Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 บทสวดธรรมจักรฯ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
dekwud
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 3
ที่อยู่ (จังหวัด): ราชบุรี

ตอบตอบเมื่อ: 30 เม.ย.2007, 12:45 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อยากทราบครับว่าบทสวดธรรมจักกัปปะวัตตะนะสุตตัง ใช้สวดในพิธีอะไรบ้าง ใครทราบเกี่ยวกับเรื่องนี้ช่วยกรุณาตอบด้วยครับ เด็กวัด พิธีกรมือใหม่ ยิ้ม
 

_________________
ทำบุญตามกำลังที่อยากทำ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เพื่อนร่วมธรรม
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 30 เม.ย.2007, 10:02 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ใช้สวดได้ทุกพิธีครับ ทั้งมงคลทั้งอวมงคล เพื่อเป็นสิริแก่ตนเอง
 
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 03 พ.ค.2007, 1:04 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ธัมมจักรกัปปวัตนสูตร เป็นการแสดงปฐมเทศนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อ วันเพ็ญ เดือน ๘ (อาสาฬหบูชา) เพื่อโปรดเหล่าปัญจวคีย์ทั้ง ๕ คือ อัญญาโกญฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ

ซึ่งต่อมาท่านอัญญาโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม และได้รับการอุปสมบทด้วยวิธี เอหิภิกขุอุปสัมปทา เป็นพระอริยสงฆ์องค์แรกของพระพุทธศาสนา จึงทำให้วันนี้มีพระรัตนตรัยครบองค์สาม

สาระสำคัญขององค์ธรรมนี้ คือ อริยสัจ ๔ (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค)
ซึ่งถือเป็นองค์ธรรมที่สำคัญมากของพระพุทธศาสนา

ธรรมะเป็นอกาลิโก หมายถึง เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และเห็นผลได้ไม่จำกัดกาลค่ะ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
amarita
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 05 พ.ค. 2007
ตอบ: 25
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพมหานคร

ตอบตอบเมื่อ: 05 พ.ค.2007, 8:04 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เพิ่มเติมให้คะ

ธัมมจักรกัปปวัตนสูตร
บทสวดและคำแปล (แบบย่อ)

(ทุกข์)

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจัง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สภาวะเหล่านี้แลเป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริง คือ

- ชาติปิ ทุกขา
ความเกิดก็เป็นทุกข์

- ชะราปิ ทุกขา
เมื่อความแก่เข้ามาถึง ก็เป็นทุกข์

- มะระณัมปิ ทุกขัง
เมื่อความตายเข้ามาถึง ก็เป็นทุกข์

- โสกะปริเทวะทุกขะโทมะนัสสุกปายาสาปิ ทุกขา
เมื่อความเศร้าโศก ความร่ำไรรำพัน ความเสียใจ
และความคับแค้นใจเกิดขึ้นมา ก็เป็นทุกข์

- อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข
เมื่อประสบพบกับสิ่งที่ไม่ชอบใจ ก็เป็นทุกข์

- ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข
เมื่อพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่ชอบใจก็เป็นทุกข์

- ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง
และแม้คิดปรารถนาอยากได้สิ่งใด แต่ไม่ได้สิ่งนั้นสมปรารถนา ก็เป็นทุกข์

- สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา ฯ
กล่าวโดยย่อแล้วก็คือ การหลงคิดว่าร่างกายเป็นของเราของเขานั่นแลเป็นตัวทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริง ฯ

(สมุทัย)

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ยายัง ตัณหา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจนี้แล เป็นต้นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริง

โปโนพภะวิกา นันทิราคะสะหะคะตา ตัตระ ตัตราภินันทินี เสยยะถีทัง กามะตัณหา
คือ มีความอยากเวียนว่ายตายเกิดอยู่ร่ำไป และมีความกำหนัดยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสที่น่าปรารถนา ก็เป็นเหตุให้ใจเกิดทุกข์

ภะวะตัณหา
สิ่งใดที่ยังไม่มี ก็คิดอยากจะให้มีขึ้นมา อย่างนี้ก็ทำให้ใจเกิดทุกข์

วิภะวะตัณหา
และเมื่อมีทุกอย่างสมปรารถนาแล้ว ก็อยากจะให้ทุกอย่างคงทนอยู่ตลอดไปเมื่อมันจะต้องสลายหายไป ก็ร้อนใจไม่อยากให้เป็นเช่นนั้นอย่างนี้ก็ยิ่งทำให้ใจเกิดทุกข์หนักขึ้นอีก ฯ

(นิโรธ)

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง โย ตัสสาเยวะ
ตัณหายะ อะเสสะวิราคะนิโรโธ จาโค ปะฏินิสสัคโค มุตติ อะนาละโย ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การดับตัณหาความอยากให้หมดไปจากใจด้วยการ ละวาง ปล่อย และไม่คิดยินดีพัวพันอยู่กับตัณหาความอยากนั้นอีกเด็ดขาดคือ การดับทุกข์ให้หมดไปจากใจได้อย่างแท้จริง ฯ

(มรรค)

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง
อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค เสยยะถีทัง
สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต
สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติเพื่อนำกิเลสให้หมดไปจากใจนี้ มี ๘ อย่าง คือปัญญาเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบความเพียรชอบ การระลึกชอบ และการตั้งจิตไว้ชอบคือ ข้อปฏิบัติเพื่อนำใจให้หมดจากกิเลสและดับความทุกข์
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 09 พ.ค.2007, 12:21 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อนุโมทนาสำหรับบทสวดที่พิมพ์เพิ่มเติมให้จนสมบูรณ์ค่ะ สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
amarita
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 05 พ.ค. 2007
ตอบ: 25
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพมหานคร

ตอบตอบเมื่อ: 09 พ.ค.2007, 12:27 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ยินดีคะ สาธุ
 

_________________
ดีชั่วตัวทำ สูงต่ำทำตัว
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เศษพุทธทาส
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 08 เม.ย. 2007
ตอบ: 121

ตอบตอบเมื่อ: 09 พ.ค.2007, 2:19 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อนุโมทนาด้วยครับ สาธุ ยิ้ม
 

_________________
ทำวันนี้ให้ดีและต้องรู้ไว้ว่า ทำดีเพื่อดี ทำหน้าที่เพื่อหน้าที่ อุปสรรคไม่มี บารมีไม่เกิด
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
kanalove
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 07 เม.ย. 2007
ตอบ: 35
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 09 มิ.ย.2007, 12:49 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เป็นข้อความที่ดีเหลือเกินคะ ทำให้เกิดความรู้สึกอยากตัดกิเลสให้ขาดสะบั้นในทันทีเลย * *
โมทนา * *
 

_________________
kanalovero@hotmail.com
ธรรมะสวัสดีคะ แอดเมล์ได้นะคะ
เรามักจะออนเอ็มเฉพาะวันเสาร์อาทิตย์นะ

เรามีชีวิตอยู่เพื่อตาย จงตายจริงก่อนที่เราจะตายลวง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailตำแหน่ง AIMYahoo MessengerMSN Messenger
ชินภพ พิมพะกร
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 17 ธ.ค. 2006
ตอบ: 67

ตอบตอบเมื่อ: 10 มิ.ย.2007, 10:45 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ่านคำแปลแล้วตื้นตันจังเลยครับ อนุโมทนา

บทขัดธัมมจักกัปปะวัตนสูตร
อะนุตตะรัง อะภิสัมโพธิง สัมพุชฌิตฺวา ตะถาคะโต
ปะฐะมัง ยัง เอเทเสสิ ธัมมะจักกัง อะนุตตะรัง
สัมมะเทวะปะวัตเตนโต โลเก อัปปะฏิวัตติยัง
ยักถากขาตา อุโภ อันตา ปะฏิปัตติ จะ มัชฌิมา
จะตูสฺวาริยะสัจเจสุ วิสุทธัง ญาณะทัสสะนัง
เทสิตัง ธัมมะราเชนะ สัมมาสัมโพธิกิตตะนัง
นาเมนะ วิสสุตัง สุตตัง ธัมมะจักกัปปะวัตตะนัง
เวยยากะระณะปาเฐนะ สังคีตันตัมภะณามะ เสฯ
************
ธัมมะจักกัปปะวัตตะนะสุตตัง
เอวัมเม สุตัง, เอกัง สะมะยัง ภะคะวา พาราณะสิยัง วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเย, ตัตระ
โข ภะคะวา ปัญจะวัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ,
ทะเวเม ภิกขะเว อันตา, ปัพพะชิเตนะ นะ เสวิตัพพา, โย จายัง กาเมสุ กามะสุขัลลิกานุโยโค,
หีโน, คัมโม, โปถุชชะนิโก, อะนะริโย, อะนัตถะสัญหิโต, โย จายัง อัตตะกิละมะถานุโยโค, ทุกโข,
อะนะริโย, อะนัตถะสัญหิโต,
เอเต เต ภิกขะเว อุโภ อันเต อะนุปะคัมมะ มัชฌิมา ปะฏิปะทา, ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา,จักขุกะระณี, ญาณะกะระณี, อุปะสะมายะ, อะภิญญายะ, สัมโพธายะ, นิพพานายะ สังวัตตะติ,
กะตะมา จะ สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา, อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค, เสยยะถีทัง สัมมาทิฏฐิ, สัมมาสังกัปโป, สัมมาวาจา, สัมมากัมมันโต, สัมมาอาชีโว, สัมมาวายาโม, สัมมาสะติ,
สัมมาสะมาธิ,
อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา, ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา, จักขุกะระณี,
ญาณะกะระณี, อุปะสะมายะ, อะภิญญายะ, สัมโพธายะ, นิพพานายะ สังวัตตะติ,
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจัง, ชาติปิ ทุกขา, ชะราปิ ทุกขา, มะระณัมปิ ทุกขัง,
โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา, อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข, ปิเยหิ วิปปะโยโค
ทุกโข, ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง, สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา,
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง, ยายัง ตัณหา; โปโนพภะวิกา, นันทิราคะสะหะคะตา, ตัตระ ตัตฺราภินันทินี, เสยยะถีทัง, กามะตัณหา, ภะวะตัณหา, วิภะวะตัณหา,
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง, โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ อะเสสะวิราคะ
นิโรโธ, จาโค ปะฏินิสสัคโค มุตติ อะนาละโย,
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง, อะยะเมวะ อะริโย
อัฏฐังคิโก มัคโค, เสยยะถีทัง, สัมมาทิฏฐิ, สัมมาสังกัปโป, สัมมาวาจา, สัมมากัมมันโต,
สัมมาอาชีโว, สัมมาวายาโม, สัมมาสะติ, สัมมาสะมาธิ,
อิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว, ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ, จักขุง อุทะปาทิ,
ญาณัง อุทะปาทิ, ปัญญา อุทะปาทิ, วิชชา อุทะปาทิ, อาโลโก อุทะปาทิ, ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง
อะริยะสัจจัง ปะริญเญยยันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ, จักขุง อุทะปาทิ,
ญาณัง อุทะปาทิ, ปัญญา อุทะปาทิ, วิชชา อุทะปาทิ, อาโลโก อุทะปาทิ, ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง
อะริยะสัจจัง ปะริญญาตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ, จักขุง อุทะปาทิ,
ญาณัง อุทะปาทิ, ปัญญา อุทะปาทิ, วิชชา อุทะปาทิ, อาโลโก อุทะปาทิ,
อิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ, จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ, ปัญญา อุทะปาทิ, วิชชา อุทะปาทิ, อาโลโก อุทะปาทิ, ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ, จักขุง อุทะปาทิ, ญาณัง
อุทะปาทิ, ปัญญา อุทะปาทิ, วิชชา อุทะปาทิ, อาโลโก อุทะปาทิ, ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย
อะริยะสัจจัง ปะหีนันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ, จักขุง อุทะปาทิ, ญาณัง อุทะปาทิ, ปัญญา อุทะปาทิ, วิชชา อุทะปาทิ, อาโลโก อุทะปาทิ,
อิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ, จักขุง อุทะปาทิ,
ญาณัง อุทะปาทิ, ปัญญา อุทะปาทิ, วิชชา อุทะปาทิ, อาโลโก อุทะปาทิ, ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ
อะริยะสัจจัง สัจฉิกาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง
อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ, ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกะตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ, จักขุง อุทะปาทิ, ญาณัง อุทะปาทิ, ปัญญา
อุทะปาทิ, วิชชา อุทะปาทิ, อาโลโก อุทะปาทิ,
อิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ, จักขุง อุทะปาทิ, ญาณัง อุทะปาทิ, ปัญญา อุทะปาทิ, วิชชา อุทะปาทิ, อาโลโก อุทะปาทิ, ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาเวตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ, จักขุง อุทะปาทิ, ญาณัง อุทะปาทิ, ปัญญา อุทะปาทิ, วิชชา อุทะปาทิ, อาโลโก อุทะปาทิ, ตัง โข ปะนิทัง


ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาวิตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ, จักขุง
อุทะปาทิ, ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ,
ยาวะกีวัญจะ เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ, เอวันติปะริวัฏฏัง ทฺวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง นะ สุวิสุทธัง อะโหสิ, เนวะ ตาวาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก, โลเก สะมาระเก
สะพรัหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง,
ยะโต จะ โข เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ, เอวันติปะริวัฏฏัง ทฺวาทะสาการัง
ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง สุวิสุทธัง อะโหสิ, อะถาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก
สะพรัหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง,
ญานัญจะ ปะนะ เม ทัสสะนัง อุทะปาทิ, อะกุปปา เม วิมุตติ, อะยะมันติมา ชาติ, นัตถิทานิ ปุนัพภะโวติ, อิทะมะโว จะ ภะคะวา, อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง,
อิมัสฺมิญจะ ปะนะเวยยากะระณัสฺมิง ภัญญะมาเนฯ อายัสฺมะโต โกณฑัญญัสสะ วิระชัง วีตะมะลัง ธัมมะจักขุง อุทะปาทิ ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติฯ
ปะวัตติเต จะ ภะคะวะตา ธัมมะจักเก ภุมมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะ ตะเน มิคะทาเย, อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง, อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิวา โลกัสฺมินติฯ

ภุมมานัง เทวานัง สัททัง สุตฺวา
จาตุมมะหาราชิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง, จาตุมมะหาราชิกานัง เทวานัง สัททัง สุตฺวา,
ตาวะติงสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง, ตาวะติงสานัง เทวานัง สัททัง สุตฺวา,
ยามา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง, ยามานัง เทวานัง สัททัง สุตฺวา,
ตุสิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง, ตุสิตานัง เทวานัง สัททัง สุตฺวา,
นิมมานะระตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง, นิมมานะระตีนัง เทวานัง สัททัง สุตฺวา,
ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง, ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีนัง เทวานัง
สัททัง สุตฺวา,
พรัหมะกายิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง, พรัหมะกายิกานัง เทวานัง สัททัง สุตฺวา,
พรัหมะปาริสัชชา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง, พรัหมะปา-ริสัชชานัง เทวานัง สัททัง สุตฺวา,
พรัหมะปะโรหิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง, พรัหมะปะโรหิตานัง เทวานัง สัททัง สุตฺวา,
มะหาพรัหมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง, มะหาพรัหมานัง เทวานัง สัททัง สุตฺวา,
ปะริตตาภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง, ปะริตตาภานัง เทวานัง สัททัง สุตฺวา,
อัปปะมาณาภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง, อัปปะมาณาภานัง เทวานัง สัททัง สุตฺวา,
อาภัสสะรา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง, อาภัสสะรานัง เทวานัง สัททัง สุตฺวา,
ปะริตตะสุภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง, ปะริตตะสุภานัง เทวานัง สัททัง สุตฺวา,
อัปปะมาณะสุภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง, อัปปะมาณะสุภานัง เทวานัง สัททัง สุตฺวา,
สุภะกิณฺหะกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง สุภะกิณหะกาณัง เทวานัง สัททัง สุตฺวา,
(อะสัญญิสัตตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง อะสัญญีสัตตานัง เทวานัง สัททัง สุตฺวา,)
เวหัปผะลา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง, เวหัปผะลานัง เทวานัง สัททัง สุตฺวา,
อะวิหา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง, อะวิหานัง เทวานัง สัททัง สุตฺวา,
อะตัปปา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง, อะตัปปานัง เทวานัง สัททัง สุตฺวา,
สุทัสสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง, สุทัสสานัง เทวานัง สัททัง สุตฺวา,
สุทัสสี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง, สุทัสสีนัง เทวานัง สัททัง สุตฺวา,
อะกะนิฏฐะกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง,

เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติยัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา
โลกัสฺมินติ,
อิติหะ เตนะ ขะเณนะ เตนะ มุหุตเตนะ ยาวะ พรัหมะโลกา สัทโท อัพภุคคัจฉิฯ อะยัญจะ ทะสะสะหัสสี โลกะธาตุ สังกัมปิ สัมปะกัมปิ สัมปะเวธิฯ อัปปะมาโณ จะ โอฬาโร โอภาโส โลเก ปาตุระโหสิ อะติกกัมเมวะ เทวานัง เทวานุภาวังฯ
อะถะโข ภะคะวา อุทานัง อุทาเนสิ, อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญ อัญญาสิ วะตะ โภ
โกฑัญโญติ อิติหิทัง อายัสฺมะโต โกณฑัญญัสสะ อัญญาโกณฑัญโญเตววะ นามัง อะโหสิติ.
************
ธรรมชาติชนดีอันมีศักดิ์ ย่อมต้องรักธานินถิ่นสถาน รักบิดรมารดาครูอาจารย์ รักภูบาลร่มเกล้าทุกเช้าเย็น
รักชาติวงศ์พงศ์เผ่าเหล่าภาษา รักศาสนาสอนแสดงแจ้งให้เห็น กตัญญูรู้ระลึกนึกเช้าเย็น สิ่งจำเป็นรักไว้ให้มั่นเอย
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
ชินภพ พิมพะกร
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 17 ธ.ค. 2006
ตอบ: 67

ตอบตอบเมื่อ: 10 มิ.ย.2007, 11:42 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คำแปล

คำแปลธัมมจักกัปปวัตนสุตตัง
ข้าพเจ้า (คือพระอานนท์เถระเจ้า), ได้สดับมาแล้วอย่างนี้, สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้พระนครพาราณสี, ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสเรียกภิกษุปัญจวัคคีย์มาแล้ว ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ที่สุดแห่งการกระทำสองอย่างเหล่านี้ มีอยู่, เป็นสิ่งที่บรรพชิตไม่ควรข้องแวะเลย, นี้คือการประกอบตนพัวพันอยู่ด้วยความใคร่ในกามทั้งหลาย, เป็นของต่ำทราม, เป็นของชาวบ้าน, เป็นของคนชั้นปุถุชน, ไม่ใช่ข้อปฏิบัติของพระอริยเจ้า, ไม่ประกอบด้วยประโยชน์เลย, นี้อย่างหนึ่ง, อีกอย่างหนึ่ง, คือการประกอบการทรมานตนให้ลำบาก, เป็นสิ่งที่นำมาซึ่งทุกข์. ไม่ใช่ข้อปฏิบัติของพระอริยเจ้า, ไม่ประกอบด้วยประโยชน์เลย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ข้อปฏิบัติทางสายกลาง ไม่เข้าไปหาที่สุดแห่งการกระทำสองอย่างนั้น, มีอยู่, เป็นข้อปฏิบัติที่ตถาคตได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว, เป็นเครื่องกระทำให้เกิดจักษุ, เป็นเครื่องกระทำให้เกิดญาณ, เพื่อความสงบ,
เพื่อความรู้ยิ่ง, เพื่อความรู้พร้อม, เป็นไปพร้อมเพื่อนิพพาน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลางนั้น เป็นอย่างไรเล่า, ข้อปฏิบัติทางสายกลางนั้น คือ ข้อปฏิบัติ
เป็นหนทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดประการนี้เอง, ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็นชอบ, ความดำริชอบ,
การพูดจาชอบ, การทำการงานชอบ, การเลี้ยงชีวิตชอบ, ความพากเพียรชอบ, ความระลึกชอบ, ความตั้งใจมั่นชอบ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล คือข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลาง, เป็นข้อปฏิบัติที่ตถาคตได้ตรัสรู้พร้อมแล้ว, เป็นเครื่องกระทำให้เกิดจักษุ, เป็นเครื่องกระทำให้เกิดญาณ, เพื่อความสงบ, เพื่อความรู้ยิ่ง, เพื่อความรู้พร้อม, เป็นไปพร้อม
เพื่อนิพพาน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ก็อริยสัจจ์ คือทุกข์นี้, มีอยู่, คือความเกิดก็เป็นทุกข์, ความแก่ก็เป็นทุกข์, ความตายก็เป็นทุกข์, ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจก็เป็นทุกข์, ความประสบกับสิ่งที่
ไม่เป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์, ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์, มีความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์, ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้งห้า เป็นตัวทุกข์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ก็อริยสัจจ์คือเหตุให้เกิดทุกข์นี้, มีอยู่, นี้คือ ตัณหา, อันเป็นเครื่องทำให้มีการเกิดอีก,
อันประกอบอยู่ด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน, เป็นเครื่องให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ, ได้แก่
ตัณหาเหล่านี้ คือ, ตัณหาในกาม, ตัณหาในความมีความเป็น, ตัณหาในความไม่มีไม่เป็น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ก็อริยสัจจ์ คือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นี้, มีอยู่, นี้คือความดับสนิทเพราะจางไป โดยไม่เหลือ
ของตัณหานั้นนั่นเอง, เป็นความสละทิ้ง, เป็นความสลัดคืน, เป็นความปล่อย, เป็นความทำให้ไม่มีที่อาศัยซึ่ง
ตัณหานั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ก็อริยสัจจ์คือข้อปฏิบัติที่ทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือ แห่งทุกข์นี้, มีอยู่, นี้คือข้อปฏิบัติอันเป็นหนทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดประการ, ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ, ความเห็นชอบ, ความดำริชอบ,
การพูดจาชอบ, การทำการงานชอบ, การเลี้ยงชีวิตชอบ, ความพากเพียรชอบ, ความระลึกชอบ, ความตั้งใจมั่นชอบ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, จักษุเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, ญาณเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, วิชชาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, ในธรรมที่เราไม่เคยฟังมาแต่ก่อน, ว่าอริยสัจจฺคือทุกข์ เป็นอย่างนี้อย่างนี้ ดังนี้, ว่า

ก็อริยสัจจ์คือทุกข์นั้นแล, เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ ดังนี้, ว่า ก็อริยสัจจ์คือทุกข์นั้นแล, เรากำหนดรู้ได้แล้ว ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, จักษุเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, ญาณเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, วิชชาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, ในธรรมที่เราไม่เคยฟังมาก่อน, ว่าอริยสัจจ์ คือเหตุให้เกิดทุกข์, เป็นอย่างนี้ อย่างนี้
ดังนี้, ว่าอริยสัจจ์คือเหตุให้เกิดทุกข์นินแล, เราได้ละแล้ว ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, จักษุเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, ญาณเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, วิชชาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, ในธรรมที่เราไม่เคยฟังมาแต่ก่อน, ว่าอริยสัจจ์คือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ นั้นแล
เป็นสิ่งที่ควรทำให้แจ้ง ดังนี้, ว่า ก็อริยสัจจ์ คือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นั้นแล, เราทำให้แจ้งได้แล้ว ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, จักษุเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, ญาณเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, วิชชาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, ในธรรมที่เราไม่เคยฟังมาแต่ก่อน, ว่าอริยสัจจ์ คือข้อปฏิบัติที่ทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, เป็นอย่างนี้ อย่างนี้ ดังนี้, ว่า ก็อริยสัจจ์คือข้อปฏิบัติที่ทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นั้นแล เป็นสิ่งที่ควรกระทำให้เกิดมี ดังนี้, ว่า ก็อริยสัจจ์ คือข้อปฏิบัติที่ทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นั้นแล, เราทำให้เกิดมีได้แล้ว ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ปัญญาเครื่องรู้เห็นตามที่เป็นจริง, มีปริวัฏฏ์สาม มีอาการสิบสอง เช่นนั้, ในอริยสัจจ์ทั้งสี่เหล่านี้, ยังไม่เป็นของบริสุทธิ์หมดจดด้วยดีแก่เรา อยู่เพียงใด, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ตลอดการเพียงนั้น, เรายังไม่
ปฏิญญาว่าตรสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว, ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เมื่อใด, ปัญญาเครื่องรู้เห็นตามที่เป็นจริง, มีปริวัฏฏ์สาม มีอาการสิบสอง เช่นนั้น ในอริยสัจจ์
ทั้งสี่เหล่านี้, เป็นของบริสุทธิ์ หมดจดด้วยดีแก่เรา, เมื่อนั้น, เราปฏิญญาว่าได้ตรัสรู้พร้อม เฉพาะแล้ว, ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ, ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก, ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้ง
เทวดาและมนุษย์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ก็ญาณและทัสสนะได้เกิดแล้วแก่เรา, ว่าความหลุดพ้นของเราไม่กำเริบ, ความเกิดนี้ เป็นความเกิดครั้งสุดท้าย, บัดนี้ ความเกิดอีกย่อมไม่มี ดังนี้.
************

ที่อัญเชิญมา ถึงท่อนที่ว่า อะยะมันติมา ชาติ, นัตถิทานิ ปุนัพพพโว ติ เท่านั้น
สำหรับท่อนต่อจากนั้น เป็นการกล่าวสรรเสริญพระบารมีของพระประทีปแก้ว
ว่าสิ่งที่พระองค์ทรงตรัสรู้แล้วนั้น เป็นที่สรรเสริญของเทวดา ตลอดจนพรหมทุกชั้น
ที่ต่างแซ่ซ้องสรรเสริญในประปัญญา บารมี น้ำพระทัยที่พระองค์ทรงเผยแผ่พระธัมมจัก
ซึ่งเป็นสุภาสิตวาจาที่ทำให้พระอัญญาโกณฑัญญะตรัสรู้เป็นพระอรหันต์ในทันที
หากว่าสามารถหาได้ จะนำมาเพิ่มเติมให้ครับ

อนุโมทนาบุญให้เจ้ากรรมนายเวร คุณครูอาจารย์ มารดรบิดา และทุกท่านที่พบพระธัมมจัก
จงมีความสวัสดีในที่ทุกสถานทุกกาลทุกเมื่อ มีพระธัมมจักคุ้มครองป้องกันใจให้พ้นจากอกุศลกรรม และอบายภูมิ ให้ทุกท่านทุกคนจงมีอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน มีพระธรรมคำสอนแห่งองค์สมเด็จพระบรมครู พระผู้มีพระภาคเจ้าสถิตย์อยู่ในจิตวิญญาณ พ้นจากทุกข์ มีความสุข อายุยืนยาวเพื่อประกอบกุศลกรรมอันดีร่วมกันตราบเท่าอายุของมนุษย์ในพระพุทธศาสนา
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
ชินภพ พิมพะกร
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 17 ธ.ค. 2006
ตอบ: 67

ตอบตอบเมื่อ: 11 มิ.ย.2007, 12:19 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เจอแล้วครับ

ขอขอบคุณหน้าบทสวดมนต์ของเว็ปด้วยครับ เจอที่ใกล้ ๆ นี่เอง ตั้งใจว่าจะรวบรวมเรื่อย ๆ เป็นงานอิเรก เอาไว้เผยแผ่ในงานทำบุญวันเกิด และเป็นธรรมทาน อนุโทนาบุญให้กับทุกท่านที่พบพระธรรมคำสั่งสอนในเว็ปแห่งนี้ครับ ขอถึงซึ่งคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จงดลบันดาลบุญและอานิสงฆ์ให้กับเจ้ากรรมนายเวรและทุกท่านทุกคนในทุกครั้งที่ได้เผยแผ่บทสวดมนต์ครับ

ก็กราบขอนุญาตนำบทแปลส่วนที่เพิ่มเติมไปรวบรวมได้ในหนังสือสวดมนต์ดังกล่าวด้วยครับ

มาต่อตรงที่ อิทะมะโวจะ ภะคะว่า...จนจบครับ

ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงความจริง ๔ อย่างอันประเสริฐ อันทำให้ใจห่างไกลจากกิเลสอย่างนี้แล้ว ฯ พระภิกษุปัจจวัคคีย์เหล่านั้น ก็มีความเพลิดเพลินยินดีในธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสแล้วนั้น ฯ ก็ในเมื่อขณะที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกล่าวแสดงความละเอียดพิศดารแห่งความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการอยู่นั่นแล ดวงตาคือ ปัญญาอันเห็นธรรม ซึ่งปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดแล้วแก่ท่านโกณทัญญะ ผู้มีอายุอย่างนี้ว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาแล้ว สิ่งนั้น ๆ ทั้งปวง ก็ต้องดับสลายไปเป็นธรรมดา" ฯ ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
ได้ทรงประกาศวงล้อแห่งธรรมให้เป็นไปแล้วนั่นแล ภูมิเทวดาทั้งหลาย ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้นว่า
"นั่นคือ วงล้อแห่งธรรมอันยอดเยี่ยม ไม่มีอะไรเทียบได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ซึ่งวงล้อแห่งธรรมอย่างนี้ อันสมณพราหมณ์ ตลอดถึงเทวดา มาร พรหม และใคร ๆ ในโลก ไม่สามารถให้เป็นไปได้"


เทพเจ้าเหล่าชั้นจาตุมหาราช ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าภูมิเทวดาแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้นว่า ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์ ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นจาตุมหาราชแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้นว่า ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นยามา ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์แล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้นว่า ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นดุสิตได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นยามาแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้นว่า ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรดี ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นดุสิตแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้นว่า ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นปรนิมมิตวสวัตตี ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรดีแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้นว่า ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นพรหมกายิกาได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นปรนิมมิตวสวัตตีแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้นว่า ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นพรหมปาริสัชชาได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่านั้นพรหมกายิกาแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือสั่นขึ้นว่า ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นพรหมปะโรหิตาได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นพรหมปาริสัชชาแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้นว่า ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นมหาพรหมได้ฟังเสียงเทพเจ้าเหล่าชั้นพรหมปะโรหิตาแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้นว่าฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นพรหมปะริตตาภาได้ฟังเสียงเทพเจ้าเหล่าชั้นมะหาพรหมแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้นว่า ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นพรหมอัปปะมาณาภาได้ฟังเสียงเทพเจ้าเหล่าชั้นพรหมปะริตตาภาแล้วก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้นว่า ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นพรหมอาภัสสะราได้ฟังเสียงเทพเจ้าเหล่าชั้นพรหมอัปปะมาณาภาแล้วก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้นว่า ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นพรหมปะริตตะสุภาได้ฟังเสียงเทพเจ้าเหล่าชั้นพรหมอาภัสสะราแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือสั่นขึ้นว่า ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นพรหมอัปปะมาณะสุภาได้ฟังเสียงเทพเจ้าเหล่าชั้นพรหมปะริตตสุภาแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่น
ขึ้นว่า ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นพรหมสุภะกิณหะกาได้ฟังเสียงเทพเจ้าเหล่าชั้นพรหมอัปปะมาณะสุภาแล้วก็ส่งเสียงให้บันลือลั่น
ขึ้นว่า ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นพรหมอะสัญญิสัตตาได้ฟังเสียงเทพเจ้าเหล่าชั้นพรหมสุภะกิณหะกาแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่น
ขึ้นว่า ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นพรหมเวหัปผะลาได้ฟังเสียงเทพเจ้าเหล่าชั้นพรหมอะสัญญิสัตตาแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้นว่า ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นพรหมอะวิหาได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นพรหมเวหัปผะลาแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้นว่า ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นพรหมอะตัปปาได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นพรหมอะวิหาแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้นว่า ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นพรหมสุทัสสาได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นพรหมอะตัปปาแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้นว่า ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นพรหมสุทัสสีได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นพรหมาสุทัสสาแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้นว่า ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นพรหมอะกะนิฏฐะกาได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นพรหมสุทัสสีแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้นว่า ฯ
"นั่นคือ วงล้อแห่งธรรมอันยอดเยี่ยม ไม่มีอะไรเทียบได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ซึ่งวงล้อแห่งธรรมอย่างนี้ อันสมณพราหมณ์ ตลอดถึง เทวดา มาร พรหม และใคร ๆ ในโลก ไม่สามารถให้เป็นไปได้" ฯ
และโดยขณะเดียวเท่านั้น เสียงก็ดังขึ้นไปถึงพรหมโลกด้วยอาการอย่างนี้ ฯ
และเสียงนี้ได้สะท้านสะเทือนหวั่นไหว ดังสนั่นไปตลอดทิศทั้ง ๔ ทั่วทั้งหมื่นโลกธาตุ ฯ
อีกทั้งแสงสว่างอันใหญ่ยิ่งไม่มีประมาณ ได้ปรากฏแล้วในโลก ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลายเสียหมด ฯ

ในลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเปล่งอุทานขึ้นว่า "โกณทัญญะผู้เจริญได้รู้แล้วหนอ โกณทัญญะผู้เจริญได้รู้แล้วหนอ" ฯ (อัญญาสิ : ได้รู้แล้ว) เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งอุทานขึ้นมาอย่างนี้แล นามว่า "อัญญาโกณทัญญะ" นี้นั่นแหละ ได้มีแล้วแก่พระโกณทัญญะผู้มีอายุ ด้วยประการฉะนี้ แลฯ
************
ธรรมชาติชนดีอันมีศักดิ์ ย่อมต้องรักธานินถิ่นสถาน รักบิดรมารดาครูอาจารย์ รักภูบาลร่มเกล้าทุกเช้าเย็น
รักชาติวงศ์พงศ์เผ่าเหล่าภาษา รักศาสนาสอนแสดงแจ้งให้เห็น กตัญญูรู้ระลึกนึกเช้าเย็น สิ่งจำเป็นรักไว้ให้มั่นเอย
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
ศีล 8
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 17 มิ.ย.2007, 3:31 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ โมทนา บุญกับทุกท่าน ที่นำ สิ่งดีดี มาเผยแพร่
...
ผู้ให้ ของดี ย่อมได้ ของดี
ผู้ให้ ของเลิศ ย่อมได้ ของเลิศ
...
 
พีรวิชญ์
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 19 เม.ย. 2007
ตอบ: 24

ตอบตอบเมื่อ: 19 มิ.ย.2007, 10:55 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
chanin
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 27 เม.ย. 2006
ตอบ: 36
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพมหานคร

ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ย. 2008, 7:56 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

บทสวดธรรมจักร ส่วนมากจะสวดในวันคล้ายวันเกิด
 

_________________
ตนแล เป็นที่พึ่งแห่งตน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ฌาณ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์

ตอบตอบเมื่อ: 03 ต.ค.2008, 8:33 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ
 

_________________
ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง