Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 วัดประจำรัชกาลที่ ๑ : วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
เว็บมาสเตอร์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 มี.ค. 2005
ตอบ: 993

ตอบตอบเมื่อ: 14 ส.ค. 2007, 1:15 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

วัดประจำรัชกาลที่ ๑
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร

เทียน กระทู้ในบอร์ดใหม่ค่ะ เทียน

วัดประจำรัชกาลที่ ๑ : วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19426


• ประวัติของวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
• ศาสนสถานและศาสนวัตถุอันงดงามล้ำค่า
• จารึกวัดโพธิ์
• มรดกความทรงจำแห่งโลก
• รัตนกวีแห่งวัดโพธิ์
• พระตำหนักวาสุกรี
• ยักษ์วัดโพธิ์-นายทวารบาล
• ซุ้มประตูทรงมงกุฏ
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
เว็บมาสเตอร์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 มี.ค. 2005
ตอบ: 993

ตอบตอบเมื่อ: 09 เม.ย.2008, 2:04 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล เจดีย์ประจำรัชกาลที่ ๑-๔


• ประวัติของวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

วัดประจำรัชกาลที่ ๑ ถึง ๓...วัดเก่า ทำใหม่

สำหรับ วัดประจำรัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
บางคนอาจเข้าใจผิดคิดว่าเป็น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)
แต่จริงๆ แล้ววัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นวัดประจำพระบรมมหาราชวังเท่านั้น
ส่วนวัดประจำรัชกาลที่ ๑ จริงๆ แล้วก็คือ
“วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร” หรือ “วัดโพธิ์”
วัดโบราณเก่าแก่สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
ที่ตั้งอยู่ใกล้กับวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) และพระบรมมหาราชวัง
ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้เข้ามาบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่

Image
พระอุโบสถ นับเป็นหนึ่งในพระอุโบสถที่งดงามมากของวัดในเมืองไทย


“วัดโพธิ์” หรือมีนามทางราชการว่า
“วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร”
เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร เดิมชื่อว่า “วัดโพธาราม”
เป็นวัดโบราณเก่าแก่ที่ราษฎรสร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
แม้ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างที่แน่ชัด
แต่สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นหลังจากปีพุทธศักราช ๒๒๓๑
ในรัชกาลสมเด็จพระเพทราชาต่อกับรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
เป็นวัดราษฎร์ขนาดเล็กอยู่ในเขตตำบลบางกอก ปากน้ำเจ้าพระยา เมืองธนบุรี
ชาวบ้านเรียกกันว่า “วัดโพธิ์” มาจนถึงกระทั่งทุกวันนี้

ครั้นมาในสมัยกรุงธนบุรี เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
หรือสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงสถาปนาเมืองธนบุรีเป็นนครหลวง
ได้ทรงกำหนดเขตเมืองหลวงทั้งสองฝั่ง มีแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ในเขตกลางเมืองหลวง
วัดโพธารามตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาจึงอยู่ในเขตพระมหานคร
และได้ยกขึ้นเป็นพระอารามหลวง มีพระราชาคณะปกครองตั้งแต่นั้นมา

Image
บริเวณพระมณฑป (หอไตรจตุรมุข)


จนกระทั่งในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑
องค์ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ขึ้นเสวยราชสมบัติ
และได้ย้ายเมืองหลวงมายังฝั่งพระนคร มีการสร้างพระบรมมหาราชวังขึ้นใหม่
จึงทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดโพธารามที่อยู่ในบริเวณเดียวกันไปด้วย
และโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาวัดโพธารามเป็นวัดหลวงข้างพระบรมมหาราชวัง
ภายหลังวัดแห่งนี้ก็ได้ถือว่าเป็นพระอารามหลวงประจำรัชกาลที่ ๑

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม พระอารามหลวงแห่งนี้
มีเนื้อที่ทั้งหมด ๕๐ ไร่ ๓๘ ตารางวา ตั้งอยู่ด้านทิศใต้ของพระบรมมหาราชวัง
ทิศเหนือจดถนนท้ายวัง ทิศตะวันออกจดถนนสนามไชย ทิศใต้จดถนนเศรษฐการ
ทิศตะวันตกจดถนนมหาราช มีถนนเชตุพนขนาบด้วยกำแพงสูงสีขาว
แบ่งเขตพุทธาวาสและเขตสังฆาวาสแยกจากกันไว้อย่างชัดเจน

Image
“พระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชดาญาณ” เจดีย์ประจำรัชกาลที่ ๑


มีหลักฐานปรากฏใน ‘ศิลาจารึกวัดโพธิ์’ ไว้ว่า
หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑
ทรงสถาปนาพระบรมมหาราชวังแล้ว ทรงพระราชดำริว่า
มีวัดเก่าแก่ขนาบพระบรมมหาราชวัง ๒ วัด ด้านเหนือ คือ วัดสลัก
(วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์) ส่วนด้านใต้ คือ วัดโพธาราม
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขุนนางเจ้าทรงกรม ช่างสิบหมู่ฝีมือเยี่ยม
มาร่วมอำนวยการบูรณปฏิสังขรณ์เพื่อสถาปนาให้เป็นวัดหลวง
โดยเริ่มการบูรณปฏิสังขรณ์เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๑ ใช้เวลาถึง ๗ ปี ๕ เดือน ๒๘ วัน
จึงแล้วเสร็จและโปรดเกล้าฯ ให้มีการเฉลิมฉลองเมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๔๔
แล้วพระราชทานนาม “วัดโพธาราม” ใหม่ว่า “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาศ”
ครั้นต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
ได้โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนท้ายนามวัดเป็น “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม”
ดังปรากฏในศิลาจารึกซึ่งติดไว้ที่ผนังด้านในพระวิหารทิศพระพุทธโลกนาถมุขหลัง
เรื่องทรงสร้างวัดพระเชตุพน ครั้งรัชกาลที่ ๑ ความว่า

Image
“พระมหาเจดีย์มุนีบัตรบริขาร” เจดีย์ประจำรัชกาลที่ ๓

Image
“พระมหาเจดีย์ทรงพระศรีสุริโยทัย” เจดีย์ประจำรัชกาลที่ ๔


(มีต่อ ๑)
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
เว็บมาสเตอร์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 มี.ค. 2005
ตอบ: 993

ตอบตอบเมื่อ: 10 เม.ย.2008, 6:38 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
“พระพุทธเทวปฏิมากร” พระประธานในพระอุโบสถ


“ศุภมัศดุพระพุทธศักราชล่วงแล้วสองพันสามร้อยสามสิบเบดพระวะษา
ณ วันจันทร์เดือนสิบเบดแรมแปดค่ำปีระกานักสัตว์เอกศก
สมเดจ์พระบรมธรรมมฤกมหาราชาธิราชพระเจ้ารามาธิบดี
บรมนารถบรมบพิตรพระพุทธิเจ้าอยู่หัวผู้ผ่านพิภพไอศวรรยาธิปัดถวัลราช
กรุงเทพทวาราวะดีศรีอยุทธยามหาดิหลดภพนพรัตนราชธานี
บุรีรมย์อุดมพระราชมหาสถาน เสดจ์ทอดพระเนตร์เหนวัดโพธารามเก่า
ชำรุดปรักหักพังเปนอันมากทรงพระราชศัรทธาจะปติสังขรณ์ส้างให้บริบูรรณงามขึ้น
กว่าเก่าซึ่งที่เปนลุ่มดอนห้วยคลองสระบ่อร่องคูอยู่นั้น
ทรงพระกรุณาให้เอาคนสองหมื่นเศศฃนดินมาถมเตมแล้ว
รุ่งขึ้นปีหนึ่งสองปีกลับยุบลุ่มไปจึงให้ซื้อมูลดินถมสิ้นพระราชทรัพย์
สองร้อยห้าชั่งสิบห้าตำลึงจึ่งให้ปราบที่พูนมูล ดินเสมอดีแล้ว
ครั้นณะวันพฤหัศบดีเดือนสิบสองแรมสิบเบดค่ำปีฉลูนักสัตว์เบญจะศก
ให้จับการปัติสังขรณะส้างพระอุโบสถมีกำแพงแก้วกระเบื้องปรุะ
ล้อมรอบพื้นในกำแพงแก้ว แลหว่างพระระเบียงชั้นในชั้นนอกก่ออิฐห้าชั้นแล้วดาดปูน
กระทำพระระเบียงล้อมสองชั้นผนังพระระเบียงข้างในประดับกระเบื้องปรุะ
ผนังหลังพระระเบียงเขียนเปนลายแย่งมุมพระระเบียงนั้นเปนจัตุระมุข
ทุกชั้นมีพระวิหารสี่ทิศบันดาหลังคาพระอุโบสถพระวิหารพระระเบียงนั้น
มุงกระเบื้องเคลือบศรีเขียวเหลืองสิ้น
ตรงพระวิหารทิศตวันตกออกไปให้ขุดรากพระเจดีย์ใหญ่
กว้างสิบวาลึกห้าศอกตอกเขมเอาอิฐหักใส่กะทุ้งให้แน่นแล้วเอาไม้ตะเคียนยาวเก้าวา
น่าศอกจัตุรัศเรียงระดับประกับกันเป็นตะรางสองชั้น
แล้วจึงเอาเหล็กดอกเห็ดใหญ่ยาวสองศอกตรึงตะหลอดไม้แกงแนงทังสองชั้น
หว่างช่องแกงแนงนั้นเอาอิฐหักทรายถมกะทุ้งให้แน่นดีแล้วรุ่งขึ้นณะวันศุกร์
เดือนสามขึ้นสิบค่ำปีฃาลฉ้อศกเพลาเช้าสมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวเสดจ์พระราชดำเนิร
พร้อมด้วยพระราชวงษานุวงษ์เสนาพฤฒามาตย์ราชปโรหิตโหราจารย์
มายังที่ลานพระมหาเจดีย์ จึงให้ชักชะลอพระพุทธปติมากรศรีสรรเพชญ์อันชำรุด
รับมาแต่กรุงเก่า เข้าวางบนราก
ได้ศุภฤกษประโคมฆ้องกลองแตรสังข์ดุริยางคดนตรีปี่พาทย์
เสดจ์ทรงวางอิฐทองอิฐนากอิฐเงินก่อรากข้าทูลลอองทุลีพระบาททังปวงระดมกันก่อถาน
กว้างแปดวาถึงที่บันจุจึงเชิญพระบรมธาตุ์แลฉลองพระเขี้ยวแก้วองค์หนึ่ง
พระเขี้ยวทององค์หนึ่งพระเขี้ยวนากองค์หนึ่ง บันจุในห้องพระมหาเจดีย์
แล้วก่อสืบต่อไปจนสำเรจ์ยกยอดสูงแปดสิบสองศอกกระทำพระระเบียงล้อมสามด้าน
ผนังนั้นเขียนนิยายรามเกรียรดิ์จึงถวายนามพระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชญดาญาณ
แลในวงพระระเบียงชั้นในมีพระมหาธาตุ์สี่ทิศนอกพระระเบียงชั้นนอก
หว่างพระวิหารคตนั้น มีพระเจดีย์ถานเดียวห้าพระองค์สี่ทิศญี่สิบพระองค์
เข้ากันทังพระมหาเจดีย์ใหญ่พระมหาธาตุ์เปนญี่สิบห้าพระองค์บันจุพระบรมธาตุสิ้น
แลมีพระวิหารคตสี่ทิศกำแพงแก้วคั่นประตูซุ้มประดับกระเบื้องเคลือบสองประตู
มีรูปสัตว์ประตูละคู่ ทำหอไตรย์มุงกระเบื้องหุ้มดิบุก
ฝาแลเสาปิดทองลายรดน้ำแลตู้รูปปราสาทใส่คำภีร์พระปะริยัติไตรย์ปิฎก
ทำการบุเรียนหอระฆัง พระวิหารน้อยซ้ายขวาสำหรับทายกไว้พระพุทธรูป
ขุดสระน้ำปลูกพรรณไม้ทำศาลารายห้าห้องเจ็ดห้องเก้าห้องเปนสิบเจ็ดศาลา
เขียนเรื่องพระชาฎกห้าร้อยห้าสิบพระชาติ์ทังตำรายาแลฤาษีดัดตนไว้
เปนทานทำกำแพงแก้วล้อมรอบนอก มีประตูซุ้มประดับกระเบื้องถ้วยสี่ประตู
มีรูปอสูรประจำประตูละคู่ มีประตูซุ้มประดับกระเบื้องเคลือบเก้าประตู
ทังประตูกำแพงคั่นสองเปนสิบเบ็ดประตูมีรูปสัตว์ประตูละคู่เปนรูปสัตว์ญี่สิบสองตัว
แล้วทำตึกแลกุฎีสงฆ์หลังละสองห้องสามห้องสี่ห้องห้าห้องหกห้องเจ็ดห้อง
ฝากะดานพื้นกะดานมุงกระเบื้องเปนกุฎีร้อยญี่สิบเก้าทำหอฉัน
หอสวดมนต์ศาลาต้มกรักตากผ้า สระน้ำ ทำกำแพงล้อมกุฎีอีกวงหนึ่ง
แลรีมฝั่งน้ำนั้นมีศาลาสามหน้าต้นตะพานพระสงฆ์สรงน้ำทำเวจกุฎีสี่หลัง
แลในพระอุโบสถพระวิหารพระระเบียงนั้นเชิญพระพุทธปติมากร
อันหล่อด้วยทองเหลืองทองสำฤท ชำรุดปรักหักพัง
อยู่ณะเมืองพระพิศณุโลกเมืองสวรรคโลกเมืองศุกโขไทเมืองลพบุรี
เมืองกรุงเก่าวัดศาลาสี่หน้าใหญ่น้อยพันสองร้อยสี่สิบแปด พระองค์ลงมา
ให้ช่างหล่อต่อพระสอพระเศียรพระหัตถ์พระบาทแปลงพระภักตร์พระองค์ให้งามแล้ว
พระพุทธรูปพระประธานวัดศาลาสี่หน้าน่าตักห้าศอกคืบสี่นิ้วเชิญมาบุณะ
ปติสังขรณเสรจ์แล้ว ประดิษถานเปนพระประธานในพระอุโบสถ
บันจุพระบรมธาตุ์ถวายพระนามว่าพระพุทธเทวะปติมากร
แลผนังอุโบสถเขียนเรื่องทศชาติ์ทระมานท้าวมหาชมภูแลเทพชุมนุม
พระพุทธรูปยืนสูงญี่สิบศอก ทรงพระนามว่าพระโลกนาถสาศดาจารย์
ปรักหักพังเชิญมาแต่วัดศรีสรรเพชญ์ กรุงเก่า
ปติสังขรณ์เสรจ์แล้วเชิญประดิษถานในพระวิหารทิศตะวันออกมุกหลัง
บันจุพระบรมธาตุ์ด้วย ผนังเขียรพระโยคาวจรพิจาระณาอาศภสิบ
และอุประมาญาณสิบพระพุทธรูปวัดเขาอินเมืองสวรรคโลก
หล่อด้วยนากน่าตักสามศอกคืบหาพระกรมิได้
เชิญลงมาบุณะปติสังขรณด้วยนากเสรจ์ แล้วประดิษถานไว้เปนพระประธาน
ในพระวิหารทิศตวันออกบันจุพระบรมธาตุ์
ถวายพระนามว่าพระเจ้าตรัสในควงไม้พระมหาโพธิ์มีต้นพระมหาโพธิ์ด้วย
แลผนังนั้นเขียนเรื่องมารพะจล พระพุทธรูปน่าตักสี่ศอกห้านิ้ว
เชิญมาแต่กรุงเก่าปติสังขรณ์เสรจ์แล้วประดิษถานไว้ในพระวิหารทิศไต้
ถวายพระนามว่าพระพุทธิเจ้าเทศนาพระธรรมจักรมีพระปัญจะวักคีทังห้า
นั่งฟังพระธรรมเทศนาด้วย แลผนังนั้นเขียนเรื่องเทศนาพระธรรมจักร
แลเทศนาดาวดึงษ์พระพุทธรูปน่าตักสามศอกคืบสิบนิ้ว
เชิญมาแต่ลพบูรีปติสังขรณ์เสรจ์แล้วประดิษถานไว้ในพระวิหารทิศตะวันตก
บันจุพระบรมธาตุ์ถวายพระนามว่าพระนาคปรก
มีพญานาคแผลงฤทธิ์เลิกพั้งพานมีต้นจิกด้วยแลผนังนั้นเขียนเรื่องพระเกษธาตุ์
พระพุทธรูปหล่อใหม่สูงแปดศอกคืบห้านิ้ว ประดิษฐานไว้ในพระวิหารทิศเหนือ
บันจุพระบรมธาตุ์ ถวายพระนามว่าพระป่าเลไลย
มีช้างถวายคนทีน้ำมีวานรถวายรวงผึ้งแลผนังนั้นเขียนไตรย์ภูมมีเฃาพระสุเมรุราช
แลเขาสัตตะพันท์ทวีปใหญ่ทังสี่แลเฃาพระหิมพานต์อะโนดาตสระแลปัญจะมหานัที
พระพุทธรูปในพระอุโบสถอารามเก่าน่าตักสี่ศอกเชิญเข้าประดิษฐานไว้
เปนพระประธานในการบุเรียร แล้วจัดพระพุทธรูปใส่ในพระระเบียงชั้นในชั้นนอก
แลพระวิหารคต เปนพระพุทธรูปมาแต่หัวเมือง ชำรุดปติสังขรณ์ขึ้นใหม่
หกร้อยแปดสิบเก้าพระองค์พระพุทธรูปทำด้วยอิฐปูน
สำหรับอารามชำรุดอยู่ร้อยแปดสิบสามพระองค์เข้ากันเปนพระพุทธรูป
แลพระอรหรรต์แปดร้อยเจดสิบสองพระองค์ลงรักปิดทองสำเรจ์เหลือนั้น
ข้าทูลลอองทุลีพระบาทสัปรุษทายกรับไปบุณะไว้ในพระอารามอื่น
แลการถาปะนาพระอารามเจ็ดปีห้าเดือนญี่สิบแปดวันจึงสำเรจ์
สิ้นพระราชทรัพย์แต่ที่จำได้คิดค่าดินถมอิฐปูนไม้ทรุงสักขอนสักไม้แก่น
เหล็กกระเบื้องฟืนไม้จากทำโรงงานร่างร้านเรือนฃ้าพระเสากระดานกุฎี
น้ำอ้อนน้ำมันยางชันดีบุก ทองเหลืองทองแดงศรี ผึ้ง
หล่อถ่านกระจกน้ำรักทองคำกระดาดชาดเสนเครื่องเขียนรงดินแดง
พระราชทานช่างแลเลี้ยงพระสงฆ์เลี้ยงช่างแล้วช่วยคนชายสกันหกสิบหกคน
สมโนครัวสองร้อยญี่สิบสี่คนเปนเงินเก้าสิบห้าชั่งสิบเบดตำลึง
สักแขนขวาถวายเปนข้าพระขาดไว้ในพระอาราม
ตั้งหลวงพิทักษ์ชินศรีเจ้ากรมขุนภักดีรศธรรม
ปลัดกรมควบคุมข้าพระรักษาพระอารามเข้ากันสิ้นพระราชทรัพย์ส้างและช่วยคน
เปนเงินสามพันเจ็ดร้อยแปดสิบห้าชั่งหกตำลึง
แล้วทรงพระกรรุณาให้เอาแพรลายย้อมครั่งทรงพระพุทธรูป
ในพระวิหารทิศพระระเบียง พระวิหารคตการบุเรียนพระมหาธาตุ์เจดีย์ใหญ่น้อย
สิ้นแพรร้อยพับแต่พระพุทธเทวะปติมากรในพระอุโบสถ
ทรงผ้าศรีทับทิมชั้นในตาดชั้นนอก
ครั้นณะวันศุกร์เดือนห้าแรมสิบสองค่ำปีระกาตรีนิศก
ให้ตั้งการฉลองอาราธนา พระราชาคณะถานานุกรมอะธิการ
อันดับฝ่ายคันธะธุระวิปัศนาธุระพันรูปพร้อมกันณะพระอุโบสถ
เพลาบ่ายแล้วสี่โมงห้าบาตสมเดจ์พระบรมนารถบรมบพิตร์พระพุทธิเจ้าอยู่หัว
เสดจ์พระราชดำเนิรพร้อมด้วยสมเดจ์พระอนุชาธิราชวงษานุวงษ์
เสนาพฤฒามาตย์ราชปโรหิตาจารย์มายังพระอุโบสถทรงสมาทานพระอุโบสถศีล
แล้วหลั่งน้ำอุทิโสทกบลงเหนือพระหัตถ์พระพุทธปติมากร ถวายพระอาราม
ตามพระบาฬีแก่พระสงฆ์มีองค์พระพุทธปติมากรเปนประธานมีนามปรากฏ
ชื่อวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาศมอบถวายพระวัณะรัตนพิพัฒญาณอดุล
สุนธรวรนายกปิฎกะธรามหาคะนิศรบวร ทักขิณาคณะสังฆารามคามวาสี
สถิตย์ในวัดพระเชตุพน แลัวถวายแก่พระพุทธปติมากร แพรยกไตรย์
หนึ่งบาตร์เหล็กเครื่องอัฐะบริฃารพร้อมย่ามกำมะหยี่
เครื่องย่ามพร้อมพัชแพรร่มแพรเสื่ออ่อนโอเถาโอคณะกาน้ำช้อนมุกขวดแก้ว
ใส่น้ำผึ้งน้ำมันพร้าวน้ำมันยา กลักใส่เทียนธูปสิ่งละร้อย
ไม้เท้ารองเท้าสายสะเดียงพระสงฆ์พันหนึ่งก็ได้เหมือนกันทุกองค์
ครั้นจบพระบาฬีที่ทรงถวายพระสงฆ์รับสาธุพร้อมกันประโคมดุริยางค์ดนตรี
แตรสังข์ฆ้องกลองสนั่นไปด้วยสรัทสำเนียงกึกก้องโกลาหล
พระสงฆ์รับพระราชทานแล้วไปสรงน้ำครองไตรย์มาสวดพระพุทธมนต์
เพลาเยนวันละพันรูปปรนิบัดิพระสงฆ์ฉันเช้าเพนสามวันพันรูปถวายกระจาดทุกองค์
ให้มีพระธรรมเทศนาบอกอานิสงษ์ทุกวันแล้วปรนิบัดิพระสงฆ์
ซึ่งศรัทธาทำดอกไม้เพลิงบูชาพระรัตนไตรย์ฉันเช้าทั้งเจดวัน
เปนพระสงฆ์หกร้อยญี่สิบสี่รูป ถวายผ้าสบงทุกองค์ถวายบาตร์เหล็ก
ซึ่งพระสงฆ์ไม่มีครองแล้วถวายกระจาดเสื่อร่มรองเท้าธูปเทียนไม้เท้าด้วย
แล้วให้ตั้งโรงฉ้อทานเลี้ยงสมณะชีพราหมณะ
อนาประชาราษฎรทังปวงแลมีโฃนอุโมงโรงใหญ่
หุ่นละคอนมอญรำระบำมงครุ่มคุลาตีไม้ปรบไก่งิ้วจีนญวนหกขะเมน
ไต่ลวดลอดบ่วงรำแพนนอนหอกดาบโตฬ่อแก้วแลมวย
เพลากลางคืนประดับไปด้วยประทีปแก้วระย้าแก้วโคมพวงโคมราย
แลดอกไม้รุ่งสว่างไปทั้งพระอาราม แล้วให้มีหนังคืนละเก้าโรง
มีดอกไม้เพลิงคืนละสองร้อยพุ่มระทาใหญ่แปดระทาพลุะประทัดพะเนียง
ดอกไม้ม้าดอกไม้กะถางดอกไม้กลต่างต่างแลมังกรฬ่อแก้ว
ญวนรำโคมเปนที่โสรมนัศบูชาโอฬาริกวิเศศ
เปนพระราชทรัพย์ทิ้งทานต้นกรรมพฤกษ์ฉลากพิกัดค่าพระราชบุตรบุตรี
พระภาคีไนยราชแลนางพระสนม ราชกุญชรอัศดรนาวาฉลากละห้าชั่งสี่ชั่งสองชั่ง
เป็นเงินสามร้อยสามสิบแปดชั่ง เงินใส่ผลมะนาวร้อยหกสิบแปดชั่งเข้ากัน
ทิ้งทานห้าร้อยหกชั่งคิดทังเงินค่าผ้าทรงพระ ดอกไม้สดบูชา
เลี้ยงพระสงฆ์กระจาดและโรงฉ้อทานเครื่องไทยทาน
ทำเครื่องโขนโรงโขนเครื่องเล่นเบ็ดเสร็จ
พระราชทานการมะโหระสพแลถวายระย้าแก้วโคมแก้วบูชาไว้ในพระอาราม
เปนเงินในการฉลองพันเก้าร้อยสามสิบชั่งสี่ตำลึงเข้ากัน
ทั้งสร้างเปนพระราชทรัพย์ห้าพันแปดร้อยสิบเบดชั่ง
ครั้นเสรจ์การฉลองพระอารามแล้วพายหลังทรงพระกรรุณา
ให้อัญเชิญพระพุทธปฏิมากรทังสอง ซึ่งสถิตย์ในพระวิหารฝ่ายทักขิณทิศ
แลทิศประจิมนั้นขึ้นไปประดิษถานไว้ ณพระวิหารวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
ให้อัญเชิญพระพุทธปฏิมากรทังสองพระองค์
ซึ่งเชิญมาแต่เมืองศุกโขไทน่าตักห้าศอกคืบกับนิ้วหนึ่งเท่ากัน
พระองค์หนึ่งทรงพระนามพระพุทธชินราชเข้าประดิษฐานไว้แทนที่ในพระวิหาร
ฝ่ายทักขิณทิศ พระองค์หนึ่งทรงพระนามพระพุทธชินศรีเข้าประดิษถาน
ไว้แทนที่ในพระวิหารฝ่ายปัจจิมทิศคงดังเก่าซึ่งทรงพระราชศรัทธาบำเพ็ญพระราชกุศล
ทั้งนี้ ใช่พระไทยจะปรารถนาสมบัติบรมจักรจุลจักรท้าวพญาสามลราช
แลสมบัติอินท์พรหมหามิได้ ตั้งพระไทยหมายมั่น
พระบรมโพธิญานในอนาคตกาลจะรื้อสัตว์ให้พ้นจากสงสารทุกข์ แลการพระราชกุศล
ทั้งนี้ ฃออุทิศให้แก่เทพยุเจ้าในอนันตะจักรวาฬแลเทพยุเจ้าในฉกามาพจรแล
โสฬศมหาพรหม อากาศเทวดาพฤกษเทวดาภูมเทวดาอารักษเทวดาแลกษัตราธิราช
พระราชวงษานุวงษ์เสนาพฤฒามาตย์ราชปโรหิตสมณชีพราหมณ์อนาประชาราษฎร
ทั่วสกลราชอาณาจักรในมงคลทวีป จงอนุโมทนาเอาส่วนพระราชกุศลนี้
ให้เปนบุญลาภศิริสวัสดิทีฆายุศมฯ”
*

* หมายเหตุ : อักขรวิธีตามต้นฉบับ


Image
พระอุโบสถและซุ้มเสมายอดเจดีย์

Image
พระพุทธรูปเก่าแก่ที่พระระเบียงคดรอบพระอุโบสถ


(มีต่อ ๒)
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
เว็บมาสเตอร์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 มี.ค. 2005
ตอบ: 993

ตอบตอบเมื่อ: 16 เม.ย.2008, 4:22 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
“พระพุทธชินศรีมุนีนาถ อุรคอาสนบัลลังก์ อุทธังทิศภาคนาคปรกดิลกภพบพิตร”
พระพุทธรูปปางนาคปรก ประดิษฐาน ณ พระวิหารทิศ ทางด้านตะวันตก


Image
พระพุทธชินศรีมุนีนาถฯ พระพุทธรูปปางนาคปรก อีกมุมหนึ่ง


ครั้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่
เป็นเวลานานถึง ๑๖ ปี ๗ เดือน ขยายเขตพระอารามด้านใต้และตะวันตก
คือส่วนที่เป็นพระวิหารพระพุทธไสยาสน์ สวนมิสกวันสถาปนาขึ้นใหม่
พระมณฑป ศาลาการเปรียญ และสระจระเข้บูรณปฏิสังขรณ์ใหม่
เป็นโบราณสถานในพระอารามหลวงที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้
แม้การบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งล่าสุดเมื่อคราวเฉลิมฉลองกรุงเทพฯ ๒๐๐ ปี
เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๕ เป็นเพียงซ่อมสร้างของเก่าให้ดีขึ้น มิได้สร้างเสริมสิ่งใดๆ

เกร็ดประวัติศาสตร์ของการสถาปนาและการบูรณปฏิสังขรณ์วัดโพธิ์แห่งนี้
บันทึกไว้ว่า รัชกาลที่ ๑ และรัชกาลที่ ๓ ขุนนาง เจ้าทรงกรมช่างสิบหมู่
ได้ระดมช่างในราชสำนัก ช่างวังหลวง ช่างวังหน้า และช่างพระสงฆ์ที่อยู่ในวัดต่างๆ
ผู้เชี่ยวชาญงานศิลปกรรมสาขาต่างๆ ได้ทุ่มเทผลงานสร้างสรรค์พุทธสถาน
และสรรพสิ่งที่ประดับอยู่ในวัดพระอารามหลวง
ด้วยพลังศรัทธาตามพระราชประสงค์ของพระองค์ท่านที่ให้เป็นแหล่งรวม
สรรพศิลป์ สรรพศาสตร์ เปรียบเป็นมหาวิทยาลัยแห่งสรรพวิชาไทย
(มหาวิทยาลัยเปิดแห่งแรกของไทย) ที่รวบรวมเอาภูมิปัญญาไทย
ไว้เป็นมรดกให้ลูกหลานไทยได้เรียนรู้กันอย่างไม่รู้จบสิ้น

Image
เจดีย์ ๔ รัชกาล และตุ๊กตาหินจีน


จักรพันธุ์ โปษยกฤต จิตรกรชื่อดังของไทย กล่าวไว้ในหนังสือ
“โบสถ์วัดโพธิ์” เมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๒ ว่า

“ศิลปศาสตร์ในวัดโพธิ์ จึงเสมือนโอฆะแห่งวิชา
ที่สามารถตักตวงได้ ยังประโยชน์แก่กุลบุตร กุลธิดา
ให้อุดมสมบูรณ์อลังการด้วยปัญญาอยู่มิรู้เหือดแห้ง”


Image
ตุ๊กตาหินจีนที่พบได้มากมายภายในวัด

Image
สางแปลง เฝ้าอยู่ที่ซุ้มประตูกำแพงแก้ว

Image
มองผ่านบุษบกเข้าไปภายในศาลาการเปรียญ (พระอุโบสถเก่า)

Image
บริเวณศาลาทิศรอบพระมณฑป (หอไตรจตุรมุข)

Image
ซุ้มประตูทางเข้าพระมหาเจดีย์สี่รัชกาล

Image
พระพุทธรูปเก่าแก่ที่พระระเบียงคดรอบพระอุโบสถ


(มีต่อ ๓)
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
เว็บมาสเตอร์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 มี.ค. 2005
ตอบ: 993

ตอบตอบเมื่อ: 17 เม.ย.2008, 1:42 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
“พระพุทธเทวปฏิมากร” พระประธานในพระอุโบสถ


• ศาสนสถานและศาสนวัตถุอันงดงามล้ำค่า

ศาสนสถานและศาสนวัตถุสิ่งสำคัญที่น่าสนใจในวัดพระเชตุพนฯ นั้น
มีมากมายนับตั้งแต่ พระอุโบสถ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระประธาน
นามว่า “พระพุทธเทวปฏิมากร” อันหมายถึง เทวดามาสร้างไว้
เนื่องด้วยเป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะงดงามเป็นอย่างยิ่งสมกับชื่อ

ที่ใต้ฐานชุกชีพระแท่นประดิษฐานพระพุทธเทวปฏิมากร
พระประธานในพระอุโบสถ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่ก่อไว้ ๓ ชั้นนั้น
ในชั้นที่ ๑ ได้บรรจุพระบรมอัฐิ (บางส่วน)
และพระบรมราชสรีรางคารของบุรพกษัตริย์รัชกาลที่ ๑ ไว้ด้วย


“พระพุทธเทวปฏิมากร” พระประธานในพระอุโบสถ
เป็นพระพุทธรูปโบราณ ปางสมาธิ หน้าตักกว้าง ๕ ศอกคืบ ๔ นิ้ว

มีหลักฐานปรากฏใน ‘จารึกวัดโพธิ์’ ไว้ว่า
เดิมพระพุทธเทวปฏิมากรประดิษฐานอยู่ ณ วัดศาลาสี่หน้า (วัดคูหาสวรรค์)
เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสร้างวัดโพธาราม
ให้เป็นวัดใหญ่สำหรับพระนคร และได้ทรงขนานนามใหม่ว่า
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม พระองค์ได้ทรงเลือกหาพระพุทธรูป
ที่มีพุทธลักษณะงามสมควรเป็นพระประธานในพระอุโบสถของวัด
จึงได้พบและเลือกพระพุทธรูปองค์นี้จากวัดศาลาสี่หน้า (วัดคูหาสวรรค์) ดังกล่าว

ครั้งนั้น จึงโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญมาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ
ถวายพระนามว่า “พระพุทธเทวปฏิมากร”

Image
“พระพุทธเทวปฏิมากร” นามอันมีความหมายว่า เทวดามาสร้างไว้


ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓
โปรดเกล้าฯ ให้รื้อพระอุโบสถเก่า ซึ่งสร้างไว้ตั้งแต่ครั้งรัชกาลที่ ๑
ลงทั้งสิ้น แล้วทรงสร้างขึ้นใหม่ให้ใหญ่โตกว่าเก่า

ส่วนฐานพระพุทธเทวปฏิมากรนั้นรื้อของเก่าทำขึ้นใหม่ขยายเป็น ๓ ชั้น
พระสาวกเดิมมี ๒ องค์ ทรงสร้างขึ้นใหม่อีก ๘ องค์
รวมเป็นพระสาวก ๑๐ องค์ ดังที่ปรากฏอยู่จนกระทั่งถึงทุกวันนี้

ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
มีพระราชดำริถึงพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
ซึ่งพระเจ้าลูกเธอในรัชกาลนั้นได้รับพระราชทานไปกระทำสักการบูชา
เมื่อเจ้านายพระองค์นั้นๆ สิ้นพระชนม์ไปแล้ว ไม่มีใครพิทักษ์รักษา
ได้เชิญมาเป็นของหลวง มีอยู่ควรจะประดิษฐานไว้ให้มหาชน
ได้กระทำสักการบูชาโดยสะดวก จึงโปรดเกล้าฯ ให้บรรจุพระบรมอัฐิ
ในกล่องศิลา แล้วเชิญมาบรรจุไว้ในพุทธอาศน์พระพุทธเทวปฏิมากร
และยังมีคำที่เล่าสืบกันมาว่าถึงพระอุณาโลมพระพุทธเทวปฏิมากรนั้น
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ได้โปรดให้สร้างถวายในครั้งนั้นด้วย

อนึ่ง พระพุทธเทวปฏิมากรพระองค์นี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
จะทรงเคารพนับถือว่าเป็นเจดีย์สถานสำคัญแห่งหนึ่งมาช้านานแล้ว
เพราะปรากฏในจดหมายเหตุว่า เมื่อได้ทรงรับพระบรมราชาภิเษกเสร็จแล้ว
ได้เสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยสถลมารค
เมื่อ ณ วันอังคาร เดือน ๖ แรม ๕ ค่ำ ปีกุน พุทธศักราช ๒๓๗๙

ครั้งนั้น จึงได้เสด็จประทับพระอุโบสถทรงกระทำสักการบูชา
พระพุทธเทวปฏิมากรเป็นปฐม เรื่องนี้เลยเป็นพระราชประเพณีตั้งแต่นั้นสืบมา
คือ เมื่อเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยสถลมารคนั้น
ย่อมเสด็จประทับ ณ พระอุโบสถ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
ทรงกระทำสักการบูชาพระพุทธเทวปฏิมากรสืบมาทุกรัชกาล

Image
ป้ายชื่อพระวิหารพระพุทธไสยาส


ในส่วนพระอุโบสถก็มีหลายสิ่งหลายอย่างที่น่าสนใจ แต่ที่แปลกและเด่นเป็นพิเศษ
คือ ลักษณะพระระเบียงคดที่สร้างล้อมพระอุโบสถถึง ๒ ชั้นด้วยกัน
แล้วเชื่อมต่อกับพระวิหารทิศทั้ง ๔ ทิศ นอกจากนี้รอบๆ ซุ้มประตูกำแพงแก้ว
ยังมี สางแปลง ซึ่งคล้ายตุ๊กตาจีนมีรูปร่างแปลกกว่าสัตว์ชนิดอื่น
คอยเฝ้าอยู่ที่ซุ้มประตูกำแพงแก้วทุกด้าน

อีกทั้งบรรดาพระพุทธรูปเก่าแก่ที่พระระเบียงคดรอบพระอุโบสถ
ล้วนมีความงดงามที่น่าทึ่งเช่นกัน จะพบว่าภายใต้พระพุทธรูปปูนปั้นเหล่านั้น
มีพระพุทธรูปโบราณหลายยุคทั้งสมัยอู่ทอง สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา ฯลฯ
บรรจุอยู่ภายใน ซึ่งตามประวัติการบูรณปฏิสังขรณ์วัดกล่าวว่า รัชกาลที่ ๑
โปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมพระพุทธรูปเก่าแก่จากหัวเมืองต่างๆ
นับได้จำนวนพันองค์ มาไว้รวมกันที่วัดโพธิ์แห่งนี้
แต่เพราะต้องการให้มองเห็นพระพุทธรูปเหล่านั้นเป็นลักษณะเดียวกันหมด
เพื่อความสวยงาม จึงเอาปูนมาพอกทับไว้ให้ได้ขนาด

ต่อมาปูนที่พอกไว้เริ่มทรุดโทรม จึงได้มีการปฏิสังขรณ์ใหม่อีกครั้ง
เมื่อกระเทาะปูนเก่าออกจึงพบพระหล่อสัมฤทธิ์ฝีมือช่างโบราณ
งดงามอย่างยากจะหาดูได้ ไม่เพียงพระพุทธรูปที่พระระเบียงคดเท่านั้น
พระพุทธรูปในพระวิหารทั้ง ๔ ทิศ ก็ล้วนเก่าแก่งดงาม
เป็นพระที่มีคุณค่าทั้งในทางฝีมือและวัตถุที่นำมาสร้าง
ซึ่งบางองค์งามประหลาดกว่าพระพุทธรูปในวัดอื่นๆ

Image
พระพุทธไสยาส องค์โตที่สุดในกรุงเทพฯ

Image
ลายจำหลักมุกภาพมงคล ๑๐๘ ประการที่พระบาทพระพุทธไสยาส


นอกจากนั้นก็ยังมีพระวิหารอีกหลายแห่งที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญไว้ทั้งสิ้น
ที่สำคัญคือ พระวิหารพระพุทธไสยาส หรือพระวิหารพระนอน
ภายในประดิษฐาน “พระพุทธไสยาส” หรือ “พระนอน” ปางโปรดอสุรินทราหู
ขนาดองค์ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ และใหญ่เป็นอันดับสามของประเทศไทย
ซึ่งเป็นพระพุทธไสยาสที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้าฯ
ให้สร้างขึ้น โดยสร้างองค์พระขึ้นก่อนแล้วจึงสร้างพระวิหารครอบในภายหลัง

“พระพุทธไสยาส” หรือ “พระนอน” วัดโพธิ์ ได้รับการยกย่องว่าเป็น
พระพุทธไสยาสที่มีพุทธลักษณะงดงามเป็นอันดับต้นๆ แห่งสยามประเทศ
มีขนาดความยาวถึง ๔๖ เมตรด้วยกัน ดำเนินการสร้างโดยช่างสิบหมู่หลวง
และมีหลวงพระองค์เจ้าลดาวัลย์ (กรมหมื่นภูมินทรภักดี) เป็นผู้กำกับดูแลการก่อสร้าง
เชื่อกันว่าเป็นปางโปรดอสุรินทราหู เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทองเหลืองอร่ามทั้งองค์
ในขณะที่พระพักตร์อิ่มเอิบ ดูขรึมขลังงดงามสมส่วน เปี่ยมไปด้วยพลังแห่งศรัทธายิ่งนัก

Image
พระพุทธไสยาส ทางด้านพระพักต์ขององค์พระ

Image
พระวิหารพระพุทธไสยาส


ลักษณะพระพุทธไสยาสโดยทั่วๆ ไป มีลักษณะบรรทมตะแคงขวา
พระบาทขวาเลื่อมพระบาทซ้าย แต่พระพุทธไสยาสวัดโพธิ์นั้น
มีความแตกต่างออกไปเป็นเอกลักษณ์พิเศษ
คือ พระบาททั้งซ้ายและขวานั้นซ้อนเสมอกัน

อาจเป็นความตั้งใจของช่างสิบหมู่หลวงผู้สร้างที่ตั้งใจจะแสดงลวดลาย
ลักษณะเป็นภาพมงคล ๑๐๘ ประการบนฝ่าพระบาททั้งสองก็เป็นได้
ที่น่าทึ่งคือลายจำหลักมุกที่งดงามโดดเด่นอย่างยิ่งบนฝ่าพื้นพระบาท

ซึ่งเป็นลายศิลปะไทยกับจีนผสมผสานกันกลมกลืนลงตัวอย่างประณีตศิลป์
หากพิจารณาแล้ว ภาพมงคล ๑๐๘ ประการ และลวดลายภูเขาต่างๆ
ในป่าหิมพานต์เป็นคติแบบไทยที่รับมาจากชมพูทวีป
ส่วนภาพนก หงส์ ภูเขา เมฆ ฯลฯ รวมทั้งแนวคิดเรื่องฮวงจุ้ยเป็นคติแบบจีน

อนึ่ง การประดับลวดลายจำหลักมุกภาพมงคล ๑๐๘ ประการไว้ที่ฝ่าพระบาทนั้น
เป็นไปตามคติอินเดียโบราณที่เชื่อว่าพระพุทธเจ้าทรงมีพุทธลักษณะสำคัญอย่างหนึ่ง
คือฝ่าพระบาทมีลายมงคล ๑๐๘ ประการ ได้แก่ ปราสาท หอยสังข์ ช้าง แก้ว
นก หงส์ ภูเขา เมฆ ฯลฯ ตรงกลางเป็นรูปกงจักรตามตำรามหาปุริสลักขณะ
แสดงถึงพระบุญญาบารมีอันแรงกล้า ซึ่งหากเป็นพระพุทธรูปปางอื่นๆ
จะมองไม่เห็น ยกเว้นพระพุทธรูปปางไสยาสน์
ทำให้ช่างผู้สร้างบรรจงประดับลวดลายอันวิจิตรไว้อย่างเต็มที่

Image
พระพุทธไสยาส ที่มีพุทธลักษณะงดงามเป็นอันดับต้นๆ แห่งสยามประเทศ

Image
พระพุทธไสยาส ทางด้านพระพักต์ขององค์พระ

Image
พระบาทซ้ายและขวาซ้อนเสมอกัน


(มีต่อ ๔)
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
เว็บมาสเตอร์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 มี.ค. 2005
ตอบ: 993

ตอบตอบเมื่อ: 17 เม.ย.2008, 7:01 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล เจดีย์ประจำรัชกาลที่ ๑-๔


ส่วนเหตุที่ “วัดโพธิ์” ได้รับการขนานนามว่าเป็น “อาณาจักรแห่งเจดีย์” นั้น
ก็เนื่องมาจากว่าที่นี่มีเจดีย์กว่าร้อยองค์ เป็นวัดที่ได้ชื่อว่ามีเจดีย์มากที่สุดแห่งหนึ่ง
ทั้งเจดีย์รายและเจดีย์หมู่ แต่เจดีย์ที่มีความงดงามและโดดเด่นที่สุดก็คือ
พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล ซึ่งเป็นเจดีย์ประจำพระองค์ของรัชกาลที่ ๑-๔
อยู่ในบริเวณกำแพงสีขาว ซุ้มประตูทางเข้าเป็นสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์แบบจีน
ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบ เครื่องถ้วยหลากสี มีตุ๊กตาหินจีนประตูละคู่
พระมหาเจดีย์แต่ละองค์เป็นเจดีย์ย่อไม้สิบสองเพิ่มมุมสูง ๔๒ เมตร
ประดับกระเบื้องเคลือบและกระเบื้องเครื่องถ้วยลวดลายต่างๆ สังเกตได้ง่าย

เจดีย์องค์ที่ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบ สีเขียว มีนามว่า
“พระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชดาญาณ” เป็นเจดีย์ประจำรัชกาลที่ ๑
สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑
เพื่อครอบพระพุทธรูป “พระศรีสรรเพชญ์” ซึ่งเป็นพระพุทธรูปยืนองค์ใหญ่สูง ๑๖ เมตร
เดิมประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีสรรเพชญ์ ในพระราชวังพระนครศรีอยุธยา
ที่ถูกพม่าทำลายจนเกินจะปฏิสังขรณ์ใหม่ได้ ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ

เจดีย์องค์ที่ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบ สีขาว มีนามว่า
“พระมหาเจดีย์ดิลกธรรมกรกนิทาน” เป็นเจดีย์ประจำรัชกาลที่ ๒
สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓
ทรงพระราชอุทิศถวายแด่พระบรมราชชนก คือรัชกาลที่ ๒

เจดีย์องค์ที่ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบ สีเหลือง มีนามว่า
“พระมหาเจดีย์มุนีบัตรบริขาร” เป็นเจดีย์ประจำรัชกาลที่ ๓
สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓ เช่นกัน ทรงพระราชอุทิศถวายเป็นพุทธบูชา

ส่วนเจดีย์องค์สุดท้ายนั้นเป็นเจดีย์องค์ที่ประดับด้วยกระเบื้อง สีขาบหรือสีน้ำเงินเข้ม
มีนามว่า “พระมหาเจดีย์ทรงพระศรีสุริโยทัย” เป็นเจดีย์ประจำรัชกาลที่ ๔
สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
ทรงสร้างขึ้นตามแบบพระเจดีย์ศรีสุริโยทัย แห่งกรุงศรีอยุธยา เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา

Image
เจดีย์ประจำรัชกาลที่ ๑ และรัชกาลที่ ๓


ในสมัยรัชกาลที่ ๔ นั้นได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง
พระมหาเจดีย์ทรงพระศรีสุริโยทัย ไว้ ๑ องค์ แต่ยังไม่ทันแล้วเสร็จ
ครั้นใกล้จะเสด็จสวรรคตได้มีพระราชดำรัสเฉพาะกับ รัชกาลที่ ๕ ว่า

“พระเจดีย์วัดพระเชตุพนฯ นั้นกลายเป็นใส่คะแนนพระเจ้าแผ่นดินไป
ถ้าจะใส่คะแนนอยู่เสมอจะไม่มีที่สร้าง ควรจะถือว่า
พระเจ้าแผ่นดินทั้งสี่พระองค์นั้น ท่านได้เคยเห็นกันทั้งสี่พระองค์
จึงควรมีพระเจดีย์อยู่ด้วยกัน ต่อไปอย่าให้ต้องสร้างทุกแผ่นดินเลย”
(พระราชวิจารณ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
เรื่องจดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี พ.ศ.๒๓๑๐-๒๓๘๑)


Image
วัดโพธิ์ “อาณาจักรแห่งเจดีย์”

Image

Image
พระเจดีย์ราย


ส่วนบริเวณที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ก็คือ พระเจดีย์หมู่ห้าฐานเดียว
ที่สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
พระเจดีย์หมู่ห้าฐานเดียวนี้ประดิษฐานอยู่ตรงมุมพระวิหารคดทั้งสี่ด้าน
หมู่เจดีย์ประกอบไปด้วยพระเจดีย์ใหญ่ตรงกลาง
และล้อมรอบด้วยพระเจดีย์เล็กอีกสี่องค์อยู่บนฐานเดียวกัน
เป็นสถาปัตยกรรมเจดีย์ย่อไม้สิบสองและเจดีย์แบบไม้สิบสองเพิ่มมุม
ตัวเจดีย์ประดับด้วยกระเบื้องเครื่องถ้วยตัดประดิษฐ์เป็นลวดลายดอกไม้สวยงาม
และที่สำคัญภายในพระเจดีย์ได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ทุกองค์ด้วย

สำหรับ พระเจดีย์ราย ประดิษฐานอยู่รายรอบพระระเบียงชั้นนอก
เป็นสถาปัตยกรรมคล้ายเจดีย์หมู่ เจดีย์ย่อไม้สิบสอง มีทั้งหมด ๗๑ องค์
สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓
เดิมนั้นรัชกาลที่ ๓ ทรงมีพระราชประสงค์ให้เป็นที่บรรจุอัฐิของเจ้านายเชื้อพระวงศ ์

Image
รอยพระพุทธบาทจำลอง ประดิษฐาน ณ พิพิธภัณฑ์พระพุทธรูป
ภายในบริเวณพระมณฑป (หอไตรจตุรมุข)



นอกจากนี้ก็ยังมี รอยพระพุทธบาทจำลอง
ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างถวายไว้ในพระอารามแห่งนี้
ประดิษฐานอยู่ ณ พิพิธภัณฑ์พระพุทธรูป บริเวณพระมณฑป (หอไตรจตุรมุข)
ที่ด้านหน้าซุ้มประตูทางเข้าพระมณฑป (หอไตรจตุรมุข) มี “ยักษ์วัดโพธิ์” (ตัวจริง)
ซึ่งตนเล็กยืนเฝ้าประตูอยู่ในตู้กระจก มีจำนวนเพียง ๒ คู่ ๔ ตนเท่านั้น คือ
ยักษ์กายสีแดง มีชื่อว่า “พญาแสงอาทิตย์” กับ ยักษ์กายสีเขียว มีชื่อว่า “พญามัยราพณ์”
ตั้งเก็บไว้ในตู้กระจกหน้าซุ้มประตูทางเข้าฯ ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้

ยักษ์กายสีเทา มีชื่อว่า “พญาขร” กับ ยักษ์กายสีเนื้อ มีชื่อว่า “พญาสัทธาสูร”
ตั้งเก็บไว้ในตู้กระจกหน้าซุ้มประตูทางเข้าฯ ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ

“ยักษ์วัดโพธิ์” มีลักษณะคล้ายกับยักษ์ในวรรณคดีสำคัญเรื่องรามเกียรติ์
เช่นเดียวกับ “ยักษ์วัดพระแก้ว” หากแต่มีขนาดเล็กกว่ามาก
ที่มีตำนานเล่าขานว่าไปรบต่อสู้กับ “ยักษ์วัดแจ้ง” นั่นแหละ

สำหรับ พระมณฑป (หอไตรจตุรมุข) คืออาคารที่มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส
ความแตกต่างกันของรูปแบบหลังคาเป็นที่มาของชื่อเรียกมณฑปทรงต่างๆ
สำหรับพระมณฑปของวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) นั้น
เป็น พระมณฑปทรงปราสาทยอดมงกุฎ ซึ่งมีลักษณะผสมผสานกัน
ระหว่างทรงมงกุฎและจัตุรมุข คือ มีการก่อมุขยื่นออกไปอีกทั้ง ๔ ด้าน
ยอดประดับด้วยมงกุฎเช่นกัน โดยเป็นสถาปัตยกรรมประดับกระเบื้องเคลือบ
เครื่องถ้วยหลากสี ลวดลายงามวิจิตร ภายในพระมณฑปมี ตู้เก็บพระไตรปิฎก
มี ศาลาราย ล้อมพระมณฑป ๓ ด้าน ผนังภายในศาลารายมีภาพจิตรกรรม
เรื่องกำเนิดรามเกียรติ์ ประเพณีรามัญกวนข้าวทิพย์ เป็นต้น
ผนังภายนอกศาลารายมีศิลาจารึกโคลงสุภาษิตเรียกว่า โคลงโลกนิติ

Image
ภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนัง


โดยรอบพระอุโบสถของวัดจะมี ‘ซุ้มเสมา’
ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งซึ่งส่งผลให้ ‘ใบเสมา’
มีความโดดเด่นและมีความงดงามมากยิ่งขึ้น
ซุ้มเสมาเป็นอีกรูปแบบสถาปัตยกรรมหนึ่งที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรม
โดยสืบทอดแบบอย่างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย
เป็นแบบแผนที่ยังคงมีให้ศึกษามาจวบจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
สำหรับซุ้มเสมาของวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามนั้นเป็น
ซุ้มเสมายอดเจดีย์ คือซุ้มเสมาที่ทำเรือนซุ้มเป็นรูปสี่เหลี่ยม
ยอดซุ้มทำเป็นรูปทรงอย่างเจดีย์ มียอดแหลม


อีกทั้งยังมีโรงเรียนแพทย์แผนโบราณและการนวดแผนโบราณ
ที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก และสิ่งที่เป็นจุดเด่นอีกอย่างหนึ่งของวัด
ก็คือ ตุ๊กตาหินจีน ซึ่งมีจำนวนมากมายที่ประดับอยู่ตามซุ้มประตู
หรือบริเวณต่างๆ ภายในวัด อันเป็นเสน่ห์ของวัดโพธิ์ที่น่าสนใจไม่น้อย

Image
ซุ้มเสมายอดเจดีย์


(มีต่อ ๕)
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
เว็บมาสเตอร์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 มี.ค. 2005
ตอบ: 993

ตอบตอบเมื่อ: 24 มิ.ย.2008, 9:43 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
พระพุทธโลกนาถ ในพระวิหารทิศตะวันออก


ภายใน พระวิหารทิศตะวันออก บริเวณด้านหน้าพระอุโบสถของวัดโพธิ์
มีพระพุทธรูปยืนประดิษฐานอยู่ นามว่า “พระพุทธโลกนาถ” หรือนามทางการว่า
“พระพุทธโลกนาถ ราชมหาสมมตวงศ องคอนันตญาณสัพพัญญู สยัมภูพุทธบพิตร”

พระพุทธโลกนาถซึ่งเป็นพระพุทธรูปยืนปางห้ามญาตินี้มีขนาดสูง ๒๐ ศอก
เดิมประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีสรรเพชญ์ ในกรุงศรีอยุธยา
แต่เมื่อกรุงแตก วัดต่างๆ ถูกเผาทำลายรวมถึงวัดพระศรีสรรเพชญ์ด้วย
ดังนั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
ทรงสถาปนาวัดพระเชตุพนฯ ขึ้น จึงโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญ
พระพุทธโลกนาถจากวัดพระศรีสรรเพชญ์
มาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระวิหารทิศตะวันออกจนปัจจุบัน

นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปยืนอีกองค์หนึ่ง แต่ไม่ค่อยมีใครรู้จักมากนัก
เพราะเป็นพระพุทธรูปยืนที่ประดิษฐานอยู่ในพระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชรดาญาณ
เจดีย์ที่ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีเขียวซึ่งเป็นพระเจดีย์ประจำรัชกาลที่ ๑
“พระศรีสรรเพชญ์” นั้นเป็นพระพุทธรูปยืนขนาดสูง ๑๖ เมตร
เดิมประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีสรรเพชญ์ กรุงศรีอยุธยาเช่นเดียวกับพระพุทธโลกนาถ
และได้ถูกข้าศึกทำลายในคราวกรุงแตกเช่นเดียวกัน
อีกทั้งข้าศึกยังได้เอาไฟเผาเพื่อหลอมทองที่หุ้มองค์พระออกไปด้วย
องค์พระศรีสรรเพชญ์จึงมีความเสียหายอย่างหนัก

รัชกาลที่ ๑ เคยโปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมพระศรีสรรเพชญ์ที่ชำรุดมากด้วยการหล่อขึ้นใหม่
แต่มีผู้ทัดทานไว้ว่าพระศรีสรรเพชญ์ได้เคยสร้างสำเร็จเป็นองค์พระพุทธรูปแล้ว
ไม่ควรเอาเข้าไฟหล่อใหม่อีก พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ
ให้บรรจุพระศรีสรรเพ็ชญ์ที่เหลือแต่แกนพระไว้ในพระมหาเจดีย์
และถวายนามพระมหาเจดีย์ตามชื่อของพระพุทธรูปว่า
“พระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชดาญาณ” นั่นเอง

Image
“พระเจดีย์” ที่มุมพระอุโบสถ ด้านหน้าพระระเบียงคด

Image
Image
Image
Image
“พระเจดีย์” ที่มุมพระอุโบสถ ด้านหน้าพระระเบียงคด

Image
ถะ


(มีต่อ ๖)
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
เว็บมาสเตอร์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 มี.ค. 2005
ตอบ: 993

ตอบตอบเมื่อ: 24 มิ.ย.2008, 9:44 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
จารึกวัดโพธิ์ติดอยู่บนเสาพระระเบียงคดชั้นในรอบๆ พระอุโบสถ


• จารึกวัดโพธิ์

ในช่วงการบูรณปฏิสังขรณ์วัดโพธิ์ พระอารามหลวงประจำรัชกาล
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑
องค์ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ครั้งใหญ่อีกครั้งเมื่อปี พ.ศ.๒๓๗๓ นั้น
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ได้ทรงโปรดเกล้าฯ
ให้รวบรวมเลือกสรรตำรับตำราต่างๆ ชึ่งสมควรจะเล่าเรียน
เป็นชั้นสามัญศึกษามาตรวจตราแก้ไข ใช้ของเดิมบ้าง
หรือประชุมปราชญ์ผู้รู้หลักในวิชานั้นๆ ให้แต่งขึ้นใหม่บ้าง

ในส่วนของ “จารึกวัดโพธิ์” นั้น ได้เริ่มมีขึ้น
ในช่วงการบูรณปฏิสังขรณ์วัดครั้งใหญ่อีกครั้ง
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓
โดยการบูรณะในครั้งนั้น พระองค์ได้ทรงมีพระราชประสงค์
ให้พระอารามแห่งนี้เป็น “มหาวิทยาลัย” สำหรับประชาชนทั่วไป
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำเอาองค์ความรู้จากปราชญ์ของไทย
และสรรพศิลปวิทยาการต่างๆ เช่น ตำราการแพทย์ โบราณคดี
และวรรณกรรม โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอนทั้งหลาย ฯลฯ
มาจารึกลงบนแผ่นหินอ่อนจำนวน ๑,๓๖๐ แผ่น
ประดับไว้ตามบริเวณผนัง-เสาพระระเบียงรอบพระอุโบสถ
พระวิหาร วิหารคด และศาลารายรอบพระมณฑปภายในวัด

Image
จารึกวัดโพธิ์บนศาลาราย


ดังที่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ทรงกล่าวไว้ในคำนำหนังสือ ‘ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน’
ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ.๒๔๖๒
ว่า
“...ในการที่ทรงปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ มีพระราชประสงค์พิเศษอีกอย่างหนึ่ง
ซึ่งจะให้เป็นแหล่งเล่าเรียนวิชาความรู้ของมหาชนไม่เลือกชั้นบรรดาศักดิ์
ถ้าจะเรียกอย่างทุกวันนี้ ก็คือจะให้เป็นมหาวิทยาลัย
เพราะในสมัยนั้นยังไม่มีการพิมพ์หนังสือไทย
การเล่าเรียนส่วนสามัญศึกษาที่มีเรียนอยู่ตามวัดทั่วไป
แต่ส่วนวิสามัญศึกษาอันจะเป็นวิชาอาชีพของคนทั้งหลายยังศึกษาได้แต่ในสกุล
ผู้อยู่นอกสกุลโดยเฉพาะที่เป็นพลเมืองสามัญไม่มีโอกาสที่จะเรียนได้
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้รวบรวมเลือกสรรตำรับตำราต่างๆ ซึ่งสมควรจะเล่าเรียน
เป็นชั้นสามัญศึกษามาตรวจตราแก้ไข ใช้ของเดิมบ้าง
หรือประชุมผู้รู้หลักในวิชานั้นๆ โดยมาก เพื่อคนทั้งหลายไม่เลือกว่า
ตระกูลชั้นใดๆ ใครมีใจรักวิชาอย่างใด ก็ให้สามารถเล่าเรียนได้จาก
ศิลาจารึกที่วัดพระเชตุพนฯ จึงมีหลายอย่าง ทั้งเป็นความรู้ส่วนวรรณคดี
โบราณคดี และศัสตราคมต่างๆ เป็นอันมาก และได้เป็นประโยชน์แก่ผู้ศึกษา...”

Image
จารึกเกี่ยวกับจุดต่างๆ บนร่างกายมนุษย์


ศิลาจารึกทั้งหมดในวัดโพธิ์จากหนังสือ ‘ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน’
(คณะสงฆ์วัดพระเชตุพนจัดพิมพ์เป็นที่ระลึกสมโภชหิรัญบัฏ
และฉลองอายุวัฒนมงคล ๘๕ ปี พระธรรมปัญญาบดี พ.ศ.๒๕๔๔)
เมื่อแบ่งประเภทออกแล้วก็นับได้หลายหมวดด้วยกัน ดังนี้

หมวดประวัติ ได้แก่ จารึกเรื่องทรงสร้างวัดพระเชตุพน ครั้งรัชกาลที่ ๑,
จารึกครั้งรัชกาลที่ ๑ จดหมายเหตุเรื่องว่าด้วยพระบรมธาตุมาแต่เมืองน่าน,
การปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนถอดจากโคลงดั้นฯ, พระพุทธเทวปฏิมากร,
พระพุทธโลกนาถ, พระพุทธมารวิชัย, พระพุทธชินราช, พระพุทธชินศรี,
พระพุทธปาลิไลย, พระพุทธศาสดา, พระพุทธไสยาสน์,
รายการแบ่งด้านปฏิสังขรณ์ถอดจากโคลงดั้นฯ,
โคลงดั้นเรื่องปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน
(พระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส)
และโคลงบอกด้านการปฏิสังขรณ์

Image
จารึกเกี่ยวกับจุดต่างๆ บนร่างกายมนุษย์


หมวดพระพุทธศาสนา ได้แก่ จารึกเรื่องพระสาวกเอตทัคคะ ๔๑ องค์
ติดไว้ที่เชิงผนังหน้าต่างระหว่างพระอุโบสถ
เนื้อหาอธิบายถึงประวัติของพระเถระแต่ละรูป เหตุที่ออกบวช
และคุณสมบัติพิเศษที่ได้รับการยกย่องไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ
ของพระเถระแต่ละองค์ เช่น พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ ฯลฯ,
จารึกเรื่องพระสาวิกาเอตทัคคะ ๑๓ องค์
ที่อยู่เชิงผนังหน้าต่างพระวิหารพระพุทธไสยาสน์,
จารึกเรื่องอุบาสกเอตทัคคะ ๑๐ คน, จารึกเรื่องอุบาสิกาเอตทัคคะ ๑๐ คน,
จารึกเรื่องอสุภ ๑๐ และญาณ ๑๐, จารึกเรื่องฎีกาพาหุง ๘ บท,
จารึกเรื่องพระพุทธบาท, จารึกเรื่องธุดงค์ ๑๓, จารึกเรื่องพาหิรนิทาน,
จารึกเรื่องอรรถกถาชาดก, จารึกเรื่องศาลารายหลังที่ ๑,
จารึกเรื่องศาลารายหลังที่ ๒, จารึกเรื่องศาลารายหลังที่ ๓,
จารึกเรื่องศาลารายหลังที่ ๔, จารึกเรื่องศาลารายหลังที่ ๑๐,
จารึกเรื่องศาลารายหลังที่ ๑๒, จารึกเรื่องศาลารายหลังที่ ๑๓,
จารึกเรื่องศาลารายหลังที่ ๑๖, จารึกเรื่องศาลาการเปรียญ,
จารึกเรื่องเวสสันดรชาดก, จารึกเรื่องมหาวงษ์,
จารึกเรื่องนิรยกถา และจารึกเรื่องเปรตกถา

Image
จารึกวัดโพธิ์ติดอยู่บนเสาพระระเบียงคดชั้นในรอบๆ พระอุโบสถ


หมวดวรรณคดี ได้แก่ จารึกเรื่องรามเกียรติ์, จารึกนิทานสิบสองเหลี่ยม
ที่จารึกไว้ที่คอสอง เฉลียงศาลาล้อมพระมณฑปทิศตะวันตก
(ปัจจุบันศาลาแห่งนี้เป็นพิพิธภัณฑ์เก็บของมีค่าของวัด),
จารึกตำราฉันท์วรรณพฤติ, จารึกตำราฉันท์มาตราพฤติ,
จารึกเพลงยาวกลบทและกลอักษร,
จารึกโคลงกลบท ที่ติดอยู่ตามพระระเบียงของพระอุโบสถ
และจารึกโคลงภาพเรื่องรามเกียรติ์ ที่เป็นแผ่นหินอ่อนอยู่รอบพระอุโบสถ

หมวดทำเนียบ ได้แก่ จารึกทำเนียบตราตำแหน่งสมณศักดิ์,
จารึกทำเนียบหัวเมืองขึ้นของกรุงสยามและผู้ครองเมือง
และจารึกโคลงภาพคนต่างภาษา จารึกอยู่ตามผนังเฉลียงสกัดศาลารายรอบวัด
เพื่ออธิบายลักษณะ อุปนิสัย บ้านเมืองชาวต่างประเทศที่ชาวสยามคุ้นเคย

Image
แผ่นจารึกรูปร่างสวยงามพบเห็นได้ทั่วไปในวัดโพธิ์


หมวดประเพณี ได้แก่ จารึกเรื่องรามัญหุงข้าวทิพย์, จารึกเรื่องมหาสงกรานต์,
จารึกเกี่ยวกับริ้วกระบวนแห่พระกฐินพยุหยาตราทางสถลมารค เป็นต้น

หมวดสุภาษิต
ได้แก่ จารึกฉันท์กฤษณาสอนน้อง
อยู่ที่ผนังด้านในศาลาหน้าพระมหาเจดีย์หลังเหนือ,
จารึกฉันท์พาลีสอนน้อง อยู่ที่ผนังด้านในศาลาหน้าพระมหาเจดีย์ทิศใต้,
จารึกสุภาษิตพระร่วง, จารึกฉันท์อัษฎาพานร และจารึกโคลงโลกนิติ
มีจำนวน ๔๒๐ บทด้วยกัน อยู่ที่ผนังด้านนอกศาลาทิศพระมณฑป

หมวดอนามัย ได้แก่ จารึกโคลงภาพฤาษีดัดตน
เป็นท่าดัดตนทั้ง ๘๐ ท่าที่จะแก้การปวดเมื่อยของอวัยวะต่างๆ
และจารึกอาธิไท้โพธิบาทว์ เป็นต้น

รวมทั้ง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปั้นรูปสลักหินฤาษีดัดตน
ในท่าต่างๆ จำนวนทั้งหมด ๘๐ ท่า สำหรับอธิบายประกอบตำรับตำรา

Image
จารึกเกี่ยวกับโคลง กลอน ฉันท์ต่างๆ


การบูรณปฏิสังขรณ์วัดโพธิ์ครั้งใหญ่ในครั้งนั้น
ใช้เวลาไปถึง ๑๖ ปี ๗ เดือน จึงแล้วเสร็จ
ซึ่งไม่เพียงแต่จะทำให้วัดโพธิ์ได้ชื่อว่าเป็น “มหาวิทยาลัย” เท่านั้น
แต่ยังทำให้วัดโพธิ์ในตอนนั้นดูงดงามจนกวีเอก
อย่าง “สุนทรภู่” ถึงกับเอ่ยชมออกมาเป็นบทกลอนว่า

“.....เห็นวัดโพธิ์โสภาสถาพร
สง่างอนงามพริ้งทุกสิ่งอัน
โอ้วัดโพธิ์เป็นวัดกษัตริย์สร้าง
ไม่โรยร้างรุ่งเรืองดังเมืองสวรรค์.....”


เรียกได้ว่าพระองค์ทรงพัฒนาวัดนี้ในทุกด้านอย่างไม่ขาดตกบกพร่องเลยทีเดียว
ซึ่งในรัชกาลต่อมาๆ จนถึงรัชกาลปัจจุบัน ก็ได้โปรดให้มีการบูรณปฏิสังขรณ์เรื่อยมา
ถือเป็นวัดที่มีความสำคัญมาตลอดทุกรัชกาลในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

Image
โคลงกลอักษร “กลโคลงพรหมภักตร์”


ศิลาจารึกทั้งหมดนี้จึงเป็นความรู้ด้านศาสนา วิชาการวรรณคดี
โบราณคดี การแพทย์ ประวัติศาสตร์ และอีกหลายสาขา
ซึ่งทรงมุ่งหวังให้ยั่งยืนและเผยแพร่ให้ประชาชนศึกษาได้อย่างเสรี
เป็นแหล่งเล่าเรียนวิชาความรู้ของมหาชน โดยไม่เลือกชนชั้น วรรณะ
ยศถาบรรดาศักดิ์ เพราะในสมัยนั้นยังไม่มีหนังสือ ไม่มีโรงเรียน
การเล่าเรียนส่วนใหญ่จะมีสอนให้อยู่ตามวัดต่างๆ หรือตามบ้านผู้ดีมีสกุลเท่านั้น
พระอารามแห่งนี้จึงเปรียบเสมือนมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย
เพิ่มเติมจากการเล่าเรียนวิชาสามัญศึกษาที่มีอยู่ตามวัดทั่วไป
แม้ว่าเวลาจะผ่านไปกว่า ๑๗๘ ปี วัดโพธิ์ก็ยังคงเป็นแหล่งเรียนรู้สรรพวิทยา
เห็นได้จากความรู้เกี่ยวกับโยคะศาสตร์และตำราการนวดแผนโบราณวัดโพธิ์
เป็นที่รู้จักแพร่หลายออกไปทั่วโลกในปัจจุบัน

Image
จารึกโคลงกลอักษร “โคลงรวงผึ้ง”


(มีต่อ ๗)
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
เว็บมาสเตอร์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 มี.ค. 2005
ตอบ: 993

ตอบตอบเมื่อ: 28 มิ.ย.2008, 8:25 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
จารึกวัดโพธิ์บนศาลาราย


• มรดกความทรงจำแห่งโลก

ด้วยเหตุนี้ คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยแผนงานความทรงจำแห่งโลก
ประเทศไทย โดยคุณหญิงแม้นมาส ชวลิต ประธานคณะกรรมการฯ

จึงเสนอต่อคณะกรรมการองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ
(United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization)
หรือ องค์การยูเนสโก (UNESCO) จนกระทั่งมีมติรับรองให้ขึ้นทะเบียน
ศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) เป็นเอกสาร
“มรดกความทรงจำแห่งโลก” (Memory of the World)
ประจำปี พ.ศ.๒๕๕๒
ในส่วนภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หลังจากที่คณะกรรมการแห่งชาติฯ
ได้มีการเสนอต่อคณะกรรมการองค์การยูเนสโก ไปเมื่อปลายปี พ.ศ.๒๕๕๐
ซึ่งได้มีการรับรองแล้วในที่ประชุมใหญ่องค์การยูเนสโก ประเทศออสเตรเลีย

Image
เอกสารการขึ้นทะเบียนจารึกวัดโพธิ์เป็นมรดกความทรงจำแห่งโลกแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก


ทั้งนี้ องค์การยูเนสโกวิเคราะห์แล้วเห็นว่า
ศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)
ไม่ได้ให้ผลกระทบต่อหลายประเทศในโลก
แต่มีความสำคัญควรได้รับการขึ้นทะเบียนในระดับภูมิภาค
เนื่องจากองค์ความรู้ในสรรพศิลปวิทยาการต่างๆ ของศิลาจารึกดังกล่าว
มีความสำคัญระดับสากล และมีวิชาหลากหลายที่เป็นสากลด้วย
โดยเฉพาะเรื่องการแพทย์แผนโบราณ การบริหารกายเพื่อบำบัดโรค
เช่น ตำราแพทย์ วิชาฤาษีดัดตน เป็นต้น

คำว่า “มรดกความทรงจำแห่งโลก” (Memory of the World) คือ
มรดกเอกสารที่บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร (Documentary Heritage)
ที่เกี่ยวกับมรดกวัฒนธรรมแห่งโลก แสดงให้เห็นวิวัฒนาการของความคิด
การค้นพบ และผลงานของสังคมมนุษย์ เป็นมรดกตกทอดจากสังคม
ในอดีตให้แก่สังคมปัจจุบัน ที่จะสืบสานส่งต่อให้แก่สังคมในอนาคต

Image
จารึกในพระวิหารพระพุทธไสยาส


“มรดกความทรงจำแห่งโลก” (Memory of the World)
นี้จะแตกต่างจาก “มรดกโลก” (World Heritage) ที่เรารู้จักกันดี
ตรงที่ “มรดกโลก” นั้นเป็นมรดกที่ประกอบไปด้วยแหล่ง (sites)
หรือสถานที่ ทั้งที่เป็น ‘แหล่งธรรมชาติ’ หรือ ‘แหล่งทางวัฒนธรรม’
ที่มนุษย์สรรค์สร้างขึ้น เช่น อนุสรณ์สถาน เมือง ฯลฯ แต่ต้องเป็นแหล่ง
ที่มีคุณค่าเป็นเอก เป็นสากล สมควรที่ทั่วโลกจะช่วยกันปกป้องรักษา
ไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้รู้จักชื่นชมสืบไป
ทั้งนี้ องค์การยูเนสโกได้ประกาศอนุสัญญาว่าด้วยมรดกโลกขึ้น
โดยประเทศที่ร่วมเป็นภาคี ตกลงร่วมกันที่จะดำเนินการตาม
นัยของอนุสัญญา เพื่ออนุรักษ์และดำเนินการเกี่ยวกับมรดกโลก

Image
จารึกที่ติดอยู่ใต้ภาพวาดจิตรกรรมในวิหารพระพุทธไสยาส


ประเทศไทยมี ‘แหล่งธรรมชาติ’ ที่ขึ้นทะเบียน “มรดกโลก”
(World Heritage) แล้ว ๒ แห่ง ได้แก่
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง-ทุ่งใหญ่นเรศวร
จังหวัดอุทัยธานี-กาญจนบุรี-ตาก
และผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของ
จังหวัดสระบุรี-นครนายก-นครราชสีมา-ปราจีนบุรี-สระแก้ว และบุรีรัมย์
โดยเฉพาะด้านตะวันออกมีอาณาเขตติดต่อกับผืนป่าบันทายฉมอร์
ซึ่งเป็นพื้นที่คุ้มครองภูมิทัศน์ของราชอาณาจักรกัมพูชา

ส่วน ‘แหล่งทางวัฒนธรรม’ มี ๓ แห่ง ได้แก่
มรดกโลกสุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร จังหวัดสุโขทัย,
อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยากับเมืองบริวาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
และแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี

Image
ดูภาพจิตรกรรมฝาผนังควบคู่กับการอ่านจารึก


ส่วนมรดกความทรงจำแห่งโลกนั้นจะต้องเป็นมรดกทางเอกสาร
หรือข้อมูลความรู้ที่บันทึกไว้ หรือประกาศถ่ายทอดออกมา
แต่ทั้งมรดกความทรงจำแห่งโลกและมรดกโลกนั้น
ต่างก็เป็นงานขององค์การยูเนสโกเหมือนกัน
โดยมรดกความทรงจำแห่งโลกชิ้นแรกของไทยคือ
‘ศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง หลักที่ ๑’ ซึ่งถือว่าเป็นหลักฐาน
ทางประวัติศาสตร์สำคัญ ที่บันทึกและประกาศข้อมูลข่าวสารสาธารณะ
และนโยบายของรัฐโบราณให้สาธารณชนรับทราบ และมีผลต่อประวัติ
ของโลกนอกพรมแดนวัฒนธรรมของไทย ทำให้เข้าใจความสำคัญ
ของการปกครอง การค้าขาย การติดต่อแลกเปลี่ยนกับชาติต่างๆ
ในช่วงเวลาของยุคสุโขทัย มีความสมบูรณ์ในตัวเอง
นับเป็นเอกสารสาธารณะที่หาได้ยากยิ่ง
ซึ่งองค์การยูเนสโกได้ประกาศขึ้นทะเบียนไว้เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๖
ต่อมาก็คือ ‘จารึกวัดโพธิ์’ ที่ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียน

Image
บริเวณเขาฤาษีดัดตน (รูปสลักหินฤาษีดัดตนจากเดิม ๘๐ ท่า ปัจุบันเหลืออยู่ ๒๔ ท่า)


โดยได้มีการส่งมอบเอกสารการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำแห่งโลก
มายังคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยแผนงานความทรงจำแห่งโลก ประเทศไทย
ต่อมา ฯพณฯ นายอนุสรณ์ วงศ์วรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
ร่วมกับ นายพงศกร อรรณนพพร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ได้มีการนำเอกสารนี้ถวายแด่ พระธรรมปัญญาบดี (ถาวร ติสฺสานุกโร)
เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนฯ และ พระราชเวที (สุรพล ชิตญาโณ) ผู้ช่วยเจ้าอาวาส
ในวันที่ ๓๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๕๑ อันตรงกับ
วันคล้ายวันเสด็จพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พร้อมกันนี้ทางวัดได้จัดงานรับเอกสารมรดกความทรงจำแห่งโลก ควบคู่กันไปกับ
งานบำเพ็ญพระราชกุศลเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ซึ่งเป็นผู้ที่โปรดเกล้าฯ ให้มีการจารึกองค์ความรู้จากปราชญ์ของไทย
และสรรพวิทยาการต่างๆ ไว้โดยรอบพระอุโบสถ พระวิหาร ศาลาราย ในวัดโพธิ์แห่งนี้

Image
รูปสลักหินฤาษีดัดตน


สำหรับ ‘แผนงานของยูเนสโกว่าด้วยความทรงจำแห่งโลก’
(Memory of the World Program) นั้น เป็นแผนงานที่องค์การยูเนสโก
กำหนดให้มีขึ้นเมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๓๕
โดยการเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านสารนิเทศจากองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนจากทั่วโลก
มาประชุมหารือร่วมกัน แผนงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการอนุรักษ์และ
การเผยแพร่มรดกภูมิปัญญาของโลกที่บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
ไม่ว่าจะเป็นการบันทึกไว้ในรูปแบบใดๆ และไม่ว่าจะผลิตในประเทศใด
ถือว่าเป็นแหล่งรวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ที่สามารถสะท้อนให้เห็นถึง
ความหลากหลายทั้งในด้านของวัฒนธรรม และความคิดริเริ่มของมนุษยชาติ

Image
Image
Image
รูปสลักหินฤาษีดัดตน


(มีต่อ ๘)
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
เว็บมาสเตอร์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 มี.ค. 2005
ตอบ: 993

ตอบตอบเมื่อ: 28 มิ.ย.2008, 8:33 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
พระรูปหล่อของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
ประดิษฐาน ณ พระตำหนักวาสุกรี วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม



• รัตนกวีแห่งวัดโพธิ์

นอกจากโคลงกลอนต่างๆ แล้ว
วัดโพธิ์ยังมีตำนานของกวีเอกชั้นเยี่ยมอยู่ ณ วัดแห่งนี้ด้วย นั่นก็คือ
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
“รัตนกวีแห่งวัดโพธิ์”
ซึ่งเป็นพระราชโอรส องค์ที่ ๒๘
ใน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑
และ เจ้าจอมมารดาจุ้ย (ธิดาพระราชาเศรษฐี เป็น ‘พระสนมโท’
ต่อมาได้เลื่อนเป็น “ท้าวทรงกันดาล” ซึ่งเป็นตำแหน่งผู้รักษาการคลังใน
เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว)

ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
นับว่าเป็นพระบรมวงศ์ในราชวงศ์จักรีพระองค์แรกที่ทรงดำรงตำแหน่ง
สมเด็จพระสังฆราช อันเป็นพระประมุขสูงสุดทางฝ่ายสงฆ์


สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรสนั้น ทรงเป็นอธิบดีสงฆ์
หรือเจ้าอาวาสของวัดโพธิ์ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๕๖-๒๓๙๖
ในระหว่างนั้น พระองค์ได้ทรงนิพนธ์หนังสือต่างๆ ไว้เป็นจำนวนมาก

ทั้งบทร้อยกรองและร้อยแก้ว ไม่ว่าจะเป็นโคลงดั้นเรื่องปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ
ลิลิตตะเลงพ่าย กฤษณาสอนน้องคำฉันท์ ปฐมสมโพธิกถา
และอีกมากมายหลากรูปแบบหลายรสหลายเรื่องด้วยกัน
ที่ล้วนแล้วแต่มีค่ายิ่งในวงการวรรณกรรม
งานพระนิพนธ์ในสมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
สามารถจำแนกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้

• งานพระนิพนธ์ร้อยกรอง
(๑) ประเภทโคลง มี ๕ เรื่อง
- โคลงกลบท
- โคลงจารึกศาลาราย และโคลงจารึกหน้าศาลาพระมหาเจดีย์
- โคลงภาพคนต่างภาษา
- โคลงภาพฤาษีดัดตน
- โคลงดั้นเรื่องปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน

(๒) ประเภทร่าย มี ๒ เรื่อง
- ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก
- ร่ายทำขวัญนาคหลวง

(๓) ประเภทลิลิต มี ๒ เรื่อง
- ลิลิตตะเลงพ่าย
- ลิลิตกระบวนแห่พระกฐินพยุหยาตราทางชลมารคและสถลมารค

(๔) ประเภทฉันท์ มี ๘ เรื่อง
- สรรพสิทธิ์คำฉันท์
- กฤษณาสอนน้องคำฉันท์
- ฉันท์กล่อมช้างพัง และกาพย์ขับไม้กล่อมช้างพัง
- ตำราฉันท์มาตราพฤติ
- ตำราฉันท์วรรณพฤติ
- สมุทรโฆษคำฉันท์ตอนปลาย
- จักรทีปนีตำราโหราศาสตร์
- ฉันท์สังเวยกลองวินิจฉัยเภรี

(๕) ประเภทกลอน มี ๑ เรื่อง
- กลอนเพลงยาวเจ้าพระ

• งานพระนิพนธ์ร้อยแก้ว
(๑) ปฐมสมโพธิกถา ฉบับภาษาบาลี
มีต้นฉบับอยู่ในหอสมุดแห่งชาติ เป็นพระคัมภีร์ใบลานจำนวน ๓๐ ผูก
ผูกละประมาณ ๒๔ หน้า เมื่อปริวรรตเป็นอักษรไทยและแปลออกมาแล้ว
จะเป็นหนังสือหนาประมาณ ๒,๑๖๐ หน้า หรือประมาณ ๒๗๐ ยก
ซึ่งเป็นหนังสือพระพุทธประวัติฉบับที่มีขนาดหนาที่สุดในโลก
(๒) คำประกาศบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ ๔
(๓) พระราชพงศาวดารสังเขป และพระราชพงศาวดารย่อ
(๔) คำฤษฏี
(๕) พระธรรมเทศนาพระราชพงศาวดารสังเขป

Image
พระโกศทรงฝรั่ง บรรจุพระอัฐิของสมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
ณ พระตำหนักวาสุกรี วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม



เจ้าอาวาสหรืออธิบดีสงฆ์ของวัดโพธิ์ที่สำคัญๆ อย่าง
สมเด็จพระพนรัตน หรือสมเด็จพระวันรัตน
ซึ่งเป็นอาจารย์ของสมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
ก็เป็นผู้ชำระหรือผู้เขียนพระราชพงศาวดาร
และส่วนกวีเอกผู้มีผลงานระดับโลกอย่างสมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
ก็จะมีผลงานหลายชิ้นด้วยกัน ท่านบวชเป็นสามเณรก็ที่วัดนี้
เป็นพระภิกษุก็ที่นี่ ขึ้นเป็นพระราชาคณะ จนกระทั่งเป็น
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า และสิ้นพระชนม์ก็ที่นี่ ไม่เคยไปอยู่วัดไหน

เพราะฉะนั้นผลงานทั้งหมดของท่านสร้างขึ้นที่นี่
ด้วยพระอัจฉริยภาพและผลงานของพระองค์ที่ทรงสร้างไว้เหล่านี้
ทำให้ องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ
(United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization)
หรือองค์การยูเนสโก (UNESCO) ได้ประกาศยกย่องและถวายพระเกียรติคุณ
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
ในฐานะปูชนียบุคคลสำคัญผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมระดับโลก
ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๓๓
ตามมติที่ประชุมสมัยสามัญ ครั้งที่ ๒๕
ณ สำนักงานใหญ่องค์การยูเนสโก กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
ระหว่างวันที่ ๑๗ ตุลาคม-๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๒
และชักชวนให้ประเทศสมาชิกร่วมจัดกิจกรรมฉลองเนื่องใน
วันคล้ายวันประสูติครบ ๒๐๐ ปี เมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๓

Image
พระรูปหล่อสมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส


พระมหาสมณเจ้าฯ........................จอมกวี โลกเฮย
ยูเนสโกสดุดี...............................ปราชญ์เจ้า
ผู้นำศาสนจักรศรี..........................สังฆราช
พระอัจฉริยะประจักษ์กล้า................ประดุจแก้วมณี


ปัจจุบัน พระตำหนักวาสุกรี ซึ่งท่านเคยประทับอยู่
ในเขตสังฆาวาสของวัดโพธิ์ก็ยังคงอยู่และยังรักษาสภาพไว้อย่างดียิ่ง
โดยภายในพระตำหนักจะมีบุษบกซึ่งบรรจุพระอัฐิของ
สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส และมีพระรูปหล่อของพระองค์
รวมทั้งยังมีข้าวของเครื่องใช้อื่นๆ อีกมากมายของพระองค์ที่ทางวัดโพธิ์ได้เก็บรักษาไว้
บริเวณหน้าบุษบกที่บรรจุพระอัฐิไว้นั้นมีกระดานจารึก กฤษณาสอนน้องคำฉันท์
ที่สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ได้ทรงนิพนธ์ไว้ด้วยพระองค์เอง
และเชื่อว่าทุกคนคงเคยท่องจำกันมาแล้วเมื่อสมัยเรียนหนังสือ ความว่า

“พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง
โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี
นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์
สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา
ความดีก็ปรากฏ กิติยศฤาชา
ความชั่วก็นินทา ทุรยศยินขจร”



(มีต่อ ๙)
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
เว็บมาสเตอร์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 มี.ค. 2005
ตอบ: 993

ตอบตอบเมื่อ: 10 ก.ค.2008, 5:00 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
“ยักษ์วัดโพธิ์” ตัวจริง
มีลักษณะเช่นเดียวกับยักษ์ในเรื่องรามเกียรติ์



• ยักษ์วัดโพธิ์-นายทวารบาล

“ยักษ์” เป็นอมนุษย์ชนิดหนึ่ง มีกล่าวถึงทั้งในทางศาสนาและวรรณคดี
เป็นความเชื่อของไทยที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธ
โดยเชื่อว่ายักษ์มีหลายระดับขึ้นอยู่กับบุญบารมี ยักษ์ชั้นสูงจะมีวิมานเป็นทอง
มีรูปร่างสวยงาม ปกติไม่เห็นเขี้ยว เวลาโกรธจึงจะมีเขี้ยวงอกออกมา
ยักษ์ชั้นกลางส่วนใหญ่จะเป็นบริวารของยักษ์ชั้นสูง
ส่วนยักษ์ชั้นต่ำที่บุญน้อยก็จะมีรูปร่างน่ากลัว ผมหยิกตัวดำผิวหยาบ นิสัยดุร้าย

จะเห็นได้ว่าในวัดวาอารามต่างๆ มักจะมียักษ์มาประกอบเป็นส่วนหนึ่งของวัด
หรือโบราณสถาน ไม่ว่าจะเป็นรูปปั้นยักษ์แบกพระเจดีย์ในวัดพระแก้ว
รูปปั้นยักษ์แบกองค์พระปรางค์ในวัดแจ้ง หรือยักษ์วัดโพธิ์ เป็นต้น
ซึ่งตามตำนานเล่าว่า พระพุทธเจ้าได้เทศน์สั่งสอนยักษ์ให้ลดทิฐิมานะ
ยักษ์ที่ได้ฟังและเข้าใจในพระธรรม จึงได้กลายมาเป็นผู้อุปถัมภ์ค้ำชูพระพุทธศาสนา
หรืออีกนัยหนึ่งก็หมายถึง ผู้แบกสรวงสวรรค์ และทำหน้าที่เป็นผู้ปกป้องคุ้มครองสถูปสถาน
และอาคารศักดิ์สิทธิ์ เพื่อเป็นการค้ำชูพระพุทธศาสนาให้มั่งคงและเจริญรุ่งเรืองสืบต่อมา


สำหรับยักษ์ประจำวัดโพธิ์ หลายคนคงเคยได้ยินตำนานกำเนิดท่าเตียน
ที่เล่าปากต่อปากกันมาว่า บริเวณท่าเตียนอันเป็นพื้นที่โล่งเตียนนั้น
เป็นผลจากการต่อสู้ของ “ยักษ์วัดแจ้ง” กับ “ยักษ์วัดโพธิ์”
โดยมี “ยักษ์วัดพระแก้ว” เป็นผู้ห้ามทัพ


ตำนานกำเนิดท่าเตียน มีว่า ยักษ์วัดโพธิ์ซึ่งทำหน้าที่ดูแลวัดโพธิ์
และยักษ์วัดแจ้งซึ่งทำหน้าที่ดูแลวัดแจ้งหรือวัดอรุณฯ ฝั่งตรงข้ามนั้น
ทั้ง ๒ ตนเป็นเพื่อนรักกัน วันหนึ่งทางฝ่ายยักษ์วัดโพธิ์ไม่มีเงิน
จึงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปขอยืมเงินจากยักษ์วัดแจ้ง พร้อมทั้งนัดวันที่จะนำเงินไปส่งคืน
เมื่อถึงกำหนดส่งเงินคืน ยักษ์วัดโพธิ์กลับไม่ยอมจ่ายหนี้ เบี้ยวเอาเสียดื้อๆ
ยักษ์วัดแจ้งเมื่อรอแล้วรอเล่าจนทนไม่ไหว
จึงตัดสินใจข้ามแม่น้ำเจ้าพระยามาทวงเงินคืน แต่ยักษ์วัดโพธิ์ไม่ยอมให้

ดังนั้น ในที่สุดยักษ์ทั้ง ๒ ตนจึงเกิดการทะเลาะถึงขั้นต่อสู้กัน
แต่เพราะรูปร่างที่ใหญ่โตมหึมาและมีกำลังมหาศาลของยักษ์ทั้ง ๒ ตน
เมื่อต่อสู้กันจึงทำให้ต้นไม้ในบริเวณนั้นถูกยักษ์ทั้งสองเหยียบย่ำจนล้มตายลงหมด
หลังจากที่เลิกต่อสู้กันแล้วบริเวณที่ยักษ์ทั้งสองประลองกำลังกันนั้น
จึงราบเรียบเป็นหน้ากลองกลายเป็นสถานที่ที่โล่งเตียนไปหมด ไม่มีอะไรเหลือเลย
ซึ่งตามตำนานเรื่องเล่าดังกล่าวยังสรุปไม่ได้ว่า ยักษ์วัดไหนเป็นฝ่ายชนะ


ครั้นเมื่อพระอิศวร (พระศิวะ) ได้ทราบเรื่องราวการต่อสู้กัน
ทำให้บรรดามนุษย์และสัตว์ทั้งหลายในบริเวณนั้นเดือดร้อน
จึงได้ลงโทษโดยการสาปให้ยักษ์ทั้ง ๒ กลายเป็นหิน
แล้วให้ยักษ์วัดโพธิ์ ทำหน้าที่ยืนเฝ้าหน้าพระอุโบสถ วัดโพธิ์
และให้ยักษ์วัดแจ้ง ทำหน้าที่ยืนเฝ้าพระวิหาร วัดแจ้ง เรื่อยมา

ส่วนฤทธิ์จากการสู้รบของยักษ์ทั้งคู่ที่ทำชุมชนละแวกนี้ราบเรียบเป็นหน้ากลอง
ทำให้ชาวบ้านพากันเรียกว่า “ท่าเตียน” เรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้


Image
“ยักษ์วัดโพธิ์” ตัวจริง ตั้งเก็บไว้ในตู้กระจกหน้าซุ้มประตูทางเข้าพระมณฑป (หอไตรจตุรมุข)


เมื่อคาดคะเนจากตำนานการต่อสู้ ยักษ์ทั้งสามน่าจะมีขนาดใกล้เคียงกัน
หลายคนเลยเข้าใจผิดคิดว่า
“ลั่นถัน นายทวารบาล”
หรือตุ๊กตาสลักหินรูปทหารนักรบจีนขนาดใหญ่ที่ยืนถือศาสตราวุธ
เฝ้าซุ้มประตูเข้า-ออกในเขตพุทธาวาสของวัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์)
ซึ่งมีอยู่ทั้งหมดรวม ๓๒ ตัวนั้น
คือ ยักษ์วัดโพธิ์
แต่โดยแท้จริงแล้ว “ยักษ์วัดโพธิ์” มีเพียง ๒ คู่ ๔ ตนเท่านั้น คือ
ยักษ์กายสีแดง, ยักษ์กายสีเขียว, ยักษ์กายสีเทา และ ยักษ์กายสีเนื้อ
ประติมากรรมรูปร่างเป็นยักษ์ไทย เขี้ยวแหลมโง้ง มือทั้งสองกุมไม้กระบองเป็นอาวุธ
ซึ่งทั้งหมดมีลักษณะคล้ายกับยักษ์ในวรรณคดีสำคัญเรื่องรามเกียรติ์
เช่นเดียวกับ “ยักษ์วัดพระแก้ว” หากแต่มีขนาดเล็กกว่ามาก
เล็กจนสามารถตั้งเก็บไว้ในตู้กระจกหน้าซุ้มประตูทางเข้าพระมณฑป (หอไตรจตุรมุข) ได้


ส่วนประวัติการสร้างเกิดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓
ได้มีการโปรดเกล้าฯ ให้รื้ออสูรที่ยืนเฝ้าประจำประตูทั้ง ๔ ประตูของวัดออกไป
แล้วนำ “ลั่นถัน นายทวารบาล” หรือรูปตุ๊กตาสลักหินรูปทหารนักรบจีนขนาดใหญ่มาตั้งแทน
กาลนี้ได้โปรดเกล้าฯ ให้หล่อรูปยักษ์ปูนปั้นขนาดเล็ก สูงประมาณ ๑๗๕ เซนติเมตร
จำนวน ๘ ตน ตั้งเก็บไว้ในตู้กระจกหน้าซุ้มประตูทางเข้าพระมณฑป (หอไตรจตุรมุข)
ทั้ง ๔ ด้าน ด้านละ ๑ คู่ เพื่อให้ทำหน้าที่พิทักษ์รักษาหอพระไตรปิฎก
(พระมณฑปหรือหอไตรจตุรมุข ใช้เป็นที่เก็บรักษาพระไตรปิฎก เรียกว่าหอพระไตรปิฎกก็ได้)

เมื่อครั้งทำระเบียงพระมหาเจดีย์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
ได้โปรดเกล้าฯ ให้รื้อซุ้มประตูทางเข้าพระมณฑป (หอไตรจตุรมุข) ออกไป ๒ ซุ้ม
ปัจจุบันจึงปรากฏรูปยักษ์วัดโพธิ์เหลืออยู่เพียง ๒ คู่ ๔ ตนเท่านั้น คือ

ยักษ์กายสีแดง มีชื่อว่า “พญาแสงอาทิตย์” กับ ยักษ์กายสีเขียว มีชื่อว่า “พญามัยราพณ์”
ตั้งเก็บไว้ในตู้กระจกหน้าซุ้มประตูทางเข้าฯ ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้

ยักษ์กายสีเทา มีชื่อว่า “พญาขร” กับ ยักษ์กายสีเนื้อ มีชื่อว่า “พญาสัทธาสูร”
ตั้งเก็บไว้ในตู้กระจกหน้าซุ้มประตูทางเข้าฯ ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ


ส่วนซุ้มประตูทางเข้าฯ ด้านที่รื้อออกไป ๒ ซุ้มนั้น
แต่เดิมเป็นยักษ์มีชื่อว่า “สหัสเดชะ” กับ “ทศกัณฐ์”
ตั้งเก็บไว้ในตู้กระจกหน้าซุ้มประตูทางเข้าฯ ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
และยักษ์มีชื่อว่า “อินทรชิต” กับ “สุริยาภพ”
ตั้งเก็บไว้ในตู้กระจกหน้าซุ้มประตูทางเข้าฯ ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้
ปัจจุบันถูกนำไปเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

คนโบราณเชื่อว่ายักษ์ที่ยืนเฝ้าซุ้มประตูมีอิทธิฤทธิ์ในการขับไล่ภูตผีปีศาจทั้งหลาย
จึงมีหน้าที่ปกปักรักษาสิ่งศักดิ์สิทธิ์อันมีค่าที่อยู่ด้านใน

Image
“ลั่นถัน นายทวารบาล” หรือตุ๊กตาสลักหินรูปทหารนักรบจีนขนาดใหญ่
ที่ยืนถือศาสตราวุธเฝ้าซุ้มประตูเข้าออก หลายคนเข้าใจผิดคิดว่าเป็น “ยักษ์วัดโพธิ์”



ชมยักษ์แล้วต่อไปลองชมเปรตดูบ้าง ตามธรรมดาคนทั่วไปอาจจะเคยได้ยิน
แต่แร้งวัดสระเกศ เปรตวัดสุทัศน์ฯ ซึ่งเป็นเพียงตำนานเล่าขานต่อๆ กันมา
สำหรับเปรตวัดโพธิ์ถึงไม่ได้เล่าขานเป็นตำนาน
แต่หากใครที่อยากเห็นก็สามารถพาสองตามาพิสูจน์ได้
โดยภาพจิตรกรรมฝาหนังรูปเปรตในนรกภูมิทั้ง ๑๒ จำพวกนั้น
ปรากฏให้เห็นบริเวณเหนือเสาบนคานศาลาการเปรียญ

(พระอุโบสถหลังเก่าของวัดโพธารามในสมัยกรุงศรีอยุธยา) งานนี้รับรองว่า
ไม่มีน่ากลัว ไม่มีหวาดเสียว แต่หากเงยคอดูนานเกินไปก็อาจมีอาการเมื่อยเอาง่ายๆ

อนึ่ง สำหรับภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังภายในวัดโพธิ์นั้น
มีแบบต่างๆ ที่สวยสดงดงามมากมาย แต่หากถ้าเป็นเรื่องรามเกียรติ์
ฉบับในพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๑ ลูกเล็กเด็กแนวที่ไหนก็รู้ว่า
ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) เป็นที่เหมาะจะศึกษามากที่สุด
เพราะมีภาพที่สวยงามและค่อนข้างสมบูรณ์กว่าที่อื่นๆ
แต่หากศึกษาลึกลงไปแล้วอาจเกิดอาการงงได้
เพราะตอนหนึ่งถึงตอนสามของเรื่องกลับไม่ปรากฏที่ผนังภายในวัดพระแก้ว
ซึ่งอาจจะมีแฟนพันธุ์แท้เพียงไม่กี่คนที่รู้ว่าแท้จริงแล้ว
ต้นกำเนิดภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์ทั้งสามตอนที่หายไปนั้น
อยู่ที่ผนังด้านในศาลารายโดยรอบพระมณฑปของวัดโพธิ์นั่นเอง

Image
“นายทวารบาล” ตุ๊กตาสลักหินรูปฝรั่งถือกระบอง
ที่ซุ้มประตูทางเข้าพระวิหารพระพุทธไสยาสหรือพระวิหารพระนอน



(มีต่อ ๑๐)
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
เว็บมาสเตอร์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 มี.ค. 2005
ตอบ: 993

ตอบตอบเมื่อ: 11 ก.ค.2008, 6:23 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
พระธรรมปัญญาบดี (ถาวร ติสฺสานุกโร)
อดีตเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม



* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร หรือวัดโพธิ์
ตั้งอยู่ริมถนนสนามไชยและถนนมหาราช ติดกับวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)
และพระบรมมหาราชวัง แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐
เปิดให้ประชาชนเข้าชมทุกวัน ระหว่างเวลา ๐๘.๐๐-๑๗.๐๐ นาฬิกา
สำหรับชาวต่างชาติจะต้องซื้อบัตรเข้าชมคนละ ๒๐ บาท
ทั้งนี้ นักท่องเที่ยวต้องแต่งกายสุภาพเรียบร้อย
สุภาพสตรีห้ามสวมกางเกงขาสั้นเหนือเข่าเข้าไปเที่ยวชมภายในวัด
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ ๐-๒๒๒๕-๙๕๙๕, ๐-๒๒๒๑-๑๓๗๕,
๐-๒๒๒๖-๐๓๓๕, ๐-๒๒๒๒-๗๘๓๑ โทรสาร ๐-๒๒๒๖-๐๓๗๐, ๐-๒๒๒๒-๙๗๗๙

ความสำคัญของวัด : พระอารามหลวงชั้นเอกพิเศษ ชนิดราชวรมหาวิหาร
(เป็น ๑ ใน ๖ พระอารามหลวงชั้นเอกพิเศษ ชนิดราชวรมหาวิหาร ของไทย)

สังกัดคณะสงฆ์ : มหานิกาย

เจ้าอาวาส :

พระธรรมปัญญาบดี (ถาวร ติสฺสานุกโร เจริญพานิช ป.ธ.๔)
อดีตเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร
และอดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร (มหานิกาย)

ประวัติเจ้าอาวาส :


เทียน พระธรรมปัญญาบดี (ถาวร ติสฺสานุกโร)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=23317

เว็บไซต์ : http://www.watpho.com/

การเดินทาง : หากเดินทางโดยรถประจำทางธรรมดา มีรถผ่าน สาย ๑,
๓, ๖, ๙, ๑๒, ๒๕, ๓๒, ๔๓, ๔๔, ๔๗, ๔๘, ๕๓, ๖๐, ๘๒, ๙๑, ๑๒๓
รถประจำทางปรับอากาศ สาย ปอ. ๖, ๗, ๘, ๙, ๑๒, ๒๕, ๔๔, ๙๑
สำหรับเรือด่วนเจ้าพระยา สามารถขึ้นฝั่งที่ท่าเรือท่าช้าง ท่าเรือท่าเตียน
หรือท่าเรือปากคลองตลาด แล้วเดินเข้าประตูทางถนนท้ายวังได้

แผนที่ : -


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
suvitjak
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 26 พ.ค. 2008
ตอบ: 457
ที่อยู่ (จังหวัด): khonkaen

ตอบตอบเมื่อ: 11 ก.ค.2008, 12:46 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ เป็นบุญจริงๆ เลยครับ ยิ้มแก้มปริ
 

_________________
ซื่อกินไม่หมดคดกินไม่นาน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง