Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
  เจ้ากรรมนายเวรมีจริงหรือไม่ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
baramee10
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 06 ธ.ค.2004, 1:25 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เจ้ากรรมนายเวรมีจริงหรือไม่



เนื้อหา

เวลานี้ ใครมองเห็นเจ้ากรรมนายเวรบ้าง

ฟังดูเสมือนว่าทุกคนมีเจ้ากรรมนายเวร

แต่ตามความเป็นจริงนั้น ทุกคนเป็นทายาทของกรรมของตนเอง



กรรมที่ได้กระทำแล้วในอดีตย่อมเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ผลเกิดขึ้น

ไม่ว่าจะเป็นผลดีที่กำลังได้รับความสุข ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย



ก็ไม่ใช่บุคคลอื่นบันดาลให้ แต่กุศลที่ผู้นั้นได้กระทำแล้วในอดีต

เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส สัมผัสสิ่งที่ดีๆ



ฉะนั้น เมื่อกุศลให้ผล ก็ทำให้ได้รับความสุข ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ก็ฉันนั้น



ถ้าถูกคนอื่นทำร้าย ก็อาจจะคิดว่าเพราะคนนั้นทำ

แต่ถ้าไม่ได้ถูกใครทำร้ายเลย เวลาตกบันไดหรือเจ็บป่วยต่างๆนั้น ใครทำให้



ฉะนั้น แต่ละคนจึงมีกรรมของตนเองเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่จะทำให้ผลของกรรม

เกิดขึ้นรับรู้อารมณ์ต่างๆ สิ่งต่างๆที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย



ฉะนั้น เรื่องเจ้ากรรมนายเวรจึงเป็นเรื่องรับฟังต่อๆกันมา

โดยไม่รู้ว่าใครเคยเห็นเจ้ากรรมนายเวรที่ไหน เมื่อไหร่

เพียงแต่นึกว่ามีบุคคลที่เป็นเจ้ากรรมนายเวรที่ทำให้เป็นทุกข์เดือดร้อนต่างๆ



แต่ความจริงนั้น ทุกคนมีกรรมเป็นของของตนเอง



ฉะนั้น ท่านเป็นเจ้ากรรมนายเวรของท่านเองหรือเปล่า

ในเมื่อคนอื่นไม่สามารถจะทำกรรมให้ท่านได้

ไม่ว่าจะเป็นกุศลกรรมหรืออกุศลกรรมก็ตาม



ต่างคนก็ต่างเป็นเจ้ากรรมนายเวรกันโดยไม่รู้จักหน้าค่าตาว่า

เคยเป็นเจ้ากรรมนายเวรกัน ตั้งแต่ในครั้งไหนในสังสารวัฎฎ์



ฉะนั้น ทุกท่านที่กำลังนั่งอยู่ในที่นี้ต่างเป็นเจ้ากรรมนายเวรที่มองไม่เห็น



ใครก็ตามที่ทำให้ท่านไม่พอใจในชาตินี้

คนนั้นแหละคือผู้ที่ท่านเคยทำกรรมไม่ดีกะเขาครั้งหนึ่งในสังสารวัฎฎ์ได้ไหม



ถ้าคิดอย่างนี้แล้ว ไม่โกรธ ไม่เกลียด ให้อภัยผู้นั้นทันที

เมื่อไม่โกรธเคืองผู้ใด ก็หมดเวรกรรมกับผู้นั้น



 
TU
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 23 พ.ค. 2004
ตอบ: 1589

ตอบตอบเมื่อ: 06 ธ.ค.2004, 7:59 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน





๑. เจ้ากรรมนายเวร โดย อ.สุจินต์ บริหารวนเขตต์


http://www.dhammajak.net/webboard/show.php?Category=dhammajak&No=283



๒. กรรม….. คำตอบของชีวิต โดย อัญญมณี มัลลิกะมาส


http://www.dhammajak.net/webboard/show.php?Category=d_book&No=408









 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวYahoo Messenger
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 06 ธ.ค.2004, 1:39 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คำว่าทายาทของกรรมนี้ถือว่าถูกต้องทีเดียว



ผมไม่อยากใช้คำว่าเจ้ากรรมนายเวร เพราะเมื่อก่อนผมไม่เคยเชื่อ และไม่ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวรเลย เพราะผมคิดว่ากรรมไม่มีตัวตนแบบที่เป็นภูตผีอะไร ทำไมคนช่างงมงายนัก



แต่ในที่สุดผมเจอเอง กรรมนั้นซับซ้อนแต่ละกรณีไม่เหมือนกัน แต่คนที่จองเวรถ้าพวกนี้มาเป็นมนุษย์ก็จะฆ่าเรา แต่เขาไปเกิดในภพอื่น จิตใจที่จองเวรนั้นยังมี



เมื่อได้เห็นเองก็นึกว่าคนสมัยก่อน ที่เป็นชาวบ้าน ตาสีตาสา ฉลาดกว่าคนที่จบปริญญาเป็นไหนๆ เพราะเขาเชื่อเรื่องเจ้ากรรมนายเวร เขาสามารถลดเวรให้น้อยลงได้ด้วยการทำบุญ



แต่จริงๆสิ่งนี้รวมอยู่ใน"กัมมะทายาทา" แต่ว่าใครจะเชื่อก็ได้ ไม่เชื่อก็ได้ในเรื่องนี้ ไปบังับให้ใครเชื่อไม่ได้



โดยหลักแล้วไม่เชื่อก้ไม่เป็นไร ถ้าเราทำบุญตามหลักความเชื่อ อุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้มีเวรต่อกันด้วย ไม่ว่าเขาจะอยู่ที่ไหน ความเชื่อหรือไม่เชื่อเรื่องนี้ไม่ได้เป็นเรื่องเสียหายอะไรเลยแก่ผู้ปฏิบัติธรรม เพราะความเชื่อในหลักกรรมนี้รวมอยู่แล้ว



ทุกคนมีกรรมเป็นของตน กรรมที่เกิดขึ้นจะเกิดขึ้นเอง หรือเจ้ากรรมนายเวรทำ ก็มีผลเหมือนกันไม่ต่างกัน ไม่แต่ผมพระที่ปฏิบัติที่วัดก็มองเห็นเหมือนกัน ของท่านมีผู้มายืนใช้หอกแทงท่าน ท่านยืนเจริญสติให้แทงอยู่ประมาณสองชั่วโมง



พระร๔ปนี้เป็นหอบหืดเกือบเอาตัวไม่รอด หลังถูกอทิสมานกายมายืนแทงแล้ว อาการหืดหอบที่หมอรักษาไม่หาย ตอนนี้หายเกือบเป็นปรกติแล้ว เราอธิบายว่าท่านหมดกรรมก็ได้
 
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 06 ธ.ค.2004, 2:05 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผมขอเพิ่มเติมอีกนิดนะครับ เป็นวิธีพิสูจน์เจ้ากรรมนายเวรได้เลย ถ้าใครมีพ่อแม่ที่เป็นมะเร็ง(เป็นโรคอื่นก็ได้ แต่ควรเอามะเร็ง) และหมอบอกว่ารักษายังไงก็ไม่หายต้องตายภายในหกเดือนหรือ 1 ปี อะไรอย่างนี้



เราจะพิสูจน์กันว่าเจ้ากรรมนายเวรมีจริงหรือไม่ ทำได้แน่นอน โดยผู้ที่ต้องการพิสูจน์นี้เป็นลูกของผู้ป่วยนั้น



ให้ลูกของผู้ป่วยนั้นทำบุญรักษาศีล แล้วระลึกถึงพระคุณของพ่อหรือแม่ที่ป่วย ให้นึกถึงคุณอันใหญ่หลวงนี้ให้มาก ตั้งจิตทดแทนบุญคุณพ่อแม่อย่างแท้จริง และให้ใช้ดอกไม้ธูปเทียนอธิษฐาน ว่าเพื่อทดแทนบุญคุณพ่อแม่ ขอให้เจ้ากรรมนายเวรของพ่อแม่จงทราบ ว่าตนเองจะขอรับกรรมทั้งหมดของพ่อหรือแม่เพื่อทดแทนบุญคุณที่ท่านได้เลี้ยงดูมา และขอตายแทนพ่อหรือแม่



อธิษฐานแค่นี้แหละครับ พ่อแม่ที่ป่วยจะฟื้นจากการป่วย แต่อาจไม่หาย เพียงยืดอายุ ถ้าเป็นมะเร็ง ก้อนมะเร็งจะยุบและหายไประยะหนึ่ง



แต่ผู้อธิษฐานตายแทนนั้น จะเผชิญกรรมอย่างไม่น่าเชื่อ และเห็นเจ้ากรรมนายเวรแน่นอน แล้วท่านต้องบวช ไม่งั้นรักษาชีวิตไม่รอดจริงๆ เพราะว่าความเลวร้ายทั้งหลายนั้นจะเข้ามาสู่ชีวิตท่าน และเจ้ากรรมนายเวรจะแสดงให้ท่านได้เห็นขั้นตอนต่างๆ และผู้ที่เกี่ยวพันกับผู้ป่วยนั้นจะป่วย ถ้าไม่เข้มแข็งในสมาธิ ไม่มีทางรอด



นี่คือข้อที่สามารถจะทดลองได้ และผมได้ทดลองมาแล้ว หากไม่ใช่กับพ่อแม่ แต่เป็นคนที่มีบุญคุณ ผมไม่ตาย แต่ก็น่าดูเหมือนกัน
 
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 07 ธ.ค.2004, 6:06 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จไปยังเกสปุตตนิคม กาลามชนชาวเกปุสตตนิคมหลายกลุ่มหลายพวกรู้ข่าว ก็พากันมาเฝ้พระพุทธเจ้า แต่ละกลุ่มต่างถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง



และทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า เนื้อความพอสรุปว่า " มีสมณพราหมณ์หลายพวกมาถึงเกสปุตตนิคม แล้วกล่าวทำนองเชิดชูวาทะของตนถ่ายเดียว และคัดค้านดูหมิ่นถ้อยคำของผู้อื่น"



ชาวเกปุสตตนิคมสงสัยว่าสมณพราหมณ์ที่มานั้น กลุ่มไหนบ้างกล่าวจริงกล่าวเท็จ (พึงทราบสมัยนั้นมีเจ้าลัทธิมากมายที่ประกาศศาสนาของตน)



พระพุทธเจ้าจึงตรัสไม่ให้เชื่อโดยวางหลักไว้ 10 อย่าง เรียกว่ากาลามสูตร



คนส่วนมากมักเข้าใจและคิดว่า "กาลามสูตรนั้นสอนหลักไม่ให้เชื่อไว้ 10 อย่าง"



จริงๆแล้วกาลามสูตรเน้นสอนเรื่องไม่ให้เชื่อตามหลีก 10 อย่างจริงหรือ?



การอ่านกาลามสูตรอย่างพิจารณา และวิเคราะห์ทบทวนให้ดี จะเห็นว่าหลักกาลามสูตร มิได้สอน"ไม่ให้เชื่อ" แต่สอน"ถึงเหตุอันควรเชื่อไว้อย่างแยบคาย"



สอนหลักการควรเชื่อที่ทำให้ไม่เกิดความเสียหาย และเชื่อโดยได้ประโยชน์ ซึ่งอยู่ในช่วงที่พระพุทธเจ้าสอนหลักไม่ควรเชื่อ 10 อย่างแล้ว จึงสอนเรื่องศีลห้า ทำให้ชาวกาลามชนถึงพระรัตนตรัยรักษาศีลห้า



แต่เหตุผลที่พระพุทธเจ้าทำให้ชาวกาลามชนถึงพระรัตนตรัย และรักษาศีลห้านั้น เพราะพระพุทธสอนหลักความเชื่อดังนี้



"กาลามชน เมื่อใดท่านรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานเต็มที่แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์เป็นทุกข์ ท่านกาลมชน ท่านพึงละเสียเมื่อนั้น"



แล้วกล่าวถึง โลภะ โทสะ โมหะ ว่าเป็นเหตุให้ทำผิดศีลห้า เป็นธรรมที่เป็นอกุศล แล้วกล่าวถึงอโลภะ อโทสะ อโมหะ ว่าเป็นธรรมที่เป็นกุศล เป็นเหตุให้มีศีล



กุศลธรรมประกอบด้วยประโยขน์ อกุศลธรรมประกอบด้วยโทษ



แล้วกล่าวถึงอริยสาวกว่าเป็นผู้ปราศจาก โลภะ โทสะ และโมหะ เป็นผู้มีสติ ไม่พยาบาท เป็นผู้ประกอบด้วย เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา เจริญด้วยพรหมวิหารสี่ เป็นผู้มีจิตหาเวรมิได้



และกล่าวความสำคัญหลักความเชื่อที่ตรงนี้ด้วยว่า



อริยสาวกเป็นผู้ได้ความอุ่นใจ 4 ประการ คือ

1. ถ้าโลกหน้ามีจริง( หลังตายแล้ว) วิบากคือผลกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วมีจริง ข้อนี้เป็นฐานะที่ตั้งซึ่งเป็นได้ เบื้องหน้าแต่แตกกายตายไป เราจักเข้าถึงโลกสวรรค์ดังนี้



2. ถ้าโลกหน้าไม่มี วิบาก คือผลกรรมชั่ว กรรมดีไม่มี ก็สามารถรักษาตนในปัจจุบัน ให้เป็นคนไม่มีเวร ไม่เบียดเบียน ไม่มีทุกข์ มีแต่สุขดังนี้



3.ถ้าบาปที่บุคคลทำ ชื่อว่าเป็นอันทำไซร้ (ถาบาปมีจริง)เราไม่ได้คิดบาปให้แก่ใคร ไหนเลยทุกข์จะมาพ้องพานเราผู้ไม่ได้ทำบาปกรรมไว้



4. ถ้าบาปที่บุคคลทำ ไม่ชื่อว่าเป็นอันทำไซร้ (ไม่มี) เราก็ยังบริสุทธิ์ทั้งสองทาง



กาลามชนได้ฟังธรรมแล้วประกาศเป็นอุบาสก อุบาสิกา



ก็เหมือนเรื่องเจ้ากรรมนายเวร



1. ถ้าเจ้ากรรมนายเวรมีจริง การอุทิศส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวร ก็สามารถอุทิศส่วนบุญไปได้จริง ก็เป็นประโยชน์ทั้งเขาทั้งเรา ไม่มีโทษใดๆ



2 และถ้าเจ้ากรรมนายเวรไม่มีจริง การอุทิศส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวร ก็ไม่ทำให้บุญนั้นเสียหายแต่ประการใด การเป็นผู้ให้ ความปรารถนาที่จะให้นั้น แม้จะไม่ให้ผลได้จริง แต่ให้ผลแก่จิตใจเป็นสุขในปัจจุบันได้



การเชื่อเจ้ากรรมนายเวรนั้นมีโทษอย่างไร หรือมีประโยชน์อย่างไร ถ้ามีประโยชน์จึงควรเชื่อ ถ้าไม่มีประโยชน์และมีโทษแล้วก็ไม่ควรเชื่อ



นี่เป็นหลักของกาลามสูตร เป็นอรรถแห่งกาลามสูตร ในข้อที่ว่าประเด็นควรเชื่อ หรือไม่ควรเชื่อที่เป็นสาระอันสำคัญทางพุทธศาสนา
 
ดนุวัติ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 08 ธ.ค.2004, 8:24 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ชื่อยังมี แล้วทำไมตัวจริงเสียงจริงจะไม่มีหละครับ
 
สำเร็จ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 08 ธ.ค.2004, 10:38 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เจ้ากรรมนายเวร ความหมายคือ ผลของกรรมที่เคยทำไว้

เข้าใจอย่างนี้แล้วจะศึกษาง่ายขึ้น....เข้าใจง่ายขึ้น...





ทกคนจะได้รับผลของกรรม...ตามเหตุต่างๆที่สนับสนุนให้ผลเกิดได้

ส่วนผลจะเกิดเมื่อไร...ต้องพิจารณาโดยละเอียดทุกด้าน..



บางทีมีเหตุให้ผล....เลิกให้ผลก็ได้....



เรื่องกรรม....เรื่องเจ้ากรรมนายเวร....ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ...

ต้องศึกษาให้มาก...ต้องเข้าใจให้ดี...ต้องสุขุม...ใจเย็น...และรอบคอบ

ถ้าจะพูดเรื่องนี้
 
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 08 ธ.ค.2004, 2:09 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คือ ชื่อเจ้ากรรมนายเวรนี้ เป็นชื่อที่เรียกกันภายหลังครับ คุณดนุวัติ ทีนี้ผู้ที่เห็นแย้งนั้นเขาก็มีเหตุผลเหมือนกัน เมื่อเราเห็นว่ามี ก็ต้องมาคิดว่าจะอธิบายเหตุผลต่อเขาให้พอเข้าใจกันได้อย่างไร นี่ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย



เพราะว่าความเห็นต่างในพุทธศาสนา จะต้องเอาพระไตรปิฏกหรือหลักธรรมมาโต้แย้ง จะเอาสิ่งที่ตนคิดก็ต้องอธิบายอิงหลักธรรม ถ้าไม่เข้ากับหลักธรรมย่อมเป็นไปไม่ได้ เพราะหลักธรรมทั้งระบบสอดคล้องกันหมด เหมือนคุณสำเร็๗ว่าศึกษายาก แต่เมื่อแยกเหตุกับผล คือตัวกรรมกับวิบาก การศึกษาเข้าใจก็ง่ายขึ้น แต่เมื่อเป็นเรื่องอธิบายบุคลาธิษฐาน เป็นเรื่องยาก แต่ในประสบการณ์ผมติดต่อได้ในส่วนของตัวเอง แต่เป็นเรื่องเอามาอ้างอะไรไม่ได้ มันจะเป็นการงมงาย



ตอนนี้ควรจะศึกษาดูว่ามีเรื่องอะไรบ้างที่อธิบายในพระไตรปิฏกแล้วสังเคราะห์ว่าพอเป็นอันเดียวกับเจ้ากรรมนายเวรได้ อาจนำมาใช้อธิบายได้ ผมก็จะค้นดูว่ามีอะไรบ้าง
 
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 09 ธ.ค.2004, 3:52 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ในพระไตรปิฏก ทั้งในชาดกและในพระสูตรมีเรื่องการจองเวรอยู่หลายเรื่อง ตัวอย่างในชาดกคือ เทวทัตจองเวรพระพุทธเจ้านับชาติไม่ถ้วน



แต่เมื่อพิจารณาแล้ว เจ้ากรรมนายเวรก็ไม่ตรงกับเรื่องที่มีเจตนาจองเวร เพราะมีกรรมบางอย่างมีการจองเวรโดยไม่รู้ตัวได้ เช่นเราไปล่วงเกินผู้อื่นด้วยโทษสถานเบา แต่คนที่ถูกล่วงเกินรู้สึกไม่พอใจ แล้วความไม่พอใจนั้นก็หายไปในเวลาต่อมา แต่กรรมนั้นจะมีผลในอนาคตเพราะมีการก่อกรรมแล้ว จะให้กรรมนั้นไม่มีผลก็ต่อเมื่อเราขออโหสิกรรม และผู้ถูกล่วงเกินนั้นอโหสิกรรมให้



การทำกรรมในลักษณะประการหลังนี้ ก็ทำให้มีเจ้ากรรมนายเวรในรูปแบบต่างๆเกิดขึ้น กรรมเหล่านี้ต้องชดใช้ และสามารถอโหสิกรรมได้



หรือแม้คนที่ฆ่าสัตว์ทำบาป เช่นคนจับปลา เมื่อจับปลามา ปลานั้นกลัวตายร้องขอชีวิต แต่เราไม่ได้ยินเสียง เพราะนึกแต่อยากจะกินปลาหรือเอามาขายท่าเดียว ปลานั้นรู้สึกโกรธและคิดว่าจะมาทำคนผู้นั้นบ้าง



คนที่ฆ่าปลานั้น แม้ปลาไม่อาฆาตก็มีบาปอาจตกนรกได้ เมื่อปลาอาฆาตถ้าคนนั้นยังเป็นมนุษย์ และปลาไปเกิดในทุคติ ความโกรธความอาฆาตความจำได้ว่าถูคนนั้นทำร้ายยังมีอยู่



ปลานั้นไปเกิดเป็นภูตเมื่อมีโอกาสมาทำร้ายคนที่เคยฆ่าตน ก็ทำได้โดยอำนาจแห่งกรรมให้เจ็บหรือป่วย เพราะว่าได้ผูกโกรธไว้ก่อนตาย ปลาที่เป็นภูตนั้นก็เป็นเจ้ากรรมนายเวรของคนผู้นั้น เมื่อปลานั้นลงโทษแล้ว คนผู้นั้นอาจทำบุญอุทิศส่วนกุศล ถ้าวิญญาณปลานั้นเห็นแก่กุศลและคลายความโกรธได้แล้ว ก็อาจละความโกรธและอนุโมทนาบุญ ความเจ็บป่วยของคนผู้นั้นก็หาย



แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่าบาปของคนที่ฆ่าปลานั้นจะหมดไป การชดใช้เวรนั้นใช้ไปแล้ว แต่บาปกรรมที่เจ้ากรรมนายเวรนั้นมิได้ถือโทษก็ยังมีในส่วนของบาปนั้น เมื่อกรรมนั้นมาถึงเมื่อไรก็ต้องใช้กรรม เช่น อาจต้องไปตกนรกก็ได้ แต่คู่เวรนั้นเห็นว่าตนผูกเวรไว้และได้รับการชดใช้แล้ว เวรนั้นไม่มีแล้ว



นี่เป็นเรื่องอธิบายตามหลักกรรม เราจะนึกว่าชาวประมงไม่ถูกปลาที่ถูกฆ่าผูกเวรหรือ? จะนึกว่าพวกฆ่าสัตว์ในโรงฆ่าสัตว์ ไม่ถูกสัตว์ที่ถูกฆ่าผูกเวรหรือ



แม้การเอาปลามาขังในตู้แล้วให้คนไปชี้ว่าจะกินปลาตัวนั้น จะไม่ถูกปลาผูกเวรหรือ



แล้วสัตว์ที่ถูกฆ่าไปเกิดในทุคติ เขาก็มาทวงหนี้กรรม เพื่อจะได้อโหสิกรรม และการอโหสิกรรมหมายถึงว่ามีการลงโทษให้เจ็บป่วยพอสมควรให้สาแก่ใจ แล้วจึงอโหสิกรรม เวรที่ผูกไว้นั้นหมดไป แต่กรรมที่ได้ทำนั้นยังไม่หมดไป ยังมีเศษกรรมหรือตัวกรรมตามลักษณะของกรรม



การชดใช้กรรมนั้นมิได้ชดใช้ครั้งเดียวแล้วจะหมดไป เพราะจะมีเศษกรรมอีกจำนวนมาก



นี่เป็นหลักที่ทำให้เกิดเจ้ากรรมนายเวร
 
อาชีพที่ไม่อยากทำ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 13 ธ.ค.2004, 6:09 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อาชีพขายยาฆ่าแมลง จะก่อให้เกิดเจ้ากรรมนายเวร มากน้อยหรือไม่อย่างไร ขึ้นอยู่กับเจตนา ป้องกันพืชผล หรือเจตนาฆ่าแมลงหรือไม่ ขอความเห็นด้วยครับ
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง