Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 จุดแยก ความอยากที่เป็น ตัณหา กับ ฉันทะ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 25 ส.ค. 2007, 6:45 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

นักศึกษายังเข้าใจความอยากที่เป็น เรียกว่า ตัณหา กับ ความอยากที่เรียกว่าฉันทะ

ผิดพลาดคลาดเคลื่อนจากหลักธรรม ซึ่งก็เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติธรรม

ต่อการพัฒนาชีวิตจิตใจของตน

เช่น ตัวอย่างหนึ่ง

http://board.palungjit.com/showthread.php?t=122311


เขาถาม-ตอบกันว่า =>


ตอบ อาการที่คุณกล่าวมานั้นเกิดจากการที่คุณฝึกเพ่ง ฝึกตรึงความรู้สึกไว้

ที่กายตลอดเวลา เพราะกลัวจะขาดสติ

นั่นไม่ใช่การเจริญสติหรอก เพราะเป็นการทำตามคำสั่งของตัณหา

คือความอยากจะปฏิบัติธรรม



เมื่อแนะนำกันอย่างนั้น ก็จึงเป็นอุปสรรคขัดขวางความคิดในการปฏิบัติธรรม

การฝึกฝนอบรมตนเอง การใช้ดำเนินชีวิต ซึ่งก็เป็นผลเสียทั้งแก่ตนและผู้อื่น


หากจะมีคำถามว่า แล้วความอยากที่เรียกว่า ตัณหา กับความอยากที่เรียกว่า

ฉันทะ มีเส้นแบ่งตรงไหน มีอะไรเป็นที่สังเกต ?



พึงศึกษาจากหนังสือพุทธธรรมโดย ท่านเจ้าคุณ ป.อ.ประยุทธ์ ปยุตฺโต

หน้า 485 เป็นต้นไป

ท่านอธิยายไว้ยาว ถึง 20 กว่าใบ แต่ไม่นำมาทั้งหมด จะหยิบมาเฉพาะประเด็น

สำคัญๆ ให้พอเห็นเค้าว่า ปัญหาดังกล่าว เพื่อเป็นแนวการปฏิบัติธรรม

และการดำรงชีวิตโดยผาสุกและสบายใจ

แนะนำบอร์ดใหม่

http://fws.cc/whatisnippana/index.php
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 22 พ.ย.2010, 10:48 am, ทั้งหมด 4 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 25 ส.ค. 2007, 7:42 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ผู้ตอบคำถามลิงค์ดังกล่าว เข้าใจหลักธรรมผิดอีกหลายประเด็น เป็นต้นว่า

“
ตอบ ไม่ต้องไปคิดพัฒนาจิตหรอก เพราะจิตเป็นของเกิดดับ และไม่ใช่ตัวตนอะไร

ของเรา...”



ซึ่งขัดกับหลักการพัฒนาตนเช่นว่า

-มนุษย์เป็นยอดแห่งสัตว์ที่ฝึกได้ เรียกอย่างสมัยใหม่ว่า มีศักยภาพสูง

สามารถฝึกได้ทั้งทางกายทางจิต และทางปัญญา ให้วิเศษ ทำอะไรๆ ได้ประณีตวิจิตร

พิสดารแสนอัศจรรย์ อย่างแทบไม่น่าเป็นไปได้

การมัวเพลินหวังผลจากฤทธานุภาพและเทวานุภาพดลบันดาล ก็คือการตกอยู่

ในความประมาท ละเลยปล่อยให้ศักยภาพของตนสูญไปเสียเปล่า

และจะไม่รู้จักเติบโตในอริยะมรรคา

สำหรับผู้ไม่ประมาท ไม่รีรอ เร่งฝึกฝนตนไม่หยุดยั้ง ผู้นั้นแหละจะได้ทั้งอิทธิฤทธิ์

และเทวฤทธิ์ และจะบรรลุสิ่งเลิศล้ำที่ทั้งฤทธานุภาพและเทวานุภาพไม่อาจอำนวยให้ได้


(ศัพท์ธรรมที่หมายถึงการฝึกฝนอบรม มีมากมาย เช่น ทมะ ภาวนา วินยะ (-วินีต) สิกขา

ฯลฯ แต่น่าเสียดายว่า ในสมัยต่อๆมา ความหมายของบางคำ ได้แปรเปลี่ยนจากเดิมผิดไป

ไกล)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 16 เม.ย.2008, 8:44 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 25 ส.ค. 2007, 9:34 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

(เริ่มจากคห.นี้ไป)


ปัญหาเกี่ยวกับแรงจูงใจ



-มีคำถามและคำกล่าวเชิงค่อนว่าพระพุทธศาสนา ที่ได้พบบ่อยครั้ง คือคำพูดพูด

ทำนองว่า



-พระพุทธศาสนาสอนให้ละตัณหา ไม่ให้มีความอยาก เมื่อคนไม่อยากได้

ไม่อยากร่ำรวย จะพัฒนาประเทศชาติได้อย่างไร ? คำสอนของพระพุทธศาสนาขัด

ขวางต่อการพัฒนา


-นิพพานเป็นจุดหมายของพระพุทธศาสนา การปฏิบัติธรรมก็เพื่อบรรลุนิพพาน

แต่ผู้ปฏิบัติธรรมจะอยากในนิพพานไม่ได้ เพราะถ้าอยากได้ก็กลายเป็นตัณหา

กลายเป็นปฏิบัติผิด เมื่อไม่อยากได้แล้วจะปฏิบัติได้อย่างไร

คำสอนของพระพุทธศาสนาขัดแย้งกันเอง และเป็นการให้ทำในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 19 ม.ค. 2010, 8:13 am, ทั้งหมด 5 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 27 ส.ค. 2007, 4:28 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


-คำถามและคำค่อนว่า 2 ข้อดังกล่าว กระทบหลักการของพระพุทธศาสนาตลอดสาย

ตั้งแต่การดำเนินชีวิตประจำวันของชาวบ้าน จนถึงการปฏิบัติเพื่อบรรลุมรรคผลนิพพาน

หรือตั้งแต่ระดับโลกียะจนถึงระดับโลกุตระ

สาเหตุให้เกิดคำถามและคำกล่าวหาเช่นนี้ เกิดจากความเข้าใจพร่ามัวสับสนบางอย่าง

ซึ่งมีอยู่มากในหมู่ชาวพุทธเอง

ความสับสนนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับถ้อยคำด้วย

จุดสำคัญ คือ เข้าใจคำว่า ความอยากเป็นตัณหาทั้งหมด

และเข้าใจต่อไปว่า พระพุทธศาสนาสอนให้ละความอยาก

หรือ สอนไม่ให้มีความอยากใดๆเลย

นอกจากนั้น บางทีรู้จักข้อธรรมอื่น ที่มีความหมายทำนองนี้เหมือนกัน แต่รังเกียจ

ที่จะแปลว่า ความอยาก จึงเลี่ยงแปลเป็นอื่นเสีย เมื่อถึงคราวจะพูดเรื่อง

เกี่ยวกับความอยาก จึงลืมนึกถึงคำนั้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 16 เม.ย.2008, 8:49 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 13 พ.ย.2007, 10:24 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ก่อนที่จะทำความเข้าใจกันต่อไป

ขอให้ลองหยุดดูหลักการง่ายๆ เกี่ยวกับความอยาก ที่พระอรรถกถาจารย์แสดงไว้สักแห่งหนึ่ง

ในคัมภีร์ปปัญจสูทนี และปรมัตถทีปนี * ท่านกล่าวไว้ว่า "ความปรารถนา"

(บาลีว่า ปตฺถนา แปลว่า ความอยาก) มี 2 อย่าง คือ



1. ความปรารถนาที่เป็นตัณหา (ตัณหาปัตถนา แปลว่า อยากด้วยตัณหา)

2. ความปรารถนาที่เป็นฉันทะ (ฉันทปัตถนา แปลว่า อยากด้วยฉันทะ)


คำอธิบายนี้ แม้จะเป็นชั้นอรรถกถา แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นสำหรับทำความเข้าใจได้ดีมาก

ถือความตามนี้ว่า ความอยากที่เป็นแรงจูงใจให้มนุษย์กระทำการต่างๆนั้น

แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท

ความอยากที่ชั่วร้ายก็มี ความอยากที่ดีก็มี

ความอยากฝ่ายชั่วเรียกว่า ตัณหา

ความอยากฝ่ายดีเรียกว่า ฉันทะ


.............

* ม.อ.1/55-56; อิติ.อ.79;

ท่านยกตัวอย่างบาลีมาอธิบายด้วยว่า คำว่า “ปรารถนา” ในพุทธดำรัสว่า

“ผู้ที่ยังปรารถนาอยู่ จึงมีความเพ้อพร่ำ กับทั้งความหวั่นไหวในสิ่งที่หมายใจเอา

ไว้” (ขุ.สุ.25/420/510) เป็นความปรารถนาแบบตัณหา

ความ ปรารถนา ในพุทธพจน์ว่า “กระแสของมารร้าย เราตัดได้ ทลาย ทำให้หมด

ลำพองแล้ว เธอทั้งหลาย จงเป็นผู้มากด้วยปราโมทย์ พึงปรารถนาความเกษม

เถิด” (ม.มู.12/391/421) เป็นความปรารถนาแบบฉันทะ ซึ่งเป็นกุศล ได้แก่

ความอยากทำ

คำอธิบายทั้งนี้ท่านปรารภคำว่า “ปรารถนา”

ในบาลีอีกแห่งหนึ่งว่า “แม้ภิกษุใดเป็นเสขะ ยังมิได้บรรลุอรหัตผล เมื่อปรารถนา

ธรรมอันเป็นโยคเกษมอยู่” (ม.มู.12/3/6 ฯลฯ )

คำปรารถนาในที่นี้ ก็เป็นความปรารถนาแบบฉันทะเช่นกัน
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 18 ม.ค. 2010, 5:49 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 02 เม.ย.2008, 11:25 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



ความเข้าใจเบื้องต้น เพื่อแก้และกันความสับสน



ในวงการศึกษาพระพุทธศาสนา คำศัพท์ธรรมที่รู้จักกันทั่วไป สำหรับใช้ในความหมายว่า

ความอยาก ก็คือคำว่า ตัณหา ซึ่งบางที แปลให้ได้ความหมายจำเพาะมากยิ่งขึ้นว่า

ความทะยานอยาก เหตุที่รู้จักคำนี้มาก เพราะเป็นศัพท์เฉพาะ

ซึ่งท่านใช้เป็นคำจำกัดความของอริยสัจข้อที่ 2 คือเหตุแห่งทุกข์


ตัณหา เป็นความอยากชนิดที่มีมูลรากมาจากอวิชชา เป็นต้นตอให้เกิดทุกข์

และจะต้องกำจัดเสีย จึงเป็นข้อธรรมที่คนทั้งปวงผู้ต้องการดับทุกข์ แก้ปัญหาชีวิต

หรือเข้าถึงจุดหมายของพระพุทธศาสนาจะต้องเกี่ยวข้องสนใจ

อย่างไรก็ตาม เมื่อรู้จักความอยากที่เป็นตัณหาแล้ว จะเหมาเอาความอยากทุกอย่าง

เป็นตัณหาไปหมดก็ไม่ถูกต้อง ในเมื่อตัณหาเป็นความอยากจำเพาะแง่

ก็ควรรู้จักความอยากที่เป็นความหมายกว้างด้วย และการรู้จักความอยาก

ในความหมายกว้างนั่นแหละจะช่วยให้เข้าใจความอยากจำเพาะแง่ ที่เรียกว่า ตัณหา

นี้ชัดเจนขึ้นด้วย
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 16 เม.ย.2008, 9:01 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 02 เม.ย.2008, 11:27 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


อีกแห่งหนึ่ง ที่เขาสนทนากันว่าการปฏิบัติก็เป็นตัณหา เหตุรู้ธรรมด้านเดียว

ตัวอย่าง=>

ถาม ดิฉันสังเกตเห็นว่า ในเวลาปกติจิตใจก็สบายดี แต่พอเริ่มกำหนดรูปนาม

จิตจะหนักแน่นแข็งๆ หาความสบายไม่ได้เลย


ตอบ ต้องเป็นอย่างนั้นแน่ เพราะเป็นการปฏิบัติด้วยตัณหา

ตัณหาเป็นเหตุแห่งทุกข์ มีตัณหาก็ต้องมีทุกข์เป็นธรรมดา
แต่ถ้าเมื่อใด

สภาวะรูปนามอันใดปรากฏ คุณรู้ไปตามนั้น จิตของคุณจะไม่แน่น ไม่หนักเลย

แต่จะกลับรู้ตื่น และเบิกบานในทันทีนั้น เพราะจิต ปราศจากตัณหา

http://board.palungjit.com/showthread.php?t=122311
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 16 เม.ย.2008, 9:20 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


คำศัพท์ธรรม ที่มีความหมายครอบคลุมความอยากในแง่ต่างๆ ได้แก่ “ฉันทะ”

ซึ่งโดยทั่วไป แปลว่า ความพอใจ แต่ความจริงแปลได้อีกหลายอย่าง เช่น

ความชอบใจ ความอยาก ความยินดี ความรัก ความใคร่ ความต้องการ ฯลฯ


เมื่อถือตามที่พระอรรถกถาจารย์จัดแยกไว้ พอสรุปได้ว่า ฉันทะ มี 3 ประเภท คือ

1. ตัณหาฉันทะ - ฉันทะคือตัณหา หรือฉันทะที่เป็นตัณหา เป็นฝ่ายชั่วหรือ อกุศล

2. กัตตุกัมยตาฉันทะ - ฉันทะคือความใคร่เพื่อจะทำ ได้แก่ ความต้องการทำ

หรือ อยากทำ

เป็นฝ่ายกลางๆ คือ ใช้ในทางดีก็ได้ ชั่วก็ได้ แต่ท่านมักจัดรวมเข้าเป็นฝ่ายดี

3. กุศลธรรมฉันทะ-ฉันทะในกุศลธรรม หรือ ธรรมฉันทะที่เป็นกุศล เป็นฝ่ายดีงาม

หรือ กุศล

มักเรียกสั้นๆเพียงว่า กุศลฉันทะ-ความรักดี ความใฝ่ดี

หรือ ธรรมฉันทะ –ความรักธรรม หรือ ความใฝ่ธรรม
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 16 เม.ย.2008, 9:27 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คัมภีร์วิภังค์แห่งพระอภิธรรมปิฎก อธิบายว่า ฉันทะ ในสัมมัปปธาน 4 และ

ในอิทธิบาท 4 ว่า เป็นกัตตุกัมยะตากุศลธรรมฉันทะ ซึ่งนับว่าเป็นต้นแบบ

ของคำอธิบาย ฉันทะ ฝ่ายดีในอรรถกถาทั้งหลาย และคงเป็นต้นเค้าของการจัดเอาฉันทะ

ประเภทที่ 2 มารวมเข้าเป็นข้อเดียวกับฉันทะประเภทที่ 3 นี้

ฉันทะที่กล่าวในการปฏิบัติธรรม ส่วนมากเป็นฉันทะในสัมมัปปธาน 4 คือ

ในข้อว่า

“บุคคลนั้น ยังฉันทะให้เกิดขึ้น พยายาม ระดมความเพียร ประคองจิต

ยืนหยัดเพื่อความไม่เกิดขึ้น แห่งบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด...

เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว...

เพื่อความเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด...

เพื่อความดำรงอยู่ไม่เลือนรางไป เพื่อความเพิ่มพูน ไพบูลย์เจริญบริบูรณ์

แห่งกุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้ว”
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 30 ต.ค.2009, 6:39 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 16 เม.ย.2008, 9:30 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


แม้ฉันทะ ที่มาในข้อความอื่นๆ ซึ่งเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรม ก็มีรูปความคล้ายกัน เช่น

-ฉันทะ เพื่อบรรลุกุศลธรรมทั้งหลาย (องฺ. ฉกฺก. 22/350/482)

-ฉันทะ ในการสมาทานสิกขา (องฺ.ติก.20/521/294 ฯลฯ)

-ฉันทะ เพื่อเจริญปัญญินทรีย์ (ขุ.ปฏิ.31/455/337)

-ฉันทะ เพื่อละสรรพกิเลส (ขุ.ปฏิ.31/455/337)

-เกิดฉันทะในนิพพาน (ขุ.ธ.25/26/44 ฯลฯ) เป็นต้น


ดังนั้น จึงจัดว่าเป็นทั้งกัตตุกัมยะตาฉันทะ และกุศลธรรมฉันทะ

คือ เป็นทั้งฉันทะที่อยากจะทำ และเป็นฉันทะในสิ่งที่ดีงาม

พูดง่ายๆว่า ต้องการทำสิ่งที่ดีงาม
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 16 เม.ย.2008, 9:32 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


และอีกแห่ง ดังนี้

-ฉันทะ ในธรรมทั้งหลาย (ขุ.เถระ.26/332/315)

-ฉันทะ ในธรรมบททั้งหลาย (สํ.ส.15/788/298)

และ ฉันทะ เพื่อการบรรลุอรหัตผล (สํ.ม.19/1168/350) ด้วย

นอกจากนี้ ท่านว่า ฉันทะเป็นองค์ธรรมในขณะแห่งมรรคทั้ง 4 ผลทั้ง 4,

เป็นมรรค เป็นอภิสมัย เป็นวิราคะ และเป็นวิมุตติ (ขุ.ปฏิ.31/156-9/107-9 ฯลฯ)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 16 เม.ย.2008, 9:57 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


เริ่มมองเห็นเค้าแล้วว่า ความอยาก มิได้เหมาคลุมว่าเป็นตัณหาทุกเรื่องทุกอย่างไป

ดังเช่นคำถาม-ตอบที่ลิงค์ที่ผ่านมาว่า


ถาม ดิฉันสังเกตเห็นว่า ในเวลาปกติจิตใจก็สบายดี แต่พอเริ่มกำหนดรูปนาม

จิตจะหนักแน่นแข็งๆ หาความสบายไม่ได้เลย


ตอบ ต้องเป็นอย่างนั้นแน่ เพราะเป็นการปฏิบัติด้วยตัณหา ตัณหาเป็นเหตุแห่ง

ทุกข์ มีตัณหาก็ต้องมีทุกข์เป็นธรรมดา.
..


เมื่อเขาเห็นผิดเช่นว่านั้น สิ่งที่เขาปฏิบัติอยู่ทำอยู่ ก็ออกนอกอริยมรรคขั้นต้นแล้ว

พฤติกรรมการหลบเลี่ยงนั่นแหละ ท่านเรียกว่าตัณหา ขยายความว่า ตัณหามันสั่งว่า

อย่าปฏิบัติเลย ยากจัง ลำบากนัก เลิกเถอะ ฯลฯ แล้วก็เลิก ตามความดิ้นรนของตัณหา

แต่ความคิดอีกขณะหนึ่งกลัวเสียหลัก จึงหาวิธีเลี่ยงโดยไม่ต้องปฏิบัติ

ด้วยรูปแบบที่หลากหลายพิสดาร

สุดท้ายเข้าไม่ถึงธรรมชาติ คือ ความจริงของกาย-ใจ =>

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=15357&postdays=0&postorder=asc&start=0
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 17 เม.ย.2008, 9:02 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 16 เม.ย.2008, 10:04 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


รวมความว่า ศัพท์ธรรมที่มีความหมายกว้าง ครอบคลุมความอยาก หรือ ความต้องการ

ซึ่งเป็นแรงจูงใจของมนุษย์ได้ทุกอย่าง ก็คือคำว่า ฉันทะ

ฉันทะ เป็นข้อธรรมสำคัญมาก

พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ธรรมทั้งปวงมีฉันทะเป็นมูล” หมายความว่า ฉันทะ เป็นรากหรือ

เป็นต้นเค้าของธรรมทุกอย่าง- องฺ. อฏฺฐก. 23/189/350 ฯลฯ (องฺ.อ.3/319 ไขความว่า

ธรรมทั้งปวงในที่นี้หมายถึงเบญจขันธ์...)


ฉันทะ ที่ไม่ดี เป็นอกุศล เป็นฝ่ายชั่ว ตรงกับคำว่า ตัณหา

จะใช้คำว่า ตัณหา แทนก็ได้ (เช่น กามฉันทะ - นิวรณ์ ข้อที่ 1 ฝ่ายอกุศล)


ส่วนฉันทะ ที่ดีงาม เป็นฝ่ายกุศล มีชื่อเดิมว่า กุศลธรรมฉันทะ

บางทีเรียกสั้นเข้าเป็น กุศลฉันทะ บ้าง

ธรรมฉันทะ บ้าง

แต่ที่นิยมเรียกคำเดียวว่า ฉันทะ (เช่น อิทธิบาท 4 ข้อที่ 1)

นอกจากนี้มักจัดรวมเข้าในฝ่ายดี เป็นกุศลธรรมฉันทะ ด้วย


เพื่อกันความสับสนท่านจึงใช้ศัพท์ ตัณหา เป็นฝ่ายอกุศล

ศัพท์ ฉันทะ เป็นฝ่ายกุศล (เช่น อิทธิบาท 4 ข้อที่ 1 )
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 17 เม.ย.2008, 9:19 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


จุดเริ่มต้นสำหรับทำความเข้าใจกันในตอนนี้ คือ ถือว่า แรงจูงใจในการกระทำของมนุษย์

แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1. ความพอใจ ชอบใจ ยินดี อยาก รักใคร่ ต้องการ ที่ไม่ดี ไม่สบาย ไม่เกื้อกูล เป็น

อกุศล เรียกว่า ตัณหา

2. ความพอใจ ชอบใจ ยินดี อยาก รักใคร่ ต้องการ ที่ดีงาม สบาย เกื้อกูล

เป็นกุศล เรียกว่า ฉันทะ


(แรงจูงใจคนให้กระทำการ มี 2 อย่าง ได้แก่ แรงจูงใจให้ทำสิ่งที่เป็นอกุศล (ไม่ดี = ตัณหา)

กับ แรงจูงใจให้ทำสิ่งที่เป็น กุศล (ที่ดี = ฉันทะ)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 17 เม.ย.2008, 9:21 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



ดูคำจำกัดความ ตัณหา-กุศลอีกครั้งหนึ่ง



-ตัณหา
แปลว่า ความกระหาย ความทะยาน ความอยาก ความเสน่หา ความรน

ความร่าน ความกระสับกระส่าย ความกระวนกระวาย ไม่รู้อิ่ม



-กุศล
แปลว่า ดีงาม ฉลาด เกื้อกูล คล่อง สบาย ไร้โรค เอื้อต่อสุขภาพ

ได้แก่ สิ่งที่เกื้อกูลแก่ชีวิตจิตใจ สิ่งที่เป็นผลเกื้อกูลแก่ความเจริญงอกงามในทางที่เป็นไป

เพื่อประโยชน์สุขทั้งแก่ตนและคนอื่น


ความหมายหลักของกุศล มี 3 คือ

-อาโรคยะ-ความไม่มีโรค มีสุขภาพ

-อนวัชชะ-ไร้โทษ

-โกสัลลสัมภูต- เกิดจากความฉลาดหรือเกิดจากปัญญา

นอกจากนี้แปลว่า มีผลเป็นสุข (สุขวิบาก)

เกษม (เขมะ

(ปฏิสํ.อ.156,246 ฯลฯ)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 17 เม.ย.2008, 9:27 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


เป็นอันว่า สิ่งที่ฉันทะต้องการ ก็คือ ธรรม หรือกุศล (ธรรม)

พูดอย่างไทยแท้ว่า สิ่งที่ฉันทะต้องการ คือ ความจริงและสิ่งที่ดีงาม แล้วมีความหมาย

ขยายออกไปว่า ต้องการรู้ความจริง ต้องการทำให้สิ่งที่ดีงาม หรือภาวะที่ดีงามเกิดมีขึ้น

อยากทำให้สิ่งที่เป็นคุณประโยชน์สำเร็จผลเป็นจริงขึ้น


ฉันทะ สัมพันธ์กับการกระทำ คือ การกระทำเพื่อให้รู้ความจริง และการกระทำเพื่อสร้าง

ภาวะที่ดีงาม หรือทำให้สิ่งที่ดีงามเกิดมีขึ้น

ด้วยเหตุนี้ ตามกฎแห่งกระบวนธรรมท่านจึงกล่าวว่า ฉันทะนำไปสู่อุตสาหะ

(ม.ม.13/238/233; 659/606)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 17 เม.ย.2008, 9:31 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คำขยายความตัณหา


-หลักสำคัญที่ควรทราบเกี่ยวกับตัณหา คือ ตามหลักปฏิจจสมุปบาท

ตัณหา เกิด จากเวทนาเป็นปัจจัย โดยมีอวิชชาเป็นมูลราก
กล่าวคือ

เมื่อบุคคลรับรู้อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่น่าชอบใจหรือไม่น่าชอบใจก็ตาม เช่น

เห็นรูปสวยหรือน่าเกลียด

ได้ยินเสียงไพเราะหรือหนวกหู ฯลฯ แล้วเกิดความรู้สึกสุข หรือทุกข์ หรือเฉยๆ ขึ้น

ในเวลานั้น ตัณหาก็จะเกิดขึ้นในลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ถ้ารู้สึกสุข ก็ยินดี

ชื่นชอบ คล้อยตามไป ติดใจ ใฝ่รัก อยากได้


ถ้ารู้ทุกข์ ก็ยินร้าย ขัดใจ ชัง อย่างเลี่ยงหนี หรืออยากให้สูญสิ้นไปเสีย

ถ้ารู้สึกเฉยๆ ก็เพลินๆ เรื่อยเฉื่อยไป


อาการอย่างนี้ มันเป็นของมันได้เอง โดยไม่ต้องใช้ความคิด ไม่ต้องใช้ความรู้

ความเข้าใจอะไรเลย


(ตรงข้าม ถ้ามีความรู้ความเข้าใจ หรือ ใช้ความคิดแทรกเข้ามาในเวลานั้น เช่น

รู้ว่า รูปที่น่าเกลียดนั้นเป็นสิ่งมีประโยชน์ หรือรู้ว่าเสียงไพเราะนั้น เป็นสัญญาณ

อันตราย หรือเกิดสำนึกทางจริยธรรมหรือวัฒนธรรมประเพณี ว่าสิ่งนั้นไม่เหมาะสม

กับภาวะ หรือฐานะของตน ฯลฯ ตัณหาอาจถูกตัดตอน

กระบวบการไม่ไหลต่อเนื่องเรื่อยไปอย่างเดิม แต่เกิดพฤติกรรมรูปอื่นรับช่วงไป

แทน.....ช่วงนี้วิถีความคิดเปลี่ยน เมื่อมีสติสัมปชัญญะ หรือ โยคีกำลังเจริญกรรมฐาน

อยู่กิเลสก็เข้าแทรกไม่ได้ หรือ กิเลสถูกเบียนพ้นวิถีบาปไปอกุศลไป)



จึงอาจพูดอย่างง่ายๆว่า ตัณหาอิงอาศัยเวทนา โดยมีอวิชชาเป็นตัวหนุน หรือ

ตัณหาแอบอิงเวทนาอยู่บนฐานแห่งอวิชชา
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 19 ม.ค. 2010, 3:35 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 18 เม.ย.2008, 9:07 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ในเมื่อตัณหาใฝ่หรือผูกพันมุ่งหมายเวทนาอย่างนี้ ตัณหาจึงร่านรนหันไปหาสิ่งที่จะให้เวทนา

แก่มันได้ และสิ่งที่ตัณหาต้องการ ก็คือสิ่งใดก็ตามที่จะอำนวยเวทนาอันอร่อย

ซึ่งตัณหาชอบสิ่งทั้งหลายที่อำนวยเวทนาได้

เมื่อจัดรวมเข้าเป็นประเภทแล้ว ก็มีเพียง 6 อย่าง เรียกว่าอารมณ์ 6 คือ รูป เสียง กลิ่น รส

โผฏฐัพพะ (สิ่งต้องกาย) และธรรมารมณ์ (เรื่องในใจ)

เฉพาะอย่างยิ่ง อารมณ์จำพวกที่เด่นชัดกว่า เป็นรูปธรรม คือ อย่างแรก

ซึ่งเรียกว่า กามคุณ 5 (ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าใคร่ น่าพอใจ)

อารมณ์ 6 โดยเฉพาะกามคุณ 5 นี้ เป็นสิ่งที่ตัณหาต้องการ และเป็นที่เกิดของตัณหา

โดยนัยนี้ จึงขยายความหมายของตัณหาออกไปได้ว่า ตัณหา คือ ความกระหายอยากในสิ่ง

ที่ให้เวทนา หรือ ความกระหายอยากในอารมณ์ที่ชอบใจ หรือในกามคุณทั้งหลาย

หรือความกระหายอยากได้อารมณ์ที่ชอบใจมาเสพเสวยเวทนาอันอร่อย

พูดสั้นๆว่า อยากได้หรืออยากเอา

ฯลฯ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 18 เม.ย.2008, 9:11 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



สรุปความเท่าที่กล่าวมาเพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับทำความเข้าใจกันต่อไป ดังนี้


1. ตัณหา มุ่งประสงค์เวทนา และจะต้องการสิ่งสำหรับเอามาเสพเสวยเวทนา หรือสิ่งที่ปรน

ปรือตัวตน ตัณหาอาศัยอวิชชาคอยหล่อเลี้ยงและให้โอกาส พัวพันเกี่ยวเนื่องอยู่กับเรื่องตัวตน

เอาอัตตาเป็นศูนย์กลาง และนำไปสู่ปริเยสนา หรือ การแสวงหา


2. ฉันทะ มุ่งประสงค์อัตถะคือตัวประโยชน์ (หมายถึงสิ่งที่มีคุณค่าแท้จริงแก่ชีวิต คล้ายกับ

ที่ปัจจุบันเรียกว่าคุณภาพชีวิต) และจึงต้องการความจริง สิ่งที่ดีงาม หรือภาวะที่ดีงาม

ฉันทะก่อตัวขึ้นจากโยนิโสมนสิการ คือ ความรู้จักคิด หรือ คิดถูกวิธี คิดตามสภาวะ

และเหตุผล เป็นภาวะกลางๆของธรรมไม่ผูกพันกับอัตตา และนำไปสู่อุตสาหะ

หรือ วิริยะ คือ ทำให้เกิดการกระทำ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 18 เม.ย.2008, 9:16 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ข้อที่ควรย้ำในตอนนี้มี 2 อย่างคือ

ก. เพื่อแยกให้ชัดว่าเมื่อใครคิดพูดทำอะไร จะเป็นตัณหาหรือไม่ ถึงตอนนี้จะเห็นชัดว่า

ความต้องการหรือกิจกรรมใด ไม่เกี่ยวกับการหาสิ่งมาเสพเสวยเวทนา ไม่เกี่ยวกับการปกป้อง

รักษาหรือเสริมขยายความมั่นคงถาวรของอัตตา (ลึกลงไปแม้แต่การที่จะบีบคั้นลิดรอนอัตตา)

ความต้องการหรือกิจกรรมนั้น ไม่ใช่เรื่องของตัณหา


ข. ข้อความว่า ตัณหานำไปสู่การแสวงหา ฉันทะทำให้เกิดการกระทำ

นี้เป็นจุดสำคัญที่จะให้เข้าใจ ความแตกต่างระหว่างตัณหากับฉันทะได้ชัดเจน

เป็นขั้นออกสู่ปฏิบัติการ และเป็นขั้นตอนสำคัญที่มีผลในทางจริยธรรมเป็นอย่างมาก

จึงจะหันมาพิจารณากันที่จุดนี้ต่อไป



ลิงค์ที่อธิบายอิทธิบาท มี ฉันทะ เป็นต้น

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=14744
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง