Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความโกรธ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
pink
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 20 ธ.ค.2004, 12:06 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



ความโกรธมีรากเป็นพิษมียอดหวาน สุภาษิตโบราณนี้หมายความว่า ในเบื้องต้น ความโกรธจะแสดงพิษสงต่อจิตใจ ทำให้หงุดหงิด เร่าร้อน เดือดดาล จึงต้องรีบระบายความหงุดหงิด เร่าร้อน เดือดดาลออกไปโดยเร็ว ด้วยการด่าว่าทุบตีหรือทำลายบุคคลหรือสิ่งของที่เป็นต้นเหตุให้โกรธ เมื่อได้ทำจนสาแก่ใจแล้ว ในบั้นปลายจะรู้สึกโล่งใจ สบายใจ จึงเรียกว่ามียอดหวาน

เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๕๓๕ ชายชาวอุตรดิตถ์คนหนึ่ง อายุ ๓๕-๓๗ ปี เข้ามารับการผ่าตัดหัวใจที่โรงพยาบาลในกรุงเทพฯ ก่อนผ่าตัดต้องตรวจร่างกายอย่างละเอียดหลายวัน ในวันแรก พยาบาลประจำห้องพักก็พูดกับคนไข้ด้วยเสียงอันดัง กระด้าง ดุดัน ไม่น่าฟัง คุณจะผ่าตัดหัวใจ คุณจะต้องทำอย่างนี้อย่างนั้น ทำให้คนไข้ไม่พอใจ วันต่อๆ มาทุกวัน พยาบาลก็ยังพูดจาไม่เข้าหูเช่นเดิม ความไม่พอใจของคนไข้ก็เพิ่มมากขึ้น มากขึ้นเป็นลำดับ

เมื่อคนไข้ฟื้นจากการผ่าตัด พอลืมตาก็เห็นพยาบาลคนเดิม ได้ฟังสำนวนและสำเนียงที่ระคายหูเช่นเดิม ทำให้คนไข้โกรธมากจนคิดว่าจะต้องแก้แค้นให้ได้ แต่เก็บความแค้นไว้ก่อนเพราะยังนอนซมลุกไม่ขึ้น แถมมีสาย หลายชนิดระโยงระยางรอบตัว

หลายวันต่อมา เขาเหลือบไปเห็นกระเช้าผลไม้ที่เพื่อนๆ นำมาเยี่ยม มีกล้วยหอม ๑ หวีและผลไม้อื่นๆ จึงแข็งใจเอื้อมมือไปหยิบกล้วยหอมได้ ๑ ลูก ทำให้เหนื่อยมากต้องพักนาน จากนั้นก็แกะเอาเนื้อทิ้งไปเหลือแต่เปลือกกล้วย แล้วโยนเปลือกกล้วยไปยังตำแหน่งที่เหมาะสม เมื่อพยาบาลเดินเข้ามา กำลังอ้าปากจะพูด เท้าก็เหยียบเปลือกกล้วยหอมล้มลง คนไข้รู้สึกสะใจมาก ระเบิดหัวเราะเสียงดังลั่น ทำให้แผลผ่าตัดแยก ต้องเข้าห้องผ่าตัดอีกครั้ง เมื่อปลอดภัยแล้วคนไข้ก็ออกจากโรงพยาบาลไป

(ข้อมูลจาก อ.อารี บุญซื่อ ข้าราชการบำนาญกระทรวงศึกษาธิการ)

นอกจาก มีรากเป็นพิษมียอดหวาน ดังตัวอย่างที่ยกมา ความโกรธ ยังมีลักษณะคล้ายลูกระเบิด ซึ่งเมื่อเกิดระเบิดขึ้นจะทำลายตัวเองก่อน แล้วสะเก็ดระเบิดก็จะกระจายไปทำลายสิ่งที่อยู่รอบๆ คนขี้โกรธบางคนก็เช่นกัน เมื่อโกรธมากเข้า สติ สามัญสำนึก และสมบัติผู้ดีของตัวเองจะถูกทำลายไปก่อนแล้วจึงทำร้ายหรือทำลายบุคคล (ที่คิดว่าเป็นศัตรู) ซึ่งอยู่รอบข้างด้วยการกระทำหรือคำพูดจนกว่าจะได้สติ

 
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 20 ธ.ค.2004, 6:27 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ถ้าเราแผ่เมตตาไว้เสมอ นิสัยเราจะค่อยเปลี่ยนไปทีละน้อย พอนานเป็นสิบปี เราเปลี่ยนไปหมดแล้ว



ทำหยาบๆคือให้ทานให้สิ่งของแก่คน แก่สัตว์(เช่นให้อาหาร) บ่อยๆเป็นนิสัย นิสัยพอกความโกรธก็ลดลงได้



รักษาศีลเอาข้อห้ามทางศีลมาคุมใจ ทำบ่อยๆกั้นความโกรธ ความอาฆาตไว้ได้



การปฏิบัติธรรมแทบทุกอย่างรักษาโรคแบบนี้ได้อย่างง่ายๆ เพราะจะทำให้สิ่งกระทบใจจะไม่รุนแรงมาก
 
เกียรติ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 20 ธ.ค.2004, 5:46 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

มีอีกวิธีหนึ่งครับซึ่งผมเพิ่งได้ยินมา นำมาแลกเปลี่ยนความรู้กัน ใช้ได้ผลชะงักทั้งอารมณ์โกรธ อารมณ์เศร้า อารมณ์เคลิบเคลิ้มเลยทีเดียวนั่น นั่นคือทันทีที่รู้ตัวว่าอารมณ์เหล่านี้กำลังเกิดขึ้น ให้หายใจออกแรงๆ สั้นๆ หนึ่งที คล้ายๆ อาการว่าสั่งขี้มูก หรือ เรียกสั้นๆ ว่า สั่งหมอง คือ สั่งลมหายใจที่กำลังเป็นอารมณ์ที่เศร้าหมองเหล่านั้นออกไป ก็จะดับได้ ใช้ได้ผลมากตอนอารมณ์เหล่านี้กำลังเริ่มเกิด แต่ถ้าเกิดขึ้นนานแล้ว และยังคงอยู่ไม่หายไปไหน ก็ต้องใช้วิธีของเพื่อนท่านอื่นๆ ล่ะครับ
 
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 22 ธ.ค.2004, 5:35 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ว่าโดยหลักการ ความโกรธเกิดขึ้นโดยการปรุงแต่ง การรู้ว่าความโกรธขึ้น



ด้วยการพิจารณาดูความโกรธอย่างมีสติ เป็นการทำลายความโกรธให้หมด



ไป คือละลายมันด้วยสติ



เนื่องจากความโกรธอาจเกิดขึ้นโดยเร็ว การแก้ไขอาจทำได้ยาก และอาจ



ทำไม่ทัน การป้องกันด้วยการแผ่เมตตาไว้เสมอ แล้วการพิจารณา



ทำลายความโกรธที่เบาบางด้วยการพิจารณาความโกรธนั้น และละลาย



ด้วยการเจริญสติน่าจะเป็นวิธีหนึ่ง การใช้กำลังข่มความโกรธเป็นอีกวิธี



หนึ่งที่ไม่ต้องใช้อย่างวิธีอื่น แต่ผู้ทำต้องเห็นว่าการใช้กำลังข่มใจนี้เป็น



วิธีการที่เหมาะกับตนเอง และต้องเคยฝึกใช้การข่มใจเป็นลำดับมาแล้ว



วิธีนี้ใช้ธรรมที่เรียกว่า "ทมะ" แปลว่าการข่มใจ การข่มใจนี้เป็นธรรมอันสุด



ยอดเหมือนกัน ไม่เพียงข่มต่อความโกรธเท่านั้น แต่ข่มต่อ"ราคะ"ก็ทำได้



และต้องฝึกเป็นลำดับไป "ทมะ" นี้เป็นธรรมรักษาตนเองได้ดี



อย่างไรก็ตามธรรมต่างๆ เช่น



ทมะ,ขันติ,วิริยะ,จาคะ,สันโดษ,อิทธิบาท ๔,สัจจะ ฯลฯ



ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ต้องน้อมเข้ามาใส่ใจ เพราะในการทำบุญ ด้วยทาน



ศีล และภาวนา เราต้องอาศัยธรรมอื่นมาประกอบให้การปฏิบัติของเราสัม



ฤทธิ์ผล เราจึงเคารพธรรมทั้งหมด และน้อมมาใส่ใจตนเองเอาธรรมทั้ง



หลายนั้นให้เป็นธรรมประจำใจของเรา
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง