุบาท จิตรวมลงในขณะเดียวแล้วก็ถอนออกมา ลักษณะคล้ายกันกับขณิกสมาธิ คือ ก่อนจิตจะรวมไม่ได้คิดว่าจิตจะรวมหรือไม่ เมื่อจิตรวมแล้วแลถอนออกมาแล้วจึงรู้ ถ้ารู้ว่าจิตรวมอยู่ เรียกว่า ขณิกสมาธิ

๒. ภวังคจารณะ จิตจะรวมลงไปแล้วมีอาการส่งส่ายอยู่ภายใน ไม่ได้ส่งออกไปภายนอก เหมือนกับคนที่เฝ้าบ้านเฝ้าเรือนแล้วปิดประตูหมด มีแสงไฟสว่างเห็นสิ่งของทั้งปวงภายในบ้านใน เรือน ของภายนอกจะไม่ เห็นได้ เรียกว่า ภวังคจารณะ

๓. ภวังคุปัจเฉทะ จิตรวมเด็ดเดี่ยวลงไป นิ่งแน่วสู่อารมณ์อันเดียว ตัดขาดหมดจากอารมณ์ ภายนอก บางทีไม่สามารถที่จะรู้ว่าตนมีหรือไม่ มีแต่ใจเป็นผู้รู้อยู่เท่านั้น

ภวังคจิตนี้ เรียกตามที่ท่านบัญญัติสมมติตามอาการที่มันเป็น ในบางทีผู้ที่ฝึกหัดอย่างที่ว่า เบื้องต้น ตั้งสติควบคุมรักษาจิตอยู่อันเดียวเท่านั้น ไม่ไปไหนบางทีสามารถจะรวมวูบลงไปถึง ภวังคุปัจเฉทะเลยวางเฉยไม่ต้องรวมเป็นภวังค์ตามลำดับก็ได้ ที่ท่านอธิบายเป็นขั้นเป็นตอนนั้น อธิบายให้ฟังเพื่อความเข้าใจต่างหาก แท้จริงไม่ได้บังคับ ถ้าไปมัวถือตามตำราจะไม่เป็นภวังค์เด็ดขาด เหตุนั้นอย่าไปถือ อธิบายให้ฟังเพื่อความเข้าใจเฉย ๆ

ในแถวภวังค์ เรียกว่า ภวังคุบาท ภวังคจารณะ และ ภวังคุปัจเฉทะ คราวนี้แถวสมาธิก็มี ขณิกสมาธิ คล้าย ๆ ภวังคุบาท อุปจารสมาธิคล้าย ๆ กับภวังคจารณะ อัปปนาสมาธิคล้าย ๆ กับ ภวังคุปัจเฉทะ ภวังค์เป็นเรื่องของฌาน สมาธิเป็นเรื่องของสมาธิ มันแยกกันตรงนั้น

ขณิกสมาธิ พิจารณาพุทโธ นึกพุทโธอันเดียว บางครั้งมันก็อยู่ บางครั้งมันก็ไม่อยู่ จิตยังไม่แน่ว แน่ วูบวาบไปมาเรียกว่า ขณิกสมาธิ

อุปจารสมาธิ จิตแน่วแน่ลงอันเดียว แต่มันมีอาการไป ๆ มา ๆ รู้ตัวอยู่ภายใน แต่ไม่ได้ส่งออก นอก ที่เรียก ว่า “ส่งนอก” คือ อาการของจิตที่คิดนึกส่งส่าย ปรุงแต่งสารพัดทุกสิ่งทุกประการรอบด้าน รอบทิศโดยไม่รู้ตัว ไม่มีสติ “ส่งใน” แต่อุปจารสมาธินี้ไม่เป็นอย่างนั้น มีสติรู้อยู่ แต่ว่ามันยังไม่อยู่นิ่ง ยังคิดพิจารณา เช่น กายคตาสติ อยู่ภายใน เป็นการพิจารณาอยู่ภายใน

อัปปนาสมาธิ จิตรวมเด็ดเดี่ยวแน่วนิ่งลงไป ไม่ได้คิดนึกส่งนอก จิตละเอียดเต็มที่เลย จิตละเอียดแค่ไหน ๆ ก็รู้สึกอยู่ รู้จักเฉย ๆ ไม่คิด ไม่พิจารณา เรียกว่า อัปปนาสมาธิ เรื่องภวังค์และ สมาธิ เอาเพียงนี้เสียก่อน พระพุทธองค์ก็ทรงแสดงว่า ผู้ใดไม่มีสมาธิ ผู้นั้นไม่มีฌาน ผู้ใดไม่มีฌาน ผู้นั้นไม่มีสมาธิ เมื่อเป็นอันเดียวกันทำไมพระองค์จึงทรงแสดงไว้เป็นสอง ผู้เขียนจึงแยกให้รู้ว่า ลักษณะอาการมันต่างกันอย่างไร

เมื่อจิตรวมลงเป็นอัปปนาสมาธิเต็มที่แล้ว มันจะอยู่สักพักหนึ่งแล้วถอนขึ้นมาอยู่ในอุปจาร- สมาธิ คิดนึก ส่งส่าย แต่ว่าอยู่ภายในขอบเขตของสติ สติควบคุมอยู่ ฝึกหัดอย่างนี้อยู่ตลอดเวลา ในพระพุทธศาสนานี้ เบื้องต้นของการฝึกหัดจิต คือ การฝึกสติให้รู้ตัว คุมรักษาจิต จิตเมื่อได้รับการ ฝึกหัดดีแล้วจะรวมเข้าถึงอัปปนาสมาธิ ที่สุดของการฝึกหัดจิตมีเพียงแค่นั้น ไม่นอกเหนือไปจากนั้น ผู้ฝึกหัดจะต้องทำอยู่เสมอ ๆ เพราะอายตนะ ธาตุ ขันธ์ ของเรามีอยู่ มันจำเป็นที่จะต้องกระทบ กระเทือน จะต้องหวั่นไหว จะต้องฝึกฝนอยู่ตลอดเวลา จิตเมื่อถอนออกจากอัปปนาสมาธิแล้วออกมา เป็นอุปจารสมาธิ อาจจะถอนออกไปถึงขณิกสมาธิ หรือออกไปนอกขณิกสมาธิก็ได้ ผู้ฝึกหัดปฏิบัติที่ ยังไม่ทันชำนิชำนาญที่จะหลงทางได้ อัปปนาสมาธิยังไม่ใช่ มรรค ผล นิพพาน อันนั้นเป็นแต่เพียง ฝึกหัดจิตให้ชำนิชำนาญเฉย ๆ พอจะหยั่งถึงความบริสุทธิ์ พอจะหยั่งเข้าถึงกระแสแห่งความสงบ เยือกเย็นที่เป็นอัปปนาสมาธิเท่านั้น ได้ชื่อว่าจิตใจหยั่งเข้าถึงพระพุทธศาสนาที่มั่นคงแล้ว หยั่งถึง กระแสความจริงแท้ทีเดียว หรือจะเรียกว่าอริยบุคคลก็ไม่ผิด

เมื่อถอนออกจากอัปปนาสมาธิมาเป็นอุปจารสมาธิแล้ว จะต้องพิจารณาอะไรให้เป็นเครื่องอยู่ ของจิต พิจารณา ธาตุสี่ ขันธ์ห้า อายตนะสิบสอง ที่มีอยู่ในตัวของเรา ไม่ต้องหนีจากตัวของเรา พระพุทธศาสนานี้ทั้งหมดนอกจาก ธาตุสี่ ขันธ์ห้า และอายตนะแล้วไม่มีที่จะพิจารณา การพิจารณา ส่วนปลีกย่อยเล็ก ๆ น้อย ๆ ออกไปมากมายนั้น เมื่อสรุปใจความรวมแล้วก็จะอยู่ใน ธาตุสี่ ขันธ์ห้า และอายตนะนี้ทั้งนั้น พิจารณาของเหล่านี้ให้มันเห็นตามความเป็นจริงของมัน ธาตุสี่ ขันธ์ห้า อายตนะสิบสอง ตัวของเราก็มีทุก ๆ คน มีพร้อมหมดแล้วทุกอย่าง เครื่องไม้เครื่องมือของเราที่จะทำ การงานให้ได้มาซึ่ง ศีล สมาธิ ปัญญา ก็มีแล้วทุกอย่าง พิจารณาลงไปซี

ศึกษาต่อตามลิ้งค์

การฝึกหัดกัมมัฏฐาน
โดย พระนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาจารย์ (เทสก์ เทสรังสี)

http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/lp_thes/lp-thes_11.htm
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 26 ก.ย. 2007, 8:14 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สวัสดีครับคุณปุ๋ย

ขอบคุณ คุณปุ๋ยที่ร่วมสนทนาครับ

คุณปุ๋ยมีวิธี ควบคุมจิตอย่างไรครับจึงจะรู้จักจิตและจับจิตได้

เพราะการใช้สติดึงจิตให้อยู่กับร่องกับรอยก็ยากมากแล้วครับ

บางครั้งก็ได้ดี บางวันหลุดไปเลยครับ

บางวันใช้วิธีหนึ่งได้ผลพอมาอีกวันก็ใช้วธีเดียวกันไม่ได้

ยิ่งในการเผชิญหน้ายิ่งแล้วใหญ่ตั้งสติไม่ทัน

หากมีวิธีการดีๆมาแบ่งปันกันน่ะครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 27 ก.ย. 2007, 8:51 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กราบสวัสดีคุณmes

ส่วนตัวแล้วเคยฝึกจิตตามแนวทางปฏิบัติของท่านกนฺตสิริ ภิกขุ (สำนักปฏิบัติธรรมศิริธรรมหรือถ้ำชี) ฝึกประคอง ฝึกจับ ฝึกรักษา ฝึกปล่อย ฝึกพิจารณา ซึ่งจะมีรายละเอียดกล่าวไว้หมดว่าปฏิบัติอย่างไร ปัจจุบันฝึกเจริญสติรู้อารมณ์ ความรู้สึก ในอิริยาบทเคลื่อนไหว ตรงกาย ตรงจิต ณ ปัจจุบันขณะ ซึ่งได้รับการสอบอารมณ์กรรมฐานจากพระครูเกษมธรรมทัต วัดมเหยงค์ อยุธยา ทำให้เข้าใจในเรื่องวิปัสสนามากขึ้น ฝึกใหม่ๆท่านสอนให้ดูตรงๆ ไม่ได้สอนให้เล่นกับความคิด ทำให้เจริญสติได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ขาดสาย ไม่ติดอยู่ในวังวนความคิดหรือเผลอหรือฟุ้ง เผชิญหน้าก็ปกติ อัตโนมัติ ไม่ต้องมาตามรู้เพื่อจะดับอีกต่อไป

เจริญในธรรม

มณี ปัทมะ ตารา
ผีเสื้อ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 28 ก.ย. 2007, 9:36 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอบพระคุณ คุณปุ๋ยครับ

ผมสรุปว่า

ให้มีสติ รักษาสติ

เพื่อเกิดสมาธิ

ทุกสภาวะ

ถูกไหมครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 28 ก.ย. 2007, 1:44 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สรุปคือเมื่อสติสัมปชัญญะต่อเนื่องไม่ขาดสาย ก็จะพิจารณารูปนามได้ตรงขณะปัจจุบัน คือช่วงที่กำลังปรากฏ ก็จะเห็นความเป็นไตรลักษณ์ซึ่งเป็นเครื่องหมายของรูปนาม แสดงความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ปรากฏเปลี่ยนแปลงไปต่อหน้าต่อตาเป็นขณะๆ

เจริญในธรรม

มณี ปัทมะ ตารา
ผีเสื้อ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
บัวหิมะ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273

ตอบตอบเมื่อ: 15 ส.ค. 2008, 12:34 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เจริญในธรรมค่ะ สาธุ
 

_________________
ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 15 ส.ค. 2008, 5:16 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณบัวหิมะช่วยพรวดดิน

(อย่างที่ใครเปรียบเปรย)

ทำใหเเวปคึกคักดีมากกกกก

และผมได้กลับมาแสดงความเห็นในกระทู้ผมเอง

ภวังค์จิต

ทำหน้าที่อีกอย่างหนึ่งคือ

ปฏิสนธิจิต

คือจิตนำไปเกิด

และทำหน้าที่เป็นวิบาก คือผลของกรรม

ในปวัตติกาล คือในระหว่างมีชีวิตอยู่

ครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง