Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 นั่งสมาธิแล้ว ไม่มีลมหายใจ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ณรงค์เดช
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 14 พ.ค. 2007
ตอบ: 1

ตอบตอบเมื่อ: 14 พ.ค.2007, 1:57 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผมหัดนั่งสมาธิประมาณ 5 ครั้ง ครั้งสุดท้ายผม เหมือนตัวลอยออกจากร่างและเหมือนไม่มีตัวตนอยู่เลย ไม่มีลมหายใจ ผมกลัวมาก พยายามกำหนดลมแต่นานมากยิ่งกลัว ประมาณ 2 นาทีจึงรู้สึกว่ามีลมหายใจแน่สั้นและเร็วมาก ห้วใจเต็นแรง ผมกลัวจึงออกจากสมาธิ ผมควรทำอย่างไรครับ จะหายกลัวและกล้าทำอีก
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
^^o^^
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 14 พ.ค.2007, 2:19 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ทำสมาธิแล้วรู้สึกว่าเหมือนจะไม่หายใจ ทำไงดีคะ
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=11455
 
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 14 พ.ค.2007, 6:06 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผมหัดนั่งสมาธิประมาณ 5 ครั้ง
ครั้งสุดท้าย
ผมเหมือนตัวลอยออกจากร่างและเหมือนไม่มีตัวตนอยู่เลย
ไม่มีลมหายใจ
ผมกลัวมาก
พยายามกำหนดลมแต่นานมากยิ่งกลัว ประมาณ 2 นาที จึงรู้สึกว่ามีลมหายใจแน่สั้นและเร็วมาก
หัวใจเต้นแรง
ผมกลัวจึงออกจากสมาธิ
ผมควรทำอย่างไรครับ จะหายกลัวและกล้าทำอีก


ปฏิบัติได้ดีนี่ครับ เพียง 5 ครั้งเท่านั้นเอง
ก็พบกับสภาวะดังกล่าวแล้ว (น่าจะบอกด้วยว่าปฏิบัติด้วยวิธีใด)

ดังกล่าวคือปัญหาที่นักปฏิบัติ (แบบใช้คำภาวนา) เป็นๆ ถามๆ กันอยู่ทั่ว ๆไป

ถ้าจะให้เดา
คุณณรงค์เดช ใช้คำภาวนาพุทโธ (หรือไม่ก็พองหนอ ยุบหนอ แต่พอง-ยุบท่านสอนให้ภาวนาความคิดด้วย)

น่าจะใช้พุทโธมากกว่า
แม้จะใช้คำภาวนาอื่นๆ ก็เกิดอารมณ์อาการดังกล่าวได้ (ยกเว้นนั่งตามดูความคิด ซึ่งเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง จะไม่กล่าวถึงในที่นี้)

-ตอบรวม ๆก่อนว่าอาการดังกล่าวมานั้น คือสภาวะของมัน
ธรรมดามันเป็นเช่นนั้นเอง หมายความว่าเมื่อบริกรรมภาวนาจนกระทั่งความฟุ้งซ่านสงบลง จิตอยู่กับองค์กรรมฐาน (ลมหายใจ หรือ พองยุบเป็นต้น) ได้นานขึ้น อาการดังกล่าวก็เกิด

-ความจริงลมหายใจไม่ได้หายไปไหนหรอก ยังหายใจอยู่แต่มันละเอียดยิบมากๆ จนเรากำหนดรู้ไม่ได้ เพราะสติยังน้อยอยู่ จึงรู้ไม่ถึงมัน (ไม่เสียหาย-ไม่ผิดทางอะไร)

เมื่อเกิดอาการดังกล่าว เราไม่ภาวนาอารมณ์ความรู้สึกนั้นด้วย มัวแต่ภาวนาพุทโธ ๆ เป็นต้นอย่างเดียว
จิตก็จึงยึดจึงปรุงแต่งเป็นความกลัว เป็นต้น

เมื่อเกิดกลัวขึ้นมา คุณไม่ภาวนาความรู้สึกนั้นด้วยนี่
(กรัชกาย ถึงคาดเดาได้ว่า คุณณรงค์เดชไม่ได้ใช้วิธีปฏิบัติแบบพองหนอ ยุบหนอ เพราะผู้ปฏิบัติแบบพองหนอยุบหนอ แล้วเมื่อรู้สึกอย่างไรก็กำหนดรู้ หรือทำปริญญาความรู้สึกนั้น อาการนั้นๆด้วย เพื่อตัดความปรุงแต่งนั้น)

ตอบกว้างๆอย่างนี้

ถ้าตอบให้กระชับตรงสภาวะที่เกิดจริงๆ เพื่อที่คุณจะได้นำไปปฏิบัติต่อได้ โดยไม่คลุมเครือ
กรัชกายจะทำเป็นตัวอย่างให้ดูแล้วนำไปแก้อารมณ์นั้นๆ ได้เองเลย

คุณบริกรรมภาวนาอย่างไรก็ทำไปตามเดิมนั้นนะครับ

แต่เมื่อเกิดอาการเช่น....ผมเหมือนตัวลอยออกจากร่าง และเหมือนไม่มีตัวตนอยู่เลย
ไม่มีลมหายใจ, กลัวมาก


ให้คุณวางลมหายใจก่อน ไปภาวนาความรู้สึกดังกล่าวเช่น...ว่าตัวลอยหนอๆๆๆ แล้วให้ปล่อยความรู้สึกนั้น กลับไปพุทโธ ๆ ต่อใหม่

อีกเช่น....รู้สึกว่าตัวหาย...ให้วางลมก่อน....ภาวนาตัวหายหนอๆๆๆ แล้วปล่อยอารมณ์นั้น กลับไปพุทโธๆๆ ต่อ

อีกเช่น...(ลมหายใจหาย)...ลมหายหนอๆๆๆ
แต่คราวนี้ลมหายแล้ว (ไม่มีหลักให้จิตเกาะแล้ว) เราก็ไปภาวนารูปนั่งทั้งหมดได้ นั่งหนอๆๆๆ ไปเรื่อยๆ เพื่อไม่ให้จิตเคว้งคว้างฟุ่งซ่าน จนลมปรากฏ แล้วก็พุทโธ ต่อ

หรือจะภาวนาที่จุดใดจุดหนึ่งที่ปรากฏชัดในความรู้สึกตอนนั้นก็ได้ เช่นที่บริเวณที่กระทบพื้น (ตาตุ่ม) ถูกหนอ นั่งหนอ ไปด้วยกันได้

อีกเช่น...เกิดกลัวขึ้นมา...วางพุทโธก่อน
ให้ปักจิตลงที่ใต้ราวนมด้านซ้ายตรงหัวใจ
ภาวนากลัวหนอๆๆ แล้วปล่อย ไปพุทโธๆ ต่อ

เกิดอาการที่ยิ่งกว่านี้แปลกกว่านี้ขึ้นมาอีก ก็มีลักษณะเดียวกัน

สุดท้าย ....
หรือจะค่อยๆ ลืมตาดูบ้างก็ได้ ดูสิว่า ตัวมันลอยจริงไหม ตัวมันหายจริงไหม
ก็พอได้ เพื่อให้เกิดความมั่นใจยิ่งขึ้น

แต่กรัชกายรับประกันซ่อมฟรีว่า เราก็ยังนั่งโด่อยู่ตรงนั้นแหละ แต่สภาวะความรู้สึกมันเป็นเช่นนั้นเอง
ท่านเรียกว่าสภาวธรรม (เป็นเอง) ให้กำหนดรู้ตามเป็นจริงเสีย ก็จะผ่านจุดนั้นๆไปได้ สภาวะก็จะรุดหน้าไปเรื่อยๆ

แต่นักปฏิบัติไม่รู้วิธีแก้จึงกลัวเป็นต้น ได้เลิกปฏิบัติไปอย่างน่าเสียดาย


อ้อ...เกือบลืม..
ลมหายใจก็มีสั้นมียาวมีเร็วมีช้า...เป็นธรรมดาของมัน
รู้สึกว่าหัวใจเต้นแรง เพราะสมาธิเจริญขึ้นจึงรู้สึกชัดเจนกว่าปกติ

รู้สึกอย่างไรกำหนดรู้อย่างนั้น เพื่อให้จิตไม่ยึดไม่กังวล ก็แค่นี้เอง

ก็ความจริงมันเป็นอย่างนั้น เราจะให้มันเป็นอย่างไรล่ะ

นี่แหละการปฏิบัติกรรมฐานที่ท่านว่า ให้บริกรรมภาวนาตามที่มันเป็น ไม่ใช่ให้เป็นให้มีตามที่เราต้องการ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เจ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 14 พ.ค.2007, 7:39 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ใจเต้นแรง หายใจสั้นเร็ว เป็นอาการความกลัว และไปพยายามบังคับมัน

ปล่อยให้รู้ ไปสบายๆ ไม่กังวล ไม่ปรุง

ไม่มีลมให้รู้ ก็รู้ว่าลมไม่มี มันยังมีตัวรู้อยู่ ก็อยู่กับตัวรู้ไป

ไม่ต้องกลัว ไม่มีอะไร แค่ตัวรู้ รู้ได้เฉพาะตน
 
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 14 พ.ค.2007, 8:33 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ในขณะนั้น ขณะที่เกิดอารมณ์กลัวขึ้น ไม่มีความคิดอย่างอื่น นอกจากคิดกลัว
เขาจึงนึกกลัว กลัวไปตามอารมณ์ความคิดนั้น...ปกติ ปุถุชนจะเป็นทาสของอารมณ์เช่นนี้

ขณะที่คิดกล้า ไม่กลัวจึงคิดไม่กลัว เพราะอารมณ์ตอนนั้นไม่กลัว

อารมณ์อื่นๆ เช่นอารมณ์โกรธเป็นต้นก็เช่นกัน

ดูอารมณ์กลัวจากลิงค์นี้

http://larndham.net/index.php?showtopic=26034&st=0
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 14 พ.ค.2007, 9:19 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ดูอารมณ์ง่วงจากคนๆหนึ่ง ดังนี้

รบกวนช่วยแนะนำด้วยค่ะ เป็นอาการนี้มาหลายวันแล้ว
เกิดอาการง่วงนอนเวลานั่งภาวนา มันอยากจะหลับให้ได้ ฝืนก็แล้ว สู้กับมันก็แล้ว นึกถึงคำพูดของหลวงตาท่านบอกว่ากำลังต่อสู้กับกิเลส ก็สู้กับความง่วง แต่ก็แพ้ทุกที มีทางแก้ไขไหมคะ


มาจากเว็บนี้
http://larndham.net/index.php?showtopic=26005

ขณะที่มีอาการง่วงนอน ก็ตกเป็นทาสของความง่วง ไม่ตกเป็นทาสของความกลัว ฯลฯ
แม้พยามนึกคิดอย่างไร ก็พ่ายมัน
เพราะอะไร ?
เพราะกำลังแห่งความคิดดังกล่าวนั้นมีกำลังไม่พอที่จะไปปลุกให้มันตื่น

-มีสามีภรรยาคู่หนึ่งตอนที่อารมณ์ดีๆ ก็มีเหตุผลคุยกันดี๊ดีกระหนุ่งกระหนิง ว่าต่อไปเราจะไม่เถียงกันแล้วไม่ทะเลาะกันแล้วนะ เราจะคุยกันดีๆ คุยกันด้วยเหตุผล
เมื่อกำลังแห่งความคิดตามข้อตกลงมีกำลังอยู่ มีอะไรก็คุยกันได้ตามเหตุผลนั้นได้

แต่..เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งพูดจึ้จุดระเบิดจุดสำคัญของอีกฝ่ายหนึ่ง...โทสะเกิดทันทีโดยไม่รู้ตัวตั้งตัวไม่ทัน ข้อตกลงที่เคยคุยกันไว้มีกำลังน้อยกว่า ก็จึงตกเป็นทาสของความโกรธอีก

เมื่อพ่อแม่ของทั้งสองฝ่าย พูดเตือนว่า อะไรกันลูก เป็นพ่อคนแม่คนกันแล้ว ยังอารมณ์ร้อนอยู่อีก อายลูกอายหลานมัน ฯลฯ...
เกรงใจบ้านใกล้เรือนเคียงเขา
ฯลฯ
พ่อแม่ ไม่มาเป็นฉันตอนนั้นนี่ จะทันคิดอะไร ตกใจ มันคิดไม่ทันนะ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ผู้เยี่ยมชม






ตอบตอบเมื่อ: 24 พ.ค.2007, 12:33 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

นั่งแล้ว ลมมัน หาย ก็ ง่ายๆ ครับ
ให้ตามรู้ไปครับ ว่าลมมันหาย ถ้ามีอาการอะไรเพิ่มขึ้นมาก็ ให้ตามรู้มันไป ทุกๆ อาการครับ
ไม่ว่าจะไปไหน เป็น อย่างไร รู้สึกอะไร ให้รู้เฉยๆ ครับ

ที่คุณกลัวก็ไม่แปลก ครับ ครั้งแรกๆ คนส่วนมากก็ กลัวเหมือนกัน ครับ ... สาธุ
นั่งไปเรื่อยๆ ครับ ถ้ามันรู้มันเห็น อะไร มากกว่านี้ก็ ให้ รู้เฉยๆ ครับ อย่าไปยินดียิน ร้ายกับ มัน

ขอทุกท่าน เจริญใน ธรรม ยิ้ม
 
ผู้เยี่ยมชม






ตอบตอบเมื่อ: 24 พ.ค.2007, 11:58 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เมื่อจิตสงบการใช้อากาศก็น้อยเป็นธรรมชาติ พอคุณเกิดความกลัวจิตปรุงแต่งขึ้นมา จิตหยาบขึ้นก็ต้องใช้อากาศมากขึ้นเลยรู้สึกอากาศไม่พอต้องหายใจถี่สั้น นี่คือธรรมชาติของจิตกับกาย พระพุทธเจ้าทรงทราบกลไกนี้เลยใช้ลมหายใจเป็นเครื่องฝึกสติ คืออานาปานสติ วิธีแก้คือต้องมีสติรู้ แบบเป็นผู้ดูผู้สังเกตุเหมือนเป็นกรรมการ ตั้งตัวรู้ไว้ตรงจุดที่รู้ได้ชัดที่สุดในกระโหลก ระวังอย่าไปเกาะที่ลมหายใจ เป็นผู้รู้เฉยๆ ไม่ต้องเป็นนักมวย เป็นกรรมการ ทำจิตให้เป็นผู้รู้ ตื่น เบิกบาน เห็นการเปลี่ยนแปลงของกายคือลมหายใจ และอารมณ์จิตซึ่งสัมพันธ์กัน อารมณ์จิตละเอียด ลมหายใจก็ละเอียด เมื่อนิวรณ์ 5 หมดไป องค์ฌาณก็จะเกิด จากปฐมฌาณถึงจตุถฌาณ จิตจะมีกำลังเต็มที่ เป็นสมถะมีกำลังพร้อมที่จะใช้พิจราณาธรรมเช่นพิจราณากาย เวทนา จิต ธรรม เพื่อจะให้จิตเข้าใจที่จะละจากอุปาทานขันธ์ 5 พยายามมีสติเป็นผู้ดู
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง