Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 เรียนพระอภิธรรมฟรี ณ วัดระฆังโฆสิตาราม อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่หัวข้อนี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไข หรือตอบได้
ผู้ตั้ง ข้อความ
1234
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 27 มิ.ย. 2007
ตอบ: 62
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพฯ

ตอบตอบเมื่อ: 28 มิ.ย.2007, 3:17 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เรียนพระอภิธรรมฟรี (ทางไปรษณีย์) ระยะเวลา 9 เดือน สอบเสร็จมีประกาศนียบัตร ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ทางเราจะส่งข้อสอบ 1,000 ข้อพร้อมหนังสือให้ฟรี ให้ทุกๆ ท่านไปศึกษาหนังสือและเปิดดูในขณะทำข้อสอบได้ พอท่านทำข้อสอบเสร็จก็ให้ส่งกลับมาและทางเราจะส่งประกาศนียบัตรให้ (ต้องทำได้ 500 ข้อขึ้นไป) ข้อสอบส่วนหนึ่งเป็นข้อสอบที่เกี่ยวกับพุทธประวัติ โดยให้ท่านส่ง ชื่อ ที่อยู่ วัน/เดือน/ปี/เกิด วุฒิทางโลก วุฒิทางธรรม (ไม่ต้องมีก็ได้)

ส่งมาที่

อภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย
วัดระฆังโฆสิตาราม คณะ 7 ถ.อรุณอัมรินทร์
แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700


สาธุและเจริญพรทุกๆ ท่านที่อยากจะเรียน
รายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 02-411-4546


หมดเขต 21 กค. 50 ศกนี้
 

_________________
จงระแวงในสิ่งที่ควรระแวง

แก้ไขล่าสุดโดย 1234 เมื่อ 13 ก.ค.2007, 12:27 pm, ทั้งหมด 4 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวหมายเลข ICQ
1234
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 27 มิ.ย. 2007
ตอบ: 62
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพฯ

ตอบตอบเมื่อ: 28 มิ.ย.2007, 3:48 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

หรือถ้าไม่สะดวกส่งมาทางจดหมาย
โพสต์เลยโยม ก่อนที่โยมจะโพสต์ต้องสมัครสมาชิกก่อนนะ
 

_________________
จงระแวงในสิ่งที่ควรระแวง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวหมายเลข ICQ
1234
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 27 มิ.ย. 2007
ตอบ: 62
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพฯ

ตอบตอบเมื่อ: 28 มิ.ย.2007, 6:21 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สอนง่าย ได้ปัญญา ไปมาสะดวก ขอเชิญท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย มาศึกษาพระอภิธรรมที่วัดระฆังโฆสิตาราม แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ

บทบัญญัติ
อภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย
ว่าด้วยเรื่องวิทยฐานะ


เพื่อเป็นการรับรองวิทยฐานะของอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย, สำนักเรียนสาขา (วิทยาเขต), ผู้บริหาร, ครูอาจารย์ และ นักศึกษาในสังกัดอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย จึงตราบทบัญญัติว่าด้วยเรื่องวิทยฐานะ ดังนี้

ก. บทบัญญัติว่าด้วยสถาบัน
๑. บทบัญญัตินี้ เรียกว่า บทบัญญัติอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย
๒. บทบัญญัตินี้ ว่าด้วยเรื่องวิทยฐานะของสถาบันและบุคลากรผู้เกี่ยวข้องในอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย
๓.บทบัญญัตินี้ ให้ใช้ปฏิบัติ ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใช้ เป็นต้นไป จนกว่าจะมีการยกเลิก หรือ เปลี่ยนแปลงแก้ไข
๔. อภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย หมายถึง สถาบันที่เป็นศูนย์กลางในการดำเนินการจัดการเรียนการสอนและการสอบพระอภิธรรม ตามหลักสูตรที่พระอาจารย์สัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ จัดเรียบเรียงขึ้น ซึ่งได้รับฉันทานุมัติจากคณะสงฆ์ไทย และรัฐบาลไทย เป็นสถาบัน อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๙๒)
๕. สำนักเรียนสาขา (วิทยาเขต) หมายถึง สถาบันที่เปิดทำการเรียนการสอบพระอภิธรรม ตามหลักสูตรที่อภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยกำหนด และแจ้งความประสงค์ ร้องขอเป็นสำนักเรียนสาขา โดยส่งรายชื่อนักศึกษาเข้าสอบด้วย อย่างน้อย ๑ ภาคเรียน ก่อนแล้ว จึงมีฐานะเป็น สำนักเรียนสาขา หรือ วิทยาเขต ของอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย
ข. บทบัญญัติว่าด้วยวิทยฐานะของผู้บริหาร
๑. ประธานผู้บริหารอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย มีตำแหน่งเป็น “ผู้อำนวยการ”
๒. ผู้บริหาร ซึ่งทรงคุณวุฒิ และ วัยวุฒิ ที่เกี่ยวข้องกับอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย มีฐานะเป็นประธานที่ปรึกษา, รองผู้อำนวยการ, ผู้ช่วยผู้อำนวยการ, และกรรมการ ตามลำดับชั้น
๓. หากผู้อำนวยการ และ คณะผู้บริหาร มิได้ดำเนินกิจการงานด้วยตนเอง ให้แต่งตั้งมอบหมาย ผู้ดูแลจัดการ ดำเนินกิจการงานแทนผู้อำนวยการ โดยมีฐานะ ศักดิ์และสิทธิ์ เทียบเท่า เลขานุการผู้อำนวยการ ในการดำเนินกิจการงานอภิธรรมมหาวิทยาลัย ฯ แทนคณะผู้บริหาร
๓.๑ โดยจะแต่งตั้งคณะผู้ร่วมดำเนินกิจการฝ่ายต่าง ๆ เองก็ดี หรือ คณะผู้บริหารเสนอคัดเลือกให้ ก็ดี
๓.๒. ผู้ดำเนินกิจการ มีสิทธิในการดูแล รับผิดชอบ และจัดการกิจการงานอภิธรรมมหาวิทยาลัย ฯ ทุกอย่าง และมีสิทธิดูแลจัดการบุคลากร คณะผู้ดำเนินกิจการ ครูอาจารย์ และนักศึกษาให้เป็นไปโดยชอบ ตามหลักพระธรรมวินัย และกฎกติกา ของอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย
๔. เจ้าสำนักเรียนสาขา (วิทยาเขต) ทุกสำนัก มีฐานะเป็น รองผู้อำนวยการ โดยตำแหน่ง
๕. ครูอาจารย์ผู้ทำการสอน ในอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย และสำนักเรียนสาขา มีฐานะ เป็นคณาจารย์ หรือ คณาจริยะ (ผู้นับเนื่องในหมู่อาจารย์สอน) แห่งอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย โดยตำแหน่ง

ค. บทบัญญัติว่าด้วยวิทยฐานะของนักศึกษา
๑. ผู้ที่แจ้งความประสงค์และเขียนกรอกใบสมัคร ตามรายการที่อภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยระบุไว้ โดยความสมัครใจ พร้อมด้วยติดรูปถ่าย ๑ นิ้วครึ่ง จำนวน ๒ ใบ ยื่นร้องขอ ต่อเจ้าหน้าที่ของอภิธรรมมหาวิทยาลัย ฯ เมื่อได้รับอนุมัติให้เป็นนักศึกษาได้ ผู้นั้น ย่อมมีฐานะ เป็นนักศึกษา หรือ นิสิต ของอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย โดยสมบูรณ์
๒. ผู้ที่สำเร็จการศึกษาชั้นนักศึกษา จบทั้ง ๙ ชั้น ได้รับวุฒิการศึกษา เป็น ประกาศนียบัตรอภิธรรมบัณฑิต มีวิทยฐานะเทียบเท่าปริญญาตรี สามารถนำไปสมัครเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโทได้
๒.๑ ในประเทศไทยนั้น สามารถสมัครเข้าศึกษาต่อปริญญาโทได้ ณ สถาบันมหามกุฎราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงฆ์ ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ส่วนกลางวัดบวรนิเวศวิหาร บางลำพู กรุงเทพ ฯ และ ทุกวิทยาเขต ที่เปิดโอกาสรับสมัคร
๒.๒ ในต่างประเทศนั้น สามารถนำไปศึกษาต่อระดับปริญญาโทได้ ณ ประเทศอินเดีย ประเทศศรีลังกา และประเทศสหรัฐอเมริกา
(ส่วนสถาบันอื่น และประเทศอื่น ยังไม่มีข้อมูลหลักฐาน ในการรับรองวิทยฐานะ ให้เข้าศึกษาต่อได้)
๓. ผู้สำเร็จการศึกษาชั้นอาจารย์ทั้ง ๖ ชั้นได้รับวุฒิการศึกษาเป็น ประกาศนียบัตรอภิธรรมมหาบัณฑิต มีวิทยฐานะเทียบเท่าปริญญาโท (แต่ยังไม่สามารถนำไปสมัครเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาเอกได้ เนื่องจากยังไม่มีการรับรองวิทยฐานะจากสถาบันต่าง ๆ)

จึงประกาศแจ้งมาให้ทราบโดยทั่วกัน
ประกาศ ณ วันที่ ๑ เดือน มกราคม พุทธศักราช ๒๕๔๘
อภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย


บทบัญญัติ
อภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย
ว่าด้วยเรื่องระเบียบปฏิบัติในการสมัครเป็นนักศึกษา และการสมัครสอบ


เพื่อให้การศึกษาพระอภิธรรมของอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย และสำนักเรียนสาขา มีความเป็นระบบระเบียบ และมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น จึงได้ตราบทบัญญัติ วางระเบียบปฏิบัติในการสมัครเป็นนักศึกษา และ การสอบ ไว้ดังต่อไปนี้

๑. บทบัญญัตินี้ ชื่อว่า ข้อปฏิบัติในการสมัครเป็นนักศึกษาใหม่ และการสมัครสอบ ของอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย
๒. บทบัญญัตินี้ ให้ใช้ปฏิบัติได้ ตั้งแต่วันถัดไป จากวันที่ประกาศ ใช้ เป็นต้นไป จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงข้อปฏิบัติใหม่ หรือ เลิกใช้
๓. ผู้ที่ประสงค์จะสมัครเข้าสอบในอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ต้องสมัครเป็นนักศึกษาของอภิธรรมมหาวิทยาลัยฯ โดยสมบูรณ์ คือ เขียนกรอกใบสมัครนักศึกษาใหม่ ติดรูปถ่ายให้เรียบร้อย (ตั้งแต่ชั้นจูฬะตรี) และยื่นใบสมัคร ต่อเจ้าหน้าที่ของอภิธรรมมหาวิทยาลัย ฯ อย่างช้าไม่เกิน ๑๕ วัน ก่อนถึงกำหนดวันสอบ
๔. ในการเขียนใบสมัครเป็นนักศึกษา หรือ ใบสมัครสอบ นักศึกษาต้องเขียนให้ครบตามรายการที่ระบุไว้ทุกประการ เท่าที่เกี่ยวข้องและจำเป็น เพื่อสะดวกแก่การเก็บข้อมูล และทำทะเบียนประวัตินักศึกษา
๕. ผู้ที่สมัครเป็นนักศึกษาใหม่ ของอภิธรรมมหาวิทยาลัย แห่งประเทศไทย ต้องเริ่มสอบตั้งแต่ชั้นแรก คือ ชั้นจูฬะตรี เป็นต้นไป ไม่อนุญาตให้สอบข้ามชั้น และไม่อนุญาตให้เทียบโอนจากสถาบันอื่น (ยกเว้นกรรมการจะมีมติเปลี่ยนแปลงตามเหตุการณ์อันสมควร)
๖. ผู้สมัครเป็นนักศึกษาใหม่ ของอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ต้องสอบได้ชั้นจูฬะตรีก่อนแล้ว ทางอภิธรรมมหาวิทยาลัย ฯ จึงจะออกบัตรนักศึกษาให้ (เพื่อป้องกันความไม่แน่นอนของนักศึกษา เมื่อสอบชั้นแรกไม่ผ่านแล้ว เกิดความท้อถอย ไม่ศึกษาต่อ บัตรก็จะไร้ประโยชน์)
๗. เมื่อสมัครเป็นนักศึกษาของอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย แล้ว นักศึกษาสามารถไปสมัครเรียนที่สำนักเรียนใดก็ได้ (ไม่จำกัดสถานที่และเวลาเรียน) และสามารถสมัครสอบในนามของสำนักเรียนใด ก็ได้ ซึ่งสังกัดเป็นสำนักเรียนสาขาของอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย
๘. นักศึกษาที่จะสอบในแต่ละชั้น ต้องเขียนใบสมัครสอบ (ไม่ต้องติดรูปถ่าย) ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ หรือ เจ้าสำนักเรียน ส่งมา ณ สำนักงานส่วนกลาง อย่างช้า ไม่เกิน ๑๕ วัน ก่อนถึงวันสอบ (เกินกำหนดนั้นไป จะไม่รับใบสมัครสอบ) เพื่อสะดวกแก่การจัดสอบ
๙. นักศึกษาต้องสมัครสอบตามลำดับชั้นขึ้นไป เมื่อสอบตกชั้นใด ต้องสอบชั้นนั้น ซ้ำใหม่ในการสอบคราวต่อไป จนกว่าจะสอบได้ ไม่อนุญาตให้สอบกระโดดข้ามชั้น (ตามกฎข้อ ๕)
๑๐. นักศึกษาที่สมัครสอบแต่ละครั้ง เมื่อสมัครสอบในนามสำนักเรียนใด ต้องเข้าสอบในสำนักเรียนนั้น ยกเว้นแต่มีเหตุจำเป็นพิเศษ ไม่อาจไปเข้าสอบในสำนักเรียนนั้นได้ จะสอบสำนักเรียนไหน ต้องแจ้งแก่เจ้าหน้าที่ส่วนกลาง และได้รับอนุมัติ ตามเหตุอันจำเป็นนั้นก่อนแล้ว
๑๑.ในการสอบแต่ละครั้ง สำนักเรียนที่เป็นสาขา ต้องมีกรรมการจากส่วนกลาง นำข้อสอบไปเปิดสอบ และต้องสอบข้อสอบที่ส่วนกลางนำไป ไม่อนุญาตให้สำนักเรียนออกข้อสอบ ให้นักศึกษาสอบเองต่างหาก
๑๒. ในการเข้าสอบแต่ละครั้ง นักศึกษาผู้ที่ทางอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ออกบัตรนักศึกษาให้แล้ว ต้องนำบัตรนักศึกษา และ บัตรประจำตัวประชาชน (เฉพาะที่เป็นฆราวาส) หรือ หนังสือสุทธิ (เฉพาะพระภิกษุสามเณร) มาแสดงต่อกรรมการกำกับการสอบด้วย โดยกรรมการจะเดินตรวจตามโต๊ะนั่งสอบ
๑๓. เมื่ออภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ประกาศผลการสอบแล้ว ส่วนกลางจะจัดส่งผลการสอบ หรือ หนังสือแถลงการณ์ ไปยังสำนักเรียน ทุกสาขาที่ส่งนักศึกษาสอบ เพื่อแจ้งผลการสอบให้ทุกสำนักเรียนได้ทราบ
๑๔. ในการสอบวัดผลนั้น เมื่อนักศึกษาสอบผ่านแต่ละชั้น อภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ก็จะออกใบประกาศนียบัตรรับรองวุฒิการศึกษาให้ทุกชั้น โดยผู้สมัครสอบในนามสำนักเรียนส่วนกลาง รับได้ที่สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (วัดระฆังโฆสิตาราม คณะ ๗) ส่วนผู้ที่สอบในนามสำนักเรียนสาขา ทางส่วนกลาง จะรวมส่งไปให้ทุกสำนักเรียน ที่มีนักศึกษาสอบผ่าน ให้เจ้าสำนักเรียน จัดมอบแก่นักศึกษา (ไม่ต้องมารับที่ส่วนกลาง)

จึงประกาศแจ้งมาให้ทราบโดยทั่วกัน
ประกาศ ณ วันที่ ๑ เดือน มกราคม พุทธศักราช ๒๕๔๘
อภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย


บทบัญญัติ
อภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย
ว่าด้วยเรื่องระเบียบปฏิบัติในการสอบพระอภิธรรม


เพื่อให้การสอบพระอภิธรรม ของอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย เป็นไปโดยถูกต้อง เรียบร้อย ดีงาม นำมาซึ่งเกียรติ และความเจริญแก่อภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย จึงวางระเบียบปฏิบัติในการสอบไว้ดังต่อไปนี้.

๑. ข้อสอบ เป็นแบบอัตนัย แบ่งเป็น ๒ วันๆ ละ ๗ ข้อๆ ละ ๑๐ คะแนน และแบบสัมภาษณ์ ในวันสุดท้ายของการสอบอีก ๖ ข้อ ของชั้นนักศึกษา ข้อละ ๕ คะแนน ของชั้นอาจารย์ ข้อละ ๑๐ คะแนน รวมเป็นข้อสอบแต่ละชั้นทั้งหมด ๒๐ ข้อ ของชั้นนักศึกษา ๙ ชั้น แต่ละชั้น คะแนนเต็ม ๑๗๐ คะแนน ของชั้นอาจารย์ ๖ ชั้น แต่ละชั้น คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน
๒. ข้อสอบเขียนนั้น ให้นักศึกษาสามารถทำข้อสอบสลับข้อได้ โดยไม่ต้องทำเรียงตามลำดับข้อ แต่ต้องเขียนเรียงตามลำดับหน้ากระดาษ และเขียนระบุข้อ ให้เรียบร้อย และต้องตอบแต่ละข้อให้จบต่อเนื่องกันไป เพื่อความสะดวก ในการตรวจข้อสอบของกรรมการ
๓. การสอบข้อเขียนทั้ง ๒ วัน เริ่มเวลา ๑๓.๐๐ น. – ๑๗.๐๐ น. รวมเป็นเวลา ๔ ชั่วโมง ไม่อนุญาตให้นักศึกษาเข้าห้องสอบ ภายหลังเวลาสอบผ่านไปแล้ว ๓๐ นาที ฉะนั้น นักศึกษาจึงควรมาให้ทันกับเวลาสอบ ส่วนการสอบสัมภาษณ์ ทุกชั้น ให้สอบในวันสุดท้าย หลังจากสอบข้อเขียนเสร็จแล้ว (ยกเว้นกรรมการจะมีมติเป็นอย่างอื่น ตามสมควรแก่เหตุการณ์)
๔.ไม่อนุญาตให้นักศึกษา สอบก่อน หรือ สอบหลัง กำหนดวัน เวลา ที่อภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยกำหนดไว้ (เพื่อป้องกันความวุ่นวายและความทุจริต)
๕. ห้ามมิให้นักศึกษานำเอกสารใด ๆ เข้าไปในห้องสอบ เมื่อได้เวลาสอบ ให้เก็บเอกสารทุกชนิดให้เรียบร้อย ซึ่งกรรมการจะแจกกระดาษเขียนคำตอบให้เอง
๖. ห้ามนักศึกษา หรือ กรรมการ เจ้าหน้าที่ ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ประพฤติทุจริตในการสอบ โดยประการใด ๆ ถ้าจับได้ ผู้สอบ ถูกปรับให้ตก หรือ ห้ามสอบในครั้งต่อไป ส่วนกรรมการ หรือ เจ้าหน้าที่อื่น ๆ อาจมีบทลงโทษ ห้ามเกี่ยวข้องในการสอบ ครั้งต่อไป
๗. ในการสอบ นักศึกษาต้องนั่งประจำโต๊ะเลขที่นั่งของตน ที่เจ้าหน้าที่จัดให้ ห้ามนั่งสลับกับโต๊ะเลขที่นั่งของผู้อื่น (เว้นแต่กรรมการกลางจะมีมติเป็นประการอื่น ตามสมควรแก่เหตุการณ์)
๘. หากไม่มีกิจจำเป็นอย่างอื่น (ยกเว้น ปวดหนัก, ปวดเบา เป็นต้น) ห้ามนักศึกษาออกจากห้องสอบ ก่อนส่งกระดาษคำตอบ โดยเด็ดขาด
๙. เมื่อนักศึกษา ส่งกระดาษคำตอบแล้ว ให้ออกไปนอกห้องสอบ ห้ามไปพูดคุย หรือ บอกข้อสอบแก่ผู้สอบคนอื่น ซึ่งกำลังสอบอยู่ และหากไม่มีกิจจำเป็น ห้ามเข้าไปในห้องสอบ อีก
๑๐. ห้ามส่งเสียงรบกวน หรือ แสดงปฏิกิริยารบกวนสมาธิของผู้อื่น หรือ คุยโทรศัพท์มือถือส่งเสียงดัง ในห้องสอบ โดยเฉพาะในขณะสอบ
๑๑. ห้ามมิให้ผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการสอบ และไม่มีหน้าที่กำกับห้องสอบ เข้าไปเกี่ยวข้องในห้องสอบ ในขณะนักศึกษากำลังทำการสอบ โดยเด็ดขาด
๑๒. ให้ทุกท่านที่เข้ามา ณ สถานที่สอบ โปรดแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย และสำรวมกิริยามารยาท ให้งดงาม
๑๓. ขอให้นักศึกษา ครูอาจารย์ กรรมการ เจ้าหน้าที่ ทุกฝ่าย โปรดตระหนักถึงหิริโอตตัปปะ มีความละอาย เกรงกลัวต่อผลของทุจริต ทุกอย่าง ทั้งต่อหน้าและลับหลัง เพื่อหวังความเจริญแก่ตนเอง สังคม และแก่อภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย

จึงประกาศแจ้งมาให้ทราบโดยทั่วกัน
ประกาศ ณ วันที่ ๑ เดือน มกราคม พุทธศักราช ๒๕๔๘
อภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย


บทบัญญัติ
อภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย
ว่าด้วยเรื่องระเบียบปฏิบัติ
สำหรับกรรมการผู้นำข้อสอบไปเปิดสอบสำนักเรียนสาขา


เพื่อให้การสอบพระอภิธรรมของอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย เป็นไปด้วยความสะอาดบริสุทธิ์ มีคุณภาพและประสิทธิภาพ รักษาไว้ซึ่งพระสัทธรรม และความยุติธรรม จึงได้ตราบทบัญญัติเกี่ยวกับกรรมการผู้นำข้อสอบไปเปิดสอบยังสำนักเรียนสาขา วางไว้เป็นระเบียบปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

๑. บทบัญญัตินี้ ชื่อว่า ระเบียบปฏิบัติสำหรับกรรมการผู้นำข้อสอบไปเปิดสอบ ณ สำนักเรียนสาขา ที่อภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย แต่งตั้งให้ไป
๒. บทบัญญัตินี้ ให้ใช้ปฏิบัติ ตั้งแต่วันถัดไป จากวันที่ประกาศใช้
๓. กรรมการ หมายถึง บุคคล คือ พระภิกษุ สามเณร แม่ชี หรือ ฆราวาสชาย - หญิง ที่อภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยแต่งตั้งให้ไปปฏิบัติหน้าที่ในการจัดสอบ โดยมีหนังสือส่งตัว จากอภิธรรมมหาวิทยาลัย ฯ ถึงเจ้าสำนักเรียน
๔. ห้ามกรรมการ เปิดเองก็ดี หรือ ให้ผู้อื่นเปิดก็ดี ซึ่งซองบรรจุข้อสอบ ก่อนถึงวัน เวลา และสถานที่ เปิดสอบ โดยเด็ดขาด
๕. เมื่อกรรมการนำข้อสอบ ไปถึงวัด/สำนักเรียนแล้ว ให้เข้าไปหา หรือ ทำความเคารพท่านเจ้าอาวาส/เจ้าสำนักเรียน ตามฐานะอันสมควร แจ้งความประสงค์ที่ตนมาให้ท่านทราบ แล้วถวายหนังสือจากอภิธรรมมหาวิทยาลัย ฯ ถึงเจ้าสำนักเรียน แด่ท่าน
๖. ถึงเวลาเปิดสอบ เมื่อท่านผู้เป็นประธานประกอบพิธีเปิดสอบเรียบร้อยแล้ว กรรมการอ่านเองก็ดี หรือ ให้ผู้อื่นอ่านก็ดี ซึ่งระเบียบปฏิบัติ ในการสอบพระอภิธรรมของอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ให้นักศึกษา ครูอาจารย์ และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ได้ทราบโดยทั่วกัน
๗.หลังจากอ่านระเบียบปฏิบัติในการสอบ เสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้แจกกระดาษคำตอบให้นักศึกษาได้เขียนรายละเอียดประจำตัว ก่อนแล้ว จึงแจกข้อสอบทีหลัง
๘. ให้ประธาน หรือ เจ้าสำนักเรียน และกรรมการสำนักเรียน พร้อมกับกรรมการผู้นำข้อสอบไปด้วย รวมเป็น ๓ ท่าน เซ็นชื่อรับรองความบริสุทธิ์ของซองบรรจุข้อสอบ ก่อนเปิดซองบรรจุข้อสอบ
๙. ให้กรรมการ ทำการตรวจสอบชื่อ นามสกุล/ฉายา ของผู้เข้าสอบให้ถูกต้อง และตรวจบัตรนักศึกษา (ถ้ามี) หรือ บัตรประจำตัวประชาชน (ฆราวาส) / หนังสือสุทธิ (เฉพาะพระภิกษุ–สามเณร) ให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันการทุจริต
๑๐. ถ้านักศึกษาท่านใด มีชื่อในบัญชีไม่ถูกต้อง หรือ ตกหล่น ให้ผู้เข้าสอบเขียนชื่อ นามสกุล/ฉายา ของตนให้ถูกต้อง และชัดเจน จะได้จัดพิมพ์ให้ถูกต้องต่อไป
๑๑. ให้กรรมการ เอาภาระในการควบคุมดูแล และจัดการให้ทุกฝ่าย ปฏิบัติตามระเบียบการสอบของอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย อย่างเคร่งครัด (อย่าปล่อยปละละเลย โดยเห็นแก่ความมักง่าย เป็นอันขาด)
๑๒. ห้ามมิให้นักศึกษาผู้ไม่ได้ส่งรายชื่อสอบ เข้าสอบโดยเด็ดขาด ยกเว้นกรณี รายชื่อตกหล่น สอบถามให้ได้ความจริงแล้ว เพิ่มรายชื่อต่อด้านท้ายในบัญชีรายชื่อนักศึกษาที่สอบ ได้ตามเหตุอันสมควร
๑๓. ถ้านักศึกษา ครูอาจารย์ หรือ ผู้ใดผู้หนึ่ง ประพฤติทุจริตในการสอบ โดยประการใด ๆ ให้ช่วยตักเตือนก่อน หากตักเตือนแล้วไม่เอื้อเฟื้อ ถ้าเป็นนักศึกษา ให้ทำหมายเหตุไว้หน้าชื่อ ถ้าเป็นบุคคลอื่น บอกมิให้ยุ่งเกี่ยวในการสอบ และรายงานส่งส่วนกลางด้วย
๑๔. ในการสอบแต่ละวัน เมื่อนักศึกษาส่งกระดาษคำตอบแล้ว ให้เก็บกระดาษคำตอบใส่ซองใหญ่ ปิดผนึกไว้ให้เรียบร้อย และเก็บรักษาไว้ ในที่ที่ปลอดภัย
๑๕. ในการสอบสัมภาษณ์ ถ้านักศึกษามีจำนวนมาก ให้แต่งตั้งกรรมการในสำนักเรียนนั้น ช่วยเป็นกรรมการสอบสัมภาษณ์ด้วย เพื่อให้ทันต่อเวลา
๑๖. เมื่อเสร็จสิ้นการสอบแล้ว ให้นำข้อสอบกลับมา ณ ส่วน กลางทันที อย่าเปิด หรือให้ผู้ใดเปิดข้อสอบดูก่อน เป็นอันขาด
๑๗. ไม่ควรส่งข้อสอบมาทางไปรษณีย์ หรือ ฝากผู้อื่นนำมาแทน เพราะอาจเกิดการสูญหาย หรือ ทุจริตขึ้นได้
๑๘. ช่วยแจ้งให้นักศึกษาที่ยังไม่มีบัตรนักศึกษา ให้นำรูปถ่าย ๑ นิ้วครึ่ง จำนวน ๒ รูป มาให้ด้วย (เพื่อติดใบประวัตินักศึกษาและทำบัตรนักศึกษา)
๑๙. หากมีปัญหาใด ๆ ที่เกินวิสัยของตนจะตัดสินได้ หรือ ไม่มั่นใจ อาจทำให้เกิดความผิดพลาด ให้โทร.ฯ ติดต่อประสานงานกับกรรมการส่วนกลาง
๒๐. เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจแล้ว เวลาจะกลับให้กรรมการ กราบลา หรือ บอกลา เจ้าสำนักเรียน หรือ บุคคลที่เกี่ยวข้อง บอกคืนที่พัก เครื่องใช้สอยของสำนักให้เรียบร้อย สอบถามข่าว ข้อเสนอแนะ จากเจ้าสำนัก ถึงอภิธรรมมหาวิทยาลัย ฯ ถ้าท่านมีข่าว ข้อเสนอแนะ หรือ เหตุอื่นใด ก็ให้กรรมการ เอาภาระนำมาแจ้งแก่เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ (ผู้ดูแลจัดการ) ให้ทราบด้วย

จึงประกาศแจ้งมาให้ทราบตามนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑ เดือน มกราคม พุทธศักราช ๒๕๔๘
อภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย


บทบัญญัติ
อภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย
ว่าด้วยเรื่องสำนักเรียนสาขา
ในสังกัดอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย


เพื่อให้การดำเนินกิจการของอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย เป็นไปโดยถูกต้อง และเป็นระเบียบเรียบร้อย จึงได้ร่างบทบัญญัตินี้ เพื่อประกาศใช้ปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

๑. บทบัญญัตินี้ ชื่อว่า บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง สำนักเรียนสาขา ในสังกัดอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย
๒. บทบัญญัตินี้ ให้ใช้ปฏิบัติได้ตั้งแต่วันถัดไป จากวันประกาศใช้นี้ เป็นต้นไป จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง
๓. สำนักเรียน หมายถึง สำนักเรียน ที่เปิดทำการ การเรียน การสอนพระอภิธรรม ตามหลักสูตรที่อภิธรรมมหาวิทยาลัย ฯ กำหนด จะเป็นวัด สถาบัน หรือ หน่วยงาน กลุ่มองค์กรต่าง ๆ ก็ได้
๔. สำนักเรียนสาขา (วิทยาเขต) หมายถึง สำนักเรียนที่ลงทะเบียนเป็นสำนักเรียนสาขาในสังกัดของอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย อย่างถูกต้อง โดยแจ้งความประสงค์ต่ออภิธรรมมหาวิทยาลัย ฯ และส่งรายชื่อนักศึกษาเข้าสอบ ในสังกัดอภิธรรมมหาวิทยาลัย ฯ อย่างน้อย ๑ ภาคเรียนก่อน
๕. สำนักเรียนสาขา (วิทยาเขต) ใด ที่จะขอเปิดเป็นสนามสอบได้ ต้องมีนักศึกษาอย่างน้อย ๑๐ ท่านขึ้นไป และอยู่ห่างไกลจากสนามสอบอื่น ซึ่งนักศึกษาต้องเดินทางไปมาอย่างยากลำบาก หรือ มีนักศึกษาเป็นจำนวนมาก แม้จะอยู่ใกล้สนามสอบอื่น อาจทำให้ลำบากต่อสนามสอบนั้น ก็สามารถเปิดเป็นสนามสอบเองได้
๖. สำนักเรียนสาขาใด ที่เป็นสนามสอบ เมื่อมีนักศึกษาลดน้อยลง เหลือไม่ถึง ๗ ท่าน ให้ยุบไปสอบรวมกับสำนักเรียนที่เป็นสนามสอบอื่น ที่สามารถเดินทางไปได้ ซึ่งอภิธรรมมหาวิทยาลัย ฯ กำหนดให้ หรือ สำนักเรียนร้องขอมาทางอภิธรรมมหาวิทยาลัย ฯ เอง
๗. สำนักเรียนสาขา (วิทยาเขต) ใด ที่เป็นสนามสอบ หากว่า ภาคเรียนใด ไม่มีนักศึกษาสมัครเข้าสอบ ต้องแจ้งต่ออภิธรรมมหาวิทยาลัย ฯ ให้ทราบล่วงหน้า ไม่เกินหนึ่งเดือน ก่อนถึงวันกำหนดสอบ
๘. สำนักเรียนสาขา (วิทยาเขต) ใด ที่เป็นสนามสอบ หากว่า ไม่มีนักศึกษาสมัครเข้าสอบ เกินกว่า ๔ ภาคเรียน (เป็นเวลา ๒ ปี) จะถือว่า หมดสภาพความเป็นสนามสอบ และต้องแจ้งอภิธรรมมหาวิทยาลัย ฯ ทุกภาคเรียนด้วย จนกว่าจะมีนักศึกษาเพียงพอที่จะเปิดเป็นสนามสอบได้อีก (ตามกฎข้อ ๕)
๙. สนามสอบทุกสนาม ต้องเอื้อเฟื้อในการจัดสอบ, กรรมการกลางผู้ไปเปิดสอบ, และนักศึกษาผู้ทำการสอบ ให้เป็นไปโดยถูกต้อง เรียบร้อย และสุจริตยุติธรรม หากไม่เอื้อเฟื้อ เกิดการบกพร่องมากเกินไป หรือ มีการเปิดโอกาสให้ทุจริตในการสอบโดยเห็นแก่ความมักง่าย อาจถูกยุบสนามสอบ เสียได้ ถือว่า ไม่พร้อม หรือ ไม่สมควรเป็นสนามสอบพระอภิธรรม ซึ่งเป็นธรรมะอันประเสริฐ
๑๐. สำนักเรียนสาขา (วิทยาเขต) ใด ที่ขาดแคลนเรื่องตำราเรียน ไม่มีปัจจัยในการจัดซื้อ ก็สามารถทำเรื่องร้องขอความอนุเคราะห์ในเรื่องตำราเรียน ต่ออภิธรรมมหาวิทยาลัย ฯ ได้ โดยทำการยื่นเรื่องมายังสำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัย ฯ ถึงผู้อำนวยการอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย
๑๑. สำนักเรียนสาขา (วิทยาเขต)ใด มีข้อคิด ความเห็น ข้อเสนอแนะ แนวนโยบายในการที่จะพัฒนา การเรียนการสอน หรือ การจัดระบบให้ถูกต้อง เป็นไปโดยเรียบร้อย ดีงาม เพื่อยังพระสัทธรรมให้เจริญรุ่งเรือง ก็สามารถส่งความคิดเห็น หรือ ข้อเสนอแนะนั้น ๆ มาได้ ณ สำนักงานส่วนกลาง
๑๒. สำนักเรียนสาขา (วิทยาเขต) ใด มีครูอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในการสอน เป็นจำนวนมาก จนเหลือเฟือ หรือ สำนักเรียนสาขา (วิทยาเขต) ใด ขาดแคลนครูอาจารย์ผู้ทำการสอน ก็สามารถประสานงานมายังอภิธรรมมหาวิทยาลัย ฯ ส่วนกลางได้ จะได้ช่วยจัดประสานงานให้ ตามสมควรที่จะจัดการให้ได้

จึงประกาศแจ้งให้ทราบโดยทั่วกัน
ประกาศ ณ วันที่ ๑ เดือน มกราคม พุทธศักราช ๒๕๔๘
อภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย


คณะผู้บริหาร
อภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย


พระเทพวิสุทธิเมธี ประธานผู้อำนวยการ
พระราชประสิทธิวิมล ประธานที่ปรึกษา
พระครูสิริธรรมวิภูษิต เลขานุการผู้อำนวยการ
พระครูวิมลธรรมธาดา ผู้ช่วยผู้อำนวยการ
พระบวรรังษี ผู้ช่วยผู้อำนวยการ
พระมหาเจนวิทย์ จนฺทวณฺโณ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ
พระมหา ดร.ธีรพันธ์ วชิรญาโณ กรรมการ
พระมหาสมคิด ปิยวณฺโณ กรรมการ
พระมหาปรีชา ปสนฺโน กรรมการ
พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร ผู้ดูแลจัดการ/
ดำเนินกิจการงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย
คณะผู้ดำเนินกิจการ
งานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย
พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร ประธานผู้ดำเนินการ
พระธนพล กนฺตวีโร กรรมการ
พระวัฒนา ฐานจาโร กรรมการ
แม่ชีอุ่นเรือน เนียมลิ้ม กรรมการ
แม่ชีจิราภา อู่เจริญ กรรมการ
แม่ชีภรณภัค เลียวรักษ์โอฬาร กรรมการ
อาจารย์บุญส่ง เมฆาสุวรรณดำรง กรรมการ
อาจารย์สุภาภรณ์ โรจนพลากร กรรมการ
อาจารย์กอบกาญจน์ เทียนไชยมงคล กรรมการ
อาจารย์ทวี สุขสมโภชน์ กรรมการ
อาจารย์ธนวัฒน์ โตเที่ยงธรรม กรรมการ
พระมานพ สุชาโต เจ้าหน้าที่ฝ่ายกิจกรรม
แม่ชีกาญจนา จิตโสภิณ เจ้าหน้าที่ธุรการ


บทบาท
ของอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย


เรียนรู้ให้ได้ปัญญา ต้องศึกษาพระอภิธรรม
แต่ต้องศึกษาด้วยวิจารณญาณ และจิตวิญญาณ
ของความเป็นกัลยาณชน

พันธกิจของอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย
• เป็นแม่แบบหลักสูตรการศึกษาอภิธรรมในประเทศไทย
• จัดการเรียนการสอนและการสอบพระอภิธรรมทั่วประเทศ
• เผยแผ่พระสัทธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า
• สร้างเสริมสติปัญญาแก่สาธุชน
• นำคนเข้าสู่หนทางแห่งสัมมาทิฏฐิ

อภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร แขวงศิริราช บางกอกน้อย กรุงเทพ ฯ เชิญพระภิกษุ สามเณร แม่ชี และประชาชนผู้สนใจทั่วไป เข้าศึกษาพระอภิธรรม ซึ่งเปิดทำการสอนทุกวัน หยุดวันพระ และวันนักขัตฤกษ์

เวลาเรียน
ชั้นปกติ (หลักสูตร ๙ ชั้น ๗ ปี)
ภาคปกติ. วันจันทร์–วันศุกร์ เวลา ๑๓.๐๐-๑๖.๐๐ น.
ภาคพิเศษ. วันเสาร์-วันอาทิตย์ เวลา ๑๓.๐๐-๑๖.๐๐ น.
โครงการอภิธรรมเพื่อชีวิต
(หลักสูตร ๙ ปริจเฉท เรียน ๙ เดือน)
เรียนเฉพาะ วันเสาร์ – อาทิตย์ เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๖.๓๐ น.
สถานที่เรียน
ณ โรงเรียนพระปริยัติธรรมพรหมรังสี
วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร บางกอกน้อย กรุงเทพ ฯ
และสำนักเรียนสาขา ที่เปิดทำการสอน
ระเบียบการเรียน (เรียนฟรีตลอดหลักสูตร)
- ไม่จำกัดอายุ และ เพศ
- ไม่จำกัดวุฒิการศึกษา (พออ่านออก เขียนได้)
- ไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน (เสียแต่ค่าหนังสือเรียน)
หลักฐานการสมัคร เป็นนักศึกษา
- เขียนกรอกใบสมัคร ด้วยตนเอง หรือ ฝากผู้ไว้วางใจได้ เขียนกรอกให้ โดยเขียนกรอก ให้ถูกต้อง ตามรายการที่ระบุไว้
- รูปถ่าย ๑ นิ้วครึ่ง จำนวน ๒ ใบ (ติดใบสมัครนักศึกษา และใบทะเบียนประวัตินักศึกษา)

ติดต่อสอบถามได้ที่
สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย
วัดระฆังโฆสิตาราม (คณะ๗)
โทร. ๐๒–๔๑๑-๔๕๔๖, ๐๘๖–๐๓๘-๒๙๓๓

ประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนพระอภิธรรมโดยถูกต้อง
๑. ทำให้ทราบถึงหลักธรรมอันเป็นแก่นแท้ หรือหัวใจของพระพุทธศาสนา ทำให้เข้าถึงพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง
๒.ทำให้เข้าใจเรื่องธรรมชาติของชีวิตและโลกมากขึ้น
๓.ทำให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องกฎแห่งกรรมตามความเป็นจริงมากขึ้น อันเป็นความรู้ ที่มีอยู่เฉพาะในคำสอนทางพระพุทธศาสนา เท่านั้น
๔.ทำให้เกิดปัญญา ที่เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ อันเป็นอริยทรัพย์อันประเสริฐ เป็นประทีปส่องทางให้เดินไปสู่พระอมตมหานิพพานได้โดยสวัสดิภาพ

ด้วยความปรารถนาดี
จากอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย


หลักสูตรการศึกษา
อภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่ประเทศไทย


ชั้นนักศึกษา ๙ ชั้น คือ
๑. จูฬอาภิธรรมมิกะตรี (จูฬตรี) หลักสูตรที่ใช้ มี ๑ เล่ม คือ อภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๑-๒ -๖ ใช้เวลาเรียน ๖ เดือน
๒. จูฬอาภิธรรมมิกะโท (จูฬโท) หลักสูตรที่ใช้ มี ๑ เล่ม คือ อภิธัมมัตถสังคหะปริจเฉทที่ ๓ - ๗ ใช้เวลาเรียน ๖ เดือน
๓. จูฬอาภิธรรมมิกะเอก (จูฬเอก) หลักสูตรที่ใช้ มี ๑ เล่มคือ ธัมมสังคณีสรูปัตถนิสสยะ (มาติกาโชติกะ) ใช้เวลาเรียน ๖ เดือน
๔. มัชฌิมอาภิธรรมมิกะตรี (มัชฌิมตรี) หลักสูตรที่ใช้ มี ๒ เล่ม คือ อภิธัมมัตถสังคหะปริจเฉทที่ ๔ และ ปริจเฉทที่ ๕ ใช้เวลาเรียน ๑ ปี (หรือ ๖ เดือน)
๕. มัชฌิมอาภิธรรมมิกะโท (มัชฌิมโท) หลักสูตรที่ใช้ มี ๒ เล่ม คือ อภิธัมมัตถสังคหะปริจเฉทที่ ๘ และ ปริจเฉทที่ ๙ ใช้เวลาเรียน ๑ ปี
๖. มัชฌิมอาภิธรรมมิกะเอก (มัชฌิมเอก) หลักสูตรที่ใช้ มี ๑ เล่ม คือ ธาตุกถาสรูปัตถนิสสยะ ใช้เวลาเรียน ๑ ปี
๗. มหาอาภิธรรมมิกะตรี (มหาตรี) หลักสูตรที่ใช้ มี ๑ เล่ม คือ ยมกสรูปัตถนิสสยะ เล่ม ๑ ใช้เวลาเรียน ๑ ปี
๘. มหาอาภิธรรมมิกะโท (มหาโท) หลักสูตรที่ใช้ มี ๒ เล่ม คือ ยมกสรูปัตถนิสสยะ เล่ม ๒ เล่ม ๓ ใช้เวลาเรียน ๑ ปี
๙. มหาอาภิธรรมมิกะเอก (มหาเอก) หลักสูตรที่ใช้ มี ๑ เล่ม คือ มหาปัฏฐาน สรูปัตถนิสสยะ ใช้เวลาเรียน ๑ ปี
จบ ๙ ชั้น ได้วุฒิการศึกษา อภิธรรมบัณฑิต

ชั้นอาจารย์ มี ๖ ชั้น คือ
๑. อภิธรรมกถิกะตรี (กถิกตรี) หลักสูตรที่ใช้ มี ๓ เล่ม คือ
๑) ปุจฉา – วิสัชนาโชติกะ
๒) ประทีปส่องทางของชาวโลก
๓) สิ่งที่เป็นไปได้ยากในโลก
๒. อภิธรรมกถิกะโท (กถิกโท) หลักสูตรที่ใช้ มี ๓ เล่ม คือ
๑) ปกิณณกปัญหา ๒) ธรรมค้ำจุนโลก ๓) ธุดงค์ ๑๓
๓.อภิธรรมกถิกะเอก (กถิกเอก) หลักสูตรที่ใช้ มี ๓ เล่ม คือ
๑) กุศลบารมี ๒) โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ
๓) มงคล ๓๘ ประการ
๔. อภิธรรมาจริยะตรี (จริยตรี) หลักสูตรที่ใช้ มี ๔ เล่ม คือ
๑) ขันธาทิจตุกะ ๒) สีลวิสุทธิ
๓) จิตตวิสุทธิ ๔) ธัมมสังคณี
๕. อภิธรรมาจริยะโท (จริยโท) หลักสูตรที่ใช้ มี ๔ เล่ม คือ
๑) กถาวัตถุ ๒) ธาตุกถา-ปุคคลบัญญัติ
๓) ทิฏฐิวิสุทธิ ๔) กังขาวิตรณวิสุทธิ
๖. อภิธรรมาจริยะเอก (จริยเอก) หลักสูตรที่ใช้ มี ๖ เล่ม คือ
๑) พระยมกปกรณ์ ๒) พระมหาปัฏฐาน
๓) มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ๔) ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ
๕) ญาณทัสสนวิสุทธิ ๖) คู่มือเบื้องต้นการปฏิบัติ
ผู้ที่สอบผ่าน ๖ ชั้นนี้ ได้วุฒิการศึกษา
อภิธรรมมหาบัณฑิต

(ชั้นอาจารย์ทั้ง ๖ ชั้นนี้ ปัจจุบัน ไม่มีการเรียน การสอนแล้ว มีแต่อ่านหนังสือสอบเอง และมีสอบเฉพาะในอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย และสำนักเรียนสาขา เท่านั้น)

หมายเหตุ...
หนังสือเรียนตามหลักสูตรทั้งหมดนี้ มีจำหน่ายเฉพาะในอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ส่วนกลาง) วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร (สำนักงานอยู่คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เท่านั้น ไม่มีวางจำหน่ายในที่อื่น
ผู้สนใจ ติดต่อสอบถามได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ ๐๒-๔๑๑-๔๕๔๖, ๐๘๖-๐๓๘-๒๙๓๓ หรือ
สั่งซื้อทางไปรษณีย์ จ่าหน้าซอง ถึงอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร สั่งจ่ายไปรษณีย์หน้าพระลาน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ รหัสไปรษณีย์ ๑๐๒๐๐ (โดยเสียค่าจัดส่งพร้อมด้วย)


ระเบียบการสอบพระอภิธรรม
ของอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย
วัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร บางกอกน้อย กรุงเทพฯ


อภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ตั้งแต่เริ่มเปิดดำเนินการ การเรียน การสอนมา ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๒ โดยพระอาจารย์สัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ ผู้เป็นคณะปาโมกข์ ปฐมาจารย์แห่งอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร ได้จัดให้มีการสอบปีละ ๒ ภาค คือ ภาคที่ ๑ ช่วงเดือน มิถุนายน ของทุกปี และภาคที่ ๒ ช่วงเดือน ธันวาคม ของทุกปี
มีกำหนดเวลาการสอบแต่ละชั้น ดังนี้

ชั้นจูฬอาภิธรรมิกะ ๓ ชั้น (ชั้นจูฬตรี,จูฬโท,จูฬเอก) สอบปีละ ๒ ครั้ง
ภาคแรก ระหว่างสัปดาห์ที่ ๒ หรือ ที่ ๓ ของเดือน มิถุนายน
ภาคที่ ๒ ระหว่างสัปดาห์ที่ ๒ หรือที่ ๓ ของเดือน ธันวาคม
ชั้นมัชฌิมอาภิธรรมิกะ ๓ ชั้น(มัชฌิมตรี,มัชฌิมโท,มัชฌิมเอก) และชั้นมหาอาภิธรรมิกะ ๓ (มหาตรี,มหาโท,มหาเอก)รวมทั้ง ๖ ชั้นนี้ สอบปีละ ๑ ครั้ง พร้อมกันกับชั้นจูฬอาภิธรรมิกะ ภาคที่ ๒
* กรณีท่านที่สอบชั้น จูฬอาภิธรรมิกะเอก ผ่าน ช่วงเดือนมิถุนายนแล้ว สามารถสอบชั้นมัชฌิมอาภิธรรมิกะตรี ในภาคที่ ๒ คือ ช่วงสัปดาห์ที่ ๒ หรือ ๓ ของเดือน ธันวาคม ได้
ชั้นอาจารย์ ทั้ง ๖ ชั้น สอบปีละ ๑ ครั้ง พร้อมกันกับภาคแรก ของชั้นจูฬอาภิธรรมิกะ ทั้ง ๓ ชั้น (ช่วงเดือนมิถุนายน)
สรุปความแล้ว
ภาคที่ ๑ มีการสอบ ๙ ชั้น คือ
ชั้นนักศึกษา ๓ ชั้นแรก คือ
๑. ชั้นจูฬอาภิธรรมิกะตรี (จูฬะตรี)
๒. ชั้นจูฬอาภิธรรมิกะโท (จูฬะโท)
๓. ชั้นจูฬอาภิธรรมิกะเอก (จูฬะเอก)
ชั้นอาจารย์ ๖ ชั้น คือ
๔. ชั้นอาจารย์ อภิธรรมกถิกะตรี (กถิกะตรี)
๕. ชั้นอาจารย์ อภิธรรมกถิกะโท (กถิกะโท)
๖. ชั้นอาจารย์ อภิธรรมกถิกะเอก (กถิกะเอก)
๗. ชั้นอาจารย์ อภิธรรมาจริยะตรี (จริยะตรี)
๘. ชั้นอาจารย์ อภิธรรมาจริยะโท (จริยะโท)
๙. ชั้นอาจารย์ อภิธรรมาจริยะเอก (จริยะเอก)
ภาคที่ ๒ เป็นการสอบของชั้นนักศึกษาทั้ง ๙ ชั้น คือ
๑. ชั้นจูฬอาภิธรรมิกะตรี (จูฬะตรี)
๒. ชั้นจูฬอาภิธรรมิกะโท (จูฬะโท)
๓. ชั้นจูฬอาภิธรรมิกะเอก (จูฬะเอก)
๔. ชั้นมัชฌิมอาภิธรรมิกะตรี (มัชฌิมะตรี)
๕. ชั้นมัชฌิมอาภิธรรมิกะโท (มัชฌิมะโท)
๖. ชั้นมัชฌิมอาภิธรรมิกะเอก (มัชฌิมะเอก)
๗. ชั้นมหาอาภิธรรมิกะตรี (มหาตรี)
๘. ชั้นมหาอาภิธรรมิกะโท (มหาโท)
๙. ชั้นมหาอาภิธรรมิกะเอก (มหาเอก)
ผู้ที่สอบผ่านชั้นจูฬเอกแล้ว ในภาคเรียนแรกของปีต่อไป สามารถสมัครสอบชั้นอาจารย์กถิกะตรีได้ โดยไม่ต้องรอให้จบอภิธรรมบัณฑิตก่อน
ฉะนั้น ผู้ที่ตั้งใจเรียนอย่างจริงจัง จะใช้ระยะเวลาในการเรียนเพียง ๗ ปี ๖ เดือนเท่านั้น ก็สามารถจบได้ทั้ง ๑๕ ชั้น ซึ่งเป็นการศึกษาที่ใช้เวลาน้อยมาก เมื่อเทียบกับวิชาการทางโลก แต่เป็นการศึกษาที่ได้รับประโยชน์อย่างมากมายมหาศาล ทั้งประโยชน์ในโลกนี้ และประโยชน์ในโลกหน้า ตลอดถึงปรมัตถะ คือ ประโยชน์สูงสุด อันเป็นจุดหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา.
 ทุกชั้นที่สอบผ่านมีประกาศนียบัตรรับรองวุฒิการศึกษาให้
 ท่านที่ศึกษาจบชั้น อภิธรรมบัณฑิต แล้ว สามารถนำไปศึกษาต่อระดับปริญญาโท ในประเทศไทยนั้น สามารถนำไปศึกษาต่อได้ ที่สถาบัน มหามกุฎราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงฆ์ ทุกสาขาวิทยาเขต ที่เปิดรับสมัคร ส่วนในต่างประเทศนั้น สามารถศึกษาต่อได้ที่ประเทศอินเดีย ประเทศศรีลังกา และประเทศสหรัฐอเมริกา โดยไม่ต้องเทียบโอน (ส่วนสถาบันอื่น หรือ ประเทศอื่นนั้น ยังไม่มีหลักฐาน ข้อมูล การรับรอง)
 สิ่งที่ท่านจะได้นั้น ยิ่งใหญ่กว่า เวลาและทรัพย์ที่ท่านเสียไป ในการมาศึกษาพระอภิธรรม
เกณฑ์กำหนดข้อสอบ
ข้อสอบของทุกชั้น มีทั้งหมด ๒๐ ข้อ แบ่งเป็น ๒ วัน คือ
วันแรก เป็นข้อเขียน ๗ ข้อ
วันหลัง เป็นข้อเขียน ๗ ข้อ
ข้อสัมภาษณ์ ๖ ข้อ
หมายเหตุ...
๑. ข้อสอบชั้นอาจารย์ ๖ ชั้น อาจมีการเปลี่ยนแปลงในการออกข้อสอบเป็นแบบ อธิบายขยายความหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร ตามความเหมาะสมแก่สถานะและภูมิชั้นของนักศึกษา เพื่อให้นักศึกษา ได้คิดเป็น อธิบายธรรมเป็น และ สามารถนำธรรมะ ที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแล้วไปอธิบายขยายความเผยแผ่ธรรมะ ต่อไป
๒. ข้อสอบสัมภาษณ์นั้น เมื่อนักศึกษาสอบข้อเขียนในวันหลัง เสร็จแล้ว ก็สอบข้อสอบสัมภาษณ์ต่อเลย ในวันนั้น หรือ กรรมการจะมีมติ เป็นอย่างอื่น ตามที่เห็นสมควร ให้สอบสัมภาษณ์ก่อน ตอนเช้า เมื่อเวลาบ่ายสอบข้อเขียนเสร็จแล้ว นักศึกษาจะได้กลับเลย ก็ได้ ตามสมควรแก่เหตุการณ์
เกณฑ์การให้คะแนน
๑. ข้อสอบเขียน ของทุกชั้น คะแนนเต็ม ข้อละ ๑๐ คะแนน
ก. ข้อสอบ เป็นแบบให้บอกคาถา หรือ ให้แปลคาถา อย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าบอกคาถาภาษาบาลี หรือ แปลคาถา (ภาษาไทย) ได้ถูกต้อง อย่างใดอย่างหนึ่ง ให้เต็ม ๑๐ คะแนน ถ้าให้ตอบทั้ง ๒ อย่าง (ทั้งบาลีและคำแปล) ถ้าตอบได้ทั้งหมด ให้เต็ม ๑๐ คะแนน ถ้าถูกอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้ ๕ คะแนน หรือ ลดลง ตามอัตราส่วนที่ผิด ตามสมควร
ข.ข้อสอบ เป็นแบบให้ตอบตามแบบท่องจำหลัก หรือ ให้บอกหลักธรรมสำคัญ ที่เกี่ยวข้อง ถ้าตอบได้ถูกต้องทั้งหมด ให้ ๑๐ คะแนนเต็ม ถ้าผิดหลัก หรือ ตอบไม่ครบ ก็ลดลงตามอัตราส่วน ที่ผิด ตามสมควร
ค. ข้อสอบ เป็นแบบให้อธิบายความเข้าใจ ถ้าอธิบายเข้าหลัก มีเหตุผลอ้างอิง ก็ให้เต็ม ๑๐ คะแนน ถ้าอธิบายไม่เข้าหลัก หรือ อธิบายไม่ตรงกับคำถาม ก็ลดลงตามอัตราส่วน
ง. ข้อสอบ แบบมีข้อย่อย หรือ ตอบหลายตอน ก็ให้เอาคะแนนเต็ม ๑๐ คะแนน ไปจัดแบ่งเฉลี่ย ตามข้อย่อย หรือ แต่ละตอนของข้อสอบนั้น ๆ ถ้าตอบได้ถูกทุกข้อย่อย หรือ ทุกตอนของข้อสอบ ให้เต็ม ๑๐ คะแนน ถ้าตอบผิด ก็ให้ลดลงตามอัตราส่วน ของข้อย่อย หรือ แต่ละตอนของข้อสอบนั้น ๆ
๒. ข้อสอบสัมภาษณ์ของชั้นนักศึกษา ๙ ชั้น คะแนนเต็มข้อละ ๕ คะแนน รวม ๖ ข้อ เท่ากับ ๓๐ คะแนน
๓. ข้อสอบสัมภาษณ์ของชั้นอาจารย์ ๖ ชั้น คะแนนเต็มข้อละ ๑๐ คะแนน รวม ๖ ข้อ เท่ากับ ๖๐ คะแนน
ข้อสอบสัมภาษณ์ ก็ให้คะแนน อนุโลมตาม ข้อสอบเขียนข้างต้น
รวมคะแนนสอบ
๑. ชั้นนักศึกษาทั้ง ๙ ชั้น คะแนนเต็มชั้นละ ๑๗๐ คะแนน
๒. ชั้นอาจารย์ทั้ง ๖ ชั้น คะแนนเต็มชั้นละ ๒๐๐ คะแนน
การวัดผล
๑. ชั้นจูฬะ ๓ ชั้น ได้แก่ ชั้นจูฬะตรี, ชั้นจูฬะโท, ชั้นจูฬะเอก สอบได้คะแนนตั้งแต่ ๕๐% คือ ๘๕ คะแนนขึ้นไป ให้สอบผ่าน
๒.ชั้นมัชฌิมะ ๓ ชั้น ได้แก่ ชั้นมัชฌิมตรี,ชั้นมัชฌิมโท,ชั้นมัชฌิมเอก สอบได้คะแนนตั้งแต่ ๕๕% คือ ๙๕ คะแนนขึ้นไป ให้สอบผ่าน
๓. ชั้นมหา ๓ ชั้น ได้แก่ ชั้นมหาตรี, ชั้นมหาโท, ชั้นมหาเอก สอบได้คะแนนตั้งแต่ ๖๐ % คือ ๑๐๐ คะแนน ขึ้นไป ให้สอบผ่าน
๔.ชั้นอาจารย์ทั้ง ๖ ชั้น ได้คะแนนตั้งแต่ ๖๐ % คือ ๑๒๐ คะแนนขึ้นไป ให้สอบผ่าน
ต่ำกว่ากำหนดนี้(ของแต่ละชั้น) ถือว่า สอบไม่ผ่าน (สอบตก)

แสดงตาราง เพื่อเข้าใจได้ง่าย ดังนี้
ลำดับที่ ชั้น คะแนนเต็ม เกณฑ์คะแนนผ่าน ต่ำสุด คะแนนเฉลี่ย
๑ ชั้นจูฬะตรี ๑๗๐ ๘๕ ๕๐ %
๒ ชั้นจูฬะโท ๑๗๐ ๘๕ ๕๐ %
๓ ชั้นจูฬะเอก ๑๗๐ ๘๕ ๕๐ %
๔ ชั้นมัชฌิมะตรี ๑๗๐ ๙๕ ๕๕ %
๕ ชั้นมัชฌิมะโท ๑๗๐ ๙๕ ๕๕ %
๖ ชั้นมัชฌิมะเอก ๑๗๐ ๙๕ ๕๕ %
๗ ชั้นมหาตรี ๑๗๐ ๑๐๐ ๖๐ %
๘ ชั้นมหาโท ๑๗๐ ๑๐๐ ๖๐ %
๙ ชั้นมหาเอก ๑๗๐ ๑๐๐ ๖๐ %
๑๐ ชั้น กถิกะตรี ๒๐๐ ๑๒๐ ๖๐ %
๑๑ ชั้น กถิกะโท ๒๐๐ ๑๒๐ ๖๐ %
๑๒ ชั้นกถิกะเอก ๒๐๐ ๑๒๐ ๖๐ %
๑๓ ชั้นจริยะตรี ๒๐๐ ๑๒๐ ๖๐ %
๑๔ ชั้นจริยะโท ๒๐๐ ๑๒๐ ๖๐ %
๑๕ ชั้นจริยะเอก ๒๐๐ ๑๒๐ ๖๐ %
ผู้ที่สอบได้คะแนน ต่ำกว่าเกณฑ์กำหนดนี้ ถือว่า สอบไม่ผ่าน (ตก)

หมายเหตุ... นักศึกษาท่านใด ที่สอบตก หากมีความประสงค์จะเลื่อนชั้น โดยไม่ต้องสอบใหม่ ในภาคต่อไปอีก สามารถร้องขอทำรายงานส่งได้ ที่อภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร (สำนักงาน คณะ ๗)
ส่วนจะให้ทำรายงานเรื่องใด ตรงไหน หรือ กำหนดขอบเขตแค่ไหน เพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับกรรมการกลาง จะเห็นสมควร เลือกให้ แต่เนื้อหาสาระ ก็อยู่ในขอบเขตเนื้อหาของหลักสูตรชั้นนั้น ๆ
ค่าเกรดเฉลี่ย
ชั้นนักศึกษา ๙ ชั้น เอาคะแนนเต็ม คือ ๑๗๐ หารด้วย ๔ ส่วน ก็จะได้ระดับเกรดเฉลี่ย ส่วนละ ๔๒.๕ คะแนน ผู้ใดได้คะแนนเท่าไร ก็นำคะแนนที่ได้นั้น มาหารด้วย ๔๒.๕ ก็จะได้ผลลัพธ์ เป็นระดับเกรดเฉลี่ย เช่น ได้คะแนน ๑๗๐ คะแนน หารด้วย ๔๒.๕ เท่ากับเกรดเฉลี่ย ๔.๐๐ หรือ เกรด ๔ เป็นต้น
ชั้นอาจารย์ ๖ ชั้น เอาคะแนนเต็ม คือ ๒๐๐ คะแนน หารด้วย ๔ ส่วน ก็จะได้ระดับเกรดเฉลี่ย ส่วนละ ๕๐ คะแนน ผู้ใดได้คะแนนเท่าไร ก็นำคะแนนที่ได้นั้น มาหารด้วย ๕๐ ก็จะได้ผลลัพธ์ เป็นระดับเกรดเฉลี่ย เช่น ได้ ๑๒๐ คะแนน หารด้วย ๕๐ เท่ากับเกรดเฉลี่ย ๒.๔ เป็นต้น
ระดับเกรด
สำหรับชั้นจูฬะ ๓ ชั้น ตัดคะแนนที่ ๕๐ % คือ ตั้งแต่ ๘๕ คะแนนขึ้นไป ถือว่า สอบผ่าน
ในการแบ่งเกรดนั้น ก็นำ ๘๕ ที่เหลือ (นับขึ้นจาก ๘๕ ที่ตัดระดับต่ำสุด) มาหารด้วย ๘ ส่วน (ระดับเกรด) ก็จะได้ ส่วนละ ๑๐ คะแนน ฉะนั้น
คะแนน ๘๕ – ๙๕ ได้ระดับเกรด D
คะแนน ๙๖ – ๑๐๖ ได้ระดับเกรด D+
คะแนน ๑๐๗ – ๑๑๖ ได้ระดับเกรด C
คะแนน ๑๑๗ – ๑๒๗ ได้ระดับเกรด C+
คะแนน ๑๒๘ – ๑๓๘ ได้ระดับเกรด B
คะแนน ๑๓๙ – ๑๔๘ ได้ระดับเกรด B+
คะแนน ๑๔๙ – ๑๗๐ ได้ระดับเกรด A
สำหรับ ชั้นมัชฌิมะ ๓ ชั้น ตัดคะแนนที่ ๕๕ % คือ ตั้งแต่ ๙๕ คะแนนขึ้นไป ถือว่า สอบผ่าน
ในการแบ่งเกรดนั้น ก็นำ ๗๕ คะแนน ที่เหลือ มาหารด้วย ๘ ส่วน ก็จะได้ ส่วนละ ๙ คะแนน ฉะนั้น
คะแนน ๙๕ – ๑๐๔ ได้ระดับเกรด D
คะแนน ๑๐๕ – ๑๑๓ ได้ระดับเกรด D+
คะแนน ๑๑๔ – ๑๒๓ ได้ระดับเกรด C
คะแนน ๑๒๔ – ๑๓๒ ได้ระดับเกรด C+
คะแนน ๑๓๓ – ๑๔๑ ได้ระดับเกรด B
คะแนน ๑๔๒ – ๑๕๑ ได้ระดับเกรด B+
คะแนน ๑๕๒ – ๑๗๐ ได้ระดับเกรด A
สำหรับชั้นมหา ๓ ชั้น ตัดคะแนนที่ ๖๐ % คือ ตั้งแต่ ๑๐๐ คะแนน ขึ้นไป ถือว่า สอบผ่าน ในการแบ่งเกรดนั้น ก็นำ ๗๐ คะแนนที่เหลือ มาหารด้วย ๘ ส่วน ก็จะได้ ส่วนละ ๘ คะแนน ฉะนั้น
คะแนน ๑๐๐ – ๑๐๘ ได้ระดับเกรด D
คะแนน ๑๐๙ – ๑๑๗ ได้ระดับเกรด D+
คะแนน ๑๑๘ – ๑๒๖ ได้ระดับเกรด C
คะแนน ๑๒๗ – ๑๓๕ ได้ระดับเกรด C+
คะแนน ๑๓๖ – ๑๔๓ ได้ระดับเกรด B
คะแนน ๑๔๔ – ๑๕๒ ได้ระดับเกรด B+
คะแนน ๑๕๓ – ๑๗๐ ได้ระดับเกรด A
สำหรับชั้นอาจารย์ ๖ ชั้น ตัดคะแนนที่ ๖๐ % คือ ตั้งแต่ ๑๒๐ คะแนน ขึ้นไป ถือว่า สอบผ่าน ในการแบ่งเกรดนั้น ก็นำ ๘๐ คะแนนที่เหลือ มาหารด้วย ๘ ส่วน ก็จะได้ ส่วนละ ๑๐ คะแนน ฉะนั้น
คะแนน ๑๒๐ – ๑๓๐ ได้ระดับเกรด D
คะแนน ๑๓๑ – ๑๔๐ ได้ระดับเกรด D+
คะแนน ๑๔๑ – ๑๕๐ ได้ระดับเกรด C
คะแนน ๑๕๑ – ๑๖๐ ได้ระดับเกรด C+
คะแนน ๑๖๑ – ๑๗๐ ได้ระดับเกรด B
คะแนน ๑๗๑ – ๑๘๐ ได้ระดับเกรด B+
คะแนน ๑๘๑ – ๒๐๐ ได้ระดับเกรด A
ตารางแสดงสถิติระดับเกรด
คะแนน/ระดับเกรด คะแนน
A ๑๔๙-๑๗๐ ๑๕๒-๑๗๐ ๑๕๓-๑๗๐ ๑๘๑-๒๐๐
B+ ๑๓๙-๑๔๘ ๑๔๒-๑๕๑ ๑๔๔-๑๕๒ ๑๗๑-๑๘๐
B ๑๒๘-๑๓๘ ๑๓๓-๑๔๑ ๑๓๖-๑๔๓ ๑๖๑-๑๗๐
C+ ๑๑๗-๑๒๗ ๑๒๔-๑๓๒ ๑๒๗-๑๓๕ ๑๕๑-๑๖๐
C ๑๐๗-๑๑๖ ๑๑๔-๑๒๓ ๑๑๘-๑๒๖ ๑๔๑-๑๕๐
D+ ๙๖-๑๐๖ ๑๐๕-๑๑๓ ๑๐๙-๑๑๗ ๑๓๑-๑๔๐
D ๘๕-๙๕ ๙๕-๑๐๔ ๑๐๐-๑๐๘ ๑๒๐-๑๓๐
ชั้น ระดับเกรด ชั้นจูฬะ
๓ ชั้น ชั้นมัชฌิม
๓ ชั้น ชั้นมหา
๓ ชั้น ชั้นอาจารย์
๖ ชั้น
ระดับเกรดเฉลี่ยรวม
หลักสูตรอภิธรรมบัณฑิต
คะแนนรวมของชั้นนักศึกษา ทั้ง ๙ ชั้น รวมคะแนนเต็ม ๑,๕๓๐ คะแนน นักศึกษา ต้องมีคะแนนสอบสะสมไว้ได้
ไม่ต่ำกว่า ๘๕๐ คะแนน
คิดเป็นค่าเฉลี่ย ๖๐ %
เท่ากับเกรดเฉลี่ย ๒.๒๒
จึงจะมีสิทธิ์รับประกาศนียบัตร อภิธรรมบัณฑิต

หลักสูตรอภิธรรมมหาบัณฑิต
คะแนนรวมของชั้นอาจารย์ ทั้ง ๖ ชั้น รวมคะแนนเต็ม ๑,๒๐๐ คะแนน นักศึกษา ต้องมีคะแนนสอบสะสมไว้ได้
ไม่ต่ำกว่า ๗๒๐ คะแนน
คิดเป็นค่าเฉลี่ย ๖๐%
เท่ากับเกรดเฉลี่ย ๒.๔
จึงจะมีสิทธิ์รับประกาศนียบัตร อภิธรรมมหาบัณฑิต

จึงประกาศแจ้งมาให้ทราบโดยทั่วกัน

ประกาศ ณ วันที่ ๑ เดือน มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘

อภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย
เกณฑ์การออกปัญหา แต่ละชั้น
ชั้นนักศึกษา ๙ ชั้น
ชั้น วิชา จำนวนข้อ
วันแรก วันหลัง สัมภาษณ์ รวม

จูฬะตรี ปริจเฉทที่ ๑ ๓/๔ - ๒
๒๐
ปริจเฉทที่ ๒ ๓/๔ - ๒
ปริจเฉทที่ ๖ - ๗ ๒
จูฬโท ปริจเฉทที่ ๓ ๗ - ๓
๒๐
ปริจเฉทที่ ๗ - ๗ ๓
จูฬเอก ติกมาติกา ๗ - ๓
๒๐
ทุกมาติกา - ๗ ๓
มัชฌิมะตรี ปริจเฉทที่ ๔ ๗ - ๓
๒๐
ปริจเฉทที่ ๕ - ๗ ๓
มัชฌิมะโท ปริจเฉทที่ ๘ ๗ - ๓
๒๐
ปริจเฉทที่ ๙ - ๗ ๓
มัชฌิมะเอก ธาตุกถา เล่ม ๑ ๗ - ๓
๒๐
ธาตุกถา เล่ม ๒ - ๗ ๓
มหาตรี ยมก เล่ม๑ มูล-ขันธวาระ ๗ - ๓
๒๐
ยมก เล่ม ๑ ปวัตติวาระ -ปริญญาวาระ - ๗ ๓
มหาโท ยมก เล่ม ๒ ๗ - ๓ ๒๐
ยมก เล่ม ๓ - ๗ ๓
มหาเอก มหาปัฏฐาน (๑-๑๖๑) ๗ - ๓
๒๐
มหาปัฏฐาน (ฆฎนา) - ๗ ๓
ชั้นอาจารย์ ๖ ชั้น
ชั้น วิชา จำนวนข้อ
วันแรก วันหลัง สัมภาษณ์ รวม
กถิกะตรี ปุจฉาวิสัชชนาโชติกะ ๔/๓ - ๒
๒๐
ประทีปส่องทางของชาวโลก ๓/๔ ๓/๔ ๒
สิ่งที่เป็นไปได้ยากในโลก - ๔/๓ ๒

กถิกะโท ปกิณณกปัญหา ๔/๓ - ๒
๒๐
ธรรมค้ำจุนโลก ๓/๔ ๓/๔ ๒
ธุดงค์ ๑๓ - ๔/๓ ๒

กถิกะเอก คู่มือการสร้างกุศลบารมี ๔/๓ - ๒
๒๐
มงคล ๓๘ ประการ ๓/๔ ๓/๔ ๒
โพธิปักขิยธรรม ๓๗ - ๔/๓ ๒

จริยะตรี สีลวิสุทธิ ๔/๓ - ๑/๒
๒๐
ทิฏฐิวิสุทธิ ๓/๔ - ๑/๒
ธัมมสังคณี - ๔/๓ ๑/๒
ขันธาทิจตุกกะ - ๓/๔ ๑/๒

จริยะโท ทิฏฐิวิสุทธิ ๔/๓ - ๑/๒
๒๐
กังขาวิตรณวิสุทธิ ๓/๔ - ๑/๒
ธาตุกถา-ปุคคลบัญญัติ - ๔/๓ ๑/๒
กถาวัตถุ - ๓/๔ ๑/๒


จริยะเอก คู่มือการปฏิบัติเบื้องต้น ๒/๓ - ๑


๒๐
มัคคามัคคญาณทัสสนฯ ๒/๓ - ๑
ปฏิปทาญาณทัสสนะ ๒/๓ - ๑
ญาณทัสสนวิสุทธิ - ๒/๓ ๑
พระยมกปกรณ์ - ๒/๓ ๑
พระมหาปัฏฐาน - ๒/๓ ๑
หลักสูตร
โครงการ “อภิธรรมเพื่อชีวิต”
หลักการและเหตุผล
อภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร เปิดการเรียนการสอนพระอภิธรรมหลักสูตร ๗ ปี มาตั้งแต่ ปีพุทธศักราช ๒๔๙๒ จนถึงปัจจุบัน ได้ผลิตอภิธรรมบัณฑิตมาแล้ว ๔๓ รุ่น จำนวนเกือบ ๔๐๐ คน ผู้ที่สำเร็จการศึกษาต่างสามารถนำความรู้ที่ศึกษามาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันให้ดำเนินไปได้ด้วยดี มีความสุข ตามอัตภาพ และ สติปัญญาของตน
ปัจจุบัน สถานการณ์เปลี่ยนไป หลายคนต้องเร่งรีบ ต้องแข่งกันทำมาหาเลี้ยงชีพ ไม่ค่อยมีเวลาว่าง ที่จะมาศึกษาตามระบบหลักสูตรระยะยาวของอภิธรรมมหาวิทยาลัย ฯ ได้ ด้วยเหตุนี้ คณาจารย์ของอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย จึงเห็นความจำเป็นที่จะพัฒนาการเรียนการสอนให้แก่ผู้สนใจ ที่มีเวลาจำกัดได้ศึกษาหลักสูตรระยะสั้น ๙ เดือน และหากประสงค์จะศึกษาหลักสูตร ๗ ปีต่อไป ก็จะเป็นความรู้พื้นฐานให้การเรียนมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น อันเป็นประโยชน์ยิ่งอีกโสดหนึ่งด้วย
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อให้พระภิกษุ สามเณร แม่ชี หรือ ประชาชนผู้สนใจทั่วไป ที่มีเวลาน้อยได้มีโอกาสศึกษาพระอภิธรรมพื้นฐาน และความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
๒. เพื่อสร้างศรัทธาและส่งเสริมสนับสนุนผู้ที่สนใจใฝ่รู้ธรรมะ ที่ต้องการจะศึกษาพระอภิธรรม ให้ได้มีพื้นฐานในการศึกษาหลักสูตรพระอภิธรรม ๗ ปี ต่อไป
๓. เพื่อเผยแผ่หลักธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในส่วนของพระอภิธรรม ให้แพร่หลาย และเป็นที่รู้จักของสาธุชนทั่วไป
๔.เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องของชีวิตและแนวทางการปฏิบัติ เป็นปัจจัยในการสั่งสมบารมี เพื่อเข้าถึงความพ้นทุกข์ ตามพุทธประสงค์ ต่อไป
๕. เพื่อพัฒนาบุคลากรในด้านอภิธรรมให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๑. พระภิกษุ สามเณร หรือ ประชาชนผู้สนใจทั่วไป ที่มีเวลาน้อย ได้มีโอกาสศึกษาพระอภิธรรมระดับพื้นฐาน และหลักความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา แล้วสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
๒. สามารถสร้างศรัทธาและส่งเสริมสนับสนุนผู้ที่สนใจ ต้องการศึกษาพระอภิธรรม ได้มีพื้นฐานในการศึกษาตามหลักสูตรพระอภิธรรม ๗ ปี ต่อไปได้
๓. สามารถเผยแผ่หลักธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในส่วนของพระอภิธรรม ให้แพร่หลาย และเป็นที่รู้จักของสาธุชนทั่วไป
๔. เกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องของชีวิต และรู้แนวทางการปฏิบัติ เพื่อเข้าถึงความพ้นทุกข์ อันเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุด ตามพุทธประสงค์
๕. สามารถส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรในด้านของอภิธรรมให้มีคุณภาพยิ่งขึ้นได้
อาจารย์ผู้ดำเนินการอบรม
๑. พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร หน้าโครงการ/อาจารย์สอน
๒. อาจารย์กอบกาญจน์ เทียนไชยมงคล อาจารย์สอน
๓. พระมานพ สุชาโต เจ้าหน้าที่/ผู้ช่วยอาจารย์สอน
๔. วิทยากรพิเศษ (ถ้ามี)


หลักสูตรและกำหนดเวลาอบรม
โครงการอภิธรรมเพื่อชีวิต
วิชาพระพุทธศาสนาเบื้องต้น พุทธประวัติ

ใช้เวลาอบรม ๔ วันๆ ละ ๑.๓๐ ชั่วโมง รวมเป็น ๖ ชั่วโมง
หลักธรรมเทศนาสำคัญของพระพุทธเจ้า
ใช้เวลาอบรม ๔ วัน ๆ ละ ๑.๓๐ ชั่วโมง รวมเป็น ๖ ชั่วโมง
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ใช้เวลาอบรม ๔ วัน ๆ ละ ๑.๓๐ ชั่วโมง รวมเป็น ๖ ชั่วโมง
เหตุการณ์สำคัญทางพระพุทธศาสนา
ใช้เวลาอบรม ๕ วันๆละ ๑.๓๐ ชั่วโมง รวมเป็น ๗.๓๐ ชั่วโมง
วิชา ภาษาบาลี
บาลีไวยากรณ์ ใช้เวลาอบรม ๑๗ วันๆละ ๑.๓๐ ชั่วโมง รวมเป็น ๒๕.๓๐ ชั่วโมง
หลักการแปลบาลี
ใช้เวลาอบรม ๑๗ วันๆละ ๑.๓๐ ชั่วโมง รวมเป็น ๒๕.๓๐ ชั่วโมง
หลักสูตรอภิธรรม ๙ ปริจเฉท
ปริจเฉทที่ ๑ จิตตปรมัตถ์ ว่าด้วยเรื่องจิต และความพิสดารของจิต
ใช้เวลาอบรม ๙ วัน ๆ ละ ๑.๓๐ ชั่วโมง รวมเป็น ๑๓.๓๐ ชั่วโมง
ปริจเฉทที่ ๒ เจตสิกปรมัตถ์ ว่าด้วยเรื่องเจตสิก ธรรมชาติ ที่ปรุงแต่งจิตให้มีสภาพหลากหลายออกไป
ใช้เวลาอบรม ๙ วัน ๆ ละ ๑.๓๐ ชั่วโมง รวมเป็น ๑๓.๓๐ ชั่วโมง
ปริจเฉทที่ ๖ รูปปรมัตถ์และนิพพานปรมัตถ์ว่าด้วยเรื่อง รูปและนิพพาน
ใช้เวลาอบรม ๘ วัน ๆ ละ ๑.๓๐ ชั่วโมง รวมเป็น ๑๒ ชั่วโมง
ปริจเฉทที่ ๓ ปกิณณกสังคหะ ว่าด้วยการสงเคราะห์จิตเจตสิกโดยธรรม ๖ หมวด
ใช้เวลาอบรม ๙ วัน ๆ ละ ๑.๓๐ ชั่วโมง รวมเป็น ๑๓.๓๐ ชั่วโมง
ปริจเฉทที่ ๔ วิถีสังคหะว่าด้วยเรื่องวิถีจิต และรูปวิถี
ใช้เวลาอบรม ๙ วันๆละ ๑.๓๐ ชั่วโมง รวมเป็น ๑๓.๓๐ ชั่วโมง
ปริจเฉทที่ ๕ วิถีมุตตสังคหะ ว่าด้วยเรื่องภูมิ ปฏิสนธิ กรรม ความตาย
ใช้เวลาอบรม ๘ วัน ๆ ละ ๑.๓๐ ชั่วโมง รวมเป็น ๑๒ ชั่วโมง
ปริจเฉทที่ ๗ สมุจจยสังคหะ ว่าด้วยเรื่องการสงเคราะห์ สภาวธรรม ๗๒ ประการโดยหมวดธรรมต่าง ๆ
ใช้เวลาอบรม ๑๐ วัน ๆ ละ ๑.๓๐ ชั่วโมง รวมเป็น ๑๕ ชั่วโมง
ปริจเฉทที่ ๘ ปัจจยสังคหะว่าด้วยปฏิจจสมุปบาท และ ปัจจัย ๒๔ โดยย่อ
ใช้เวลาอบรม ๘ วัน ๆ ละ ๑.๓๐ ชั่วโมง รวมเป็น ๑๒ ชั่วโมง
ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหะ ว่าด้วยเรื่องสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน
ใช้เวลาอบรม ๘ วัน ๆ ละ ๑.๓๐ ชั่วโมง รวมเป็น ๑๒ ชั่วโมง
เฉลยปัญหา/ แบบประเมินผลการศึกษาอบรม
ใช้เวลา ๒ วันๆ ละ ๑.๓๐ ชั่วโมง รวมเป็น ๖ ชั่วโมง
รวมเวลาทั้งหมด ๗๘ วัน ๒๓๔ ชั่วโมง

ผู้สมัครเข้ารับการอบรม ต้องมีเวลาเข้าอบรมไม่น้อยกว่า ๒ ใน ๓ ส่วนของเวลา และต้องทำแบบประเมินผลให้ผ่านทุกวิชา จึงจะมีสิทธิ์รับวุฒิบัตรผู้สำเร็จการอบรมโครงการอภิธรรมเพื่อชีวิตได้

แบบประเมินผล เป็นแบบข้อสอบช้อย (ก.ข.ค.ง.) วิชาละ ๑๐๐ ข้อ รวมเป็น ๑,๒๐๐ ข้อ
คะแนนรวม ๑,๒๐๐ คะแนน ผู้อบรมต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่า ๗๐ % เท่ากับ ๘๔๐ คะแนน
มอบวุฒิบัตรแก่ผู้ผ่านการอบรมโครงการฯ นี้ วันอาทิตย์แรก ของเดือนถัดไปที่จบหลักสูตร เริ่มพิธีเวลา ๑๓.๓๐ น. ณ ห้องประชุมโรงเรียนพระปริยัติธรรมพรหมรังสี (ชั้นแรก)
ติดต่อสอบถาม.. สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆสิตาราม (คณะ ๗) แขวงศิริราช บางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร. ๐๒-๔๑๑-๔๕๔๖, ๐๘๖-๐๓๘-๒๙๓๓

หมายเหตุ.
๑. หลักสูตร และ ระยะเวลาการอบรม โครงการอภิธรรมเพื่อชีวิตนี้ อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้เสมอ ตามความเหมาะสม
๒. ในโอกาสข้างหน้า อาจมีการขยายโครงการนี้ ไปสู่สำนักเรียนสาขาต่าง ๆ ที่สนใจนำไปจัดทำ โดยผ่านอภิธรรมมหา วิทยาลัยแห่งประเทศไทย และอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย เป็นผู้ออกวุฒิบัตรให้ ก็ได้

ตารางอบรมโครงการอภิธรรมเพื่อชีวิต
(เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.)
หลักสูตร ๙ เดือน
รวม ๗๘ วัน ๒๓๔ ชั่วโมง
เดือน วันเสาร์ วันอาทิตย์ วันเสาร์ วันอาทิตย์ วันเสาร์ วันอาทิตย์


ที่ ๑ เปิดปฐมนิเทศ ปริจเฉทที่ ๑ ปริจเฉทที่ ๑ ปริจเฉทที่ ๑ ปริจเฉทที่ ๑ ปริจเฉทที่ ๑
พระพุทธศาสนาเบื้องต้น พระพุทธศาสนาเบื้องต้น พระพุทธศาสนาเบื้องต้น พระพุทธศาสนาเบื้องต้น พระพุทธศาสนาเบื้องต้น พระพุทธศาสนาเบื้องต้น

ที่ ๒ ปริจเฉทที่ ๒ ปริจเฉทที่ ๒ ปริจเฉทที่ ๒ ปริจเฉทที่ ๒ ปริจเฉทที่ ๒ ปริจเฉทที่ ๒
พระพุทธศาสนาเบื้องต้น พระพุทธศาสนาเบื้องต้น พระพุทธศาสนาเบื้องต้น พระพุทธศาสนาเบื้องต้น พระพุทธศาสนาเบื้องต้น พระพุทธศาสนาเบื้องต้น


ที่ ๓ ปริจเฉทที่ ๖ ปริจเฉทที่ ๖ ปริจเฉทที่ ๖ ปริจเฉทที่ ๖ ปริจเฉทที่ ๖ ปริจเฉทที่ ๖
ไวยากรณ์บาลีเบี้องต้น ไวยากรณ์บาลีเบี้องต้น ไวยากรณ์บาลีเบี้องต้น ไวยากรณ์บาลีเบี้องต้น ไวยากรณ์บาลีเบี้องต้น ไวยากรณ์บาลีเบี้องต้น

ที่ ๔ ปริจเฉทที่ ๓ ปริจเฉทที่ ๓ ปริจเฉทที่ ๓ ปริจเฉทที่ ๓ ปริจเฉทที่ ๓ ปริจเฉทที่ ๓
ไวยากรณ์บาลีเบี้องต้น ไวยากรณ์บาลีเบี้องต้น ไวยากรณ์บาลีเบี้องต้น ไวยากรณ์บาลีเบี้องต้น ไวยากรณ์บาลีเบี้องต้น ไวยากรณ์บาลีเบี้องต้น


ที่ ๕ ปริจเฉทที่ ๔ ปริจเฉทที่ ๔ ปริจเฉทที่ ๔ ปริจเฉทที่ ๔ ปริจเฉทที่ ๔ ปริจเฉทที่ ๔
หลักการแปลบาลีเบื้องต้น หลักการแปลบาลีเบื้องต้น หลักการแปลบาลีเบื้องต้น หลักการแปลบาลีเบื้องต้น หลักการแปลบาลีเบื้องต้น หลักการแปลบาลีเบื้องต้น

ที่ ๖ ปริจเฉทที่ ๕ ปริจเฉทที่ ๕ ปริจเฉทที่ ๕ ปริจเฉทที่ ๕ ปริจเฉทที่ ๕ ปริจเฉทที่ ๕
หลักการแปลบาลีระดับกลาง หลักการแปลบาลีระดับกลาง หลักการแปลบาลีระดับกลาง หลักการแปลบาลีระดับกลาง หลักการแปลบาลีระดับกลาง หลักการแปลบาลีระดับกลาง

ที่ ๗ ปริจเฉทที่ ๗ ปริจเฉทที่ ๗ ปริจเฉทที่ ๗ ปริจเฉทที่ ๗ ปริจเฉทที่ ๗ ปริจเฉทที่ ๗
วิปัสสนากรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน

ที่ ๘ ปริจเฉทที่ ๘ ปริจเฉทที่ ๘ ปริจเฉทที่ ๘ ปริจเฉทที่ ๘ ปริจเฉทที่ ๘ ปริจเฉทที่ ๘
วิปัสสนากรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน

ที่๙ ปริจเฉทที่ ๙ ปริจเฉทที่ ๙ ปริจเฉทที่ ๙ ปริจเฉทที่ ๙ ปริจเฉทที่ ๙ ปริจเฉทที่ ๙
ปาฐกถา ปาฐกถา ปาฐกถา ปาฐกถา ปาฐกถา ปาฐกถา


ภาคผนวก
ประวัติความเป็นมาของพระอภิธรรม
และประวัติพระเถราจารย์ที่เกี่ยวข้องกับ
อภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย


๑.
ประวัติความเป็นมาของพระอภิธรรม

คัมภีร์พระไตรปิฎก เป็นคัมภีร์ที่บรรจุหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาทั้ง ๓ ประเภท คือ พระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรม จึงรวมเรียกว่า พระไตรปิฎก แปลว่า หลักพุทธธรรม ๓ คัมภีร์ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันของพุทธศาสนิกชนชาวไทย แต่โดยมากก็รู้จักกันแต่เพียงชื่อเท่านั้น ที่รู้จักลึกซึ้งดีพอ ก็มีเฉพาะผู้ที่ทำการศึกษาเท่านั้น แต่ในบรรดาผู้ที่ทำการศึกษาในประเทศไทยนั้น ก็ศึกษากันเฉพาะบางส่วน หรือ หลายท่านไม่ได้ศึกษาถึงพระไตรปิฎก ศึกษาเฉพาะชั้นอรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา หรือ ของเกจิอาจารย์ ตามกำหนดกฎกติกาของคณะสงฆ์ หรือที่มหาเถรสมาคมกำหนดเท่านั้น ทั้งนี้ เพราะปัจจัยหลายอย่าง เช่น ทางด้านค่านิยม,แรงจูงใจในการศึกษา, ความเชื่อความศรัทธา, และข้อกฎกติกาของสำนักเรียน เป็นต้น ทำให้การศึกษาพระไตรปิฎกของพุทธบริษัทไทย ไม่ทั่วถึงเท่าที่ควร
โดยเฉพาะพระอภิธรรมปิฎก ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่บรรจุเนื้อหาของหลักธรรม ที่เป็นสภาวธรรมอันละเอียดลึกซึ้ง ที่เรียกว่า ปรมัตถสัจจะ ซึ่งเมื่อสรุปแล้ว ก็ได้แก่ เนื้อความแห่งธรรม ๔ อย่าง คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน ที่เรียกว่า ปรมัตถธรรม ๔ พระพุทธองค์ทรงแสดงโดยธรรมาธิษฐาน ยกเอาธรรมขึ้นแสดงล้วน ๆ ไม่เกี่ยวกับบัญญัติ สัตว์ บุคคล เรียกว่า ปรมัตถเทศนา ซึ่งมีประวัติความเป็นมาของพระอภิธรรมปิฎกโดยสังเขปต่อไปนี้
เมื่อพระพุทธองค์ทรงแสดงยมกปาฎิหาริย์ทรมานนิครนถ์นาฎบุตรอยู่นั้น ทรงพิจารณาว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ผ่านมานั้น เมื่อทรงแสดงยมกปาฎิหาริย์เสร็จแล้ว เสด็จจำพรรษาที่ไหน ก็ทรงทราบด้วยพระพุทธญาณว่า เป็นพุทธประเพณีของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ เมื่อทรงแสดงยมกปาฎิหาริย์เสร็จแล้ว ก็จะเสด็จไปจำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อแสดงธรรมโปรดพุทธมารดา ซึ่งในขณะนั้น พระนางสิริมหามายาที่เป็นพุทธมารดานั้น หลังจากเจ้าชายสิทธัตถะ ประสูติได้เพียง ๗ วัน ก็เสด็จสวรรคตจุติจากมนุษย์โลก ไปบังเกิดเป็นเทพบุตร ชื่อ สันตุสิตเทพบุตร ณ สวรรค์ชั้นดุสิต ซึ่งเป็นสวรรค์ชั้นที่ ๔ ในบรรดาสวรรค์ ๖ ชั้น เป็นสวรรค์สำหรับเป็นที่อยู่ของผู้บำเพ็ญบารมีเป็นพระสัมมาสัมโพธิญาณ พระปัจเจกโพธิญาณ อัครสาวกโพธิญาณ มหาสาวกโพธิญาณ ปกติสาวกโพธิญาณ และ พุทธบิดาพุทธมารดา เรียกว่า “ เป็นสวรรค์ชั้นปัญญาชน”
แต่การที่พระพุทธองค์ ทรงเสด็จไปแค่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ซึ่งเป็นสวรรค์ชั้นที่ ๒ นั้น พระอรรถกถาจารย์ให้อรรถาธิบายไว้ว่า
๑. เพื่อทรงต้องการที่จะให้เทวดาทั้งหลาย และเทพบุตรผู้เคยเป็นพระพุทธมารดานั้น เกิดความอุตสาหะในการลงมาฟังธรรม และจะได้ตั้งใจฟังธรรมโดยเคารพ สมกับความลำบากที่ต้องลงมา
๒. เพื่อจะทรงอนุเคราะห์เทวดาที่อยู่ชั้นต่ำกว่าด้วย” เพราะเทวดาและพรหมชั้นที่อยู่สูงกว่า ย่อมสามารถลงมาสู่ภพภูมิชั้นที่ต่ำกว่าได้ ด้วยอำนาจแห่งบุญฤทธิ์ ส่วนเทวดาหรือพรหมที่อยู่ชั้นต่ำกว่า ย่อมไม่สามารถขึ้นไปสู่ภพภูมิที่สูงกว่าได้ ด้วยความจำกัดขอบเขตแห่งบุญฤทธิ์เช่นกัน
ด้วยเหตุนี้ พระพุทธองค์จึงทรงเสด็จไปแค่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เท่านั้น โดยทรงย่างพระบาทข้างหนึ่งเหยียบบนยอดภูเขายุคนธร และย่างพระบาทอีกข้างหนึ่ง เหยียบบนยอดภูเขาสิเนรุ และย่างพระบาทก้าวที่ ๓ ถึงภพดาวดึงส์
เมื่อท้าวสักกเทวราช หรือ พระอินทร์ ผู้เป็นเจ้าแห่งสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ทรงทราบว่า พระพุทธเจ้าเสด็จมา ก็เสด็จเข้าไปเฝ้าถวายบังคมทูล ต้อนรับ เมื่อทรงทราบว่า พระพุทธองค์มีพระประสงค์เสด็จมาจำพรรษา ณ ภพภูมิของพระองค์ ก็ทรงพิจารณาว่า จะทูลอัญเชิญพระพุทธเจ้าให้ทรงจำพรรษา ณ ที่ไหน จึงจะสมควร ก็ทรงเห็นว่า ปัณฑุกัมพลสิลาอาสน์ ที่ประทับของพระองค์เองนั้น เป็นสิ่งสูงค่า และสมควรกว่าที่อื่น จึงทรงปูอาสนะถวาย และทูลเชิญพระพุทธองค์ให้ทรงจำพรรษา ณ ปัณฑุกัมพลสิลาอาสน์นั้น แล้วให้โฆษกเทพบุตรไปเที่ยวป่าวประกาศให้เทพบุตร เทพธิดาทั้งหลาย บอกต่อ ๆ กันไปว่า พระพุทธองค์เสด็จมาจำพรรษา ณ ปัณฑุกัมพลสิลาอาสน์ ของท้าวสักกเทวราช ณ ภพดาวดึงส์ เพื่อแสดงธรรมโปรดพระพุทธมารดา และเทวดา ตลอดทั้งพรหมทั้งหลาย ถ้าเทวดาและพรหมตนใด ต้องการฟังธรรม ก็ขอเชิญมาประชุมพร้อมกัน ณ ที่นี้ เหล่าเทวดา มาร พรหมทั้งหลายก็ป่าวประกาศต่อ ๆ กันไปให้รู้ทั่วกัน ในหมื่นโลกธาตุ ผู้ที่ต้องการฟังธรรม ต่างก็ละวิมานของตน พากันมาสู่พุทธสำนัก ในขณะนั้น พระพุทธองค์ทรงพิจารณาว่า ธรรมอะไรหนอ ที่จะสมควรแก่อุปนิสัยของเทวดาและพรหมเหล่านี้ และคู่ควรแก่ค่าน้ำนมของพระพุทธมารดาได้ ก็ทรงเห็นว่า พระอภิธรรม เป็นธรรมะที่มีเนื้อความละเอียดลึกซึ้ง เป็นปรมัตถสัจจะ เป็นธรรมาธิษฐาน เหมาะสมแก่อุปนิสัยของเหล่าเทวดาและพรหม และคู่ควรแก่ค่าน้ำนมของพระพุทธมารดา จึงได้ทรงแสดงพระอภิธรรมโปรดพุทธมารดาและเหล่าเทวดา พรหมทั้งหลายในสมาคมนั้น ตลอดไตรมาส โดยพิสดาร เรียกว่า วิตถารนัย พอเหมาะแก่อุปนิสัยของเหล่าเทวดาและพรหมทั้งหลาย
โดยปกติแล้ว กาลเวลาในสวรรค์นั้น ยาวนานกว่าในมนุษย์โลกมาก ซึ่งเปรียบเทียบ หนึ่งวันหนึ่งคืนในเทวโลกนั้น เท่ากับ ๑๐๐ ปี ในมนุษย์โลก ฉะนั้น กาลเวลาเพียง ไตรมาส หรือ ๓ เดือน ก็ไม่ถึงวันหนึ่งคืนหนึ่งของในเทวโลก แต่ในฐานะที่พระองค์ทรงเป็นมนุษย์ และเป็นพระพุทธเจ้าผู้เป็นแบบอย่างที่ดีของพระสาวก และเหล่าเทวดา มาร พรหม และมนุษย์ทั้งหลาย พระองค์จึงทรงกระทำพุทธกิจ ในชีวิตประจำวันตามปกติ คือ เมื่อถึงเวลาตอนเช้าในมนุษย์โลก พระองค์ก็จะทรงเสด็จไปบิณฑบาต ณ อุตตรกุรุทวีป แต่เพื่อมิให้การแสดงธรรมต้องขาดตอนไป จึงทรงเนรมิตพระพุทธนิมิต ให้ทรงแสดงธรรมแทนพระองค์ โดยก่อนหน้านั้นทรงพิจารณาหาผู้ที่จะทรงแสดงธรรมแทนพระองค์ให้ทัดเทียมกับพระองค์นั้น ก็ไม่ทรงเห็นใครมีความสามารถเท่า แม้แต่พระสารีบุตรผู้มีปัญญารองจากพระพุทธองค์ ก็ไม่สามารถกระทำกิจนั้นได้ จึงทรงเนรมิตพุทธนิมิตดังกล่าวแล้ว โดยพระพุทธนิมิตนั้น สามารถที่จะแสดงธรรมและตอบปัญหาธรรมที่พระองค์ถามได้อย่างอัศจรรย์ ด้วยอำนาจพุทธานุภาพ พระสารีบุตรอัครสาวกเบื้องขวา ก็ได้ไปอุปัฎฐากพระพุทธองค์ ณ ป่าไม้จันทน์ ใกล้สระอโนดาต อุตตรกุรุทวีป ทุกวัน โดยคอยปูอาสนะ ตักน้ำฉันน้ำใช้มาถวาย มิได้บกพร่อง พระพุทธองค์ทรงตรัสถามความเป็นไปในมนุษย์โลกแล้ว ทรงแสดงพระอภิธรรมที่พระองค์ทรงแสดงแก่เหล่าเทวดาและพรหมนั้น แต่ทรงแสดงโดยย่อ ที่เรียกว่า สังเขปนัย เพื่อให้เหมาะสมแก่ปัญญาของพระสารีบุตร ผู้เป็นยอดแห่งคนมีปัญญา สามารถรู้อรรถาธิบายของข้อธรรมได้อย่างวิจิตรพิสดาร หลายร้อยหลายพันนัย หลังจากนั้น พระสารีบุตร ก็ได้แสดงอภิธรรมเหล่านี้ แก่ลูกศิษย์ของท่าน ๕๐๐ รูป ซึ่งลูกศิษย์ของท่านเหล่านี้ เมื่อสมัยพระพุทธเจ้าองค์ก่อน เคยเกิดเป็นค้างคาวน้อย อาศัยอยู่ในถ้ำแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นที่อยู่ของพระภิกษุผู้บำเพ็ญสมณธรรม ภิกษุผู้อยู่ในถ้ำนั้น เป็นผู้ศึกษาเล่าเรียนพระอภิธรรม และท่องบ่นสาธยายอภิธรรมอยู่เสมอ ในค่ำวันหนึ่ง พระภิกษุเหล่านั้น ต่างก็เดินจงกรมและสาธยายพิจารณาพระอภิธรรมไปด้วย พวกค้างคาวได้ยินเสียงพระภิกษุสาธยายพระอภิธรรม ก็เกิดความเลื่อมใสศรัทธาในเสียง แต่ไม่สามารถจับใจความที่เป็นเนื้อหาของธรรมะนั้นได้ เพราะขอบเขตจำกัดของการเป็นสัตว์เดรัจฉานทั่วไป จึงยึดเอาเสียงเป็นอารมณ์เกิดความเคลิบเคลิ้มปีติปราโมทย์ ด้วยความศรัทธาในเสียง จึงพากันปล่อยขาที่ยึดเกาะผนังถ้ำไว้ ตกลงมาตายทั้งหมด ด้วยอำนาจแห่งบุญนั้น จึงไปเกิดเป็นเทพบุตรในสวรรค์ชั้นดุสิต และท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย จนถึงสมัยพระพุทธเจ้าของเรา จึงได้มาบังเกิดเป็นกุลบุตรในเมืองสาวัตถี และเกิดความเลื่อมใสในยมกปาฎิหาริย์ จึงพากันออกบวช เป็นสัทธิวิหาริกของพระสารีบุตร ทั้ง ๕๐๐ ท่าน ได้ฟังพระอภิธรรมที่พระสารีบุตรแสดง ได้บรรลุพระอรหัตผล เป็นผู้ทรงจำพระอภิธรรมไว้เป็นรุ่นแรก และสืบทอดรุ่นหลังต่อมา โดยพระอภิธรรมที่พระสาวกแสดงต่อมาภายหลังนั้น แสดงแบบกึ่งย่อกึ่งพิสดาร ที่เรียกว่า นาติวิตถารนาติสังเขปนัย ภายหลังงต่อมา พระอานนทเถระได้ทรงจำนำสืบมา จนถึงสังคายนาครั้งที่ ๑ ได้ยกขึ้นสู่ปฐมสังคีติ สาธยายแก่พระอรหันต์ปฎิสัมภิทัปปัตตา ๕๐๐ รูป ที่ประชุมทำปฐมสังคายนา และนำสืบกันมาจนถึงปัจจุบันนี้
การแสดงอภิธรรม ๓ นัย
ฉะนั้น การแสดงพระอภิธรรมที่ผ่านมา จำแนกได้เป็น ๓ ประเภทใหญ่ ๆ คือ
๑.วิตถารนัย นัยโดยพิสดาร เป็นนัยที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พวกเทวดาและพวกพรหม ที่มาประชุมกัน ณ เทวะสมาคม ในภพดาวดึงส์ เมื่อครั้งเสด็จไปแสดงธรรมโปรดพุทธมารดา
๒. สังเขปนัย นัยโดยย่อ เป็นนัยที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระสารีบุตร เมื่อครั้งไปเฝ้าและอุปัฎฐาก ณ ป่าไม้จันทน์ ใกล้สระอโนดาต อุตตรกุรุทวีป
๓. นาติวิตถารนาติสังเขปนัย นัยที่ไม่ย่อนัก ไม่พิสดารนัก เป็นนัยที่พระสารีบุตรแสดงแก่สัทธิวิหาริก ๕๐๐ รูป และพระสาวกแสดงสืบต่อ ๆ กันมา
สรุปความแล้ว บรรดาพระสาวกทั้งหลาย ที่มีโอกาสได้เรียนได้ฟังพระอภิธรรมในมัชฌิมประเทศเป็นครั้งแรกนั้น ก็ได้แก่ พระภิกษุ ๕๐๐ รูป ที่ได้เรียนจากพระสารีบุตรนี้เอง ดังมีสาธกพระบาลีที่มาในสาลินีอรรถกถากล่าวว่า
๑. อโนตตฺตทเห กตฺวา อุปฎฺฐานํ มเหสิโน
ตญฺจ สุตฺวาน โส เถโร อาหริตฺวา มหีตลํ
ภิกฺขูนํ ปยิรุทาหาสิ อิติ ภิกฺขูหิ ธาริโต ฯ
๒. สารีปุตฺตตฺเถโร สตฺถารา เทสิตํ ธมฺมํ อาหริตฺวา อตฺตโน สทฺธิวิหาริกานํ ปญฺจนฺนํ ภิกฺขุสตานํ เทเสสิ ฯลฯ
แปลความว่า
๑.พระสารีบุตรเถระได้กระทำการอุปัฎฐากแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ณ ป่าไม้จันทน์ใกล้สระอโนดาด และได้สดับพระอภิธรรมนั้นแล้ว ได้นำไปสอนในมัชฌิมประเทศ ให้ภิกษุ ๕๐๐ รูป ผู้เป็นสัทธิวิหาริกของตน ภิกษุทั้ง ๕๐๐ รูปนั้น ได้เล่าเรียนและทรงจำพระอภิธรรมไว้โดยลำดับด้วยประการฉะนี้
๒. ฝ่ายพระสารีบุตรเถระ ก็นำเอาพระธรรมที่พระศาสดาทรงแสดงแล้ว มาแสดงแก่พระภิกษุ ๕๐๐ รูป ผู้เป็นสัทธิวิหาริกของตนต่อไป
จากข้อความที่กล่าวมาข้างต้นนั้น แสดงให้เห็นว่า พระอภิธรรมปรากฏขึ้นในเทวโลกเป็นอันดับแรก ซึ่งอาจจะมีปัญหาสอดถามขึ้นมาว่า ทำไมพระอภิธรรมจึงไปปรากฏขึ้นที่เทวโลกก่อนที่อื่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะทรงแสดงในมนุษย์โลกไม่ได้หรือ ? ปัญหานี้ มีข้อที่จะวิสัชชนาดังนี้
๑. เป็นพุทธประเพณีของพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะต้องแสดงกตัญญูกตเวทีต่อพระพุทธมารดา โดยเสด็จขึ้นไปเทศนาพระอภิธรรมโปรดทุกๆ พระองค์ไป เรียกว่า พุทธนิยาม
๒. ในกาลนั้น บรรดาสัตว์ทั้งหลายในมนุษย์โลก ยังไม่มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นส่วนมาก เพราะพระพุทธศาสนาพึ่งจะเริ่มอุบัติขึ้นในมนุษย์โลกไม่นาน เป็นเวลาเพียง ๖ ปีเศษเท่านั้น ซึ่งนับว่า ยังไม่เป็นที่แพร่หลาย ต่อการที่จะยังความเลื่อมใสศรัทธาของหมู่ชนให้มีขึ้นได้โดยเต็มที่และทั่วถึงกันได้
๓. พระอภิธรรมเป็นธรรมที่ละเอียดลึกซึ้ง สุขุมคัมภีรภาพมาก ซึ่งเนื้อความในพระอภิธรรมนั้น เกี่ยวด้วยสภาวะทั้งหมดไม่มีสิ่งสนุกสนานเจือปน บุคคลที่สามารถจะรองรับรสของพระอภิธรรมได้นั้น ต้องเป็นบุคคลที่ประกอบด้วยศรัทธาอันมั่นคง มีโลภะ โทสะ โมหะ ในสันดานน้อยและเคยได้สร้างบารมีอันเกี่ยวกับปัญญาที่รู้ในสภาวะมาแล้วแต่กาลก่อน
ฉะนั้น พระพุทธองค์ทรงเห็นว่า ชนในสมัยนั้น ยังประกอบด้วยโลภะ โทสะ โมหะมากในสันดานยังหนาแน่นไปด้วยกิเลสตัณหา หมายความว่า คนบางพวกก็มีจิตใจมุ่งอยู่กับความสนุกสนาน ยังหมกมุ่นอยู่ในกามคุณอารมณ์โดยมาก บางพวกก็เป็นคนขี้โกรธชอบทะเลาะวิวาท และมีจิตใจพยาบาทมาดร้าย ซึ่งกันและกัน บางพวกก็ยังเป็นคนโง่เขลาเบาปัญญา มองไม่เห็นประโยชน์อันควรที่จะได้รับจากการประพฤติปฏิบัติธรรม ส่วนผู้ที่มีกิเลสเบาบาง มีปัญญาแก่กล้า ที่จะตรัสรู้ตามได้นั้น ก็มีน้อย เมื่อเทียบกับในเทวโลก เพราะฉะนั้น ความศรัทธาของชนในสมัยนั้น จึงยังไม่เพียงพอที่จะเชื่อมั่นในพระอภิธรรมได้ พระองค์จึงไม่ทรงแสดงพระอภิธรรมในมนุษย์โลกก่อน เพราะถ้าทรงแสดงไปแล้ว ความสงสัยไม่เข้าใจย่อมเกิดขึ้นแก่ชนเหล่านั้น เมื่อมีความสงสัยลังเลใจแล้ว อาจจะเป็นเครื่องก่อให้เกิดการดูหมิ่น ดูแคลน ต่อพระอภิธรรมนั้นได้ ซึ่งจะเป็นเครื่องกีดกั้นไม่ให้บรรลุผลดี ที่จะได้รับจากการเลื่อมใสศรัทธาและประพฤติปฏิบัติตาม กลับจะทำให้เกิดผลร้ายตามมามากกว่า ซึ่งพระพุทธองค์ทรงใคร่ครวญพิจารณาอย่างดีแล้ว จึงไม่ทรงแสดงพระอภิธรรมในมนุษย์ก่อน
๔. การแสดงพระอภิธรรม จำเป็นต้องใช้เวลาในการแสดงนานมาก เพราะต้องแสดงโดยพิสดารไม่มีข้อความใดขาดตกบกพร่อง และการแสดง ก็ต้องแสดงติดต่อกันเป็นลำดับไปโดยไม่ต้องหยุดพักในระหว่างเลย (ซึ่งได้กล่าวแต่ต้นแล้วว่า พระองค์ทรงใช้เวลาแสดงติดต่อกันตลอด ๓ เดือนไม่มีขาดตอน ในเวลาจะทำกิจวัตรประจำวัน หรือ ภารกิจส่วนพระองค์ ก็ทรงเนรมิตพุทธนิมิตให้แสดงต่อ เมื่อพระองค์ทรงทำกิจเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ทรงแสดงต่อจากที่พุทธนิมิตแสดงมาถึง) นี่เป็นกฎของการแสดงพระอภิธรรมครั้งแรก ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ถ้าหากว่าพระองค์ทรงแสดงให้มีส่วนเหลืออยู่แล้ว ก็จะไม่มีบุคคลอื่นที่จะสามารถแสดงต่อไปได้ ทั้งนี้เนื่องด้วยพระอภิธรรมนั้นไม่ใช่เป็นวิสัยของคนเหล่าอื่น เป็นพุทธวิสัยโดยแท้ เมื่อจำเป็นต้องใช้เวลาในการแสดงนานเช่นนี้ จึงไม่เหมาะในการที่จะแสดงในมนุษย์โลก เพราะคนในมนุษย์โลก ย่อมต้องมีภารกิจเครื่องกังวลแวดล้อมอยู่มาก ไม่สามารถที่จะนั่งฟังอยู่ได้เป็นเวลานาน ๆ อีกประการหนึ่งเวลาในเทวโลกกับเวลาในมนุษย์โลก ก็ต่างกันมาก เวลาในมนุษย์โลก ๑๐๐ ปี เท่ากับวันหนึ่งคืนหนึ่งของภพดาวดึงส์ เมื่อเป็นเช่นนี้ ย่อมเป็นโอกาสเหมาะสำหรับเทวโลกมากกว่า ยิ่งกว่านั้น บรรดาเทวดาพรหมทั้งหลาย เป็นผู้ที่ไม่ต้องวิตกกังวลในเรื่องธุระใด ๆ ทั้งสิ้น เพราะท่านเหล่านี้ ล้วนแต่เสวยผลแห่งบุญกุศลของท่านด้วยกันทั้งนั้น ทั้งร่ายกายก็แข็งแรง ปราศจากโรคาพาธทั้งปวง ทั้งปัญญาก็หลักแหลมมากกว่ามนุษย์ สามารถที่จะเข้าใจได้ดีกว่าพวกมนุษย์ อนึ่ง พระพุทธองค์ทรงใช้เวลาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ก็เป็นเวลาไม่ถึงครึ่งชั่วโมง ฉะนั้น การฟังพระอภิธรรมของท่านเหล่านั้นก็ไม่เป็นการขัดข้องด้วยประการใด ๆ ตามเหตุผลเหล่านี้แหละ พระพุทธองค์ จึงทรงเสด็จไปเทศนาใน เทวโลกก่อน
เนื้อหาพระอภิธรรม
คัมภีร์พระอภิธรรมมี ๗ คัมภีร์
๑. สังคณี หรือ ธัมมสังคณี ๒. วิภังค์ ๓. ธาตุกถา
๔.ปุคคลบัญญัติ ๕. กถาวัตถุ ๖. ยมก ๗. ปัฎฐาน
เรียกชื่อย่อว่า สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ
คัมภีร์ที่ ๑ ธัมมสังคณี ว่าด้วยธรรมะที่รวมเป็นหมวดหมู่ แล้วแยกแสดงเป็นกลุ่ม เช่น ธรรมที่เป็นกุศล, ธรรมที่เป็นอกุศล, และธรรมที่เป็นอัพยากตะ เป็นต้น
คัมภีร์ที่ ๒ วิภังค์ ว่าด้วยธรรมะที่แยกเป็นข้อ ๆ เช่น ขันธ์ ๕ แยกเป็น รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ และแต่ละขันธ์ ก็แยกออกไปเป็น ๑๑ กอง เป็นต้น
คัมภีร์ที่ ๓ ธาตุกถา ว่าด้วยธรรมะจัดระเบียบความสัมพันธ์โดยถือธาตุเป็นหลัก เช่น ธรรมที่สงเคราะห์เป็นหมวดหมู่กันได้และไม่ได้ เป็นต้น
คัมภีร์ที่ ๔ ปุคคลบัญญัติ ว่าด้วยบัญญัติ ๖ ชนิด และแสดงรายละเอียดเฉพาะบัญญัติอันเกี่ยวกับบุคคล
คัมภีร์ที่ ๕ กถาวัตถุ ว่าด้วยคำถามคำตอบในหลักธรรมประมาณ ๒๑๙ หัวข้อ เพื่อถือเป็นหลักในการตัดสินพระธรรม
คัมภีร์ที่ ๖ ยมก ว่าด้วยธรรมะที่รวบรวมแสดงเป็นคู่ ๆ เช่น ธรรมเหล่าใดเป็นกุศล ธรรมเหล่านั้น มีเหตุเป็นอันเดียวกันกับกุศลใช่ไหม ? เป็นต้น
คัมภีร์ที่ ๗ ปัฎฐาน ว่าด้วยปัจจัย คือ สิ่งที่เกื้อกูลสนับสนุนให้ธรรมอื่นเกิดขึ้น ๒๔ ประการ

๒.
จากอภิธรรมปิฏกสู่อภิธัมมัตถสังคหะ
(จากพุทธพจน์สู่อรรถกถา)

ในกาลล่วงมาได้ประมาณ ๙๐๐ ปีเศษ หลังพระพุทธเจ้าปรินิพพาน มีพระเถระรูปหนึ่ง ชื่อว่า พระอนุรุทธเถระ หรือที่เรียกกันว่า พระอนุรุทธาจารย์ เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ แตกฉานในพระไตรปิฏก เป็นชาวเมืองกาวิลกัญจิ แขวงเมืองมัทราช ทางทิศใต้ของประเทศอินเดีย ท่านได้มาศึกษาพระอภิธรรมอยู่ที่เมืองอนุราธบุรี สำนักวัดตุมูลโสมาราม ประเทศศรีลังกา จนมีความรู้ความเชี่ยวชาญ แตกฉานมาก นามของท่านปรากฏทั่วไปในชมพูทวีป ท่านได้อาศัยพระบาลี พระไตรปิฏก อันเป็นหลักฐานสำคัญ แล้วรวบรวมร้อยกรองย่อความมาจากพระอภิธรรมปิฏก ซึ่งเป็นพระคัมภีร์ที่สำคัญที่สุดของพระพุทธศาสนา มีเนื้อหาที่ว่าด้วยเรื่องของชีวิตอันลึกซึ้งละเอียดละออพิสดารเป็นอย่างยิ่ง ทั้งยากแก่การที่จะศึกษา และยากที่จะอธิบายให้บังเกิดความเข้าใจได้ง่าย ท่านได้อุตสาหะพยายามเรียบเรียงเนื้อความในพระคัมภีร์อันแสนที่จะลุ่มลึกนี้โดยแยกแยะเรียบเรียงเรื่องออกมาให้ง่ายต่อการศึกษาจดจำ ให้ชื่อว่า คัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ ซึ่งนักปราชญ์ในภายหลังให้การยกย่องว่า “เป็นอรรถกถานิ้วก้อย” เพื่อหวังประโยชน์ อันไพศาลที่ประชาชนจะได้รับจากวิทยาการอันหาค่ามิได้นี้ ด้วยดวงจิตที่เต็มไปด้วยความกรุณา
ซึ่งคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะนี้ ท่านพระอนุรุทธาจารย์ ได้รวบรวมเรียบเรียงจัดเป็นหมวดหมู่ และจัดแบ่งเป็นปริจเฉท มี ๙ ปริจเฉทด้วยกัน คือ
ปริจเฉทที่ ๑ จิตตปรมัตถ์ ว่าด้วยเรื่องจิตประเภทต่าง ๆ
ปริจเฉทที่ ๒ เจตสิกปรมัตถ์ ว่าด้วยเรื่องเจตสิกจำนวน ๕๒ ดวง
ปริจเฉทที่ ๓ ปกิณณกสังคหวิภาค ว่าด้วยเรื่องการรวบรวมจิตเจตสิก แล้วสงเคราะห์โดยธรรม ๖ หมวด คือ เวทนา เหตุ กิจ ทวาร อารมณ์ และวัตถุ
ปริจเฉทที่ ๔ วิถีสังคหวิภาค ว่าด้วยเรื่องการแสดงจำแนกจิตเจตสิกโดยประเภทแห่งวิถี
ปริจเฉทที่ ๕ วิถีมุตตกสังคหวิภาค ว่าด้วยเรื่องการแสดงจำแนกจิตเจตสิกที่พ้นวิถี
ปริจเฉทที่ ๖ รูปปรมัตถ์ และนิพพาน ว่าด้วยเรื่องรูป ๒๘ และ นิพพาน โดยนัยต่าง ๆ
ปริจเฉทที่ ๗ สมุจจยสังคหวิภาค ว่าด้วยการรวบรวมธรรมเป็นหมวดหมู่ เป็น ๔ สังคหะ มีอกุศลสังคหะ เป็นต้น
ปริจเฉทที่ ๘ ปัจจยสังคหวิภาค ว่าด้วยเรื่องปัจจัย ๒๔ โดยย่อและปฏิจจสมุปบาท
ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค ว่าด้วยหลักการปฏิบัติสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน
ซึ่งบางท่านอาจมีความเห็นว่า อภิธัมมัตถสังคหะ ที่ศึกษากันอยู่ทุกวันนี้ เป็นของที่พระอนุรุทธาจารย์แต่งขึ้นในภายหลัง มิใช่พระอภิธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดง ฉะนั้น จึงมิใช่พุทธพจน์ การมีความเห็นเช่นนั้น มิเป็นการถูกต้องเลย เพราะชื่อก็บ่งบอกความหมายแล้วว่า อภิธรรม + อัตถะ + สังคหะ
อภิธรรม หมายถึง ธรรมอันยิ่ง (คือ ยิ่งกว่าพระวินัย และพระสูตร) เพราะมีเนื้อความอันลึกซึ้งและวิจิตรพิสดาร ยากที่คนปัญญาน้อย จะหยั่งรู้ทั่วถึงได้ ได้แก่ พระอภิธรรมทั้ง ๗ คัมภีร์ ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้
อัตถะ หมายถึง เนื้อความ ได้แก่ เนื้อความแห่งพระอภิธรรมทั้ง ๗ คัมภีร์ ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้
สังคหะ หมายถึง การรวบรวม และเรียบเรียง ได้แก่ การรวบรวมเนื้อความแห่งพระอภิธรรมที่กระจัดกระจายกันอยู่ในพระอภิธรรมทั้งคัมภีร์ทั้ง ๗ นั้น มาเรียบเรียงจัดให้เป็นหมวดหมู่ เพื่อสะดวกแก่การศึกษาของผู้ศึกษาในภายหลัง ซึ่งเป็นผู้มีปัญญาบารมีน้อย มีกุศลสมภารอันได้สั่งสมมายังอ่อนอยู่ไม่อาจกำหนดรู้ และประมวลมาซึ่งอรรถและพยัญชนะในพระอภิธรรมทั้ง ๗ คัมภีร์นั้นให้เข้าใจและรู้ทั่วถึงได้ ต้องอาศัยการศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ก่อนแล้วจึงจะสามารถอ่านพระอภิธรรมทั้ง ๗ คัมภีร์นั้นเข้าใจได้ เหมือนการศึกษาบาลีไวยากรณ์ก่อน เพื่อให้สามารถศึกษาแปลบาลีธรรมบทได้ และเหมือนการศึกษานักธรรมและคัมภีร์อรรถกถา ฎีกาที่อธิบายความก่อน เพื่อให้สามารถอ่านพระวินัยปิฏกและพระสุตตันตปิฎกได้ ก็ฉันเดียวกัน ฉะนั้น อภิธัมมัตถสังคหะปกรณ์นี้ ท่านจึงเรียกว่า “ เป็นอรรถกถานิ้วก้อย” ของพระอภิธรรมทั้ง ๗ คัมภีร์นั้นเมื่อทำความเข้าใจ เกี่ยวกับความหมายของศัพท์ว่า อภิธัมมัตถสังคหะ อย่างนี้แล้ว ก็จะทำให้ยอมรับได้ว่า อภิธัมมัตถสังคหะ เป็นหลักธรรมที่มาจากพระอภิธรรมทั้ง ๗ คัมภีร์ที่พระพุทธองค์แสดงไว้ เป็นพุทธพจน์โดยแท้ มิต้องสงสัย แต่ถ้ายังยอมรับไม่ได้ ก็ขอแนะนำให้มาทำการศึกษาพระอภิธรรมให้จริงจัง ทั้งอภิธัมมัตถสังคหะ และพระอภิธรรมทั้ง ๗ คัมภีร์ แล้วพิจารณาโดยแยบคาย เปรียบเทียบกันดู ว่ามีเนื้อความผิดแผกแตกต่างกันตรงไหน ก็สามารถที่จะยอมรับว่า อภิธัมมัตถสังคหะ นั้น มีเนื้อความไม่แตกต่างกันจากพระอภิธรรมทั้ง ๗ คัมภีร์นั้นเลย อาจจะต่างกันก็เพียงแต่พยัญชนะ เท่านั้น เพราะท่านต้องแต่งอธิบายขยายความให้เข้าใจทั้งทางด้านภาษา และความหมาย เพื่อให้เหมาะสมกับอุปนิสสัย และสติปัญญาของสาธุชนในสมัยหลัง ๆ เหมือนกับการแต่งตำราบาลีไวยากรณ์ เพื่อให้นักศึกษารุ่นหลัง ๆ ได้ศึกษามีความรู้เป็นพื้นฐาน จึงจะสามารถแปลธรรมบทและพระไตรปิฏก อรรถกถาได้ ฉะนั้น

๓.
การศึกษาพระอภิธรรมในประเทศไทย

ในสมัยก่อนก็เคยมีการเรียนการสอนพระอภิธรรมกันอยู่บ้าง แต่ก็สอนกันเพียงอภิธัมมัตถสังคหะ ๙ ปริจเฉท เช่น สมัยเมื่อพระอมราภิรักขิต วัดบรมนิวาสได้เคยแปลไว้ หรือของพวกเปรียญธรรม ก็ได้เคยแปลไว้ อีกฉบับหนึ่ง ของพระโยธาธรรมนิเทศก็เคยแปลไว้ และก็มีการสอนกันบ้าง แต่ไม่กว้างขวางพิสดารเท่าไรนัก เพราะไม่ได้ยกเอาเนื้อหาสาระในพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์มาเรียนกันโดยตรง แม้ในวงการคณะสงฆ์ไทยเราเอง ก็ได้ยกเอาอภิธัมมัตถสังคหบาลี ๙ ปริจเฉท และฎีกาวิภาวินีแก้ อธิบายสังคหบาลีทั้ง ๙ ปริจเฉท ไปวางไว้เป็นหลักสูตรของประโยค ป.ธ.๙ ก็จริง แต่ทว่า ก็เป็นแต่เพียงเรียนแปลจากภาษาบาลีออกมาเป็นภาษาไทยเท่านั้น ในส่วนความเกี่ยวโยงด้านสภาวะ ก็มิได้เน้นสอนกันเป็นกิจลักษณะอะไรเลย ครั้นต่อมาประมาณปี พ.ศ. ๒๔๘๙ ถึง ๒๔๙๐ ก็ได้มีการสอนพระอภิธรรมและวิปัสสนากันขึ้นที่สำนักวัดปรก ยานนาวา บ้านทวาย ตรอกจันทร์ สมัยนั้น ก็มี อาจารย์แนบ มหานีรานนท์ เป็นประธานได้ศึกษาเล่าเรียนจากพระอาจารย์ภัททันตะ วิลาสมหาเถระ ซึ่งเป็นพระสงฆ์ที่นิมนต์มาจากประเทศพม่า ต่อจากนั้นก็มีอาจารย์ ส.สายเกษม มาสอนต่ออีก แต่ก็สอนกันอยู่ในอภิธัมมัตถสังคหะ ๙ ปริจเฉทเท่านั้นเอง ผลงานของท่านอาจารย์ ส.สายเกษม เท่าที่ปรากฎ ก็คือ อภิธรรมพิสดาร เล่ม ๑-๒
ครั้นต่อมา เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๙๒ เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถระ) ครั้นเมื่อดำรงสมณศักดิ์ ที่ พระพิมลธรรม มีตำแหน่งทางการปกครองคณะสงฆ์ โดยเป็นสังฆมนตรีว่าการปกครอง ได้มีความเลื่อมใสในพระอภิธรรม และได้ปรารภถึงการศึกษาพระพุทธศาสนาในประเทศไทยว่า ยังไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร คือ มีเฉพาะพระวินัย กับพระสูตร ส่วนพระอภิธรรมนั้น ยังมีไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร มีความประสงค์ที่จะให้มีการศึกษาพระพุทธศาสนาในประเทศไทยอย่างครบถ้วน จึงได้ติดต่อกับท่านเซอร์อูตวน ประธานสภาพระพุทธศาสนาแห่งสหภาพพม่าในครั้งนั้น โดยขอให้ทางการแห่งสหภาพพม่าได้จัดส่งพระอาจารย์ผู้แตกฉานในพระไตรปิฎกและอรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา มาสอนยังประเทศไทย เมื่อทางการแห่งสหภาพพม่าได้รับการทาบทามติดต่อเช่นนั้นก็มีความยินดีสนองเจตนารมณ์ของพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระพิมลธรรมเป็นอย่างดี เพราะสมัยนั้น ทางการสหภาพพม่าทราบเกียรติประวัติและมีความเคารพเลื่อมใสในศีลาจารวัตรของพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระพิมลธรรมเป็นพิเศษ จึงได้ส่งพระอาจารย์พระอภิธรรมมาให้ตามความประสงค์ ๒ รูป คือ
๑. พระอาจารย์ภัททันตะโชติกะ ธรรมาจริยะ หรือพระสัทธัมมโชติกะ ธรรมาจริยะ
๒. พระอาจารย์ภัททันตะ เตชินทะ ธรรมาจริยะ
เมื่อพระอาจารย์ทั้ง ๒ ได้เดินทางมาถึงประเทศไทยแล้ว ก็ได้ทำการสอนพระอภิธรรมกันขึ้นที่วัดระฆังโฆสิตาราม บางกอกน้อย กรุงเทพฯ เป็นแห่งแรก ส่วนพระอาจารย์เตชินทะนั้น ก็ได้ทำการสอนอยู่ที่สำนักวัดสามพระยา โดยมีคุณพิชิต มณไทยวงศ์ เป็นล่ามแปลเป็นไทยให้ ส่วนทางสายวัดระฆังโฆสิตารามนั้น ก็มีคุณพระทิพย์ปริญญา ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ และศิษย์อีกหลายคน ได้ช่วยกันแปลเป็นภาษาไทยให้ เพราะขณะนั้นพระอาจารย์ทั้ง ๒ ยังมีความเข้าใจในภาษาไทยไม่ดีพอ ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน แต่ก็ได้อาศัยความอนุเคราะห์จากผู้ที่สนใจหลายฝ่ายได้ช่วยกันถ่ายทอดความรู้จากพระอาจารย์ตลอดมา เมื่อพระอาจารย์พระสัทธัมมโชติกะธัมมาจริยะ มีความรู้ความเข้าใจในภาษาไทยดีพอแล้วก็ได้อาศัยศิษย์ผู้ใกล้ชิดหลายคน มีคุณวรรณี โกเมศ และคุณถวิล อภัยภูมินารถ เป็นต้น ได้ช่วยกันแปล เกลาสำนวน ทำเป็นคัมภีร์ออกสู่ภาษาไทยหลายคัมภีร์ แล้วใช้เป็นหลักสูตรการเรียนการสอนกันมาจนทุกวันนี้
โดยพระอาจารย์สัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ ได้จัดเรียบเรียงหลักสูตรการเรียนการสอนเป็นชั้น ๆ ซึ่งมีคัมภีร์ที่เป็นผลงานของท่านเท่าที่ทราบ คือ
๑. พระอภิธัมมัตถสังคหะ ๙ ปริจเฉท แปลเป็นไทย ขยายความตามแนวของอภิธรรมมหาฎีกาของพระอาจารย์เลดีมหาเถระ และจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา เป็นต้น ที่กำลังใช้เป็นหลักสูตรการศึกษาชั้น จูฬตรี – จูฬโท – มัชฌิมตรี – มัชฌิมโท – มัชฌิมเอก พร้อมปัญหาเฉลย
๒. ติกมาติกา และทุกมาติกา พร้อมทั้งปัญหา – เฉลย ที่ใช้เป็นหลักสูตรการศึกษาชั้นจูฬเอก
๓. คัมภีร์ยมก ๕ คัมภีร์ต้น พร้อมทั้งปัญหา – เฉลย ที่ใช้เป็นหลักสูตรการศึกษาชั้นมหาอาภิธรรมิกะตรี และมหาอาภิธรรมิกะโท (ชั้นที่ ๗ - ๘)
๔. คัมภีร์มหาปัฎฐาน พร้อมทั้งปัญหา – เฉลย ที่ใช้เป็นหลักสูตรการศึกษาชั้นมหาอาภิธรรมิกเอก (ชั้นที่ ๙)
๕. คัมภีร์ต่าง ๆ อีกหลายเล่ม เท่าที่ได้เคยจัดพิมพ์ไว้แล้ว
นับว่า อาจารย์พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ ได้มีส่วนฟื้นฟู เติมเต็ม และฝังรากการเรียนการสอนพระอภิธรรมไว้ในประเทศไทย ช่วยให้พุทธบริษัทชาวไทยได้เรียนรู้และเกิดความแตกฉานในเนื้อหาสาระของพระอภิธรรมขึ้นเป็นอย่างมาก แต่เป็นที่น่าเสียดายที่พระอาจารย์สัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ มีบุญได้ช่วยเหลือพวกเราชาวไทยน้อยเกินไป ยังมิทันที่จะสมความตั้งใจของท่านพระอาจารย์ที่จะช่วยเหลือประเทศไทย ท่านก็มาด่วนจากไปเสียก่อนอย่างน่าเสียดายเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๙ แม้ว่าพระคุณท่านพระอาจารย์จะได้จากไปแล้ว ตามคติธรรมดาของสังขารที่ใคร ๆ เกิดมาแล้ว จะหลีกเหลี่ยงไม่ได้ก็ตาม แต่ท่านก็ยังได้ฝากผลงานไว้เป็นอนุสรณ์ให้ศิษยานุศิษย์ผู้สนใจในการศึกษาพระอภิธรรมในภายหลังได้ระลึกนึกถึงพระคุณของท่านอย่างไม่มีวันลืมและได้อาศัยศึกษาค้นคว้า เป็นการสร้างบารมี ต่อไปตลอดกาลนาน

หลักสูตรพระปริยัติธรรม ๑๕ ชั้น
ของ พระสัทธัมมโชติกะธัมมาจริยะ

หลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรมที่อาจารย์พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ ได้วางโครงร่างไว้ เริ่มแรกมี ๑๕ ชั้น กำหนดวิชา ขอบข่ายการศึกษา ปกรณ์ที่กำหนดเกี่ยวกับไวยากรณ์บาลี พระอภิธรรม พระสูตร พระวินัย และวิชาพิเศษ ตามลำดับชั้นนั้น เนื้อหาสาระและขอบข่ายที่จะต้องศึกษา มีความละเอียด ลึกซึ้งกว้างขวาง เหมาะสมที่จะทำให้ผู้สอบผ่านแต่ละชั้นเป็นผู้ทรงความรู้ความสามารถสมฐานะที่ได้รับเป็นอย่างยิ่ง

เมื่อศึกษาเปรียบเทียบกับหลักสูตรในปัจจุบัน (ซึ่งเหลืออยู่เฉพาะหลักสูตรนักศึกษา ๙ ชั้น) ที่ความสามารถของผู้ศึกษาจะเข้าถึงได้ จะเห็นได้ว่า ถ้าผู้ศึกษาในปัจจุบันไม่พยายามศึกษาหรือค้นคว้าเพิ่มเติมให้มากขึ้นกว่าที่ได้ในหลักสูตรที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ จะทำให้ห่างไกลจากพระสัทธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าออกไปทุกที จะป่วยกล่าวไปใยกับผู้ที่มิได้มีโอกาสศึกษาตามหลักสูตรในปัจจุบันเล่า

หลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรมของอาจารย์พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ ๑๕ ชั้นนั้น ได้รวบรวมจากสมุดบันทึกของอาจารย์วรรณี โกเมศ ศิษย์รุ่นแรกของพระอาจารย์สัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ ที่ได้ช่วยบันทึกสำนวนคำสอนเป็นภาษาไทย สมัยที่เริ่มมีการศึกษาพระอภิธรรมกับพระอาจารย์ ซึ่ง พระครูธรรมธร สุมนต์ นนฺทิโกได้รับจากอาจารย์วรรณี โกเมศ ก่อนที่ท่านจะเสียชีวิต
ซึ่งมีเนื้อหาอีกเยอะ ถ้าสนใจอย่างไรโทรไปที่ 02-411-4546
 

_________________
จงระแวงในสิ่งที่ควรระแวง

แก้ไขล่าสุดโดย 1234 เมื่อ 01 ก.ค.2007, 8:25 am, ทั้งหมด 4 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวหมายเลข ICQ
1234
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 27 มิ.ย. 2007
ตอบ: 62
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพฯ

ตอบตอบเมื่อ: 28 มิ.ย.2007, 6:37 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อย่าลืมโยมเบอร์โทรอภิธรรมมหาลัย 02-411-4546
 

_________________
จงระแวงในสิ่งที่ควรระแวง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวหมายเลข ICQ
human
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 01 พ.ย. 2006
ตอบ: 41

ตอบตอบเมื่อ: 29 มิ.ย.2007, 10:37 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผมสนใจเรียนอภิธรรม (ทางไปรษณีย์) ระยะเวลา 9 เดือน รบกวนจัดส่งหนังสือและข้อสอบมาตามที่อยู่ด้านล่างนี้ด้วยครับ

พระมหากุลวัฒน์ธนะ กตธมฺโม
1155 วัดบึงทองหลาง กุฏิ 8 ซ.ลาดพร้าว 101
แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ
กรุงเทพฯ 10240
โทร. 085-0457048

ขอบคุณครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
1234
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 27 มิ.ย. 2007
ตอบ: 62
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพฯ

ตอบตอบเมื่อ: 29 มิ.ย.2007, 5:29 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ครับเดี๋ยวทางอภิธรรมมหาวิทยาลัยจะจัดส่งไปให้นะครับ
 

_________________
จงระแวงในสิ่งที่ควรระแวง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวหมายเลข ICQ
อนงนาฎ
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 05 มี.ค. 2007
ตอบ: 2
ที่อยู่ (จังหวัด): nontaburi

ตอบตอบเมื่อ: 29 มิ.ย.2007, 8:07 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ดิฉันสนใจเรียนค่ะ รบกวนท่านส่งหนังสือมาตามที่อยู่ข้างล่างนะคะ

อนงนาฎ ไตรภูวนาถ
124/76 ซอย เรวดี 22
ต.ตลาดขวัญ
อ.เมือง
จ.นนทบุรี
11000

โทร.087-087-3923,02-5883790
 

_________________
ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีทุกข์
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
1234
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 27 มิ.ย. 2007
ตอบ: 62
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพฯ

ตอบตอบเมื่อ: 29 มิ.ย.2007, 8:17 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ครับเดี๋ยวทางอภิธรรมมหาวิทยาลัยจะจัดส่งไปให้นะครับ
 

_________________
จงระแวงในสิ่งที่ควรระแวง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวหมายเลข ICQ
Yaowaret
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 02 ก.ค. 2007
ตอบ: 3

ตอบตอบเมื่อ: 02 ก.ค.2007, 3:22 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ดิฉันสนใจเรียนค่ะ ขอรบกวนท่านส่งหนังสือมาตามที่อยู่ข้างล่างด้วยนะคะ

เยวเรศ พันธุ์พุท
417/77 หมู่ 5 ถนน ศรีนครินทร์
ต. สำโรงเหนือ
อ. เมือง
จ. สมุทรปราการ 10270


โทร.0898118982, 02-7486871-3
ขอบคุณมากค่ะ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
1234
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 27 มิ.ย. 2007
ตอบ: 62
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพฯ

ตอบตอบเมื่อ: 02 ก.ค.2007, 4:27 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ครับเดี๋ยวทางอภิธรรมมหาวิทยาลัยจะจัดส่งไปให้นะครับ
 

_________________
จงระแวงในสิ่งที่ควรระแวง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวหมายเลข ICQ
chaiwan
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 02 ก.ค. 2007
ตอบ: 1

ตอบตอบเมื่อ: 02 ก.ค.2007, 8:09 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผมสนใจเรียนครับ กรุณาส่งหนังสือและข้อสอบ มาที่

นาย ชัยวัตร รุจิเจริญวรรณ
1/49 สวนอุตสาหกรรมโรจนะ
ม.5 ต.คานหาม อ.อุทัย
จ.อยุธยา 13210
โทร 089-1423-433

ขอบคุณมากครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ลานดาว
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 05 ก.พ. 2007
ตอบ: 21
ที่อยู่ (จังหวัด): สกลนคร

ตอบตอบเมื่อ: 03 ก.ค.2007, 11:20 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อนุโมทนาสาธุค่ะ ขอให้ได้บุญได้กุศลเยอะๆนะคะ
ดิฉันสนจัยมากค่ะ กรุณาส่งหนังสือความรู้มาที่
96ซอยดงพัฒนา 1 ถนนดงพัฒนา บ้านดงพัฒนา
ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร 47000

โทร. 08 1592 6568

เกิด 02 - 04 - 2522 ค่ะ

สาธุ กราบขอบพระคุณค่ะ
 

_________________
นิพพานโดยเร็ว
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
1234
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 27 มิ.ย. 2007
ตอบ: 62
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพฯ

ตอบตอบเมื่อ: 03 ก.ค.2007, 11:27 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

โยมเดี๋ยวทางอภิธรรมมหาวิทยาลัยจะจัดส่งไปให้นะ
 

_________________
จงระแวงในสิ่งที่ควรระแวง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวหมายเลข ICQ
ลานดาว
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 05 ก.พ. 2007
ตอบ: 21
ที่อยู่ (จังหวัด): สกลนคร

ตอบตอบเมื่อ: 03 ก.ค.2007, 3:41 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขาดสติจิงๆ ค่ะ รู้สึกจะลืมบอกชื่อ
น.ส. นวพรรษ ทองทิพย์

ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ
 

_________________
นิพพานโดยเร็ว
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
เอกราช
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 04 ก.ค. 2007
ตอบ: 1

ตอบตอบเมื่อ: 04 ก.ค.2007, 6:07 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ทางชมรมพุทธศิลปศึกษาและประเพณี มช. มีความสนใจเรียนพระอภิธรรม ทางไปรษณีย์ จำนวน 3 คนครับ
ได้แก่ คุณเอกราช สิทธิมงคล
คุณสามารถ จันทร์ฤทธิ์
คุณบุญทรง วงเวียน
ช่วยส่งหนังสือและข้อสอบ(จำนวน 3 ชุด)
ถ้ามีค่าจัดส่งเพิ่มเติมอย่างไรก็ติดต่อ
ตามที่อยู่ดังนี้นะครับ

ชมรมพุทธศิลปศึกษาและประเพณี
สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
239 ถ.ห้วยแก้ว ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200

tel. 0840411900
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
1234
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 27 มิ.ย. 2007
ตอบ: 62
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพฯ

ตอบตอบเมื่อ: 04 ก.ค.2007, 8:20 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ทางเราไม่เรียกร้องค่าจัดส่งใดๆ ทั้งสิ้น

แต่ถ้าคุณโยมอยากจะทำบุญก็โทรมาที่

02-411-4546

อภิธรรมมหาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตาราม

ก็โทรมาถ้าอยากทำบุญนะโยม
 

_________________
จงระแวงในสิ่งที่ควรระแวง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวหมายเลข ICQ
pveep
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 05 ก.พ. 2007
ตอบ: 9
ที่อยู่ (จังหวัด): สุพรรณบุรี

ตอบตอบเมื่อ: 06 ก.ค.2007, 6:18 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผมขออนุโมทนาบุญด้วยครับ และใคร่ขอสมัครเรียน ๒ คน คือ

๑. นายประทีป ศรีคูบัว
บ้านเลขที่ ๑๕ หมู่ที่ ๖ ต.สระยายโสม
อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ๗๒๒๒๐

๒. นางสาววรรณษร ดวงอินทร์
องค์การบริหารส่วนจังหวัดสิงห์บุรี
ถนนสิงห์บุรี-ชัยนาท ต.บางมัญ
อ.เมืองสิงห์บุรี จ.สิงห์บุรี ๑๖๐๐๐

สำหรับหนังสือและเอกสารต่างๆ ส่งไปพร้อมกันตามที่อยู่ในข้อ ๒ ได้เลยครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
1234
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 27 มิ.ย. 2007
ตอบ: 62
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพฯ

ตอบตอบเมื่อ: 06 ก.ค.2007, 7:27 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เจริญพรโยม เดี้ยวทางอภิธรรมมหาลัยจะจัดส่งไปให้นะโยม
 

_________________
จงระแวงในสิ่งที่ควรระแวง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวหมายเลข ICQ
leogirl
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 09 ก.ค. 2007
ตอบ: 1
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 09 ก.ค.2007, 8:44 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอรับหนังสือด้วยค่ะ

ขวัญชนก รักษาสุข
81 ซ.เจริญนคร 6 แขวงคลองต้นไทร
เขตคลองสาน กทมฯ 10600

ขอบพระคุณมากค่ะ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
1234
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 27 มิ.ย. 2007
ตอบ: 62
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพฯ

ตอบตอบเมื่อ: 10 ก.ค.2007, 10:49 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ทางอภิธรรมมมหาวิทยาลัยจะจัดส่งไปให้นะครับโยม
 

_________________
จงระแวงในสิ่งที่ควรระแวง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวหมายเลข ICQ
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่หัวข้อนี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไข หรือตอบได้
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง