Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 สิ้นวิพากษ์วิจารณ์และการเปิดเผย : ท่านเขมานันทะ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 10 ก.ย. 2007, 11:47 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

สิ้นวิพากษ์วิจารณ์และการเปิดเผย
โดย ท่านเขมานันทะ (อาจารย์โกวิท เอนกชัย)

อุปสรรคที่ร้ายแรงอีกอย่างในการปฏิบัติธรรมะ
คือ การเป็นคนช่างพูด พูดอะไรออกไปโดยไม่มีสติ

การพูดเช่นนั้นคือนิสัยแห่งความหลงผิด
ให้ผู้พูดกำเริบเสิบสาน ให้หดหู่
ชอบพูดให้ปรากฏเรื่องราวขึ้นในจิตใจของตน

โลกของคนใบ้เป็นโลกที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความรู้สึก
ถ้าหากว่าคนใบ้คนนั้นมีสติและไม่ต้องการอะไร

เพราะเราเป็นคนช่างพูด อดจะพูดไม่ได้
โอกาสที่สติต่อเนื่องกันย่อมยาก

เพราะว่าเมื่อสติต่อกันมันกลั่นกรองคำพูด
เป็นการขัดเกลาถ้อยคำ
การพูดโดยเฉพาะอย่างยิ่งการพูดอยู่ข้างใน
วิ่งก้องโกลาหลสับสนในตัวเอง

ตอนเช้าตรู่ที่เราเดินกันเป็นหมู่หรือ
ในเวลาเย็นแม้เราจะสำรวมไม่พูดกันก็จริง
ถ้าข้างในเราพูดวุ่นวายอยู่
เราจะไม่เห็นสายน้ำ ขอนไม้ เกลียวคลื่น หรือเสียงลม
เท้าที่สัมผัสดิน หรือทุกสิ่งทุกอย่าง

ถ้าเราไม่มีพูดวิพากษ์วิจารณ์
สิ่งทั้งหลายจะปรากฏเป็นสิ่งสดๆ ใหม่ๆ ท้องฟ้า ทะเลราวกับจับต้องได้

อาจารย์ผู้นำคนแรกของนิกายโซโตเซนที่เคยไปเรียนที่เมืองจีนชื่อ โดเกน
ท่านเขียนจดหมายถึงสานุศิษย์คนสำคัญด้วยถ้อยคำที่ชวนจำ

ประโยคแรกเขียนว่า
การศึกษาพุทธธรรมนั้น คือ ศึกษาตัวเอง

เป็นถ้อยคำง่าย กะทัดรัด สั้น

ประโยคที่สองเขียนว่า
การที่จะศึกษาตัวเองได้นั้นให้ลืมตัวเอง

นับว่าซึ้งมากๆ

ผู้ที่ไม่คุ้นกับโวหารเช่นนี้จะไม่ได้รับประโยชน์อะไรเลย
แต่ความหมายก็คือ อย่าสนใจตัวเองมากนัก


ตรงกับคำของพระพุทธองค์ที่ว่า
เมื่อทำความเพียรนั้น ไม่พักและไม่เพียร


เพราะเมื่อปฏิบัติเอาจริงนั้น
มันแฝงเจตนาเอาไว้ด้วย จะลืมตัวไม่ได้


จุดประสงค์ของการเจริญสติคือการลืมตัวอย่างเป็นไปเอง
ตอนเรา รู้สึกตัวนั้นทุกข์
เพราะเราต้องการจะรู้จักทุกข์ เราจึงต้องรู้ตัว
เพราะตัวเราเป็นตัวทุกข์

เมื่อรู้ตัวมันก็ไม่เผลอ เป็นการประจันหน้ากับตัวเองซึ่งเป็นทุกข์
เมื่อทำตามอำนาจของความเคยตัว
ไฟทุกข์อันนี้เองที่เผาผลาญจนกระทั่งสิ้นเชื้อลง
ก็ประสบกับความเปลี่ยนแปลง
ไฟของชีวิตที่มอดลง
เจตนาที่มอดลงไม่มีส่วนไหนที่ต้องกังวล
ฉะนั้นการลืมตัวจะค่อยๆ เป็นไปเอง

การลืมตัว ไม่ได้หมายถึงการเผลอไผลไร้สติ
แต่เป็นอาการเข้ารูปเข้ารอย
เข้าสู่ความกลมกลืน เข้าสู่โลกที่ขัดแย้งกัน


ผู้ที่เคยมีประสบการณ์กับตนใบ้
จะพบว่าคนใบ้นั้นมีพลานามัยสูง
เขาพูดไม่ได้ ดังนั้นเขาจึงค้นหาวิธีสื่อความรู้สึกขอเขาเหล่านั้นได้

โลกคนใบ้เป็นโลกของการเต็มเปี่ยมแห่งความรู้สึก
ขณะที่โลกของคนช่างพูดเป็นคนที่ไม่มีอะไรเลย


ผมไม่ได้บอกว่าคนใบ้เป็นผู้หลุดพ้น แต่เป็นโลกที่เปี่ยมด้วยความรู้สึก

ย้อนไปเรื่องการขับรถยนต์
ถ้าเราขับรถยนต์เป็นแล้ว
เราสามารถนั่งคุยกับเพื่อนๆถึงเรื่องราวต่างๆ
อาจเป็นเรื่องปรัชญาหรือเป็นเรื่องอะไรก็ได้
ในขณะที่มือและเท้ายังทำหน้าที่สัมพันธ์กับกลไกต่างๆ ได้ดี

การลืมตัวอยู่ในตัวเองอย่างเป็นสมาธิซึ่งไร้นิมิต ซึ่งไปพ้นสุขทุกข์
นั่นคือ การพ้นการวกวนอยู่ในโลกแห่งปรากฏการณ์ หากแต่สัมผัสรู้ล้วนๆ

คนมีสติดีๆ ย่อมไม่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์อยู่ภายใน
มีความสุกสว่างชนิดหนึ่งปรากฏอยู่ในหัวใจ ในดวงชีวิตจิตใจ


ความสว่างชนิดนี้ไม่เหมือนแสงสว่างภายนอก เป็นสิ่งสัมผัสต่อทุกๆ สิ่ง

เราเจริญภาวนาด้วยการเร้าความรู้สึกตัวให้ตื่น
คลองของคำพูดถูกตัดขาด พร้อมกับการวิพากษ์วิจารณ์
ความรู้สึกสัมผัสต่อทุกๆ สิ่งที่เกิดขึ้น
จิตสำนึกที่เคยแคบก็กว้างไกล แผ่ขยายออกไปทุกทิศทาง
ดังนั้นจึงไม่รู้อะไรเลยโดยจำเพาะ
กล่าวได้ว่าสรรพสิ่งทั้งปวงนั้นเองปลุกให้ชีวิตตื่นขึ้นในความรู้แจ้งล้วนๆ


มีเรื่องเล่าถึงนิสัยที่น่านิยมของโดเกนว่าวันหนึ่ง
ท่านเดินไปกับสานุศิษย์
ท่านหิวน้ำท่านก็เลยเอาบาตร ออกมา
เดินไปตักน้ำที่ลำธารให้ศิษย์ดื่ม ท่านก็ดื่มด้วย
แล้วท่านก็เดินกลับไปที่ลำธาร เทน้ำที่เหลือในบาตรลงไปในลำธาร

การกระทำของท่านทำให้ลูกศิษย์สงสัย
จึงถามว่าทำไมอาจารย์ทำอย่างนี้
โดเกนตอบศิษย์ว่า
เราควรทะนุถนอมน้ำในลำธารไว้ให้คนรุ่นหลังได้ดื่มบ้าง

ท่านพูดง่ายมาก ทั้งสะท้อนออกถึงเมตตาจิตทะนุถนอมสภาวะแวดล้อม

จิตที่ตื่นแล้วมีความตระหนักรัก
เปี่ยมด้วยเมตตาธรรม จริยธรรมและสุนทรียภาพ


Image
เขมานันทะ (อาจารย์โกวิท เอนกชัย)

สาธุ สาธุ สาธุ

ที่มา “สิ้นวิพากษ์วิจารณ์และการเปิดเผย” ใน ช่วงชีวิต-ช่วงภาวนา โดย เขมานันทะ, หน้า ๙๗-๙๙. (หมายเหตุ : หนังสือช่วงชีวิต-ช่วงภาวนา เป็นการรวบรวมจากรายการภาวนา “ด้วยรักและตระหนักรู้” ซึ่งจัดโดยชมรมพุทธฯ มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ช่วงระหว่างวันที่ ๑๐-๒๕ มีนาคม ๒๕๓๒ ณ อาศรมนวชีวัน อ.สทิงพระ จ.สงขลา)

ดอกไม้ รวมคำสอน “ท่านเขมานันทะ (อาจารย์โกวิท เอนกชัย)”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=44291
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง