Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 มองสันติภาพโลก ผ่านภูมิหลังอารยธรรมโลกาภิวัตน์ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ก้อนดิน
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 07 ก.ค. 2004
ตอบ: 623

ตอบตอบเมื่อ: 14 พ.ค.2007, 6:32 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เช่นว่า ถึงอย่างไรสมัยกลาง หรือยุคมืดนั้น ก็เป็นรากฐานที่ช่วยให้เกิด Renaissance โดยเฉพาะที่สำคัญยิ่ง คือการที่ศาสนจักรคริสต์ได้เผชิญและผจญกับศาสนาอิสลาม ในสงครามครูเสดเป็นต้น ในหลายแห่งที่ฝ่ายคริสต์ชนะ ก็พลอยได้ตำรับตำราวิชาการต่างๆ ของกรีกและโรมันโบราณ ที่ชาวมุสลิมนำไปเก็บรักษา ถ่ายทอดและพัฒนาสืบมา

ตำรับตำราเหล่านี้ นักบวชคริสต์ได้คัดลอก เก็บรักษา หรือไม่ก็แปลกลับจากภาษาอาหรับเป็นภาษาละติน ซึ่งกลายมาเป็นแหล่งความรู้ให้แก่ยุค Renaissance (ยุคคืนชีพ)

ต่อมา ปราชญ์ชาวตะวันตกยุคหลังๆ จึงเห็นว่า ในสมัยกลางนั้น ประทีปแห่งวิทยาการยังส่องแสงอยู่บ้าง แม้จะริบหรี่ แต่ก็ไม่ถึงกับดับมืดเสียทีเดียว

ดังนั้น บัดนี้คำว่า Dark Ages จึงไม่เป็นที่นิยมใช้กันอีก (บางท่านแปลคำว่า ยุคมืด/Dark Ages นั้นให้หมายความว่าเป็นช่วงเวลาแห่งประวัติศาสตร์ที่เรารู้เรื่องกันน้อย)

ในสมัยกลางนี้ ผู้ที่จะเป็นจักรพรรดิก็ต้องให้องค์สันตะปาปา (Pope) สวมมงกุฎให้ จักรวรรดิโรมันที่เจ้าเยอรมันรื้อฟื้นตั้งขึ้นใหม่ ก็มาเรียกโดยเติมคำว่า "holy" เข้าข้างหน้า เป็น the Holy Roman Empire (ช่วง ค.ศ.962-1806)

การที่ศาสนาคริสต์มีอำนาจยิ่งใหญ่ครอบคลุมอย่างนี้ ก็ทำให้เกิดมีความคิดที่ให้ถือยุโรป(ตะวันตก) เป็นศาสนรัฐที่กว้างใหญ่อันหนึ่งอันเดียว เรียกว่า "Christendom" (แปลได้ว่า "คริสตจักร" หรือ "คริสต์อาณาจักร")

Christendom นี้ ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่หรือข้าราชการ ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายศาสนาธิการ (sacerdotium) ซึ่งองค์สันตะปาปา (Pope) มีอำนาจสูงสุด กับฝ่ายรัฏฐาธิการ (imperium) ซึ่งมีจักรพรรดิ (Emperor) ทรงอำนาจสูงสุด โดยทั้งสองฝ่ายปฏิบัติงานเสริมซึ่งกันและกัน (นี้เป็นเพียงทฤษฎี แต่ในทางปฏิบัติสองฝ่ายได้ขัดแย้งแย่งชิงอำนาจกันมาตลอด)

ในสมัยกลางนี้เช่นกัน ที่คริสต์ศาสนจักรได้รวมพลังกษัตริย์ ขุนพล และพลเมืองของประเทศทั้งหลายทั่วยุโรป ทำสงครามศักดิ์สิทธิ์ หรือสงครามเพื่อพระผู้เป็นเจ้า (holy war) เพื่อปลดปล่อยดินแดนศักดิ์สิทธิ์ (Holy Land คือ เมืองเยรูซาเลม) จากการยึดครองของพวกมุสลิมเตอร์กส์ อันมีชื่อเรียกเฉพาะว่า "ครูเสด" (Crusades) ซึ่งเป็นสงครามกับมุสลิมที่ยืดเยื้อยาวนานประมาณ ๒๐๐ ปี (ค.ศ.1096-1270) นับเป็นครูเสดครั้งใหญ่ทั้งหมด ๘ ครั้ง กับครูเสดเด็กอีก ๒ ครั้ง


พอเปิดขุมปัญญาของกรีกโบราณกลับขึ้นมาได้
ฝรั่งดีใจ เรียกว่าเป็นยุคที่ได้เกิดใหม่


๒. Renaissance (ค.ศ.1453-1527; แต่ตำราไม่ลงกันแน่นอน บางทีก็ยืดเป็น ค.ศ.1340-1550, บางทีก็ย่นเป็น ค.ศ. 1480-1520 หรือ ค.ศ.1493-1527) แปลว่า (ยุคแห่ง) "การคืนชีพ" หมายถึงการฟื้นฟูศิลปะและวิทยาการของกรีกและโรมันโบราณ ที่จมหายลับเลือนไปตลอดเวลาประมาณ ๑,๐๐๐ ปีแห่งสมัยกลางนั้น

ชื่อของยุคนี้ ก็บอกแจ้งความหมายและความรู้สึกของชาวตะวันตกต่อยุคสมัยนี้ชัดเจนอยู่แล้วในตัวว่า คนตะวันตกมองเห็นว่าในสมัยกลางพวกตนถูกปิดกั้นจากการเรียนรู้และขุมปัญญาแห่งอารยธรรมพื้นฐานเดิมของตนในอดีต และรู้สึกกลับมีชีวิตชีวาขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เมื่อพ้นยุคสมัยแห่งความอับเฉาซบเซานั้นขึ้นมาได้

เป็นยุคเริ่มต้นและช่วงต่อ เพื่อการก้าวไปข้างหน้า

ยุคคืนชีพ หรือยุคเกิดใหม่นี้ มากับแนวคิดสำคัญที่เรียกว่า "มนุษยนิยม" (humanism) ซึ่งเชิดชูคุณค่าความสามารถและความสำคัญของมนุษย์ โดยถือมนุษย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล พร้อมทั้งให้ความสำคัญแก่ตัวบุคคลหรือปัจเจกชน และสนใจในธรรมชาติตามสภาพที่เป็นจริง อันเป็นแนวคิดที่เฟื่องฟูขึ้นจากการศึกษาวรรณคดีของกรีกและโรมันโบราณ (คลาสสิก)

ศาสนจักรคริสต์ในสมัยกลางสอนกันสืบมาว่า ความสุขในโลกนี้แม้ที่สูงสุด ถ้ามิใช่เป็นกับดักของมารร้าย ก็เป็นเพียงเงาลางๆ ของชีวิตในสวรรค์

แต่นักคิดแห่งยุคคืนชีพ เถียงแบบไม่ปฏิเสธหลักศาสนาคริสต์ตรงๆ โดยบอกว่า พวกคนรุ่นเก่านั้นไปมองโลกที่พระเจ้าสร้างแต่ในด้านร้าย แล้วก็ลืมไปว่า มนุษย์ทั้งหลายนี้แหละเป็นภาพฉายที่สะท้อนพระเกียรติคุณของพระผู้เป็นเจ้า (ฉะนั้น ชีวิตของมนุษย์ที่เป็นอยู่ในโลกนี้จึงดีงามและสำคัญที่สุด)

พึงสังเกตว่า ตั้งแต่ ค.ศ.636 เป็นต้นมา กองทัพมุสลิมได้เริ่มโจมตีอาณาจักรโรมันตะวันออก ต่อมาศิลปวิทยาการของกรีกและโรมันโบราณก็ถูกชาวมุสลิมรับถ่ายทอดไป

โดยเฉพาะตั้งแต่ ค.ศ.750 เป็นต้นมา ตำรับตำราของกรีกโรมันโบราณถูกแปลเป็นภาษาอาหรับ และชาวมุสลิมก็ได้พัฒนาศิลปวิทยาเหล่านั้นต่อมาตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 9-11 โดยเสริมด้วยความรู้ของตนและศิลปศาสตร์ที่ได้จากอินเดีย

ฉะนั้น เมื่อศิลปวิทยาการเสื่อมทรุดลงในยุโรปสมัยกลาง อาณาจักรมุสลิมจึงเป็นแหล่งบำรุงรักษาศิลปวิทยาการโบราณนั้นไว้

จนกระทั่งต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 12 และ 13 จึงเป็นยุคแห่งการที่ยุโรปแปลศิลปวิทยาการของกรีกและโรมันโบราณ พร้อมทั้งวิทยาการของมุสลิมเอง จากภาษาอาหรับมาเป็นภาษาฮิบรูและละติน อันมีผลให้เกิดความตื่นตัวทางปัญญาที่สืบเนื่องมาถึงยุคคืนชีพ (Renaissance) นี้ โดยประจวบพอดีกับที่ในประเทศมุสลิม ศิลปวิทยาการก็กลับซบเซาเสื่อมลง

ต่อมา ตรงกับจุดเริ่มของยุคคืนชีพนี้ทีเดียว ใน ค.ศ.1453 กรุงคอนสแตนติโนเปิล (Constantinople) ถูกตีแตก เสียแก่พวกออตโตมานเติรกส์ จักรวรรดิบีแซนตีน (Byzantine Empire คือจักรวรรดิโรมันตะวันออก) ล่มสลาย (ถึงจุดกำหนดสิ้นสมัยกลาง) นักปราชญ์และผู้ทรงความรู้จำนวนมากหนีมาอิตาลี และขนเอาตำรับตำราสำคัญมาด้วย เป็นการนำความรู้ที่สืบแต่กรีกโบราณมายังยุโรปอีกระลอกหนึ่ง


พอชาวบ้านฟื้นคืนชีพขึ้นมา
ศาสนาคริสต์ก็ถึงวาระแห่งการปฏิรูป


๓. Reformation (ค.ศ.1517-1559) แปลว่า (ยุคแห่ง) "การปฏิรูป" คำบัญญัตินี้ เป็นชื่อที่มุ่งเรียกเหตุการณ์ในศาสนาคริสต์โดยตรงแท้ๆ คือการปฏิรูปในคริสต์ศาสนา ซึ่งมาร์ติน ลูเธอร์ (Martin Luther) ได้เริ่มต้นขึ้น อันทำให้เกิดการปรับความเชื่อถือ ตีความคำสอน วางวิธีปฏิบัติใหม่ๆ ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนคัดค้านไม่ยอมรับอำนาจสูงสุดขององค์สันตะปาปา (Pope)

ยุคนี้กำหนดด้วยการสิ้นสุดอำนาจครอบคลุมยุโรปขององค์สันตะปาปา และการเกิดขึ้นของศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ ซึ่งพลอยมีผลพ่วงตามมาให้เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในวิถีชีวิตของผู้คนและสังคมของชาวตะวันตก


(มีต่อ ๒๐)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ก้อนดิน
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 07 ก.ค. 2004
ตอบ: 623

ตอบตอบเมื่อ: 16 พ.ค.2007, 7:16 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ยุคปฏิรูป หรือ Reformation นี้ ก็เป็นผลที่สืบเนื่องมาจากอิทธิพลของแนวคิดและการตื่นตัวในยุคคืนชีพนั่นเอง คือเป็นความขัดแย้งระหว่างกระแสความคิดความเชื่ออย่างเก่ากับอย่างใหม่ แต่ในเมื่อเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับอำนาจทั้งทางการเมืองและความยึดมั่นทางศาสนาที่รุนแรง การโต้แย้งและการแข็งขืนจึงกลายเป็นการต่อสู้ด้วยกำลัง การห้ำหั่นบีฑา (persecution) และสงครามศาสนา (religious war)

แต่เปลี่ยนย้ายจากการกำจัดคนนอกรีตนอกศาสนา และสงครามกับคนต่างศาสนา มาเป็นการศึกสงครามกับชาวคริสต์ด้วยกันเอง ระหว่างผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิกเดิม กับผู้นับถือนิกายใหม่คือโปรเตสแตนต์ ซึ่งต่างก็ถือว่าอีกฝ่ายหนึ่งเป็นพวกนอกรีต

ศาสนจักรคาทอลิกที่มีอำนาจยิ่งใหญ่ จำต้องระดมทุนเพื่อเสริมรักษาความยิ่งใหญ่นั้น จึงได้ให้มีการขายใบไถ่บาป (indulgence) ซึ่งอ้างว่าโปรดประทานจากพระคลังบุญ (Treasury of Merits) ของพระเยซูและเหล่านักบุญ โดยมีตัวแทนจำหน่าย (agents) ในถิ่นต่างๆ

การขายบัตรไถ่บาปทำให้ได้เงินมหาศาล (รวมทั้งเงินที่เอามาสร้างมหาวิหาร Saint Peter's ที่กรุงโรม) บาทหลวงบางคนขายใบไถ่บาปนี้เอาเงินให้องค์สันตะปาปา เพื่อได้รับแต่งตั้งในสมณศักดิ์สูง การก่อสร้างและการสะสมร่ำรวยเงินทองได้อืดพองขึ้นในศาสนจักร

ณ วันที่ ๓๑ ต.ค. 1517/๒๐๖๐ บาทหลวงเยอรมันชื่อมาร์ติน ลูเธอร์ (Martin Luther) ได้ปิดประกาศคำประท้วงการขายใบไถ่บาป อันถือว่าเป็นจุดเริ่มแห่งการปฏิรูป ที่ให้ชาวคริสต์คืนกลับไปหาพระคัมภีร์ โดยปฏิเสธอำนาจขององค์สันตะปาปา หลังจากนั้นไม่นาน การกำจัดกวาดล้างรบราฆ่าฟันและสงครามก็ตามมา

มาร์ติน ลูเธอร์ ซึ่งเป็นเพียงเอกชนคนหนึ่ง แต่มีกำลังสนับสนุนมาคุ้มครองและสู้กับวาติกันได้ นอกจากเพราะมีผู้เชื่อตามคำสอนทางศาสนาที่เขาตีความใหม่กันมากแล้ว ก็เป็นเพราะเหตุผลทางการเมืองด้วย ดังที่ฝรั่งเขียนไว้ว่า

"ทั่วยุโรปภาคเหนือ กษัตริย์และเจ้าผู้ครองดินแดนทั้งหลาย ซึ่งรู้ตระหนักว่าตนกำลังมีอำนาจมากขึ้น มีความไม่พอใจอยู่แล้ว ต่อการที่องค์สันตะปาปาซึ่งประทับอยู่แสนไกล มาถือสิทธิคุมอำนาจบังคับบัญชาตน แถมยังดูดสูบเอาโภคทรัพย์ไปยังกรุงโรมอีกด้วย"

("Europe, history of," New Grolier Multimedia Encyclopedia, 1994)

การปฏิรูป (Reformation) ซึ่งเป็นของฝ่ายโปรเตสแตนต์นี้ ตามมาด้วยการย้อนปฏิรูป (Counter-Reformation) ของฝ่ายโรมันคาทอลิก (ค.ศ.1540 หรือ 1559-1610) เพื่อเร่งงานกำจัดฝ่ายโปรเตสแตนต์ให้หมดสิ้น

ในช่วงเวลานับแต่เริ่มยุค Reformation ชาวคริสต์สองนิกายได้ทำ persecution และ religious war กัน ทั้งระหว่างคนในประเทศเดียวกัน ระหว่างผู้ปกครองกับราษฎรบ้าง ระหว่างราษฎรกับราษฎรบ้าง ระหว่างประเทศหนึ่งกับอีกประเทศหนึ่งบ้าง ระหว่างกลุ่มประเทศทั่วทั้งยุโรปบ้าง ซึ่งนอกจากทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในยุโรปแล้ว ก็ส่งผลไปถึงการเกิดขึ้นของประเทศในโลกใหม่ คืออเมริกาด้วย

ยกตัวอย่าง ในประเทศอังกฤษ ซึ่งได้กลายเป็นประเทศโปรเตสแตนต์เมื่อพระเจ้าเฮนรีที่ ๘ (Henry VIII) แยกออกจากโรมันคาทอลิก โดยประกาศไม่ยอมรับอำนาจขององค์สันตะปาปา (Pope) และให้รัฐสภาสถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นประมุขแห่งศาสน-จักรนิกายอังกฤษ (Church of England) คือนิกายแองกลิคาน (Anglican Church) ในปี 1534 ทำให้ศาสนาคริสต์นิกายอังกฤษ เป็นศาสนาประจำชาติมาจนบัดนี้

พระเจ้าเฮนรีที่ ๘ ได้ทรงกำราบและยึดทรัพย์วัดทั้งหลายของคาทอลิก ใครยอมเชื่อฟังองค์สันตะปาปา ถือว่าเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน ผู้นับถือโรมันคาทอลิกคนใดไม่ยอมรับสถานะของพระองค์ว่าเป็นประมุขของศาสนจักร ก็ถูกประหารชีวิต

พึงสังเกตว่า อังกฤษกำจัดไม่เฉพาะชาวคาทอลิกเท่านั้น แต่กำจัดโปรเตสแตนต์นิกายอื่นที่ไม่ใช่นิกายอังกฤษด้วย ดังนั้น พวกถือนิกายลูเธอแรนก็ถูกจับเผาทั้งเป็นเสียเป็นจำนวนมาก

ต่อมา พระนางแมรีที่ ๑ (Mary I) ผู้เป็นพระราชธิดาของพระเจ้าเฮนรีที่ ๘ นั่นเอง ขึ้นครองราชย์ ใน ค.ศ.1553 สถานการณ์เปลี่ยนเป็นตรงข้าม พระนางแมรีพยายามกู้นิกายโรมันคาทอลิกกลับขึ้นมาให้เป็นศาสนาประจำชาติ และได้กำจัดผู้นับถือนิกายโปรเตสแตนต์ ปรากฏว่าชาวโปรเตสแตนต์ถูกเผาทั้งเป็นไปประมาณ ๓๐๐ คน บ้างก็หนีไปอยู่ประเทศอื่น

ต่อจากพระนางแมรีที่ ๑ ใน ค.ศ.1558 พระกนิฏฐภคินี คือ พระนางเจ้าเอลิซาเบธที่ ๑ (Elizabeth I) ขึ้นครองราชย์ ก็กลับฟื้นนิกายโปรเตสแตนต์ขึ้นอีก และโดยเฉพาะในปลายรัชกาล ก็ได้กำจัดฝ่ายโรมันคาทอลิกอย่างโหดร้าย ถึงกับประหารชีวิตเสียเป็นอันมาก

ส่วนประเทศฝรั่งเศสนั้นตรงข้าม ได้พยายามรักษานิกายโรมันคาทอลิกไว้ให้มั่นคง และกำจัดนิกายโปรเตสแตนต์อย่างถึงที่สุด

พวกโปรเตสแตนต์ในฝรั่งเศสมีชื่อเรียกในสมัยนั้นว่าพวกฮิวเกนอตส์ (Huguenots)

เมื่อพวกฮิวเกนอตส์ (Huguenots) มีกำลังเข้มแข็งขึ้น รัฐบาลฝรั่งเศสก็ได้กำจัดอย่างรุนแรง จนกระทั่งเกิดเป็นสงครามศาสนาถึง ๘ ครั้ง ในช่วง ค.ศ.1562-1598 แต่หลังจากสงบศึกไประยะหนึ่ง ต่อมาก็กำจัดกันใหม่ และเกิดสงครามใหม่อีก

พวกฮิวเกนอตส์จำนวนมาก เห็นว่าจะอยู่ในประเทศของตนเองต่อไปไม่ไหว ก็พากันหนีไปประเทศอื่น เช่น อังกฤษ เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ แล้วจำนวนหนึ่งก็หนีต่อไปยังดินแดนแห่งโลกใหม่ คืออเมริกา (เช่น ในรัฐ Massachusetts, New York, Florida และ South Carolina)

พวกที่หนีไปครั้งนั้น ตำราฝรั่งว่ามีจำนวนประมาณ ๔ แสน ถึง ๑ ล้านคน เนื่องจากพวกฮิวเกนอตส์เป็นชนชั้นกลางที่มีการศึกษา มีความรู้และฝีมือดี ตลอดจนเป็นนายทหาร จึงทำให้ฝรั่งเศสสูญเสียทรัพยากรคนไปเป็นอันมาก การกำจัดและสงครามเพื่อกำจัดพวกฮิวเกนอตส์นี้ ดำเนินมาจนถึง ค.ศ.1789 (รวม ๒๒๗ ปี) จึงสิ้นสุดลง

ในประเทศเยอรมนี ซึ่งเป็นจุดเกิดกรณี คือเป็นที่เริ่มต้นของนิกายโปรเตสแตนต์

การกำจัดห้ำหั่นกันก็เป็นไปอย่างรุนแรงยาวนาน แต่จะไม่ยกมาพูดในที่นี้


(มีต่อ ๒๑)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ก้อนดิน
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 07 ก.ค. 2004
ตอบ: 623

ตอบตอบเมื่อ: 29 พ.ค.2007, 6:38 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

(แม้ว่าความขัดแย้งที่รุนแรงจะยังเกิดขึ้นเป็นระยะๆ ดังเช่นเหตุการณ์ใหม่ๆ ในกรณีสงคราม ๔ ปีในบอสเนีย (Bosnia) ระหว่างชาวเซอร์บส์ ชาวโครแอตส์ และชาวมุสลิม ใน ค.ศ.1991-1995 และปัญหาระหว่างชาวคาทอลิกกับโปรเตสแตนต์ในไอร์แลนด์เหนือ (Northern Ireland) ที่ยังค้างอยู่จนปัจจุบัน)

ผลพ่วงอย่างอื่นก็ติดมาด้วย เช่น ความเปลี่ยนแปลงทางอำนาจการเมือง การเปลี่ยนแปลงสถานะของดินแดนต่างๆ (เช่น เนเธอร์แลนด์ และสวิตเซอร์แลนด์ ได้เป็นประเทศเอกราช) และนับแต่นี้อำนาจการเมืองของศาสนจักรคริสต์ก็ลดน้อยถอยลงไป อำนาจการเมืองเป็นเรื่องของฝ่ายอาณาจักรมากขึ้น


ตะวันตกตื่นตัวทางปัญญา
หันออกจากคริสต์ศาสนา สู่ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์


๔. Enlightenment (คริสต์ศตวรรษที่ 18; บางตำราก็ยืดเป็นคริสต์ศตวรรษที่ 17-18) แปลว่า (ยุคแห่ง) "พุทธิปัญญา" หรือ "การเรืองปัญญา" (เรียกอย่างฝรั่งเศสว่า "Age of the Enlightened" คือยุคของผู้มีพุทธิปัญญา) บางทีก็เรียกว่า Age of Reason คือ ยุคแห่งเหตุผล

คำว่า enlightenment นี้ แปลตามศัพท์แท้ๆ ว่า "การทำให้สว่าง" ซึ่งมีความหมายตรงข้ามกับชื่อของสมัยกลางคือ Middle Ages ที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่ายุคมืด (Dark Ages) ทั้งนี้ เพราะนักคิดในยุคพุทธิปัญญานั้นมองสมัยกลางด้วยความรู้สึกว่าเป็นช่วงเวลาแห่งความมืดมน งมงาย เชื่อถือเหลวไหล เป็นปฏิปักษ์ต่อการศึกษาวิทยาการ ("Middle Ages," Britannica, 1997) ต่างจากยุคสมัยของพวกตนที่ได้พ้นออกมาจากความมืดมัวโง่เขลา และพบแสงสว่างแห่งปัญญาแล้ว (พึงดูทัศนะของปราชญ์ยุคนั้น เช่น Immanuel Kant เป็นต้น)

ลักษณะสำคัญของยุคพุทธิปัญญา คือความเชื่อมั่นในพลังการคิดเหตุผลของมนุษย์ว่าจะสามารถรู้ความจริงของสากลพิภพ และแก้ไขปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของตนให้เจริญงอกงามดีวิเศษขึ้นได้ (คือมี คติแห่งความก้าวหน้า หรือ idea of progress เฟื่องฟูเด่นขึ้นมา) พร้อมทั้งความใฝ่นิยมเสรีภาพ ชื่นชมวิทยาศาสตร์ และเป็นปฏิปักษ์ต่อการถืองมงายในเรื่องโชคลางและพิธีรีตองต่างๆ (superstition) ซึ่งทำให้ต้องขัดแย้งกับทางฝ่ายศาสนาคริสต์อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ (เช่น "Roman Catholicism," Britannica, 1997)

ยุคพุทธิปัญญานี้ ก็สืบเนื่องมาจากความตื่นตัวทางด้านสติปัญญา ที่ได้เริ่มต้นมาตั้งแต่ยุค "คืนชีพ" (Renaissance, ค.ศ.1453-1527) ที่กล่าวแล้วข้างต้น ซึ่งส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือความเจริญก้าวหน้ามาตามลำดับ

โดยเฉพาะความเคลื่อนไหวที่เรียกว่า การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Revolution) ซึ่งถือว่าเริ่มต้นใน ค.ศ.1543 (เมื่อโคเปอร์นิคัส/ Copernicus พิมพ์หนังสือ "ว่าด้วยปริวรรตแห่งดวงเวหา" - On the Revolutions of the Celestial Spheres) และดำเนินต่อมาตลอดศตวรรษที่ 16 และ 17 จนทำให้คริสต์ศตวรรษที่ 18 เป็นยุคแห่งพุทธิปัญญาดังกล่าวแล้ว

แท้จริงนั้น ยุคสมัยทั้ง ๔ ที่กล่าวมา คือ สมัยกลาง (Middle Ages) ยุคคืนชีพ (Renaissance) ยุคปฏิรูป (Reformation) และยุคพุทธิปัญญา (Enlightenment) นั้น มีความสัมพันธ์เป็นเรื่องชุดเดียวกัน และย่อได้เป็น ๒ ชุด หรือ ๒ ยุค กล่าวคือ

๑. สมัยกลาง (Middle Ages) เป็นพื้นเดิมที่ถูกปรารภ หรือเป็นสภาพกดดัน ซึ่งทำให้เกิด

๒. ยุคคืนชีพ (Renaissance) ขึ้นมาเป็นจุดเริ่มต้นของกระแสใหม่

กระแสใหม่ที่เริ่มต้นขึ้นนี้ ส่งผล ๒ อย่าง คือ ด้านหนึ่ง เกิดการต้านทานขัดขวาง เพราะเมื่อจะสลัดออกไปก็ต้องสู้กับแรงเก่าที่ดึงเอาไว้ ได้แก่ปรากฏการณ์ของยุคปฏิรูปและย้อนปฏิรูป (Reformation และ Counter-Reformation) และอีกด้านหนึ่ง เกิดการสืบต่อ เพราะเมื่อยุคคืนชีพจุดประกายผุดพลุ่งขึ้นมาแล้ว ก็เป็นแรงดันให้เกิดการเดินหน้าต่อๆ ไป อันได้แก่ปรากฏการณ์ของยุคพุทธิปัญญา (Enlightenment)

ถ้าจับเอาแต่ตัวยืน ก็ได้ ๒ ยุค คือ ยุคเก่า ได้แก่สมัยกลาง และต่อจากนั้น เมื่อได้เปลี่ยนแปลงใหม่จนผ่านการต้านทานขัดขวางไปได้แล้ว ก็มีผลเป็นยุคใหม่ คือยุคพุทธิปัญญา แต่ที่ว่านี้เป็นเพียงการพูดให้เห็นภาพอย่างง่ายๆ

ความเป็นไปหรือกระแสความตื่นตัวและความเจริญก้าวหน้าทางสติปัญญา ที่ดำเนินมาถึงยุคพุทธิปัญญานี้ ได้ก่อให้เกิดเหตุการณ์ใหญ่ที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งเรียกว่าเป็นการปฏิวัติขึ้น ๒ อย่าง คือ

๑. การปฏิวัติทางการเมือง ได้แก่ ปฏิวัติฝรั่งเศส (French Revolution) ใน ค.ศ.1789-1815 ซึ่งตามมาใกล้ๆ กับการปฏิวัติของอเมริกา (American Revolution) ใน ค.ศ.1775-1783

๒. การปฏิวัติทางเศรษฐกิจและสังคม ได้แก่ ปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) ซึ่งเริ่มในอังกฤษ ประมาณ ค.ศ.1750-1850

การปฏิวัติ ๒ อย่างนี้ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่แผ่ขยายผลมากมายและกว้างไกล พลิกผันสภาพบ้านเมือง ระบบสังคม และวิถีชีวิตของผู้คน นำอารยธรรมขึ้นสู่ยุคใหม่ โดยเฉพาะระบบอุตสาหกรรม (industrialization) นั้น ถือว่าเป็น modernization คือเป็นตัวกำหนดให้สังคมตะวันตกและโลกขึ้นสู่ยุคสมัยใหม่ (modern age) ("Modernization and Industrialization," Britannica, 1997)

โดยนัยนี้ ในที่สุด ยุคคืนชีพ ก็ดี ยุคปฏิรูป ก็ดี ยุคพุทธิปัญญา ก็ดี ก็เป็นเพียงปรากฏการณ์ที่คั่นกลางระหว่าง ๒ ยุคใหญ่ คือ

๑. สมัยกลาง (Middle Ages) ที่ความเชื่อทางศาสนา ซึ่งทุกคนต้องยึดถือปฏิบัติเหมือนกันหมด ตามกำหนดของศาสนจักรคริสต์ เป็นเครื่องชี้นำชีวิตและวิถีของสังคม กับ

๒. สมัยใหม่ (modern age) ที่แนวคิดความหวังของแต่ละบุคคลผู้เป็นอิสระที่จะเชื่อได้อย่างเสรี มาพร้อมกันเชิดชูยกให้วิทยา-ศาสตร์ เทคโนโลยี และอุตสาหกรรม เป็นเจ้าบทบาทในกระบวนการที่เรียกว่าการสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าของชีวิตและสังคม

(แต่คำว่า modern age ยังไม่ได้ใช้เป็นอสาธารณนาม ที่มีความหมายจำกัดเฉพาะ อย่างคำว่า Middle Ages)


(มีต่อ ๒๒)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ก้อนดิน
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 07 ก.ค. 2004
ตอบ: 623

ตอบตอบเมื่อ: 30 พ.ค.2007, 5:18 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ความเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิตและสังคม แนวคิดความเชื่อใหม่ๆ และความตื่นเต้นกับความเจริญก้าวหน้าแปลกใหม่ต่างๆ ได้ทำให้กระแสความคิดความสนใจของคนสมัยใหม่ในตะวันตก ที่ผละออกมาจากศาสนาคริสต์อยู่แล้ว ยิ่งห่างไกลจากศาสนาออกมาเรื่อยๆ และอิทธิพลของศาสนจักรคริสต์ก็ยิ่งลดน้อยถอยลงไป แล้วยังส่งอิทธิพลนี้ไปยังประชาชนในแดนห่างไกลที่กำลังพัฒนาทั่วโลกด้วย

จนกระทั่งถึงช่วงปลายของคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ จึงถึงจุดหักเหที่อารยธรรมสมัยใหม่นั้นกลับถึงคราวต้องเคว้งคว้างคลำหาทิศทางใหม่


ถึงจะผ่อนอิทธิพลครอบงำทางปัญญา
ฝรั่งยังต้องดิ้นหนีภัยอำนาจการเมืองของคริสต์ศาสนา


หันมากล่าวถึงดินแดนแห่งโลกใหม่คืออเมริกา ซึ่งก็คือประเทศของคนที่อพยพมาจากทวีปยุโรป และก็เป็นที่รู้กันดีว่าสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้คนเหล่านี้อพยพมาก็คือการหนีภัยบีบคั้นกำจัดหรือการห้ำหั่นบีฑาทางศาสนา (religious persecution) ในประเทศเดิมของตน

นอกจากฝรั่งเศส ที่พวกโปรเตสแตนต์ที่เรียกว่าฮิวเกนอตส์หนีภัยมาดังได้กล่าวข้างต้นแล้ว อังกฤษก็เป็นแหล่งใหญ่ของผู้หนีภัยศาสนา เริ่มแต่พวกโปรเตสแตนต์ที่เรียกว่าพวก Puritans ซึ่งหนีมาในสมัยที่พระนาง Mary I กู้นิกายโรมันคาทอลิกและกำจัดฝ่ายโปรเตสแตนต์

พวก Puritans นี้ได้มาอเมริกาแต่ ค.ศ.1620 และมาตั้งรกรากอยู่ที่ Plymouth ในรัฐ Massachusetts

การกำจัดทางศาสนาในอังกฤษ ไม่ได้จบแค่สมัยพระนาง Mary I และ Elizabeth I เท่านั้น แต่มีต่อๆ มา และดังได้กล่าวแล้วว่า อังกฤษมิใช่กำจัดเฉพาะพวกคาทอลิกเท่านั้น แต่กำจัดโปรเตสแตนต์พวกอื่นที่ไม่ใช่นิกายอังกฤษด้วย

พวก Puritans อพยพมาอเมริกาครั้งใหญ่อีก ในช่วง ค.ศ.1630-1640 ต่อมาพวกอพยพหนีภัยศาสนาก็อพยพมาอเมริกากันเป็นระลอก เช่น พวก Baptists ที่มาก่อนปี 1640 พอหลังปี 1660 ในอังกฤษมีการกำจัดอีก ก็มีพวก Baptists อพยพมาเพิ่มอีก

พวกคาทอลิกมาตั้งที่ Maryland ตั้งแต่ 1634 พวกเควกเกอรส์ (Quakers หรือพวก Society of Friends) ก็มาในช่วงทศวรรษแห่ง ค.ศ.1660 และมาตั้งรกรากกันใน New Jersey, Pennsylvania รวมทั้ง Massachusetts และ Rhode Island

ในฐานะที่อเมริกาเป็นอาณานิคม รัฐบาลอังกฤษได้ตามมาออกกฎหมายให้คริสต์ศาสนานิกายอังกฤษเป็นศาสนาราชการใน Virginia, Maryland, New York, North และ South Carolina และ Georgia

ในรัฐเวอร์จิเนีย (Virginia) เจ้าหน้าที่อาณานิคม ซึ่งอยู่ข้างนิกายอังกฤษ ก็เกิดปัญหาขัดแย้งกับพวกเพรสไบทีเรียน พวกแบพติสต์ และนิกายอื่นๆ

ฝ่ายชาวอาณานิคมเอง ทั้งที่ได้ประสบภัยเบียดเบียนทางศาสนาในยุโรปมาอย่างหนักแล้ว เมื่ออพยพมาได้ที่พักพิงในอเมริกาดีแล้ว บางกลุ่มก็ยังมากำจัดข่มเหงเบียดเบียนกันในอเมริกาต่ออีก

เมื่อพวกตัวอยู่ไหน ก็ยังจะเอาแต่พวกของตัว เช่น ในรัฐแมสซาชูเสตส์ ก็มีการกำจัดพวกเควกเกอรส์ และพวกแบพติสต์ รวมทั้งมีการล่าและฆ่าผู้ที่ถูกสงสัยว่าเป็นแม่มด

ชาวคาทอลิกที่หนีมาอยู่ในอเมริกา เมื่อเทียบกับชาวโปรเตสแตนต์แล้ว กลายเป็นคนข้างน้อยอย่างยิ่ง (ต่างจากแคนาดาในยุคนั้น ที่ฝรั่งเศสได้อาณานิคมมาก และรัฐบาลฝรั่งเศสออกกฎหมายห้ามมิให้มีนิกายโปรเตสแตนต์)

แม้แต่ที่ แมรีแลนด์ ที่มีคาทอลิกมากที่สุด ตอนนั้นก็มีจำนวนไม่เกิน ๓,๐๐๐ คน คนเหล่านี้ต้องพบกับการข่มเหงขนาดเบาๆ ตามกฎหมายของรัฐแมรีแลนด์ ในค.ศ.1691 คนที่นับถือนิกายคาทอลิกถูกตัดสิทธิทางการเมือง และห้ามมิให้ประกอบพิธีทางศาสนา เว้นเฉพาะแต่ในบ้านส่วนตัวของตนเอง

พวกยิวซึ่งก็เป็นชนข้างน้อย ส่วนมากอยู่ในตัวเมืองนิวยอร์ก ก็ถูกจำกัดไม่ให้มีสิทธิออกเสียง ไม่มีสิทธิได้รับตำแหน่งราชการ และจะปฏิบัติกิจศาสนาของตนอย่างเปิดเผยไม่ได้ มีแต่รัฐ Rhode Island แห่งเดียวที่ยอมให้ทำ

(Rhode Island เป็นถิ่นอาณานิคมที่ตั้งขึ้นโดยมีหลักการแห่งความมีขันติธรรมมาแต่ต้น จึงเป็นถิ่นที่นอกจากยิวแล้ว ผู้ถือนิกายอย่างเควกเกอรส์ที่ถูกข่มเหงในที่อื่นก็มาอยู่ได้โดยปลอดภัย)

แม้ว่าในอเมริกาช่วงตั้งดินแดนใหม่จะมีการกำจัดกวาดล้างกันบ้าง แต่เมื่อเทียบกับถิ่นเดิมในยุโรป ก็นับว่าดีกว่าเบากว่าอย่างมากมาย สาเหตุหนึ่งคงเป็นเพราะทุกฝ่ายทุกนิกายต่างก็เป็นผู้อพยพพลัดถิ่นหนีภัยมาด้วยกัน มีหลายพวกหลายนิกายหลายชาติมาอยู่ใกล้ๆ กัน ต่างก็ต้องปรับตัวใหม่

ในเรื่องนี้ Compton's Encyclopedia of American History, 1994 (Chapter 3) กล่าวว่า ความมีขันติธรรมเจริญงอกงาม (ในอเมริกา) อย่างที่ไม่มีชาติใดในยุโรปจะมาเทียบได้ แต่ทั้งนี้มิใช่เพราะชาวอเมริกันเพียรหาทางคิดสรรค์สร้างขันติธรรมขึ้นไม่

แต่เป็นเพราะสภาวการณ์เป็นเงื่อนไขกำหนดให้ต้องเป็นไปอย่างนั้น โดยแท้


(มีต่อ ๒๓)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ก้อนดิน
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 07 ก.ค. 2004
ตอบ: 623

ตอบตอบเมื่อ: 04 มิ.ย.2007, 7:14 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อย่างไรก็ตาม จากภูมิหลังแห่งประวัติศาสตร์อันขมขื่นที่ยาวนานในยุโรป ก็เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า คนอเมริกันมีจิตสำนึกซึ่งฝังลึกในใจที่สำคัญ คือความใฝ่ปรารถนาและเชิดชูบูชาเสรีภาพหรือความเป็นอิสระเสรี (freedom หรือ liberty) เป็นอย่างยิ่ง

ต่อมาเมื่อได้อิสรภาพที่จะปกครองตนเองแล้ว ก็ได้ถือเรื่องเสรีภาพนี้เป็นหลักการสำคัญยิ่ง และกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญให้ประชาชนมีอิสรเสรีภาพในด้านต่างๆ รวมทั้งเสรีภาพทางศาสนา (freedom of religion)

ยิ่งกว่านั้น เมื่อหลายนิกายตกลงกันไม่ได้ว่าจะถือนิกายใดเป็นใหญ่ หรือจะถือหลักศาสนาร่วมกันได้อย่างไร อเมริกาก็วางหลักการแห่งการแยกศาสนจักรกับอาณาจักร ออกจากกัน (separation of church and state)

เป็นธรรมดาว่า เหตุการณ์เลวร้ายหรือความทุกข์ ย่อมก่อให้เกิดผลทั้งร้ายและดีในด้านต่างๆ แล้วแต่เหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งท่าทีของมนุษย์ผู้เผชิญกับทุกข์ภัยเหล่านั้นด้วย

ทุกข์ภัยที่เรียกว่า persecution และ religious wars ที่ชาวตะวันตกได้ผ่านมามากมาย เมื่อว่าในด้านดี ก็เป็นปัจจัยร่วมสำคัญที่หล่อหลอมอารยธรรมตะวันตกให้เป็นอยู่อย่างที่ปรากฏในปัจจุบัน โดยมีทั้งคุณสมบัติและคุณวิบัติด้านละหลายประการ อย่างน้อยผลที่มองเห็นได้ง่ายคือ

ก. ทำให้มีการเดินทางไกล และการอพยพย้ายถิ่นอย่างมากมายกว้างขวาง รวมทั้งการผจญภัย ซึ่งทำให้พบถิ่นดินแดนและสิ่งแปลกใหม่ พบกับสินค้า ความคิด ความรู้ วิทยาการใหม่ๆ และการสังสรรค์ระหว่างวัฒนธรรมที่ต่างกัน รวมทั้งการได้รับศิลปวิทยาการโบราณกลับมาจากประเทศมุสลิม มีเครื่องกระตุ้นให้ตื่นตัวเร้าใจ มีความกระตือรือร้นอยู่เสมอ เป็นต้นทางของการขยายดินแดน และการพบลู่ทางใหม่ๆ ที่จะขยายอำนาจหรือได้ผลประโยชน์ เช่นที่สงครามครูเสดเปิดทางให้ยุโรปมีการค้าขายกับตะวันออก และสงครามกับมุสลิมที่ยืดเยื้อยาวนานเป็นกำแพงกั้นที่ทำให้ยุโรปต้องหันไปสนใจกับการบุกเบิกดินแดนแห่งโลกใหม่ คืออเมริกามากขึ้น

ข. เป็นธรรมดาของมนุษย์ที่ต้องเผชิญกับภัยอันตรายอยู่เสมอ จะฝึกตนเอง แม้โดยไม่รู้ตัว ทำให้ไม่ประมาท เข้มแข็ง เตรียมพร้อมอยู่ตลอดเวลา และกระฉับกระเฉงว่องไว ยิ่งกว่านั้น เมื่อต้องเผชิญกับปัญหาที่จะต้องหาทางแก้ไขอยู่เสมอ ก็ทำให้พัฒนาสติปัญญาความสามารถและความจัดเจนเพิ่มขึ้นตลอดเวลา

ค. การขัดแย้ง รุกล้ำ ละเมิด เบียดเบียนกันระหว่างมนุษย์ เมื่อมีอยู่เสมอไม่เลิกรา ก็ทำให้มนุษย์หาทางปกป้องคุ้มครองตนเอง และยับยั้งป้องกันกันและกันไม่ให้ละเมิดหรือเอารัดเอาเปรียบ

ผลอย่างหนึ่งของความเพียรพยายามในด้านนี้ก็คือ การบัญญัติจัดวางกฎเกณฑ์กติกาต่างๆ ซึ่งจะเห็นว่าอารยธรรมตะวันตกเจริญก้าวไปค่อนข้างมากในด้านนี้ แม้โดยทั่วไปจะยังอยู่ในระดับของจริยธรรมเชิงลบ

ง. เป็นธรรมดาเช่นกันว่า การดิ้นรนแก้ไขปัญหาและหลบหลีกทุกข์ภัยที่มากมาย ก็หมายถึงการได้ทำกิจกรรมต่างๆ อยู่เสมอ จึงทำให้เกิดมีกิจกรรมและกิจการใหม่ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ คือเป็นสังคมที่ไม่หยุดนิ่ง และอารยธรรมก็จะก้าวอยู่เสมอ (ไม่ว่าทางดีหรือทางร้าย)


ปฏิกิริยาของสังคมตะวันตกต่ออำนาจครอบงำของศาสนาคริสต์
ผลกระทบจากการปฏิรูปศาสนาคริสต์ต่อสังคมตะวันตก


ตามประวัติแห่งอารยธรรมตะวันตกนี้ จะเห็นว่า มนุษย์ชาวตะวันตกในอดีต มีความรู้สึกเหมือนว่าตนถูกกักขังอยู่ในความมืดมาตลอดเวลายาวนาน แถมยังถูกกดขี่ข่มเหงบีบคั้น ต้องผจญทุกข์ภัยมาโดยตลอด

แรงกดดันนั้นทำให้เกิดกำลังในการดิ้นรน และเมื่อเริ่มหลุดออกมา ๕๐๐ ปีก่อนนี้ ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 จึงมีความรู้สึกเหมือนกับว่าได้เกิดใหม่ ดังคำที่เขาเรียกชื่อยุคสมัยนั้นว่า "ยุคคืนชีพ" (Renaissance) ดังได้กล่าวแล้ว

ข้อสำคัญ ก็คือ ชาวตะวันตกเหล่านั้น คืนชีพขึ้นมาใหม่ในแง่ของศิลปวิทยาการ จึงเหมือนกับได้พบแสงสว่าง โดยเฉพาะวิทยาศาสตร์ได้เริ่มฟื้นตัวเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้มองเห็นหนทางและความหวังแห่งความรุ่งเรืองข้างหน้า

ชาวตะวันตกผู้ถูกกดดันให้เกิดแรงดิ้นมากมายนั้น เมื่อยุคคืนชีพหรือเกิดใหม่นี้มาถึง จึงเต็มเปี่ยมไปด้วยพลังที่จะก้าวไปข้างหน้าด้วยความหวังถึงความสำเร็จอันสดใส ที่วิทยาศาสตร์อันตามมาด้วยเทคโนโลยีจะช่วยหยิบยื่นให้

วิทยาการกรีกโบราณที่กลับฟื้นขึ้นมานั้น นำเอาแนวคิดความเชื่อที่สำคัญยิ่งอย่างหนึ่งขึ้นมาตั้งเป็นหลักของอารยธรรมตะวันตกต่อมาด้วย คือความเชื่อว่ามนุษย์จะประสบความสำเร็จมีความสุขและอิสรภาพสมบูรณ์ ต่อเมื่อเอาชนะหรือพิชิตธรรมชาติได้ ดังที่ได้เป็นความคิดฝันของนักปราชญ์กรีก ทั้งโสกราตีส เพลโต และอริสโตเติล

ดังนั้น พร้อมกับความหวังในความเจริญก้าวหน้าที่อาศัยวิทยาศาสตร์นั้น ชาวตะวันตกก็ได้มีความใฝ่ฝันที่จะพิชิตธรรมชาติ (conquest of nature) หรือ ครอบครองธรรมชาติ (dominion over nature) หรือเป็นนายของธรรมชาติ (mastery of/over nature) เป็นแกนนำแห่งอารยธรรมของตนสืบมา

อย่างไรก็ตาม การข่มเหงบีบคั้นและการดิ้นรนต่อสู้หลบหนี มิได้จบสิ้นลงแค่ได้ขึ้นยุคคืนชีพ การพยายามครอบครองรักษาอำนาจของศาสนจักรโรมันคาทอลิกยังดำเนินต่อมา และอำนาจที่กว้างใหญ่ไพศาลนั้น ย่อมไม่หมดลงได้ง่ายๆ แต่การดิ้นรนแข็งขืนก็รุนแรงขึ้นด้วย ดังที่ได้เกิดเป็นยุคปฏิรูป (Reformation) ที่มีนิกายใหม่คือโปรเตสแตนต์เกิดขึ้น


(มีต่อ ๒๔)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ก้อนดิน
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 07 ก.ค. 2004
ตอบ: 623

ตอบตอบเมื่อ: 06 มิ.ย.2007, 7:43 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

จากนั้น ทั้งอำนาจของศาสนจักรและอำนาจการเมืองก็เข้ามาผสมผสานกันในการทำสงครามขับเคี่ยวระหว่างชาวคริสต์ ๒ นิกาย เก่ากับใหม่ และการใช้กำลังกำจัดกวาดล้างอีกฝ่ายหนึ่งในยามที่ตนมีอำนาจ ตลอดยุคปฏิรูป จนสิ้นสงคราม ๓๐ ปี (ค.ศ.1648)

ภาวการณ์ทั้งนี้ เป็นเหตุให้เกิดการเคลื่อนย้ายถิ่น และการเปลี่ยนแปลงดินแดนอย่างขนานใหญ่ รวมทั้งการหนีภัยไปหาความหวังข้างหน้าในโลกใหม่ คือ ทวีปอเมริกา ซึ่งเป็นแรงขับภายในที่หล่อหลอมให้ชนชาติอเมริกันมีความใฝ่ปรารถนายิ่งนักในความเป็นอิสระเสรี จนกลายเป็นอุดมคติเอกของชาติ คือ อุดมคติแห่งเสรีภาพ (ideal of freedom)

ระหว่างที่ความขัดแย้งทางศาสนาดำเนินไปนั้น กระแสความตื่นตัว ความนิยม และความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ก็มีกำลังแรงมากขึ้น ดังที่ถือกันว่าได้เกิดการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ (scientific revolution) ขึ้นตั้งแต่ ค.ศ.1543 สืบต่อมา จนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17

นักปราชญ์ยุโรป เริ่มด้วยฟรานซิส เบคอน (Francis Bacon, 1561-1626) ตามด้วยเดคาร์ตส์ (Rene Descartes, 1596-1650) เป็นต้น ได้กระตุ้นเร้าความคิดที่จะให้มนุษย์พิชิตธรรมชาติ (conquest of nature) ด้วยความรู้วิทยาศาสตร์ที่ประสานกับเทคโนโลยี ทำให้กระแสความเชื่อนี้ฝังใจชาวตะวันตก และแฝงอยู่เบื้องหลังพัฒนาการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตลอดมา

ในส่วนนี้ก็จำเพาะพอดีว่า ในคัมภีร์ไบเบิลมีคำสอนที่สอดคล้องกับแนวคิดที่ให้เป็นเจ้านายครอบครองธรรมชาติ ดังความที่ว่า

ดังนั้น พระเป็นเจ้าได้ทรงสร้างมนุษย์ตามพระฉายาของพระองค์...และพระเป็นเจ้าทรงอวยพรมนุษย์ ตรัสว่า "จงมีลูกหลานเพิ่มจำนวนมากมายให้เต็มแผ่นดิน และยึดครองแผ่นดินเถิด จงครอบครองปลาในทะเล (have dominion over the fish of the sea...) นกในอากาศ และสัตว์ทั้งหลายที่เลื้อยคลานบนแผ่นดิน" และพระเป็นเจ้าตรัสว่า "เราให้ผักทุกชนิดที่มีเมล็ด ที่มีอยู่บนพื้นแผ่นดิน และต้นไม้ทั้งหลายที่ออกผลมีเมล็ด นี่แหละคืออาหารของเจ้า"...(Genesis 1:28-29)

จึงปรากฏต่อมาว่า ศาสนาคริสต์ก็ส่งเสริมความใฝ่ฝันของวิทยาศาสตร์ในการที่จะพิชิตธรรมชาติ ทำให้แนวคิดของตะวันตกโดยรวมประสานกันอย่างมีพลังในการมุ่งพิชิตธรรมชาติ

จนกระทั่งมาถึงปลายใกล้จะสิ้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นี้ จึงสะดุดชะงัก เมื่อโลกเผชิญปัญหาธรรมชาติแวดล้อมเสื่อมโทรม และเกิดความสำนึกว่า การพัฒนาเท่าที่ดำเนินมาเป็นการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน (unsustainable development)

นักคิดนักรู้รุ่นใหม่หันกลับไปติเตียนแนวคิดพิชิตธรรมชาติ ว่าเป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาร้ายแรงที่จะนำความพินาศมาสู่โลกนี้

อีกด้านหนึ่ง ปราชญ์ตะวันตกเชื่อกันมากว่า ศาสนาคริสต์ฝ่ายปฏิรูป คือโปรเตสแตนต์ ซึ่งแตกต่างออกมามากจากโรมันคาทอลิกเดิม ได้ทำให้เกิดจริยธรรมแบบโปรเตสแตนต์ (Protestant ethic) ซึ่งเป็น จริยธรรมแห่งการทำงาน (work ethic) ที่เกื้อหนุนต่อความเจริญทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ และเฉพาะอย่างยิ่งต่อการพัฒนาของทุนนิยมอุตสาหกรรม

จุดเด่นที่ต้องหมายไว้เป็นพิเศษ ก็คือ จริยธรรมแห่งการทำงาน (work ethic) นี้ เป็นหัวใจของลัทธิทุนนิยม (capitalism) ที่หนุนตะวันตกให้มานำโลกอยู่ในบัดนี้ โดยเป็นปัจจัยหลักที่หล่อหลอมนิสัยของนักทำงานผู้บากบั่นและสันโดษ หรือนักผลิตผู้ขยันและอดออม ซึ่งหนุนให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 และเป็นตราชูของการพัฒนาอุตสาหกรรมตลอดมา

ดังที่สังคมอเมริกันมีความภูมิใจในจริยธรรมแห่งการทำงานนี้ ว่าเป็นภูมิหลังแห่งการสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าและความสำเร็จในสังคมของตน


๒. ศาสนากับการล่าอาณานิคม

การแสวงอาณานิคมในยุคจักรวรรดิมุสลิม
ขยายแดนถึงไหน ศาสนาเข้าไปถึงนั่น


ภูมิหลังที่เกี่ยวกับความเจริญของอารยธรรมตะวันตก ซึ่งผูกพันอยู่กับศาสนาคริสต์ก็คือ การล่าอาณานิคม (colonization) ที่ได้กลายเป็นงานนโยบาย คือ ลัทธิอาณานิคม (colonialism)

การล่าอาณานิคมนั้นมีมาแต่โบราณ ถือกันว่า พวกฟีนิเชียน (Phoenicians) เป็นนักล่าอาณานิคมทางทะเลพวกแรก ตั้งแต่ ๑,๑๐๐ ปีก่อน ค.ศ.

ต่อด้วยพวกกรีกและมาลงท้ายด้วยพวกโรมัน ซึ่งเข้มแข็งขึ้นมาตั้งแต่ศตวรรษที่ ๒-๓ ก่อน ค.ศ. และในที่สุดเกือบทั่วทั้งยุโรปและตะวันออกกลางก็ได้ตกอยู่ใต้การปกครองของพวกโรมัน

ดังที่ทราบกันแล้วว่า จักรวรรดิโรมัน (Roman Empire) เกิดขึ้นประมาณ ๒๗ ปี ก่อน ค.ศ. โดยมีโรม (Rome) เป็นเมืองหลวง

ต่อมา ค.ศ.324 พระเจ้าคอนสแตนตินที่ ๑ (Constantine I หรือ Constantine the Great) ได้เลือกเมืองกรีกโบราณชื่อว่า บิแซนเทียม (Byzantium) แล้วสร้างขึ้นใหม่และเปลี่ยนชื่อเป็นคอนสแตนติโนเปิล (Constantinople หรือ โรมใหม่/ Nova Roma = New Rome; ปัจจุบัน คืออิสตันบูล/ Istanbul ในเตอรกี) สถาปนาเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิโรมัน และทรงเป็นจักรพรรดิโรมันพระองค์แรกที่นับถือคริสต์ศาสนา ทำให้ต่อมามิช้าศาสนาคริสต์ก็ได้เป็นศาสนาประจำชาติของจักรวรรดิโรมันใน ค.ศ.380

ต่อมาได้มีจักรพรรดิโองการห้ามนับถือศาสนาอื่นนอกจากศาสนาคริสต์ และเริ่มกำจัด (persecution) คนที่ไม่นับถือศาสนาคริสต์ ตั้งแต่หลัง ค.ศ.391 เป็นต้นมา

ครั้นถึง ค.ศ.395 จักรวรรดิโรมันได้แตกเป็น ๒ ภาค คือ จักรวรรดิบีแซนทีน (อ่านว่า บิแซนไทน์ หรือไบแซนทีน หรือไบแซนไทน์ ก็ได้ทั้งนั้น) หรือจักรวรรดิโรมันตะวันออก (Byzantine Empire หรือ Eastern Roman Empire) ที่คอนสแตนติโนเปิล กับจักรวรรดิโรมันตะวันตก (Western Roman Empire) ที่โรม

จนกระทั่งต่อมา เมื่อจักรวรรดิโรมันตะวันตกสลายใน ค.ศ.476 แล้ว คอนสแตนติโนเปิล ก็ยังคงเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิบีแซนทีน (Byzantine Empire) หรือจักรวรรดิโรมันตะวันออกสืบมา และนักประวัติศาสตร์ถือว่า ยุโรปเข้าสู่สมัยกลาง หรือยุคมืด แต่บัดนั้น

เมื่อจักรวรรดิโรมัน (ตะวันตก) ล่มสลาย เข้าสู่สมัยกลาง (Middle Ages) ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 แล้ว ก็ไม่มีประเทศใดในยุโรปมีกำลังเข้มแข็งพอที่จะตั้งอาณานิคมขึ้นได้

ระหว่างนั้น เมื่อถึงคริสต์ศตวรรษที่ 7 ศาสนาอิสลามซึ่งเกิดขึ้นใหม่ กำลังมีพลังแรงในการเผยแผ่ ก็เข้าสู่ยุคที่ชาวอาหรับเป็นนักล่าอาณานิคมเรื่อยมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 13

ยุคของศาสนาอิสลามนั้น นับแต่พระศาสดามูฮัมหมัดได้ตั้งศาสนาอิสลามขึ้นในดินแดนอาหรับ กำหนดด้วยเริ่มต้นฮิจเราะห์ศักราช (Hijrah) ใน ค.ศ.622

ครั้นพระศาสดามูฮัมหมัดสิ้นชีพใน ค.ศ.632 แล้ว พ่อตาของท่านคือ อาบูบากะร์ ได้ขึ้นเป็นกาหลิฟ (Caliph) องค์แรก ต่อจากนั้นการแผ่ขยายดินแดนของมุสลิมอาหรับก็เริ่มขึ้น ควบคู่ไปกับการต่อสู้กับจักรวรรดิบีแซนทีน และจักรวรรดิเปอร์เซีย

เพียงแค่ ค.ศ.656 ดินแดนของกาหลิฟ (Caliphate) ก็แผ่ไปตลอดทั่วคาบสมุทรอาหรับ ปาเลสไตน์ ซีเรีย อียิปต์ ลิเบีย เมโสโปเตเมีย กับหลายส่วนของอาร์เมเนีย และเปอร์เซีย


(มีต่อ ๒๕)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ก้อนดิน
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 07 ก.ค. 2004
ตอบ: 623

ตอบตอบเมื่อ: 12 มิ.ย.2007, 7:14 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ต่อมา ค.ศ.661 ศาสนาอิสลามได้แตกแยกออกเป็น ๒ สาขา คือ สุหนี่ (Sunnites) ที่เป็นส่วนใหญ่ กับ ชีอะห์ (Shiites) ที่เป็นข้างน้อย

หลังจากนั้น เมืองหลวงของกาหลิฟย้ายจากเมดินะ (Medina) ไปยังดามัสกัส (Damascus) และการแผ่ขยายดินแดนก็ดำเนินต่อไป ได้ตูนิเซียในปี 670 ขึ้นไปถึงปลายสุดด้านตะวันตกเฉียงเหนือของแอฟริกาเหนือ ใน ค.ศ.710 และด้านยุโรปก็ตีได้สเปน รุกเข้าไปไกลในฝรั่งเศส แต่ถูกตีกลับออกมาในปี 732

ส่วนทางทิศเหนือ สามารถเข้าล้อมคอนสแตนติโนเปิลได้บางครั้ง แต่ยังตีไม่แตก ด้านทิศตะวันออก ณ ค.ศ.711 ทัพอาหรับได้บุกไปถึงลุ่มน้ำสินธุ จดแดนอินเดียและจีน เข้าไปตั้งถิ่นฐานได้บางแห่งในแคว้นปัญจาบ

ต่อมา ค.ศ.750 กาหลิฟที่ดามัสกัสถูกสังหาร กาหลิฟวงศ์ใหม่ย้ายเมืองหลวงไปยังแบกแดด (Baghdad) งานแผ่ขยายดินแดนผ่อนเบาลง หันมาส่งเสริมศิลปวิทยา ทำให้ปราชญ์มุสลิมยุคนี้มีผลงานทางวรรณคดี ปรัชญา และศาสตร์ต่างๆ ก้าวหน้ากว่ายุโรปยุคมืดนั้นมาก

ระหว่างนั้น อาณาจักรมุสลิมเติร์ก พวกที่เรียกว่า เซลจูกส์ (Seljuks) ได้เริ่มเรืองอำนาจขึ้น ขณะที่มุสลิมอาหรับอ่อนกำลังลง

(ช่วงนี้ก็พอดีกับศาสนจักรคริสต์แตกกันครั้งใหญ่ ระหว่างนิกายออร์โธดอกซ์/Orthodox Church กับโรมันคาทอลิก/Roman Catholicism ใน ค.ศ.1054)

พอถึง ค.ศ. 1055 พวกเติร์กมุสลิมเซลจูกส์ (หัวหน้าเรียกว่าสุลต่าน) ก็เข้ายึดกรุงแบกแดดได้ เข้าคุ้มครองกาหลิฟอาหรับที่ค่อยๆ กลายเป็นเพียงหุ่นเชิด แล้วก็รบชนะพวกบีแซนทีน ใน ค.ศ.1071 อันเป็นเหตุปัจจัยอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดสงครามครูเสด, (Crusades) ระหว่างประเทศมุสลิมกับประเทศที่นับถือคริสต์ทั้งหลาย ยาวนานเกือบ 2 ศตวรรษ (ค.ศ.1096-1270)

ตำราฝรั่งบอกว่า ศาสนาคริสต์พบกับการเผยแผ่ของอิสลาม โดยใช้สงครามครูเสด มิใช่ใช้มิชชันนารี และแทบไม่เคยใช้ความเพียรพยายามในการสอนศาสนาแก่ชาวมุสลิมเลย ("Roman Catholicism," Britannica, 1997)

ในช่วงเวลาอันสำคัญนั้น เจงกิสข่าน (Genghis Khan) ได้นำทัพมงโกล แผ่อำนาจเข้าบุกจีน ยึดปักกิ่งได้ ใน ค.ศ.1215 จากนั้นก็นำทัพมุ่งตะวันตก ตีจักรวรรดิของพวกเติร์ก แถบอิรัก อิหร่าน และเตอร์กิสถานตะวันตกบางส่วน และรุกเข้าไปในรัสเซีย

เมื่อเจงกิสข่านสิ้นชีพ ในปี 1227 แล้ว ข่านคือกษัตริย์มงโกลที่เป็นลูกหลานของเจงกิสข่าน ได้แผ่ขยายอำนาจต่อไปอีก จนเข้ายึดและทำลายกรุงแบกแดดได้ใน ค.ศ.1258 จักรวรรดิมุสลิมก็ตกอยู่ใต้อำนาจของมงโกล ยกเว้นแต่อาณาจักรของพวกมามะลูกส์ (Mamelukes) ที่ยังสามารถรักษาอียิปต์และซีเรียไว้ได้

อย่างไรก็ตาม พวกมงโกลครองอำนาจอยู่ได้ไม่นานนัก เพียง ๑๐๐ ปีเศษ อาณาจักรก็ค่อยๆ แตกสลายไปเรื่อยๆ จนถึง ค.ศ.1480 ก็หมดอำนาจจากดินแดนทั้งหลายที่ไปยึดครอง

ทัพมุสลิมทะลวงตะวันตก ทะลุตะวันออก หันไปดูทางด้านอินเดีย ได้กล่าวแล้วว่าทัพอาหรับบุกถึงลุ่มน้ำสินธุตั้งแต่ ค.ศ.711 แม้จะยังบุกลึกกว่านั้นเข้าไปไม่ได้ แต่ก็มีการเดินทางค้าขายติดต่อกัน และการสังสรรค์ทางวัฒนธรรม

เมื่อเจงกิสข่านสิ้นชีพ ในปี 1227 แล้ว ข่านคือกษัตริย์มงโกลที่เป็นลูกหลานของเจงกิสข่าน ได้แผ่ขยายอำนาจต่อไปอีก จนเข้ายึดและทำลายกรุงแบกแดดได้ใน ค.ศ.1258 จักรวรรดิมุสลิมก็ตกอยู่ใต้อำนาจของมงโกล ยกเว้นแต่อาณาจักรของพวกมามะลูกส์ (Mamelukes) ที่ยังสามารถรักษาอียิปต์และซีเรียไว้ได้

อย่างไรก็ตาม พวกมงโกลครองอำนาจอยู่ได้ไม่นานนัก เพียง ๑๐๐ ปีเศษ อาณาจักรก็ค่อยๆ แตกสลายไปเรื่อยๆ จนถึง ค.ศ.1480 ก็หมดอำนาจจากดินแดนทั้งหลายที่ไปยึดครอง

ทัพมุสลิมทะลวงตะวันตก ทะลุตะวันออก หันไปดูทางด้านอินเดีย ได้กล่าวแล้วว่าทัพอาหรับบุกถึงลุ่มน้ำสินธุตั้งแต่ ค.ศ.711 แม้จะยังบุกลึกกว่านั้นเข้าไปไม่ได้ แต่ก็มีการเดินทางค้าขายติดต่อกัน และการสังสรรค์ทางวัฒนธรรม

โดยเฉพาะในคริสต์ศตวรรษ 9-10 ที่อินเดียมีมหาวิทยาลัยพุทธศาสนา เช่น นาลันทา รุ่งเรืองอยู่แล้ว ทำให้ชาวมุสลิมที่แบกแดดได้รับถ่ายทอดความรู้ด้านคณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ และวิทยาศาสตร์สาขาอื่นๆ จากอินเดีย อย่างที่กล่าวข้างต้นแล้วว่ายุคนี้ปราชญ์มุสลิมมีศิลปวิทยาก้าวหน้ากว่ายุโรปมาก

แม้แต่ตัวเลขอาระบิก (1 2 3 . . . 0) ที่ฝรั่งใช้และเผยแพร่ไปทั่วโลกเวลานี้ ก็เกิดขึ้นในอินเดียตั้งแต่ราว ๒๐๐ ปีก่อนค.ศ. เวลาผ่านมานานจนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 7-8 ชาวมุสลิมอาหรับจึงได้รับตัวเลขอินเดียไปใช้ แล้วจากนั้นชาวยุโรปก็นำไปใช้ต่อ โดยเข้าใจว่าเป็นของอาหรับ (จึงเรียกว่า "อาระบิก") เท่าที่พบใช้ครั้งแรกในเมืองฝรั่ง เมื่อ ค.ศ.976

ในช่วงค.ศ.1000 ชาวมุสลิมที่เข้ามาในอินเดียไม่ใช่เป็นพวกอาหรับอย่างยุคก่อน แต่เป็นพวกเตอร์กส์ อาฟข่าน เปอร์เซีย และมองโกล

การรุกรานครั้งใหญ่เริ่มขึ้นในช่วง ค.ศ.1001-1027 โดยมะหะหมุดแห่งฆาซนี (Mahmud of Ghazni) แม่ทัพมุสลิมเตอร์กส์จากอาฟกานิสถาน ซึ่งใช้วิธีทำลายล้างอย่างรุนแรง ทั้งฆ่าไม่เลือก เผา และปล้นทรัพย์ เขาสามารถผนวกแคว้นปัญจาบเข้าในอาณาจักรของตน

ครั้งนั้นคนฮินดูวรรณะต่ำ และชาวพุทธได้เปลี่ยนมาเป็นมุสลิมจำนวนมาก

แม่ทัพเตอร์กส์มุสลิมที่สืบอำนาจต่อมาได้รุกอินเดียลึกเข้ามาเรื่อยๆ จนถึง ค.ศ.1206 ก็ชนะตลอดจนสุดแดนภาคตะวันออกของอินเดีย ได้ครอบครองตั้งแต่ปัญจาบไปจนถึงแคว้นพิหาร (เทียบปัจจุบันถึงบังกลาเทศ) และสถาปนาอาณาจักรสุลต่านแห่งเดลี (Delhi Sultanate) ขึ้นเป็นรัฐมุสลิมแรกแห่งของอินเดีย (อยู่ในช่วงระยะเดียวกับที่เจงกิสข่านบุกตะวันตก)

การรุกรานของกองทัพเตอร์กส์มุสลิมช่วงสุดท้ายนี้ได้กวาดล้างพระพุทธศาสนาให้สูญสิ้นไปจากชมพูทวีป ด้วยการฆ่า ปล้นทรัพย์ บังคับให้เปลี่ยนศาสนา และโดยเฉพาะเผาทำลายศูนย์กลางใหญ่ๆ คือวัด และมหาวิทยาลัยพุทธศาสนาทั้งหลาย เช่น นาลันทา วิกรมศิลา เป็นต้น ในช่วง พ.ศ.๑๗๐๐ (ค.ศ.ช่วงใกล้ 1200)


(มีต่อ ๒๖)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ก้อนดิน
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 07 ก.ค. 2004
ตอบ: 623

ตอบตอบเมื่อ: 19 มิ.ย.2007, 1:12 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อาณาจักรสุลต่านแห่งเดลี ปกครองอินเดียสืบต่อกันมาชั่ว ๓๔ สุลต่าน ท่ามกลางความโหดเหี้ยมทารุณ การล้างผลาญชีวิต และการแย่งชิงอำนาจกัน

จนกระทั่งค.ศ.1526 แม่ทัพมุสลิมเชื้อสายเติร์กมงโกล จากเปอร์เซีย ก็ได้ตั้งราชวงศ์โมกุลอันยิ่งใหญ่ขึ้นในอินเดีย ซึ่งปกครองอินเดียมาอย่างยาวนานจนตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ และสิ้นสุดวงศ์ในค.ศ.1858

ย้อนกลับมาทางด้านตะวันตก เมื่ออาณาจักรมงโกลชั้นลูกหลานของเจงกิสข่านเริ่มเสื่อมอำนาจลงตั้งแต่ใกล้ค.ศ.1330 พวกเติร์กมุสลิมก็เริ่มมีอำนาจแข็งกล้าขึ้นมาแทนที่ ในช่วงค.ศ.1300 อุสมานที่ ๑ ได้ตั้งราชวงศ์ออตโตมานเติร์กขึ้น แล้วแย่งชิงเมืองน้อยใหญ่จากจักรวรรดิบีแซนทีน

ลูกหลานของอุสมานที่ ๑ นั้น แผ่ขยายดินแดนต่อมาจนถึงค.ศ.1453 ก็ทำลายจักรวรรดิบีแซนทีนลงได้ และยึดเอาเมืองคอน-สแตนติโนเปิลมาเป็นเมืองหลวงแห่งจักรวรรดิออตโตมาน (Ottoman Empire)

ฝรั่งมักถือว่า การสลายของจักรวรรดิบีแซนทีน หรือจักรวรรดิโรมันตะวันออก ใน ค.ศ.1453 นี้ เป็นจุดกำหนดการสิ้นสุดแห่งสมัยกลางของยุโรป (Middle Ages)

ต่อจากนั้น จักรวรรดิออตโตมานได้แผ่ขยายอำนาจขึ้นไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ เข้าไปในยุโรป ยึดครองยูโกสลาเวีย และฮังการีได้ สามารถมาปิดล้อมกรุงเวียนนาถึง ๒ ครั้ง คือ ใน ค.ศ. 1529 และ ค.ศ.1683

หลังจากนั้น จักรวรรดิออตโตมานได้เสื่อมลงเรื่อยมา โดยเฉพาะในช่วงใกล้จะสิ้นคริสต์ศตวรรษ 19 ได้สมญาว่าเป็น "บุรุษซมโรคแห่งยุโรป" (Sick Man of Europe) จนกระทั่งสิ้นสลายลงหลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ กลายเป็นสาธารณรัฐเตอรกี ใน ค.ศ.1923

การเรืองอำนาจขึ้นมาของจักรวรรดิมุสลิมเติร์ก เป็นอุปสรรคกีดขวางการแผ่ขยายดินแดนของประเทศตะวันตก เป็นเหตุให้ประเทศตะวันตกเหล่านั้น เริ่มแต่สเปนและโปรตุเกส ต้องหันไปแสวงหาอาณานิคมและเผยแผ่ศาสนาด้วยการเดินทัพทางทะเล รวมทั้งไปค้นพบโลกใหม่ คืออเมริกา

ดินแดนที่ทัพมุสลิมยึดครองได้ในประวัติศาสตร์นั้น กว้างขวางยิ่งใหญ่ ตั้งแต่สเปนไปจนถึงอินเดียและจดแดนจีน


ลัทธิอาณานิคมของประเทศตะวันตก
เผยแผ่ศาสนา พร้อมกับหาเมืองขึ้น


ยุคอาณานิคมสมัยใหม่ (modern colonialism) เริ่มต้นเมื่อใกล้จะขึ้นสู่คริสต์ศตวรรษที่ 16

การล่าอาณานิคมยุคนี้ เป็นการแผ่อำนาจของประเทศตะวันตก ซึ่งนับถือคริสต์ศาสนา

ฝรั่งเองพูดกันมาว่า การแสวงหาอาณานิคมมีเป้าหมายใหญ่ ๓ ประการ ดังที่พูดเป็นคำชุดว่า เพื่อ "...gold, God and glory"

พูดเป็นไทยเรียงลำดับใหม่ว่า เพื่อ แผ่ศาสนา-หาความมั่งคั่ง-ครองความยิ่งใหญ่

ยุคอาณานิคมของประเทศคริสต์เริ่มขึ้นในช่วงที่จักรวรรดิออตโตมาน ของเติร์กมุสลิมกำลังเริ่มจะเสื่อมอำนาจ แต่กระนั้นก็ยังมีกำลังความยิ่งใหญ่เพียงพอที่จะกีดกั้นไม่ให้ประเทศตะวันตกฝ่าเข้าไป จึงเป็นเหตุให้ประเทศตะวันตกเหล่านั้นต้องออกล่าเมืองขึ้นโดยทางทะเล ดังกล่าวแล้ว

ตอนแรกสเปนกับโปรตุเกสเป็นเจ้าใหญ่ในการล่าอาณานิคมก่อน แต่ก็ขัดแย้งกัน จึงปรากฏว่าใน ค.ศ.1493 สันตะปาปา อเล็กซานเดอร์ ที่ ๖ (Pope Alexander VI) ได้ประกาศโองการกำหนดเส้นขีดจากขั้วโลกเหนือถึงขั้วโลกใต้ แบ่งโลกนอกอาณาจักรคริสต์ออกเป็น ๒ ซีก

ทั้งนี้ให้ถือว่า ดินแดนใดก็ตามที่ไม่มีกษัตริย์คริสต์อื่นปกครอง ถ้าอยู่ในซีกตะวันตก ให้สเปนมีสิทธิครอบครองได้ทั้งหมด ถ้าอยู่ในซีกตะวันออก ให้โปรตุเกสเข้าครอบครองได้ทั้งหมด แต่กษัตริย์โปรตุเกสไม่พอพระทัย

ต่อมา ทั้งสองฝ่ายได้มาประชุมกันที่เมืองตอร์เดซิลยาส ในค.ศ.1494 ขอขยับเส้นแบ่งออกไปจนตกลงกันได้ทั้งสองฝ่าย และเซ็นสัญญาตอร์เดซิลยาส (Treaty of Tordesillas) ซึ่งสันตะปาปาจูเลียสที่ ๒ (Pope Julius II) ประกาศโองการรับรองในค.ศ.1506

ต่อมาในค.ศ.1514 สันตะปาปาลีโอที่ ๑๐ (Pope Leo X) ก็ได้ประกาศโองการห้ามมิให้ประเทศอื่นใดเข้ายุ่งเกี่ยวกับดินแดนในครอบครองของโปรตุเกส

แต่เวลานั้น อำนาจของสันตะปาปาเริ่มเสื่อมลงแล้ว ดังที่ยุคปฏิรูปจะเริ่มขึ้นใน ค.ศ.1517 ประเทศมหาอำนาจอื่นในยุโรป โดยเฉพาะที่เป็นโปรเตสแตนต์ก็มิได้ยอมเชื่อฟัง

ต่อมา อังกฤษและฮอลันดาก็ออกล่าอาณานิคมบ้าง พอถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 ก็คุกคามอำนาจของโปรตุเกสมากขึ้น จนในที่สุดโปรตุเกสก็หมดอำนาจไป ประเทศอื่นๆ เช่นฝรั่งเศสก็ออกล่าอาณานิคมกันมากขึ้นด้วย

เมื่อเวลาผ่านไป แม้สเปนจะมีดินแดนอยู่มากในอเมริกาใต้ แต่ประเทศผู้ล่าอาณานิคมที่เด่นและแข่งอำนาจกันมาก ก็คือ อังกฤษ กับฝรั่งเศส และเมื่อถึงช่วงท้ายสุด แม้ว่าสหรัฐอเมริกาจะก้าวเข้ามาสู่วงการล่าอาณานิคมด้วยแล้ว แต่ประเทศที่ทรงอำนาจในลัทธิอาณานิคมมากที่สุด ก็คืออังกฤษ จนหมดยุคอาณานิคมไปไม่ช้าหลังสิ้นสงครามโลกครั้งที่ ๒

ในการล่าอาณานิคม นอกจากวัตถุประสงค์ในด้านการค้าและการเมืองแล้ว ก็พ่วงงานเผยแผ่ศาสนาคริสต์ไปด้วย บาทหลวง หรือมิชชันนารี หรือนักสอนศาสนาคริสต์ (missionary) จึงพัวพันกับงานล่าอาณานิคมมาโดยตลอด

บางทีนักสอนศาสนาคริสต์ก็เข้าไปก่อน และช่วยปูทางให้แก่การตั้งอาณานิคม บางแห่งงานทั้งสองอย่างก็ควบคู่กันไป แต่ก็มีบ้างในบางแห่งที่นักสอนศาสนาช่วยคุ้มครอง ไม่ให้นักล่าอาณานิคมหรือฝรั่งที่ปกครอง ไปข่มเหงรังแกชาวพื้นเมือง

สำหรับในถิ่นที่ต้องเกี่ยวข้องกับศาสนาอิสลาม โดยเฉพาะในแอฟริกา การล่าอาณานิคมของฝรั่ง ก็หมายถึงการต้องเผชิญกับญิฮาด คือสงครามศักดิ์สิทธิ์ (Jihad หรือ holy war) ของฝ่ายมุสลิมด้วย


(มีต่อ ๒๗)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ก้อนดิน
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 07 ก.ค. 2004
ตอบ: 623

ตอบตอบเมื่อ: 19 มิ.ย.2007, 1:16 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ประวัติศาสตร์ที่บันทึกไว้ บางแห่งก็ว่า ลัทธิอาณานิคมของฝรั่ง ได้ช่วยคุ้มครองประชาชนไว้มิให้ต้องถูกฝ่ายมุสลิมบังคับด้วยญิฮาดให้ต้องไปถือศาสนาอิสลาม แต่บางแห่งก็ว่า ญิฮาดได้ช่วยให้ชาวมุสลิมต่อสู้ป้องกันลัทธิอาณานิคมของฝรั่ง

ถ้าพูดรวมๆ ก็คงเป็นอย่างที่ฝรั่งเขียนไว้ ("Roman Catholicism," Britannica,1997) ว่า

เป็นการยากที่คณะนักสอนศาสนาโรมันคาทอลิก จะแยกตนเองออกจากลัทธิอาณานิคม และนักสอนศาสนาจำนวนมากก็ไม่ต้องการจะแยกด้วย


การเมือง-การค้า-แผ่ศาสนา-หาอาณานิคม
ผลกระทบต่อญี่ปุ่น


ประเทศญี่ปุ่นเป็นตัวอย่างสำคัญที่จะให้เห็นว่า บทบาทของนักเผยแผ่ศาสนาคริสต์ มีผลรุนแรงทางการเมือง และทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์มากมายเพียงใด

ในช่วงกลางถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 เมื่อโปรตุเกสและสเปนเข้าไปค้าขายที่ญี่ปุ่น นักสอนศาสนาก็เข้าไปกับเรือสินค้าด้วย

ตอนนั้นพวกขุนนางและทหารที่อยากได้สินค้าและยุทโธปกรณ์ของฝรั่ง ก็พากันเอาอกเอาใจคณะนักสอนศาสนาและช่วยปกป้องคุ้มครองศาสนาคริสต์ (ทั้งนี้เพราะเรือสินค้าของฝรั่งบางทีก็วางท่าออกมาว่าจะไม่ยอมเข้าจอดในเมืองท่าที่ขุนศึกไม่แสดงไมตรีสนับสนุนงานของมิชชันนารี)

ที่สำคัญยิ่งก็คือ ในญี่ปุ่นยุคนั้น พระสงฆ์นิกายสำคัญในพุทธศาสนามหายานได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเมือง มีอิทธิพลมากถึงกับมีกองทหารของตนเอง และท้าทายอำนาจของขุนศึก

ในที่สุดขุนศึกโอดะ โนบุนากะ (Oda Nobunaga) ได้ปราบปรามทำลายวัดเอนริวกุ (Enryaku) ศูนย์กลางใหญ่ของนิกายเทนไดลงได้ และใช้เวลาสู้รบถึงกว่า ๑๐ ปี จึงทำให้วัดฮองอัน (Hongan) ของนิกายอิกโก (Ikko) ยอมแพ้

ขุนศึกโนบุนากะได้ยึดทรัพย์สินของวัดใหญ่นั้น และเพื่อตัดทอนอิทธิพลทางการเมืองของวัดพุทธศาสนา เขาได้หันมาส่งเสริมการเผยแผ่คริสต์ศาสนาในญี่ปุ่น

อย่างไรก็ตาม ต่อมาไม่นาน ฝ่ายญี่ปุ่นเกิดล่วงรู้ขึ้นมาว่านักสอนศาสนาคริสต์ทำงานช่วยการยึดครองอาณานิคม ดังที่ฝรั่งเขียนไว้ว่า ("Tokugawa period," Britannica, 1997)

เมื่อเกิดรู้ขึ้นมาว่า การแผ่ขยายอาณานิคมของสเปนและโปรตุเกสในทวีปเอเชีย สำเร็จได้ด้วยอาศัยผลงานของพวกมิชชันนารี เหล่าโชกุนแห่งยุคโตกุกาวะ (Tokugawa) ก็จึงมองพวกมิชชันนารีว่าเป็นภัยคุกคามต่อการปกครองของตน

การที่พวกขุนศึกญี่ปุ่นเกิดรู้ขึ้นมาได้นี้ คงจะเป็นเพราะพวกประเทศนักล่าอาณานิคม ซึ่งนับถือศาสนาคริสต์ต่างนิกายกัน มีผลประโยชน์ขัดแย้งกันและอิจฉาริษยากันเอง จึงลอบบอกแก่ผู้ปกครองบ้านเมืองของญี่ปุ่น ดังความว่า

...งานสอนศาสนาคริสต์ถูกสั่งห้ามทั้งหมด เมื่อพวกโปรเตสแตนต์ชาวอังกฤษและชาวฮอลันดา เตือนรัฐบาล (ญี่ปุ่น) ให้รู้ถึงความที่พวกคาทอลิกชาวสเปน และชาวโปรตุเกสมีใจมุ่งหมายอยากได้ดินแดน

แต่มีเอกสารของญี่ปุ่นเล่าไว้อย่างอื่นอีก ซึ่งน่าจะเป็นได้ว่า ทางการของญี่ปุ่นคงจะได้รอดูเพื่อสืบสาวเรื่องราวจนแน่ใจ

ดังมีเรื่องที่คนญี่ปุ่นเล่าว่า ครั้งหนึ่ง มีนายเรือสเปนคนหนึ่ง ต้องการจะให้ชาวญี่ปุ่นยำเกรงอำนาจแห่งประเทศของตน ได้พูดว่า "พระมหากษัตริย์คาทอลิกทรงส่งพระคุณเจ้าเหล่านี้มาเผยแพร่ศาสนา เพื่อเปลี่ยนศาสนาชาวเมืองเสียก่อน แล้วจึงจะร่วมมือกับนายทัพของพระมหากษัตริย์เจ้า ช่วยให้ยึดครองแผ่นดินได้ง่ายในภายหลัง"

ขุนศึกที่ครองอำนาจสืบต่อมาหลังจากโนบุนากะ ได้หันกลับไปเป็นปฏิปักษ์ต่อนักสอนศาสนาคริสต์

ต่อมาก็ได้สั่งห้ามการสอนศาสนาคริสต์และถึงกับทำการกำจัดกวาดล้าง (persecution) อย่างรุนแรง เพื่อถอนรากถอนโคนศาสนาคริสต์ออกจากประเทศญี่ปุ่น และในที่สุดก็ขับไล่ชาวตะวันตกออกจากประเทศ และห้ามคนญี่ปุ่นเดินทางออกนอกประเทศ หรือกลับเข้ามา

จากนั้นญี่ปุ่นก็เข้าสู่นโยบายปิดประเทศ (policy of national seclusion) ตั้งแต่ ค.ศ.1633 จนกระทั่งสหรัฐอเมริกาส่งนายพลเปอร์รี (Commodore Matthew C. Perry) นำเรือรบมาบังคับให้ญี่ปุ่นเปิดประเทศค้าขายติดต่อกับตะวันตกอีก ใน ค.ศ.1853-1854

ช่วงเวลาที่ญี่ปุ่นปิดประเทศอย่างยาวนานเกือบ ๒๕๐ ปี ประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า เป็นระยะเวลาแห่งความสงบสุขมั่นคง และมีความเจริญทางเศรษฐกิจเป็นอย่างยิ่ง

อย่างไรก็ตาม เมื่อถูกเรือรบอเมริกันบังคับให้เปิดประเทศ ญี่ปุ่นก็ได้รู้ตัวว่าประเทศของตนล้าหลังตะวันตกในด้านเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก จนไม่มีกำลังจะขัดขืนการขู่บังคับได้

จากนั้นญี่ปุ่นก็เร่งรัดปรับปรุงประเทศชาติให้เจริญอย่างสมัยใหม่แบบตะวันตก จนประสบความสำเร็จภายในเวลาอันรวดเร็ว


ระบบอาณานิคม-จักรวรรดินิยม
ป้ายชื่อปลดไป เนื้อในยังอยู่ ?


เมื่อเข้าสู่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) ตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 แล้ว ก็ได้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นอย่างมากมายในระบบการครอบครองอาณานิคม

ก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรมนั้น ประเทศเจ้าอาณานิคมจะมุ่งครอบครองดินแดนที่มีโลหะที่มีค่า และสินค้าท้องถิ่นที่ต้องการตลอดจนทาส คนผิวขาวจึงเข้าตั้งถิ่นฐานอยู่เพียงตามแนวชายทะเล และเกาะเล็กเกาะน้อย พร้อมทั้งสร้างเมืองท่า เมืองป้อม ศูนย์รวมสินค้า และตั้งกองทหารที่จะพิทักษ์ผลประโยชน์ของตน

แต่เมื่อเกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมแล้ว เกิดลัทธิทุนนิยม อุตสาหกรรม (industrial capitalism) ที่มีการผลิตจำนวนมหึมา ซึ่งต้องการวัตถุดิบในปริมาณมหาศาล และตลาดใหญ่ที่จะระบายสินค้า กับทั้งมีอุปกรณ์เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เพิ่มพลังอำนาจในการควบคุมบังคับและจัดการ

วิถีชีวิตและระบบสังคมของอาณานิคมก็เปลี่ยนไป


(มีต่อ ๒๘)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ก้อนดิน
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 07 ก.ค. 2004
ตอบ: 623

ตอบตอบเมื่อ: 21 มิ.ย.2007, 6:40 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

โดยสรุป คือ ประเทศอุตสาหกรรมเป็นผู้ผลิตและขายผลิตภัณฑ์สินค้า

ประเทศอาณานิคม (หรือตามเป้าคือโลกส่วนที่เหลือทั้งหมด)

ก) เป็นแหล่งป้อนวัตถุดิบ และทรัพยากร

ข) เป็นแหล่งจัดส่งสะเบียงอาหาร (สำหรับชุมชนเมืองที่เกิดขึ้นในระบบอุตสาหกรรม)

ค) เป็นตลาดระบายสินค้า (พร้อมกันนั้นก็หาทางปิดกั้นชาวพื้นเมือง หรือชาวอาณานิคม ไม่ให้ผลิตและส่งสินค้าออกมาแข่ง เว้นแต่จะเป็นผู้ผลิตขั้นต้นให้แก่ประเทศเจ้าอาณานิคม)

สภาพเช่นนี้กลายเป็นสาระของความเป็นอาณานิคมสมัยใหม่ ส่วนอำนาจการเมืองและการทหารก็มาเป็นหลักประกันที่จะคุมให้ระบบความสัมพันธ์เช่นนี้ดำเนินไป

พร้อมกันนี้ พลังทางด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่ ก็ได้เป็นหัวใจของการขยายดินแดน โดยทำให้พลเมืองของประเทศเจ้าอาณานิคมสามารถบุกรุกตั้งถิ่นฐานลึกเข้าไปๆ ในผืนแผ่นดิน

กล่าวคือ มีอาวุธยุทโธปกรณ์สมัยใหม่ที่เหนือกว่า ซึ่งสามารถบังคับชนเจ้าถิ่นเดิมที่มีจำนวนมากกว่าให้ต้องยอมจำนนและสนองวัตถุประสงค์ของตน และมีเครื่องมือขนส่งสื่อสารที่ทำให้สามารถแจ้งข่าวและส่งกำลังทหารและสินค้าได้ครั้งละมากมายและรวดเร็ว โดยเฉพาะรถไฟ และเรือกลไฟ

เพราะฉะนั้น ตั้งแต่เข้าสู่ยุคทุนนิยมอุตสาหกรรมแล้ว การขยายดินแดนผนวกอาณานิคมใหม่ ก็ยิ่งก้าวไปอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดผลต่อชนพื้นเมือง ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่างผสมกัน คือ

๑. กำจัดกวาดล้างชนพื้นเมืองให้หมดไป เพื่อให้ชนเจ้าอาณานิคมเข้าอยู่แทนที่ โดยฆ่าหรือบังคับให้ออกไปอยู่ในเขตสงวนที่จัดให้

๒. ปราบปรามชนเจ้าถิ่นให้ยอมอยู่ใต้อำนาจ แล้วจัดสรรดัดแปลงสังคมถิ่นเดิมนั้นใหม่ ให้สนองวัตถุประสงค์ของประเทศเจ้าอาณานิคม

สำหรับในทวีปอเมริกาเหนือและใต้นั้น มีข้อสังเกตว่า ในการเข้าไปตั้งถิ่นฐานของฝรั่ง พวกสเปนและโปรตุเกสมักใช้วิธีเข้าอยู่ผสมกลมกลืน และดูดกลืนชนเจ้าถิ่นเข้ามาในสังคมของตน

แต่พวกอังกฤษและฝรั่งเศสมักใช้วิธีตั้งอาณานิคมของพวกตนล้วนๆ โดยกำจัดหรือขับไล่ย้ายคนพื้นเมืองเดิมออกไป พร้อมกับการขยายดินแดนผนวกอาณานิคมใหม่อย่างขนานใหญ่นี้ ประเทศเจ้าอาณานิคมทั้งหลายก็ยิ่งขัดแย้งแข่งขันแย่งชิงอำนาจกันมากขึ้น เพื่อหาวัตถุดิบและตลาดที่ระบายสินค้า

ส่วนการถือว่าคนพื้นเมืองเป็นคนป่า คนอนารยะ เป็นบาร์เบเรียน หรือคนล้าหลัง ที่จะต้องทำให้ศิวิไลซ์ขึ้นอย่างชาวตะวันตก และการที่จะเปลี่ยนศาสนาให้คนพื้นเมืองหันมานับถือคริสต์นั้น ก็ดำเนินสืบต่อมาเหมือนเดิม โดยเฉพาะในยุคที่ศาสนากับอำนาจการเมืองรวมอยู่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ก็อาจจะใช้วิธีบังคับให้นับถือ

และมีการลงโทษรุนแรงแก่ผู้ขัดขืน

ขอยกตัวอย่าง เมื่อสเปนเข้ายึดครองนิวเม็กซิโก มิชชันนารีได้บังคับให้ชนเจ้าถิ่นเดิม คือ พวกอินเดียนแดงเผ่าพเวบโล (Pueblo Indians) นับถือศาสนาคริสต์แบบคาทอลิก พวกมิชชันนารีได้เผาวัตถุเคารพบูชาเดิมของชนเผ่านี้เสีย ชาวอินเดียนแดงถูกจับขึ้นศาลสเปน และลงโทษหนัก เช่น แขวนคอ ตัดมือตัดเท้า หรือให้เป็นทาส

พวกพเวบโล ซึ่งตามปกติเป็นเผ่าที่รักสงบ ได้ก่อกำเริบหลายหน จนในที่สุดก็เกิดเป็นการกบฏใหญ่ที่อินเดียนแดงชนะใน ค.ศ.1680 พวกสเปนตายไป ๔๐๐ คน รวมทั้งบาทหลวง ๒๑ คน และที่เหลือต้องหนีออกไป แต่ในที่สุด พวกสเปนก็ตีกลับจนเข้ามาปกครองได้อีกทั้งหมดใน ค.ศ.1696

อย่างไรก็ตาม บาทหลวงและนักสอนศาสนาจำนวนมาก แม้จะเป็นส่วนร่วมในการขยายอาณานิคม และทำการต่างๆ ไปเพราะศรัทธาดิ่งแบบของเขา แต่โดยส่วนตัวก็ได้บำเพ็ญประโยชน์โดยอาศัยวิทยาการใหม่ๆ ของตะวันตก เช่น การแพทย์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มาเป็นเครื่องมือในการชักนำคนพื้นเมืองให้หันมานับถือศาสนาคริสต์

จากการขยายดินแดนผนวกอาณานิคมที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในยุคต่อจากปฏิวัติอุตสาหกรรม ตำราฝรั่งเองว่า ช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ถึงต้นศตวรรษที่ 20 กลายเป็นยุคจักรวรรดินิยมสมัยใหม่

ในยุคนี้ ดินแดนใหม่ที่ถูกยึดครองได้เพิ่มขึ้นในอัตราความเร็ว ๓ เท่าของยุคก่อน (๗๖ ปีแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ยึดครองดินแดนเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ ๘๓,๐๐๐ ตร.ไมล์ แต่ในช่วงปลายทศวรรษ 1870 ถึงสงครามโลกครั้งที่ ๑ (ค.ศ.1918) เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ ๒๔๐,๐๐๐ ตร.ไมล์)

ปรากฏว่า ใน ค.ศ.1914 (ปีที่เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๑) ดินแดนที่เป็นอาณานิคมของประเทศตะวันตก ครอบคลุมพื้นที่ในโลกนี้ ๘๕ เปอร์เซ็นต์ และก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ ประชากร ๑ ใน ๓ ของโลก อยู่ในดินแดนประเภทเมืองขึ้น หรืออาณานิคม

หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ สิ้นสุดแล้วระยะหนึ่ง แม้ว่ายุคแห่งอาณานิคมจะถือว่าสิ้นสุดไปแล้ว และจักรวรรดินิยมยุคใหม่ (new imperialism) จะได้จบไปแล้ว แต่ก็มีผู้ที่เห็นว่า เวลานี้ โลกก็ยังมีระบบการครอบงำกัน โดยประเทศที่พัฒนาแล้วใช้นโยบายเศรษฐกิจควบคุมประเทศที่กำลังพัฒนา ดังที่ได้เกิดมีคำว่า "จักรวรรดินิยมแบบใหม่" (neo-imperialism)

ใน ค.ศ.1953 วารสาร The Economic History Review ได้ลงพิมพ์บทความที่มีชื่อเสียง ชื่อ "จักรวรรดินิยมแห่งการค้าเสรี" (The imperialism of free trade) ซึ่งมีคำเกิดขึ้นใหม่ว่า "จักรวรรดินิยมอย่างไม่เป็นทางการ" หรือ "จักรวรรดินิยมนอกแบบ" (informal imperialism) เช่น การที่ประเทศใหญ่ดำเนินการควบคุมโดยอ้อมในรูปแบบต่างๆ ต่อสังคมใต้อาณัติของตน ด้วยวิธีการทางเศรษฐกิจ

ถึงแม้จะมีผู้วิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่ชัดเจน แต่คำที่ว่านี้ก็ได้รับความนิยมดังขึ้นมาพอสมควร

เพราะอาจจะแสดงให้เห็นสภาพความจริงของโลกที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน


(มีต่อ ๒๙)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ก้อนดิน
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 07 ก.ค. 2004
ตอบ: 623

ตอบตอบเมื่อ: 26 มิ.ย.2007, 8:37 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๓. โลกทัศน์ที่นำสู่โลกาภิวัตน์

วิทยาศาสตร์ก้าวขึ้นมานำหน้า
สู่โลกทัศน์ใหม่ ที่ศาสนาหันมาแอบอิง


ขอย้อนกลับไปสู่ช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งเป็นระยะเวลาที่กระแสนิยมวิทยาศาสตร์กำลังขึ้นสูง สืบเนื่องเรื่อยมาตั้งแต่ยุคคืนชีพ

ครั้นเมื่อเกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) ขึ้นแล้ว เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มากับยุคอุตสาหกรรม ได้ทำให้ผู้คนมีชีวิตที่พรั่งพร้อมสะดวกสบาย และมีอำนาจจัดการกับสิ่งแวดล้อมอย่างมากมาย รวมทั้งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในระบบอาณานิคม อย่างที่กล่าวแล้ว

แต่มิใช่แค่นั้น การมองเห็นความหวังที่จะนำเอาความรู้วิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการสร้างความก้าวหน้าของอุตสาหกรรม ได้ทำให้ประชาชนทั่วไปเพิ่มความสนใจใฝ่นิยมวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้นไปอีก

ความนิยมและตื่นตัวทางวิทยาศาสตร์ที่เพิ่มมากขึ้นนี้ ทำให้คริสต์ศตวรรษที่ 18 ได้ชื่อว่าเป็นยุคพุทธิปัญญา (Enlightenment) หรือยุคแห่งเหตุผล (Age of Reason) และพร้อมกันนั้น คนทั้งหลายก็พากันคิดว่าวิทยาศาสตร์นั้นจะนำพามนุษย์ไปสู่ความเจริญก้าวหน้าอย่างไม่มีที่สิ้นสุด และจะเป็นความก้าวหน้าที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

นับแต่นั้นมา คติแห่งความก้าวหน้า (idea of progress) หรือคติแห่งความก้าวหน้าที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้ (idea of inevitable progress) ก็เด่นขึ้นมา จนกลายเป็นแนวคิดนำที่ครอบงำอยู่เหนือกระแสการพัฒนาอารยธรรมตะวันตกเรื่อยมา จนถึงยุคปัจจุบัน โดยมีแนวคิดที่มุ่งพิชิตธรรมชาติ (conquest of nature หรือ dominion over nature หรือ mastery of/over nature) แฝงหนุนเป็นคู่แฝดกันมาโดยตลอด

ในวงวิชาการ กระแสนิยมวิทยาศาสตร์ได้ทำให้วิชาการต่างๆ พยายามปรับตัวให้ได้รับความเชื่อถือ โดยนำเอาวิธีวิทยาศาสตร์ (scientific method) เข้าไปใช้ และในศตวรรษที่ 18 นี้เอง วิชาสังคมศาสตร์ โดยเฉพาะเศรษฐศาสตร์และสังคมวิทยา ก็ได้เริ่มถือกำเนิดขึ้น

ความเจริญทางวิทยาศาสตร์ได้ก่อให้เกิดผลสำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ ทำให้มนุษย์ชาวตะวันตกมองโลกและชีวิตหรือมองสิ่งทั้งหลายด้วยความเข้าใจอย่างใหม่ โดยมีโลกทัศน์แบบจักรกล (mechanistic view)

โลกทัศน์แบบจักรกลนี้ เริ่มขึ้นตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 จากอิทธิพลความคิดของเดคาร์ตส์ (Descartes, 1596-1650) และปรับแก้ใหม่ตามแนวคิดของนิวตัน (Newton, 1642-1727)

นิวตันนี้ได้เป็นต้นสายความคิดแบบแบ่งซอยหรือแยกส่วน ที่เรียกว่า reductionist view หรือเรียกสั้นๆ ว่า reductionism ด้วย

โลกทัศน์วิทยาศาสตร์แบบจักรกล และแนวคิดแยกส่วนนี้ มองโลกหรือสิ่งทั้งหลาย ตลอดจนแม้แต่ชีวิตจิตใจมนุษย์ ในเชิงวัตถุ และแบบคณิตศาสตร์

โดยเห็นว่า สิ่งทั้งหลายและความเป็นไปหรือปรากฏการณ์ต่างๆ เกิดจากองค์ประกอบ หรือชิ้นส่วนทางวัตถุเล็กน้อยย่อยลงไปๆ เข้ามาสัมพันธ์กันอย่างมีกฎเกณฑ์ในเชิงเหตุผลอย่างเป็นระเบียบ

โลกทัศน์แบบจักรกล และแนวคิดแยกส่วนนี้ ได้เป็นสายความคิดหลักที่ครอบงำอารยธรรมตะวันตก และแผ่ไปครอบงำโลกมายาวนานเกือบ ๓๐๐ ปี

ในยุคพุทธิปัญญา (Enlightenment) แห่งคริสต์ศตวรรษที่ 18 นี้ ความขัดแย้งและเป็นปฏิปักษ์ต่อศาสนาคริสต์ได้ผ่อนเบาลงบ้าง เนื่องจากนักวิทยาศาสตร์คนสำคัญ โดยเฉพาะนิวตันเป็นคนมีศรัทธาในศาสนาคริสต์ และได้อธิบายความคิดทางวิทยาศาสตร์ของเขา ในเชิงประสานสังเคราะห์ โดยแสดงความจริงทางวิทยาศาสตร์ ชนิดที่เปิดช่องให้องค์พระเป็นเจ้าสามารถมีบทบาทได้ ("...a new synthesis in which truth is revealed and God was preserved."- "The History of Science," Britannica, 1997)

ภาวการณ์นี้ มีผู้เรียกว่าเป็นการพักรบกับฝ่ายศาสนา (a truce with men of religion - "European History and Culture," Britannica, 1997)

อย่างไรก็ตาม ฝ่ายศาสนาคริสต์ก็มิได้พอใจจริง เพราะเมื่อว่าโดยสาระ แนวคิดวิทยาศาสตร์นี้ก็นำไปสู่วัตถุนิยมและลัทธิอเทวนิยม ความขัดแย้งจึงดำเนินต่อมา

โดยเฉพาะเมื่อ ดาร์วิน (Charles Darwin) ประกาศทฤษฎีวิวัฒนาการ (Theory of Evolution) ในค.ศ.1858 ได้ก่อความกระทบกระเทือนแก่ศาสนาคริสต์เป็นอย่างยิ่ง

วิทยาศาสตร์ได้เจริญก้าวหน้าแตกสาขาออกไปอย่างรวดเร็ว พร้อมกับการที่ศาสนาคริสต์เสื่อมอิทธิพลลงโดยทั่วไป

เมื่อถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 นีตเช่ นักปรัชญาชาวเยอรมัน (Friedrich Nietzsche, 1844-1900) ก็ได้ประกาศว่า "พระเจ้าตายแล้ว" ("God is dead." เช่นคำ "Philosophical Anthropology" และ "Friedrich Nietzsche," Britannica, 1997)

ช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ความขัดแย้งระหว่างศาสนาคริสต์กับวิทยาศาสตร์ได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ (เช่น "Religion," Infopedia, 1994) และเนื่องจากวิทยาศาสตร์กำลังเฟื่องฟูก้าวหน้ามาก ผู้คนก็ยิ่งเหินห่างออกไปจากศาสนาคริสต์ จนในประเทศตะวันตกเอง ศาสนาคริสต์มีอิทธิพลเหลือน้อยอย่างยิ่ง และไม่ได้รับความสนใจ

ต่อมาเหตุการณ์ได้กลับกลายเป็นว่า วงการศาสนาคริสต์ได้หันมาตีความคำสอนของตนให้เข้ากับวิทยาศาสตร์ หรือปรับความหมายให้สอดคล้องกับศาสตร์สมัยใหม่ (เช่น หนุนแนวคิดพิชิตธรรมชาติ และแนวคิดดาร์วินเชิงสังคม เป็นต้น) ตลอดจนนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปใช้และไปอ้างในการดำเนินงานเผยแผ่ศาสนาคริสต์ (เช่น การอ้างเรื่องสุริยคราสในภาคเหนือของประเทศไทย และการใช้ความรู้และเครื่องมือทางแพทย์สมัยใหม่มารักษาคนเจ็บไข้ในประเทศที่ล้าหลังเป็นต้น)

นักเผยแพร่ศาสนาคริสต์ประสานตัวเข้ากับแนวทางของยุคใหม่ แม้กระทั่งอาศัยแหล่งทุนจากประเทศของตนซึ่งเป็นเจ้าอาณานิคมที่ร่ำรวยกว่า มาให้ความช่วยเหลือทางด้านทรัพย์สินเงินทองและความเป็นอยู่แก่ชาวบ้าน โดยเฉพาะคนที่ยากจน เป็นเครื่องชักจูงให้หันไปนับถือศาสนาคริสต์ จนเป็นที่น่าสงสัยว่า คนหันไปยอมรับนับถือเพราะเลื่อมใสเครื่องมือเครื่องใช้ทางเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ตลอดจนผลประโยชน์ มากกว่าจะเลื่อมใสคำสอนของศาสนา

(การใช้ผลประโยชน์หรืออามิสเป็นเครื่องจูงใจให้คนหันมานับถือศาสนานี้ ตามหลักการถือว่าไม่ชอบธรรม และในบางประเทศถือว่าเป็นความผิดด้วย)


วิทยาศาสตร์-อุตสาหกรรม
มาตรฐานวัดความเจริญก้าวหน้าของโลกยุคใหม่


ดังได้กล่าวแล้วว่า การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ (scientific revolution) และยุคพุทธิปัญญา (Enlightenment) นั้น พ่วงติดมาด้วยการปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) ที่เกิดขึ้นในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 และสำหรับประชาชนทั่วไป ความสนใจใฝ่นิยมวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้นมากมาย ก็เพราะมองเห็นความหวังที่วิทยาศาสตร์จะมาช่วยสร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่อุตสาหกรรม


(มีต่อ ๓๐)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ก้อนดิน
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 07 ก.ค. 2004
ตอบ: 623

ตอบตอบเมื่อ: 28 มิ.ย.2007, 8:45 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การปฏิวัติอุตสาหกรรมได้ทำให้ระบบอาณานิคมก้าวขึ้นสู่ยุคใหม่ การครอบครองอาณานิคมใหม่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วดังได้กล่าวแล้ว

ข้อที่สำคัญก็คือ ดินแดนอาณานิคมเหล่านี้ได้ถูกจัดสรรควบคุมให้มาสนองระบบอุตสาหกรรม ด้วยการเป็นแหล่งป้อนวัตถุดิบและอาหาร และเป็นตลาดระบายสินค้าอุตสาหกรรม ช่วยเพิ่มพูนความมั่งคั่งให้แก่ประเทศตะวันตก และทำให้ประเทศเจ้าอาณานิคมเหล่านั้นสามารถสร้างความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและอุตสาหกรรมได้อย่างสัมฤทธิ์ผล

พร้อมกันนี้ สังคมเมืองและวัฒนธรรมเมืองก็เจริญเฟื่องฟู มีเมืองน้อยเมืองใหญ่เกิดผุดโผล่แผ่ขยายทั่วไป ซึ่งถือกันว่าเป็นเครื่องหมายแห่งความเจริญของยุคอุตสาหกรรม

ระบบอุตสาหกรรมทำให้ต้องมีการจัดสรรระบบการทำงานด้วยการแบ่งงานกันทำอย่างซอยละเอียด

ความคิดของอาดัม สมิธ (Adam Smith, 1723-1790) ที่เขียนไว้ในหนังสือ The Wealth of Nations ในปี 1776 ได้พัฒนาทฤษฎีการแบ่งงาน (division of labor) และการจำแนกความชำนาญพิเศษในทักษะเฉพาะด้าน (specialization of skills) ซึ่งถือว่าช่วยให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว

เรื่องนี้ปรากฏเป็นผลสำเร็จในทางปฏิบัติ เมื่อนายเฮนรี ฟอร์ด (Henry Ford, 1863-1947) และเทย์เลอร์ (Frederick W. Taylor, 1856-1915) นำความคิดนั้นมาประยุกต์ใช้ให้เป็นการปฏิบัติจริง ในสหรัฐอเมริกา

ควบคู่กับการแบ่งงานและความชำนาญงานเฉพาะด้านในวงการอุตสาหกรรมนั้น เมื่อวิทยาการทั้งหลายเจริญมากขึ้น ก็ได้มีแนวโน้มในการแตกย่อยศาสตร์ต่างๆ ออกไปเป็นสาขาแห่งความชำนาญพิเศษเฉพาะด้าน (specialization) มากขึ้นๆ

เมื่อวิทยาศาสตร์เกิดขึ้นมาและรุ่งเรืองเฟื่องฟู วิทยาการต่างๆ แม้ที่เป็นเรื่องทางสังคมและวัฒนธรรม ก็ปรารถนาจะมีความเป็นวิทยาศาสตร์ด้วย จึงนำเอาวิธีวิทยาศาสตร์ไปใช้และได้เกิดมีวิชาจำพวกใหม่ที่เรียกว่าสังคมศาสตร์ ขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 18 อย่างที่กล่าวข้างต้น

ต่อมา วิชาจำพวกมนุษยศาสตร์ (the humanities) ที่ครองความเป็นใหญ่อยู่เดิมก็สูญเสียสถานะไป วิชาจำพวกวิทยาศาสตร์ธรรมชาติหรือวิทยาศาสตร์กายภาพ (natural sciences หรือ physical sciences) และสังคมศาสตร์ (social sciences) ก็ขึ้นมาครองความสำคัญแทนที่สืบมา

วิชาการ ๒ หมวดนี้ เมื่อเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาแล้ว ก็แตกสาขาย่อยออกไปเป็นความชำนาญพิเศษเฉพาะด้านเฉพาะทางอย่างหลากหลาย

พร้อมกันนั้น การศึกษาในมหาวิทยาลัยก็มีการแตกสาขาย่อยของวิชาการที่เล่าเรียนซอยละเอียดออกไป และให้ปริญญาเฉพาะสาขามีชื่อต่างๆ เพิ่มขึ้นมากมาย (ปัจจุบันในสหรัฐอเมริกา มีการให้ปริญญาชื่อต่างๆ มากกว่า ๑,๕๐๐ สาขา) จึงยิ่งทำให้วิชาการต่างๆ เจาะลึกดิ่งลงไปในแนวทางของความชำนาญพิเศษเฉพาะด้านมากยิ่งขึ้น

โดยนัยนี้ก็ได้มีความเชี่ยวชาญศาสตร์เฉพาะด้าน (scientific specialization) และความชำนาญวิชาการเฉพาะสาขา (academic specialization) มาเข้าคู่กับความชำนาญงานเฉพาะทาง (specialization of skilled labor) และความชำนาญเฉพาะด้านทางอุตสาหกรรม (industrial specialization)

ถือกันว่าโลกได้เข้าสู่ยุคแห่งความชำนาญพิเศษเฉพาะด้าน (age of specialization) ซึ่งมีการกล่าวเชิงทำนายว่า วิถีชีวิตของประชาชนจะอยู่ใต้กำกับของผู้ชำนาญการ (specialists) และผู้เชี่ยวชาญต่างๆ (experts) มากขึ้นๆ

ว่าโดยสรุป นับแต่เกิดปฏิวัติอุตสาหกรรมในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ประเทศตะวันตกก็ได้เริ่มก้าวเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ (modern age) อุตสาหกรรมได้เข้ามาเป็นตัวกำหนดยุคสมัยและเป็นเกณฑ์วัดอารยธรรม ดังที่ถือว่า สังคมสมัยใหม่ (modern society) ก็คือสังคมอุตสาหกรรม (industrial society)

อุตสาหกรรมทำให้เกิดมีเมืองน้อยใหญ่มากมาย และเมืองก็ขยายใหญ่โตอย่างรวดเร็ว วิถีชีวิตแบบชาวเมืองแพร่ไปทั่ว ความเป็นอยู่ที่ดำเนินตามแบบแผนขนบประเพณียึดถือตามข้อกำหนดของศาสนาก็เปลี่ยนไป ผู้คนมีชีวิตแบบคนห่างศาสนา (secularism)

ตัวกำกับวิถีชีวิตของคนและสังคม เปลี่ยนจากศาสนาคริสต์มาเป็นวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และอุตสาหกรรม

เมื่อชาวตะวันตกผู้ถือตนว่าพัฒนาแล้ว มองเทียบตนเองกับประเทศที่ล้าหลัง ก็วัดการพัฒนานั้นด้วยอุตสาหกรรม โดยถือว่า ประเทศที่พัฒนาแล้ว (developed country) ก็คือประเทศอุตสาหกรรม (industrialized country) ส่วนประเทศใดยังไม่เป็นอุตสาหกรรม ก็ถือว่ายังไม่พัฒนา

บทบาทและอิทธิพลของบาทหลวงและศาสนาจารย์แห่งคริสต์ศาสนา แม้จะรางเลือนไปจากสังคมอุตสาหกรรมหรือสังคมที่พัฒนาแล้วในประเทศตะวันตก ก็ยังมีเวทีที่แสดงในประเทศห่างไกลที่ด้อยพัฒนาหรือกำลังพัฒนา (underdeveloped or developing countries) โดยทำหน้าที่ของนักเผยแพร่ศาสนาคริสต์ พร้อมทั้งเป็นตัวแทนของประเทศอุตสาหกรรม นำเอาความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และอุตสาหกรรม ไปให้แก่ผู้คนในประเทศอาณานิคม เป็นต้น

แม้ว่าเจตนาโดยรวมจะมุ่งใช้ความเจริญสมัยใหม่นั้นเป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ศาสนาของตน (เอาพระเจ้าสมัยใหม่มาช่วยเป็นพาหนะให้พระเจ้าองค์เก่าโดยสารไป) และแม้จะมีปมความพัวพันกับลัทธิอาณานิคม แต่นักเผยแพร่หลายท่านก็ทำงานบำเพ็ญประโยชน์แก่ชนในท้องถิ่นล้าหลังห่างไกล ด้วยศรัทธาและเมตตากรุณาอย่างอุทิศตัว

บุกฝ่าพรมแดน ๓๐๐ ปี จึงได้ครอบครองโลกใหม่


อารยธรรมอเมริกันได้อะไรจากประสบการณ์ผจญภัย

ขอย้อนกลับไปพูดถึงชนชาติอเมริกัน ซึ่งเป็นชาวประเทศตะวันตก ผู้ตกทุกข์ได้ยากระเหระหนจากดินแดนแห่งความเจริญสมัยใหม่นั้น แต่ได้ไปสร้างเนื้อสร้างตัวขึ้นจากการฝ่าฟันภยันตราย จนกลายเป็นผู้นำของอารยธรรมอุตสาหกรรมในปัจจุบัน

ดังได้กล่าวแล้วว่า ชนชาติใหม่นี้หนีภัยแห่งการบีบคั้นเบียดเบียน ทั้งทางศาสนาและการเมือง จากยุโรป ไปผจญภัยในโลกใหม่ ด้วยความใฝ่ฝันที่จะได้พบกับความเป็นอิสรเสรี และความหวังนี้ก็ได้ฝังลึกในจิตใจและวัฒนธรรม จนกลายเป็นอุดมคติข้อสำคัญของชนชาติอเมริกัน คือ อุดมคติแห่งเสรีภาพ (ideal of freedom)

เมื่อชาวยุโรปผู้ลี้ภัยข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกมาขึ้นฝั่งโลกใหม่ที่ชายฝั่งตะวันออก โดยเฉพาะแถบที่เรียกต่อมาว่า "อังกฤษใหม่" (New England) นั้น ข้างหน้าของเขาคือป่าเขาพงไพรถิ่นกันดาร หรือดินแดนรกร้างที่ไม่เคยรู้จัก ซึ่งไม่มีความสุขความเจริญความสะดวกสบายอะไรที่จะหยิบฉวยเอาได้ มีแต่จะต้องบากบั่นอดทนสร้างมันขึ้นมาด้วยตนเอง

นอกจากป่าดงและสัตว์ร้าย ก็ยังมีคนเจ้าถิ่นอินเดียนแดงที่พวกตนมองด้วยสายตาว่าเป็นมนุษย์ป่าเถื่อน เมื่อมองข้างหลังทางทิศตะวันออกก็มีแต่ทะเลใหญ่ ที่ไม่อาจหวนหลังกลับไป และไม่มีทางพึ่งพาญาติมิตรที่จากมาแล้ว

ความอยู่รอดและความหวังมีทางเป็นไปได้อย่างเดียว คือการบุกฝ่าไปข้างหน้าทางทิศตะวันตก และการสร้างขึ้นใหม่ ทุกอย่างต้องทำต้องหา และการทำการหานั้นต้องดำเนินไปท่ามกลางความยากลำบาก และภัยอันตรายรอบตัว

ความอยู่รอดและความสำเร็จเป็นปัญหาที่ทุกคนจะต้องเผชิญและฟันฝ่าร่วมกัน แต่ความลำเค็ญยากลำบากทั้งหมดนั้นก็เป็นความหวังแห่งความสุขสมบูรณ์และความยิ่งใหญ่ภายภาคหน้า ที่จะมากับการเคลื่อนที่ไปในดินแดนข้างหน้าที่ไม่รู้ว่าจะไกลไปถึงไหน ในทิศตะวันตก


(มีต่อ ๓๑)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ก้อนดิน
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 07 ก.ค. 2004
ตอบ: 623

ตอบตอบเมื่อ: 03 ก.ค.2007, 8:25 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

บุกฝ่าไปข้างหน้าได้เท่าใด พรมแดนที่กั้นขวาง (frontier) ก็อยู่ตรงนั้น ความสำเร็จคือการที่จะต้องบุกฝ่าขยายพรมแดนออกไป เพราะฉะนั้นกาลเวลาหลายร้อยปี (๓๐๐ ปี) ต่อจากนั้น จึงเป็นยุคแห่งการเคลื่อนย้ายไปตะวันตก (westward movement; "Go West") และการบุกฝ่าขยายพรมแดน (frontier expansion)

สภาพชีวิตตลอดช่วงเวลานานแสนนานนี้ คือการที่ต้องตื่นตัวคอยระแวดระวังภัย การที่ต้องเร่งรัดขวนขวายแก้ปัญหาอย่างไม่อาจผัดเพี้ยน การเผชิญชะตากรรมร่วมกัน การที่ต้องรวมหมู่สู้ภัยจากชนเผ่าท้องถิ่นคืออินเดียนแดง พร้อมทั้งการแข่งขันแย่งชิงผลประโยชน์และความสำเร็จในหมู่พวกเดียวกันเอง ท่ามกลางความหวังต่อความสุขสมบูรณ์ด้วยการบุกฝ่าไปในดินแดนข้างหน้า

ภาวะบีบคั้นและการดิ้นรนต่อสู้เช่นนี้ ได้ปลูกฝังบุคลิกลักษณะ อุปนิสัยและจิตสำนึกที่เป็นเอกลักษณ์ ลงในดวงจิตและวิถีชีวิตของชนชาติอเมริกัน ซึ่งเรียกด้วยคำสั้นๆ ว่า สภาพจิตบุกฝ่าพรมแดน (frontier mentality) หรือบางทีก็เรียกว่า อุดมคติหรือคติบุกฝ่าพรมแดน (ideal or myth of frontier)

คติฟรอนเทียร์นี้ คนอเมริกันภูมิใจนักว่าเป็นปัจจัยสำคัญแห่งความเจริญก้าวหน้าของชาติตน และมักยกขึ้นอ้างในการปลุกจิตสำนึกเพื่อนร่วมชาติ ในการที่จะบุกฝ่าสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าต่อไป

ตัวอย่างเช่น จอห์น เอฟ. เคนเนดี (John F. Kennedy) ก้าวขึ้นสู่ความเป็นประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา พร้อมด้วยการปลุกเร้าชาวอเมริกัน ให้ก้าวเข้าสู่ยุค "New Frontier" แห่งการบุกฝ่าพรมแดนใหม่ ทั้งทางวิทยาศาสตร์ การศึกษา สังคม และเศรษฐกิจ ดังปรากฏผลต่อมา ทั้งการแผ่อิทธิพลออกไปในโลกนี้ และการออกสำรวจกว้างไกลบุกฝ่าไปในอวกาศ

แท้จริงนั้น ชนชาติใหม่คืออเมริกันนี้ มิใช่มาต่อสู้ผจญภัยในโลกใหม่อย่างโดดเดี่ยวและยากเข็ญมากนักเพราะประเทศแม่ของเขาในยุโรปก็ตามมาปกครองเอาพวกเขาไว้ในอาณานิคม

ระหว่างที่เขาบุกฝ่าพรมแดน มุ่งหน้าตะวันตก ล้างป่าแปลงเป็นเมือง และรบอยู่กับอินเดียนแดงนั้น ประเทศเจ้าอาณานิคมจากยุโรป คืออังกฤษ ฝรั่งเศส และสเปน ก็มาทำสงครามแย่งชิงดินแดนกันบนผืนแผ่นดินอเมริกาด้วย

ชนชาติใหม่นี้ นอกจากรบกับอินเดียนแดงแล้ว ก็ได้ร่วมรบในสงครามระหว่างประเทศเจริญที่เป็นเจ้าอาณานิคมด้วย และในที่สุดเขาก็ทำสงครามปฏิวัติ (American Revolution) ประกาศอิสรภาพ (ค.ศ.1776) เป็นเอกราชจากประเทศแม่ได้สำเร็จ

จึงเห็นได้ว่า ความเจริญก้าวหน้าที่เกิดขึ้นในยุโรปทุกอย่างก็มาถึงชนชาติใหม่นี้ด้วย โดยเฉพาะวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และอุตสาหกรรม ซึ่งทำให้ชนชาติอเมริกันมีเครื่องมือเครื่องใช้อาวุธยุทโธปกรณ์ที่พรั่งพร้อม มีกำลังอำนาจเหนือกว่าชนเจ้าถิ่นเดิมคืออินเดียนแดงอย่างมากมาย

หลังจากได้อิสรภาพ พ้นจากความเป็นอาณานิคม ตั้งประเทศสหรัฐอเมริกาขึ้นได้แล้ว ชาวอเมริกันก็ยังขยายดินแดนบุกฝ่าตะวันตกทำสงครามกับอินเดียนแดง และสู้รบกับประเทศเจ้าอาณานิคม โดยเฉพาะสเปน ต่อมาอีกนาน

จนในที่สุด ในค.ศ.1890 อเมริกันก็ทำสงครามครั้งสุดท้ายในการปราบอินเดียนแดงสำเร็จเสร็จสิ้น และในช่วงระยะเวลาใกล้กันนี้สหรัฐอเมริกาได้ครอบครองแผ่นดินขยายพรมแดนทางตะวันตกมาจนสุดแผ่นดินจดฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกแล้ว (California ได้เป็นรัฐที่ ๓๑ ในค.ศ.1850, Oregon ได้เป็นรัฐที่ ๓๓ ใน ค.ศ.1859, Washington ได้เป็นรัฐที่ ๔๒ ใน ค.ศ.1889)

อเมริกาจึงมาถึงจุดแห่งประวัติศาสตร์ที่เรียกว่า จบสิ้นพรมแดน (closing of the frontier)

ถ้านับจุดเริ่มจากปีที่ชาวยุโรปตั้งเมืองแรกในแผ่นดินสหรัฐอเมริกา ก็ได้แก่ ค.ศ.1565 (คือเมือง St. Augustine หรือ San Augustin ในรัฐฟลอริดา/ Florida ซึ่งพวกสเปนตั้งขึ้น)

ถ้านับจากปีที่ชาวอังกฤษตั้งถิ่นฐานถาวรแห่งแรก ก็ได้แก่ ค.ศ.1607 (คือเมือง Jamestown ในรัฐเวอร์จิเนีย/ Virginia ซึ่งพวกพ่อค้าและนักล่าอาณานิคมที่รัฐบาลอังกฤษสนับสนุน ได้มาตั้งขึ้น)

ถ้านับจากปีที่ราษฎรอังกฤษหนีภัยทางศาสนามาได้ที่พึ่งพำนักใหม่แห่งแรก ก็ได้แก่ ค.ศ.1620 (คือปีที่พวกพิลกริมส์/ Pilgrims มาขึ้นฝั่งที่ "อังกฤษใหม่" คือ New England)

นับจากจุดเริ่มที่กล่าวนี้ ชนชาติอเมริกันได้บุกฝ่าพรมแดนเป็นระยะทาง ๓,๐๐๐ ไมล์ (เกินกว่า ๔,๘๐๐ ก.ม.) มุ่งหน้าขยายดินแดนออกมาทางตะวันตก โดยเฉลี่ยปีละ ๑๐ ไมล์ จนมาถึงจุดจบพรมแดนนี้ ใช้เวลาประมาณ ๓๐๐ ปี


ผ่านภูมิหลังแห่งแนวคิดความเชื่อและความใฝ่ฝัน
สู่ความยิ่งใหญ่แห่งจักรวรรดินิยมอเมริกัน


เมื่ออเมริกาได้ครอบครองจบสิ้นพรมแดนสุดฝั่งตะวันตกนั้น มีการเผยแพร่ความคิด ที่ทำให้คนอเมริกันหวาดกลัวว่า ทรัพยากร ธรรมชาติในผืนแผ่นดินของตนคงจะร่อยหรอหมดไปในไม่ช้า จำเป็นจะต้องออกหาทรัพยากรจากนอกประเทศ

ประจวบพอดีในช่วงนั้นเอง ก็ได้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ (economic depression) เริ่มแต่ ค.ศ.1893 พวกนักธุรกิจพากันเชื่อว่าอุตสาหกรรมของอเมริกาขยายตัวมากเกินไป ทำให้มีการผลิตสินค้าล้นตลาด เกินความต้องการและความสามารถของลูกค้าในประเทศ ควรจะต้องหาตลาดนอกประเทศเพื่อระบายสินค้าออกไป

แต่ที่สำคัญยิ่งก็คือ ในด้านความคิดความเชื่อ ในช่วงเวลานั้นเอง ทางด้านยุโรปได้เกิดลัทธิดาร์วินเชิงสังคม (Social Darwinism) ขึ้น โดยมีนักปรัชญาและนักวิทยาศาสตร์อังกฤษชื่อ เฮอร์เบอร์ต สเปนเซอร์ (Herbert Spencer, 1820-1903) เป็นผู้นำเสนอ ซึ่งเป็นการนำแนวความคิดแห่งการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (natural selection) อย่างทฤษฎีวิวัฒนาการของดาร์วิน มาใช้ในทางสังคม

ลัทธิดาร์วินเชิงสังคมถือว่าชีวิตของมนุษย์ที่อยู่ในสังคม ไม่ว่าทางด้านเศรษฐกิจหรือการเมืองก็ตาม เป็นการต่อสู้เพื่อความดำรงอยู่ (struggle for existence) ผู้ที่เข้มแข็งที่สุดจึงจะอยู่รอด (survival of the fittest) หรือพูดง่ายๆ ว่าใครดีใครอยู่

(มีต่อ ๓๒)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ก้อนดิน
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 07 ก.ค. 2004
ตอบ: 623

ตอบตอบเมื่อ: 05 ก.ค.2007, 7:48 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ด้วยกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาตินี้ ผู้ที่อ่อนแอก็จะล้มหายตายไป ผู้ที่แข็งแรงจะอยู่รอดและแกร่งกล้ายิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้มนุษยชาติพัฒนาคุณภาพดียิ่งขึ้น มนุษย์ก็จะวิวัฒนาการผ่านต่อไปได้ จากความเป็นคนป่าเถื่อน (savagery) ขึ้นสู่ความเป็นอนารยชน (barbarism) และมาเป็นอารยชนผู้มีอารยธรรม (civilization) ในที่สุด

โดยกระบวนการนี้ มนุษยชาติก็จะมีความเจริญก้าวหน้าอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ (idea of inevitable progress)

ด้วยเหตุผลที่ว่านี้ ลัทธิดาร์วินเชิงสังคมจึงส่งเสริมให้มีการแข่งขันอย่างสุดแรงสุดกำลัง โดยไม่มีการจำกัดควบคุม (unrestricted competition) และหนุนลัทธิทุนนิยมแบบมือใครยาวสาวได้สาวเอา (laissez-faire capitalism) โดยให้มีเศรษฐกิจแบบตลาดเสรี (free market economy)

ใครอ่อนแอใครยากจนลงไป จะต้องถูกปล่อยให้ตาย รัฐไม่ควรเข้าไปช่วยเหลือคน ซึ่งจะเป็นการแทรกแซงกระบวนการของธรรมชาติ ผู้แข่งขันที่เก่งที่สุด จะอยู่รอดประสบความสำเร็จ แล้วประเทศชาติและอารยธรรมก็จะเจริญก้าวหน้า

ลัทธิดาร์วินเชิงสังคม ได้เข้ามาเป็นที่นิยมและมีอิทธิพลอย่างมากในอเมริกา นักสังคมวิทยาอเมริกันชื่อ ซัมเนอร์ (William G. Sumner, 1840-1910) ได้มีบทบาทมากในการเผยแพร่ลัทธินี้ในอเมริกา

แม้แต่ผู้นำศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ (นิกายที่คนอเมริกันส่วนใหญ่นับถือ) ส่วนมากก็พากันยอมรับและปรับความคิดทางศาสนาของตนให้เข้ากับลัทธินี้

พร้อมกันนั้น มหาเศรษฐีอย่าง John D. Rockefeller และ Andrew Carnegie ก็ชื่นชมลัทธินี้เป็นอย่างยิ่ง

ความคิดความเชื่อในลัทธินี้ไปไกลถึงกับเห็นไปว่า เนื่องด้วยมนุษย์ที่แกร่งแข็งที่สุดจึงจะอยู่รอด เพราะฉะนั้น การที่ประเทศที่เข้มแข็งกว่าจะไปครอบครองบังคับประเทศที่อ่อนแอ จึงเป็นการสอดคล้องกับกฎธรรมชาติ

นายจอห์น ฟิสก์ (John Fiske) คนสำคัญที่นำแนวคิดนี้มาเผยแพร่ในอเมริกา ถึงกับเขียนทำนายไว้ใน ค.ศ.1885 ว่า ชนชาติที่พูดภาษาอังกฤษ จะเข้าครอบครองควบคุมแผ่นดินทุกแห่งที่อารยธรรมยังเข้าไม่ถึง

เขากล่าวว่า ชนชาติผิวขาวชาวอเมริกัน ผู้มีประสบการณ์ในการกำราบชนเผ่าท้องถิ่นของอเมริกา (คือชาวอินเดียนแดง) จะต้องก้าวออกไป (ทำการอย่างเดียวกันนี้) ในโลกส่วนอื่นต่อไป

นักเผยแพร่ศาสนาคริสต์ ผู้มีชื่อเสียง ชื่อ Josiah Strong ประกาศว่า ชนเผ่าอังกฤษ (Anglo-Saxon) โดยเฉพาะสายอเมริกัน เป็นผู้ได้รับมอบหมายไว้วางพระทัยจากพระผู้เป็นเจ้า ให้นำหลักการแห่งเสรีภาพ และศาสนาคริสต์ที่บริสุทธิ์ ออกเผยแผ่ไปให้ทั่วทั้งโลก

นายเบอร์เกสส์ (John W. Burgess) ผู้ก่อตั้งคณะรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ถึงกับเขียนแถลงว่า ชนชาติเชื้อสายอังกฤษ ซึ่งเป็นผู้มีสติปัญญาชาญฉลาดสูงสุดทางการเมือง มีหน้าที่ที่จะไปยกชนชาติผู้ด้อยทั้งหลายขึ้นมาให้ได้ ถ้าจำเป็นก็จะต้องไปบีบบังคับให้ชนชาติเหล่านั้นยอมรับแบบแผนแห่งชีวิตและสังคมที่สูงประเสริฐกว่า เขาไปไกลถึงกับกล่าวว่า

"ไม่มีสิทธิมนุษยชนสำหรับสถานะแห่งอนารยชน" - "There is no human right to the status of barbarism."

("Chapter 20: The Imperial Republic," Compton's Encyclopedia of American History, 1994)

คนอเมริกันเกิดความเชื่อในคติที่เรียกว่า "Manifest Destiny" ซึ่งยึดถือว่า ชนชาติอเมริกันมีวิถีแห่งชะตาสังคมที่จะต้องแผ่ขยายอำนาจไปครอบครองอเมริกาเหนือทั่วทวีป และจะต้องออกไปชี้นำให้การศึกษาแก่ชนชาติผู้ด้อยกว่าทั้งหลายในโลกนี้

ด้วยอาศัยหลักการของลัทธิดาร์วินเชิงสังคมตามแนวคิดที่ทั้งนักวิชาการและนักเผยแพร่ศาสนาคริสต์ต่างก็สนับสนุน ดังกล่าวมานี้ สหรัฐก็เข้าสู่ยุคจักรวรรดินิยมอเมริกัน (American imperialism) ซึ่งเป็นการสนองวัตถุประสงค์แห่งแนวคิด ๓ ประการไปพร้อมๆ กัน คือ

๑) การแสวงหาอาณานิคมเพื่อเปิดตลาดระบายสินค้าออกไปในดินแดนห่างไกล (อย่างที่วุฒิสมาชิกบีเวอริดจ์ กล่าวใน ค.ศ.1899 ว่า "เราจะต้องหาตลาดใหม่ให้แก่ผลิตภัณฑ์ของเรา") พร้อมทั้งเพื่อเป็นแหล่งจัดหาวัตถุดิบมาป้อนโรงงานในประเทศ สนองลัทธิทุนนิยมอุตสาหกรรม (industrial capitalism) กับทั้งการมีกำลังทหาร โดยเฉพาะอำนาจทางทะเลจากฐานทัพเรือที่เข้มแข็ง ไว้เป็นหลักประกันในการป้องกันเส้นทางการค้าและพิทักษ์รักษาอาณานิคม

๒) ส่งเสริมเศรษฐกิจแบบตลาดเสรี (free market economy) ให้มีการแข่งขันกันอย่างเต็มที่ ตามลัทธิทุนนิยมแบบมือใครยาวสาวได้สาวเอา (laissez-faire capitalism) ในลักษณะที่ว่า ใครดีใครอยู่ และใครแข็งแรงกว่าก็มีสิทธิ์เข้าควบคุมครอบงำ

๓) นำเอาวิถีชีวิต วัฒนธรรม สถาบัน แนวคิด ลัทธิความเชื่อ และศาสนาคริสต์ ซึ่งชาวตะวันตกถือว่าเป็นของอารยชนผู้ประเสริฐกว่า ไปให้หรือบังคับให้ แก่ชนชาติที่ล้าหลัง ห่างไกลความเจริญ เป็นอนารยชน

หลังจากส่งนายพลเปอร์รีนำเรือรบไปบีบบังคับให้ญี่ปุ่นเปิดประเทศติดต่อค้าขายด้วยใน ค.ศ. 1853-4 แล้ว สหรัฐอเมริกาก็มีอำนาจทางเศรษฐกิจในแถบเอเชียตะวันออกขึ้นมาคู่เคียงกับอังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซีย

แต่ยุคจักรวรรดินิยมอเมริกันถือว่าเริ่มต้นเมื่อสหรัฐใช้กำลังทัพขับไล่สเปนออกจากคิวบาในเดือนเมษายน ค.ศ.1898

ต่อจากนั้น พอถึงเดือนตุลาคม วันที่ ๑๘ สหรัฐก็ยึดเปอโตริโกจากสเปนได้


(มีต่อ ๓๓)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ก้อนดิน
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 07 ก.ค. 2004
ตอบ: 623

ตอบตอบเมื่อ: 10 ก.ค.2007, 7:36 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ในปี ค.ศ.1898 นั้นเช่นเดียวกัน สเปนก็ถูกบังคับให้ขายฟิลิปปินส์แก่อเมริกาในราคา ๒๐ ล้านเหรียญ อีกด้านหนึ่ง ณ วันที่ ๗ กรกฎาคม หมู่เกาะฮาไว ได้ถูกผนวกเข้าในจักรวรรดิอเมริกา

ทั้งหมดนี้สำเร็จเสร็จสิ้นภายในเวลาปีเดียวแห่ง ค.ศ.1898 และนับแต่นั้นมา สหรัฐอเมริกาก็กลายเป็นมหาอำนาจสำคัญในย่านมหาสมุทรแปซิฟิก

พึงทราบว่า ต่อมาชาวอเมริกัน และชาวตะวันตกโดยทั่วไป ได้เสื่อมความนิยมในลัทธิดาร์วินเชิงสังคม เนื่องจากมองเห็นว่าเป็นแนวคิดที่เอื้อต่อการเกิดขึ้นของลัทธินาซี (Nazism) ที่นำแนวคิดนี้ไปอ้างในการทำสงครามเพื่อเชิดชูเผ่าอารยัน อีกทั้งความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เจริญมากขึ้นในเวลาต่อมา ก็ไม่สนับสนุนหลักความคิดของลัทธินี้

แต่กระนั้นก็ตาม แนวคิด ความเชื่อ ค่านิยม และลักษณะนิสัยจิตใจ ที่ลัทธินี้สนับสนุน ก็ยังคงฝังลึกอยู่ในชีวิตจิตใจของคนอเมริกัน และเป็นที่ถนอมเชิดชูของชนชาตินี้ หรือยังครอบงำวิถีชีวิตและวัฒนธรรมอเมริกัน ทั้งโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัว

การแข่งขัน (competition) เสรีภาพในการดิ้นรนต่อสู้ (freedom to struggle) การแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว (self-interest) ลัทธิปัจเจกนิยม (individualism) รวมทั้งปัจเจกนิยมทางเศรษฐกิจที่เชิดชูความฝักใฝ่ในผลประโยชน์ส่วนตน (individual acquisitiveness) ความนิยมลักษณะก้าวร้าว (aggressiveness) เป็นตัวอย่างของคตินิยมที่ว่านั้น

แม้คติวัตถุนิยมของชาวอเมริกัน ที่เรียกว่า "ฝันอเมริกัน" (American dream) ซึ่งเชิดชูการใฝ่แสวงความสำเร็จ (pursuit of success) การแสวงหาความมั่งคั่งร่ำรวย (acquisition of wealth) และความรุ่งเรืองทางวัตถุ (material prosperity) โดยมีโอกาสอย่างเท่าเทียมกัน ก็เกิดจากการสะสมในภูมิหลังทางวัฒนธรรมตามแนวทางเดียวกันนี้

พึงสังเกตว่า แนวคิดตามลัทธิดาร์วินเชิงสังคมที่เชื่อว่า ชนชาติที่เข้มแข็งควรจะไปปกครองบังคับชนชาติที่อ่อนแอนั้น ดูจะขัดกับอุดมคติแห่งความเป็นอิสระเสรี (ideal of freedom) ของอเมริกันเอง

พอดีว่าใน ค.ศ.1865 คือ ๒๐ ปี ก่อนที่นาย Fiske จะเผยแพร่แนวคิดนี้ รัฐสภาอเมริกันได้แก้ไขรัฐธรรมนูญให้เลิกทาสไปเสียแล้ว หลังจากที่ได้เกิดสงครามกลางเมือง (American Civil War) ในเรื่องการค้าขายครอบครองทาส ซึ่งรบกันอยู่หลายปี (1861-1865)

ถ้ายังไม่เลิกทาส คนอเมริกันก็คงยกเอาคติตามลัทธิดาร์วินเชิงสังคมนี้มาใช้เป็นข้ออ้างในการครอบครองบังคับทาสด้วย เช่นเดียวกับที่ใช้อ้างในการกำจัดและจำกัดอินเดียนแดง และแผ่จักรวรรดินิยมอย่างที่กล่าวข้างต้น

การค้าขายและครอบครองทาส ที่คนผิวขาวจับคนผิวดำจากอาฟริกามาเป็นแรงงานในอเมริกานั้น เริ่มต้นตั้งแต่ ประมาณ ค.ศ.1619 กว่าจะเลิกได้ก็นานเกือบ ๒๕๐ ปี และกลายเป็นบาดแผลทางสังคมและในจิตใจของคนอเมริกัน

บาดแผลนี้ ทำให้เกิดความรู้สึกผิดหรือเป็นบาป แก่คนอเมริกันผิวขาวรุ่นหลังๆ ที่ระลึกด้วยความขมขื่นถึงภาวะทาสในชาติเสรี (slavery in a "free" nation) และปัญหาความแตกแยกเหยียดผิวระหว่างขาวกับดำ ที่ฝังรากลึกในสังคมอเมริกันอย่างแก้ไม่ตกมาจนปัจจุบัน (racial discrimination; segregation)


ย้ายจากความขัดแย้งทางลัทธินิกายศาสนา สู่ความขัดแย้งผลประโยชน์
ลัทธิอาณานิคมนำโลกสู่สงครามใหญ่ ที่เปลี่ยนโฉมหน้าโลกใหม่


ดังได้กล่าวแล้วว่า เมื่อสิ้นสมัยกลางของยุโรปแล้ว อำนาจยิ่งใหญ่ของวาติกัน คือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกก็เสื่อมลง และเมื่อศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์เกิดขึ้น ก็เป็นเครื่องตัดสินการสิ้นสุดอำนาจที่ครอบคลุมทั่วทั้งยุโรปของนิกายโรมันคาทอลิกนั้น

ต่อมา เมื่อสงครามศาสนาที่เรียกว่า สงคราม ๓๐ ปี (Thirty Years" War, 1618-1648/พ.ศ.๒๑๖๑-๒๑๙๑) ระหว่างกลุ่มประเทศโปรเตสแตนต์กับกลุ่มประเทศคาทอลิกสิ้นสุดลง อำนาจทางการเมืองในยุโรปก็กลายเป็นเรื่องของผู้ปกครองฝ่ายบ้านเมืองของประเทศนั้นๆ องค์กรศาสนาคริสต์เหมือนกับถอยห่างออกไปจากวงการเมืองระหว่างประเทศ

พร้อมกันนั้น ความตื่นตัวทางปัญญาที่สืบมาตั้งแต่ยุคฟื้นฟูวิทยาการหรือยุคคืนชีพ (Renaissance) ต่อด้วยกระแสความนิยมวิทยาศาสตร์ ที่ยิ่งทวีขึ้นๆ ตั้งแต่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม (ตั้งแต่ประมาณ ค.ศ.1750) ก็ยิ่งทำให้ประชาชนเหินห่างจากศาสนาคริสต์ออกไป อิทธิพลของศาสนาคริสต์ก็ยิ่งลดน้อยลง

ในเวลาเดียวกัน การที่อุตสาหกรรมเจริญขึ้น ก็ได้เป็นเหตุให้ลัทธิอาณานิคมก้าวขึ้นสู่ยุคใหม่ด้วย เพราะประเทศเจ้าอาณานิคมทั้งหลายต้องเร่งแสวงหาอาณานิคมและระดมกำลังในการจัดการกับประเทศอาณานิคมมากขึ้น เพื่อใช้เป็นแหล่งวัตถุดิบที่จะป้อนโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อเป็นแหล่งอาหารให้แก่เมืองอุตสาหกรรมใหม่ๆ ที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว และเพื่อให้เป็นตลาดระบายสินค้าสนองระบบทุนนิยมอุตสาหกรรม

นอกจากนั้น เทคโนโลยีใหม่ๆ ทั้งด้านการขนส่งสื่อสาร และอาวุธยุทโธปกรณ์ที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับการพัฒนาอุตสาหกรรมนั้น ก็ทำให้ประเทศเจ้าอาณานิคมสามารถปราบปรามและบังคับควบคุมพวกชนเจ้าถิ่นในดินแดนอาณานิคมทั้งหลาย ด้วยกำลังที่เหนือกว่า อย่างไม่อาจทัดทานขัดขืนได้

ท่ามกลางภาวะเช่นนี้ บาทหลวงและนักเผยแพร่ศาสนาคริสต์กลับเป็นฝ่ายที่อาศัยความเจริญสมัยใหม่ออกไปเผยแพร่ศาสนาของตน จนปรากฏภาพออกมาว่า งานเผยแพร่ศาสนาคริสต์ (missionary work) ดำเนินไปควบคู่กับการแผ่ขยายลัทธิอาณานิคม (colonialism)

บางแห่งงานเผยแพร่ศาสนาคริสต์ก็ไปนำทางให้แก่งานยึดครองอาณานิคม บางแห่งก็ทำควบคู่กันไป บางแห่งนักเผยแพร่ศาสนาคริสต์ก็ช่วยผ่อนเบาความโหดร้ายทารุณของผู้ปกครองอาณานิคม

ระหว่างนี้ ความขัดแย้งในเรื่องผลประโยชน์และการแข่งอำนาจกันระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะประเทศมหาอำนาจ ก็ขยายเวทีตามลัทธิอาณานิคมออกไป เนื่องจากดินแดนที่เป็นอาณานิคมเหล่านี้อยู่ห่างไกลอย่างที่เรียกว่า "โพ้นทะเล"


(มีต่อ ๓๔)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ก้อนดิน
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 07 ก.ค. 2004
ตอบ: 623

ตอบตอบเมื่อ: 12 ก.ค.2007, 8:08 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การล่าเมืองขึ้นยุคนั้นใช้การเดินทางทางทะเลแทบทั้งสิ้น แม้แต่ที่ข้ามทวีปไปถึงอเมริกา ก็เพราะสาเหตุเดียวกัน คือ เพราะบนผืนแผ่นดินต่อจากยุโรปไปทางตะวันออก มีอาณาจักรมุสลิมที่เข้มแข็งยิ่งใหญ่ขวางกั้นอยู่ คือ อาณาจักรของพวกเตอร์กส์ โดยเฉพาะจักรวรรดิออตโตมาน (Ottoman Empire) ที่เรืองอำนาจมากตั้งแต่ ค.ศ.1300 เป็นต้นมา

ประเทศเจ้าอาณานิคมในยุโรป นอกจากสู้รบทำสงครามกันเอง และปราบคนเจ้าถิ่นในอาณานิคมแล้ว ก็ต้องทำศึกสงครามกับอาณาจักรมุสลิมนี้เป็นระยะๆ ตลอดมา

สาเหตุแห่งความขัดแย้งและสงครามได้เปลี่ยนไป ปัญหาความเชื่อถือและลัทธินิกายในหมู่ชาวคริสต์ด้วยกันเอง ค่อยๆ หมดความสำคัญลงไป และไม่เป็นเหตุให้ต้องทำสงคราม แต่สงครามยุคใหม่เป็นเรื่องของการขัดแย้งแย่งชิงผลประโยชน์และความหวาดระแวงแข่งอำนาจความยิ่งใหญ่ระหว่างกัน

อย่างไรก็ตาม ต่อมาก็มีปัญหาความแตกต่างในด้านลัทธิความเชื่อถือเข้ามาเป็นเหตุของความขัดแย้งและสงครามนี้ด้วย แต่ไม่ใช่ลัทธิความเชื่อถือทางศาสนา หากเปลี่ยนไปเป็นลัทธินิยมอุดมการณ์ทางเศรษฐกิจการเมือง

ในที่สุด ความเจริญก้าวหน้าที่นำมาซึ่งผลประโยชน์มหาศาลและกำลังอำนาจอันยิ่งใหญ่ ก็นำไปสู่การขัดแย้งและสงครามที่ก่อความพินาศทำลายล้างหมู่มนุษย์ในขอบเขตที่กว้างขวาง และมีขีดระดับความรุนแรงยิ่งอย่างไม่เคยมีมาก่อน คือสงครามโลกครั้งที่ ๑ และสงครามโลกครั้งที่ ๒

สงครามโลกครั้งที่ ๑ เกิดขึ้นใน ค.ศ.1914 ณ วันที่ ๒๘ เดือนกรกฎาคม โดยมีสาเหตุสำคัญคือการแข่งขันในการเป็นเจ้าอาณานิคมและการแย่งผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะความกลัวต่อการขยายอาณานิคมของเยอรมัน กับทั้งมีความรู้สึกชาตินิยมรุนแรงขึ้น พร้อมด้วยความตึงเครียดในการจับกลุ่มขั้วทางการเมือง และการแข่งกันสร้างสะสมอาวุธ

คู่สงคราม ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตร (Allied Powers) มีอังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย ญี่ปุ่น และเซอร์เบีย (ต่อมา อิตาลี โปรตุเกส โรมาเนีย สหรัฐ และกรีกก็เข้าร่วม) กับฝ่ายอำนาจกลาง (Central Powers) ได้แก่ เยอรมนี จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี เตอรกี (จักรวรรดิออตโตมาน ที่กำลังเสื่อมอำนาจ) และบัลแกเรีย นอกจากนี้ยังมีประเทศเล็กประเทศน้อยอื่นอีก รวมทั้งหมด ๒๘ ชาติ โดยสนามรบส่วนใหญ่อยู่ในยุโรปและตะวันออกกลาง

เนื่องจากในการสงครามนั้น รัสเซียรบแพ้บ่อยๆ และทหารตายมากมาย อีกทั้งในเมืองหลวงก็มีกรณีรัสปูติน (Rasputin) ที่ทำให้การบริหารประเทศระส่ำระสาย จึงทำให้ประชาชนขาดความมั่นใจในพระเจ้าซาร์นิโคลาส

ในที่สุดก็เกิดการปฏิวัติของรัสเซีย (Russian Revolution) ขึ้นในเดือนมีนาคม 1917 ทำให้ระบบกษัตริย์สิ้นสุดลง และต่อมาปลายปีนั้นเอง (เดือนพฤศจิกายน) พวกบอลเชวิกส์ (Bolsheviks) ก็ยึดอำนาจได้ เปลี่ยนประเทศรัสเซียเป็นคอมมิวนิสต์ แล้วถอนตัวออกจากสงคราม ในเดือนมีนาคม 1918

ระหว่างที่คู่สงครามสองฝ่ายผลัดกันรุกผลัดกันรับอยู่ อเมริกาซึ่งได้รับความเสียหายจากการโจมตีของเรือใต้น้ำของเยอรมัน ก็สละความเป็นกลาง ประกาศสงครามกับเยอรมนีในเดือนเมษายน 1917

อเมริกาได้เตรียมกำลังทหารไว้ ๔ ล้านคน แล้วส่งมาหนุนฝ่ายสัมพันธมิตรอย่างรวดเร็ว เพียงแค่เดือนกันยายน 1918 ก็ส่งมาแล้ว ๑.๒ ล้านคน ทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรก้าวไปสู่ชัยชนะ โดยฝ่ายอำนาจกลางมีเยอรมนีเป็นต้น พ่ายแพ้ ยุติสงครามในวันที่ 11 พฤศจิกายน 1918

ในสงครามโลกครั้งที่ ๑ นี้ ความสูญเสียเฉพาะชีวิตมนุษย์อย่างเดียวก็มากมาย คนตายทั้งหมดประมาณ ๑๔ ล้านราย (ทหารตายในสมรภูมิประมาณ ๘ ล้านราย พลเรือนตายประมาณ ๖.๖ ล้านราย) แยกเป็น

- ฝ่ายสัมพันธมิตร ตายประมาณ ๘ ล้านราย (ทหารประมาณ ๔.๙ ล้านราย พลเมืองประมาณ ๓.๑ ล้านราย) และ

- ฝ่ายอำนาจกลาง ตายประมาณ ๖.๖ ล้านราย (ทหาร ๓.๑ ล้านราย พลเรือน ๓.๕ ล้านราย)

โดยเฉพาะประเทศที่ชีวิตคนสูญเสียมากที่สุด คือ รัสเซีย ซึ่งประชากรเสียชีวิตประมาณ ๓.๗ ล้านราย (ทหาร ๑.๗ ล้านราย พลเรือน ๒ ล้านราย)

สงครามโลกครั้งที่ ๑ ทำให้ราชวงศ์ใหญ่จบสิ้นลง ๔ ราชวงศ์ คือ ในเยอรมนี รัสเซีย ออสเตรีย-ฮังการี และตุรกี ทำให้จักรวรรดิล่มสลายลง ๒ คือ จักรวรรดิออตโตมาน (Ottoman Empire) ที่มีอายุประมาณ ๖๐๐ ปี และจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี (หรือจักรวรรดิฮับสเบิร์ก/Habsburg Empire)

ประเทศผู้ชนะ โดยเฉพาะอังกฤษและฝรั่งเศส ได้นำเอาดินแดนอาณานิคมของเยอรมัน และดินแดนของจักรวรรดิออตโตมานมาแบ่งกัน

ส่วนอเมริกา เมื่อเสร็จสงครามแล้ว ก็หันกลับไปถือนโยบายแยกตัวโดดเดี่ยว (isolationist policy) คือไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการของยุโรป

เมื่อจักรวรรดิออตโตมานล่มสลายแล้ว เคมาล อะตาเติร์ก (Kemal Ataturk) ได้รวบรวมดินแดนส่วนหนึ่งตั้งเป็นสาธารณรัฐตุรกี (Turkish Republic) ในวันที่ 29 ตุลาคม 1923

ในสนธิสัญญาแวร์ซายส์ (Treaty of Versailles) ซึ่งเป็นสัญญาสันติภาพระหว่างสัมพันธมิตร กับประเทศผู้แพ้ (ลงนาม 28 มิถุนายน 1919) ความเคียดแค้นผูกเวรต่อเยอรมัน ได้ทำให้ประเทศผู้ชนะ โดยเฉพาะฝรั่งเศส พยายามกำหนดเงื่อนไขต่างๆ ที่เป็นการบีบคั้นจำกัดกีดกั้นและลงโทษเยอรมันเป็นอย่างมากและรุนแรง

ต่อมา ความขมขื่นของชาวเยอรมันต่อความพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ ๑ นี้ ผสมกับความเคียดแค้นต่อเงื่อนไขข้อกำหนดที่บีบคั้นกลั่นแกล้งของสนธิสัญญาแวร์ซายส์ ก็หนุนให้เยอรมันปรารถนาความมีอำนาจที่จะแสดงความยิ่งใหญ่ของตน และเปิดช่องให้ฮิตเลอร์ก้าวเด่นขึ้นมา จนเกิดระบบเผด็จการทหารที่นำหมู่มนุษย์เข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ ๒

สงครามโลกครั้งที่ ๒ จึงเหมือนกับเป็นเพียงการรื้อฟื้นกรณีพิพาทที่ยังไม่ยุติขึ้นมาทะเลาะกันต่อ หลังจากหยุดพักอย่างอึดอัดกันมา ๒๐ ปี และสันนิบาตชาติ (League of Nations) ซึ่งตั้งขึ้นมาตามสนธิสัญญาแวร์ซายส์ เพื่อส่งเสริมสันติภาพ ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้


(มีต่อ ๓๕)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ก้อนดิน
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 07 ก.ค. 2004
ตอบ: 623

ตอบตอบเมื่อ: 18 ก.ค.2007, 10:29 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ประเทศที่สูญเสียประชากรมากที่สุดคือ สหภาพโซเวียต ซึ่งพลเมืองล้มหายตายไปประมาณ ๒๐ ล้านคน (ทหารตาย ๗.๕ ล้านคน) ถือเป็นสงครามครั้งแรกที่พลเรือนเสียชีวิตมากกว่าทหารที่ไปรบอย่างมากมาย

พร้อมกันนี้ สงครามโลกครั้งที่ ๒ ก็เป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นความเจริญก้าวหน้าในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมทั้งบทบาทของอุตสาหกรรม ในด้านการทำลาย ว่าสามารถก่อความพินาศได้ร้ายแรงเพียงใด

เมื่อสิ้นสงครามโลกครั้งที่ ๒ ประเทศในยุโรปที่เคยเป็นมหาอำนาจ ก็สิ้นสภาพความยิ่งใหญ่ ฝรั่งเศสก็หมดฐานะความเป็นผู้นำ อังกฤษประเทศเจ้าทุนใหญ่ แม้จะพ้นจากการเป็นสนามรบ แต่ในด้านเศรษฐกิจก็ได้ตกเป็นลูกหนี้ใหญ่ที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว

ยิ่งกว่านั้น หลังสงครามโลกแล้ว ประเทศอาณานิคมทั้งหลายก็ตื่นตัวพากันพยายามกู้อิสรภาพ อาณานิคมก็ค่อยๆ หมดไป

พูดคร่าวๆ ว่า ระบบอาณานิคม (colonialism) ได้หมดสิ้นไปภายใน ๓๐ ปี ระหว่าง ค.ศ. ๑๙๔๕-๑๙๗๕

เมื่อแหล่งทรัพยากรสำคัญหมดไป ประเทศในยุโรปที่เคยเป็นเจ้าอาณานิคมทั้งหมด ก็สูญสิ้นอำนาจทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจ พร้อมไปกับการสิ้นสุดแห่งยุคอาณานิคม

เมื่อประเทศใหญ่ในยุโรปอ่อนเปลี้ยหมดกำลังอย่างนี้ ประเทศที่ปรากฏเด่นเป็นเจ้าใหญ่ในเวทีโลกจึงมีเพียง ๒ ประเทศ คือ สหภาพโซเวียต และสหรัฐอเมริกา


ความขัดแย้งผลประโยชน์และความยิ่งใหญ่
กลับมาประสานกับความขัดแย้งทางลัทธินิยมอุดมการณ์


พอสงครามสิ้นสุดลง ขณะที่ประเทศซึ่งเป็นแกนนำของสงครามกำลังบอบช้ำอยู่ สหภาพโซเวียตก็เริ่มแผ่อิทธิพลขยายอำนาจออกไป ซึ่งหมายถึงการแผ่ขยายลัทธิคอมมิวนิสม์นั่นเอง

ดินแดนที่รัสเซียสูญเสียไป สืบเนื่องจากสงครามโลกครั้งที่ ๑ (ช่วง 1919-1921) ก็ได้คืนมา ประเทศในยุโรปตะวันออกก็กลายเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ หรืออยู่ในข่ายอำนาจของสหภาพโซเวียต จนกระทั่งคอมมิวนิสต์ได้คุมอำนาจในยุโรปภาคกลางและภาคตะวันออกเกือบทั้งหมด

สหภาพโซเวียตดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของตนโดยไม่ยอมร่วมมือหรือรับฟังประเทศอื่นๆ ในยุโรป และแม้แต่สหประชาชาติ ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ ๒ นั้น (๕๐ ประเทศลงนามรับรองกฎบัตรที่เมืองซานฟรานซิสโก เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 1945 และมีผลบังคับในวันที่ 24 ตุลาคม 1945) เพื่อส่งเสริมสันติภาพ ความมั่นคง และการพัฒนาเศรษฐกิจ

ด้วยความหวาดกลัวต่อการแผ่ขยายอำนาจของโซเวียต ซึ่งหมายถึงการแพร่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสม์ และการเข้ามาควบคุมจัดการกับยุโรปตะวันออก สหรัฐก็เลิกนโยบายที่แยกตัวโดดเดี่ยวจากยุโรป

แล้วเข้ามาในเวทีการเมืองระหว่างประเทศของยุโรป

ดังปรากฏว่า ในค.ศ.1947 สหรัฐได้ประกาศหลักการทรูแมน (Truman Doctrine) ซึ่งมุ่งล้อมจำกัดการขยายอำนาจของโซเวียต แล้วต่อมาก็เสนอแผนการมาร์แชลล์ (Marshall Plan) เพื่อช่วยให้ยุโรปฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ

ต่อมาความขัดแย้งที่สหรัฐต้องเข้าเกี่ยวข้องก็ยิ่งมากขึ้น เช่น โซเวียตได้ทำการต่างๆ ในการปิดกั้นขัดขวางเพื่อให้สัมพันธมิตรสละเยอรมนี

การขึ้นสู่ความเป็นอภิมหาอำนาจ และการเผชิญหน้ากันระหว่างสหภาพโซเวียตกับสหรัฐอเมริกา ได้ทำให้ยุโรปแบ่งเป็นตะวันตกกับตะวันออกอย่างชัดเจน

ยุโรปตะวันตกได้รับความช่วยเหลือตามแผนการมาร์แชลล์อยู่ภายใต้อิทธิพลของสหรัฐ ส่วนยุโรปตะวันออกก็มีระบอบการปกครองคอมมิวนิสต์ภายใต้อาณัติของโซเวียต

การขัดแย้งแข่งขันชิงชัยกันดำเนินไปในภาวะที่เรียกว่า สงครามเย็น (Cold War) ระหว่างโลกสองค่าย คือ คอมมิวนิสต์กับเสรีประชาธิปไตย ซึ่งขับเคี่ยวกันอย่างเข้มข้นมากในช่วง ค.ศ.1948-1953

การสู้รบกันระหว่างประเทศทั้งหลายในสงครามโลกครั้งที่ ๒ นั้น นอกจากเป็นการแข่งอำนาจแย่งชิงความเป็นใหญ่ (มานะ) และการหวงแหนแก่งแย่งผลประโยชน์ (ตัณหา) กันแล้ว ก็ได้มีเรื่องของลัทธินิยมอุดมการณ์ (ทิฏฐิ) เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

ดังที่เมื่อมองในแง่นี้ สงครามในยุโรปก็เป็นการต่อสู้กันระหว่างลัทธิประชาธิปไตย (democracy) ลัทธินาซี (Nazism) และลัทธิคอมมิวนิสม์ (Communism)

เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒ สิ้นสุดลง และลัทธินาซีก็จบสิ้นไปด้วยแล้ว การขัดแย้งใหม่ก็เริ่มขึ้น และเกิดเป็นสงครามเย็น (Cold War) ระหว่างโลก ๒ ค่าย คือ เสรีประชาธิปไตย กับ สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ดังได้กล่าวแล้ว

ทั้งนี้ จุดเด่นที่สำคัญคือ คราวนี้ความขัดแย้งในด้านลัทธินิยมอุดมการณ์ (ทิฏฐิ) ได้ก้าวขึ้นมาเป็นตัวชู ส่วนการต่อสู้ช่วงชิงอำนาจ (มานะ) และแย่งชิงผลประโยชน์ (ตัณหา) แม้จะยังมีความสำคัญมาก แต่ก็กลายเป็นปัจจัยแฝงเร้นหรือเป็นตัวประกอบไป

อนึ่ง ในแง่ลัทธินิยมอุดมการณ์ (ทิฏฐิ) นั้นเอง ความเชื่อถือในลัทธิศาสนา ซึ่งเคยเป็นตัวชูที่ผลักดันสงครามและความรุนแรงในความขัดแย้งของยุคก่อนๆ ในยุโรป และระหว่างยุโรปกับตะวันออกกลาง ได้ลดความสำคัญลงไปจนแทบจะหมดความหมาย

ส่วนลัทธินิยมในด้านการถือพงศ์เผ่าหรือชาติพันธุ์ (racism) ก็ลดความสำคัญลงเช่นเดียวกัน โดยเป็นปัจจัยแฝงเร้นที่พร้อมจะรุนแรงระเบิดขึ้นมาได้ต่อไป

ต่อจากสนามขับเคี่ยวในยุโรป การต่อสู้ก็ขยายมาทางเอเชียด้วย ในปี 1949 ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่ฝ่ายสัมพันธมิตรรวมดินแดนเยอรมันในความยึดครองของตน ตั้งเป็นสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Federal Republic of Germany) หรือเยอรมันตะวันตก และฝ่ายคอมมิวนิสต์ตั้งสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมัน (German Democratic Republic) หรือเยอรมันตะวันออก


(มีต่อ ๓๖)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ก้อนดิน
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 07 ก.ค. 2004
ตอบ: 623

ตอบตอบเมื่อ: 24 ก.ค.2007, 2:21 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ในปีเดียวกันนั้นเอง คอมมิวนิสต์ซึ่งรบชนะในจีน ก็ตั้งประเทศจีนเป็นสาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China) และในปีต่อมา จีนก็หนุนเกาหลีเหนือเข้ารบกับเกาหลีใต้

อเมริกาพร้อมด้วยประเทศอื่นๆ ที่เป็นสมาชิกของสหประชาชาติก็เข้าช่วยเกาหลีใต้ เกิดสงครามเกาหลีตั้งแต่ 25 มิถุนายน 1950 จนมาเซ็นสัญญาสงบศึก ณ 27 กรกฎาคม 1953

ชัยชนะของคอมมิวนิสต์ในจีน และสงครามเกาหลี ได้เป็นเหตุให้สหรัฐอเมริกาดำเนินนโยบายต่อสู้ป้องกันอิทธิพลของคอมมิวนิสต์ในเอเชียอย่างเต็มที่ และเพราะเหตุที่ญี่ปุ่นก็หมดอำนาจไปแล้วจากการแพ้สงครามโลก อิทธิพลทั้งทางการเมืองและการทหารของอเมริกาก็แผ่ขยายออกไปในเอเชีย

ต่อมา สหรัฐก็ได้ทุ่มเทกำลังทรัพย์และกำลังทางทหารเป็นอันมาก เพื่อป้องกันไม่ให้คอมมิวนิสต์เข้าครองอำนาจในอินโดจีน เนื่องจากว่า เมื่อฝรั่งเศสพ่ายแพ้ในสงครามอินโดจีน (1945-1954) และเวียดนามได้ถูกแบ่งแยกเป็นเวียดนามเหนือกับเวียดนามใต้ในปี 1954 แล้ว กองโจรคอมมิวนิสต์เวียดกงก็ได้พยายามยึดอำนาจในเวียดนามใต้เรื่อยมา

สหรัฐได้เข้าช่วยรัฐบาลเวียดนามใต้ตั้งแต่ปี 1961 แต่ในที่สุด คอมมิวนิสต์ก็เป็นฝ่ายชนะ โดยได้เข้ายึดเวียดนามใต้ เมื่อวันที่ 30 เมษายน 1975 แล้วรวมเวียดนามเหนือกับเวียดนามใต้เป็นประเทศเดียวกัน ภายใต้ระบบคอมมิวนิสต์ (รวมเป็นทางการในปี 1976)

การรบระหว่างเวียดกงและเวียดนามเหนือ กับเวียดนามใต้และอเมริกา ได้ทำให้เกิดความพินาศสูญเสียอย่างมากมาย คนอเมริกันตายไป ๕๘,๐๐๐ คน บาดเจ็บ ๓ แสน ๓ พันคน ทหารเวียดนามใต้ตายประมาณ ๒ แสนคน บาดเจ็บประมาณ ๕ แสนคน ทหารเวียดนามเหนือและเวียดกงตายประมาณ ๙ แสนคน พลเรือนเวียดนามเหนือ-ใต้ตายกว่า ๑ ล้านคน

อเมริกาใช้จ่ายเงินไป ๓ เท่าของค่าใช้จ่ายในการทิ้งระเบิดทั้งหมดในสงครามโลกครั้งที่ ๒ คิดเป็นจำนวนเงินได้เกินกว่า ๑๕๐,๐๐๐ ล้านดอลลาร์

ในระยะใกล้เคียงกันนั้น คอมมิวนิสต์ก็ยึดพนมเปญได้ ในวันที่ 17 เมษายน 1975 และประเทศกัมพูชาก็เปลี่ยนเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ เรียกว่า "กัมพูชาประชาธิปไตย" (Democratic Kampuchea)

จากนั้นอีก ๔ เดือน คอมมิวนิสต์ประเทดลาวก็เข้าปลดปล่อยเมืองเวียงจันทน์ได้ในวันที่ 23 สิงหาคม 1975 และตั้งประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (Lao People's Democratic Republic) ขึ้นในเดือนธันวาคมปีเดียวกันนั้น

ในประเทศเขมร นายพอลพต ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีของรัฐบาลกัมพูชาประชาธิปไตย ได้ดำเนินการที่จะเปลี่ยนประเทศกัมพูชาเสียใหม่ ให้เป็นไปตามคติแห่งลัทธิมาร์กซิสม์

ด้วยความคลั่งไคล้ในลัทธินิยมอุดมการณ์นั้น นายพอลพตได้สังหารคนเขมรที่มีการศึกษาและมีความรู้ความสามารถเสียเกือบทั้งหมด และบังคับคนในเมืองให้ออกไปหักร้างถางพงทำการเกษตรในชนบท เป็นเหตุให้คนเขมรล้มตายไปประมาณ ๒ ล้านคน (บางแห่งว่า ๑ ล้านคน บางแห่งว่า ๑.๕ ล้านคน) รวมทั้งพระภิกษุประมาณ ๘๐,๐๐๐ รูป

ทำให้เขมรสูญเสียกำลังคนระดับสมองและฝีมือไปทั้งหมด

จนกระทั่งเมื่อเขาครองอำนาจได้ ๔ ปี พอถึงปี 1979 กองทัพเวียดนามก็ได้เข้ามาขับไล่เขมรแดงออกไป และตั้งรัฐบาลใหม่ขึ้น แล้วดำเนินงานฟื้นฟูด้านต่างๆ รวมทั้งตั้งคณะสงฆ์เขมรขึ้นใหม่ด้วย แต่ก็ทำได้ยาก เพราะขาดแคลนกำลังคน

กรณีของนายพอลพต (อุดมการณ์ หรือทิฏฐิ ด้านลัทธิเศรษฐกิจ และการเมือง) และกรณีของฮิตเลอร์ (อุดมการณ์ หรือทิฏฐิ ด้านลัทธินิยมชาติพันธุ์) เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่า การยืดถือลัทธินิยมอุดมการณ์ต่างๆ หรือทิฏฐินั้น อาจก่อภัยพิบัติได้รุนแรงยิ่งกว่าการแย่งชิงผลประโยชน์ด้วยตัณหา และการแก่งแย่งอำนาจความยิ่งใหญ่ด้วยมานะเสียอีก

ทั้งนี้ เพราะว่าผลประโยชน์และอำนาจอยู่นอกตัวคน ถ้าเขาได้ผลประโยชน์หรืออำนาจนั้นแล้ว และถ้าตัวคนไม่เป็นเครื่องขวางกั้นผลประโยชน์หรืออำนาจของเขา เขาก็ไม่จำเป็นต้องกำจัด แต่ทิฏฐิหรือลัทธินิยมนั้น อยู่ในตัวคน ถ้าเขาไม่เปิดใจกว้าง ก็จะต้องกำจัดตัวคนที่มีทิฏฐิไม่เหมือนกับเขานั้นเสียเลยทีเดียว


หลังเวทีแข่งขันของมหาอำนาจ ๒ ค่ายอุดมการณ์
ระบบอุตสาหกรรมกำหนดสถานะความสัมพันธ์ในโลก


หลังจากความล้มเหลวในการที่จะป้องกันคอมมิวนิสต์ไม่ให้เข้าครองอำนาจในอินโดจีนแล้ว สหรัฐก็เริ่มเปลี่ยนบทบาทของตนในเอเชียเสียใหม่ โดยเฉพาะ คือ เปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์กับประเทศจีน โดยหันไปรับรองรัฐบาลปักกิ่ง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 1979 ขณะที่ทางฝ่ายจีนก็มีความสัมพันธ์กับสหภาพโซเวียตในทางเสื่อมทรามลง

ความเป็นไปเหล่านี้ แสดงให้เห็นว่า เมื่อกำลังความยึดถือลัทธินิยมอุดมการณ์เบาลง ความสัมพันธ์ในเชิงผลประโยชน์และอำนาจก็เข้ามามีบทบาทได้มากขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน ก็ต้องเข้าใจด้วยว่า เมื่อความแตกต่างในด้านลัทธิอุดมการณ์ยังมีอยู่ ความสัมพันธ์นั้นก็แฝงความไม่ไว้วางใจอยู่ด้วยภายใน

ในด้านเศรษฐกิจ ขณะที่ประเทศในยุโรปบอบช้ำอยู่ และต้องฟื้นฟูประเทศชาติกันใหม่ อุตสาหกรรมของสหรัฐก็เหมือนกับได้โอกาสที่จะขยายตัวอย่างมากและรวดเร็ว

ผลผลิตอุตสาหกรรมของสหรัฐ ภายใน ๕ ปี นับแต่ ค.ศ.1945 ได้เพิ่มขึ้นเป็น ๒ เท่าตัว ทำให้เศรษฐกิจของสหรัฐหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ นั้น เฟื่องฟูมาก

อย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่นซึ่งแม้จะพ่ายแพ้ ประสบความพินาศย่อยยับจากสงครามนั้น และต้องสร้างเนื้อสร้างตัวใหม่ แต่ก็ฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ปรากฏว่า เมื่อถึงช่วงปลายแห่งทศวรรษ 1970 ญี่ปุ่นก็ได้กลายเป็นยักษ์ใหญ่ทางเศรษฐกิจแห่งตะวันออกไกล

และต่อมาก็ได้กลายเป็นคู่แข่งของสหรัฐในเวทีเศรษฐกิจทั่วทั้งโลก


(มีต่อ ๓๗)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ก้อนดิน
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 07 ก.ค. 2004
ตอบ: 623

ตอบตอบเมื่อ: 26 ก.ค.2007, 7:27 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ครั้นถึงทศวรรษแห่ง ค.ศ.1980 ประเทศอื่นๆ ในเอเชีย ซึ่งตามอย่างญี่ปุ่น ก็ได้ก้าวขึ้นมาเป็นเสือเศรษฐกิจ ("tiger" economies) ได้แก่ ไต้หวัน เกาหลีใต้ ฮ่องกง และสิงคโปร์ (จนกระทั่งมากลายเป็นเสือป่วย ในค.ศ.1997)

ประเทศน้อยใหญ่ทั้งหลาย ซึ่งส่วนมากเคยเป็นอาณานิคมของประเทศใหญ่ในยุโรปมาก่อน เมื่อถึงยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ แม้จะหลุดจากความเป็นอาณานิคม และพ้นจากอำนาจควบคุมทางการเมือง มามีรัฐบาลปกครองตนเองแล้ว แต่ก็ยังมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับประเทศเจ้าอาณานิคมเดิมต่อมา โดยมีลักษณะเป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอุตสาหกรรมที่พัฒนาแล้ว กับประเทศกำลังพัฒนาที่ปรารถนาจะเป็นประเทศอุตสาหกรรม

ประเทศอุตสาหกรรมที่พัฒนาแล้ว เป็นฝ่ายนำเข้าวัตถุดิบ เช่น แร่ธาตุ ตลอดจนอาหารและสินค้าการเกษตรอย่างอื่น และส่งออกซึ่งผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสำเร็จรูป ซึ่งมักเป็นไปในรูปของการซื้อถูก-ขายแพง

ส่วนประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งปรารถนาจะเป็นประเทศอุตสาหกรรม ส่วนมากแม้จะทำการผลิตอย่างประเทศอุตสาหกรรมไม่ได้ แต่ก็พยายามบริโภคอย่างหรือยิ่งกว่าประเทศอุตสาหกรรม จึงเป็นฝ่ายนำเข้าผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสำเร็จรูป และส่งออกวัตถุดิบและสินค้าภาคเกษตร ตลอดจน ผลิตภัณฑ์มูลฐานที่สืบมาตามประเพณี ในลักษณะที่เป็นการซื้อแพง-ขายถูก

ประเทศอุตสาหกรรมเหล่านั้น ซึ่งแท้จริงเป็นฝ่ายพึ่งพา แต่สามารถจัดสรรรูปลักษณะความสัมพันธ์ให้กลับเป็นตรงข้ามได้คือ ประเทศกำลังพัฒนา กลายเป็นฝ่ายพึ่งพาประเทศอุตสาหกรรม ทำให้ประเทศอุตสาหกรรมที่พัฒนาแล้ว ยังคงมีอำนาจบังคับควบคุมประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหลาย อันเป็นลักษณะความสัมพันธ์อย่างอาณานิคมอีกแบบหนึ่ง

ดังที่มีนักวิชาการของตะวันตกกล่าวว่า "ระบบอาณานิคมทางเศรษฐกิจ ได้เข้ามาแทนที่ระบบอาณานิคมทางการเมือง" - "Economic colonialism replaced political colonialism." ("Europe: International Relations," Compton"s Interactive Encyclopedia, 1997)

ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจแบบที่ว่านี้ ประเทศที่กำลังพัฒนาอาจผูกพันอยู่กับประเทศเจ้าอาณานิคมของตนแต่เดิมก็ได้ อาจจะขยายหรือเปลี่ยนไปสัมพันธ์กับประเทศอุตสาหกรรมอื่นก็ได้ และแม้ประเทศกำลังพัฒนาที่ไม่เคยเป็นอาณานิคมมาก่อนเลย ก็อาจจะมามีความสัมพันธ์แบบนี้กับประเทศอุตสาหกรรมที่ไหนก็ได้ ดังนั้น ระบบอาณานิคมทางเศรษฐกิจจึงแผ่กว้างขวางครอบคลุมไปทั่ว

นอกจากนี้ ภายใต้ระบบอาณานิคมทางเศรษฐกิจนั้น อิทธิพลครอบงำทางการเมืองก็แฝงตัวเข้าไปด้วยอย่างลึกซึ้ง ด้วยเหตุนี้ทวีปเอเชียและดินแดนในโลกที่สาม (Third World) คือประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลาย จึงเป็นเวทีแข่งขันแห่งการแผ่ขยายอิทธิพลระหว่างประเทศมหาอำนาจสองค่าย คือ ตะวันตกกับตะวันออกนั้นสืบมา


เมื่อโลกมีมหาอำนาจอุดมการณ์สองค่าย ความกลัวช่วยยั้งสงครามใหญ่
พอโลกเลิกแยกสองค่าย สงครามย่อยทางผิวเผ่าศาสนาก็ปะทุไปทั่ว


สงครามเย็น (Cold War) มีความรุนแรงถึงขีดสูงสุดช่วงแรก เมื่อประเทศอภิมหาอำนาจ ๒ ค่าย แข่งอิทธิพลกันในยุโรป ระหว่าง ค.ศ.1948-1953 ดังกล่าวแล้ว

ต่อมา สงครามเย็นนั้นก็ทวีความรุนแรงขึ้นอีกในช่วงต้นของทศวรรษ 1980s เมื่อประเทศอภิมหาอำนาจ ๒ ค่ายนั้น แข่งกันสะสมอาวุธเป็นการใหญ่ และช่วงชิงกันแผ่ขยายอิทธิพลในประเทศโลกที่สาม

อย่างไรก็ตาม พอถึงช่วงปลายของทศวรรษแห่ง ค.ศ.1980s นั้นเอง สงครามเย็นก็ผ่อนคลายลง เนื่องจากนายโกร์บาชอฟ (Mikhail S. Gorbachev) ผู้นำโซเวียต ดำเนินนโยบายใหม่ (คือ นโยบาย glasnost = การเปิดกว้าง และ perestroika = ปรับโครงสร้างใหม่)

นโยบายใหม่นี้ เป็นการปฏิรูประบบการปกครองของโซเวียต ยกเลิกการกุมอำนาจเบ็ดเสร็จ (totalitarianism) ผ่อนคลายการผูกขาดอำนาจของพรรคคอมมิวนิสต์ เปิดให้มีเสรีภาพมากขึ้น และยอมให้มีเศรษฐกิจแบบการตลาด

ต่อจากนั้น ก็ได้เกิดความเปลี่ยนแปลงในโลกค่ายตะวันออกของฝ่ายโซเวียตอย่างรวดเร็ว ชนิดที่แทบไม่มีใครคาดฝัน

ในช่วงปี 1989-1990 ระบอบคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออกได้สลายตัวลง เยอรมนีตะวันออก โปแลนด์ ฮังการี และเชก-โกสโลวาเกีย เกิดมีรัฐบาลแบบประชาธิปไตย และเยอรมันตะวันออกกับเยอรมันตะวันตกก็รวมเข้าด้วยกัน ทั้งหมดนี้ โกร์บาชอฟได้ปล่อยให้เป็นไป ทำนองเป็นการยอมรับ

แต่การปฏิรูปของโกร์บาชอฟนี้ ทำให้พรรคคอมมิวนิสต์ของเขาเองอ่อนแอลง และในที่สุด ถึงปลายปี 1991 สหภาพโซเวียตก็ล่มสลายลง เกิดเป็นประเทศเอกราชใหม่ ๑๕ ประเทศ รวมทั้ง รัสเซีย ซึ่งมีผู้นำที่มาจากการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตย และเป็นผู้ต่อต้านคอมมิวนิสม์

ในจำนวนนี้ ๑๑ ประเทศ รวมกันตั้งเป็นวงไพบูลย์แห่งรัฐอิสระ (Commonwealth of Independent States) เริ่มแต่วันที่ 8 ธันวาคม 1991 และสงครามเย็นที่ดำเนินมา ๔๕ ปี ก็จบสิ้นลง

พึงสังเกตว่า ในยุคสงครามเย็น (Cold War) ที่โลกแบ่งเป็น ๒ ฝ่าย และมีประเทศอภิมหาอำนาจ ๒ ประเทศ คือ สหรัฐ กับ โซเวียต เป็นหัวหน้าของแต่ละฝ่ายนั้น แม้ว่าการแข่งอิทธิพล ความขัดแย้ง และสถานการณ์ตึงเครียดต่างๆ จะรุนแรงล่อแหลมบ่อยครั้งก็ตาม แต่ก็มีระบบควบคุมอยู่ในตัว คือ

- ในระดับล่าง ปัญหาของประเทศเล็กประเทศน้อยทั้งหลาย ก็อยู่ในความควบคุมของประเทศอภิมหาอำนาจ ๒ ฝ่ายนั้น

- ส่วนปัญหาระหว่างประเทศอภิมหาอำนาจเอง ก็ถูกคุมหรือยับยั้งไว้ด้วยระบบดุลอำนาจ

ทั้งสองฝ่าย ต่างก็สร้างและสะสมอาวุธนิวเคลียร์ซึ่งร้ายแรงมาก อาจทำลายโลกและมวลมนุษย์ได้โดยง่าย แต่ความร้ายแรงยิ่งของอาวุธนิวเคลียร์นั่นแหละ กลับมาเป็นเครื่องยับยั้งสงคราม เพราะต่างฝ่ายต่างก็กลัวต่อการตอบโต้ของอีกฝ่ายหนึ่ง และมองเห็นว่าถึงรบกันไป ไม่ว่าจะแพ้หรือชนะ ก็ต้องพินาศไปด้วยกัน

สงครามเป็นเรื่องที่จะต้องหลีกเลี่ยงอย่างเดียว


(มีต่อ ๓๘)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ก้อนดิน
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 07 ก.ค. 2004
ตอบ: 623

ตอบตอบเมื่อ: 31 ก.ค.2007, 1:10 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

โดยนัยนี้ อาวุธนิวเคลียร์จึงกลายเป็นเครื่องยับยั้งสงคราม หรือเป็นเครื่องยั้งไว้โดยเอาภัยมาขู่ (nuclear deterrence = การยับยั้งด้วยอาวุธนิวเคลียร์) โดยมีอาวุธนิวเคลียร์ที่ร้ายแรงจริงไว้ให้มาก และแน่ใจว่า ถ้าใช้แล้วจะต้องพินาศไปด้วยกันอย่างแน่นอน (mutual assured destruction เรียกสั้นๆ ว่า MAD) เป็นดุลยภาพแห่งความสยอง (balance of terror)

ด้วยเหตุนี้ สหรัฐกับรัสเซีย จึงวุ่นวายอยู่กับการแข่งกันสร้างและสะสมอาวุธนิวเคลียร์บ้าง เจรจาลดหรือควบคุมอาวุธนิวเคลียร์บ้าง ตลอดยุคสงครามเย็น

ทั้งที่มีอำนาจใหญ่คอยควบคุมไว้ และถ่วงดุลกันอย่างนี้ ก็ยังมีสงครามย่อยเกิดขึ้นที่โน่นบ้าง ที่นี่บ้าง อยู่เรื่อยๆ

นอกจากสงครามและการสู้รบกันระหว่างคู่ปรปักษ์แล้ว นับแต่ ค.ศ.1968 ก็ได้มีภัยอย่างใหม่ที่รุนแรง และเกิดบ่อยครั้งมากขึ้น คือ การก่อการร้าย (terrorism) ซึ่งเป็นอันตรายที่ใครๆ อาจต้องประสบเมื่อใดก็ได้โดยไม่รู้ตัว เป็นภัยที่ไม่จำกัดอยู่แค่ทหารหรือศัตรู แต่อาจเกิดได้แม้แก่ชาวบ้านที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ จึงทำให้โลกที่ว่าเจริญแล้วนี้ เป็นถิ่นที่น่ากลัวมากยิ่งขึ้น

ยุคสงครามเย็น ๔๕ ปี เป็นระยะเวลาที่ความขัดแย้งระหว่างมนุษย์ มารวมสู่จุดยอดที่ปัญหาเกี่ยวกับลัทธินิยมอุดมการณ์ คือ เรื่องทิฏฐิทางด้านเศรษฐกิจและการเมือง ระหว่างเสรีประชาธิปไตย กับสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ โดยมีการแก่งแย่งผลประโยชน์ (หรือตัณหา) และการช่วงชิงอำนาจ (หรือมานะ) เป็นตัวหนุน

นอกจากปัญหาความขัดแย้งด้านผลประโยชน์และอำนาจเป็นตัวประกอบแล้ว แม้แต่ในด้านลัทธินิยมหรือทิฏฐิเอง ปัญหาเกี่ยวกับลัทธินิยมด้านอื่น เช่น เรื่องความเชื่อทางศาสนา และการยึดถือพงศ์เผ่าชาติพันธุ์ ที่เคยเป็นปมเด่นของความขัดแย้ง ก็ได้กลายเป็นเรื่องระดับรอง หรือเป็นเรื่องปลีกย่อยลงไป

แต่กระนั้นก็จะเห็นได้ว่า ลัทธินิยมด้านศาสนาและเผ่าพันธุ์ยังคงเป็นปัญหาที่คุกรุ่นอยู่ และระเบิดออกมาเป็นการก่อการร้าย และสงครามหรือการสู้รบย่อยๆ อย่างประปรายเรื่อยมา ส่วนสงครามสำคัญๆ จะเป็นเรื่องของการขยายลัทธินิยมอุดมการณ์ใหญ่ ๒ ลัทธิข้างต้น

เมื่อสงครามเย็นสิ้นสุดลงแล้ว และระบบคอมมิวนิสต์ที่เป็นหลักใหญ่ล่มสลายไปแล้ว สหรัฐอเมริกาก็เป็นอภิมหาอำนาจที่โดดเด่นแต่ผู้เดียว และระบบประชาธิปไตยที่ผสานกับเศรษฐกิจระบบทุนนิยมเสรี ก็แพร่ขยายครอบคลุมโลก อย่างแทบจะไม่มีคู่แข่ง

แต่เพราะความไม่มีคู่แข่งที่จะมาคานนี่แหละ ก็จะทำให้ปมปัญหาเก่าๆ กลับลอยตัวปรากฏเด่นขึ้นมาอีก

เพราะฉะนั้น เมื่อสงครามเย็นสิ้นสุดไปแล้ว และเมื่อการสู้รบหรือสงครามเพื่อขยายลัทธินิยมอุดมการณ์สังคมนิยมหรือคอมมิวนิสม์จางหายไป การขัดแย้ง ต่อสู้ และสงคราม ที่เนื่องจากปัญหาความแตกต่างทางด้านพงศ์เผ่าเหล่ากอ ชาติพันธุ์ และลัทธิศาสนา ซึ่งเป็นปัญหาด้านทิฏฐิอีกแบบหนึ่ง ก็เริ่มปรากฏขึ้นทันที

ดังเช่น เมื่อระบบโซเวียตล่มสลายลง พอยูโกสลาเวียสลัดระบบคอมมิวนิสต์ออกไป ประเทศที่รวมเป็นอันเดียวภายใต้อุดมการณ์คอมมิวนิสม์ก็แตกกระจาย

เกิดการแบ่งแยกทั้งโดยลัทธิศาสนา และพงศ์เผ่าชาติพันธุ์ เกิดสงครามกลางเมืองเพื่อชำระล้างชาติพันธุ์ (ethnic cleansing) ซึ่งรวมทั้งความชิงชังทางศาสนา เป็นสงครามที่โหดร้ายทารุณอย่างยิ่ง ระหว่างคนที่อยู่ร่วมสังคมเดียวกัน คนตายไปถึง ๒๐๐,๐๐๐ คน พลัดบ้านพลัดถิ่น ๒ ล้านคน

ทั้งนี้ ไม่ต้องพูดถึงปัญหายิวกับอาหรับ และปัญหาไอร์แลนด์เหนือ เป็นต้น ที่เรื้อรังมานานแสนนาน รวมทั้งปัญหาที่สหรัฐอเมริกาเองได้ประสบมา กำลังผจญอยู่ และจะต้องเผชิญมากขึ้นๆ ต่อไป

เมื่อโลกเจริญมาถึงยุคที่เรียกว่า เป็นโลกาภิวัตน์แล้ว ถ้ามนุษย์ผู้ถือตัวว่ามีอารยธรรม ยังไม่ยอมพัฒนาระบบวิธีคิด และแก้ไขระบบคุณค่าที่ยึดถือเกี่ยวกับปัญหาการแบ่งแยกกลุ่มพวก เนื่องจากลัทธินิยมทางศาสนาและพงศ์เผ่าเหล่ากอ เพื่อปรับระบบพฤติกรรมเสียใหม่ มนุษยชาติก็ปราศจากความหวังที่จะมีสังคมแห่งสันติสุข

แต่ตรงข้าม ปัญหาความขัดแย้งตลอดจนสงครามเนื่องจากลัทธินิยมทางศาสนาและเผ่าพันธุ์นั้น มีศักยภาพที่จะรุนแรงยิ่งกว่าความขัดแย้งด้านลัทธินิยมหรืออุดมการณ์ทางเศรษฐกิจและการเมืองเสียอีก เพราะเขาไม่อาจแม้แต่จะยกเอาตัวปัญหาขึ้นมาพูดจาทำความเข้าใจกัน


๔. อุตสาหกรรมหนุนเศรษฐกิจการเมืองสู่ยุคการค้าเสรี

อุตสาหกรรมนำโลกเจริญก้าวหน้า
แต่มาติดตันกับปัญหาการพัฒนาไม่ยั่งยืน


โลกเข้าสู่ยุคใหม่โดยการนำของประเทศตะวันตก เริ่มตั้งแต่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 แต่การปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นกระบวนการที่ยาวนาน ยังดำเนินไปเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบันประเทศทั้งหลายก็ยังเป็นประเทศอุตสาหกรรมกันไม่ทั่วถึง

ประเทศใดเปลี่ยนเป็นประเทศอุตสาหกรรมแล้ว ก็นับว่าเข้าสู่สมัยใหม่ เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ประเทศใดยังไม่เป็นประเทศอุตสาหกรรม ก็ยังไม่ชื่อว่าได้พัฒนา แต่ก็ให้เกียรติโดยเรียกว่าเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา (ขึ้นสู่ความเป็นประเทศอุตสาหกรรม)

อุตสาหกรรมทำให้โลกเจริญอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เพราะมีพลังใหญ่ที่ขับดันอยู่ คือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเฉพาะเมื่อวิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยีนั้นแต่งงานกันได้ ตามที่เบคอนเสนอไว้ (เบคอน/Bacon เสนอไว้ก่อนนานแล้ว ตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ในระยะที่ยังปฏิวัติวิทยาศาสตร์กันอยู่) ความเจริญก้าวหน้าก็ยิ่งรวดเร็วมากขึ้น จนทำให้โลกโดยเฉพาะส่วนที่พัฒนาแล้วนั้นมีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างมหัศจรรย์


(มีต่อ ๓๙)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง