Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 “การเจริญสติ” กำลังเป็นแฟชั่นฮิตในอเมริกา อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
สายลม
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 พ.ค. 2004
ตอบ: 1245

ตอบตอบเมื่อ: 07 ม.ค. 2005, 1:11 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

“การเจริญสติ” กำลังเป็นแฟชั่นฮิตในอเมริกา

ผู้สังเกตการณ์จากดัลลัส มลรัฐเทกซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา เกี่ยวกับจิตวิญญาณ กล่าวไว้ว่า ในทศวรรษ 2000 ความเชื่อเกี่ยวกับคุณค่าของ “สติ” กลายเป็นความเชื่อที่กว้างขวาง เช่นเดียวกับความเชื่อเรื่องทูตสวรรค์ ในปีทศวรรษที่ 1990 หนังสือและเทปเป็นจำนวนมากที่เกี่ยวกับความมีสตินั้น บ่อยครั้งเป็นหนังสือที่ขายดี

นอกจากนี้แล้วการเจริญสติกลายเป็นหัวข้อที่สำคัญยิ่งในงานสัมมนาต่างๆ หรือแม้กระทั่งในสปา ซึ่งในปัจจุบันนี้แม้แต่ในโรงพยาบาลและนักจิตวิทยาก็ยังมีการสอนให้ใช้สติเป็นหนทางในการบรรเทาและรับมือกับการเจ็บป่วยเรื้อรัง ความเครียด และความเศร้า

เมื่อสามเดือนที่ผ่านมา นิตยสาร Body & Soul ลงหัวข้อ The Natural Guide to Mindful Living (แนวทางธรรมชาติในการใช้ชีวิตอย่างมีสติ) ไว้หน้าปก Seth Bauer หัวหน้าบรรณาธิการหนังสือเล่มดังกล่าวได้กล่าวไว้ว่า การเจริญสติ คือ การใช้ชีวิตอย่างรู้ตัวในสถานการณ์ที่เป็นปัจจุบัน ซึ่งขณะนี้ได้กลายเป็นสิ่งสำคัญในวัฒนธรรมอเมริกัน เขายังกล่าวอีกว่า ในชีวิตของเรา เราขาดการเชื่อมโยงในสิ่งที่เราทำ สิ่งที่เราคิด ปฏิสัมพันธ์กับผู้คน และการดูแลตัวเอง การเจริญสติช่วยให้สิ่งเหล่านั้นมารวมอยู่ด้วยกันได้

สติกับหน้าที่การงาน ปัจจุบันบริษัทในประเทศสหรัฐอเมริกาหลายแห่งมีการฝึกอบรมการฝึกจิต เพื่อที่จะพัฒนาการใช้สมาธิในการทำงาน รวมถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างพนักงานและจริยธรรม เมื่อปีที่แล้ว นิตยสาร “Spirituality & Health” ได้ลงข้อความชื่อ “Lessons from Mindful Corporations.”

Michael Sauvante ประธานกรรมการบริหารของ Rolltronics กล่าวว่า “การบริหารจิตเพื่อหน้าที่การงานนั้นจะมุ่งไปในเรื่องที่ว่าธุรกิจส่งผลกระทบอย่างไรกับมนุษยชาติ แต่ในโลกความเป็นจริงของธุรกิจแล้วกลับมีความเห็นที่ว่า การเป็นมนุษย์ที่มีมนุษยธรรมนั้นจะบั่นทอนความสำเร็จทางด้านการเงิน”

ผู้เชี่ยวชาญได้กล่าวว่า การฝึกจิตให้มีสตินั้นต้องอาศัยการฝึกฝน วิธีทั่วไปที่ปฏิบัติกันนั้นคือการนั่งสมาธิ และการสังเกตการหายใจ บางคนใช้วิธีการนับลมหายใจเข้าออก บางคนก็ใช้วิธีอื่นๆ แตกต่างกันไป

Image

Gary Stuard อดีตพระภิกษุผู้ซึ่งสอนการทำสมาธิ ที่ “The Episcopal Church of the Transfiguration” กล่าวว่า เวลาส่วนใหญ่แล้วเราดำเนินชีวิตไปอย่างอัตโนมัติ วัตถุประสงค์หลักของการทำสมาธิให้มีสตินั้นไม่ได้เป็นการฝึกจิตให้มุ่งความสนใจไปข้างนอก หากแต่ให้มุ่งความสนใจไปในสิ่งที่อยู่ในตัว

ไม่ว่าจะฝึกเพื่อพัฒนาจิตใจ สุขภาพ หรือเหตุผลอื่นๆ การฝึกจิตให้มีสติตั้งมั่นก็คือการใช้ชีวิตอยู่อย่างรู้ตัวทั่วพร้อม Bonnie Arkus กรรมการบริหารของมูลนิธิ the Women's Heart Foundation แห่ง West Trenton, NJ สามารถลดน้ำหนักได้ถึง 10 ปอนด์ ในหนึ่งเดือน โดยผนวกการควบคุมโภชนาการแบบ The South Beach Diet กับการมีสติในการกิน เธอกล่าวว่า แล้วคุณจะรับรู้รสชาติอาหารมากขึ้น เพราะคุณให้เวลาในการรับรู้รสชาติมัน ไม่ใช่เพียงแค่ตักอาหารเข้าปากแล้วรีบกลืน วิธีนี้จะทำให้คุณมีแนวโน้มในการทานน้อยลง

การฝึกจิตให้มีสติตั้งมั่นนั้น เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในพระพุทธศาสนา ในช่วงปีทศวรรษ 1960 มันมีอิทธิพลต่อนักเขียนหลายท่าน เช่น Allen Ginsberg, Robert Pirsig ช่วงปีทศวรรษที่ 1970 กับงานเขียน “Zen and the Art of Motorcycle Maintenance” และช่วงปีทศวรรษที่ 1990 มีภาพยนตร์ฮอลลีวู้ดที่ได้รับอิทธิพลนี้คือ เรื่อง “Kundun” และ “Seven Years in Tibet”

ทุกวันนี้ เมื่อไรก็ตามที่ ท่านทะไลลามะ เดินทาง ท่านจะมีผู้คนคอยทักทายเสมือนว่าท่านเป็นดาราชื่อดังคนหนึ่ง มีหลายคนกล่าวว่า เมล็ดพันธุ์ของการเจริญสติในปัจจุบันนั้น ได้ถูกปลูกฝังไปโดยทั่ว โดยเห็นได้จากหนังสือเมื่อปี 1975 ชื่อ “The Miracle of Mindfulness” โดยนักเขียนคือ Thich Nhat Hanh พระภิกษุชาวเวียดนาม ซึ่งครั้งหนึ่งท่านเคยได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ โดย Rev. Martin Luther King JR พระภิกษุผู้ซึ่งอาศัยอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศสในปัจจุบัน เขียนไว้ว่า ความมีสติเป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่ทำให้เราเป็นนายของตัวเองและฟื้นฟูตัวเราเองได้

จริยธรรมและความเห็นอกเห็นใจ พุทธศาสนิกชนหลายคนเป็นกังวลว่า กระแสแห่งการเจริญสติ ซึ่งได้กลายเป็นที่นิยมของชาวอเมริกันนั้น บัดนี้ได้ถูกนำมาใช้หาผลประโยชน์ในทางด้านการค้า ชึ่งจะไม่ส่งผลใดๆ ทางด้านจิตใจเลย สำหรับชาวพุทธ การเจริญสติได้ถูกฝังลึกในจริยธรรมเสียแล้ว

Sharon Salzberg อาจารย์ชาวพุทธชื่อดัง ผู้แต่งหนังสือเกี่ยวกับจิตวิญญาณ และผู้ร่วมก่อตั้งสมาคม The Insight Meditation Society กล่าวว่า การทำจิตให้มีสตินั้นไม่ใช่เพียงเพื่อตัวเราเองเท่านั้น แต่เป็นการทำเพื่อที่จะให้โลกเป็นที่ที่น่าอยู่มากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการปลุกจิตภายในอีกด้วย ในวงการแพทย์ดูเหมือนว่ามันเป็นอีกหนทางหนึ่งที่จะทำให้มีสุขภาพที่ดีขึ้น

โรงพยาบาลและคลินิกมากกว่า 200 แห่งในประเทศสหรัฐอเมริกา ใช้การฝึกจิตส่งเสริมผู้ป่วยที่มีปัญหาทั้งทางจิตใจและร่างกาย Paul Keinarth แพทย์แห่ง Austin ได้เริ่มนั่งสมาธิฝึกจิตเมื่อสี่ปีแล้ว ในช่วงที่อยู่ในภาวะที่จิตใจย่ำแย่ ความคิดที่มีแต่การแข่งขัน ความกังวลและความเครียด ทำให้เขามีปัญหาในการนอนหลับ อีกทั้งยังห่างเหินกับครอบครัวอีกด้วย

Image

Keinarth ผู้ชึ่งปัจจุบันสอนคอร์สการฝึกสติ กล่าวว่า “การเปลี่ยนแปลงเป็นไปอย่างเหลือเชื่อ ปัจจุบันผมใช้ชีวิตอย่างสบายปลอดโปร่ง แทนที่จะใช้ชีวิตจมปลักอยู่กับเรื่องราวเก่าๆ มากมายที่ได้เกิดขึ้นกับผมและผู้อื่น มีความผูกพันมากขึ้นระหว่างผมกับครอบครัว และผมได้ปรับจิตใจให้มีขันติความอดทนมากยิ่งขึ้น”

Dr.James Ruiz นักรังสีวิทยา จาก Baton Rouge, LA., กล่าวว่า ความสนใจของเขาในเรื่องการมีสติอยู่กับตัว เริ่มขึ้นสมัยที่ลูกชายวัยหกขวบของเขายังเป็นทารก เมื่อลูกร้องไห้กลางดึก เขาจะอุ้มลูกไว้ในขณะที่ตัวเองก็จะเดินไปทำสมาธิไป เขากล่าวว่า การเจริญสติให้ตั้งมั่นอยู่กับตัวนั้นได้ทำให้วิถีชีวิตของคนที่เป็นพ่อแม่ได้เปลี่ยนแปลงไป

สิ่งที่ทำให้คุณโกรธนั้นไม่ใช่เพราะการตื่นขึ้นมากลางดึกเมื่อได้ยินเสียงลูกร้อง เขาว่า หากแต่สิ่งที่ทำให้คุณโมโหคือการที่คุณต้องการกลับไปยังที่นอนนั่นเอง การเจริญสติคือการปลดปล่อยความรู้สึกนั้นไป ยอมรับความเป็นจริงและสนใจกับสิ่งที่อยู่ข้างหน้าคุณ


หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก - 23 ธ.ค. 47
 

_________________
"อย่าลืมตัว อย่าลืมปัจจุบัน อย่าลืมปฏิบัติ"
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 07 ม.ค. 2005, 3:53 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เข้าใจว่าพระมหายานจากธิเบตเผนแพร่พุทธศาสนาในอเมริกามากกว่าพระของเถรวาท พระมหายานอย่างเช่น ติช นัท ฮันห์ ที่เขียนหนังสือซึ่งแปลว่าปาฏิหาริย์แห่งการตื่นอยู่เสมอ เป็นการสอนสติปัฏฐานให้คนเข้าใจง่าย ถ้าพิจารณาอีกจะเห็นว่า เดล คาร์เนกี ผู้เขียนหนังสือซึ่งอาษา ขอจิตต์เมตแปลในชื่อเรื่อง “ชนะทุกข์สร้างสุข” สอนว่าให้มีชีวิตอยู่แต่วันนี้ ไม่ใช่อยู่ในวันพรุ่งนี้ คืออยู่กับปัจจุบัน อันนี้ตรงกับหลักธรรมมากที่สุด คนที่สอนเรื่องนี้มิได้เป็นชาวพุทธ แต่สอนเรื่องการมีชีวิตอยู่ในวันนี้หรือในปัจจุบันให้เข้าใจได้ดี หนังสือชนะทุกข์สร้างสุขก็เคยขายดีมาก่อนในประเทศอเมริกา

แต่คนตะวันตกมีจุดอ่อนทางวัฒนธรรมที่ไม่อาจสอนให้มีศรัทธาได้เต็มที่ เพราะวิจิกิจฉาขวางกั้นอยู่ แต่ถ้าได้รับการอธิบายธรรมอย่างมีเหตุผล เขาจะเข้าใจได้ดี เพราะชีวิตคนตะวันตกอยู่ท่ามกลางความทุกข์ พวกเขาเข้าใจว่าชีวิตที่มีความสะดวกพรั่งพร้อมเป็นความสุข แต่พอไประยะหนึ่งก็เห็นว่ามันไม่เป็นสุข มันมีปัญหาต่างๆมากมาย เมื่อวิธีการทางศาสนาแก้ปัญหาที่เขาประสบได้ เขาจึงเห็นคุณของศาสนา
 
เกียรติ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 08 ม.ค. 2005, 12:52 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เมื่อ 2 ปีก่อน นิตรสาร Time นิตยสารที่มีผู้อ่านหลายสิบล้านคนทั่วโลก ได้ลงข้อความเกี่ยวกับเรื่องสมาธิในอเมริกาต่อเนื่องกันถึง 6 ฉบับ ว่ากำลังจะกลายมาเป็นปัจจัยที่ 5 ของชีวิตต่อจากปัจจัย 4 ทั้งนี้มีคนอเมริกากำลังให้ความสนใจกับการฝึกสมาธิแล้วกว่า 10 ล้านคน

ภาพน่าปกเป็นภาพนางแบบสาวชื่อดัง เกมแฮม เทอเลอร์ กำลังฝึกสมาธิตามแนวทางของพวกโยคีในอินเดีย เนื่องจากอเมริกาเอง ไม่ใช่ประเทศต้นกำเนิดของสมาธิ ความเชื่อที่มีอยู่เดิมของพวกเขา ก็ไม่มีสอนเรื่องนี้ ดังนั้น จึงต้อง Import วิธีการฝึกสมาธิ มาจากประเทศต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอินเดีย ญี่ปุ่น ทิเบต จีน พม่า และรวมถึงประเทศไทยด้วย

เขามีการศึกษาอย่างจริงจัง ทั้งทำวิจัย และวัดคลื่นสมองของคนที่กำลังฝึกสมาธิ จนเขาพบว่า สมาธิมีประโยชน์อย่างมากมาย ทั้งผ่อนคลายความเครียด รักษาโรคโดยไม่ต้องผ่าตัด หรือแม้แต่เปลี่ยนพฤติกรรม (โดยวิจัยให้นักโทษฝึกสมาธิ) เนื่องจากเครื่องไม้เครื่องมือเขาพร้อมกว่าไทยเรา ประกอบกับนิสัยทำอะไรทำจริงของฝรั่ง เขาจึงวิเคราะห์วิจัยกันอย่างใหญ่โต

สมาธิกำลังเติบโตไปยังบุคคลทุกอาชีพ จนถึงมีการวิจัย ที่นั่งแบบใหม่ ให้คนอเมริกานั่งแบบยืดขา แล้วเอนคล้ายกึ่งนั่งกึ่งนอนได้ด้วย ซึ่งเขาเชื่อว่าจะช่วยให้ผ่อนคลายได้ แต่ถ้าเอามาเมืองไทย สงสัยจะหลับสบายมากกว่าได้ฝึก

ผมคิดว่าเมื่อเขาได้ประโยชน์จากสมาธิพอสมควรแล้ว เขาจะเริ่มหาต่อว่า สมาธิที่ยิ่งกว่านี้คืออะไร และถ้ามีใครไปแนะนำวิธีการขั้นต่อไปให้เขาได้

ก็ต้องพูดกันล่ะนะ ว่ามันจะเป็นอย่างไรต่อไป
 
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 08 ม.ค. 2005, 2:54 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ฟังที่คุณเกียรติเล่า เห็นว่าคนอเมริกันเริ่มต้นทำสมาธิบนพื้นฐานที่ไม่ได้เป็นสัมมาทิฐิตามหลักพุทธศาสนา เพราะเขายังไม่ได้มีจุดมุ่งหมายให้สมาธิอบรมปัญญา และไม่มีจุดมุ่งหมายในพระนิพพาน เขาต้องการความสุขที่เรียกว่ากามสุขในเบื้องต้นเท่านั้นเอง แต่คงยากจะสอนให้ชาวอเมริกันเข้าใจถึงจุดมุ่งหมายที่สูงกว่า นอกจากเขาได้เห็นตัวอย่างพระที่ดีๆและได้ใกล้ชิด แล้วเรียนรู้แบบซึมซาบ เขาจึงจะมีปัญญาเข้าใจในพุทธศาสนา เพราะว่าเขาคงมองว่าศรัทธาแบบชาวพุทธเป็นเรื่องน่างมงาย และเราก็เห็นว่าการที่เขาใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์มาวัดการทำสมาธิ แล้วตื่นเต้นกันใหญ่ถึงขั้นวิจัยนั้นเป็นคล้ายเด็กปัญญาอ่อน ความรู้และความคิดเรื่องการทำสมาธิ และคามเข้าใจในเรื่องศาสนาก็ยังมีช่องว่างอีกมากเหมือนกัน
 
เกียรติ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 08 ม.ค. 2005, 4:24 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ตอนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นชายหนุ่มธรรมดาแล้วแบกมารดาว่ายน้ำอยู่ในทะเลนั้น เขาก็ไม่รู้อะไรเหมือนกันครับ แม้แต่สมาธิพื้นฐานก็ไม่รู้จัก รู้อย่างเดียวว่าชีวิตนี้ มีทุกข์ อยากจะหาทางพ้นทุกข์ ถ้ารู้ได้ก็จะบอกคนทั้งหลาย

เช่นเดียวกันครับ "หนทางร้อยลี้ ย่อมต้องมีก้าวแรก"

"การบรรลุธรรมในวันนี้ ย่อมต้องมีการสั่งสมบารมีในวันแรก"

และเพราะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านคิดว่า ในท่ามกลางคนที่ไม่เข้าใจ ยังมีคนที่น่าจะเข้าใจอยู่ ดังนั้น ท่านจึงลงมือสอน แล้วศาสนาพุทธก็เกิดขึ้นได้ครับ

เช่นเดียวกันครับ ไม่ว่าจะอเมริกา หรือประเทศไหน ขอเพียงมีคนตั้งใจจริง อาจไม่ยิ่งใหญ่เหมือนพระพุทธเจ้า เอาแค่กำลังใจน้องๆ ก็พอ ในการที่จะไปแนะนำเขา เมื่อก้าวแรกเกิดขึ้น ก้าวต่อๆ ไปก็จะตามมา ผมเชื่อเช่นนั้น
 
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 08 ม.ค. 2005, 5:37 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

บางทีอาจจะเป็นอย่างคุณเกียรติว่าก็ได้ ขึ้นกับความเพียรและความตั้งใจและเห็นประโยชน์ของสมาธิที่เป็นสัมมาทิฐิ
 
เกียรติ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 09 ม.ค. 2005, 8:04 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ทั้งผมและคุณโอ่ต่างถูกทั้งคู่แหละครับ เพราะองค์ประกอบที่เรา Post กันมา ก็คือ คุณสมบัติของ คุณธรรมแห่งความสำเร็จหรือ อิทธิบาท 4 นั่นแหละครับ

ได้แก่ ฉันทะ ความพอใจ อยากประสบความสำเร็จในเป้าหมายนั้นๆ

วิริยะ ความเพียร

จิตตะ ความตั้งใจ

วิมังสา ความเข้าใจ ในเทคนิควิธีการที่จะไปให้ถึงเป้าหมาย และคอยหมั่นพิจารณาหาวิธีการที่ถูกต้อง หากวิธีการของตนยังผิดอยู่

หากผู้ใดมีคุณธรรมทั้ง 4 ประการนี้บริบูรณ์ ย่อมทำการได้สำเร็จทุกอย่างครับ

"อานนท์ อิทธิบาท 4 ภาวนา ที่ผู้ใดเจริญไว้ดีแล้ว หากผู้นั้นปรารถนาจะมีอายุยืนถึง 1 กัป (โลกเกิดดับ 1 ครั้ง) หรือมากกว่านั้น เขาย่อมทำได้"
 
ก้อนดิน
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 07 ก.ค. 2004
ตอบ: 623

ตอบตอบเมื่อ: 13 ก.ย. 2007, 3:40 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เศษพุทธทาส
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 08 เม.ย. 2007
ตอบ: 121

ตอบตอบเมื่อ: 14 ก.ย. 2007, 11:14 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ดีมากเลยครับ อย่างน้อยก็ยังดีกว่าคนหลายๆคนที่เคยเป็น เป็นอยู่ และกำลังจะเป็นในทางต่างๆที่อาจพาพวกเขาไปสู่วังวนแห่งมายามิรู้จบก็ได้ การที่พวกฝรั่งเขามาให้ความสนใจในเรื่องนี้ก็นับว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดีมาก เพราะมันเป็นหัวจักรที่มุ่งไปสู่ทางแห่งกุศลแม้มันจะยังไม่ไปถึงจุดหมายหรือยังไม่ทราบจุดหมาย แต่แน่นอนครับว่า พวกเขาเหล่านั้นได้ออกเดินทางไปในเส้นทางที่มีคุณค่ายิ่งแล้วครับ การที่พวกเขามาเข้าร่วมแบบนี้ดีกว่าไปเข้าร่วมเทศกาลประกวด หนัง เกมส์ ดารา นักแสดง นางแบบนายแบบ เสื้อผ้า หรืองานประจำปีที่ไหนๆเยอะเลยครับ ว่าไหม

ก็อนุโมทนาสาธุครับ

May the Dhamma be with you. ขอธรรมจงสถิตอยู่กับท่าน
 

_________________
ทำวันนี้ให้ดีและต้องรู้ไว้ว่า ทำดีเพื่อดี ทำหน้าที่เพื่อหน้าที่ อุปสรรคไม่มี บารมีไม่เกิด
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ทศพล
บัวเริ่มพ้นน้ำ
บัวเริ่มพ้นน้ำ


เข้าร่วม: 10 ก.พ. 2008
ตอบ: 153
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 05 ส.ค. 2008, 5:42 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ดีจังคับ อนุโมทนา สาธุ สาธุ
 

_________________
"ธรรมทาน คือ ทานอันสูงสุด"
"ผู้ที่ฝึกจิต ย่อมนำความสุขมาให้"

http://www.wimutti.net
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง