Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 สามเณรบัณฑิต [สามเณร] อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่หัวข้อนี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไข หรือตอบได้
ผู้ตั้ง ข้อความ
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 23 ก.ย. 2007, 9:46 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

สามเณรบัณฑิต
เสฐียรพงษ์ วรรณปก

คราวที่แล้วเล่าเรื่องสามเณรเกี่ยว (สังกิจ) ในสมัยพุทธกาล ผู้มีประวัติชีวิตพิสดารเพราะผลอดีตกรรม วันนี้ขอเล่าอีกรูปคือ สามเณรบัณฑิต ที่บวชเณรอายุไล่เลี่ยกับสามเณรเกี่ยว

เด็กน้อยบัณฑิตเป็นบุตรตระกูลโยมอุปัฏฐากพระสารีบุตร อัครสาวก พ่อแม่ถึงจะมีฐานะไม่ดีนัก แต่มีจิตวิทยาในการเลี้ยงดูบุตรดุจดังผู้เกิดในตระกูลสูงทั่วไป ทั้งสองคนตกลงกันว่าจะไม่ขัดใจลูกในเรื่องการแสดงออกที่ดีงาม จะเลี้ยงดูด้วยเหตุผล มิใช่ด้วยอารมณ์ เด็กชายบัณฑิตจึงเติบโตมาในบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้เป็นอย่างดี และโชคดีได้อยู่ในสกุลอุปัฏฐากพระสารีบุตร อัครสาวกด้วย จึงมีโอกาสได้พบเห็นพระเถระ และได้รับใช้ท่านตามประสาเด็ก

ความคุ้นเคยทำให้เด็กชายบัณฑิตอยากจะบวชเป็นศิษย์พระเถระ วันหนึ่งจึงเอ่ยปากขอกับพ่อแม่ว่าอยากบวชอยู่กับพระคุณเจ้าสารีบุตร พ่อแม่ก็ยินดีอนุญาตให้ลูกบวชเป็นศิษย์ของท่าน บวชแล้วก็ติดตามพระอุปัชฌาย์ไปบิณฑบาตที่หมู่บ้านที่โยมบิดามารดาอยู่

วันหนึ่งระหว่างทางไปยังหมู่บ้าน ผ่านไร่นาของชาวบ้าน สามเณรน้อยเห็นชาวนาไขน้ำเข้านา ผ่านไปอีกหน่อยเห็นช่างศรกำลังดัดลูกศร ผ่านไปอีกเห็นช่างไม้กำลังถากไม้ทำเฟอร์นิเจอร์ จึงถามตามประสาเด็กอยากรู้อยากเห็น

พระอุปัชฌาย์ก็อธิบายให้ฟัง ขณะฟังก็ “ฉุกคิด” ขึ้นในใจว่า น้ำไม่มีจิตใจ คนยังบังคับให้มันไหลไปโน่นไปนี่ตามความต้องการของคน ลูกศรก็ไม่มีจิตใจ คนยังดัดให้มันตรงได้ ไม้ไม่มีจิตใจ คนยังเอาขวานถากให้มันเกลี้ยงได้ ไฉนเราซึ่งมีจิตใจแท้ๆ จะฝึกฝนใจตนเองไม่ได้เล่า

คิดดังนั้นจึงกล่าวกับพระอุปัชฌาย์ว่า ท่านขอรับ ถ้าท่านจะกรุณาให้ผมกลับไปวัดบำเพ็ญภาวนา จะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง พระเถระบอกว่าตามใจ แล้วรับบาตรจากสามเณรเข้าไปบิณฑบาตในบ้านแต่รูปเดียว

สามเณรกลับถึงวัดก็เข้าห้องปิดประตูนั่งสมาธิภาวนา ท่ามกลางบรรยากาศอันสงบสงัด เพราะพระเณรออกไปจากวัดหมด จิตของสามเณรก็เป็นสมาธิแนวดิ่ง ฝ่ายพระสารีบุตรเถระเป็นห่วงว่าเวลาจะล่วงเลยเพลไป เมื่อได้ภัตตาหารแล้วก็รีบกลับวัด

พระพุทธองค์เสด็จมาดักหน้าพระเถระที่ซุ้มประตูพระเชตวันวิหาร เพราะทรงทราบว่าสามเณรกำลังจะอยู่ในภาวะจิตเป็นสมาธิแนวดิ่ง ถ้าพระสารีบุตรเข้าไปในเวลาดังกล่าว จะขัดจังหวะได้ พระพุทธองค์จึงตรัสถามปริศนา 4 ข้อให้พระสารีบุตรตอบ พระเถระกราบทูลวิสัชนาได้ถูกต้อง เมื่อพระสารีบุตรวิสัชนาปัญหา 4 ข้อจบลง ก็พอดีสามเณรบัณฑิตได้บรรลุพระอรหัตพร้อมปฏิสัมภิทา พระพุทธองค์ตรัสว่า สารีบุตรไปเถิด สามเณรศิษย์ของเธอคงหิวแล้ว พระเถระก็รีบเข้าวัดไป

ว่ากันว่า วันนั้นพระเถระมาสายผิดปกติ กว่าจะฉันเสร็จแล้วนำอาหารมาให้สามเณร เวลาก็ล่วงเลยไปมากแล้ว คือตกบ่ายแล้ว แต่พระคัมภีร์ก็เขียนไว้ว่า เดือดร้อนถึงท้าวอมรินทร์เทวราช ต้องสั่งให้สุริยเทพบุตรฉุดรั้ง “สุริยมณฑล” ให้อยู่กับที่อย่าเพิ่งให้เลยเที่ยงวัน จนกว่าสามเณรจะฉันข้าวเสร็จ ว่าอย่างนั้น

พอสามเณรฉันเสร็จ ล้างบาตรเท่านั้น พระอาทิตย์ที่ดูยังไม่เที่ยงวัน ก็ “ติดเทอร์โบ” โคจรปรู๊ดปร๊าดตกบ่ายทันที คงประมาณบ่ายสองบ่ายสามกระมัง ทำเอาพระคุณเจ้าอื่นๆ ประหลาดใจทันทีว่า เอ๊ะ วันนี้ตะวันบ่ายคล้อยรวดเร็วนัก สามเณรพึ่งจะฉันเสร็จเมื่อกี้นี้เอง

เขียนมาถึงตรงนี้ นึกถึงสมเด็จพระพุฒาจารย์โตขึ้นมาได้ คราวหนึ่งท่านนั่งเรือที่ศิษย์วัดแจวผ่านลำคลองแห่งหนึ่ง บังเอิญท่านงีบหลับไป เด็กก็ยังแจวอยู่อย่างนั้น ถึงเวลาเพลแล้วก็ไม่ยอมหยุด ไม่กล้าปลุกให้ท่านตื่นขึ้นมาฉันเพล ด้วยความเกรงใจสมเด็จท่าน พอท่านตื่นขึ้นมา ก็ถามเด็กว่า ถึงเวลาเพลหรือยัง เด็กก็กราบเรียนท่านว่า เลยเพลแล้วขอรับ สมเด็จถามว่า

“เออ มันเพลตรงไหนล่ะ”

“ตรงคุ้งน้ำนู้นขอรับ” เด็กตอบ

“ถ้าเช่นนั้น เอ็งกลับหัวเรือ แจวไปตรงจุดที่เพล” ท่านสั่ง

เด็กก็วกกลับ แจวไปยังจุดที่ได้ยินเสียงกลองเพล (สมัยก่อน พอถึงเวลาเพล ทางวัดท่านจะตีกลองบอกเวลา)

“ตรงนี้ใช่แน่นะ” สมเด็จถามย้ำเพื่อความมั่นใจ

“ใช่ ขอรับ” เด็กตอบยืนยัน

“เอ้า เอ็งเอาอาหารมาประเคน”

แล้วท่านก็ลงมือฉัน ณ ตรงนั้นเลย !

จะหาว่าสมเด็จท่านฉันเลยเพลได้อย่างไร เพราะท่านฉันตรงจุดที่เขาตีกลองเพลพอดีนี่ครับ

เรื่องนี้อาจเป็นการเล่าใส่ไข่ของผู้คนในภายหลังก็ได้ครับ แต่ให้คติน่าคิดดีมาก

พระพุทธองค์ตรัสปรารภสามเณรบัณฑิตว่า สามเณรบัณฑิตเป็นแบบอย่างของผู้ฉลาด ที่มองสิ่งแวดล้อมรอบตัวแล้วเกิดแง่คิดในการปฏิบัติธรรมจนสำเร็จพระอรหัต แล้วพระองค์ได้ตรัสคาถาประพันธ์ความว่า

ชาวนา ไขน้ำเข้านา
ช่างศร ดัดลูกศร
ช่างไม้ ถากไม้
บัณฑิตย่อมฝึกตน


เรื่องสามเณรบัณฑิตที่ประสบผลสัมฤทธิ์ระดับสูงสุด (เป็นพระอรหันต์) แต่อายุยังน้อย เป็นเรื่องที่บางทีบางคนคิดว่าไม่น่าเป็นไปได้ ถ้าวัดกันแค่ระยะเวลาสั้นๆ ชั่วชีวิตเดียว ก็อาจคิดอย่างนั้นได้ แต่ถ้านับรวมต้นทุนที่สะสมในชาติปางก่อนด้วย ก็ไม่แปลก สามเณรท่านอาจมี “บุญเก่า” สะสมไว้มาก ตกมาชาตินี้จึงแทบไม่ต้องพากเพียรพยายามมาก เพียงฝึกฝนนิดหน่อยเท่านั้น ก็ถึงจุดหมายสูงสุดแห่งชีวิต



สาธุ หนังสือพิมพ์มติชน รายวัน หน้า 6
คอลัมน์ รื่นร่มรมเยศ โดย เสฐียรพงษ์ วรรณปก
วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10788

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=71&t=58994

ดอกไม้ สามเณร ในสมัยพุทธกาล
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=71&t=46459
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่หัวข้อนี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไข หรือตอบได้
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง