Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 การแผ่เมตตาที่ถูกต้อง ต้องเป็นอย่างไรคะ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
natty
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 17 พ.ค. 2007
ตอบ: 3

ตอบตอบเมื่อ: 18 พ.ค.2007, 6:25 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ทุกครั้งที่เดินทางไกลมักจะเห็นสัตว์ตายข้างถนน หรือเกิดอุบัติเหตุคนตาย เรามักจะท่องบทแผ่เมตตาแบบอัตโนมัติ แต่ไม่แน่ใจว่า ที่เราท่องบทสวดไปนั้นมันถูกต้องหรือเปล่า แล้วจริงๆ แล้ว มันสามารถช่วยให้วิญญาณเหล่านั้นสงบสุขได้หรือเปล่า
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
สมพร
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 18 พ.ค.2007, 9:58 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

บอกไปง่ายๆเลยครับว่า ผลบุญที่ข้าพเจ้าทำมาแล้วตั้งแต่ต้น จนถึงปัจจุบัน จะมีผลความสุขเพียงใด ขอกุศลนี้จงถึงแก่ ..........หมาตัวไหนก็ว่าไป... ขอให้เธอจงโมทนา ให้ได้รับผลบุญเช่นเดียวกับข้าพเจ้าจะพึงได้รับ
อย่างนี้ครับ คือเราอณุญาตเป็นใช้ได้เลยครับ จากคำสอนหลวงพ่อพระราชพรหมยานวัดท่าซุง
 
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 19 พ.ค.2007, 12:32 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พุทธศาสตร์ศึกษาโดยวิธีอุปมาอุปมัย
เรื่อง "วิธีทำบุญให้ได้ผลที่สุด" (ตอนที่ ๕ การแผ่เมตตา)
พลตำรวจตรี สุชาติ เผือกสกนธ์

ข้อปฏิบัติประการหนึ่งที่จะขาดไม่ได้ของผู้ที่ปฏิบัติธรรม หลังจากการสวดมนต์ภาวนา และปฏิบัติกัมมัฏฐานแล้ว คือ "การสวดแผ่เมตตา" ซึ่งมีบทสวดเป็นภาษาบาลีที่อ่านเป็นไทยได้ว่า "สัพเพ สัตตา สุขิตา โหนตุ สัพเพ สัตตา อะเวรา โหนตุ สัพเพ สัตตา อัพยาปัชฌา โหนตุ สัพเพ สัตตา อะนีฆา โหนตุ สัพเพ สัตตา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ" แปลเป็นไทยได้ว่า "สัตว์โลกทั้งหลายที่เป็นเพื่อนร่วมทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งสิ้น จงอย่ามีเวรซึ่งกันและกันเลย จงเป็นสุข เป็นสุขเถิด จงอย่าพยาบาท เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย จงอย่ามีความลำบาก จงอย่ามีความเดือดร้อน จงอย่ามีความทุกข์กาย ทุกข์ใจเลย"

การสวดแผ่เมตตานี้เป็นบุญกิริยาอย่างหนึ่งจัดอยู่ในประเภท "การทำทาน" ดังที่ได้กล่าวไว้ในตอนที่ ๒ และเป็นกิจกรรมที่มีส่วนช่วยให้เจตสิกของท่านผู้นั้นได้รับการฝึกและพัฒนาเกิดเป็น "อัปปมัญญาเจตสิก" ที่เฝ้าคอยกระตุ้นจิตให้ระลึก มีอารมณ์มีความสงสารเห็นใจผู้ที่กำลังได้รับทุกข์เวทนา มีความอยากที่จะช่วยเหลือให้เขาพ้นจากทุกข์ที่กำลังได้รับอยู่ หรือ กำลังจะได้รับ ไม่นิ่งดูดายต่อทุกข์ของผู้อื่น ไม่เบียดเบียนผู้อื่นให้เขาได้รับทุกข์กาย ทุกข์ใจ อยู่เป็นประจำ "อัปปมัญญาเจตสิก" นี้เป็นเจตสิกหนึ่งในกลุ่ม "โสภณเจตสิก" ซึ่งเป็นเจตสิกฝ่ายกุศลที่คอยกระตุ้นให้จิตเป็นกุศลระลึกแนบแน่นอยู่กับความดีงาม ปราศจากความเร่าร้อน ตั้งอยู่ในศีลธรรม เว้นจากการกระทำบาป ทุจริตต่างๆ อยู่ตลอดเวลา สามารถประหาร "โลภเจตสิก" ที่คอยกระตุ้นให้จิตมีตัณหาอารมณ์มีความกระหายทะเยอทะยาน อยากได้อยากเป็น ได้เป็นอย่างดี จึงส่งผลให้เกิดกุศลเจตนาขึ้น ตั้งใจประกอบแต่กุศลกรรมแต่เพียงฝ่ายเดียว

คำว่า "เมตตา" หมายถึง ไมตรี ความรัก ความปรารถนาดี ความเห็นอกเห็นใจ ความเข้าใจดีต่อกัน ความใส่ใจ หรือต้องการสร้างเสริมประโยชน์สุขให้แก่เพื่อนมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย เมตตาจัดเป็นธรรมพื้นฐานของใจขั้นแรก ในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ซึ่งทำให้มองกันในแง่ดี หวังดีต่อกัน พร้อมที่จะรับฟัง และเจรจากันด้วยเหตุด้วยผล ไม่ยึดเอาความเห็นแก่ตัว มีอคติ คือ ความโกรธ ความเกลียด เป็นที่ตั้ง

การแสดงความเมตตา หรือ การแผ่เมตตานี้ เป็นธรรมชาติ หรือคุณสมบัติพื้นฐานของจิตมนุษย์ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นสัตว์ที่ประเสริฐอยู่แล้ว ในชีวิตประจำวันของแต่ละคนที่เป็นโรคทางจิต คลุ้มคลั่งจนไม่สามารถควบคุมสติสัมปชัญญะของตนได้ หรือ มีจิตโหดเหี้ยมที่สุดจนไม่อาจจะสมมุตินามของผู้นั้นได้ว่า เป็นมนุษย์ จะต้องมีการแสดงความเมตตาออกทางจิตอยู่เป็นประจำ มากบ้าง น้อยบ้าง ตามกิเลสสันดานที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด เพียงแต่เจ้าตัวมิได้สังเกตจดจำไว้เท่านั้น อาทิ วันไหนที่มีอารมณ์ดี เจ้าตัวจะยินดีพอใจที่จะกล่าวทักทายปราศรัยกับเพื่อนบ้าน หยอกล้อกับสัตว์เลี้ยงมากเป็นพิเศษ หรือ บางครั้ง ขับรถจะไปทำงาน เปิดวิทยุในรถรับฟังสถานีวิทยุกระจายเสียง จส.๑๐๐ หรือ สวพ.๙๑ ได้ทราบข่าว รถบัสแสวงบุญประสบอุบัติเหตุตกเหวระหว่างเดินทาง มีผู้โดยสารบาดเจ็บ ล้มตายเป็นเรือนร้อย "อัปปมัญญาเจตสิก" ก็จะกระตุ้นให้จิตเกิดความรู้สึกสลดใจ สมเพช สงสารในทุกข์เวทนาของบุคคลเหล่านั้นขึ้นมาโดยอัตโนมัติ

ธรรมชาติของจิตในเรื่องความเมตตานี้ หากกล่าวในเชิงอุปมา ก็เปรียบได้กับต้นไม้ผล หรือต้นไม้ดอก ซึ่งต่อไปจะเรียกวา "ต้นเมตตา" ที่ได้เจริญเติบโตขึ้นมาโดยธรรมชาติ ปราศจากเจ้าของที่หมั่นเฝ้าดูแลพรวนดิน ให้ปุ๋ย รดน้ำ เมื่อถึงฤดูกาล ต้นเมตตาก็จะให้ผล หรือให้ดอก ผลิบานสุกงอม แล้วก็ร่วงหล่นลงดินเป็นอาหารของนก กา กระรอก หรือสัตว์อื่นๆ โดยที่ มิได้บังเกิดประโยชน์แก่เจ้าของต้นเมตตานั้นแต่อย่างใด เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตาม ผลผลิตจากต้นเมตตาไม่ว่าจะเป็นดอก หรือผลนี้ ย่อมจะไม่สมบูรณ์ได้ทัดเทียมกับต้นเมตตาที่เจ้าของเอาใจใส่ หมั่นดูแลพรวนดิน ให้ปุ๋ย รดน้ำ อยู่เป็นประจำ เมื่อใดก็ตาม ที่เจ้าของได้เอาใจใส่รดน้ำ พรวนดิน ให้ปุ๋ย ต้นเมตตานั้นย่อมจะเจริญเติบใหญ่ มีลำต้นอวบใหญ่แข็งแรง มีรากแก้วงอกยาวฝังลึกลงไปในดิน ยึดแน่นจนยากที่จะโค่นล้มได้ ดอก หรือผลของต้นเมตตาก็จะมีขนาดใหญ่ มีคุณภาพสูง ไม่ว่าจะเป็นกลิ่น สี หรือ รส จัดเป็นผลผลิตที่อำนวยประโยชน์ให้แก่เจ้าของได้อย่างแท้จริง

จึงกล่าวได้ว่า "เมตตา" นี้เป็นหลักธรรมประจำใจของแต่ละบุคคล และเป็นหลักธรรมพื้นฐานสำหรับสร้างความสามัคคีและเอกภาพของหมู่ชน หรือ ที่เรียกว่า "สารณียธรรม" ซึ่งสามารถแสดงออกได้ทั้งทางกาย คือ "เมตตากายกรรม" ได้แก่ การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เช่น เมื่อเห็นคนยืนตากแดดรอจะข้ามถนน เราหยุดรถให้เขาข้ามถนน การแสดงกิริยาสุภาพเคารพนับถือกัน เช่น เมื่อมีคนหยุดรถให้เราข้ามถนน เราแสดงกิริยาขอบคุณ เคารพในน้ำใจดีของเขาด้วยการน้อมศีรษะ ส่งยิ้มให้ เป็นต้น ทางวาจา คือ "เมตตาวจีกรรม" ได้แก่ การมีวาจาที่อ่อนหวานสุภาพ สอบถามสารทุกข์สุกดิบ บอกแจ้งแนะนำ กล่าวคำตักเตือนด้วยความหวังดี และจริงใจ และทางความคิดต่อกัน คือ "เมตตามโนกรรม" ได้แก่ การมองกันในแง่ดี มีความปรารถนาดี มีความหวังดี มีความสงสาร มีความเห็นใจ อยากช่วยเหลือให้พ้นทุกข์ คิดทำประโยชน์ให้มีความสุข

เท่าที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ย่อมเป็นการยืนยันว่า การแสดงความเมตตาไม่ว่าจะโดยทางกาย วาจา หรือ ทางใจนั้น มิใช่เป็นข้อปฏิบัติที่ยุ่งยากลำบากเลยแม้แต่น้อย เพราะเป็นธรรมชาติที่เกิดขึ้นพร้อมกับจิตของมนุษย์อยู่แล้ว เพียงแต่เราให้ความสนใจหมั่นทำนุบำรุง ฝึกฝน บริหาร เฝ้ากระตุ้นให้เกิดจิตสำนึกว่า จะต้องถือปฏิบัติเป็นกิจประจำวันเพื่อให้เป็นนิสัยที่จะขาดไม่ได้ เช่นเดียวกับการ ตื่นนอนในตอนเช้า จะต้องเข้าห้องน้ำ ถ่ายปัสสาวะ อุจจาระ แปรงฟัน ล้างหน้า อาบน้ำ ฯลฯ "อัปปมัญญาเจตสิก" ก็จะเกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ ยากที่จะลบล้างให้หมดสิ้นไป เช่นเดียวกับการตอกตะปูลงไปในเนื้อไม้ ตอกวันแรก ตะปูจะฝังลงไปในเนื้อไม้เพียงเล็กน้อย จึงไม่เป็นการยากที่จะถอนดึงตะปูนั้นออก ต่อมาในวันรุ่งขึ้น และวันถัดไป เมื่อเราตอกซ้ำเป็นประจำทุกๆ วัน ตะปูจะฝังลึกลงไปในเนื้อไม้ทุกที จนกระทั่ง ไม่สามารถถอนดึงเอาออกได้โดยกรรมวิธีธรรมดา

"เมตตา" เป็นส่วนหนึ่งของ "พรหมวิหาร ๔" ซึ่งประกอบด้วย เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ผู้ที่มีจิตใจเต็มเปี่ยมยึดมั่นถือปฏิบัติอยู่ในหลัก "พรหมวิหาร ๔" เป็นประจำ จึงถือได้ว่า จิตของผู้นั้นได้รับการพัฒนาให้เป็นที่อยู่อาศัยของพรหม เพราะคำว่า "วิหาร" แปลว่า "ที่อยู่อาศัย" คำว่า "พรหม" ตามหลักของพระพุทธศาสนานั้น มิได้หมายความถึง พระพรหมซึ่งเป็นเทพเจ้าชั้นสูงที่สำคัญยิ่งพระองค์หนึ่งตามหลักศาสนาฮินดูพราหมณ์ เพราะเป็นผู้ที่สร้างโลก จึงได้มีการนิยมสร้างรูปปั้น รูปหล่อแทนพระองค์ของท่าน แล้วอัญเชิญไปประดิษฐานอยู่ตามสถานที่สำคัญต่างๆ เพื่อเคารพสักการะบูชาเป็นที่พึ่งทางใจ แต่มีความหมายว่า "ท่านผู้เป็นใหญ่" ท่านผู้เป็นใหญ่ในที่นี้ หมายถึง ผู้ประเสริฐ คือ ผู้ที่มีจิตใจกว้างขวางยิ่งใหญ่ หรือ ยิ่งใหญ่ด้วยคุณธรรมความดีงาม

ความหมายของคำว่า "พรหมวิหาร ๔" นี้ ตรงกับคำศัพท์บาลีว่า "อัปปมัญญา ๔" และคำว่า "อัปปมัญญาเจตสิก" ที่ปรากฏอยู่ในพระอภิธรรม ซึ่งผมได้กล่าวถึงข้างต้น ก็คือ "ธรรมชาติที่กระตุ้นให้จิตมีความรู้สึกเมตตา สงสาร เห็นใจ อยากจะช่วยเหลือมนุษย์สัตว์ที่กำลังได้รับทุกข์อยู่ หรือที่จะได้รับทุกข์ในภายภาคหน้า ให้มีความสุขโดยทั่วถ้วนหน้า ความรู้สึกนี้สามารถแผ่กระจายไปถึงมนุษย์สัตว์ทั้งหลายทุกหนทุกแห่งอย่างสม่ำเสมอทั่วกัน ไม่มีประมาณ ไม่จำกัดขอบเขต" การที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงสมมุติบัญญัติคำว่า "พรหม" ขึ้นเพื่อใช้ในการสื่อความหมายของสัจจธรรมที่เกี่ยวข้องไว้หลายประการ อาทิ พรหมจรรย์ พรหมกาย รูปพรหม อรูปพรหม นั้น แสดงให้เห็นถึงพระปัญญาคุณของพระพุทธองค์ที่จะทรง หลีกเลี่ยงความขัดแย้ง หรือสวนกระแสความเลื่อมใส เชื่อมั่นในลัทธิศาสนาดั้งเดิมที่มีอยู่ในท้องถิ่น การเสด็จจาริกไปตามสถานที่ต่างๆ ในประเทศอินเดียเพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนาจึงเป็นไปได้ด้วยดี

การสวดแผ่เมตตาจึงเป็นการปฏิบัติในลักษณะ "เมตตามโนกรรม" ซึ่งจะบังเกิดเป็นอานิสงส์แก่ผู้ปฏิบัติดังที่ได้แสดงไว้ใน อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต ดังนี้

การมีจิตเลื่อมใสในพระรัตนตรัย คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ มีผลมากกว่าสร้างวิหารทานถวายสงฆ์

การที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสสมาทานศีล ๕ มีผลมากกว่าการมีจิตเลื่อมใสในพระรัตนตรัย

การที่มีจิตเจริญด้วยเมตตาแม้เพียงเวลาชั่วสูดของหอมมีผลมากกว่าการมีจิตเลื่อมใสสมาทานศีล ๕

อย่างไรก็ตาม หากการสวดแผ่เมตตา รวมทั้งการสวดมนต์ ไม่ว่า จะเป็นบทสวดมนต์ "อิติปิโส ภควา...." ซึ่งเป็นบทสวดมนต์ที่พุทธศาสนิกชนทุกท่านรู้จักดีเพราะต้องสวดบทนี้กันมาตั้งแต่เริ่มเรียนหนังสือ หรือจะเป็นบทสวดพระคาถา "ชินปัญชร" ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) และการสวดพระคาถาของพระเกจิอาจารย์ต่างๆ เป็นการสวดในลักษณะท่องจำเหมือนนกแก้วนกขุนทอง ย่อมจะไม่บังเกิดประโยชน์ ไม่บังเกิดความขลังตามที่ผู้สวดได้ตั้งจิตปรารถนาไว้ เว้นแต่ว่า ในระหว่างที่ทำการสวดภาวนานั้น ผู้สวดได้ตั้งสติกระตุ้นให้จิตเกาะติด หรือน้อมดิ่งอยู่ในอารมณ์เดียว คือ มีความเมตตาระลึกไปถึงผู้หนึ่งผู้ใดก็ได้ โดยไม่เลือกที่รัก มักที่ชัง แม้แต่ผู้ที่เคยเป็นศัตรู ผู้ที่เคยอิจฉาริษยา หรือมีเจตนาร้ายอื่นๆ แก่เรา ที่กำลังประสบความทุกข์เวทนาอยู่ เช่น ผู้ที่ต้องมีส่วนร่วมได้รับเคราะห์กรรมจากวิกฤติปัญหาทางเศรษฐกิจของประเทศ ต้องแปรสภาพจากจากผู้ที่เคยมีตำแหน่งหน้าที่การงานสูง มีเงินเดือน มีรายได้ฐานะดี มาเป็นแม่ค้าขายข้าวแกง คนขายของข้างถนน แล้วตั้งอธิษฐานจิตขอให้เขาเหล่านั้นพ้นทุกข์ หรือผ่อนบรรเทาทุกข์ กลับมามีฐานะดีกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้

การบริกรรมภาวนานี้ จึงน้อมนำให้จิตเข้าไปสู่ภาวะให้พุ่งดิ่งเข้าสู่สิ่งที่ศรัทธาเลื่อมใส เชื่อถือ นิยมชื่นชอบ และด้วยแรงศรัทธานี้เองจะเพิ่มพลังให้จิตพุ่งแล่นไปในทางเดียวด้วยความกล้าหาญ เข้มแข็งมั่นคงและมั่นใจ เปี่ยมล้นด้วยความเพียร มีความปิติปราโมทย์ แล้วตามมาด้วยความสงบนิ่งบังเกิดเป็นสมาธิขึ้น อานิสงส์ที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นจึงจะเกิดขึ้น และเมื่อได้ถือปฏิบัติในลักษณะนี้เป็นประจำ จนเป็นนิสัย เจตสิกของผู้ปฏิบัติย่อมได้รับการบริหาร ได้รับการพัฒนาเป็นโสภณเจตสิกที่คอยเฝ้ากระตุ้นเตือนจิตให้ใฝ่แต่กุศลอยู่อย่างสม่ำเสมอ มีความมั่นคง ไม่เสื่อมถอยให้อกุศลเจตสิกฉวยโอกาสเข้ามาแทรกแซงได้ ดังเช่นข้ออุปมาเรื่องการตอกตะปูลงในเนื้อไม้ที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น และบังเกิดผลเป็นบารมีที่เรียกว่า "เมตตาบารมี" ซึ่งเป็นหนึ่งของบารมี ๑๐ ทัศ หรือ "ทศบารมี" ซึ่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงปฏิบัติเมื่อครั้งยังเสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์ ก่อนที่จะได้ทรงปฏิสนธิมาเสวยพระชาติเป็นเจ้าชายสิทธิทัตถะ แล้วได้ตรัสรู้ในที่สุด

เรียบเรียง ณ วันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๔๑

*********************

เอกสารอ้างอิง
๑. หนังสือ "พุทธธรรม", พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุต.โต) มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
๒. "เจตสิกปรมัตถ์", ขุนสรรพกิจโกศล (โกวิท ปัทมะสุคนธ์), มูลนิธิปริญญาธรรม

ที่มาตามลิ้งค์.....
http://www.dabos.or.th/tm5.html
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
ผู้เยี่ยมชม






ตอบตอบเมื่อ: 21 พ.ค.2007, 8:28 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กรวดน้ำ ระลึกให้แก่ ซากสัตว์ ที่เคยพบเห็น น่าจะดี นะครับ
 
การแผ่เมตตา
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 23 พ.ค.2007, 12:00 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การจะแผ่เมตตาให้ได้ผล ต้องทำสมาธิให้ได้อย่างน้อยปฐมฌาน แล้วคลายจิตออกกำหนดว่าจะแผ่เมตตาให้ใคร ยิ่งถ้าเห็นผู้ที่เราจะแผ่เมตตาให้ก็จะดี จะเห็นผลที่เขาได้รับว่าเขาเปลี่ยนแปลงอย่างไร จิตที่ไม่มีกำลังไม่สามารถส่งกระแสร์ความดีไปให้ผู้อื่นได้เป็นผล เหมือนตนไม่มีเงินย่อมให้ใครไม่ได้ เป็นเพียงแค่ความคิดเท่านั้นเอง
 
ผู้เยี่ยมชม






ตอบตอบเมื่อ: 24 พ.ค.2007, 12:22 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การแผ่เมตตา ก็ ง่ายๆ ครับ
ก่อนอื่น ตั้งจิต ให้ถึง ย้ำ นะครับว่าต้องให้ถึง ถึงคือ นึกให้ออก ว่าจะให้ใคร
เมื่อนึกถึง คนหรือ สัตว์ นั้นแล้ว ก็ทำตามวิธีของ กระทู้ที่ 1 ก็ได้ ครับ...
 
kanawat_ny
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 04 มิ.ย. 2007
ตอบ: 47

ตอบตอบเมื่อ: 05 มิ.ย.2007, 10:41 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

(ขอคัดลอกมาให้อ่าน)

อิมินา ปุญญะกัมเมนะ ด้วยเดชะกุศลผลบุญแห่งข้าพระพุทธเจ้าได้สร้าง และสวดยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก พระคาถาชินบัญชร ทุกๆ มนต์พระคาถา และการสวดมหาสังฆทาน เพื่อขอขมาพระรัตนตรัยนี้ ตลอดทั้งบุญกุศลใดๆ ทั้งหมดที่ข้าพระพุทธเจ้าได้สร้างสมมาในอดีตชาติ ชาตินี้ และปัจจุบันวันนี้ ไม่ว่าจะเกิดประโยชน์ ความสุข ความสำเร็จ ความเจริญรุ่งเรืองแก่ข้าพระพุทธเจ้าเองเท่าใด ข้าพระพุทธเจ้าของน้อมถวายกุศลแด่ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอรหันต์สาวกทุกองค์ พระอริยบุคคลทั้งหมด ขอได้โปรดค้ำชูอุดหนุน คุณบิดา มารดา อุปัชฌาย์อาจารย์ ผู้มีพระคุณทุกท่าน ทั้งที่ล่วงลับไปแล้ว และยังมีชีวิตอยู่ที่มีความผูกพันต่อชีวิตข้าพระพุทธเจ้า ทั้งในอดีตชาติและชาตินี้ ตลอดทั้งขอได้โปรดคุ้มครองให้ทุกคนในครอบครัว มิตรรักสนิท ศัตรูหมู่มาร บริวาร และผู้ที่กระทำประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อนสาราสัตว์น้อยใหญ่ที่เสียสละชีวิตให้แก่ข้าพระพุทธเจ้าได้กินเพื่อการดำรงชีวิตของข้าพระพุทธเจ้า ขอให้ท่านทั้งหลายทั้งหมดหลุดพ้นจากความทุกข์ ประสพแต่ความสุขยิ่งๆขึ้นไปและตลอดไป

ขออุทิศส่วนกุศลไปถึงเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งหมด ไม่ว่าจะเกิดแล้วก็ดี ยังไม่เกิดก็ดี ยังเป็นวิญญาณล่องลอยก็ดี ที่ข้าพระพุทธเจ้าได้เคยล่วงเกินท่านทั้งหลายไม่ว่าจะทางตรงทางอ้อมทุกภพชาติและชาตินี้ก็ดี ทั้งเจตนาและไม่เจตนา ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งหมดได้โปรดมาอนุโมทนา และเมื่ออนุโมทนาแล้วขอโปรดอโหสิกรรมโทษทั้งหลายเหล่านั้นให้แก่ข้าพระพุทธเจ้าด้วย และกรรมเวรใดที่ท่านทั้งหลายได้เคยกระทำต่อข้าพระพุทธเจ้าทุกภพชาติและชาตินี้ ข้าพระพุทธเจ้าก็อโหสิกรรมโทษให้แก่ท่านทั้งหลายด้วยเช่นกัน สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันหมดทั้งสิ้น จงเป็นสุข เป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียน จองกรรม จองเวรแก่กันและกันเลย จงมีแต่ความสุขกายสุขใจรักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นตลอดไปด้วยเทอญ

และขอแผ่ส่วนกุศลแด่ ทวยเทพทุกพระองค์ใน 16 ชั้นฟ้า 15 ชั้นดิน และทุกๆ พระองค์ที่ดูแลพระศาสนาทุกหนแห่ง และที่ดูแลรักษาชีวิตของข้าพระพุทธเจ้า นอกจากนี้ก็ดีทั่วสากลพิภพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระโพธิสัตว์ทุกๆ พระองค์ พระอินทร์ พระพรหม ยม ยักษ์ แม่พระพาย แม่พระเพลิง แม่พระธรณี แม่พระคงคา แม่พระโพโสพ พระยายมราช นายนิริยบาล ท้าวจตุโลกะบาลทั้งสี่ ศิริพุทธอำมาตย์ ชั้นจาตุมหาราชิกาเบื้องบนสูงสุดจนถึงภวัคคะพรหม พระภูมิเจ้าที่ทั้งที่เป็นผีบ้าน ผีเรือน ทั้งที่บ้านและที่ทำงานของข้าพระพุทธเจ้า และอเวจีขึ้นมาจนถึงโลกมนุษย์สุดรอบขอบจักรวาล อนันตจักรวาล และขอแผ่ส่วนกุศลแด่องค์พระสยามเทวาธิราชทุกๆ พระองค์ท่าน ตลอดทั้งพระมหากษัตริย์ไทย วีรกษัตริย์ไทย ขอถวายพระราชกุศลแด่ทุกพระองค์ท่านจงมากล้นด้วยบุญญาธิการมากล้นด้วยฤทธิ์เดชและพระบารมียิ่งๆขึ้นไปด้วยเทอญ

ด้วยเดชะ ขอส่วนกุศลผลบุญแห่งข้าพระพุทธเจ้า ได้น้อมถวายไปให้นี้ จงดลบันดาลให้ข้าพระพุทธเจ้า ประสบแต่ความสุขความเจริญทั้งทางโลกทางธรรม ขอให้แคล้วคลาดจากภยันตรายใดๆ ทั้งปวง ขอให้กรรมเก่าหมดไป กรรมใหม่อย่าให้เกิดขึ้น ขอให้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด ขอให้ห่างไกลจากศัตรูหมู่มาร พบเจอแต่กัลยาณมิตร ขอให้ศัตรูกลับใจมาเป็นมิตร และขอให้ข้าพระพุทธเจ้าประสบความสำเร็จสมหวังทั้งเรื่องการงาน การเงิน ชีวิตครอบครัว ชีวิตสังคม ชีวิตรัก และยังเป็นอุปนิสัยปัจจัยให้แก่ข้าพระพุทธเจ้าได้เข้าถึงซึ่งพระนิพพานในอนาคตกาลเบื้องหน้านี้เทอญ

พุทธัง อะนันตัง ธัมมัง จักกะวาลัง สังฆัง นิพพานัง ปัจจะโย
 

_________________
กมฺมุนา วตฺตตี โลโก
ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีทุกข์
(อิสระ ชีวา)
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ครูหนุ่ม
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 03 ส.ค. 2008
ตอบ: 6

ตอบตอบเมื่อ: 08 ส.ค. 2008, 11:25 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

บุญ สามารถแปรสภาพได้ตามที่เจ้าของบุญปรารถนา

***การจะให้อะไรกับใครก็ต้องคำนึงถึงสภาพผู้รับด้วย กล่าวคือ ผู้รับเป็นสุนัข สิ่งที่ให้ก็ต้องเป็นอาหารที่กินได้ จะไปให้ สิ่งของที่กินไม่ได้ ให้เงิน ให้ทอง ก็ไม่เกิดประโยชน์แก่ผู้รับ***

บุญ ที่เกิดจากการให้ทาน เป็นบุญอย่างหยาบๆ (เหมาะกับภพภูมิที่ต่ำ เช่น สัตว์นรก เทวดาชั้นต่ำๆ เป็นต้น เพราะพวกเขามีสภาวะที่หยาบๆ) เหมาะสำหรับ อุทิศให้วิญญาณของสัตว์เดรัจฉา เปรต ผี ปีศาจ มาร เขาสามารถรับได้โดยง่ายเพราะเหมาะกับสภาวะของเขา

บุญ ที่เกิดจากการรักษาศีล บำเพ็ญภาวนา เป็นบุญที่ละเอียด(เหมาะกับภพภูมิที่สูง เช่น เทพเทวาชั้นสูง อินทร์ พรหม เป็นต้น เพราะพวกนี้เขามีสภาวะที่ละเอียด) เหมาะสำหรับ อุทิศให้ เทพเทวา อินทร์ พรหม ยมญักษ์ คนธรรถ์ กุมภัณฑ์ นาด ครุฑ อสูร กินรา เงือก เพราะเขามีภาพที่ละเอียดจึงสามารถรับบุญที่ละเอียดนี้ได้อย่างเต็มที่

***การจะให้อะไรกับใครก็ต้องคำนึงถึงสภาพผู้รับด้วย กล่าวคือ ผู้รับเป็นสุนัข สิ่งที่ให้ก็ต้องเป็นอาหารที่กินได้ จะไปให้ สิ่งของที่กินไม่ได้ ให้เงิน ให้ทอง ก็ไม่เกิดประโยชน์แก่ผู้รับ***

ทีนี้เวลาเราจะอุทิศบุญ(แผ่เมตตา)ให้กับอะไรก็ต้องคำนวนดูว่าเขาเหมาะสมกับอะไรนะครับซึ่งจะได้ผลอย่างมากๆๆๆๆ
วิธีก็ง่ายๆ คือ
1.คิดถึง......(ใครที่เราจะอุทิศบุญให้)
2.คิดให้.....(ใครที่เราจะอุทิศไปให้)...ให้เขาตั้งใจรับบุญที่เราจะอุทิศให้
3.ให้คิดดังนี้ "ขออำนาจพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จงบันดาลบุญของข้าพเจ้าให้ถึงแก่...(ที่ที่เราจะอุทิศให้)..."
4.ให้คิดหลายๆ รอบ (ถ้าผู้ที่เราอุทิศไปให้เขาอยู่ในภพภูมิที่ต่ำกว่าเรา แล้วเขาได้รับ เราจะรู้สึกขนลุก หรือ วูบๆ วาบๆ ได้บริเวณ หลังหรือขาแต่ถ้ารู้สึก บริเวณไหล่ แขนหรือศีรษะ แสดงว่า เขาอยู่ในภพภูมิที่สูงกว่าเรา)
5.นั่งอยู่ว่างๆ ก็ให้คิด ดังข้อ 3 ตลอดเลย แล้วเราจะเป็นที่รักของพวกที่เราอุทิศบุญไปให้(ดีกว่านั่งเหม่อลอย ไร้สาระ นะครับ)

*** เป็นหนี้ก็ต้องใช้หนี้นะครับ ไม่งั้นก็ต้องมาเป็นนายเวรซึ่งกันและกันไม่จบไม่สิ้น ทำบุญแล้ว อุทิศให้เขาด้วยนะครับจะได้หมดเวรกันไป อย่าให้เขามาทวงคืนด้วยชีวิต หรือด้วยอวัยวะของเรา นะครับ
 

_________________
คิดดี พูดดี ทำดี คบคนดี ไปในที่ที่ดี
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง