Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 สมาธิหมุนเป็นอย่างไร ? อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 17 มิ.ย.2007, 8:32 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ใครเคยได้ยินชื่อสมาธิหมุนหรือเคยฝึกกันบ้าง เล่าให้ฟังเป็นวิทยาทานบ้างสิครับ

เห็นที่ลิงค์นี้ =>

http://www.plarnkhoi.com/jitjai_pictures.php
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 18 มิ.ย.2007, 11:12 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ถ้าอยากรู้ว่าสมาธิหมุนอยู่ในระดับใด

ดูตัวอย่างข้างล่าง นำมาจากเว็บหนึ่งลองอ่านดู ดังต่อไปนี้
==>

-ดิฉันปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ผ่านการฝึกปฏิบัติสายคุณแม่ดร.สิริ 8วัน 7 คืน มาประมาณ 4 ครั้ง เคยเจอพระอาจารย์ที่ ราชภัฎนครสวรรค์ ครั้งหนึ่งด้วยค่ะ

ตอนนี้ดิฉันปฏิบัติที่บ้าน เกิดสภาวธรรมโดยมีอาการต่างๆ เช่น
หน้าตาเกร็ง
คอหันไปมา
มือยกขึ้นมารำ เป็นท่าต่างๆนาๆ มีลักษณะเหมือนมวยจีน เอง โดยที่ดิฉันไม่ได้ทำ

ดิฉันกำหนดไม่ถูก และ บังคับหรือฝืนก็จะปวด หรือ ถ้าฝืนให้หยุดได้ สักพักก็เป็นอีก

ทุกครั้งที่นั่งสมาธิ ดิฉันควรจะปฏิบัติหรือกำหนดอย่างไรถึงจะถูกต้องค่ะ
ข้อสงสัย

1. ขณะที่ร่างการขยับ , เคลื่อนไหวโดยที่ไม่ได้มาจากการสั่งโดยผ่านจิตของเราเองแล้ว เราจะยังกำหนดได้หรือค่ะ เพราะสมมติว่า การกำหนดยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ นั้นเป็นการที่เรากำหนดพร้อมกับกระทำการยก ย่าง และเหยียบเอง เราเป็นผู้สั่งให้กายขยับโดยจิตของเราเอง

2. หรือเราต้องดูที่จิตเราที่พองยุบของท้องโดยไม่ต้องไปสนใจกับอาการขยับเขยื้อนของมือ และ หน้าที่เกิดขึ้นมาเองใช่หรือเปล่าค่ะ

3. หรือดิฉันต้องมาจับลมหายใจที่ปลายจมูก พุทโธแบบอานาปานสติแทนค่ะ เพราะเมื่อมีอาการดังกล่าวดิฉันไม่สามารถจับ พองยุบที่ท้องได้เลย ท้องมันยุบๆ อย่างเดียวจนแน่นไม่หายใจเลย บางครั้งก็พองๆอย่างเดียวเช่นกัน ทำให้ดิฉันต้องไปสนใจและกำหนดที่มือ ศีรษะ หรือ หน้าที่เคลื่อนไหวไปเอง ดังที่ได้อธิบายไว้ดังกล่าวค่ะ
ขอกราบพระอาจารย์เพื่อช่วยชี้แนะให้ทางสว่างของการปฏิบัติแก่ดิฉันด้วยค่ะ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 18 มิ.ย.2007, 11:29 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

http://www.plarnkhoi.com/jitjai_pictures.php

ที่เขารำกันป้อๆ อยู่นั่นก็ดี อ้วกแตกอ้วกแตนอยู่ก็ดี นั่งคอพับคออ่อนเป็นต้นอยู่ก็ดี

ขณะนั้นภาวะจิตเขาอยู่ระดับเดียวกับคนห้องข้างบน

จิตที่ฝึกภาวนาจนถึงระดับนี้แหละ ถ้าได้มิจฉาทิฐิบุคคลแนะนำ จะทำให้เพี้ยนได้ ทำให้บ้าได้

ทางธรรมเรียกว่า จิตวิปลาส

ผู้นำพูดจูงไปทางไหน เขาจะเชื่อ ความคิดเขาจะโน้มเอียงไปทางนั้น ยึดมั่นใน

พฤติกรรมแปลกๆนั้น

ยิ่งทำบ่อยๆ อุปาทานจะแรงขึ้นๆ มากขึ้นๆ นั่งที่ไรหมุนทุกที รำทุกที เต้น แร้งเต้นกาทุกที
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 18 มิ.ย.2007, 11:49 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

http://www.plarnkhoi.com/jitjai.php

คนนี้หรือป่าวที่เป็นต้นเหตุแห่งมิจฉาปฏิบัติ เป็นต้นคิดให้เกิดมิจฉาสมาธิ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 18 มิ.ย.2007, 11:58 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

http://www.plarnkhoi.com/jitjai_experience.php

แล้ว 3 รูปบน...เป็น.....แรงดึงดูด....
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
พัฒน์
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 14 มิ.ย. 2007
ตอบ: 3

ตอบตอบเมื่อ: 18 มิ.ย.2007, 10:40 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณกรัชกาย เคยไปฝึกมาแล้วหรือยังครับ หากมีโอกาสขอเรียนเชิญน่ะครับ
หากอยากรู้รายละเอียด ลองโทรติดต่อคุยกับ
พระอาจารย์พระมหาสีไพร อาภาธโร
วัดเขาพุทธโคดม
อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
โทรศัพท์ 081-006-0504
ดูแล้วกันน่ะครับ แต่หากกล้าพิสูจน์ขอเรียนเชิญที่ศูนย์ได้เลยทุกวันน่ะครับ
แล้วจะได้คุยกับพ่อครูบัญชาโดยตรง เลย
ผมหวังว่า คุณคงมีโอกาสเดินทางไปพิสูจน์ดังผมเคยทำมาแล้ว
 

_________________
ธรรมะ มาจากธรรมชาติ ผู้เข้าถึงธรรมชาติคือเข้าถึงธรรมะ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวYahoo Messenger
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 19 มิ.ย.2007, 4:53 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สวัสดีครับคุณพัฒน์
คุยด้วยนะครับ ขอถามรายละเอียดหน่อย

คุณพัฒน์เคยไปฝึกมาแล้ว ช่วยเล่าประสบการณ์ให้ฟังทีครับ เข้าแล้วแล้วมีอาการยังไงครับ

ตอนนี้พระมหาสีไพร อยู่วัดเขาพุทธฯ หรอครับ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
พีรวิชญ์
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 19 เม.ย. 2007
ตอบ: 24

ตอบตอบเมื่อ: 19 มิ.ย.2007, 10:34 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เป็นอาการของปิติรึเปล่าครับไม่แน่ใจของฌาณ ๑ อะครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 19 มิ.ย.2007, 11:56 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เห็นมีพระภิกษุ 2 รูป ว่าอยู่วัดเขาพุทธโคดม

แต่สำนักที่สอนให้ทำหัวหมุนตัวหมุน ฟ้อนรำ ฯลฯ อยู่ จ.อุบล ฯ นี่ครับคุณพัฒน์

วัดเขาพุทธฯ ท่านไม่ได้สอนแบบนี้นะครับเท่าที่ติดตามที่นี่ =>

http://www.dhammathai.org/newspr/watkhaobuddhakhodom.php

อาจารย์ ป. ญาณโสภโณ คุณพัฒน์รู้จักไหมครับ

แต่เรื่องนั้นยกไว้ก่อน กรัชกายขอความกรุณาให้คุณช่วยเล่าประสบการณ์ตามที่

คุณเคยไปฝึกสมาธิหมุนมา เป็นยังไงครับขั้นตอนการหมุน

ไม่แน่นะครับ หลังจากคุณเล่าจบแล้ว กรัชกายอาจไปก็ได้ อยากลองตามที่คุณ

แนะนำมั่ง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 20 มิ.ย.2007, 9:09 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

จะเป็นฌานใดก็ตาม หรืออยู่ในฌานใดก็ตาม ผู้ฝึกต้องควบคุมอาการต่างๆได้ กายใจสงบแต่รู้อารมณ์ที่ใช้ฝึกอยู่....ไม่ใช่เรี่ยราดคุมอาการต่างๆไม่ได้อย่างนี้
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 20 มิ.ย.2007, 9:23 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คห.2 กล่าวไว้ว่า ระยะนี้ ภาวะจิตของเขาเหล่านั้นอยู่ระดับนี้ ดูตัวอย่างอีกที=>

-ดิฉันปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ผ่านการฝึกปฏิบัติสายคุณแม่ดร.สิริ 8วัน 7 คืน มาประมาณ 4 ครั้ง...
ตอนนี้ดิฉันปฏิบัติที่บ้าน เกิดสภาวธรรมโดยมีอาการต่างๆ เช่น
หน้าตาเกร็ง
คอหันไปมา
มือยกขึ้นมารำ เป็นท่าต่างๆนาๆ มีลักษณะเหมือนมวยจีนเอง

โดยที่ดิฉันไม่ได้ทำ

ดิฉันกำหนดไม่ถูก และบังคับหรือฝืนก็จะปวด
หรือถ้าฝืนให้หยุดได้ สักพักก็เป็นอีก

ฯลฯ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 22 มิ.ย.2007, 10:14 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

"ภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่รู้เห็นจักษุ ตามที่มันเป็น
รู้เห็นรูปทั้งหลาย ตามที่มันเป็น
รู้เห็นจักขุวิญญาณ ตามที่มันเป็น
รู้เห็นจักษุสัมผัส ตามที่มันเป็น
รู้เห็นเวทนาอันเป็นสุขหรือทุกข์หรือไม่สุขไม่ทุกข์ ซึ่งเกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย
ตามที่มันเป็น
ย่อมไม่ติดพันในจักษุ
ไม่ติดพันในรูปทั้งหลาย
ไม่ติดพันในจักขุวิญญาณ
ไม่ติดพันในจักขุสัมผัส
ไม่ติดพันในเวทนาอันเป็นสุขหรือทุกข์หรือไม่สุขไม่ทุกข์ ที่เกิดเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย

เมื่อผู้นั้นไม่ติดพัน
ไม่หมกมุ่น
ไม่ลุ่มหลง
รู้เท่าทันเห็นโทษตระหนักอยู่
อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ย่อมถึงความไม่ก่อตัวพอกพูนต่อไป
อนึ่ง ตัณหาที่เป็นตัวการก่อภพใหม่ อันประกอบด้วยนันทิราคะ คอยแส่เพลิดเพลินอยู่ในอารมณ์ต่างๆ
ก็จะถูกละไปเสียด้วย
ความกระวนกระวายทางกายก็ดี
ความกระวนกระวายทางใจก็ดี
ความเร่าร้อนทางกายก็ดี
ความเร่าร้อนทางใจก็ดี
ความกลัดกลุ้มทางกายก็ดี
ความกลัดกลุ้มทางใจก็ดี ย่อมถูกเขาละได้
ผู้นั้นย่อมเสวยทั้งความสุขทางกาย ทั้งความสุขทางใจ

บุคคลผู้เป็นเช่นนั้นแล้ว
มีความเห็นอันใด ความเห็นอันนั้นก็เป็นสัมมาทิฐิ
มีความดำริใด ความดำรินั้นก็เป็นสัมมาสังกัปปะ
มีความพยายามใด ความพยายามนั้น ก็เป็นสัมมาวายามะ
มีความระลึกใด ความระลึกนั้นก็เป็นสัมมาสติ
มีสมาธิใด สมาธินั้นก็เป็นสัมมาสมาธิ

ส่วนกายกรรม วจีกรรม และอาชีวะของเขา ย่อมบริสุทธิ์ดีมาแต่ต้นทีเดียว ด้วยประการดังนี้
เขาชื่อว่ามีอริยอัฏฐังคิกมรรคถึงความเจริญบริบูรณ์”


(เกี่ยวกับโสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโน ก็เช่นเดียวกัน)

ม.อุ.12/828/523
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 24 มิ.ย.2007, 1:44 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อาการต่างๆที่แสดงออกทางกายมีร้องรำเป็นต้นก็ดี

อาการที่เกิดแก่บุคคลตัวอย่างที่นำมาเทียบเคียงก็ดี

ควรแก้หรือกำหนดรู้ตามที่มันเป็น

รู้สึกคิดนึกอย่างไรกำหนดรู้อย่างนั้น ตามที่มันคิด

พึงเข้าใจว่า การบำเพ็ญสมาธิ ทางพุทธศาสนาต้องควบคุมอาการต่างๆได้ ไม่ว่าทางกายหรือ

ทางใจ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
shaolei
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2006
ตอบ: 11
ที่อยู่ (จังหวัด): ชลบุรี

ตอบตอบเมื่อ: 24 มิ.ย.2007, 5:26 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ใจผ่านมามิควรมี ใจขณะนี้มิควรเก็บ ใจภายหน้าไม่ควรใฝ่
 

_________________
"ทุกสิ่งอย่างแปรผันตามเวลา
ในฤทัยย้อนมามองตนไหม
แต่ละวันผันผ่านยึดสิ่งใด
แต่ละวันผ่านไปค่าคือสิ่งใด"
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailYahoo MessengerMSN Messengerหมายเลข ICQ
๛ Nirvana ๛
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 09 เม.ย. 2006
ตอบ: 403

ตอบตอบเมื่อ: 25 มิ.ย.2007, 7:03 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เคยเห็นคุณ กรัชกาย เป็นสมาชิกในเวบ www.dhammachak.com น่าจะรู้จักสมาธิหมุนดีนะครับ
 

_________________
ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่าน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวตำแหน่ง AIMMSN Messenger
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 25 มิ.ย.2007, 9:52 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เป็นเดือนๆ แล้วครับ ที่เข้าเวบนั้นไม่ได้
ที่คุณ Nirvana ทำลิงค์ไว้ก็เข้าไม่ได้อีก
เป็นสมาชิกอยู่ เข้าไปตั้งกระทู้วิปัสสนากรรมฐาน ไม่เคยศึกษาสมาธิหมุนโดยเฉพาะ จึงไม่รู้ขั้นตอนวิธีฝึกเป็นอย่างไร

ต่อเมื่อมาเห็นรูปชัดเจนจึงอ๋ออ เขาหมุนกันอย่างนี้เอง
จึงอยากจะฟังคำบอกเล่าของผู้ฝึกโดยตรงดู เป็นกรณีศึกษาและประสพการณ์นะครับ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
๛ Nirvana ๛
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 09 เม.ย. 2006
ตอบ: 403

ตอบตอบเมื่อ: 26 มิ.ย.2007, 8:04 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สมาธิหมุน

หลักการ
“สมาธิหมุน” หรือ “การหมุนธรรมจักร” เป็นอุบายหลักของการศึกษาวิปัสสนาเพื่อการพัฒนาจิต เป็นวิธีฝึกปฏิบัติที่สามารถทำให้กิเลสโลภ โกรธ หลง ลดเบาบางได้เร็วที่สุด ซึ่งผู้ฝึก ผู้ป่วยจะได้เห็นความจริง 3 อย่าง คือ
1. การกระทบของผัสสะย่อมจะเกิดขึ้นทั้ง 2 ส่วนคือ ส่วนนอกหรือส่วนสุดโต่งภายนอก หมายถึง อายตนะภายนอกได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และส่วนในหรือส่วนสุดโต่งภายใน หมายถึง อายตนะภายใน คือธาตุรู้ในใจ หรือหัวใจ
2. การเคลื่อนที่หมุนวนของความรู้สึก (จิต) เกิดขึ้นอยู่แล้วตามธรรมชาติ เพียงแต่มนุษย์ปุถุชนไม่เคยสังเกตเห็นการหมุนวนหรือการเคลื่อนที่ของความรู้สึก (จิต) นั้น เนื่องจากการหมุนวนเกิดขึ้นเร็วมาก
3. ความรู้สึก (จิต) ของมนุษย์ทั่วๆ ไป เต็มไปด้วยความโลภ ความโกรธ ความหลง จึงทำให้ความรู้สึก (จิต) ยึดติดอยู่กับการกระทบข้างหนึ่งข้างใดเสมอ เช่น บางคนติดอยู่ที่ตา-เห็นรูป หรือหู-ได้ยินเสียง หรือจมูก-รับกลิ่น หรือลิ้น-รับรส หรือกาย-รับสัมผัส ซึ่งจัดเป็นสุดโต่งดภายนอก และบางคนติดอยู่กับการปรุงแต่งที่ใจ (หัวใจ) ซึ่งเป็นสุดโต่งภายใน จึงทำให้ไม่เห็นการ “หมุนวน” หรือ “การเคลื่อนที่” ของความรู้สึก (จิต)
พระอาจารย์รัตน์ รตนญาโณ จึงนำประโยชน์จากธรรมชาติของจิตที่มีการเคลื่อนที่ไป-มา ระหว่าง นอก-ใน-นอก-ใน ประยุกต์มาใช้เพื่อการพัฒนากาย ดัดแปลงให้เป็นการหมุนระหว่าง 2 ส่วน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อระบายของเสียให้ออกไปจากร่างกาย และยังเป็นการถอนอนุสัย ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
ฉะนั้นหลักการพื้นฐานที่สำคัญของการ “สมาธิหมุน” หรือ “การหมุนระหว่าง 2 ส่วน” คือการค้นหาส่วน 2 ส่วน ให้ได้ก่อน ซึ่งเรียกว่า ส่วนสุดโต่งภายนอก และส่วนสุดโต่งภายใน เช่นความเจ็บปวดในส่วนต่างๆ ของร่างกาย รวมทั้ง อารมณ์ โลภ โกรธ หลง ความไม่สบายใจ ความอยากเสพยา ฯลฯ ซึ่งแต่ละบุคคลมีแตกต่างกัน จัดว่าเป็นส่วนสุดโต่งภายนอก หรือส่วนที่ 1 สำหรับส่วนสุดโต่งภายใน หรือส่วนที่ 2 ของทุกคนจะเหมือนกันคือ ตัวรู้ในใจ (หัวใจ)
อุบายของ “สมาธิหมุน” หรือ “การหมุนระหว่าง 2 ส่วน” อาจจะมีการประยุกต์ หรือเพิ่มเติมเทคนิคใหม่ในการหมุนให้คล้อยตามการเปลี่ยนแปลงของพลังงานภายในโลก และชั้นบรรยากาศโลก แต่จะตั้งอยู่บนพื้นฐานของการหมุนระหว่าง 2 ส่วนเสมอ
วิธีปฏิบัติ
1. ให้ผู้ฝึก ผู้ป่วย นั่งในท่าที่สบายที่สุด หลับตาเบาๆ ถ้ามีความเจ็บปวดทรมานร่างกายไม่มากนักให้คลายอารมณ์สู่ความว่างสักระยะหนึ่ง ถ้าผู้ฝึก ผู้ป่วย มีความเจ็บปวดมากให้เริ่มขั้นตอนของการฝึกได้เลย โดยให้แบ่งความรู้สึกออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 คือส่วนที่กำลังมีความเจ็บปวด หรือเป็นส่วนที่มีความบกพร่อง, ส่วนที่ 2 คือตัวรู้ในใจ (หัวใจ)
2. กำหนดให้ความรู้สึก (จิต) เคลื่อนที่จากส่วนที่ 1 ที่กำลังมีความเจ็บปวด ไปหาส่วนที่ 2 คือตัวรู้ในใจ (หัวใจ) ที่รับรู้ว่าอาการเจ็บปวดเป็นอย่างไร และวนกลับไปยังส่วนที่ 1 และวนกลับมายังส่วนที่ 2 เป็นการหมุนวนระหว่างส่วนที่เจ็บกับตัวรู้ในใจเป็นรอบๆๆ ดังนั้นตลอดระยะเวลาของการรักษา หรือทำ “สมาธิหมุน” จะใช้เวลา 30 นาที หรือ 1 ชั่วโมง ความรู้สึก (จิต) ของผู้ฝึก จะเคลื่อนที่หมุนวนไปมาระหว่างส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 ซึ่งจะมีอิทธิพลทำให้ร่างกายเกิดการหมุนคล้อยตามความรู้สึก (จิต) ที่เคลื่อนที่ไป-มา ระหว่าง 2 ส่วน ให้ผู้ฝึกสร้างความรู้สึกคล้อยตามไม่ต้าน ปล่อยให้ร่างกายโยกหมุนจะช่วยทำให้การหมุน สะดวกคล่องขึ้น
3. ถ้าผู้ฝึก ผู้ป่วย มีส่วนที่ 1 คือส่วนที่มีความเจ็บปวดหลายๆ ส่วน เช่น มีทั้งอาการเจ็บเข่า เจ็บขา เจ็บคอ ปวดที่ตัด เพราะเป็นมะเร็ง ฯลฯ ให้ผู้ฝึกเลือกอาการที่ใดที่หนึ่ง เป็นตัวอย่างของการฝึก ถ้าผู้ป่วยมีอาการอักเสบและมีความเจ็บปวดมาด จำเป็นต้องทำสมาธิหมุนให้นานๆ เพื่อจะได้ระบายของเสียที่คั่งอยู่ในจุดบกพร่องเหล่านั้นออกมาให้ได้มากที่สุด จนความรู้สึกเจ็บปวดคลายลง ในขณะที่กำลังทำสมาธิอยู่นั้น ผู้ฝึก ผู้ป่วย อาจจะมีอาการไอ จา หรือขับน้ำมูก น้ำลาย เสมหะ ออกมาได้ ให้บ้วนทิ้งลงในถุงพลาสติก
4. ในระหว่างการทำ “สมาธิหมุน” ผู้ฝึกจะมีสติรู้ตัวอยู่ตลอดเวลาว่าตนเองกำลังทำอะไรอยู่ ไม่ลืมตา ถ้าความรู้สึกหมุน (จิต) กับการโยกหมุนของกาย หมุนสัมพันธ์กันดีแล้ว อาการหมุนนั้นอาจจะเร็วและแรงขึ้น ไม่ต้องตกใจกลัว ยิ่งการหมุนคล่องและเร็วขึ้น ของเสีย ความเจ็บปวด จะระบายออกได้มาก และในขณะนั้นผู้ฝึกอาจจะรู้สึกเจ็บปวดที่ส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ อย่าส่งความรู้สึก (จิต) ไปหาความเจ็บปวดเหล่านั้น
คุณประโยชน์
ประโยชน์จากการทำสมาธิหมุนมีดังนี้
1. ความเจ็บ ความปวด การอักเสบ จะลดลงไปเรื่อยๆ ตามจำนวนครั้งที่ได้ฝึกปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
2. ของเสียรวมทั้งเชื้อโรค จะถูกสมาธิหมุน หมุนเหวี่ยงพันออกไปจากตัวผู้ฝึก
3. อารมณ์โลภ โกรธ หลง ตลอดจนการยึดติดในอุปทานขันธ์จะคลายลง อุปนิสัยจะเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น เพราะสมาธิหมุนมีอานิสงส์ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
สรุป
ความรู้สึก (จิต) ของมนุษย์ปุถุชนไม่เคยหยุดนิ่ง ถูกครอบครองด้วยความคิด (อนาคต) และความคิด (อดีต) ตลอดเวลา “สมาธิหมุน” เป็นวิธีการจัดความนึก ความคิด ให้เป็นระบบและเกิดประโยชน์กับเจ้าของโดยการกำหนดให้ความรู้สึก (จิต) เคลื่อนที่หมุนวนไป-มายังเป้าหมายที่ต้องการเพียง 2 ส่วนหรือ 2 จุด โดยส่วน 2 ส่วนนั้นจะมีศูนย์กลางของแรงดึงดูดมาก-น้อย แตกต่างกัน จึงทำให้เกิดการเคลื่อนที่จากส่วนที่มีแรงดึงดูดน้อยกว่า หมุนเหวี่ยงเข้าหาศูนย์กลางของแรงดึงดูดที่มากกว่า
 

_________________
ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่าน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวตำแหน่ง AIMMSN Messenger
๛ Nirvana ๛
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 09 เม.ย. 2006
ตอบ: 403

ตอบตอบเมื่อ: 26 มิ.ย.2007, 8:05 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พระพุทธเจ้านั้นท่านตรัสให้สาวกช่วยกันเข็นกงล้อธรรมจักร ก็คือให้เห็นการหมุน เพราะการถ่ายทอดธรรมะนั้นจะต้องถ่ายทอดให้เห็นการหมุนนี้ เมื่อคนไหนเห็นการหมุนแล้วโอกาสที่จะมีดวงตาเห็นธรรมมันก็มากขึ้นเพราะอย่างน้อยจิตก็ปล่อยวางจากอายตนะภายนอก ภายในได้แล้วเหลือเพียงการปล่อยการหมุนเท่านั้น ดังนั้นพระพุทธองค์ท่านจึงตรัสให้เข็นกงล้อธรรมะจักร เมื่อกงล้อธรรมจักรยังมีอยู่ในโลกนี้ มวลมนุษย์ก็จะได้รับประโยชน์ จะได้มีโอกาสมีดวงตาเห็นธรรม ไปสู่สภาวะจิตหลุดพ้น ได้มรรคผลนิพพาน เมื่อใดธรรมจักรไม่ได้เข็นธรรมะก็จะไม่ก้าวหน้า จะหยุดอยู่กับที่ คือ หยุดอยู่กับ ความนึก ความคิด ความรู้สึก อารมณ์ ความสว่าง ความสะอาด ความสงบ
'''''''''''' เมื่อกล่าวถึงการทำจิตไม่ให้ติดอายตนะภายนอก ภายใน เพื่อให้เห็นการหมุน ท่านโกณฑัญญะ เป็นผู้ที่มีปัญญา พอได้ฟังว่า ให้ทำจิตไม่ให้ติดสองส่วน ไม่ติดอายตนะภายนอก ภายใน ท่านก็สามารถรู้ว่า จะทำให้จิตไม่ติดสองส่วนได้อย่างไร แต่สำหรับคนทั่วไปอาจยังไม่ทราบ ดังนั้น วิธีการที่จะทำให้จิตไม่ติดสองส่วนนี้ คือ เนื้อหาที่จะได้กล่าวต่อไป
'''''''''''' จากหลักการไม่ทำจิตให้ติดอายตนะภายนอก ภายใน จากธัมมจักรกัปปวัตนสูตร เราสามารถนำมาสร้างเป็นวิธีการฝึกจิต ได้ 3 แบบด้วยกัน คือ
แบบที่ 1. การเจริญสติด้วยการหมุน โดยทำจิตไม่ติดสองส่วน
แบบที่ 2. การเจริญสติด้วยการหมุน โดยการปล่อยวางสองส่วน
แบบที่ 3. การหมุนโดยความเป็นกลางระหว่างสองส่วน
 

_________________
ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่าน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวตำแหน่ง AIMMSN Messenger
๛ Nirvana ๛
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 09 เม.ย. 2006
ตอบ: 403

ตอบตอบเมื่อ: 26 มิ.ย.2007, 8:06 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

วิธีการในแบบที่ 1 กับแบบที่ 2 จะต่างกันเฉพาะวิธีการฝึกในช่วงแรก แต่พอจิตเกิดการหมุนขึ้นมาแล้ว อาการของจิตจะเหมือนกันกัน คือจิตจะร่วมเข้าไปกับการหมุน เคลื่อนไหวไปมาระหว่างอายตนะภายนอก กับ ภายใน ไม่นิ่งติดอยู่ที่ใดที่หนึ่ง ส่วนวิธีการแบบที่ 3 จะแตกต่างออกไป คือ จิตจะไม่เคลื่อนไหว แต่จะอยู่ท่ามกลางระหว่าง อายตนะภายนอก กับ ภายใน จนเกิดการหมุนระหว่างอายตนะภายนอก กับ ภายในขึ้น ซึ่งวิธีการในแบบที่ 3 นี้ จะได้กล่าวต่อไปในการฝึกจิต ที่เป็นการประยุกต์ใช้ ภาวะจิตที่นิ่ง ร่วมกับ ภาวะจิตที่เคลื่อนไหว สำหรับในบทที่ 5 นี้ก็จะได้กล่าวเฉพาะ การเจริญสติด้วยการหมุนทั้งสองแบบก่อน เพราะเป็นวิธีการที่ทำความเข้าใจได้ง่าย และ จะต้องใช้เป็นพื้นฐานสำหรับการหมุนในลักษณะต่างๆ ต่อไป
การเจริญสติด้วยการหมุน โดยทำจิตไม่ติดสองส่วน
'''''''''''''สมาธิหมุนสองส่วน
'''''''''''''โดยทำจิตไม่ติดสองส่วน


วิธีการฝึก
วิธีที่ 1

''''''''''''' ก่อนฝึกให้หาตำแหน่งของใจก่อน โดยใช้มือทาบหน้าอกด้านซ้าย จะรู้สึกหัวใจเต้น ตำแหน่งนี้คือฐานใจ ซึ่งเป็นอายตนะภายใน เมื่อรู้ตำแหน่งแล้ว คลายมือออกจากหน้าอก หลับตาแล้วใช้ความรู้สึกหาตำแหน่งของใจกำหนดให้แม่นยำ เมื่อรู้ตำแหน่งดีแล้ว ก็เริ่มขั้นตอนต่อไป คือ การคลายอารมณ์ โดยปรับลมหายใจเข้าออกให้ยาวกว่าการหายใจตามปกติ แต่ไม่ยาวเกินไป แล้วให้เอาความรู้สึกมาไว้ที่ปลายจมูก ขณะที่หายใจเข้าออกให้นึกถึงแต่ลมหายใจออกอย่างเดียว พร้อมกับปล่อยวางตัวตน เหตุการณ์อดีต อนาคต ความนึกคิด ความรู้สึก และ อารมณ์ให้ไหลออกไปกับลมหายใจออกสู่อากาศว่างๆ นอกตัวเรา หรือดันขึ้นไปตามลำเส้นแสงออกสู่อวกาศ

''''''''''''' เมื่อคลายอารมณ์ได้พอควรแล้ว ก็ปรับจิตใหม่นึกมาที่ลมหายใจเข้าออก ปรับการหายใจให้เป็นปกติไม่สั้นยาวเกินไป ให้มีสติหายใจเข้าก็รู้ หายใจออกก็รู้ จากนั้นหาจุดภายในโพรงจมูกที่ลมหายใจเข้าออกกระทบมากที่สุดคือ ฐานอารมณ์ แล้วรวมความรู้สึกมาวางทับที่ฐานนี้ จนความรู้สึกแนบสนิทเป็นหนึ่งเดียวกับฐานอารมณ์ แล้วค่อยๆ ปรับลมหายใจเข้าออกให้ไหลผ่านฐานอารมณ์น้อยลง ทำไปจนเห็นว่าลมละเอียดมาก ความนึกคิดเบาบางลง อันเป็นภาวะจิตในระดับปฐมฌาน ในขั้นตอนนี้เราสามารถทำจิตให้สงบลึกกว่าปฐมฌานได้ เพื่อลดกำลังของความนึกคิด และลมหายใจให้เหลือน้อยที่สุด

''''''''''''' หลังจากทำอารมณ์ให้สงบโดยรวมความรู้สึกให้นิ่งอยู่ที่ฐานอารมณ์แล้ว จากนั้นให้เราถอนความรู้สึกจากความสงบออกมา โดยการนึกถึงลมหายใจเข้าออก สืบลมหายใจเข้าออกอย่างเบาๆ และยาวขึ้น เป็นการหายใจด้วยลมที่ละเอียด ไม่ปรับลมให้นิ่งเช่นผ่านมา เมื่อถอนความรู้สึกออกจากความสงบแล้วให้มาดูลมเข้าออกที่เข้ามาชนฐานอารมณ์ที่เรารวมความรู้สึกไว้อยู่
 

_________________
ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่าน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวตำแหน่ง AIMMSN Messenger
๛ Nirvana ๛
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 09 เม.ย. 2006
ตอบ: 403

ตอบตอบเมื่อ: 26 มิ.ย.2007, 8:06 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เมื่อหายใจจนพอเป็นเป็นที่สบายแล้ว ให้หยุดหายใจสักครู่หนึ่งเพื่อเลื่อนความรู้สึกจากฐานอารมณ์เข้าไปที่ฐานใจ ที่ได้กำหนดตำเหน่งไว้แล้ว เพื่อกำหนดให้รู้ตำเหน่งอีกครั้งหนึ่ง เมื่อรู้ตำเหน่งของฐานใจแล้ว ก็ให้เลื่อนความรู้สึกออกมาที่ฐานอารมณ์อีกครั้ง

'''''''''''''ต่อไป ในจังหวะที่หายใจเข้า ให้เคลื่อนความรู้สึก จากฐานอารมณ์ เข้าไปยังฐานใจ พอหายใจออกให้เคลื่อนความรู้สึก จากฐานใจออกมาที่ฐานอารมณ์ ซึ่งสำหรับการนึกเคลื่อนความรู้สึกไปมาระหว่างฐานอารมณ์ กับ ฐานใจนี้ จะนึกเคลื่อนความรู้สึก เป็นเส้นตรง เป็นวงรี หรือ วงกลมก็ได้แล้วแต่ความถนัด หายใจเข้านึกไปที่หัวใจ หายใจออกนึกไปที่จมูก ทำเช่นนี้หมุนวนไปเรื่อยๆ พร้อมกับทำตัวเราให้อ่อนๆ ผ่อนคลายปล่อยวางร่างกายเราให้เต็มที่ ไม่สนใจความมีตัวตนของร่างกาย ให้ความรู้สึกเคลื่อนไปกับความนึกและลมหายใจ ให้จังหวะการหายใจที่ร่วมกับความนึก เคลื่อนไหวไปพร้อมๆกัน
อาการที่จะเกิดตามมา

''''''''''''' 1. เมื่อทำไปในช่วงแรกๆ จะมีแต่ความนึก กับลมหายใจ ที่เรานึกให้เคลื่อนไหวไหลเข้าออก ระหว่างฐานใจกับฐานอารมณ์ จะยังไม่เกิดความรู้สึกว่ามีแรงเหวี่ยงหมุนวนขึ้นมา เพราะจิตยังหยาบอยู่ จิตกำลังปรับ และค้นหาแรงเหวี่ยง เราจะใช้กำลังจิตให้นึก ออกแรงผลักดันความรู้สึกให้หมุนเคลื่อนไหวไปมาไม่ติดข้างใดข้างหนึ่ง ความเร็วของการหมุนตอนเริ่มหมุน ควรเริ่มอย่างช้าๆ ก่อนแล้วค่อยๆ เพิ่มความเร็วขึ้น แล้วปรับให้พอดี ไม่ให้ช้าเกินไป หรือเร็วเกินไป หากช้าเกินไปความนึกคิดความรู้สึก อารมณ์อื่นๆ จะเข้ามาแทรก ทำให้ทำได้ไม่ต่อเนื่อง และบางทีจิตจะเบื่อหลบเข้าภวังค์ไป หากเร็วเกินไปจะเสียพลัง เครียด หายใจไม่ทัน ลมหายใจก็จะหยาบ และ จะเห็นการหมุนได้ยาก ไม่ชัดเจน

'''''''''''''2. เมื่อทำไปได้สักระยะหนึ่ง หลังจากนั้นจะรู้สึกว่า เริ่มมีแรงเหวี่ยงเคลื่อนไหวซ้อนตามหลัง ความนึกจากฐานอารมณ์เข้าไปหาฐานใจ จากฐานใจมาหาฐานอารมณ์ ก็ทำเช่นเดิมต่อไปให้เห็นแรงเหวี่ยงนี้ให้ชัดขึ้นๆ

''''''''''''' 3. เมื่อทำไปเรื่อยๆ แรงเหวี่ยงที่เคลื่อนตามหลังความนึกจะเคลื่อนเข้ามาใกล้ความนึกที่เราชักนำให้เกิดการหมุน จนในที่สุดจะเห็นแรงเหวี่ยงเคลื่อนมาเสมอกับความนึกพอดี แรงเหวี่ยงจะมีความเร็วเท่ากับจังหวะความนึกและลมหายใจเข้าออก ในตอนนี้สิ่งที่เคลื่อนไปมาพร้อมกันจะมีอยู่สามอย่าง คือ แรงเหวี่ยงจากความนึกกำหนด แรงเหวี่ยงจากลมหายใจเข้าออก และแรงเหวี่ยงที่เกิดขึ้นภายใน ถึงจุดนี้แรงเหวี่ยงทั้งหมดที่เกิดขึ้นจะรวมกันทำให้แรงเหวี่ยงที่ได้เร็วและแรงขึ้น หนาแน่นขึ้น จะสัมผัสแรงได้ชัดเจน โดยเฉพาะแรงเหวี่ยงที่เกิดขึ้นภายใน ในขณะเดียวกันร่างกายของเราก็จะถูกแรงเหวี่ยงเหนี่ยวนำให้เคลื่อนไหวตามแรงที่เกิดขึ้น เราก็ทำตัวเบาๆ ดังที่ทำมาตั้งแต่ต้นให้ร่างกายเคลื่อนไหวไปตามแรงเหวี่ยง และเมื่อสังเกตเห็นว่าแรงเหวี่ยงที่เกิดขึ้นภายในเร็วกว่าจังหวะการหายใจเข้าออก ก็ให้ละความรู้สึกจากลมหายใจ ให้สนใจแรงเหวี่ยงจากภายในเป็นหลัก และเอาความรู้สึกร่วมไปกับแรงเหวี่ยงให้เคลื่อนไหวไปพร้อมๆ กัน ซึ่งจะรู้สึกได้ว่าเราออกกำลังจิตนึกกำหนดการหมุนน้อยลงกว่าตอนแรก และการหมุนจะคล่องตัวขึ้น ก็ให้ปรับรอบของการหมุนแต่ละรอบให้เท่ากับ 1 วินาที

''''''''''''' เหตุที่ให้ปรับรอบหารหนุนแต่ละรอบในความถี่ 1 รอบ ต่อ 1 วินาที ก็เพราะ เพื่อปรับรอบการหนุนให้เท่ากับรอบความถี่ของธรรมชาติของสืบต่อระหว่างอายตนะ ที่มีรอบการหมุนวนระหว่างอายตนะภายนอก กับ อายตนะภายใน เป็น 1 รอบ ต่อ วินาที

''''''''''''' 4. ในที่สุดแรงเหวี่ยงภายในจะมากขึ้นเรื่อยๆ จนมากว่าความรู้สึกที่เราร่วมไปกับการหมุน และจะเห็นแรงเหวี่ยงภายในจะเคลื่อนตัวอยู่ข้างหน้านำความรู้สึกของเราไป เราก็คล้อยตามแรงเหวี่ยงไป ไม่ต้องชักนำเหมือนตอนแรก จนไม่ต้องใช้กำลังจิตออกแรงผลักดันชักนำให้เกิดการหมุน เราก็เป็นผู้ดูการหมุนที่เคลื่อนไหวไปมา หากเมื่อใดที่แรงเหวี่ยงเริ่มลดลงเราก็เอาความรู้สึกเข้าไปร่วมกับการหมุนให้การหมุนเคลื่อนตัวต่อไปและปรับรอบการหมุนแต่ละรอบให้เท่ากับ1 วินาที

'''''''''''''การฝึกในขั้นนี้ ก็ฝึกเพื่อให้เห็น ให้สัมผัสแรงหมุนที่เกิดขึ้นภายในให้คล่อง ให้เห็นการหมุนระหว่าง ฐานอารมณ์ กับ ฐานใจได้ต่อเนื่องทุกขณะจิต
'''''''''''''จนเมื่อเห็นว่านั่งสมาธิเพียงพอแล้ว ก็คลายจิตออกจากสมาธิ โดยนึกกำหนดที่จะคลายออกมาก่อน แล้วนึกถึงลมหายใจเข้าออก หายใจเข้าออกให้ยาวขึ้น หายใจเข้าลึกๆ หายใจออกยาวๆ ให้จิตตามลมหายใจเข้าออก จิตจะถอนตัวออกมาจากสมาธิ แรงสันตติหายไป จนมาสู่ภาวะปกติ
 

_________________
ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่าน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวตำแหน่ง AIMMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง