Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 อุปสรรค ? อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 21 ธ.ค.2004, 7:18 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คำว่าอุปสรรคนั้นมีความหมายหลายอย่าง



ไม่ต้องสงสัยเลยว่าในชีวิตเรามีอุปสรรคอยู่มากมาย



เราต้องพบต้องเจอ ทั้งผ่านไปได้ และผ่านไปไม่ได้



แต่ตรงนี้จะพูดถึงอุปสรรคในการเจริญกุศลภาวนาอย่างเดียว



เพราะการเจริญภาวนานี้ อุปสรรคเกิดที่ใจ เป็นอุปสรรคของใจ และต้อง



แก้กันที่ใจ





อุปสรรคของใจมีหลายระดับ แม้ว่ามีผู้สอนว่าการเจริญภาวนาให้สำรวมศีลให้



ดี การสำรวมศีลดีแล้ว เจริญสติดีแล้ว



แต่ยังมีปัญหา ? ทำไมการเจริญภาวนายังเหมือนเดิม? บางวันดี บางวันดี



มาก บางวันก็ไม่ดี ดีหรือไม่ดีนี้ หมายถึงความสงบของจิตที่แตกต่างกัน



ถ้าเราทำสม่ำเสมอทุกวัน ใช้ชีวิตตามปรกติที่ไม่มีอารมณ์อะไรมากระทบใจ



ผลที่ได้ก็ใกล้เคียงกัน การจัดการกับชีวิตของเราย่อมมีความสำคัญ ควรเอา



ใจใส่ในสิ่งเหล่านี้



แต่ถึงภาวนาได้ดีเป็นที่พอใจในความสงบแห่งจิตบ่อยๆ แต่ก็เป็นความสงบ



เท่าๆเดิม อันนี้เป็นความพอใจ เป็นที่พอใจ



ก็ความพอใจและเป็นที่พอใจนี่แหละ เป็นอุปสรรคเหมือนกัน



ความพอใจนี่ ทำให้เราพอใจที่จะภาวนาแค่นี้ เราไม่ได้ทำในสิ่งที่ควรทำอันมี



อยู่อีก เราสะสมบุญ แต่ไม่แก้อุปสรรคที่มีอยู่ ไม่ลองทำดูและหาประสบการณ์



ที่มากกว่า







ลองใช้ความเพียร ทำให้มากขึ้น ด้วยการเพิ่มเวลาภาวนา ด้วยการอธิษฐาน



ตั้งใจว่าในเวลาที่กำหนด เราจะนั่งอยู่ในลัษณะเดิม ไม่ขยับขาหรือเปลี่ยน



อิริยาบถ





เมื่อเราตั้งใจทำเช่นนี้แล้ว เราจะเผชิญกับสิ่งที่อาจจะไม่ทำตามความตั้งใจได้



สิ่งนั้นเรียกว่า "อุปสรรค"



ถ้าเราจะเดินจงกรม ตั้งใจตามเวลากำหนด ไม่ยอมหยุด ถ้าเผชิญสิ่งที่ไม่



อยากให้ทำตามความตั้งใจ สิ่งนั้นคือ "อุปสรรค"





อุปสรรคมีตั้งแต่สิ่งเล็กๆน้อยๆ ที่เราพยายามแก้ไขไปได้ทีละนิด แต่เมื่อเรา



นั่งภาวนาโดยใช้เวลามากจริงๆ อย่างแข็งขืน พากเพียร เราจะพบว่า



สิ่งที่เป็นอุปสรรคนั้นขยายใหญ่ขึ้นไปเรื่อยๆ



เราไม่สามารถคาดคิด และจินตนาการได้ว่าอุปสรรคที่เกิดกับจิตนั้นใหญ่โต



มโหฬารขนาดไหน



เมื่อเราเป็นนักภาวนา อุปสรรคนี้เป็นสิ่งจะต้องเผชิญ ถ้าเราเลี่ยงไม่ให้



เผชิญ มันอาจรอเราในชาติหน้าก็ได้ เพราะว่าอุปสรรคแต่ละคนเป็นไปตาม



กรรมของผู้นั้น



ดังนั้นเราควรทดลองเผชิญกับอุปสรรค เพื่อจะเห็นความเข้มแข็ง เป็นมาร



ขวางกั้นการปฏิบัติธรรม เพื่อเราจะได้รู้จักอุปสรรคนั้น และถอยมาตั้งหลัก



พิจารณาครั้งแล้วครั้งเล่า เพื่อทะลวงอุปสรรคนี้







และเพื่อเป็นความรู้อันนำมาซึ่งความไม่ประมาท





อุปสรรคในการภาวนานี้เป็นอุปสรรคที่ยิ่งใหญ่ เพราะเมื่อเราเผชิญมันโดย



ไม่พิจารณาให้ดีแล้ว เราฝ่าไปไม่ได้ในแต่ละครั้งนั้น เราเห็นว่ามันเป็นสิ่ง



ยิ่งใหญ่ เป็นกำแพงหนาทึบที่เราไม่มีทางผ่านไปได้ กำลังของอุปสรรคนั้น



มากกว่ากำลังภาวนาของเรามากมาย





แต่ผู้ที่ผ่านอุปสรรคนี้ไปแล้ว ก็เจออุปสรรคมีขนาดเท่ากันนี้เหมือนกัน



อุปสรรคนี้เกิดแต่ใจ เพราะว่าสิ่งทั้งปวงที่เรียกกันโดยรวมว่า "มาร"นั้น



มันเข้ามาให้สังขารของเราปรุงแต่งที่จะท้อถอย มันแสดงภาพมายาอันน่า



กลัวเป็นจริงจังอันเราไม่อาจต่อสู้





เรารวบรวมศีล รวบรวมสติแล้วยังสู้มันไม่ได้ เพราะมันกระทำที่ใจ และมี



ผลไปทั่วสรรพพางก์กาย อันเราไม่เคยประสบมาก่อน และไม่รู้ว่าตนเอง



กำลังเผชิญกับอะไรอันลึกลับ อันเป็นสิ่งน่ากลัว



เมื่อเราจะก้าวไปสู่อัปนาสมาธิ หรือปัญญาแห่งการพิจารณาธรรมอันลึกซึ้ง



สิ่งเหล่านี้จะปรากฏ ให้รู้ว่าเขามีหน้าที่ที่จะต้องขัดขวางเรา อย่างรุนแรง



ให้เขาได้ทำหน้าที่ตรงนั้น เรามีหนาที่ซึ่งจะต้องทลายปราการของเขาให้แตก



กันไป



ดังนั้นเราจึงป้งอกันไม่ให้"สิ่งนั้น"ส่งจิตเข้ามาดลใจให้เราปรุงแต่งใน



อุปสรรคอันใหญ่โตราวกับเขาพระสุเมรุขวางกั้นทางที่เราจะเดิน





เมื่อระงับใจมิให้เกิดปรุงแต่งแล้ว จึงควบคุมสติ ทำงานด้วยความเพียร



ทะลายภูเขาอันใหญ่โตมหึมาของมารนั้นไปทีละน้อยอย่างอดทน และเรา



สามารถนั่งภาวนาได้ตามเวลากำหนด ต่อสู่กับทุกข์เวทนานั้นได้





ไม่เสียกำลังใจ อุปสรรคนั้นเมื่อต่อสู้แล้ว เราจะเห็นว่าความพากเพียรที่จะ



ใช้นั้นมีมาก และเห็นว่าสิ่งต่างๆที่จะได้มาจากการทำงานของจิต ต้องเพียร



อย่างนี้ และเป็นสิ่งยากลำบาก และเราต้องเรียนรู้ในสิ่งที่ยากลำบากนั้น



ไปตามลำดับ
 
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 21 ธ.ค.2004, 3:15 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



เมื่อทุกขเวทนาปรากฏในการเจริญภาวนา



เรามักจะเสวยทุกขเวทนานั้น



หลีกเลี่ยงการเสวยทุกขเวทนาได้ยาก



เมื่อเสวยทุกขเวทนาแล้วสติย่อมอ่อนกำลังลง



ทุกขเวทนาที่มากขึ้นตามลำดับ ราวกับรวบรวมความทุกข์ทั้งหมดที่เคยประสบ



เข้าด้วยกัน ทำให้การหลีกจากการเสวยทุกขเวทนาทำได้ยากยิ่ง เพราะ



ทุกขเวทนานั้นเป็นของจริงในสมมุติ ที่เกิดจากการเจริญภาวนา



ดังนั้นเมื่อนักภาวนาเจอทุกขเวทนาจริงๆ จึงพากันท้อถอย หวาดกลัว หมดกำลังใจจะฝ่าฟันอุปสรรคนั้น เพราะว่าดวงจิตนั้นได้รับทุกข์อย่างรุนแรง และ

กายก็ได้รับทุกข์นั้นด้วย



เมื่อใดระงับสังขารที่ปรุงแต่งได้ การเสวยทุกข์เวทนาจะลดลง ความท้อถอยลดลงไป ความเพียรจึงกลับมีขึ้นอีก
 
เดี่ยว
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 21 ธ.ค.2004, 8:14 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ คุณโอ่ ที่ให้กำลังใจผู้กำลังปฎิบัติ ครับ...เวทนา ผมแพ้มันทุกทีเวลานั่งสมาธิ มันเจ็บไปหมด ไล่มาตั้งแต่ขา ก้น จนมาถึงคอ ถึงศรีษะ ทั้งๆที่เราตั้งปณิธานในการภาวนาว่าจะนั่งพิจารณาเพื่อเอาชนะกิเลส โลภ โกรธ หลง แท้ๆเชียว..ตอนนี้ผมทนได้แค่ทุกเวทนาลามขึ้นบนหัว แล้วก็ทนไม่ไหวครับ แต่จะพยายามต่อ อ้อ ผมใช้วิธีมองดูเวทนาที่เกิดขึ้นในฐานะที่เป็นคล้ายๆกับเพื่อนสนิท อุปมาเหมือนกำลังลูบหัว(เวทนา)เหมือนลูกเหมือนหลาน แฮะๆ ทึกทักเอา อาศัยว่าทำความรู้จักกับมันแทน ผมทำถูกทางหรือเปล่าครับ มีวิธีไหนที่จะอยู่เหนือเวทนาแบบไม่ต้องทนทรมานบ้างไหม ช่วยชี้แนะด้วยครับ ผู้รู้ทุกๆท่าน..ถือว่าเอาบุญครับ (ถ้าข้อความนี้เป็นโทษแก่บุคคลใดอย่าได้เป็นเวรกรรมต่อกันเลย ผู้น้อยกำลังศึกษา)
 
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 21 ธ.ค.2004, 9:48 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เราไม่สามารถอยู่เหนือทุกขเวทนาได้ อย่าได้คิดไปอยู่เหนือมัน แต่คิดเรื่องอดทนดีกว่า เพราะตอนเจ็บนั้นเรามีสติอยู่ แต่มันเจ็บมากเราจึงต้องเสวยทุกข์



ผมแนะนำ 3 วิธี ว่าคุณควรสวดมนต์พุทธคุณในท่าภาวนาเบาๆ หลายๆเที่ยว



วิธีที่สองแผ่เมตตา แผ่ไม่ได้ให้ท่องบทสวดเมตตาหลวง หลายๆเที่ยว



วิธีที่สามอุทิศส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวร



เมื่อทำสามวิธีแล้วให้อดทนภาวนา ทนเจ็บอย่าขยับร่างกาย ดูว่าทนได้ขนาดไหน แล้วจำตอนที่ทนไม่ได้ว่ามันเป็นยังไง เกิดขึ้นยังไง แล้วเล่าให้ผมฟังด้วยนะครับ
 
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 22 ธ.ค.2004, 3:06 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขั้นตอนต่อไป

กำหนดสติลองดู

หายใจเข้า และระลึกรู้ว่ากำลังรู้ตัวว่ารู้สึกเจ็บ (บริเวณใด?)

หายใจออก และรู้ว่ากำลังรู้สึกเจ็บ



ถ้าเจ็บเป็นจังหวะ ให้รู้สึกตัวว่าเจ็บทันทีกับที่ความเจ็บนั่นเกิดขึ้น



ทำไปแล้วดูว่าความเจ็บดับไปหรือไม่?



ถ้าไม่ดับ



ให้กำหนดว่าเจ็บๆๆๆๆๆๆๆๆไปเรื่อย และระลึกถึงธรรมที่ชื่อ "ขันติ" น้อมเข้ามาสู่ใจ ถึงประโยชน์ของขันติ และระลึกว่าเรากำลังมี "ขันติ"อยู่ ความอดทนก็จะเพิ่มขึ้นเอง



ถ้ายังเจ็บมากทนไม่ไหว ลองแผ่เมตตาอีกครั้ง



ขอให้อดทน อย่าเลิกการภาวนา ต้องทนดูว่าจะเป็นอย่างไร
 
เดี่ยว
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 28 ธ.ค.2004, 7:44 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ สาธุ ขอยคุณ คุณโอ่มากครับ ที่ชี้แนะทางสว่างให้ ได้ผลครับ ได้ผล ได้ผล แผ่เมตตา จะยังไงก็ไม่รู้ แต่เมตตาภาวนา คงจะตรงกับจริตของผม แล้วต้องขอบคุณ ผู้นำเอาธรรมะของหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ที่สอนศิษย์ของท่าน ว่าให้มองย้อนกลับมาดูที่ผู้กำลังเจ็บ สาธุ เว็บนี้มีประโยชน์จริงๆครับ ....ความทุกข์ที่เกิดขณะนั่งสมาธิไม่ควรหนี(ที่ผ่านมาผมหนีตลอดเลย ไปเพ่งที่อื่นๆแทน) แต่หลังจากคุณโอ่แนะนำ ได้ผลจริงๆครับ พอมองย้อนกลับไปดูผู้ที่กำลังเจ็บ ..ความทรมานมันวาบหายไปต่อหน้าต่อตาเลย แม้ความเจ็บยังคงมีอยู่ แต่มันไม่มีความทรมาน (ไม่รู้ผมใช้คำพูดถูกมั้ย) มาถึงตรงนี้แล้วร่ายกายมันเบาๆ ครับ....ทำงัยต่อครับ ขออนุญาติเรียกว่าอาจารย์คงไม่ว่านะครับ คุณโอ่...ผู้น้อยกำลังศึกษา
 
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 28 ธ.ค.2004, 9:38 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ก่อนอื่นขอบอกว่าผมไม่ได้เป็นผู้ชำนาญ และได้เข้าใจอย่างนั้นเป็นอันขาดแต่พอมีประสบการณ์เรื่องปัญหาสมาธิ ถ้าได้คุยรายละเอียด ผมก็จะคิดวิธีแก้ปัญหา แต่ไม่รู้ว่าผลเป็นอย่างไร คือถ้าทำวิธีนี้ไม่ได้ผล ผมก็มีวิธีอื่นๆอีกมาก แล้วติดตามผลว่าจะเป็นยังไงเท่านั้น เพราะไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ผมคิดว่าเราปราบมันอยู่ทั้งนั้น ถ้าเราเอาจริง



ผมคิดว่าคนภาวนาเกือบทุกคนเข้าสมาธิได้เสียด้วยซ้ำ แต่มันไม่ได้ เพราะติดขัดกับอะไรบางอย่าง และคนสอนสมาธิไม่เข้าใจตรงนี้ ไม่ซักถาม ไม่แนะนำให้แก้ตรงจุด และคนไม่พยายามทำตามแนะนำดูว่าจะเกิดอะไรขึ้น

ถ้าทำให้มาก จะได้ประสบการณ์ทำจนเข้าสมาธิ แล้วจะมีประสบการณ์เรื่องอื่นๆต่อไป



ถ้าฟังที่คุณเล่า การเจริญสติของคุณก็มีสติสัมปชัญญะมากขึ้น หลังคุณจ้องมองพิจารณาทุกขเวทนา ตอนนี้คุณต้องสำรวม ระงับความพอใจ อย่าให้เกิดขึ้นกับการภาวนาที่ก้าวหน้านิดเดียว เล้กน้อยนี้เป็นอันขาด หากคุณไปพอใจ อารมณ์ปรุงแต่งจะตามมาอีก และคุณจะถอยหลังอีก เพราะว่าอารมณ์สมาธิมันยอกย้อน มันเป็นกิเลสของเรา พอเราชอบและไปพอใจเราก็เสร็จมันอีก



ความหวังว่าจะได้สมาธิดีกว่าเดิม มันอาจเกิดขึ้นกับคุณ อารมณืเหล่านี้เป็นกิเลส และทำให้สมาธิถอยหลัง เว้นแต่คุณจะทำให้มาก และสำรวมศีลให้มาก และพิจารณาดูว่าการดูเวทนานั้นผลต่อไปเป็นอย่างไร สติเจริญดีพอหรือไม่ สตินี้คือรู้ในสิ่งที่กำลังทำ ถ้าคุณมีความรู้สึกว่าอยากได้สมาธิดีขึ้น คุณตามความรู้ว่าตนเองกำลังอยากได้สมาธิได้ทันหรือเปล่า ถ้าตามไม่ทัน ก็กำนดสติไม่ได้ดี ถ้าตามได้ทัน ความรู้สึกอยากได้อยากเป็นสมาธิก็ระงับลง และเจริญสติตามดูสิ่งที่ปรากฏเฉยๆไปเรื่อยก่อน ถ้าคุณใช้วิธียใจกำหนดลมหายใจ ลองเล่าเรื่องลมหายใจเข้าออกของคุณว่ามันเป็นยังไงในความรู้สึกของคุณ ผมอยากรู้ลมหายใจว่าเป็นอย่างไร
 
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 30 ธ.ค.2004, 4:58 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ลองนั่งภาวนาหลังถวายทานพระสงฆ์ใหม่ๆลองดู หรือลองสวดมนต์หลายบทแล้วจึงนั่งภาวนา ผลจะดีขึ้นกว่าที่เคยทำ



ความเจ็บยังมีอยู่ ไม่ว่าบริเวณใด อาการเจ็บแบบไหน ผมก็ไม่ทราบเหมือนกัน ก็นั่งดูอาการเจ็บต่อไป ผมอยากทราบว่าในร่างกายมีสิ่งเคลื่อนไหวหรือไม่ และมีความร้อนเกิดที่จุดใดจุดหนึ่งในขณะที่ความเจ็บนั้นมีอยู่หรือไม่



สภาพจิตใจหรือความนึกคิดที่ปรุงแต่ง ถ้าเป็นเรื่องที่บอกได้ ผมก็อยากรู้ เพราะข้อมูลทุกอย่างมีประโยชน์ในการปรับปรุงการภาวนา และเราต้องเข้าใจว่าสาเหตุต่างๆเกิดจากอะไร เพราะไม่เป็นอย่างที่อาจารย์สอนกรรมฐานทั้งหลายบอก นอกจากอาจารย์นั้นเคยเห็นสิ่งที่ทำให้เกิดอาการต่างๆ จึงจะรู้สาเหตุแท้จริง
 
เดี่ยว
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 31 ธ.ค.2004, 11:03 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอบคุณ ครับ...ตอนที่ร่างกายเบาๆ รู้สึกว่าร่างกายขยายใหญ่ขึ้น โปร่งๆภายใน ลมหายใจ เบาๆ มีแสง สว่างเป็นประกายวูบวาบขนาด เท่าฝ่ามือมา ลอยไปลอย มาอยู่ตรงหน้าครับดูก็เพลินดีเหมือนกันครับ ขณะเดียวกันก็จะมีความมรู้สึกเหมือหัวใจเต้น แต่เป็นจังหวะสมำเสมอ ให้เราเอาสติไปจดจ่ออยู่ครับ แต่ก็พยายามมองกลับมาที่ผู้ที่กำลังรู้สึกว่าสุข ว่าใครสุข รู้สึกสุข เฉยๆก็จะมองย้อนกลับมายังผู้ที่กำลังรู้สึกครับจะพยายามใส่ใจอารมณ์ต่างที่เกิดขึ้น แต่พอเผลอก็มีความรู้สึกว่าอยากให้ความรู้สึกสุขแบบนี้ตั้งอยู่นานๆ ขณะนั้นเองความรู้สึกเบาๆก็ค่อยๆหายไป จนรู้สึกหนักที่ร่างกายเหมือนเดิม เสร็จแล้วก็อยากเข้าไปแบบเดิมอีกแต่ก็เข้าไม่ได้ครับ แฮ่ๆ ...ปกติเวลาภาวนาจะชอบมองย้อนกลับมายังผู้ที่กำลังรู้สึก ว่าเจ็บ ว่าสุข ว่าเฉยๆ ว่าวุ่นฯลฯ... แล้วเวลาว่างๆ จะสมมุติเอาเองว่า กำลังมีครูบาอาจารย์ ที่มีคุณวิเศษกำลังมองดูความคิดเราอยู่ ทำให้เกิดความละอายที่จะคิดไม่ดี และจะพยายามภาวนา เมตตา ให้เป็นอารมณ์เดียว เมื่อเวลานั่งสมาธิจะตั้งใจว่าจะนั่งเพื่อพิจารณาเอาชนะความเจ็บปวดไว้เป็นเครื่องมือเอาตัวรอดเวลาเจ็บหนักๆตอนใกล้ตายครับ และถวายเป็นพุทธบูชา แต่พอพักหลังๆ มันอยากจะนั่งเพื่อเพลิดเพลินสุขในสมาธิครับ...ขอคำชี้แนะอาจารย์ครับ....
 
เดี่ยว
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 31 ธ.ค.2004, 11:15 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขออภัยครับ พิมพ์ผิดครับ ... จากจะพยายามใส่ใจอารมณ์ต่างที่เกิดขึ้น ขอแก้เป็น จะพยายามไม่ใส่ใจใส่ใจอารมณ์ต่างที่เกิดขึ้น .....ก่อนนั่งสมาธิจะท่องบทสวดพุทธคุณให้เกินอายุ 1 บทครับ...แล้วพอนั่งสมาธิจะไม่ค่อยจับลมหายใจครับ จะเพ่งอยู่กับเมตาภาวนา แล้วนานๆเข้าจะ มีจังหวะเกิดขึ้น เหมือนกับเป็นจังหวะเต้นของหัวใจครับ แล้วสติจะจดจ่อไปกับจังหวะนั้นครับ บางทีก็นั่งภาวนาไปเรื่อยๆรอความเจ็บปวดครับ ซึ่งก็นานเหมือนกัน พอความเจ็บปวดมาจริงๆ ก็นั่งพิจารณาความเจ็บครับ...ซึ่งพอความเจ็บปวดมาจริงๆก็เบื่อก่อน ครับ เสร็จแล้วก็นอน...
 
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 01 ม.ค. 2005, 5:42 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สิ่งที่คุณควรฝึกให้เป็นนิสัย เป็นพื้นฐานสำคัญที่สุดคือการระลึกถึงลมหายใจเข้าออกอย่าให้ขาดหรือหลงแม้แต่ครั้งเดียว แม้จะคิดสิ่งอื่นไปบ้างก็ตาม แต่อย่าทิ้งลมหายใจ ถ้าคุณยังทิ้งลมหายใจ ในระยะแรกให้ใช้คำบริกรรมกำกับลองดู แต่ควรนึกลมหายใจเข้าออก ให้รู้ว่าเข้าให้รู้ว่าออก และควรฝึกหัดเวลานั่งอยู่เฉยเวลาว่างๆก็จะนึกว่าหายใจเข้าหายใจออก เมื่อทำเช่นนี้บ่อยก็เป็นนิสัยเอง



การทิ้งลมหายใจทำให้ไปใส่ในอารมณ์ต่างๆมาก ทำให้ทิ้งจากสติปัฏฐานได้ และอาจฝึกเดินจงกรมให้มากขึ้น อย่าเพิ่งไปคิดได้อารมณ์ใดๆจากการปฏิบัติในเวลานี้ เมื่อคุณภาวนาจนจิตมั่นคงแล้วสิ่งที่คุณเห็นเป็นแสงหรืออะไรต่างๆคุณจะรู้เองว่าเป็นอะไรบ้าง แต่อย่าไปต้องการรู้ในเวลานี้ เป็นสิ่งไม่สำคัญ เพราะเมื่ออารมณ์เราละเอียดเราต้องพบกับสิ่งนี้ ที่จริงไม่ใช่วิปัสนูปกิเลส สิ่งที่เห็นนี่ไม่ใช่วิปัสนูปกิเลส แต่คนจะสอนว่าเป็นวิปัสนูปกิเลส แต่จริงๆไม่ใช่ แม้ไม่ใช่ คุณก็จงถือว่าเป็นเหมือนวิปัสนูปกิเลส คือไม่ใส่ใจ



เรื่องร่างกายขยายใหญ่ขึ้นก็เป็นอาการอย่างหนึ่ง และเป็นได้หลายอย่าง เวลามีสมาธิอาการแปลกๆเหล่านี้จะไม่มีหรอก ที่มีเพราะมันไม่ใช่สมาธิ แต่เป็นอาการอย่างหนึ่ง พูดไปไม่มีใครเชื่อหรอก เราต้องสนใจเรื่องสติอย่างเดียว คือลมหายใจ หรือไม่ก็ใช้พิจารณา (มรณัสติ อสุภ กายคตาสติ) เป็นกรรมฐานที่พิจารณาน้อมมาที่กายของเรา แทนการพิจารณาลมหายใจก็ได้



สรุปก็คือคุณต้องกำหนดระลึกลมหายใจ หรือทำให้สติเจริญขึ้นให้มากๆๆ ถ้าเจ็บแผ่เมตตาและพิจารณาความเจ็บ
 
เดี่ยว
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 03 ม.ค. 2005, 6:12 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ครับ...สาธุ
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง