Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ภาวนาให้ได้สมาธิ? อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 14 ธ.ค.2004, 12:52 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

มีคนมีความเห็นหลายอย่าง

เช่นเห็นว่าภาวนาไม่ต้องมีสมาธิหรอก เอาแค่เจริญสติก็พอ

และคนที่ต้องการให้ได้สมาธิ ก็คิดว่าทำอย่างไรหนอจึงได้สมาธิ



และคนที่เคยได้สมาธิก็คิดว่าทำอย่างไรให้ภาวนาแล้วได้สมาธิในทุกๆครั้ง



บางคนหลายคนก็มีประสบการณ์แปลกๆ น่ากลัวบ้างและไม่รู้ว่าอาการนั้นเป็นอย่างไร



คนบางคนก็ว่าสมาธิเป็นเรื่องความหลง การติดยึด เป็นการเพ่งฌาน ก็เห็นว่าสมาธิเป็นโทษปานนั้น



ในบรรดาพระที่สอนให้เข้าใจสมาธิได้ดีนั้น ผมคิดว่าหลวงปู่เทสก์ เทสรังษีท่านหนึ่ง และอีกท่าหนึ่งคือหลวงปู พุธ ฐานิโย



ที่ว่าดีนั้น เพราผมมีประสบการณ์เหมือนท่านสอน และเห็นเหมือนท่าน แต่พระอื่นหลายรูปไม่เห็นเรื่องสมาธิอย่างพระสองท่านที่ผมได้กล่าวถึง



เพราะว่าเมื่อเราเจริญสติ แล้วจิตรวมนั้นสตินั้นมีอย่างเต็มที่จิตจึงรวมได้ ในขณะจิตรวมนั้นสติ และสัมปชัญญะนั้นรู้ทันพร้อมกันหมด พอความรู้ตัวของสติมีเต็มที่ไม่มีอย่างอื่น จิตก็รวมกันทันที



สมาธินั้นไม่ได้เกิดขึ้นจากอย่างอื่นเลย แต่เกิดจากการเจริญสติ ได้เจริญอย่างเต็มที่ คือจิตเป็นกุศลในเวลานั้นอย่างเต็มที่ด้วย



เพราะฉะนั้นการเกิดสมาธิจิตรวมจากการเจริญสตินั้น การเจริญสตินั้นได้ก้าวไปบนทางถูกต้องที่สุด สมาธินี้ยังถือเป็นการประเมินผลของการเจริญสติได้อีกด้วย



แน่นอนว่าการทำให้เกิดจิตรวมนั้นต้องมีกุศลถึงพร้อม คือความเข้าใจเรื่องกุศลนั้นขึ้นกับการวางใจและอารมณ์ที่ไม่วอกแวก การที่เราจะปราบอกุศลหรือนิวรณ์ธรรมต่างๆในใจเรานั้น เราต้องพากเพียรใช้เวลาไปวันเล่าแล้ววันเล่า เดือนแล้วเดือนเล่า ในการสร้างกุศลการภาวนาปเรื่อยๆ



ในแต่ละวันที่เราจะเจริญภาวนานั้น เราต้องทบทวนอย่างน้อยสองครั้ง คือช่วงก่อนภาวนา และช่วงภาวนาเสร็จแล้ว



หลังภาวนาเสร็จแล้วนั้นเราอาจทบทวนความบกพร่องที่เกิดขึ้นในอารมณ์ต่างๆ และพิจารณาดูสาเหตุของสิ่งต่างๆ เมื่อเราควบคุม กาย วาจา ใจ ได้ตามต้องการแล้วการพิจารณาจะง่ายขึ้น



ส่วนคนที่เคยทำสมาธิได้แล้วแต่ทำไม่ได้ทุกครั้งนั้น จะเห็นสิ่งต่างๆที่ตนทำได้ค่อนข้างดี ส่วนใหญ่แล้วกำลังของสติยังอ่อน ความเพียรในการภาวนานั้นถ้าได้ทำร่วมกันกับผู้ที่ภาวนาได้แล้ว และปรึกษาอุบายอยู่เสมอ จะทำให้มีความเพียรแบบถูกต้อง เพราะว่าตำรานั้นบอกหลักกว้าง



เมื่อผู้ภาวนาทำจิตให้สงบพอสมควรแล้ว จะให้มันรวมเป็นสมาธิแต่เล็กน้อยก่อน จริงๆแล้วในการภาวนานั้นจะมีโอกาส หรือจังหวะทำให้จิตรวมเกิดขึ้น แต่ผู้ภาวนาไม่รู้โอกาสตรงนั้น ว่าจะทำใจทำอารมณ์ให้เหมาะสมในช่วงนั้นอย่างไร



บางทีช่วงที่จิตใกล้จะรวมกันได้นั้น อารมณ์อันน่าเบื่อหน่ายจะเข้ามาก่อน ผู้ภาวนานั้นไม่สามารถจะต้านทานอารมณ์เช่นนี้ได้ โอกาสที่จะใช้ขันติเข้าไปสู้จึงไม่ได้ใช้ เพราะถ้าปราบอารมณ์นี้ได้ความสงบอาจถึงขั้นทำให้จิตรวม แต่ผู้ภาวนาจะคิดว่าทำได้ยากจริง ควรยุติเพียงเท่านี้ พอแล้วค่อยภาวนาในวันหลังดีกว่า



เพราะว่าเรามักแสวงหาความสบายจากการภาวนา เราไม่เข้าไปรู้ในรสแห่งความทุกข์ในการภาวนา รู้ปัญหาและวิธีการแก้ปัญหา ที่จริงแล้วในความยากลำบากนั้นเป็นประสบการณ์อย่างหนึ่ง



เราทำจิตให้นิ่งมากที่สุด คนก็เข้าใจว่าเป็นการเพ่งฌาน แต่การระลึกนั้นเป็นการเจริญสติอย่างประณีต ก็เป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจ เพราะว่าเรารู้ลมหายใจนั้น อาจรู้ว่าหายใจเข้าออก เมื่อลมละเอียดแล้ว เราจะจับลมหายใจได้นิดเดียว ต่อมาลมหายใจหายไป เราได้แต่ระลึกกำหนดในฐานของร่างกายว่ากำลังหายใจเบาบางเท่านั้น แม้จะมีอารมณ์เพียงนิดหน่อยเราก็กำหนดรู้อารมณ์ที่มีนิดหน่อยนั้นให้ได้ ใช้สติกำหนดในสิ่งที่มีอยู่ปละปรากฏแก่ใจนั้นเท่าที่สิ่งนั้นมีอยู่และสัมผัสได้ ถ้ามันเหลืออยู่ที่จุดก็สัมผัสรู้แต่เพียงจุดนั้น ความรู้ตัวและสัมปชัญญะอันพร้อมนั้นทำให้จิตรวมได้ในทันที



เมื่อจิตรวมนั้นเราไม่ต้องไปทำอะไรเลย เราแค่ระลึกในอารมณ์ที่ระลึกได้ ไม่วอกแวกไปที่ไหน ถ้าจิตรวมแล้วกำลังที่จะวอกแวกนั้นจะหมดไปเอง



ความไม่ยุ่งไม่คิดเรื่องอื่น และตั้งใจจะเจริญสตินั้นต้องเตือนตนเองบ่อยๆ ให้มั่นอยู่กับการกระทำเช่นนั้นไว้ตลอด และต้องให้เวลาในการภาวนาไม่ให้น้อยจนเกินไป และอย่าหนีความเมื่อย หรือเปลี่ยนอิริยาบถแสวงหาแต่ความสบาย ไม่เช่นนั้นแล้วจะกลายเป็นนิสัยชอบความสบาย แล้วติดยึดอารมณ์อันสุขสบายนั้น คือสอนคนอื่นว่าอย่าติดสุข แต่ตัวเองไม่รู้ว่าสุขนั้นหมายความว่าอย่างไรกลับติดสุขในการเปลี่ยนอิริยาบถไปสู่ความพอใจให้แก่ตนเอง



ความสุขที่ติดยึดเล็กน้อยด้วยอารมณ์นั้น กลายเป็นศัตรูและอุปสรรคของการทำสมาธิไป ก็ยังไม่รู้ เพราะว่าอารมณ์ติดสุขนั้นมีความละเอียดมองไม่เห็น หรือความอคติที่เข้าข้างตนเองก็ช่วยปิดบังให้ไม่เข้าใจสิ่งอันเป็นอุปสรรคของตนเอง การละอารมณ์ติิดสุขนั้นต้องปฏิบัติตั้งแต่เรื่องหยาบลงไปสู่เรื่องละเอียด



และการละในอารมณ์ที่ไม่มีอะไรจรมาปะปนในจิต หรือมีความติดสุขอยู่เล็กน้อย เมื่อจิตนั้นมีปัญญาขึ้นก็เห็นความติดในสุขว่าเป็นอย่างนี้ รู้แล้วจึงละเสียได้โดยง่าย ความต้องการความสุขนั้นหลุดไป จิตก็จะมีเอกภาพอันทรงตัวอยู่โดยไม่ต้องการอาศัยสุขเป็นเครื่องยึดเกาะ ดุลยภาพของอินทรีย์ห้าเป็นอย่างนี้



เมื่อจิตไม่มีอะไรยึด และไม่มีความต้องการยึดอะไรแล้ว ปล่อยวางทุกสิ่งแล้วมันก็รวมตัวกันเองอยู่แต่จิต (คือจะมีองค์ฌานหรือไม่อย่าได้ไปสนใจให้มันติดอยู่กับความคิด)



การที่จิตรวมแบบนี้ได้ ควรทำให้เกิดให้มากให้บ่อย แล้วก็กลับมากลับไปก็ได้ เพื่อเรียนรู้ประสบการณ์และอารมณ์ต่างๆของจิต เพื่อเอาจิตนั้นมาใช้งานในการภาวนาต่อไปอีก ทำจิตให้เป็นจิตอันยิ่ง ให้รู้จักสมาธิ และสตินั้นย่อมดีขึ้นไปเรื่อยๆ และจะมีสติในชีวิตประจำวันได้ดียิ่ง เพราะไม่เผลอคิดเรื่องอื่นมาก มันจะปล่อยเรื่องต่างๆที่ตนเองเคยสนใจลงไปเรื่อย เนื่องจากจิตมีปัญญาเห็นว่าเรื่องที่ตนเห็นว่าสำคัญนั้นเป็นสิ่งไร้สาระออกไปเรื่อยๆ สติจะเอาแต่ความรู้ตัวเป็นใหญ่ สิ่งเหล่านี้จะเป็นและเกิดขึ้นแก่ผู้ที่ได้สมาธิแล้ว มีปรกติเป็นอย่างนี้



ผู้มีสมาธิย่อมเจริญสติได้ดีกว่าผู้ไม่ได้สมาธิ ถ้าสมาธินั้นเกิดจากการเจริญสติ หรืออานาปานสติ
 
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 14 ธ.ค.2004, 3:41 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

นักภาวนามักพูดว่าเมื่อภาวนาแล้วจิตมีแต่ความสงบ แต่ไม่เป็นสมาธิ



ความสงบในความหมายนั้นอาจไม่ใช่ความสงบในความหมายอื่นก็ได้



เมื่อนักภาวนาฝึกอานาปานสติ กำหนดรู้ลมหายใจ คิดว่าตัวเองมีความสงบและมีความพอใจอารมณ์ตรงนั้น ถ้าเพ่งพินิจรู้อารมณ์อันน่าพอใจตรงนั้นให้ปรากฏแก่ใจว่า อารมณ์ที่เป็นความสงบนั้นเป็นอย่างนี้ เรากำลังรู้อารมณ์นั้นอยู่ และในทันใดนั้นก็เห็นอารมณ์เช่นนั้นปรากฏอยู่จริงด้วยใจ ทันใดนั้นใจก็รู้ทันอารมณ์นั้นว่าเป็นความสุข แต่ใจไม่ได้เสวยความสุขของอารมณ์นั้น หากแต่มองดูความเป็นจริงของอารมณ์นั้นจนประจักษ์ชัด จนสามารถแยกอารมณ์นั้นกับใจคือสติรู้ของตนในเวลานั้นออกจากกันได้ชัดเจน



เหมือนแยกสิ่งของที่เป็นคนละสิ่งออกจากกัน และสิ่งของคนละสิ่งนั้นเห็นว่าไม่ได้เป็นอันเดียวกัน ด้วยกำลังแห่งการเจริญสตินั้นทำให้เห็นควมจริงของสิ่งที่แต่ก่อน เหมือนเป็นเนื้อเดียวกัน กลับแยกเป็นสองสิ่งด้วยการเห็นของจิต เหมือนเห็นก้อนหินก้อนหนึ่งวางอยู่ และเห็นที่ว่างนั้นอยู่รอบก้อนหิน มีที่ว่าง และมีก้อนหินอยู่ในที่ว่าง ทั้งสองสิ่งแยกกันได้ชัด



ด้วยการเห็นเช่นนี้จิตก็ปล่อยวางก้อนหินนั้นออกไป และรู้ว่าความสงบที่เข้าใจมาก่อนนั้นเป็นความสุขที่อยู่ในก้อนหินนั้น เมื่อปล่อยวางก้อนหินนั้นความสงบที่มากกว่าที่เคยได้ลิ้มรสจึงเกิดขึ้นแก่ใจ



เขาเห็นความสงบด้วยอาการอย่างนั้น



แล้วความสุขที่ได้จากสิ่งอันเสมือนก้อนหินที่อยู่ในจิตนั้นคืออะไรเล่า ทำไมมันจึงดับไปและหายไป ทำไมจิตจึงละวางมันได้



จิตละวางมันได้ เพราะได้พิจารณาเห็นความจริงอันนั้นว่าเป็นอย่างนั้น ความจริงที่ว่านั่นเป็นความสุขที่อยู่ในกามสุข สิ่งที่ละไปนั้นไม่ได้เป็นอะไร นอกจากกามฉันทะอันเป็นนิวรณ์



กามฉันทะอันเป็นนิวรณ์นี้จิตก็ละได้ยาก เพราะจิตไม่เห็นความจริง การเจริญสติทำให้จิตเห็นความจริงของนิวรณ์ที่จิตไปยึดมั่นไว้ เมื่อเห็นแล้วก็ละนิวรณ์นั้น เพราะเห็นความจริงนั้นเองจิตจึงมิได้ส้องเสพกามฉันทะนั้น



เมื่อละนิวรณ์แล้วสติไม่มีสิ่งจะระลึกเพื่อพิจารณาจึงรวมเป็นสมาธิ



การเจริญสติจึงสิ้นสุดลงอีกวาระหนึ่งเมื่อสมาธิได้รวมตัวในอัปนาสมาธิ



อย่างไรก็ตามการเจริญสติในอานาปานสตินั้น ถ้าทำความรู้ตัวให้มาก ในกาย ในเวทนา ในจิต และในธรรม ให้มาก สติก็ยังมีเครื่องที่จะพิจารณาอยู่

สมาธิรวมก็จะไม่เกิดขึ้น



เมื่อจิตเห็นนิวรณ์คือกามฉันทะ แล้วละได้เข้าสมาธิ จิตนั้นย่อมเห็นเวทนาเช่นเดียวกันกับการเห็นนิวรณ์ และพิจารณาการเกิดดับของเวทนาได้



หรือกลับไปที่เดิมที่การภาวนาอานาปานสติแล้ว เจริญสติกามฉันทะปรากฏแก่ใจ แล้วละวางกามฉันทะอันเป็นนิวรณ์นั้นเข้าสมาธิได้ นั่นเป็นการได้สมาธิ แต่ถ้าเจริญสติแล้วกามฉันทะปรากฏ แทนที่จะละนิวรณ์ นักภาวนาภาวนาว่า "เมื่อความพอใจในกามเกิดขึ้นในจิต ก็รู้ชัดในขณะนั้นว่ามีความพอใจในกามมีอยู่ในจิต เมื่อกามฉันทะไม่มีภายในจิต (แทนที่จะให้เกิดสมาธิรวม) ก็เจริญสติให้รู้ว่าในขณะนั้นไม่มีกามฉันทะเกิดขึ้นในจิต และกำหนดรู้ว่ากามฉันทะที่ยังไม่เกิดขึ้นในจิต จะเกิดขึ้นด้วยเหตุไรก็รู้ การละกามฉันท์เสียด้วยวิธีใดก็รู้แก่จิต."

จิตทำความรู้อย่างนี้ไปก็เป็นวิปัสสนา



เพราะฉะนั้นเมื่อภาวนาจิตนั้นเห็นกามฉันทะปรากฏขึ้น และรู้ทันคือเห็นชัด นั้นจิตจะรวมเข้าสมาธิโดยปล่อยวางหรือละกามฉันทะนั้นเป็นอัปนาสมาธิก็ได้ จิตจะพิจารณษกามฉันทะนั้นเพื่อวิปัสสนาก็ได้



การภาวนาก็ต้องฝึกฝนให้เห็นนิวรณ์เสียก่อน จึงเข้าสมาธิหรือวิปัสสนา ตรงนี้เหมือนทางแยกทางสองแพร่งที่จะเลือกก็ได้แต่ต้องฝึกฝนวิธีการปฏิบัติ



อันนี้เป็นการพิจารณาของผม ผมรู้แต่เรื่องจิตรวมอย่างเดียว ส่วนการวิปัสสนานั้นไม่รู้วิธีการทำ แต่เมื่อศึกษาดูตำราก็คิดว่าทางแยกการภาวนาระหว่างสมถะกับวิปัสสนาอยู่ตรงจุดที่จะเข้าสมาธิได้ กับการพิจารณาธรรมที่เรียกว่านิวรณ์บรรพ



เรื่องนี้ไม่รู้จะมีคนอ่านแล้วพอจะเข้าใจหรือไม่
 
เดี่ยว
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 14 ธ.ค.2004, 9:30 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ (บางทีช่วงที่จิตใกล้จะรวมกันได้นั้น อารมณ์อันน่าเบื่อหน่ายจะเข้ามาก่อน ผู้ภาวนานั้นไม่สามารถจะต้านทานอารมณ์เช่นนี้ได้ โอกาสที่จะใช้ขันติเข้าไปสู้จึงไม่ได้ใช้ เพราะถ้าปราบอารมณ์นี้ได้ความสงบอาจถึงขั้นทำให้จิตรวม แต่ผู้ภาวนาจะคิดว่าทำได้ยากจริง ควรยุติเพียงเท่านี้ พอแล้วค่อยภาวนาในวันหลังดีกว่า ) สงสัยผมติดตรงนี้แหละครับ ขออนุโมทนาในทานครับ
 
นิทรา
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 02 ธ.ค. 2004
ตอบ: 26

ตอบตอบเมื่อ: 15 ธ.ค.2004, 4:12 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



32933293.jpg


อนุโมทนาด้วยค่ะอ่านแล้วบางอย่างก็พอจะนึกภาพออกบางอย่างก็ยังสงสัยอยู่ค่ะ ทุกวันนี้ชอบอ่านและฟังธรรมะของท่านหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง ศึกษามาได้ประมาณ 1 ปี แล้วค่ะ ก็จะเป็นในเรื่องการฝึก " ใจ " ไม่ให้ส่งส่ายไปข้างหน้า ไปข้างหลัง ให้ใจอยู่แต่ในปัจจุบัน ถ้าลงปัจจุบันได้แล้วก็ถือว่าเป็นธรรม แต่ก็ฝึกยากเหมือนกันค่ะเพราะจิตใจเป็นสิ่งที่ไวต่อความรู้สึกต่างๆ ถ้าใจคิดปรุงแต่งหรือส่งไปก็จะพยายามดึงกลับมา จะพยายามต่อไป

กราบขอบพระคุณอย่างยิ่งสำหรับข้อคิดเห็นที่นับว่ามีคุณค่ามากอ่านแล้วได้ทราบว่าการการฝึกให้อภัยที่ดีที่สุดคือการแผ่เมตตา ได้ทราบแนวปฎิบัติซึ่งปกติแล้วดิฉันจะแผ่เมตตาเวลาเดียวคือก่อนนอนในแต่ละวันต่อไปนี้ก็คงต้องปฎิบัติให้มากขึ้นค่ะ

ในเรื่องของความทุกข์ที่ท่านได้แสดงข้อคิดเห็นไว้อ่านแล้วก็สบายใจ รู้สึกผ่อนคลาย รู้สึกปล่อยวางบ้าง สาธุค่ะ







 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 15 ธ.ค.2004, 5:18 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ที่อ่านแล้วเข้าใจบ้าง ไม่เข้าใจบ้าง ก็เพราะว่าผมไม่ได้เป็นผู้รู้ เป็นผู้ที่พยายามทำความเข้าใจอธิบายหลักธรรมที่ศึกษาในพระไตรปิฏก กับสิ่งที่ตัวเองปฏิบัติให้เข้าใจ



เมื่อไม่ได้เป็นผู้รู้ ก็เป็นธรรมดาที่ไม่สามารถทำให้ผู้อื่นเข้าใจได้ และก็ต้องสำรวจว่าที่ได้เห็นไปอย่างนั้นผิดพลาดหรือไม่ แต่พยายามจะทำไปเรื่อย ถือว่าเป็นการแบ่งปันและแลกปลี่ยนประสบการณ์



เพราะกระดานนี้ยังมีกระทู้เรื่อง สมถะ กับวิปัสสนา ผมนึกขอบคุณที่มีการจุดประกายเรื่องนี้ขึ้น เพราะทำให้ต้องไปค้นคว้า แล้วก็เห็นอะไรมากขึ้นตามลำดับ



ต่อไปนี้ขอให้ตั้งใจอ่านในสิ่งที่ผมจะเขียนต่อไปนะครับ



ผมพูดถึงคนสมัยนี้ที่เจริญภาวนา ที่เรียกกันด้วยสำนวนปัจจุบันว่าทำสมาธิ



เมื่อคนถามว่าคุณไปทำอะไร?



ก็ตอบว่าไปทำสมาธิ



แล้วมีคนอีกกลุ่มหนึ่งพูดว่า ไปทำสมาธิเอาแต่นั่งเพ่งหลับตาอย่างนั้น ไม่ได้อะไรหรอก แต่ควรพิจารณาธรรม



ผมคิดว่ามันมีความไม่เข้าใจบางอย่างอยู่ในคนสองกลุ่มนี้



พระรูปหนึ่งหรือสองรูปจากอีสาน ท่านพูดดีมาก สอนดีมาก แต่บอกว่าไม่เห็นด้วยกับการทำสมาธิ เพราะหลับตานั่งเพ่งจิตไม่ได้พิจารณาอะไร



การที่คนไปนั่งสมาธิ แต่จิตพอสงบและไม่ได้สมาธิ แม้เรียกว่าทำสมาธิ แต่จริงๆแล้วเป็นการสำรวมศีลเท่านั้น



แต่ผู้ที่เจริญสติได้ดีก็นึกว่าเป็นการเจริญปัญญาไปอีก ข้ามสมาธิไปเลย



จริงๆแล้วเป็นการเจริญศีล แต่ความไม่รู้ว่าศีลนี้ตัวเป็นยังไง จึงไม่เข้าใจศีล



เพราะเมื่อไปอ่านในตำรา ประสบการณ์การทำสมาธิ มันตรงกับเรื่องของปัญญา การทำสติระลึกสิ่งที่เกิดขึ้นและทำความรู้ตัวแล้วปล่อยวางนี่ดูเป็นปัญญา



ก็นึกว่านี่ต้งเป็นปัญญา เพราะมีประสบการณ์ในการปฏิบัติเบื้องต้นตรงกับตำรา



แต่ปัญญามีหลายระดับ ทีนี้คนส่วนใหญ่ไม่รู้จักศีลชนิดนี้ แต่รู้จักศีลตอนรับศีลจากพระ ว่าให้เว้นอะไรบ้างเป็นข้อๆ นึกว่าศีลเป็นข้อปฏิบัติของกาย แต่ไม่รู้ว่าศีลเป็นข้อปฏิบัติของใจด้วย



และไม่รู้ว่าเมื่อศีลเกิดขึ้นแล้ว ใจมีอารมณ์อย่างไร ไม่รู้ความรู้สึกนี้ เพราะเราไม่สอนเรื่องศีลกันจริงจัง เมื่อศีลปรากฏแก่ใจ ก็นึกว่าเป็นสมาธิบ้าง เป็นปัญญาบ้าง เพราะมีความสุข มีความองอาจมั่นใจ



และเนื่องจากคนส่วนใหญ่ในปัจจุบัน ไม่สมาทานอุโบสถศีลกันเท่าไร หรือสมาทานแล้วการทำมนสิการต่อศีลก็แตกต่างกันไป



เลยไม่เข้าใจศีล แต่เข้าใจการทำสมาธิ



ทีนี้เมื่อไม่เข้าใจศีล ไม่เข้าใจการมนสิการศีลเพียงพอ แทนที่จะทำศีลนั้นให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์ยิ่งขึ้นก็ไม่ทำ เพราะไม่เห็นโทษ ไม่เห็นคุณของศีล



ศีลนั้นเลยด่าง เลยพร่อง เลยพร้อย หรือปล่อยให้ขาด ให้ถูกทำลายไปได้โดยไม่รู้เท่าทัน ถ้าเห็นคุณค่าของศีล เห็นประโยชน์ จะรักษาเอาไว้อย่างยิ่งยวด และไม่ส่งจิตให้ฟุ้งซ่านไปสู่ที่อื่น โดยจะวิรัติศีลนั้นไว้ในใจบ่อย สำรวมอินทรีย์ ที่เรียกว่าสังวรศีล



ทีนี้ถ้าเอาใจใส่ต่อศีลให้มาก จะรู้สึกว่ายิ่งเรารักษาศีลโดยให้ความสำคัญให้บริสุทธิ์อยู่ ใจของเราก็จะนิ่งเงียบหนักแน่นมั่นคง ทั้งที่ยังไม่ได้ทำสมาธิเลย เพราะศีลนั้นบริบูรณ์ยิ่งขึ้น



ศีลนั้นเป็นบาทฐานของสมาธิ ศีลนั้นอบรมสมาธิให้เกิดขึ้น



ดังนั้นเมื่อทำสมาธิแล้ว ต้องตั้งใจอบรมศีลให้มีการสำรวมศีลด้วยกาย วาจา ใจอย่างยิ่งยวด



แทบจะบอกได้ว่าแทนที่จะมาคิดว่าทำสมาธินั้นทำยังไง? เรามาตั้งต้นใหม่สนใจเรื่องศีลให้สำคัญอย่างยิ่ง และรู้จักอารมณ์ของศีลในแง่ของอุปจารสมาธิ

คือสีลสตินั่นเอง ทำศีลให้เป็นดังอนุสติ 1 ใน 10 คือการเจริญศีล หาความรู้ในการเจริญศีลให้เต็มที่ แล้วก็ทบทวนการเจริญสติให้เป็นนิสัยไว้เสมอ



เมื่อเรารักษาศีลให้สมบูรณ์จริงจัง ศีลนี้ก็เป็นปัจจัยให้เกิดสมาธิ



ถ้าไม่เกิดมีสมาธิ ก็ไม่มีอะไรไปอบรมปัญญา แล้วจะไปเจริญปัญญาได้ยังไง สมาธินี่ให้อารมณ์ละเอียดลึกซึ้ง และทำให้รู้วิธีว่าปัญญานั้นจะเป็นไปในแนวไหน สมาธิจะมีประสบการณ์ของความรู้ที่เราไม่มีประสบการณ์แบบนั้นมาก่อน เพราะมันสงบมากกว่าศีล



สมาธินี้จึงแนะนำอบรมให้ปัญญาเกิด ไม่ว่าจะระดับโสดาบัน หรือระดับที่สูงกว่าก็อาศัย ศีล สมาธิ ปัญญา



มันข้ามขั้นกันไม่ได้ อารมณ์สมถะ เป็นอารมณ์อบรมปัญญา



แต่เพราะเราไม่ใส่ใจการอบรมศีล ไม่รู้จักศีล เรามาภาวนาทำสมาธิ จึงจะเอาปัญญากันเลย มันมีปัญหาที่เราไม่เข้าใจแล้วถกเถียงกัน ราวกับว่าคนมาทำสมาธิ จะได้อัปนาสมาธิกันเลยทีเดียว ทั้งที่ศีลที่ไม่สมบูรณ์นั่นแหละตัวขวางการเกิดสมาธิ



แล้วมาพูดเหมากันว่าการทำสมาธิทำได้ยากเหลือเกิน ทำเท่าไรก็ไม่เกิด มันจะไม่มีวันเกิดตราบที่ไม่รู้วิธีการสำรวมศีล ที่เรียกว่าอินทรีย์สังวรกันจริงๆ



และการปฏิบัติเรื่องศีลนี้ก็เป็นเรื่องยาก ต้องมีความรักศีล ถนอมศีลเหมือนดวงใจ เหมือนลูกรักของเราหริอยิ่งกว่า แต่เราไม่ยึดแต่ศีลหยาบๆ เอามันอย่างละเอียดเลย มนสิการไว้ในใจโดยเคารพเป็นอย่างยิ่ง เราก็เคารพตนเอง เคารพตนเอง เพราะเรารู้ว่าตนเองทำได้ยิ่ง คนอื่นเขาไม่รู้หรอกว่าเรารักษาศีลด้วยอาการจิตใจอย่างไร



แต่เรารู้และเคารพในตนเอง เช่นว่าเรารักษาศีลไม่ให้ผิดพรหมจรรย์ในศีลอุโบสถ เราจะไม่สัมผัสมือกับผู้หญิง ถ้าไปซื้อของตัองระวังอย่าไปยื่นและรับ แม้ใจไม่คิดอะไรก็ตาม แต่กายต้องระวังอย่างยิ่ง บางคนบอกว่าก็ใจฉันไม่ได้คิดอะไร แต่เราต้องระวังกายอย่างยิ่ง เมื่อมีกลุ่มผู้หญิงอยู่มาก เราอย่าเข้าไปให้ระลึกว่าที่ตรงนั้นอันตรายแก่พรหมจรรย์ที่เรารักษาสิ้นวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง



ศีลเราอาจด่างหรือพร้อยไปด้วยกายไม่สำรวม เราเห็นอันตรายของสตรี แต่ไม่โกรธไม่เกลียดสตรีเลย เพราะอาจเป็นอันตรายต่อศีลที่เรารักษาไว้เป็นอย่างยิ่งในวันอุโบสถ เพื่อบูชาพระผู้มีพระภาค



ด้วยความรักศีลและสำรวมด้วยอาการอย่างนี้แหละ ศีลเราจึงงดงามนัก เทวดาเห็นก็เห็นศีลมนุษย์นี้ช่างงามยิ่ง มีกลิ่นหอมยิ่ง และทวนลมไปได้ไกล เพราะเรามีอาการรักษาศีลของเราด้วยเช่นนี้เป็นต้น



ไม่ต้องสงสัยเลยว่าอารมณ์เช่นนี้จิตนั้นเป็นกึ่งสมาธิอยู่เล็กน้อยเสมอ และการเจริญสติภาวนาก็ทำได้โดยไม่ยาก



อันนี้คือเรื่องศีล ถ้าเราจะภาวนาทำสมาธิแล้ว ขอให้เอาใจใส่เรื่องศีลให้มาก จริงๆเราสอนเรื่องศีลกันมาก แต่สอนกันไม่ถึงใจ และผู้ประพฤติศีลทั้งคฤหัสน์ และบรรพชิตก็มักบกพร่องมาก ไม่จริงจัง คุณของศีลจึงมักไม่บังเกิดเป็นประสบการณ์แก่คนทั่วไป แต่คนเห็นคุณค่าศีลนั้นมี และก็พยายามรักษาไว้



เมื่อดูแลรักษาศีลดีแล้วก็เอาใจใส่ใฝ่หาความรู้ค้นคว้าในเรื่องการภาวนา ในเรื่องการทำกรรมฐานให้เหมาะกับจริต และรู้จักแก้ปัญหาในการภาวนาที่มีมากเหมือนกัน



ในเรื่องศีลนี้ เรื่องของ"ศีลนิเทศ" ในวิสุทธิมรรค และในวิมุติมรรค ท่านเขียนไว้ละเอียดมาก และให้ความสำคัญมาก เมื่อได้อ่านแล้วซาบซึ้งบุคคลผู้มีศีลเป็นอันมาก



ดังนั้นจึงมีการพรรณนาคุณประโยชน์ของศีลมาก แต่คนก็ไม่เข้าใจ เพราะไม่ค่อยเห็นการประพฤติศีล



ถ้ามีการอบรมศีลอย่างเข้าใจ และมีความรักศีลเกิดขึ้นแล้ว การเจริญภาวนาของคนแต่ละคนจะเปลี่ยนแปลงไปกว่าที่เป็นอยู่อย่างในทุกวันนี้แน่
 
นิทรา
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 02 ธ.ค. 2004
ตอบ: 26

ตอบตอบเมื่อ: 16 ธ.ค.2004, 1:27 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



71067106.jpg


อันที่จริงคุณโอ่สื่อได้ดีมากแล้วล่ะค่ะ แต่ว่าผู้อ่านยังมีความรู้เพียงน้อยนิดทำให้ยังสงสัยในบางอย่าง ก็ต้องตั้งใจอ่าน ทำความเข้าใจ พิจารณา

และศึกษาไปเรื่อยๆค่ะ ขออนุโมทนาในทานค่ะ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 18 ธ.ค.2004, 2:40 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เมื่อสำรวมศีลดีแล้ว



ลองหายใจเข้าออกนั่งภาวนาลองดู



ถ้าไม่มีกรรมคอยขัดขวางการหายใจก็ทำได้ง่าย



ถ้ามีกรรมขวางต้องใช้ความเพียรต่อสู้มากขึ้น



เอาว่าลองหายใจลองดู



หายใจเข้าก็รู้ หายใจยาวก็รู้นี่แหละ



ทำความรู้ตามลมหายใจตามตำราแบบง่ายๆลองดู



วิธีการทำนั่งก็ได้



นอนก็ได้



นั่งพิงก็ได้



ที่ให้เลือกเพราะบางคนไม่สะดวกในการนั่งตัวตรง



การนั่งตัวตรงดีที่สุด สติก็ดีด้วย



วางอารมณ์เรื่องอื่นๆลง บอกตัวเองเบาๆว่าเราจะมีความเพียรในการภาวนา และมีความตั้งใจภาวนา และจะดำรงสติรู้ในเรื่องลมหายใจอย่างเดียว



ถ้าชินกับการใช้คำบริกรรมกำกับลมหายใจว่าพุทโธ ก็ให้ใช้ตามความถนัด



ถ้าไม่ใช้ก็ให้รู้ว่าตนเองกำลังหายใจเข้า และกำลังหายใจออก ลมหายใจนั้นหนักหรือเบาก็ให้รู้ตามว่าหนักหรือเบาด้วย



ถ้าเวลาระลึกลมหายใจนี้ เผลอไปคิดเรื่องอื่น เช่นอยากกินอาหารที่โน่นที่นี่เป็นต้น (สมมุติ) ก็ให้ระลึกรู้ว่าตนเองกำลังอยากไปกินอาหารที่โน่นที่นี่



คือนอกจากรู้ทันกายแล้ว จิตมันยังคิดก็ตามรู้ทันจิตไปด้วย หรือไม่ก็ทำสติให้รู้ชัดไปที่ลมหายใจแต่อย่างเดียวก็ได้



ให้ความคิดแคบลงที่ใจจะรู้



ลองหายใจเข้าก็รู้ หายใจออกก็รู้ว่ากำลังหายใจ อย่าไปคิดอะไรนอกจากนั้นเลย ไม่มีสิ่งใดควรจะคิดนอกจากความรู้ตัวว่ากำลังหายใจเท่านั้น



ไม่มีความยินดีหรือความอยากจะได้จะเกิดสมาธิ ถ้ามีความยินดีความอยากได้สมาธิเกิดขึ้น ให้เอาสติจับความรู้สึกอยากได้สมาธินั้นให้ทันอารมณ์ในขณะนั้น แล้วปล่อยวางอารมณ์นั้นไป



ถ้ามีอารมณ์ชอบเกิดขึ้น เราอาจดึงอารมณ์ชอบนั้นอยู่กับเราก็ได้ ถ้ามีอารมณ์ชังเกิดขึ้น เราจะผลักออกไปก็ได้ ดังนั้นจึงอย่าให้มีความยินดียินร้ายเกิดขึ้น ปล่อยวางอารมณ์ลงไป เพื่อไม่ให้ติดอารมณ์ยินดีและอารมณ์ชัง



ไม่มีความอยากได้สมาธิ วางเฉยด้วยการรู้ตัวอย่างเดียวเท่านั้น



เรามีหน้าที่จะต้องทำอย่างระมัดระวังในการหายใจเข้า และหายใจออกเท่านั้น ตามความรู้ในการหายใจให้รู้ตัวไปตลอด อย่างช้าๆ



ทำจนเราไม่คิดวอกแวกไปสู่ที่อื่น จิตไม่หวั่นไหว และอยู่กับลมหายใจ หายใจเข้า หายใจออก อยู่อย่างนั้น



เวลาหายใจถ้าลมหายใจยาวตลอด ให้หายใจช้าๆ แผ่วเบา อย่าเกร็ง อย่าใช้จิตบังคับให้รุนแรง



จนรู้สึกว่าลมหายใจนั้นแทบไม่กระทบอะไรในทางเดินหายใจ ทำดูว่าสามารถรู้ตัวแล้วหายใจอย่างสม่ำเสมอกันได้หรือไม่



นังอย่าเกร็ง ดูว่านั่งได้สบายพอหรือไม่ ถ้ากำลังนั่งไม่มั่นคงลองหาที่พิงเบาๆ



สตินั้นต้องระลึกไว้ อย่าให้หลับ แม้ร่างกายจะนิ่งไม่เคลื่อนไหว แต่สติต้องตื่นรู้ในภายในให้ชัดที่ลมหายใจรู้ว่าเรานั้นหายใจอยู่ และไม่คิดไม่กังวลในสิ่งใดๆทั้งสิ้น



เราสักแต่หายใจอย่างเดียวด้วยการรู้ตัวไม่ยินดียินร้าย



และคิดเรื่องอื่นให้เบาๆ อย่าบังคับให้ความคิดหยุดกึกแต่ใช้สติจับความคิดนั้นจะหยุดไปเอง และมาอยู่ที่การรู้ตัว



ทำให้ตัวเราเบาเหมือนสำลี ความคิดก็ให้เบาเหมือนสำลี เรารู้ตัวอยู่กับลมหายใจที่แผ่วเบาลงไปเรื่อยๆ รู้อย่างเดียวเท่านี้



เมื่อลมหายใจเบาก็รู้ว่าลมหายใจเบา



ให้ทำสติลึกลงไปขั้นหนึ่ง ด้วยการกำหนดอย่างนี้ลองดูว่าทำได้ไม?



กำหนดว่าเรากำลังรู้ตัวว่าเรากำลังกำหนดลมหายใจอยู่



อันนี้ไม่ได้กำหนดรู้ลมหายใจ แต่กำหนดรู้มากกว่า คือกำหนดรู้ว่าเรากำลังกำหนดสติให้รู้ลมหายใจอยู่ นี่เป็นการกำหนดสติสองขั้น อันนี้ไม่มีตำราสอน ไม่มีใครสอน



แต่กำหนดแบบนี้ได้ จะสามารถทำให้เกิดสมาธิได้ เพราะว่าการกำหนดแต่รู้ลมหายใจนั้น บางทีมันหยาบเกินไป เราต้องการอารมณ์ที่ละเอียด และรู้เท่าทันมากกว่านั้น



ดังนั้นก่อนที่เราจะรู้ลมหายใจเข้าออก เราควรจะรู้ว่าจิตและกายได้ทำอะไรในเวลาก่อนหน้านั้น กำหนดสิ่งที่อยู่ก่อนหน้านั้น เพื่อไม่ให้มีช่องว่างในสติ แต่การกำหนดแบบนี้ ถ้าทำอย่างหยาบๆ ความคิด หรือจิตจะมีความกระเทือน



เมื่อกระเทือนอินทรีย์ห้ามันสั่น หรือจิตมันไหว ไม่ได้ประโยชน์ในการเกิดสมาธิ





ต้องให้ทุกอย่างนิ่ง ให้อินทรีย์เสมอ หรือมีดุลยภาพ หายใจเข้า หายใจออก รู้ทุกช่วงเวลาที่หายใจ อย่าให้สะดุดหรือขาดช่วงไปนึกในเรื่องอื่น



เพราะทันทีที่ความคิดไปสู่ที่อื่น จิตก็ก็ไหว ไม่นิ่ง ต้องรักษาให้ทุกสิ่งทั้งใจกายนิ่งทั้งข้างใน ทั้งข้างนอก



ถ้ามันมีสิ่งสั่นไหวไม่นิ่งในข้างใน รู้สึกได้ มันจะไม่เข้าสมาธิ สมาธินั้นต้องปล่อยวางลงไปและให้นิ่ง



ลองฝึกหายใจดูวันสักครึ่งชั่วโมงลองดูนะครับ ดูว่ามันสามารถจะพัฒนาไปได้หรือไม่ได้อย่างไรบ้าง



แต่อย่าลืมสำรวมศีลไว้ให้ดีด้วยนะครับ
 
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 19 ธ.ค.2004, 9:24 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อย่าได้ท้อ อย่าได้ถอย



เจริญกุศลและภาวนาไปทุกๆวัน



เมื่อโอกาสมาถึงจงทำให้มาก



อย่าได้ท้ออย่าได้ถอย สะสมบุญไว้ทีละน้อยๆไปก่อน เมื่อมีโอกาสแล้ว จงทำให้มาก



อย่าได้ท้ออย่าได้ถอย ตั้งความเพียร ตั้งใจด้วยหัวใจมั่นว่าจะปฏิบัติใน ทาน ศีล และภาวนา ให้เต็มตามสติกำลังของตนเองไปตลอดกาล
 
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 19 ธ.ค.2004, 9:24 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อย่าได้ท้อ อย่าได้ถอย



เจริญกุศลและภาวนาไปทุกๆวัน



เมื่อโอกาสมาถึงจงทำให้มาก



อย่าได้ท้ออย่าได้ถอย สะสมบุญไว้ทีละน้อยๆไปก่อน เมื่อมีโอกาสแล้ว จงทำให้มาก



อย่าได้ท้ออย่าได้ถอย ตั้งความเพียร ตั้งใจด้วยหัวใจมั่นว่าจะปฏิบัติใน ทาน ศีล และภาวนา ให้เต็มตามสติกำลังของตนเองไปตลอดกาล
 
P:)
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 24 ธ.ค.2004, 10:43 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

จุดประสงค์ ของ การภาวนา นี่ ทำเพื่ออะไรหรือครับ?

ผมไม่ค่อยเข้าใจน่ะครับ ขอบคุณครับ

ผมก็ทำนะครับแต่ไม่สามารถรักษาพลังงานนั้นไว้ได้ตลอดเวลาดำเนินชีวิตประจำวัน คงเป็นเพราะผมยังไม่เข้าใจในจุดประสงค์ในการเจริญภาวนาได้แต่ทำๆโดยไม่มีจุดหมายใช่ไหมครับ
 
โฮ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 26 ธ.ค.2004, 4:36 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การภาวนานี้ก็เพื่ออบรมตนเองให้มีศีล (เรียกว่าอินทรีย์สังวร) หรืออบรมสมาธิ (เพื่อให้เกิดความสงบใจ) และอบรมปัญญา (เพื่อให้เกิดความรู้ที่ถูต้องแก่จิต) เพื่อเป็นการดำเนินชีวิตด้อย่างถูกต้อง



ตอบแค่นี้หวังว่าพอเข้าใจได้ ประโยชน์อื่นยังมีอีกมากครับ



เมื่อเข้ามาตอบแล้ว ผมอยากเสริมความเห็นที่ห้า ในเรื่องการหายใจในการภาวนาที่อ่านแล้วเห็นว่ายังขาดไป



และถือว่าเป็นการใช้สติตามลมหายใจ เวลาหายใจเข้าหรือออก ที่สำคัญและทำให้เกิดสมาธิหรือไม่ด้วย



นั่นคือการตามลมหายใจให้ต่อเนื่อง



คำว่าต่อเนื่อง หมายถึงช่วงที่เราสูดลมหายใจเข้าไปช้าๆจนสุด แล้วกำลังหายใจออก



ช่วงตรงนี้ คือพอหายใจเข้าไปจนสุด การใช้สติตามว่า เข้า.................ไปเรื่อยๆ ไม่ต้องหยุด ให้การตามลมหายใจเหมือนเราเดินเข้าไปแล้วเดินวนกลับในที่แคบๆ พอหันตัวกลับแล้วก็เป็นกำหนดตามรู้ ว่า ออก.......................ไปเรื่อยๆ จนหายใจออกมาสิ้นสุดที่เราจับลมได้ที่บริเวณใดจนสุดท้ายหมดลมหายใจแล้ว การกำหนดว่า "ออก"นั้นไม่ต้องหยุดเช่นกัน ให้กำหนดติดต่อกับการกำหนดลมหายใจ"เข้า"ไปเลย



คือการกำหนดลมหายใจนี้ จะหายใจเข้าหรือออกติดต่อกันนานเท่าไร ก็ไม่มีการหยุดสะดุดในช่วงการเปลี่ยนหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างหายใจเข้าและออก



ถ้าทำได้อย่างนี้ลมหายใจจึงจะมีความละเอียดมาก และเมื่อลมายใจหายไป ก็กำหนดในจุดที่นิ่งที่ยังมีความรู้สึกเบาๆ เข้าใจว่าคนอื่นๆก็คงมีจุดแห่งความรู้สึกนึ้บริเวณกลางอก และกำหนดรู้เบาๆว่าเรากำลังหายใจ



จุดนี้ถ้าทำได้เหมาะสมประมาณสามนาที จิตก็จะรวมอาจจะรวมมากหรือรวมน้อยก็ได้ ถ้ารวมน้อยก็ยังรูสึกตัว แต่ความสนใจเรื่องต่างๆจะไม่มีมาก จิตจะพอใจในความนิ่งมากขึ้น ควรจะเข้าไปรู้อารมณ์แห่งความนิ่งนี้ว่าเป็นอย่างไร รสชาติของความสงบนี้ก็ต้องรู้รสเสียก่อน รู้แล้วจะคิดกับอารมณ์นี้อย่างไรก็ใช้วิจารณญาณได้เอง
 
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 10 ม.ค. 2005, 9:08 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

[๒๐๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สนังกุมารพรหมได้กล่าวเนื้อความนี้แล้ว

เรียกเทวดาชั้นดาวดึงส์มากล่าวว่า ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย เทวดาชั้นดาวดึงส์

จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บริขารแห่งสมาธิ ๗ ประการนี้ อันพระผู้มีพระภาค

ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติดีแล้วเพื่อ

ความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์แห่งสัมมาสมาธิ บริขารแห่งสมาธิ ๗ ประการ

เป็นไฉน คือสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ

สัมมาวายามะ สัมมาสติ ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย ความที่จิตตั้งมั่น แวดล้อม

ด้วยองค์ ๗ นี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สัมมาสมาธิอันเป็นอริยะมีอุปนิสัย

ดังนี้บ้าง มีบริขารดังนี้บ้าง ฯ

 
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 14 ม.ค. 2005, 4:14 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ควรสนใจธรรมที่เรียกว่า "อิทธิบาทสี่" และควรมีฉันทะในการภาวนาเสมอ
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง