Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 หายใจอย่างไรถึงจะถูกต้องค่ะ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
สุกี้ยากี้
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 13 มี.ค. 2007
ตอบ: 14

ตอบตอบเมื่อ: 29 เม.ย.2007, 8:29 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ดิฉันไม่ทราบว่าหายใจอย่างไรถึงจะถูกต้องตามหลักปฏิบิติกรรมฐานค่ะ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 29 เม.ย.2007, 9:01 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๑๐:๒๑ ดูกาย ในส่วนของลมหายใจ

"การฝึกจิต" นั้น ก็ไม่ได้ไปทำอะไรที่ไหน เฝ้าดูเฝ้ารู้ ในกายของตนเองนี่แหละว่ามีอะไรเกิดขึ้น ก็ตามดูรู้ไปนะ "รู้กาย รู้จิต รู้เวทนา รู้สภาพธรรมในจิต" ขณะนี้มีอาการอย่างไรมีความรู้สึกอย่างไร บางทีก็รู้กายบ้าง ใหม่ๆ ดูจิตใจยังไม่ออก ดูจิตใจยังไม่เป็น ก็ดูกายไปเอาสติไปตามดูกาย กายนี้ ก็ดูได้หลายอย่าง "ดูกาย ในส่วนของลมหายใจ" ก็ได้นั่งตั้งกายตรง ดำรงสติ แล้วก็เอาสติไปตามรู้ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ดู รู้อยู่อย่างนี้หายใจเข้ารู้ หายใจออกก็รู้ ไปประคับประคองที่จะรู้ลมหายใจมัน เดี๋ยวมันไม่อยู่ มันไปแล้วก็กลับพยายามฝึกอยู่อย่างนี้ มันไป เราก็ดึงเข้ามาอีก หนักเข้าๆ ก็จะสงบ เกิดสมาธิ เกิดความสงบนี้ก็คือการปฏิบัติกรรมฐานแล้ว ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอะไร เพราะมีลมหายใจอยู่แล้ว มีลมหายใจอยู่ทุกชีวิตเพียงแต่ว่า เอาสติเข้าไปตั้งรู้ ลมเข้า ลมออก เมื่อสติไปอยู่กับลมหายใจอยู่ มันก็ไม่ไปคิดเรื่องอื่นจิตมันก็ตั้งมั่นอยู่ เมื่อรวมอยู่ มันก็มีพลัง มีสมาธิ จิตมันก็สงบ จิตสงบ มันก็รู้สึกมีความสุขซึ่งจะเอาความสุขอื่นๆ มาเทียบกับความสงบทางจิตใจ ไม่ได้

ธรรมบรรยาย ตอนที่ 2
รู้อยู่อย่างปกติ
โดย พระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรํสี)

อ่านต่อตามลิ้งค์ด้านล่าง

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7054
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
ลมหายใจ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 29 เม.ย.2007, 9:33 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เราพึงศึกษาว่า หายใจเข้าสั้นก็รู้ ว่าสั้นหายใจเข้า ยาวก็รู้ว่ายาว

หายใจออกสั้นก็รู้ ว่าสั้นหายใจออก ยาวก็รู้ว่ายาว

ตามดูลมหายใจไม่มีอะไรมาก
 
dt
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 30 เม.ย.2007, 11:21 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ถูกต้องคือ หายใจยาวก็รู้ว่ายาว สั้นก็รู้ว่าสั้น หายใจจนรู้ว่าแบบไหนพอเหมาะพอดี พอเหมาะพอดีดีตัวมันก็จะเบา

นั่นหมายถึงเราใช้อ๊อกซิเจนจากลมหายใจได้พอเหมาะพอดี ร่างกายมันเลยใช้อ๊อกซิเจนได้อย่างสมบูรณ์ เราก็เลยไม่ต้องออกแรงหายใจมาก ตัวมันก็เบาสบาย

ทำง่าย แต่ต้องใช้เวลานิดนึง
 
บ่อน้ำ
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 5
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพฯ

ตอบตอบเมื่อ: 30 เม.ย.2007, 4:16 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สวัสดีครับท่านเจ้าของกระทู้ สาธุ

____________________________


... ลองศึกษาดูนะครับตาม มหาสติปัฏฐานสูตร

>>> [๒๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างไรเล่า
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์
ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า เมื่อ
หายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เรา
หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้า
สั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอด
กองลมหายใจทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกอง
ลมหายใจทั้งปวงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย นายช่าง
กลึงหรือลูกมือของนายช่างกลึงผู้ขยัน เมื่อชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ชัดว่า เราชักยาว
เมื่อชักเชือกกลึงสั้น ก็รู้ชัดว่า เราชักสั้น แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า
เราหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น เมื่อหายใจ
เข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น ย่อมสำเนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลม
ทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดกองลมทั้งปวงหายใจเข้า
ย่อมสำเนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เรา
จักระงับกายสังขารหายใจเข้า ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายใน
กายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้ง
ภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็น
ธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อม
ในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียง
สักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัย
อยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า
พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ

จบอานาปานบรรพ


ฉบับเต็มอ่านที่ลิ้งนี้นะครับ http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=10&A=6257&Z=6764

_______________________________

ขอให้เจริญในธรรมครับ สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง