Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ฌาณ สมาบัติ8 ต่างกับฌาณ16 ยังไงครับช่วยอธิบายทีครับผม อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ณัฐพล ตีระพิมลจันทร์
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 01 มิ.ย. 2007
ตอบ: 1
ที่อยู่ (จังหวัด): นนทบุรี

ตอบตอบเมื่อ: 01 มิ.ย.2007, 12:10 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ฌาณ สมาบัติ8 ต่างกับฌาณ16 ยังไงครับช่วยอธิบายทีครับผม
the_same_moon@hotmail.com ครับ
 

_________________
ฌาณ สมาบัติ8 ต่างกับฌาณ16 ยังไงครับช่วยอธิบายทีครับผม
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ผู้เยี่ยมชม






ตอบตอบเมื่อ: 01 มิ.ย.2007, 9:20 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ฌาณ สมาบัติ8 ต่างกับฌาณ16 ยังไงครับช่วยอธิบายทีครับผม

ไม่มีใครตอบให้ตอบให้สั้นๆแล้วกันดังนี้

ญาณ 16 ครับ ไม่ใช่ ฌาน 16

สมาบัติ 8 คือ รูปฌาน 4 อรูปฌาน 4 รวมเรียกว่า สมาบัติ 8 นี้อยู่ในฝ่ายสมถะ

ส่วนญาณ 16 เป็นชื่อของวิปัสสนาญาณ เรียกว่า วิปัสสนาญาณ 16 นี้อยู่ในฝ่ายวิปัสสนา

ย่อๆ ก็เท่านี้แหละ
 
anny
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2007
ตอบ: 6
ที่อยู่ (จังหวัด): bkk

ตอบตอบเมื่อ: 02 มิ.ย.2007, 2:01 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เท่าที่ทราบนะคะ อาจตอบได้ไม่ละเอียดนัก
ญาน 16 คือ อาการของ สภาวะ ที่เกิด จะเรียงลำดับขึ้นไปเรื่อยๆ มี อาการเช่น ขนลุก น้ำลายไหล ร้องไห้ เหงื่อออกแบบเหมือนอาบน้ำ ตัวนิ่งล้อกขยับไม่ได้เหมือนโดนผีอำ สัปปะหงก
ฌาน 4 คือ สภาวะ การนิ่ง นานๆตั้งแต่ นิ่งแบบรู้สึกตัว จนกระทั่งอารมณ์ดับ เหมือนหลับแต่ไม่มีอาการสัปปะหงก ส่วนรายละเอียดเดี๋ยวมาตอบอีกที แบบไปจดจากเทปที่อัดมาก่อนนะ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 03 มิ.ย.2007, 12:27 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

วิปัสสนาภูมิ ตอนที่ 9 ญาณ 16
โดย พระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรํสี)

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7070
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
anny
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2007
ตอบ: 6
ที่อยู่ (จังหวัด): bkk

ตอบตอบเมื่อ: 04 มิ.ย.2007, 10:05 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ญาณ คือ ความรู้ตามลำดับขั้นตอน มีอาการดังนี้
ญานที่ 1 แยกอารมณ์ ระหว่าง กายและจิต ได้ (นามรูปเฉทญาน) มีความรู้สึกแยกกัน ระหว่างอาการทางกาย และรู้สึกแยกกันกับจิต ว่าเป็นคนละส่วนกัน โดยมากจะแยกไม่ออกจึงไม่ทราบ
ญานที่2 จะเห็นอาการ ท้องยุบ ท้องพองชัดขึ้น คือรู้ว่า ท้องเรายุบ ท้องเราพอง เวลาลมหายใจเข้าและออก จะเกิดทุกขเวทนา โรคเก่าๆจะเกิดขึ้นกลับมาอีก และเริ่มเห็นนิมิต เช่นเห็นภาพต้นไม้สีเขียว เห็นหน้าพ่อแม่ที่ตายไปแล้ว
ญานที่ 3 จิตจะฟ้องซ่าน คิดนั่นคิดนี่ตลอด คิดออกบ้างไม่ออกบ้าง จะเกิดไตรลักษณ์ ขั้นที่1 และลมหายใจเข้าออกจะเร็วขึ้น แน่นจุก กระดุกกระดิกไม่ได้ เรียกว่าเริ่มเกิดสมถะ บางท่านคิดว่าตัวเองบรรลุเเล้วและบางท่านจะเกิดแสงสว่าง แสงพุ่งออกจากตัว บางท่านคิดว่าตัวเอง ได้กษิน บางท่านมองทะลุประตูหน้าต่างได้คิดว่าตัวเองได้หูทิพย์ ตาทิพย์ บางท่านจะเกิดปิติ มีอาการคันยุบยิบตามตัว ขนลุก น้ำตาไหล เห็นเหมือนแสงหิ่งห้อย กายโยกไปมา เย็นกาย มีสบัดไปมา ใจสั่นเหมือนหัวใจจะวาย นั่งไปตัวแข็ง ขยับไม่ได้ บางทีถูกยกไปทั้งท่านั้งแบบนั้นก็มี (เหมือนโดนผีอำ) เกิดความสุข ชั่วคราว เกิดศรัทธาในศาสนา เกิดความขยันผิดปกติ อยากนั่งต่อไม่อยากลุกไปไหนไม่มีเจ็บ ไม่มีปวด แขน-ขา ไม่อยากขยับแขน-ขา เกิดความสุข ความใคร่ในอารมณ์ ติดอยู่ในอารมณ์สุข สติเริ่มสมบูรณ์ ขึ้น บางท่านเริ่มระลึกชาติได้ แค่เพียง2-3 ชาติเท่านั้น บางท่านเหมือนตัวลอยได้ เหาะได้ บางท่านคิดว่าตนได้อภิณญา คิดเรื่องอดีตได้ชัดเจน เกิดอารมณ์ยินดีในปิติ ในนิมิตชอบที่เห็นนั่น เห็นนี่ ไปเที่ยวนั่น เที่ยวนี่ เห็นเทวดา นางฟ้า วิมานแก้ว เป็นต้น
ญานที่ 4 เข้าสู่วิปัสสนา ตามตำราเรียกว่า วิปัสสนาญาน9 (อุทยคยญาน) สติเริ่มสมบูรณ์แยกได้ว่าเราทำอะไร เราเดินก้าวขาไหน ซ้าย-ขวา มันจะอึงตึงตลอดเวลาแม้กระทั่งเดินไปเข้าห้องน้ำ เราจะรู้สึกแม้ไม่ได้นั่งสมาธิจะเหมือนภาวนาตลอดเวลา เวลานั้งสมาธิจะเห็นอาการท้องพอง-ท้องยุบชัดขึ้นเป็นระยะๆ ว่าสมำเสมอไหม แรงข้นไหม ช้าลงเป็นขั้นๆไหม บางคนคิดแปลกใจเหมือนหายใจไม่ทั่วท้อง บางทีมีอาการเหมือนกระตุก ไปข้างหน้า-ข้างหลัง แขนสบัดออก สะดุ้งสุดตัว
ราคะ โมหะ โกรธ ในใจเริ่มหายไปบ้าง บางทีนึกว่าตัวเองได้วิธีกำจัดกิเลสแล้ว บางท่านตีปัญหาธรรมได้ นึกว่าตัวเองบรรลุแล้ว บางท่านเห็นวิญญานคนตายไปแล้ว พอกำหนดดีๆก็หายไป เลยนึกว่าตัวเองเริ่มมีฤทธิ์แล้ว อาการพอง-ยุบหายไป อาการปวดเจ็บหายไป คำภาวนาพุทโธหายไป มีอาการเผลอสัปปะหงก ไปหนึ่งจังหวะ บางทีรู้สึกเหมือนตนตกจากที่สูงๆ ตกหลุมอากาศ เกิดไตรลักษณ์ ขั้นที่ 2 ความรู้สึกหายไปชั่ววูบหนึ่ง อยากปฎิบัติมากขึ้น บางคนเริ่มกลัวการปฏิบัติ
ญานที่ 5 เวลาเดินกงกลม ฟุบลง เดินเตะคนอื่น เวลานั่งเห็นอาการท้องพอง-ท้องยุบ เป็นจังหวะๆเป็น3ขั้น เห็นชัด เห็นความรู้สึกเบื่อหน่าย รำคาญ เซ็งๆ บางคนเหงื่อออกมากเห็นเหมือนอาบน้ำ เหงื่อเม็ดใหญ่ๆออกเหมือนคนจะเป็นไข้-ปวดท้อง
ญาณที่ 6 เห็นรูปนามปรากฎน่ากลัว รู้สึกกลัวนั่นกลัวนี่ หายใจลำบาก กลัวตายใจเสียวแป็บๆ เหมือนจะตาย เห็นทุกข์ เจ็บปวดอยากเลิกปฏิบัติ
ญาณที่ 7 เหม็นนั่นนี่ หอมโน่นนี่ บางทีได้กลิ่นไปไกลหลายบ้านจิตก็ตามไปดูไปรู้ว่ามันกลิ่นอะไร เช่นกลิ่นตัว กลิ่นดอกไม้ กลิ่นกับข้าว ทั้งๆที่ปกติจะไม่ใช่คนที่จมูกไว อะไรเกิดขึ้นตกใจง่าย เขาคุยกันเบาๆเหมือนดังมาก
ญาณที่ 8 เราเห็นทุกข์ของสังขารร่างกายขึ้น อยากออก อยากหนีจากร่างกายนี้ เบื่อสังขาร
ญานที่ 9 เกิดความอึดอัด ระคายเคืองร่างกาย คันคอ อยากไอ อยากจาม รู้สึกคันเหมือนมีมด แมงมุม ตะขาบ มาเดินตามตัว แบบตัวใหญ่ๆไม่ใช่ระคายเคืองเล็กน้อยแบบยุบยิบๆ เหมือนมดกัด อยากออกอยากหนี อยากเลิกปฏิบัติ บางทีอยากเลิกทำไปเลย ตรงนี้เรียกว่าญานม้วนเสื่อ คือเลิกปฏิบัติไปเลย
ญานที่ 10 จะเบื่อแล้ว จะหาทางพิจารณาการหลุดพ้น มีอาการฝันตลอดเวลานอนตั้งแต่หัวถึงหมอน จะฝันเป็นเรื่องเป็นราว แต่จะจำได้ตลอดว่าฝันอะไรบ้าง เกิดทุกขเวทนาอย่างมากกว่าญานที่3 นัก แต่จะวางเฉยได้ในสังขาร จิต บางทีนั่งสมาธิแล้ว ไม่อยากนั่ง บางทีนั่งก้อไม่อยากลุกอีก บางทีก้อไม่อยากเดินไม่อยากนั่งแต่จะอยากไปทำโน่น ทำนี่ตลอดเวลา แต่อารมณ์จะโล่งโปร่ง สบาย โรคภัยไข้ป่วยต่างๆจะหายไปเอง ขับถ่ายดี รู้สึกตัวโล่ง สติสมบูรณ์ ความรู้สึกจะขาด เห็นไตรลักษณ์ขั้นสุดท้ายแต่อินทรีย์5 ต้องแข็งแรง ถ้าไม่แล้วจะกลับมาทวนญานใหม่ตั้งแต่ต้นอีก และเป็นอย่างนี้ตลอดไม่ก้าวหน้า ญานนี้จะใช้เวลานาน บางท่านถึง10ปีก้อมี
ญานที่11 (อนุโลมญาน )จะเห็นอาการท้องพอง-ท้องยุบ ชัดกว่าปกติ หลายขั้น หรือเห็นลมหายใจเข้า-ออกเป็นระยะๆหลายๆระยะ ความรู้สึกขาดวูป บางทีหัวกระแทกพื้นก็มี ความรู้สึกขาดวูบนี้ บางคนตั้งแต่ 1-2 นาที บางคนนานหลายนาที บางทีเป็นชั่วโมงๆ พอพื้นขึ้นมาก็อไม่รู้ว่านานแค่ไหนก็จะนั่งต่อไปๆ และกำหนดได้เบากว่าปกติ และ สติจะรู้ว่าอาการดับไปนั้นตอนไหน
ญานที่12 (โคตรโภญาน) จะไม่มีความรู้สึก เริ่มเห็นอริยสัจ4 อาการกำหนดลมหายใจจะขาดหายไป แต่จำได้ว่าขาดไปตอนไหน เรียกว่า รูปดับ นามดับ กลัวการทำบาป กลัวการผิดศีลแม้เล็กน้อย แม้เดินเหยียบมด เกิดความละอาย เข้าสมาธิได้เร็ว
ญานที่ 13
 

_________________
จงตั้งใจทำทุกสิ่ง และ ทำทุกสิ่งด้วยความตั้งใจ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
ผู้เยี่ยมชม






ตอบตอบเมื่อ: 05 มิ.ย.2007, 1:19 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

"ฌาน" คือ ภาวะจิตที่สงบประณีต เป็นการเพ่งอยู่กับอารมณ์เดียวจนใจแน่วแน่เป็นอัปปนาสมาธิ เป็นลักษณะของภาวะจิตที่เกิดขึ้นจากการภาวนาสมาธิเป็นองค์ธรรมหลัก

ฌานแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆ ได้แก่

๑. อารัมมณูปนิชฌาน การเพ่งอารมณ์ ได้แก่ สมาบัติ ๘ คือ รูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔
๒. ลักขณูปนิชฌาน การเพ่งลักษณะ ได้แก่ วิปัสสนา มรรค

แต่โดยทั่วไป เมื่อกล่าวถึงประเภทของฌาน มักแบ่งฌานออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ

๑.รูปฌาน ๔ ฌานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์ ฌานที่เป็นรูปาวจร
๒.อรูปฌาน ๔ ฌานมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์ ฌานที่เป็นอรูปาวจร

เมื่อกล่าวสั้นๆ ว่า " ฌาน ๔" จะหมายถึง รูปฌาน ๔ และเมื่อกล่าวสั้นๆ ว่า " ฌาน ๘"
จะหมายถึง รูปฌาน ๔ กับ อรูปฌาน ๔

สิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเพ่งจนได้ฌาน ได้มีการรวบรวมไว้เป็น กรรมฐาน ๔๐ อาทิ กสิณ ๑๐ อนุสติ ๑๐ อสุภ ๑๐ พรหมวิหาร ๔ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ จตุธาตุววัตถาน ๑ อรูป ๔
ส่วน

"ญาณ" หมายถึง ความรู้ ภาวะแห่งการหยั่งรู้

"ญาณ ๑๖ (โสฬสญาณ)" เป็น ภาวะแห่งการหยั่งรู้ที่เกิดแก่ผู้บำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานโดยลำดับตั้งแต่ต้นจนถึงจุดหมายปลายทาง คือ มรรคผลนิพพาน ๑๖ อย่าง คือ

๑. นามรูปปริเฉทญาณ คือ ญาณที่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องรูปนาม
๒. ปัจจัยปริคคหญาณ คือ ญาณที่กำหนดปัจจัยแห่งนามรูป คือเห็นเหตุปัจจัยอันเกี่ยวข้องกันของรูปนาม
๓. สัมสนญาณ ญาณที่พิจารณานามรูปโดยไตรลักษณ์ หรือเห็นไตรลักษณ์

(๔-๑๒ คือ วิปัสสนาญาณ ๙ ที่เกิดขึ้นโดยลำดับ ได้แก่)

๔. อุทยัพยานุปัสสนาญาณ คือ ญาณที่ตามเห็นความเกิด และความดับแห่งรูปนาม
๕. ภังคานุปัสสนาญาณ คือ ญาณที่ตามเห็นเฉพาะความดับเด่นขึ้นมา
๖. ภยตูปัฏบานญาณ คือ ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว
๗. อาทีนวานุปัสสญาณ คือ ญาณที่คำนึงเห็นโทษจากรูปนามที่ดับไป
๘. นิพพทานุปัสสนาญาณ คือ ญาณที่คำนึงเห็นความเบื่อหน่าย
๙. มุจจิตุกัมยตาญาณ คือ ญาณที่หยั่งรู้อันให้ใคร่จะไปเสีย
๑๐. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ คือ ญาณอันพิจารณาทบทวนเพื่อหาทางว่าทำอย่างไร
จึงจะพ้นไปเสียได้
๑๑. สังขารุเปกขาญาณ คือ ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลาง หรือ วางเฉยต่อสังขาร
๑๒. สัจจานุโลมิกญาณ/อนุโลมญาณ คือ ญาณที่เป็นไปโดยควรแก่การหยั่งรู้อริยสัจจ์
หรือตามกำลังอำนาจของอริยสัจจ์ที่จะสอดคล้องต่อไปในขั้นโลกุตรญาณ

๑๓. โคตรภูญาณ คือ ญาณที่ครอบโคตร คือ หัวเลี้ยวหัวต่อที่กำลังจะข้ามพ้นภาวะปุถุชนเข้าสู่อริยะ จะทิ้งอารมณ์ที่เป็นรูปนามไปรับนิพพานเป็นอารมณ์
๑๔. มัคคญาณ คือ ญาณที่อยู่ในอริยมรรค จะทำหน้าที่ประหารกิเลสระดับอนุสัยกิเลส
๑๕. ผลญาณ ญาณอริยผล
๑๖. ปัจจเวกขณญาณ คือ ญาณที่พิจารณาทบทวน มรรค ผล นิพาน

(ที่มา : พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต), "พจนานุกรมพุทธศาสน์
ฉบับประมวลศัพท์",
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต), "พจนานุกรมพุทธศาสน์
ฉบับประมวลธรรม
พระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรังสี),“วิปัสสนาภูมิ”)
 
พีรวิชญ์
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 19 เม.ย. 2007
ตอบ: 24

ตอบตอบเมื่อ: 19 มิ.ย.2007, 11:40 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เข้ามาดูแล้วเข้าใจหละ สาธุ ยิ้มเห็นฟัน ยิ้ม
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
anny
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2007
ตอบ: 6
ที่อยู่ (จังหวัด): bkk

ตอบตอบเมื่อ: 02 ก.ค.2007, 1:20 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7070
 

_________________
จงตั้งใจทำทุกสิ่ง และ ทำทุกสิ่งด้วยความตั้งใจ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง