Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 รู้ทันมาร ...พระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรํสี) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 07 ก.ย. 2007, 1:32 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

รู้ทันมาร
พระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรํสี)

นมัตถุ รตนัตตยัสสะ ขอถวายความนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ขอความผาสุกความเจริญในธรรมจงมีแก่ญาติสัมมาปฏิบัติธรรมทั้งหลาย



ต่อไปนี้จะได้ปรารภธรรมะอบรมโดยเฉพาะท่านที่ได้เข้ามาฝึกหัดปฏิบัติเจริญวิปัสสนากรรมฐาน วันนี้สังเกตดูก็รู้สึกว่าดีขึ้น ตั้งอกตั้งใจประพฤติปฏิบัติกันได้ดีขึ้น ก็เป็นธรรมดา วันแรกก็อาจจะขาดตกบกพร่องขัดๆเขินๆ รู้สึกทำอะไรอาจจะไม่ค่อยสะดวกเพราะว่าเป็นวันแรก เมื่อผ่านมาเราก็คงจะปรับตัวได้ดีขึ้น ก็คล่องตัวขึ้น ทำให้จิตใจปลอดโปร่งสบายขึ้น บางคนใช้เวลาหลายวันนะปฏิบัติกว่าจะเข้าที่เข้าทาง

ฉะนั้นในประสบการณ์ของการปฏิบัตินั้น ท่านทั้งหลายจะต้องเผชิญกับกิเลสต่างๆ ที่จะมาเป็นมารรบกวน เรียกว่ากิเลสมาร มารคือเครื่องเศร้าหมองจิตใจ มันจะเข้ามารบกวนขัดขวางให้การประพฤติปฏิบัตินั้นได้ถอยหลังล้าหลัง ถ้าหากว่าเรารู้ไม่ทันเราก็คงจะต้องพ่ายแพ้กับกิเลสมารไป บางทีมันก็มาชวนให้เราเลิกปฏิบัติ จะปฏิบัติไปทำไม ดูซิมานั่งนอนลำบาก มันคอยหลอกเรา อยู่บ้านเราสบายกว่า ต้องมานอนลำบาก อาหารก็ทานจำกัด ต้องมาคอยอยู่ในการควบคุม เราจะนั่งนอนสบายตามใจชอบก็ไม่ได้ นั่นมารมันคอยมาหลอกเรา ชวนให้เราคิดเลิก อยากเลิกปฏิบัติ บางทีก็ชวนให้เรานอน ว่าจะนั่งไปทำไม ปวดหลังปวดขา นอนดีกว่า มันก็จะชวนเราเรื่อยไป เราก็ต้องรู้ทันมาร ดู ไล่มารออกไป เวลาเรารู้ทันมันก็ไม่อยู่แล้วกิเลสมาร

เทวปุตตมาร บางทีมันก็มีเทวปุตตมารมาชวนเราให้เลิกได้เหมือนกัน สมัยพุทธกาลภิกษุณียังสาวอยู่ มาบวชยังสาวอยู่ ก็ไปนั่งกรรมฐานบำเพ็ญอยู่ในป่าที่โคนไม้ เทวปุตตมารมันก็มากระซิบบอกชวนให้สึกออกไป เลิกไป เลิกปฏิบัติ เรายังสาวยังสวยอยู่จะมานั่งอยู่อย่างนี้ อดๆ อยากๆ อยู่ ไม่ได้อะไร ไปสนุกสนานเพลิดเพลิน มันจะให้เหตุผลดี ชวนให้หลงใหล แต่ภิกษุณีนั้นก็รู้ทันว่า นี่มันมาร ก็ดุมารไล่มาร มารพอถูกรู้ทันก็หายไป การปฏิบัติจึงต้องมีความเด็ดเดี่ยว ใจต้องเด็ดเดี่ยวในการเอาชนะกิเลสให้ได้ เรียกว่าชนะใจตัวเอง ใจเรามันคอยชวน ถูกกิเลสชวนให้ตกต่ำ เราก็ต้องฝึกต้องฝืน ปฏิบัตินี่ต้องฝึกต้องฝืน ข่มใจ บางครั้งก็ต้องข่มมันไว้บ้าง

บางครั้งก็ต้องปลอบใจ จิตเราบางครั้งมันเหมือนเด็ก จิตเหมือนเด็ก เด็กเล็กมันมีความซน การเลี้ยงเด็กนั้นต้องเป็นผู้ที่มีความเข้าใจ เราจะเอาเด็กจับมานั่งอยู่กับที่นี่ไม่ได้ วิสัยของเด็กจะต้องซุกซน เดี๋ยวก็จับโน่น เดินไปเดินมา ปีนป่าย อยู่เฉยไม่ได้ ลักษณะของเด็ก เราจะไปจับเด็กให้เฉยนี่มันไม่ได้ แต่เราก็ต้องคอยระวังว่าเด็กนั้นน่ะมันจะไปทำอะไรที่เป็นอันตรายหรือเปล่า มันเอามือไปล้วงในปลั๊กไฟหรือเปล่า หรือไปจับอะไรที่จะทิ่มแทงหรือเปล่า จะตกบ้านอะไร จะไปปีนป่ายตกมา ก็คอยดูคอยตะล่อมไว้ แต่ไม่ต้องไปบังคับเด็กอยู่ คอยระวังให้เขาเดินวิ่งเล่นนั่นแหละ จิตใจนี้ก็เหมือนกัน มันเป็นสภาพที่ดิ้นรนไปในอารมณ์ ซัดส่ายไปในอารมณ์

เป็นธรรมชาติที่กลับกลอกกวัดแกว่งไปในอารมณ์ต่าง ๆ มันชอบไปในอารมณ์ แล่นไปสู่อารมณ์ที่น่าใคร่น่าปรารถนา เดี๋ยวมันก็แวบไปแวบมา การที่สติตามดูรู้เท่าทันจิตก็เหมือนกับเป็นคนเลี้ยงเด็ก สติเหมือนกับเป็นคนเลี้ยงเด็ก สติควบคุมจิตนั้นจะต้องไม่ใช่ไปบังคับอยู่ ไม่ใช่ว่าเราไปบังคับจิตว่าอย่าคิด อย่าคิด บังคับเข้าไว้ มันก็จะเหมือนเด็กที่ถูกบังคับให้มันอยู่นิ่งๆ เด็กมันก็พาล เดี๋ยวมันก็พาลพาโล เดี๋ยวก็เกเร เดี๋ยวมันก็ร้องให้ จิตนี้ก็เหมือนกัน

ถ้าเราไปบังคับมันไว้ มันก็พาลพาโล เกิดความคับแค้นใจ อึดอัด มันยิ่งเกิดความฟุ้งมากยิ่งขึ้น ฉะนั้นการกำหนดจิตนั้นให้ตามดูรู้เท่าทัน อย่าไปบังคับ โดยการยอมรับกับความเป็นจริงของจิตว่า จิตนี้มีสภาพที่ไม่เที่ยง มีสภาพที่จะต้องแปรเปลี่ยนไป รับอารมณ์หนึ่งเปลี่ยนไป รับอารมณ์หนึ่งเปลี่ยนไป จะไม่บังคับแต่ให้รู้ทัน เอ้า จิตคิดก็รู้ จิตไหวไปรับอารมณ์ก็รู้ เผลอไปก็รู้ คิดไปก็รู้ ฟุ้งไปก็รู้ เอ้า มันหยุดอยู่ก็รู้ มันสงบก็รู้ จะเป็นผู้ที่ตามดูรู้ทันไม่บังคับ มันก็สงบของมันเอง

เด็กที่เลี้ยงดูแลเลี้ยงเด็กนั้น ถ้าเกิดเด็กมันร้องขึ้นมา เราเป็นคนเลี้ยงเด็กเราจะทำอย่างไรให้มันนิ่ง บางครั้งเราอาจจะปลอบโยน เด็กถ้าได้รับการปลอบโยน ให้ขนม ให้ของเล่น ปลอบโยนด้วยคำไพเราะ เด็กมันก็เงียบได้เหมือนกัน เหมือนจิตเรา ถ้าหากว่าบางครั้งมันเร่าร้อนฟุ้งซ่าน เราก็ต้องปลอบโยนจิตใจ ตานี้เด็กบางครั้งเราปลอบโยนมันก็ไม่นิ่ง จะเอาอะไรให้มัน มันก็ไม่นิ่ง ปลอบโยนก็ไม่นิ่ง คนเลี้ยงเด็กก็อาจใช้วิธีขู่ วิธีขู่ วิธีเคี่ยวเข็ญ วิธีดุ เด็กนั้นอาจจะนิ่งได้ จิตนี้ก็เหมือนกันบางครั้งก็ต้องขู่ ต้องเคี่ยวเข็ญ ควบคุมมันก็หยุดได้เหมือนกัน สงบได้เหมือนกัน

ในบางสมัยต้องใช้แบบนั้น ปล่อยตามใจชอบทีเดียวไม่ได้ บางครั้งก็ต้องควบคุม บางทีมันแล่นไปในอารมณ์ที่ไม่สมควร อารมณ์เป็นเหตุให้เกิดกามราคะบ้าง อะไรต่าง ๆ เราก็ต้องควบคุมต้องขนาบจิตใจ สั่งสอน ควบคุม แต่บางครั้งเด็กที่แม้จะปลอบโยนแล้วมันก็ไม่นิ่ง จะขู่จะขนาบแล้วมันก็ไม่นิ่ง คนเลี้ยงเด็กจะทำอย่างไร ก็ต้องปล่อยให้มันร้อง มันอยากร้องก็ให้มันร้องไป ดูซิว่ามันจะร้องทั้งวันทั้งคืนได้ไหม เด็กมันคงร้องอยู่ไม่ได้ ไม่ร้องทั้งวันทั้งคืนหรือสามวัน มันอยู่ไม่ได้หรอกเด็ก มันร้องไปมากๆ มันก็นิ่งเอง ไม่มีใครมาดุไม่มีใครมาปลอบ มันก็นิ่งเองได้

จิตนี้ก็เหมือนกันบางครั้งมันเอาเรื่อง เราจะประคับประคองปลอบโยนจะเคี่ยวเข็ญขนาบมันก็ยังจะฟุ้งซ่าน หงุดหงิด ฟุ้งมาก ทำอย่างไรก็ตั้งสติควบคุมไม่อยู่ ก็ต้องปล่อยมันบ้าง ปล่อย อยากจะฟุ้งก็ฟุ้งไป ดูซิจะฟุ้งถึงขนาดไหน ฟุ้งให้เต็มที่เลย เราบอกไปอย่างนั้น ถ้าเราทำจิตใจ เราปล่อยให้มันฟุ้ง เดี๋ยวมันสงบของมันเอง โดยเฉพาะว่าการปล่อยวางมันกลับสงบ อันนี้ก็เนื่องจากว่า จิตที่ฟุ้งนั้นเกิดจากการบีบบังคับ จิตบางครั้งเราขนาบมัน มันสงบได้ เคี่ยวเข็ญไป ควบคุมไว้มันกลับฟุ้ง มันไม่อยู่มันก็เลยฟุ้ง ถ้าเป็นเช่นนั้นเราจะใช้วิธีอย่างนั้นไม่ได้ ต้องปล่อย

นั่นก็หมายถึงว่าจิตนี่ ถ้าหากว่าบางครั้งถูกบีบรัด มันก็ยิ่งเร่าร้อนมากยิ่งขึ้น ก็ต้องปล่อยมัน ปล่อยในที่นี้ก็ยังดูแลนั่นแหละ คือเราก็ตามรู้อยู่ ดูแล เวลาเด็กมันร้องไห้เราก็ต้องระวังเหมือนกัน มันจะไปทำอะไรเกินเลยหรือเปล่า มันร้องก็ให้มันร้องอยู่ในบ้านหรืออยู่ในห้อง จิตนี้ก็เหมือนกัน มันจะฟุ้งก็ฟุ้งไป เราก็ปล่อยนั่นแหละ แต่ว่าคอยดูไปตามดูไปมันก็สงบของมันเองได้ เรียกว่าทำใจว่ามันจะสงบหรือไม่สงบก็ช่าง จิตนี่มันจะฟุ้งมันจะสงบก็ช่าง ใจที่มันมีความช่างคือช่างเถอะ แล้วแต่ มันเป็นการลดการบีบบังคับ เมื่อลดการบีบบังคับมันสงบ เพราะจิตที่ฟุ้งบางครั้งมันเกิดจากการไปบีบบังคับ

ทำใจปล่อยวาง ปล่อยวาง ไม่เอา ฟุ้งก็ไม่เอา อะไรก็ไม่เอา ทำใจไม่เอาอะไรสักอย่าง บางครั้งเราจิตใจความปรารถนามันมากไป มันแล่นนำหน้า อยากจะให้ได้สงบ อยากจะให้ได้อย่างนั้นอย่างนี้ ในการปฏิบัตินี่ความปรารถนามันแรงกล้า มันล้ำหน้า มันก็เลยไปทำให้จิตใจมีแต่ความฟุ้งซ่าน เพราะว่าความปรารถนามันแรง เมื่อแรงแล้วมันไม่ทันใจ เมื่อไม่ทันใจมันก็ยิ่งไม่พอใจมากขึ้น มันไม่ได้โกรธใครมันก็โกรธใจตัวเองนั่นแหละ โกรธว่าทำไมใจไม่สงบ ทำไมไม่สงบ ทำอย่างไรก็ไม่สงบ มันโกรธ ไม่ใช่โกรธใครก็โกรธใจตัวเอง มันก็ยิ่งฟุ้งกันใหญ่ เพราะอะไร เพราะความโกรธมันก็เกิดร่วมกับความฟุ้งนั่นแหละ ความฟุ้งมันก็เกิดร่วมกับความโกรธ อย่างนี้เราต้องปล่อยวางเลย ปล่อยวาง ทำใจให้ไม่หวังอะไร ทำจิตเฉยๆ นิ่งๆ มันจะสงบของมันเองได้

<<<มีต่อ>>>
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 07 ก.ย. 2007, 1:40 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ปัญหาของผู้ปฏิบัตินั้นจะหนีไม่พ้นเรื่องความฟุ้งซ่าน เป็นสิ่งที่เราจะต้องยอมรับว่า จะต้องเกิดขึ้นในจิตใจของเราทุกคน ไม่มีใครเลยที่จะไม่ฟุ้งซ่าน ต้องผ่านฟุ้งมาแล้วทั้งนั้น ฉะนั้นเราก็อย่าไป... เป็นลักษณะที่น้อยเนื้อต่ำใจว่าเราเองคงไม่มีบุญ ไม่มีวาสนากระมัง มันก็เกิดความท้อถอยไม่มีกำลังใจ ถ้าเรารู้ว่า เออ ทุกคนมันก็เป็นอย่างนี้แหละ ไม่มีใครที่ปฏิบัติแล้วจะจิตใจสงบระงับเข้าที่เข้าทางได้ทันทีเสมอไป ราบเรียบทุกอย่าง

มันไม่เป็นอย่างนั้น มันจะต้องล้มลุกคลุกคลาน ต่อสู้ ชนะบ้าง แพ้บ้าง สงบไม่สงบ แต่เราไม่ยอม ถึงคราวที่มันพลาดเราก็ถอยตั้งหลัก มันก็ต้องต่อสู้ต่อไป มันเป็นเรื่องที่มันไม่มีทางเลือก ถ้าเราเอาชนะข้าศึกอันนี้ไม่ได้ มันก็ไม่มีทางอื่นที่จะรอดได้ เราก็ต้องย่อยยับอย่างแน่นอน ก็ต้องทุกข์ทรมานอยู่อย่างนี้ ต้องเอาชนะ ถึงตอนนี้มันจะถูกกิเลสเล่นงานบ้าง แต่เราก็ถอยมาสะสมกำลังเพื่อเอาชนะมันต่อไปให้ได้

การปฏิบัตินี่จึงไม่ใช่ไปทำที่อื่น เรื่องคนอื่นก็เป็นเรื่องของคนอื่น เราจะทำแต่เรื่องของเราโดยเฉพาะเรื่องในจิตใจของเรานี้ หน้าที่ของเราอยู่ที่นี่ เราจึงจำเป็นต้องสนใจใส่ใจเฉพาะเรื่องของเรา การเข้าปฏิบัติจึงไม่เที่ยวไปมองของคนอื่น คนอื่นเขาจะทำอะไรเขาจะปฏิบัติอย่างไร เราไม่ต้องไปสนใจใส่ใจ ไปเพ่งโทษเพ่งมองอะไรเขา เราสนใจแต่เรื่องของเราอย่างเดียว สนใจแต่เรื่องในจิตใจของเราเท่านั้น หรือแม้แต่ต้องระวังจิตใจของเรา

เดี๋ยวก็คอยจะคิดไปช่วยคนนั้นไปช่วยคนนี้ ทำอย่างนั้น ทำอย่างนี้ อันนี้ก็ไม่ถูกเหมือนกัน ตอนนี้มันเป็นเรื่องที่เราต้องทำตัวเราเอง ทำเหมือนกับคนใจดำ คนที่ปฏิบัติด้วยกันก็เข้าใจ คือมันไม่ใช่เป็นเรื่องของความใจดำ แต่มันเป็นเรื่องของการที่เราจะต้องทำตัวเราเอง ฝึกหัดตัวเราเอง ถ้าเราทำตัวเราเองไม่ได้แล้ว เราจะไปทำเมื่อไร เราจะไปช่วยใครได้ เหมือนเราว่ายน้ำไม่เป็น แล้วเราจะกระโดดไปช่วยคนอื่น มันก็จมตายหมด ตัวเรายังว่ายไม่เป็น

คือมันจะเสียกรรมฐานอารมณ์ของเราหมด เราก็ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของผู้ดูแลที่เขามีหน้าที่ เราก็ต้องวางจิตเป็นอุเบกขา หน้าที่ของผู้ที่เขาดูแล อันนั้นเขามีหน้าที่ เขาก็จำเป็น เขาต้องดูแลต้องช่วยเหลือ เขามีหน้าที่ที่จะต้องกระทำ แต่สำหรับนักปฏิบัติด้วยกัน ในฐานะที่เรามีเวลาจำกัดเราก็ต้องเอาจริงเอาจังฝึกตัวเราเอง ฝึกจิตฝึกใจของเราเท่านั้น เรื่องการช่วยเหลือคนอื่นนั้นเราก็ยังมีโอกาส จะทำประโยชน์อย่างไรก็ได้ เป็นช่วงอื่น

อันนี้ก็เป็นปัญหาหนึ่ง คือความฟุ้งซ่าน ต้องรู้ด้วยนะเวลาฟุ้งเกิดขึ้นก็กำหนดความฟุ้ง เวลาเผลอก็ให้กำหนดรู้ว่าเผลอ อย่าปล่อยเลยไปเฉย ๆ เช่น ดูลมหายใจเป็นหลักนี่แหละ ดูลมเข้าลมออกอยู่ มันเผลอคิดอะไรต่ออะไรไป พอรู้สึกขึ้นมาก็ให้รู้ลักษณะความเผลอ ให้รู้ว่า อ้อ นี่เผลอ อ้อ นี่มีสติ คือให้เห็นลักษณะของความมีสติ เห็นลักษณะของความเผลอต่างกัน มันจะช่วยให้เรานี้ลดความเผลอลง พอเผลอไปมันก็จะได้มีสติขึ้นได้ไว เพราะเรากำหนดความเผลอเป็น รู้จักความเผลอมันก็รู้สึกตัวขึ้นมาได้ไว เวลาฟุ้งก็กำหนดรู้ความฟุ้ง

การประพฤติปฏิบัตินั้นก็มีพื้นฐานที่แตกต่างกัน บางคนก็มีรูปแบบในการปฏิบัติของตัวเองมาก่อนแล้ว ก็ไม่เป็นไร อะไรที่เราทำจนเคยชินมันถนัด เราก็ดูพิจารณาอันนั้นแหละ แต่ว่าก็ต้องพัฒนาให้มันก้าวหน้าขึ้นไป อย่าให้มันอยู่แค่นั้น การปฏิบัติในขั้นต้นในขั้นดำเนินมีความแตกต่างกันไปได้หลายอย่างหลายรูปแบบ บางคนก็อาจจะเพ่งลมหายใจ บางคนก็บริกรรมไปด้วย พุทโธ บางคนก็ไม่ได้ดูลมหายใจ บริกรรมพุทโธแต่ดูที่ใจ เพ่งพุทโธอยู่ที่ใจ

บางคนก็อาจจะเพ่งที่หน้าท้อง มันก็เป็นเรื่องที่ทำได้ทั้งนั้น ถ้าเราเข้าใจแล้วมันก็ไม่ขัดแย้ง เป็นเพียงแต่ว่าเมื่อเราจะก้าวขึ้นมาสู่วิปัสสนาที่แท้จริงนั้นจะต้องทำอย่างไร เราจะเอาสิ่งที่เราทำอยู่นั้นน่ะมาเป็นบันไดต่อขึ้นมานี่เราจะทำอย่างไร ดังนั้นในการที่อาตมาสอบอารมณ์แต่ละคนนั้น จึงไม่ได้บังคับว่าจะต้องทำเหมือนกันทั้งหมดในขั้นต้น ถ้ารู้ว่าทำอย่างไรอยู่ก็จะแนะนำต่อไป เชื่อมต่อกันไป ยกเว้นแต่ที่มันผิดพลาดเกินเลยไป อันนั้นก็ต้องปรับกันมา

อย่างเช่นว่า ถ้าหากเรากำหนดอะไรอยู่ก็ตาม เรารู้จุดของวิปัสสนาอยู่แล้วว่า วิปัสสนานั้นจุดยืนของวิปัสสนาก็คือต้องเห็นรูปนามเกิดดับเป็นอนิจจังทุกขังอนัตตา เราจะต้องดำเนินไปสู่จุดนั้น ไปสู่จุดของการเห็นรูปนามเกิดดับเป็นอนิจจังทุกขังอนัตตา ซึ่งเป็นปรมัตถธรรม เป็นของจริง ๆ ที่นี้บางท่านกำหนดอยู่ ซึ่งเป็นสมมุติบัญญัติอยู่ ก็ไม่เป็นไร เพราะว่าสมมุติบัญญัตินั้นก็ทำให้เกิดสมาธิได้ เป็นการปลูกสร้างสมาธิให้เกิดขึ้น แต่เมื่อจะก้าวขึ้นสู่วิปัสสนาก็ต้องให้มีความลึกซึ้ง โดยการให้วางจากสมมุติอารมณ์เหล่านั้น ให้จรดสภาวปรมัตถ์รูปนาม

เป็นสมมุติบัญญัติ ทำบริกรรมว่า พองหนอ ยุบหนอ ก็เป็นสมมุติบัญญัติ ไม่ใช่สภาวะของจริง ไม่ใช่ปรมัตถธรรม เรากำหนดอย่างนั้นได้ในขั้นดำเนินขั้นต้นให้จิตได้ตั้งมั่นเป็นสมาธิ ไม่ให้จิตซัดส่ายไปนอกตัวเอง เมื่อจะขึ้นมาเพื่อปัญญาเกิดขึ้น กำหนดให้ลึกซึ้งลงไปถึงความรู้สึก ความตึง ความหย่อน ความไหว นั่นเป็นตัวปรมัตถ์ อย่างที่หน้าท้องนี่ หายใจเข้าท้องตึง หายใจออกท้องหย่อน ที่จริงนั้นความจริง ๆ มันคือความตึง ความหย่อน ความไหว นั่นแหละเป็นปรมัตถธรรม

แต่จิตมันจำไว้อาศัยปรมัตถ์ที่รู้สึกตัว แล้วเราก็สร้างมโนภาพว่าท้องพองขึ้น ในขณะหายใจออกความรู้สึกที่มันหย่อน เราจำได้ว่าความรู้สึกอย่างนี้คือท้องมันแฟบลง เราก็สร้างมโนภาพว่าท้องมันแฟบลง แล้วเราก็จำได้ว่า ถ้าท้องแฟบต้องให้ใช้คำพูดในใจว่า ยุบหนอ ถ้าท้องพองก็ให้ใช้คำในใจว่า พองหนอ ซึ่งเป็นชื่อภาษาเป็นสมมุติบัญญัติที่เรียกว่านามบัญญัติหรือสัททบัญญัติ ส่วนที่เห็นเป็นพอง ยุบ นั้นเป็นอัตถบัญญัติ บัญญัติแห่งความหมาย บัญญัติแห่งความเป็นรูปร่าง

เห็นเป็นมโนภาพว่าท้องมันโป่งออกมาอย่างนี้ ท้องมันแฟบนี่ มันเป็นมโนภาพ ความหมายว่าพองว่ายุบ ก็เป็นความหมายรูปร่าง ก็เป็นบัญญัติ อัตถบัญญัติ บัญญัติแห่งความหมาย คำบริกรรมก็เป็นบัญญัติหนึ่ง อย่างชื่อเป็นนามบัญญัติ รวมความว่าเราใช้บัญญัติในการกำหนดในการเพ่งดู ย่อมจะทำให้เกิดสมาธิ เป็นอารมณ์กรรมฐานให้เกิดสมาธิ ไม่ใช่เป็นเรื่องจิต เป็นเรื่องที่ทำได้ แล้วก็จะทำได้ดีสำหรับบางท่าน เพราะอารมณ์ที่หน้าท้องนั้นมีความหยาบขึ้น ความเคลื่อนไหวมันมาก แรง จึงกำหนดได้ง่าย กำหนดความสะเทือนเคลื่อนไหวง่าย

เพราะฉะนั้นถ้าคนถนัดอย่างนี้ก็ดูไปอย่างนี้ แต่กำหนดไป กำหนดไป มันจะต้องมีความละเอียดลึกซึ้งไปถึงความรู้สึก จับความรู้สึกที่มันตึงมันไหวมันตึงมันหย่อน ช่วงนั้นมันจะทิ้งมโนภาพ ทิ้งรูปร่างว่ามันพองมันยุบ หรือทิ้งคำบริกรรมว่าพองว่ายุบ มันจะไม่ได้ใช้บริกรรมแล้ว บริกรรมไม่ทันหรอก มโนภาพหายไปไม่รู้ว่าพองว่ายุบ เราก็เข้าใจว่ามันต้องเป็นอย่างนี้แหละ มันหายไปก็ดีแล้วทิ้งบัญญัติ เราก็สังเกตุแค่ความรู้สึกที่มันตึงมันหย่อนมันไหว มันก็เห็นความเกิดดับ มันตึงแล้วก็ดับไป ตึงแล้วก็ดับไป หย่อนแล้วก็ดับ เพราะว่าปรมัตถธรรมมันมีความเกิดดับ ตัวมันเองเกิดดับอยู่ มันก็สามารถจะเห็นอนิจจังทุกขังอนัตตาได้

นอกจากนี้มันก็จะต้องรู้ทั้งส่วนจิตใจด้วย ขณะที่กำหนดพองยุบ ความรู้สึกนอกจากรูปแล้ว มันก็ยังมีนาม คือมีจิตที่เข้าไปรับรู้ ก็สังเกตทั้งส่วนที่กาย ส่วนที่ตึงที่ไหว ส่วนที่เข้าไปรับรู้ พิจารณาทั้งสองอย่างทั้งสองด้าน ทั้งส่วนรูปทั้งส่วนนาม เพราะถ้าเราไม่พิจารณานามไปด้วย มันก็มักจะไปตัน บางทีก็ กำหนดไป กำหนดไป มันก็เฉยไป เฉยไป ไม่มีอะไร ไม่รู้สึกมันตึงมันหย่อนมันไหว มันเฉย เราก็ไม่รู้จะทำอย่างไรต่อ ฉะนั้นถ้าเราพิจารณานามอยู่ เราก็จะพบความเปลี่ยนแปลงความเกิดดับของมันได้มากขึ้น ไม่พลาดจากอารมณ์ที่เป็นปรมัตถ์

แม้กายจะละเอียด ความรู้สึกตึงไหวไม่มี แต่ใจคือความรู้สึกคือตัวรับรู้มันก็ยังปรากฏ สติมันก็จะได้มีอารมณ์กรรมฐานที่เป็นปรมัตถ์อยู่เสมอได้ นี่ก็จะเห็นว่า แม้จะกำหนดลักษณะอย่างนี้ มันก็ไปได้ ก็เป็นวิปัสสนาได้ แต่ถ้าโยนิโสมนสิการไม่ถูกต้อง มันก็จะเป็นแค่สมถะ เป็นสมาธิ คนกำหนดพองไป พองหนอ ยุบหนอ ยุบหนอไป มันก็เข้าไปนิ่งเงียบสงบ บางคนก็ดับความรู้สึกไปเลย ไม่รับรู้อะไร บางทีคนน่ะตัวแข็ง อันนั้นมันก็เป็นเรื่องของสมถกรรมฐาน ได้รับความสงบ แต่จะไม่เกิดปัญญา

<<<มีต่อ>>>
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 07 ก.ย. 2007, 1:48 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ส่วนคนที่ดูอย่างอื่นก็เหมือนกัน มันก็ไปสู่รูปนามสู่ปรมัตถธรรมได้เหมือนกัน บางคนภาวนาพุทโธ เราก็ไม่ว่าอะไรนะ ไม่ได้รังเกียจ ไม่ได้ว่าอะไร แต่บางแห่งนี่เขาไม่ได้หรอกนะ เขาถือว่าผิด ผิดไปหมด เห็นว่าภาวนาพุทโธก็เป็นสมถะ บางทีเขาก็ไม่สอนด้วย บางแห่งเขาไม่สอนเลยนะ ถ้าไม่ปฏิบัติอย่างที่เขาสอนอยู่ เขาจะไม่เอาเลย แต่ความเป็นจริงแล้วมันสามารถที่จะเข้าถึงซึ่งวิปัสสนาได้เหมือนกัน กำหนดลมหายใจ บางคนภาวนาหายใจเข้าพุท หายใจออกโธ คำบริกรรมนั้นก็เป็นบัญญัติอีกแล้ว เป็นชื่อภาษาที่สมมุติขึ้นมา

หายใจเข้า หายใจออก ก็เป็นความหมาย รู้ว่าเข้ารู้ว่าออกนี่มันมีความเปรียบเทียบ ปรมัตถจริง ๆ มันไม่มีเข้าไม่มีออกอะไร มันไม่ความหมาย นี่ต้องเข้าใจว่ามีเข้ามีออก มียาวมีสั้น มีหยาบมีละเอียด ถือว่าเป็นความหมาย ปรมัตถ์จริง ๆ มันมีอยู่ก็จริง แต่จิตเรานี่ไปรับความหมายของมันอีกทีหนึ่ง ไปนึกไปตรึกสู่ความหมาย ตัวปรมัตถ์จริง ๆ ก็คือลมที่กระทบ หายใจเข้ากระทบ มันจะรู้สึกเย็น หายใจออกกระทบรู้สึกร้อนอุ่นขึ้นมา นั่นนะคือปรมัตถ์ ความรู้สึกเย็นร้อนน่ะปรมัตถ์ หายใจเข้าหน้าอกหน้าท้องมันตึง ความตึงน่ะเป็นปรมัตถ์ หายใจออกรู้สึกหย่อนคลายนั่นก็เป็นปรมัตถ์

ส่วนที่เป็นรูปร่างโพรงจมูก รูปร่างจมูก รูปร่างทรวงอก รูปร่างหน้าท้อง รูปร่างเป็นสายลมเข้าเป็นสายลมออก นั่นเป็นมโนภาพเป็นบัญญัติ เราจะทำให้มันเกิด เราจะเพ่งบัญญัติอย่างนี้ก็ได้ในระดับของสมาธิ ในขั้นของการทำสมาธิเราเพ่งไปมันก็เกิดสมาธิ ฉะนั้นในสติปัฏฐานจึงมีข้ออานาปานสติ การกำหนดลมหายใจเข้าออก หายใจเข้ายาว หายใจออกยาว นั่นท่านสอนในเบื้องแรกให้เป็นสมาธิก่อน ถ้าเราถนัดในการที่จะดูลมหายใจ เราก็ดูลมหายใจ จะดูลมยาวลมสั้นลม... บางทีอาจจะดูตามลมไปด้วย ตามลมเข้าตามลมออก หรือว่าว่าดูเพียงส่วนกระทบเพียงจุดเดียวสองจุด ก็ได้ทั้งนั้นแหละ ตอนนี้มันไม่มีอะไรผิดในระดับของสมาธิ

แต่เมื่อเราจะทำให้เข้าถึงซึ่งปัญญาเข้าถึงซึ่งวิปัสสนานั้น เราก็ต้องละวาง หรือว่าถ้ามันลึกซึ้งลงไปถึงปรมัตถ์ ความรู้สึกดังที่กล่าวแล้ว ความรู้สึกกระทบเย็น หายใจเข้ารู้สึก หายใจออกกระทบร้อน ความสะเทือนเคลื่อนไหว แล้วก็สัมพันธ์ไปสู่จิตใจ ในขณะที่หายใจเข้าออกมันก็มีตัวที่ไปรู้ลมหายใจเข้าออก คือจิต จิตนี่เป็นตัวที่ไปรู้ลมหายใจ ลมหายใจนั่นเป็นรูปธรรม จิตคือสภาพรู้ลมหายใจในขณะนั้น เป็นนามธรรม มันมีทั้งตัวยื่นให้รู้กับเป็นตัวที่เข้าไปรู้

ลมหายใจยื่นให้รู้ จิตเป็นตัวเข้าไปรู้ ถ้าเราเน้นแค่ลมหายใจอย่างเดียวมันก็จะตันอยู่ ดูลมไปดูลมมา ลมละเอียด ลมเบา ลมสงบนิ่ง ก็ไม่รู้จะดูอะไร มันเฉยไปหมด แต่ความจริงมีจิตอยู่ มีตัวรู้อยู่ แต่เมื่ออาศัยที่ไม่เคยฝึกดูจิตใจ พอถึงความละเอียดถึงสมาธิก็ยิ่งไม่รู้ใหญ่เลย เพราะฉะนั้น การปฏิบัติต้องหัดฝึกการกำหนดพิจารณาจิตอยู่เสมอ ไม่ว่าเราจะกำหนดอะไรก็ตามต้องสัมผัสจิตใจไว้เรื่อย ๆ ให้คุ้นเคยให้รู้จักจิตใจ

จิตก็คือสภาพรู้ รับรู้อารมณ์ต่าง ๆ กำหนดดูจิต เมื่อกำหนดลมหายใจไปถึงระดับหนึ่ง ในขั้นมีสมาธิมันต้องน้อมมาดูที่จิตแล้ว ดูจิตที่เกิดสมาธิ จิตที่มีอาการเป็นความสุข มีอาการเป็นปีติอิ่มเอิบใจ หรือมีอุเบกขาวางเฉยอยู่ น้อมมาดูที่จิตใจ อาการในจิต หรือลักษณะของจิตโดยตรง ก็คือธรรมชาติที่ไหวไปสู่อารมณ์ รับอารมณ์ ภาษาปฏิบัติก็คือตัวที่มันแวบไป แวบไปแวบมานั่นแหละ ลักษณะของการรู้อารมณ์คือลักษณะของจิต สังเกตอย่างนั้น

ที่มันไหวไปรับอารมณ์แล้วก็หมด รับอารมณ์ใหม่ รับอารมณ์ใหม่ พร้อมกับการสังเกตความรู้สึกในจิต มันสบาย มันสงบ มันเฉย ๆ ให้เห็นความแปรเปลี่ยน ลมหายใจปรากฏก็รู้ลมหายใจ รู้อยู่อย่างนี้ทั้งกายทั้งจิต ถ้าสังเกตตรงสภาวะมันก็เห็นความเกิดดับ เพราะปรมัตถธรรมมันเกิดดับอยู่แล้ว จิตมันเกิดดับอยู่แล้ว แว้บมันก็ดับ แว้บมันก็ดับ รับอารมณ์มันก็หมดไป รับอารมณ์ก็หมดไป ถ้าเรากำหนดให้ตรงสภาวะจิต เราก็เห็นว่ามันหมดมันเกิดแล้วมันหมด

มันเกิดแล้วมันดับไป ความรู้สึกในจิตจะเป็นสงบไม่สงบ ความสุขความเอิบอิ่ม มันก็แปรสภาพเปลี่ยนแปลงไป ตัวที่เข้าไปรู้ก็เปลี่ยนแปลง บางทีดูแค่จิต จิตที่ปรากฏนั้นน่ะก็มีการที่จะย้อนมาดู ย้อนมาดูเสมอ ๆ เพราะว่าสภาพรู้ สภาพที่รับรู้อารมณ์ มันรับรู้แล้วมันก็หมดไป ตัวสติที่เข้าไปรู้เข้าไปรู้จิตนั่นน่ะมันก็หมดลงด้วยกัน ดับลงด้วยกัน ถ้าเราจะมีความละเอียดในการกำหนด เราจะต้องย้อนรู้ถึงสภาพที่เรามีความรู้สึกว่าเป็นผู้รู้

ตัวผู้รู้นั่นน่ะ ตอนแรกเราเห็นแล้วเราพบแล้วว่ามันมีจิต คือธรรมชาติที่ไหวไปรับอารมณ์นั้นรับอารมณ์นี้ ไอ้ตัวที่ไปรู้เหล่านั้นคือตัวสติที่มันเข้าไประลึก ก็ให้มันมีการระลึกรู้ตัวสติ ตัวผู้รู้ขึ้นบ้าง เหมือนกับว่าผู้รู้กำหนดตัวผู้รู้ เอาผู้รู้กำหนดตัวผู้รู้ รู้กำหนดรู้ รู้กำหนดรู้อยู่อย่างนั้นแหละ มันก็เห็นความหมด หมด หมดไปสิ้นไปในกระแสจิต

ถ้าไม่กำหนดมันอย่างนี้มันก็ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง เห็นทุกอย่างมันเฉยนิ่งไปหมด เพราะว่าการกำหนดนั้นไม่ได้ตรงสภาวะจริง สัมผัสปรมัตถ์แล้วก็เข้าไปสู่บัญญัติไปสู่ความว่างไปสู่ความหมาย มันก็ไม่เห็นความหมด หมดไป สิ้นไปอยู่เสมอ ถ้าสติระลึกได้ตรงอยู่ตรงสภาวะอยู่มันจะเห็นความหมดสิ้นไป หมดสิ้นไปอยู่ ก็ไม่มีอะไรเป็นตัวตน สติเคยรู้สึกว่าเป็นตัวเรา ก็มีสภาพที่หมดไปในขณะนั้น มันจะเอาเราที่ไหน สิ่งที่ถูกรู้ก็หมดไปสิ้นไป ไม่ใช่เรา บังคับไม่ได้

สิ่งที่เข้าไปรู้ก็หมดไปสิ้นไป ก็ไม่มีเราอีก มันจะมีตรงไหนเป็นเราได้ เพราะว่าสภาวธรรมในชีวิตนี้มันไม่มีอะไร มีแค่รูปกับนาม มีกายกับจิต มีกายกับใจอยู่นั่นแหละ ดูทั่วถึงไปแล้ว กายกับใจมันก็มีความเกิดสลาย เปลี่ยนแปลง มีแล้วก็หายไป จะเอาเป็นตัวตนเป็นเที่ยงแท้ เป็นชัดเจน เป็นชิ้นเป็นอันให้มันตั้งอยู่มันไม่ได้ หรืออย่างว่าบางท่านนั้นกำหนดจิตหาไม่เจออาจจะเป็นเพราะว่าความเคยชินต่อสมมุติ เวลากำหนดสมมุตินี่รู้สึกว่ามันเป็นชิ้นเป็นอันเป็นตัวเป็นตนเห็นชัด

เราก็จะไปกำหนดจิตให้มันเป็นไปอย่างนั้นบ้าง มันจึงหาไม่เจอ มันเลย เลยความเป็นจริง ฉะนั้นเราพิจารณาแค่สิ่งที่ปรากฏชั่วขณะนิดเดียวผ่านไป สภาพรู้น่ะ จิตเป็นสภาพรู้อารมณ์นี่มันไม่มีตัวตนรูปร่างสัณฐานสีสันวรรณะอะไร เป็นสภาพความรู้เกิดขึ้นในจิตใจ มันมีแล้วก็หายไป มีแล้วหายไป ก็รู้เท่านั้นแหละ มีแล้วก็หายไป มีแล้วหายไป อย่างนี้ก็เป็นเรื่องที่ทำให้เข้ามาสู่ทางเดินของวิปัสสนา

แต่บางคนก็นั่งไปเฉยๆ นั่งไปบอกว่าใจสบายดี ไม่คิดอะไร เฉย ๆ ทำใจเฉย ๆ สบาย บางคนก็อาจจะทำได้ ไม่ได้ดูหรอก ไม่ได้ดูลมหายใจ ไม่ได้ดูกายเลย ทำจิตสบายอยู่ นั่งแล้วสบายใจ เอาแต่สบายใจ แต่ไม่ได้เห็นความเปลี่ยนแปลงเกิดดับ เพราะฉะนั้นก็ต้องกำหนดพิจารณาด้วย จิตมันสบายมันคงที่ไหม สภาพรู้ สภาพที่ปรุงแต่ง แล้วก็ควรจะได้มีกายเป็นเครื่องรองรับการรู้ไว้ด้วย มิฉะนั้นมันก็จะเผอเรอ สติที่จะดูจิตใจกำลังอ่อนมันก็จะจับไม่ได้ก็จะเผลอ

กำลังอ่อนก็สัมพันธ์ที่กาย ก็รับรู้ความรู้สึกที่กายได้ง่าย รู้ถึงระดับระหว่างดูกายดูจิตนี้ เราก็ไม่ต้องไปเน้นให้เห็นกายเป็นรูปร่างสัณฐาน มีกระแสความรู้สึกไปรับรู้ความไหว ความสะเทือน ความรู้สึกที่กายก็เพียงพอ เพราะว่ามันจะได้ไม่ทิ้งจุดยืนของสติของจิต ให้เรายืนอยู่เป็นหลักอยู่ว่า เอาสติวางจิตอยู่เป็นหลัก ถ้าเราเอาจิตไป... เอาสติเพ่งไปจดจ้องที่ใดที่หนึ่ง มันจะหลุด หลุดหลัก หลุดจากหลัก เน้นลงไปในจุดนั้น มันจะพุ่งจิตพุ่งตัวลงไป

อย่างนี้แล้วพอสิ่งเหล่านั้นหายไป มันก็จะเคว้งคว้าง หรือว่ามันจะตามดูรู้จิตไม่ต่อเนื่องไม่ทันกัน เราจะต้องรักษาสติอยู่กลาง ๆ รักษาจิตอยู่ มีกระแสไปรับรู้กาย มันก็จะตรงตัวในการที่จะรู้สึกอยู่เสมอ จิตจะไหวไปก็รู้ จิตจะคิดจิตจะรู้สึกอย่างไร ความรู้สึกที่กายก็รับรู้ไปด้วยกัน เรียกว่ารู้รูปรู้นาม เห็นความเกิดดับของรูปนามไปด้วยกัน อย่างนี้แล้วก็เป็นเรื่องที่การปฏิบัติมันก็ไม่ขัดแย้ง เราจะเดินมาในรูปแบบไหนก็สามารถที่จะทำไปสู่จุดของวิปัสสนาได้

วันนี้ก็ใช้เวลามาพอสมควร ก็ขอให้ท่านทั้งหลายได้ตั้งอกตั้งใจ ทำความเพียรประพฤติปฏิบัติ อย่าได้ย่อท้อ สละ เหมือนเราสละแล้ว ตัดภาระกังวลทุกสิ่งทุกอย่าง เหมือนเราคนเดียว ต้องมีความเด็ดเดี่ยวในตัวเอง พากเพียรพยายาม แต่ไม่ใช่ไปคร่ำเคร่ง ไม่ใช่ไปกดข่ม ไม่ใช่ไปบังคับ อันนี้ข้อสำคัญ มีความเพียรทำให้ต่อเนื่องแต่ไม่บังคับ ทำอย่างไรที่มีความเพียรประพฤติปฏิบัติแต่ไม่บังคับ เป็นผู้มีกายยืนเดินนั่งนอนอย่างสบาย จิตใจก็วางเป็นปรกติ ไม่เข้าไปกดข่ม

เพราะการทำติดต่อกันนี่จิตมันจะไปมีอำนาจในการกดข่มร่างกายอยู่แล้ว ทำนาน ๆ ไปแล้วจิตมันจะไปสะกดร่างกายไว้ เราก็จะเกิดความตึงเครียด เกิดแน่น เกิดอึดอัด เป็นทุกข์ไม่สบาย จิตมันคอยจะไปบังคับอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นจึงต้องรีบร้อนไม่ได้ ต้องค่อยๆทำไปเรื่อยๆ เรื่อย ๆ อย่าให้จิตไปบังคับร่างกาย จะเป็นส่วนลมหายใจก็ดี ให้เขาเป็นไปตามธรรมชาติของเขา เรียกว่าดำเนินเข้าไปสู่ความเป็นปรกติ

ตามที่ได้บรรยายมาก็เห็นว่าพอสมควรแก่เวลา ขอยุติไว้แต่เพียงเท่านี้ ขอความสุขความเจริญในธรรมจงมีแก่ทุกท่าน เทอญ

<<<จบ>>>

http://www.dharma-gateway.com
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
jinny95
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 07 พ.ย. 2007
ตอบ: 6
ที่อยู่ (จังหวัด): Ayutthaya

ตอบตอบเมื่อ: 12 พ.ย.2007, 5:05 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ
 

_________________
สิ่งที่คุณหา มันก็อยู่ที่คุณนั่นแหล่ะ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง