Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 โรคซึมเศร้า..อันตรายใหม่ของมนุษยชาติ ! อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 28 เม.ย.2007, 3:23 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

โรคซึมเศร้า
อันตรายใหม่ของมนุษยชาติ !



วันนี้จำเป็นจะต้องเร่งแสดงเรื่องโรคซึมเศร้า
ซึ่งกำลังเป็นโรคน้องใหม่ที่วิ่งแรงแซงโค้ง
โรคร้ายแรงรุ่นพี่อย่างรวดเร็วและมีแนวโน้มว่า
อีกไม่นานเกินรอโรคซึมเศร้าก็จะก้าวเข้าไป
อยู่ในแถวหน้าและจะเป็นหนึ่งในสามโรคภัยร้ายแรง
ที่คุกคามชีวิตของมวลมนุษย์
โรคภัยร้ายแรงที่คร่าชีวิตมนุษย์ทั่วโลกเป็นจำนวนมากในแต่ละปี
มีอยู่สองโรคกับหนึ่งภัย คือ โรคมะเร็งอย่างหนึ่ง
โรคหัวใจอย่างหนึ่งและภัยจากอุบัติเหตุอย่างหนึ่ง
โรคภัยทั้งสามอย่างนี้
ต่างผลัดเปลี่ยนหมุนเวียน
ชิงลำดับหนึ่งกันมาเป็นเวลานานแล้ว

ความจริงโรคภัยทั้งสามอย่างนี้เป็นผลิตผลของสังคม
แบบอุตสาหกรรมใหม่ทั้งสิ้น
คือ โรคมะเร็งเป็นผลิตผลของความเป็นพิษทั้งอากาศ
น้ำ และสภาพแวดล้อม
ตลอดจนอาหารที่มนุษย์ดื่มกิน
และยังบวกเข้ากับอารมณ์เครียดที่เกาะกุม
มวลมนุษย์หนาแน่นขึ้นทุกที
และทำให้เกิดอนุมูลที่ทำให้เป็นโรคมะเร็ง
ผู้คนจึงเป็นโรคมะเร็งกันมากขึ้น

ส่วนโรคหัวใจก็เป็นผลิตผลใหม่ที่มนุษย์ดื่มกินโดยไม่บันยะบันยัง
ในขณะที่ไม่ใส่ใจต่อการออกกำลังกาย
ทำให้บังเกิดต้นเหตุหรือปัจจัย ที่จะทำให้เป็นโรคหัวใจ
สำหรับภัยจากอุบัติเหตุก็เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า
อุบัติเหตุรถยนต์ มอเตอร์ไซด์
เป็นอุบัติเหตุที่ทำให้คนตายเป็นจำนวนมาก

คนเราเพิ่งจะคุ้นเคยกับ คำว่า โรคซึมเศร้า เมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง
เพราะเมื่อก่อนหน้านี้ คนไม่รู้จักคำว่าโรคซึมเศร้า
ทั้งๆ ที่สิ่งที่เรียกว่า โรคซึมเศร้านั้นมีอยู่คู่กับชีวิตทุกชีวิต
มาตั้งแต่เริ่มมีมนุษยชาติแล้ว
อาการของโรคซึมเศร้า ก็คือ ทั้งซึมทั้งเศร้าทั้งเหงา
ทั้งหงอยหน้าก็แห้ง ตาก็ลอย
ถึงแม้อยู่ต่อหน้าผู้คนจำนวนมากก็เหมือนอยู่ตัวคนเดียว
แม้หูจะได้ยินเสียง ตาจะเห็นรูปปากจะได้ลิ้มรส
จมูกจะได้กลิ่น กายจะได้สัมผัสสิ่งใดๆก็ตาม
ก็เหมือนกับสัมผัสความว่างเปล่า ไม่รู้สึกรู้สา
นานๆ เข้าก็คล้ายกับตอไม้เข้าไปทุกที

พอซึมเศร้าแบบนี้นานเข้า ก็เข้าใจเอาเองว่า
ตัวเองไร้คุณค่า ไม่มีใครต้องการคบหา
ขืนมีชีวิตอยู่ต่อไปก็ไร้ประโยชน์เปล่า
จึงเป็นเหตุให้เกิดความคิดตัดรอนชีวิตตัวเอง
ด้วยวิธีการต่างๆ และเป็นเหตุที่บังเกิดกับคนญี่ปุ่นมากที่สุด
และล่าสุดก็มีผู้ประมาณว่า
ความเสียหายของคนญี่ปุ่นที่ฆ่าตัวตายแบบนี้
ทำให้เกิดความเสียหายปีละหลายแสนล้านบาท

ผลการสำรวจล่าสุดปรากฏว่า มีคนเป็นโรคซึมเศร้ามากขึ้น
เฉพาะตัวเลขที่สำรวจได้
ปรากฏว่าจำนวนคนเป็นโรคซึมเศร้าอยู่ในลำดับสี่
ของโรคภัยทั้งสามที่ได้แสดงมาข้างต้นนั้น
ซึ่งน่าจะไม่ค่อยถูกต้องเท่าใดนัก
เพราะตัวเลขที่สำรวจได้เป็นผลสำรวจจากพวกที่ป่วย
ด้วยโรคที่เรียกว่า ซึมเศร้าจนอาการร่อแร่ใกล้จะฆ่าตัวตายแล้ว
คงจะไม่ได้รวมถึงพวกที่อาการยังไม่หนักหนาสาหัส
หรือที่เพิ่งเริ่มเป็นหรือเป็นมาระยะหนึ่ง
แต่ยังไม่ถึงขั้นวิกฤต และถ้านับคนจำพวกนี้เข้าไปด้วยแล้ว
จำนวนของผู้ป่วยด้วยสิ่งที่เรียกว่า โรคซึมเศร้า
ก็คงจะมีจำนวนอยู่ในแถวหน้าสุดของโรคภัย
ที่คุกคามมนุษยชาติอยู่ในปัจจุบันนี้ก็เป็นได้

แพทย์แผนตะวันตกไม่รู้ภูมิปัญญาตะวันออก
และไม่เข้าใจเรื่องของจิต
ดังนั้นจึงได้ คิดหาแต่วิธีการตามแบบแผนตะวันตก
คือ แบบวัตถุล้วนๆ แล้ววินิจฉัยว่าการที่คนเป็นโรคซึมเศร้า
ก็เพราะขาดฮอร์โมนบางชนิด เริ่มต้นด้วยการขาดฮอร์โมน
ที่เกี่ยวข้องกับการสืบเผ่าพันธุ์
แล้วเป็นผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นในร่างกาย
ที่ผิดปกติไปจากวัยหนุ่มวัยสาว
หนักเข้าก็เรียกอาการผิดปกตินั้นว่า วัยทอง

ความจริงมนุษย์เมื่อสองพันกว่าปีก่อน
ก็ผ่านวันเวลาและเหตุการณ์เช่นเดียวกันนี้มาแล้วทั้งสิ้น
แต่ไม่เห็นเป็นปัญหา เพราะถือว่าเป็นเรื่องปกติของชีวิต
และไม่เห็นว่าเป็นโรค
แต่พอพวกฝรั่งเห็นว่าเป็นโรคชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นตามวัย
ก็คิดหาฮอร์โมนหรืออาหารเสริม
ซึ่งย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ในทางการค้าแอบแฝงอยู่เป็นส่วนมาก
เพราะในที่สุดไม่ว่าจะกินฮอร์โมนหรืออาหารเสริมอย่างใด
ในที่สุดก็ไม่อาจล่วงพ้นความแก่
หรือฟื้นความสามารถในการสืบเผ่าพันธุ์ขึ้นมาได้
กระทั่งต้องถึงแก่ความตายในที่สุด

พอมาถึงโรคซึมเศร้า ก็บอกว่า เป็นเพราะขาดฮอร์โมน
อีกหลายคนหลงเชื่อ ไปรักษาแบบแผนตะวันตกที่ว่านี้
สิ้นเปลืองเงินทองไปนับไม่ถ้วนก็ไม่หาย
และในที่สุดก็กลายเป็นคนอมโรค
เพราะหลงเชื่อว่าตัวเองเป็นโรค
และเป็นโรคที่หมอบอกว่ารักษาไม่หาย
จึงทำให้สิ่งที่เรียกว่าโรคซึมเศร้านั้น
หนักหนาขึ้นไปอีก เพราะสิ้นหวังในชีวิต
เนื่องจากเชื่อหมอว่ารักษาไม่หาย
มันจะรักษาให้หายได้อย่างไร
เพราะเป็นการวินิจฉัยที่ผิดสิ่งที่แบบแผนตะวันตก
เรียกว่าโรคซึมเศร้านั้น มันไม่ใช่โรคและไม่ใช่ภัย
แต่เป็นทุกข์ชนิดหนึ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสสอนมาสองพันกว่าปีแล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสสอน เรื่องทุกข์ ไว้หลายประการ

ประการแรก ความทุกข์ที่เกิดแต่ชีวิตโดยตรง
คือ ความเกิด ความแก่ ความเจ็บและความตาย เป็นความทุกข์

ประการที่สอง ความทุกข์ที่เกิดกับการยึดถือ
คือ ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ความประสบกับสิ่งที่ไม่รัก
ความปรารถนาแล้วไม่ได้สมดังปรารถนา เป็นความทุกข์

ประการที่สาม ความทุกข์ที่เกิดขึ้นกับจิตใจ
ไม่ว่าเพราะขาดอาหารทางจิต หรือเพราะขาดสติที่รู้เท่าทัน
หรือขาดปัญญาที่เห็นสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง

ความทุกข์ประเภทนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ได้แก่ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสสุ ปายาสาปิทุกขา
ซึ่งแปลว่าความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์โทมนัส
และความคับแค้นใจนั้นเป็นทุกข์
ในประการที่สามนี่แหละ เป็นตัวทุกข์ที่เป็นโรคซึมเศร้าโดยตรง
และเมื่อสิ่งที่เรียกว่าโรคซึมเศร้าเป็นตัวทุกข์
การรักษา จึงต้องดับเหตุปัจจัย ที่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ชนิดนี้

หากไม่ดับเหตุปัจจัยที่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ชนิดนี้
หรือมัวแต่กินฮอร์โมน กินอาหารเสริม หรือรักษาแผนใหม่
โดยถือว่าเป็นโรคแล้ว ก็จะไม่มีวันรักษาให้หายได้

เพราะเหตุที่โรคซึมเศร้าเป็นสิ่งที่เกิดกับจิต
และเป็นผลให้เกิดความหดหู่เหี่ยวแห้งในหัวใจ
เกิดความรู้สึกโดดเดี่ยวเดียวดายไร้ค่า
จนเบื่อทุกสิ่งทุกอย่างทั้งใกล้และไกลตัว
แม้ในที่สุดก็เบื่อกระทั่งตัวเอง
ดังนั้นการบำบัดรักษา จึงต้องบำบัดรักษาที่จิต
ไม่มีทางที่จะบำบัดรักษาได้ด้วยการเพิ่มฮอร์โมนหรืออาหารเสริม
ซึ่งมีแต่จะเป็นการทำให้อาการของโรคที่ว่านี้มากขึ้น
กระทั่งอาจนำไปสู่การสิ้นเนื้อประดาตัวด้วย

การพูดถึงเหตุปัจจัยที่จะบำบัดรักษาโรคซึมเศร้า
ถ้าจะกล่าวกันตรงๆ ก็ต้องกล่าวแสดงอริยสัจ
คือ ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์
การดับทุกข์ และทางสู่การดับทุกข์
แต่เพื่อให้สอดคล้องกับยุคสมัย
ที่ต้องพูดอะไรให้เข้าใจง่ายๆ ฟังง่ายๆ
ก็อาจกล่าวได้ว่าโรคซึมเศร้าที่ว่านี้
คือโรคขาดอาหารทางจิต
ดังนั้นการบำบัดรักษา จึงต้องให้อาหารทางจิต
ให้จิตมีความอิ่มไม่กระวนกระวายร้อนใจอีกต่อไป
โรคร้ายที่ว่านี้ก็จะหายไป

ร่างกายต้องการอาหารไปหล่อเลี้ยง
เพื่อให้ชีวิตคงอยู่เติบโตฉันใด
จิตใจนั้น ก็ต้องการอาหารไปหล่อเลี้ยง
เพื่อไม่ให้ซึมเศร้าเหงาหงอย
เพื่อให้มีความอิ่มเอมอิ่มเอิบเบิกบาน
และเมื่อใดที่จิตได้อาหารจนมีความอิ่มเอมอิ่มเอิบเบิกบานแล้ว
เมื่อนั้นสิ่งที่เรียกว่า โรคซึมเศร้าก็จะหายไปดังปลิดทิ้ง
ตั้งความสังเกตให้ดีเถิดก็จะรู้
และจะพบได้ด้วยตนเองว่า
ก่อนที่จะมีอาการที่เรียกว่าเป็นโรคซึมเศร้านั้น
จะประสบหรือเผชิญหรือมีบางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้น
ในความคิดจิตใจ ดังต่อไปนี้คือ
การเผชิญกับปัญหาใดๆ และแก้ไขไม่ได้
ตั้งความหวังใดๆ ไว้แล้วไม่ประสบผลสำเร็จ
หรือคาดหวังไว้อย่างหนึ่งแต่ประสบกับอีกอย่างหนึ่ง
ความเคยชินที่เคยมีอยู่สูญสิ้นสลายไป
หรือต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ที่ไม่คุ้นเคย

ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากันได้หรือให้ใช้สอยรับประโยชน์ได้
สิ่งทำนองนี้เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ก็ทำให้จิตใจขาดกำลัง มีความท้อถอย
มีความท้อแท้ มีความเหี่ยวแห้ง มีความคร่ำครวญ มีการรำพึงรำพัน
และในที่สุดก็ทอดอาลัยตายอยาก จนนำไปสู่ความตายจริงๆ
สิ่งเหล่านี้เมื่อพัฒนาไปก็เกิดสิ่งที่เรียกว่า โรคซึมเศร้า
จากอาการน้อยๆ ไปสู่อาการกลางๆ
และไปสู่อาการมากขึ้นโดยลำดับ
ก็แลเมื่อสิ่งที่เรียกว่าโรคซึมเศร้า เป็นเรื่องของจิตใจขาดอาหาร
และอาหารเกี่ยวกับจิตใจ ก็เป็นอาหารเฉพาะ
จึงควรที่จะได้รู้จักอาหารชนิดนี้
เพราะจะเป็นประโยชน์ต่อการป้องกันไม่ให้เป็นโรคซึมเศร้า
หรือแม้เป็นโรคซึมเศร้าขึ้นแล้ว
ก็สามารถรักษาให้หายขาดโดยไม่ยากไม่ลำบาก
อาหารของจิตนี้พระท่านเรียกว่า ปิติ
ซึ่งก็คือความรู้สึกที่เกิดขึ้นกับจิตใจในหลายระดับ
ตั้งแต่ความพอใจ ความชอบใจ ความอบอุ่นใจ
ความอิ่มใจ ความอิ่มเอิบใจ ความเบิกบานใจ
และความสว่างใจเป็นที่สุด สำหรับคนเราทั่วไปนั้น
เพียงทำสิ่งใดหรือทำตัวเข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งใด
หรือเรื่องใดที่เกิดความพอใจ ชอบใจ หรืออุ่นใจแล้ว
ก็เท่ากับว่าจิตใจได้เสพอาหารที่จำเป็นของจิต
ก็จะเป็นเบื้องต้นที่จะทำให้ไม่ขาดอาหารทางจิต
ดังนั้นสิ่งใดที่จะทำให้พอใจ ชอบใจ
อุ่นใจตามอัธยาศัยของแต่ละคน
ก็ควรต้องทำให้มีทำให้เกิดขึ้น
ขอเพียงอย่าให้เป็นเรื่องชอบใจ พอใจ
ในเรื่องเลวร้ายหรืออบายมุขก็เป็นอันใช้ได้
นี่เรียกว่าเป็นอาหารหยาบๆของจิต
แต่จำเป็นสำหรับชีวิตของปุถุชน
หากขาดแล้วก็จะกลายเป็นโรคซึมเศร้า
หรือถ้าเป็นแล้วอาการก็จะหนักหนาสาหัสมากขึ้น
สำหรับคนที่เป็นแล้ว ก็ต้องใช้ความพยายาม
เพื่อทำให้เกิดความชอบใจความพอใจ ความอุ่นใจ
เพราะเมื่อเป็นโรคซึมเศร้าเข้าแล้ว
ก็เหมือนคนที่ไม่อยากกินอาหาร จึงต้องฝืนกิน
ต้องฝืนไปสักระยะหนึ่ง ซึ่งอาจจะยากลำบากพอประมาณ
ขึ้นอยู่กับอาการของโรคมากและน้อย
เพียงเท่านี้จิตก็จะไม่เป็นโรคขาดอาหาร
เป็นโรคขาดอาหารอยู่ก็จะค่อยๆ อิ่มใจสมบูรณ์ขึ้น
จนถึงระดับที่คนธรรมดาจะสามารถเป็นอยู่ตามปกติได้
ไม่ทุกข์ไม่ร้อน แต่ถ้าจะให้ยิ่งไปกว่านั้น
ก็ต้องเสพอาหารทางจิตที่ประณีตขึ้น คือ ปิติ
ที่จะเกิดจากการฝึกฝนอบรมจิตในท่ามกลางความสงบ
ไม่ว่าจะโดยวิธีฝึกหายใจ
ตามหลักอาณาปานสติหรือสติปัฏฐานก็ตาม
จนเกิดปิติขึ้นเป็นปิติชนิดที่เรียกว่า
ปิติอันเกิดแต่วิเวก
ดังนี้จิตก็จะได้รับอาหารที่มีความประณีต
มีคุณภาพและมีประโยชน์มากขึ้น
ทั้งจะได้สัมผัสกับความลี้ลับมหัศจรรย์แห่งธรรมชาติ
ที่ไม่เคยสัมผัสอีกด้วย
หรือถ้าจะให้ยิ่งขึ้นไปอีก
ก็จะเป็นอาหารที่มีคุณประโยชน์สูงสุดประณีตละเอียดที่สุด
ดังที่พระท่านเรียกว่า อาหารทิพย์
ที่ให้ผลทั้งทางกายและทางจิต
หรืออาจจะเรียก อีกอย่างหนึ่งว่า อาหารอันเป็นอริยะก็ได้
นั่นคือ การฝึกฝนอบรมจิตให้ยิ่งขึ้นไป
ยกระดับปิติที่เกิดจากวิเวกไปสู่ขั้น
ที่เรียกว่า ปิติอันเกิดจากสมาธิ
ซึ่งพระท่านถือว่า เป็นองค์ฌานสำคัญ
และเป็นองค์หนึ่งในโพชฌงค์เจ็ด ที่เรียกว่าปิติสัมโพชฌงค์นั่นเอง
ใครจะเสพอาหารทางจิตแบบธรรมดาหรือแบบที่สูงขึ้นหน่อย
หรือแบบที่เป็นที่สุดก็สุดแท้แต่จะเลือก
และนี่ก็คือ โอสถทางจิตที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงค้นพบและตรัสสอนมากว่าสองพันปีแล้ว
ทั้งมีผลจริงต่อการป้องกันบำบัดรักษา
โรคซึมเศร้าโดยไม่ต้องกินฮอร์โมนหรืออาหารเสริมอะไรเลย



ข่าวจาก ผู้จัดการ 28 ต.ค. 46

http://www.thaihof.org/globe/sum.html

สาธุ สาธุ สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง