Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 เราค้นหาสัจธรรม เพื่ออะไรครับ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ผู้เยี่ยมชม.
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 22 พ.ค. 2007
ตอบ: 95

ตอบตอบเมื่อ: 01 มิ.ย.2007, 6:10 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อะไรคือ สัจธรรม ของพวกท่าน

ทำไมเราถึงค้นหา สัจธรรม

เราค้นหา สัจธรรม เพื่ออะไร

เคยมีคนโพสลงในกระทู้เกี่ยวกับคำว่า สัจธรรม จึงอยากรู้ว่าอะไรคือ สัจธรรม ครับ

สาธุ ขอความอุปการะคุณทาง ปัญญา จากผู้รอบรู้ทุกท่านด้วย ขอบพระคุณครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ผู้เยี่ยมชม






ตอบตอบเมื่อ: 01 มิ.ย.2007, 9:38 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อะไรคือ สัจธรรม ของพวกท่าน
ทำไมเราถึงค้นหา สัจธรรม
เราค้นหา สัจธรรม เพื่ออะไร

.........
สัจธรรมไม่ใช่ของพวกท่านหรือของพวกใคร เพราะเป็นความจริง (สัจธรรม) ที่เป็นสากล เราค้นหาความจริง

สัจธรรมคือความจริง จะเรียกว่า อริยสัจจ์ 4 ก็ได้ เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาทก็ได้ เพราะพระพุทธเจ้าตรัสรู้สิ่งเหล่านี้ หรือจะเรียกว่าไตรลักษณ์ก็ได้ รู้เห็นอย่างใดอย่างหนึ่งก็เรียกว่ารู้สัจธรรม

ทำไมเราถึงค้นหา สัจธรรม
เราค้นหา สัจธรรม เพื่ออะไร


เราต้องการค้นหาความจริง (สัจธรรม) เพื่อให้รู้ความจริงของชีวิต เพื่อจะไม่หลงไปกับสิ่งที่ไม่จริง เพื่อให้ชีวิตเป็นทุกข์น้อยลงหรือไม่ทุกข์เลย
 
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 01 มิ.ย.2007, 10:16 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สัจธรรม หรือ ความจริงที่มันเป็นอยู่ตามธรรมชาตินี้
ไม่ใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าคิดค้นน่ะครับ......

ไม่ว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะอุบัติขึ้นหรือไม่ ความจริงนี้มันก็เป็นของมันอยู่อย่างนี้

แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ที่ค้นพบและนำมาถ่ายทอดแนวทางที่จะเข้าใจสัจธรรมให้เป็นระบบระเบียบเอื้ออำนวยต่อผู้ที่จะศึกษาให้รู้ตามท่าน .....

ก่อนหน้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็มีผู้ค้นพบเหมือนกัน แต่ท่านเหล่านั้นไม่สามารถเรียบเรียงคำสอนเป็นระบบระเบียบและชี้ให้ผู้อื่นรู้ตามได้ เราเรียกว่า พระปัจเจกพุทธเจ้า
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 01 มิ.ย.2007, 10:25 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ต่อน่ะครับ


อะไรคือ สัจธรรม ของพวกท่าน

สัจธรรมก็คือ ความจริงตามธรรมชาติที่ผมกล่าวแล้ว.....
เน้นพูดเฉพาะ สัจธรรมที่เป็นไปเพื่อการสิ้นทุกข์ เปรียบเสมือน ใบไม้ในกำมือ
ส่วนสัจธรรมส่วนที่ไม่จำเป็นต้องรู้เพื่อการพ้นทุกข์ ก็ไม่จำเป็นต้องไปสนใจมาก เปรียบเสมือนใบไม้ทั้งราวป่า


สัจธรรมที่รู้แล้วจะเป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์ แบ่งคร่าวๆเป็น
1.โลกียสัจจะ
2.โลกุตรสัจจะ

โลกียสัจจะก็หมายถึง สัจจะที่จำเป็นต้องมีในสังคม ในชีวิต เพื่อให้สังคมสงบสุข เพื่อป้องกันไม่ให้ชีวิตของเราวุ่นวายจนเกินไป ..... หลักๆ ได้แก่ เบญจศีล เบญจธรรม

โลกุตรสัจจะก็หมายถึง สัจจะในระดับที่สูงขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง เป็นไปเพื่อการพ้นทุกข์ทางใจอย่างเด็ดขาด

ในมรรคที่มีองค์แปดที่พระพุทธเจ้าสอนไว้นั้น จะประกอบพร้อมอยู่แล้วทั้งสองระดับ สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ผู้เยี่ยมชม






ตอบตอบเมื่อ: 02 มิ.ย.2007, 5:52 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เราค้นหา สัจธรรม เพื่ออะไร

-เมื่อรู้จักสัจธรรมโดยรวมว่าคืออะไรกันแน่แล้ว

-สิ่งที่สำคัญต่อมาคือการค้นหา

ทั้งๆที่สัจธรรมก็อยู่ที่กายใจนี่หละ ค้นหากันที่นี่แหละ แต่ทำไมหาไม่เจอ เพราะเราไม่รู้จักเขา

เดินสวนกันไปมาแต่ไม่รู้จักกัน (อวิชชา)

ลองดูกระบวนธรรมที่ดำเนินไปในแต่ละวันๆ

กระบวนธรรมฝ่ายก่อทุกข์ ได้แก่ อวิชชา+ตัณหา ฝ่ายนี้เรียกว่าไม่รู้จึงติด เพราะเราไม่รู้จักจึง

ติด

กระบวนธรรมฝ่ายดับทุกข์ ได้แก่ วิชชา+วิมุตติ ฝ่ายนี้เรียกว่า พอรู้ก็หลุด

-โดยสรุปก็คือ พึงกำหนดรู้ดูตามเป็นจริง (วิชชา) พอรู้ก็หลด คือกำหนดรู้ "ทำปริญญา"ดูตามที่

มันเป็น

ไม่พึงใช้อัตตาไปตัดแต่งพันธุกรรมมัน คือไปบิดเบือนให้มันเป็นตามที่เราต้องการ

มัน
 
ผู้เยี่ยมชม






ตอบตอบเมื่อ: 02 มิ.ย.2007, 5:14 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอบพระคุณทุกท่านยิ่ง อ่านความดูแล้วเห็นว่าจะเป็นบัณฑิตทางพุทธ สัจธรรมที่ทุกท่านกล่าวถึงล้วนแล้วแต่เป็นไปเพื่อความหลุดพ้น หรือ เพื่อความพ้นทุกข์ ผมเข้าใจถูกประเด็นหรือเปล่าครับ

สรุปความแล้ว สัจธรรมทางพุทธ ล้วนชี้นำไปเพื่อความพ้น ทุกข์ นะครับ ถูกไหม

ดังนั้น ใครท่านใดสนใจความพ้นทุกข์ ก็ควรที่จะ ศึกษาธรรม และ เจริญสติกัมมัฏฐาน ใช่ไหมครับ

สาธุ ขอบพระคุณท่านผู้รู้ที่ช่วยแนะนำและให้คำชี้แจงเกี่ยวกับ สัจธรรมของพระพุทธศาสนา นะครับ ขอบคุณมาก

( คำ ใดพิมพ์ผิดไปจากมาตรฐาน คำพจนานุกรม ผมต้องขออภัยด้วย ครับ )
 
ผู้เยี่ยมชม






ตอบตอบเมื่อ: 02 มิ.ย.2007, 7:13 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ดังนั้น ใครท่านใดสนใจความพ้นทุกข์ ก็ควรที่จะ ศึกษาธรรม และ เจริญสติกัมมัฏฐาน ใช่ไหมครับ


-ผ่านสองประเด็นข้างต้นไป เพราะเจ้าของคำถามเข้าใจถูกต้องแล้ว

คำสอนของพุทธะดังเดิมเป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์โดยแท้

แต่การณ์ต่อมาเมื่อมีผู้นับถือมากขึ้นก็สอนอนุโลมตามบุคคลตามสังคมตามยุคสมัยเพื่อให้เข้ากับ

อุปนิสัยของสัตว์โลกในยุคนั้นๆ....


ต่อไปประเด็นที่ค้าง...

-ถูกต้อง....ใครสนใจความพ้นทุกข์ ควรมุ่งเข้าหาธรรมแล้วเจริญสติปัฏฐาน 4 ได้เลย มุ่งเข้าหา

ภายในตนได้เลย ถ้ามั่นใจว่า มีศรัทธาและความมุ่งมั่นเพียงพอ

-ที่สำคัญที่จะมองข้ามเสียมิได้ นั่นก็คือผู้แนะนำทางนี้ต้องเป็นผู้ที่เข้าใจ และเข้าถึงธรรมะคือ

สติปัฏฐาน 4 จริงๆ
 
ผู้เยี่ยมชม






ตอบตอบเมื่อ: 02 มิ.ย.2007, 7:33 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ดูตัวอย่าง คำแนะนำหลักสติปัฏฐาน 4 ของบุคคลๆหนึ่ง ให้แก่บุคคลผู้หนึ่ง ซึ่งเค้าปฏิบัติแล้ว

เกิดง่วงนอน....

จขกท. พิจารณาดูสิว่า คำแนะนำของเค้า พอเป็นแนวทางให้เข้าถึงสัจธรรมได้ไหม ?

มีดังนี้ ...

-ต้องลองสู้ดูค่ะ คือถ้าเรายิ่งฝืนจิตจะยิ่งดื้อ ดิ้นรน
แต่ถ้าเราพยายามผ่อนคลายไปกับเขา เวลาเกิด
ความรู้สึกง่วง และรู้สึกว่าจะต้องนอนให้ได้ ก็บอก
กับตัวเองว่า เอาละ จะเลิก จะนอน แต่อีกเดี๋ยวนะ
คือถ่วงเวลาไปอีกนิดนึง

คือไม่ห้าม และไม่อนุญาต ลองดูนะคะ

เพราะบางทีช่วงอึดใจเดียวที่ไม่มีการต้านกัน
จิตก็จะข้ามจากการตกภวังค์


เป็นไงอะคิดอย่างไร ?
 
ผู้เยี่ยมชม






ตอบตอบเมื่อ: 02 มิ.ย.2007, 7:36 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ดูเต็มๆที่นี่....

http://larndham.net/index.php?showtopic=26456&st=0
 
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 03 มิ.ย.2007, 3:12 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

นานาจิกตี


"นานาจิตตัง"....ดังพระสอน

พึงสังวรตรองไตร่ให้ถ้วนถี่

ทิฏฐิคนหลายหลากล้วนมากมี

พระธรรมชี้ช่วยให้ใจเบิกบาน


"นานาจิกตี".... ไม่ดีหนอ

ด้วยว่าก่อเกิดโทษโจทก์ฟุ้งซ่าน

วางท่าเป็นเช่นเจ้าโต้งอันธพาล

อลหม่านเหมือนไก่ไล่จิกตี



ตรงประเด็น
3 มิ.ย. 50
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ผู้เยี่ยมชม






ตอบตอบเมื่อ: 03 มิ.ย.2007, 6:04 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ ขอบคุณสำหรับกลอนนะครับ

ขอต่อเพิ่มสักนิด ดัดแปลงจากกลอนเดิมสักเล็กน้อย หวังว่าท่านคงไม่โกรธขึงกันนะครับ

นานาจิตตัง

นานาจิตตัง ดังพระสอน

พึงสังวรตรองไตร่ให้ถ้วนถี่

อุปาทานคนหลากหลายล้วนมากมี

มองคนดีเป็นไก่โต้งด้วยหน้าตา

สาธุ
 
ปัญญา เรืองระยับ
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 03 มิ.ย. 2007
ตอบ: 4
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพฯ

ตอบตอบเมื่อ: 03 มิ.ย.2007, 6:36 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ตอบได้ดีทุกท่านเลยครับ ขออนุโมทนาด้วยครับ
 

_________________
จิตใดยึด จิตนั้นทุกข์
จิตใดไม่ยึด จิตนั้นไม่ทุกข์
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 03 มิ.ย.2007, 7:57 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Anonymous พิมพ์ว่า:
สาธุ ขอบคุณสำหรับกลอนนะครับ

ขอต่อเพิ่มสักนิด ดัดแปลงจากกลอนเดิมสักเล็กน้อย หวังว่าท่านคงไม่โกรธขึงกันนะครับ

นานาจิตตัง

นานาจิตตัง ดังพระสอน

พึงสังวรตรองไตร่ให้ถ้วนถี่

อุปาทานคนหลากหลายล้วนมากมี

มองคนดีเป็นไก่โต้งด้วยหน้าตา

สาธุ




ไม่โกรธขึงหรอกครับ
จะไปโกรธขึงทำไมครับ

กรรมใคร กรรมมันครับ ยิ้ม
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
Atagovito
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 04 มิ.ย.2007, 6:46 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผู้สิ้นความสงสัยย่อมเข้าถึงสัจจธรรม
คำถามที่ท่านถาม จึงมีคำตอบอยู่ในตัวของมันเอง
 
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 04 มิ.ย.2007, 11:23 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เราค้นหาสัจธรรมเพื่ออะไร

หากรู้ก่อนว่าความจริง หรือ “สัจธรรม” ที่ว่านั้นคืออะไร
คำตอบนั้นจะปรากฏอยู่ในคำถามเองค่ะ

เพราะความจริงที่มีอยู่ เป็นอยู่ของโลกนี้ เป็นอย่างนี้

๑. โลกนี้ไม่เที่ยง (อนิจจัง)

เพราะธรรมชาติทั้งหลายในโลกนี้ย่อมไหลเลื่อนไปตามกระแสการเกิดดับ ไม่มีอะไรเที่ยงแท้เป็นนิรันดร ดังนั้นการพยายามทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งในโลกให้ยืนยงนั้นเป็นไปไม่ได้

๒. โลกนี้เป็นทุกข์ (ทุกขัง)
เพราะสรรพสิ่งในธรรมชาติล้วนตั้งอยู่บนโครงสร้างแห่งทุกข์ ไม่ว่าจะเป็นวัตถุธาตุที่ทั้งมีชีวิต และไม่มีชีวิต ด้วยเหตุนี้สิ่งที่ปรากฏอยู่ในโลกจึงเต็มไปด้วยคุณสมบัติตรงข้ามที่มีอำนาจกระทบกันอยู่เสมอ เช่น หญิง-ชาย, มืด-สว่าง, ดี-ชั่ว, โง่-ฉลาด, รวย-จน, แข็งแรง-อ่อนแอ, ร้อน-เย็น
และเกิด-ดับ

และเพราะแรงกระทบระหว่างคู่ตรงข้ามที่บีบเค้นกันอยู่นี่เอง จึงทำให้สรรพสิ่งในธรรมชาติเปลี่ยนแปรอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นผู้ใดที่คาดหวังจะทำให้โลกนี้เป็นสุข หรือจะหาความสุขจากโลกนี้ตลอดเวลาจึงผิดหวังอยู่ร่ำไป

๓. โลกนี้ไม่มีไม่เป็นตัวเป็นตน (อนัตตา)
สรรพสิ่งในโลกทั้งหลายล้วนเกิดจากการปรุงประกอบ (สังขาร) ไม่มีสิ่งใดเป็นตัวของตัวโดยอิสระอย่างแท้จริง และด้วยการปรุงประกอบนี้ องค์ประกอบที่มาปรุงกันล้วนบีบเค้นกันอยู่โดยโครงสร้าง แม้จะสนับสนุนกันบ้างโดยหน้าที่ ด้วยเหตุนี้ สิ่งทั้งหลายจึงเคลื่อนไหวจากการเกิด ตั้งอยู่ แล้วเสื่อมสลายหรือดับไปอยู่เสมอ และการพยายามทำโลกนี้ หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งในโลกนี้ให้เป็นตนนั้น จึงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ดังนั้นใครที่อุปโลกน์ส่วนใดๆ ของธรรมชาติมาเป็นของตนย่อมต้องประสบความหมองเศร้าเสมอ

นี่คือสามสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ตามธรรมชาติ

ดังนั้นการคิด หรือปรารถนาสิ่งใดที่ขัดแย้งกับกฎสามประการ (ไตรลักษณ์) ดังกล่าวนี้ ย่อมต้องประสบกับล้มเหลว และเป็นทุกข์เสมอ

๔. อย่างไรก็ตาม สิ่งอื่นๆนอกเหนือจากนี้ ย่อมมีความเป็นไปได้ไปตามเหตุปัจจัย ดังที่กล่าวว่า “เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น” (อิทัปปัจจยตา หรือ ปฏิจจสมุปบาท)

ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ล้วนเป็นสัจธรรมสูงสุดที่มีอยู่เป็นอยู่เดิมแล้วตามธรรมชาติ
และมีพระบรมศาสดา คือ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเป็นผู้ค้นพบ

นอกจากนี้ จากการบำเพ็ญเพียรบารมี และหล่อหลอมเก็บเกี่ยวประสบการณ์ทุกด้านมาหลายภพหลายภูมิ จนตรัสรู้ "อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ" พระพุทธองค์จึงได้ทรงค้นพบ “อริยสัจ ๔“ หรือ “ความจริงอันประเสริฐ” (ความจริงของพระอริยะ/ความจริงที่ทำให้คนเป็นพระอริยะ) อันประกอบไปด้วย :

(๑) “ทุกข์” ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ภาวะที่ประสบกับสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา
(๒) “สมุทัย” เหตุแห่งทุกข์ นั่นคือ “ตัณหา” และ “อุปาทาน” ที่ยึดเหนี่ยวและส่งผลหมุนวนให้จิตแต่ละดวงต้องเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ
(๓) “นิโรธ” ความดับทุกข์ คือ ภาวะปลอดทุกข์เพราะไม่มีทุกข์ที่จะเกิดขึ้นได้ นั่นก็คือ
“พระนิพพาน”
(๔) “มรรค” คือ ทาง หรือ ข้อปฏิบัติอันประเสริฐให้ถึงซึ่งความดับทุกข์ ๘ประการ
(สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมมาสมาธิ)

ความจริงอันประเสริฐดังกล่าวนี้ พระพุทธองค์ทรงนำมาแสดงเพื่อเป็นการบอกทางแก่ดวงจิตของสัตว์โลกทุกภพภูมิ เป็นพุทธกิจที่ยิ่งใหญ่ที่พระองค์ทรงช่วยให้สัตว์โลกได้พ้นไปจากการเวียนว่ายตายเกิด (วัฏฏะสงสาร) ให้มีโอกาสกลับขึ้นไปสู่โลกุตตรภูมิ (โลกอันสูงส่ง) อันเป็นสภาวะที่สุขแท้จริงซึ่งมีอยู่ และเป็นการพ้นทุกข์โดยสิ้นเชิง ซึ่งมีอยู่ในธรรมบริสุทธิ์ที่ต้องพ้นธรรมชาติอันเกิด-ดับแล้วเท่านั้น

(เรียบเรียงข้อมูลจาก : ความจริงสู่ความเป็นพุทธแท้ : สัทธรรมวิจยย
: การเฟ้นหาหลักแท้ในการปฏิบัติธรรม,
พลตรี สัญชัย บุณฑริกสวัสดิ์ และ ฤทธิศาสตร์, ศิยะ ณัญฐสวามี)


อย่างไรก็ตาม แค่เพียง "รู้" ก็ไม่อาจ "พบ" สัจธรรมได้จริง
หากแต่ต้อง "เดิน" ไปตาม "ทาง" ที่พระพุทธองค์ทรงบอกไว้ด้วยความเพียร
จึงจะถึงเป้าหมายค่ะ

สาธุ สาธุ สาธุ

กำลังทำอยู่เหมือนกันค่ะ ยิ้มแก้มปริ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
อนุโมทนา
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 10 มิ.ย.2007, 3:22 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สัจธรรมแปลอย่างตรงตัวก็คือหลักแห่งความเป็นจริง เป็นจริงในหลักแห่งธรรมชาติ พุทธเจ้าแสดงให้เห็นว่าสรรพสิ่งทั้งปวง เมื่อเกิดขึ้นแล้วดำรงอยู่แล้วย่อมมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดาไม่อาจต้านไม่อาจฝืนให้อยู่กับเราได้ตลอดไป ผู้ใดไปยึดไว้ไปถือไว้อย่างหลงผิดแล้วย่อมเกิดทุกข์ ผู้รู้ย่อมไม่ยึดมั่นถือมั่น ให้เป็นไปตามหลักแห่งธรรมชาติ
 
สุรพรรณ เรืองเพชร
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 2
ที่อยู่ (จังหวัด): พัทลุง

ตอบตอบเมื่อ: 12 มิ.ย.2007, 11:28 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สัจจะ+ธรรม= สัจธรรม
คำว่า "ธรรม" นั้นสำคัญ ธรรมชาติ ธรรมมาธิปไตร ธรรมราชา
สื่อที่ดี ต้องบูรณาการ โดยใช้กฏธรรมชาติ เพราะมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ทุกคนเกิดมาเพื่อเรียนรู้ ค้นหาสัจธรรม คือค้นหาความเป็นตัวตนของตัวเอง เพื่อดำรงอยู่บนวิถีการเป็นมนุษย์ (เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวที่สุด)

ไม่ต้องเชื่อหรอก แต่ลองนำไปใช้ดู
 

_________________
ชีวิตเท่ากับเวลาที่เหลืออยู่ เท่ากับธุรกิจหรืองาน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailตำแหน่ง AIMYahoo MessengerMSN Messenger
พีรวิชญ์
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 19 เม.ย. 2007
ตอบ: 24

ตอบตอบเมื่อ: 19 มิ.ย.2007, 11:14 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ยิ้มเห็นฟัน เพื่อดับอวิชชาครับ เจ๋ง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง