Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 การแก้กรรมสมัยพุทธกาล อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 20 พ.ย.2004, 3:23 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

จริงๆแล้วสมัยพุทธกาลไม่มีพิธีแก้กรรม แต่มีหลายเรื่องซึ่งจำไม่ได้มากในรายละเอียด แต่เชื่อว่าเมื่อเล่าไปผู้ดูแลเวบนี้ก็คงผ่านหูผ่านตามาแล้ว เรื่องแรกเรื่องของสามเณรลูกศิษย์พระสารีบุตร ซึ่งท่านสารีบุตรทราบว่าสามเณรจะสิ้นอายุขัยใน 15 วัน และให้สามเณรลากลับบ้านไปเยี่ยมพ่อแม่ ระหว่างเดินทางสามเณรไปพบปลาในบึงกำลังจะตายเพราะน้ำแห้ง เกิดความสงสารจึงพาปลาไปปล่อย เมื่อเยี่ยมแม่เสร็จแล้วสามเณรกลับมาหาพระสารีบุตร พระสารีบุตรแปลกใจที่เห็นสามเณรยังมีชีวิตกลับมา จึงถามว่าระหว่างทางได้ทำอะไรบ้าง สามเณรเล่าว่าได้ช่วยชีวิตปลา ลักษณะเช่นนี้เมื่อหมดบุญสิ้นอายุขัยสามเณรต้องตาย แต่เมื่อทำบุญกุศลอันแรงจากจิตทำให้บุญนั้นเกิดขึ้นมาต่ออายุขัยได้อีก กรณีอย่างนี้จะเรียกว่าแก้กรรมหรือไม่เป็นเรื่องต้องพิจารณา



อีกเรื่องหนึ่งมีเด็กเกิดมา เมื่อพ่อพาไปทำบุญพระพุทธเจ้าก็ต้องให้พระ เช่นตอนหนึ่งต้องให้พรว่าอายุวัณโณ คือจงอายุยืน แต่พระพุทธเจ้าไม่ให้พระเด็กคนนี้ เพราะรู้ว่าเด็กจะต้องตาย จะมียักษ์มากินเด็ก พ่อเด็กเมื่อทราบความจริงก็ถามพระพุทธเจ้าว่าทำอย่างไรเด็กจะรอด พระพุทธเจ้าก็ให้กั้นสายสิญจน์ เอาเด็กไว้ข้างในสายสิญจน์ แล้วให้พระสวดพระปริต เมื่อพระสวดเทวดามาฟัง ส่วนยักาจะเข้ามาจับเด็กก็เห็นเทวดานั่งอยู่ก่อน ตนเองต้องนั่งตามลำดับข้างหลัง ไม่มีโอกาสเข้าใกล้เด็ก อครบเจ็ดวันยักษ์นั้นก็จากไปไม่ได้กินเด็กทั้งที่ตั้งใจว่าจะกิน



อันนี้เพราะเวรระงับไปก็ได้ เด็กคนนั้นต่อมาอายุยืนกว่าร้อยปี เรื่องแบบนี้เป็นการแก้กรรมหรือไม่ เป็นเรื่องที่มีในพระไตรปิฏก แล้วท่านจะคิดอย่างไร ส่วนเรื่องประสบการณ์นั้นมีมาก พระยามัจจุราจก็มีจริง และเปลี่ยนกาลมรณะได้ แต่เหตุผลที่จะเปลี่ยนนั้นเป็นเรื่องใหญ่เหลือเกิน เหตุผลที่จะต้องมีชีวิตอยู่นั้นของคนที่สิ้นอายุแล้วนั้น ต้องเป็นเหตุผลเพื่อจะทำกิจเพื่อความพ้นทุกข์ หรือเพื่อทำบารมีที่สำคัญยิ่ง กาลมรณะของบุคคลนั้นย่อมต้องถูกเปลี่ยน และผู้ถูกเปลี่ยนก็จะรู้ชัดด้วยตนเอง พญามัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่อันใครผัดเพี้ยนไม่ได้ก็จริง แต่ท่านไม่ขวางทางนิพพานและสร้างบารมีที่รู้กันดีทั้งในสามโลก กาลมรณะจึงต้องเปลี่ยนด้วยอำนาจแห่งกุศลเท่านั้น
 
amai
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 24 พ.ค. 2004
ตอบ: 435

ตอบตอบเมื่อ: 20 พ.ย.2004, 8:25 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน





คงเป็นการสะเดาะเคราะห์ตามพระไตรปิฏก

น่าเชื่อถือดีค่ะ



เหมือนกะการให้ชีวิตแล้วได้ชีวิต นานขึ้นเลย

ตรงกะ ศีลข้อ 1 เลยค่ะ

ที่ว่าไม่เบียดเบียนสัตว์ ไม่ฆ่าสัตว์

ทำให้โรคภัยไม่เบียดเบียน มีอายุยืน



แล้วการสวดพระปริตรที่

พระพุทธเจ้าก็ให้กั้นสายสิญจน์ เอาเด็กไว้ข้างในสายสิญจน์ แล้วให้พระสวดพระปริต เมื่อพระสวดเทวดามาฟังแล้วยักษ์ไม่กินเพราะนั่งรอจนเหนื่อยกอปรกะคงซึมซาบในบทสวดด้วยมั๊งค่ะ



เลยไม่กินเณร



คล้ายกะที่ คนที่ป่วยไข้ให้สวดบทโพชฌงค์ เป็นการต่ออายุเลยค่ะ







ค่ะอย่างที่ว่า การปฏิบัติวิปัสนากรรมฐานทำให้สามารถเลือกภพภูมิเกิดได้ เปลี่ยนชะตาชีวิตได้



เด๊วต้องขยันปฏิบัติธรรมให้มากๆแล้วมั๊งค่ะ

มีข้อดีเยอะขนาดนี้



 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สำเร็จ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 22 พ.ย.2004, 11:34 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เคยอ่านสองเรื่องนี้มาเหมือนกัน..

ก็คิดทำนองเดียวกัน...



จุดหนึ่งที่อยากเสริมคือ...ทั้งเณรและเด็ก

เป็นผู้ที่ยังไม่หมดอายุไข(อายุของมนุษย์โดยปกติในสมัยนั้น)....

คือยังเติบโตไปได้อีก

แต่จะเป็นผู้ที่...จะหมดกรรม...คือสิ้นกรรม

ทั้งสองจะต้องตายด้วยกรรม...



ดังนั้นการต่ออายุให้คนที่จะสิ้นอายุไข..คือแก่ตายตามธรรมชาติ..

ไม่ใช่การอธิบายเรื่องนี้ได้..



พึงพิจารณาว่า...การต่ออายุให้คนแก่...ด้วยวิธีนี้...น่าจะใช้ไม่ได้ครับ



เรื่องของกรรมนี้..พระพุทธองค์เคยตักเตือนไว้ว่า

เป็นเรื่องที่ส่อให้เห็นว่าจะเป็นอย่างนั้น...แต่ไม่ใช่อย่างนั้นก็มี

เป็นเรื่องที่ส่อให้เห็นว่าจะไม่เป็นอย่างนั้น...แต่เป็นอย่างนั้นก็มี



ดังนั้นการพูดเรื่องกรรม..ต้องทราบว่ามีปัจจัยมากมาย

ต้องเป็นพระพุทธเจ้าเท่านั้น..จึงจะแสดงได้ถูกต้อง

แม้แต่สาวกที่ได้ฌาน ได้อภิญญา ไปเห็นมา..

แล้วสรุปบางเรื่อง...พระพุทธองค์ก็ยังไม่รับรอง..ก็มี



เราเป็นบุคคลที่ยังเป็นปุถุชน..คงได้แต่แสดงตามพระไตรปิฏก

ไม่ควรนึกคิดเอาเอง...ไม่ควรออกความเห็นเอาเอง

อย่างเช่นที่ตั้งกระทู้มา...ถูกต้องแล้ว



 
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 24 พ.ย.2004, 3:58 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เข้าใจว่าสาเหตุที่ทำให้สามเณรไม่ตายนั้น เพราะบาปกรรมที่กำลังจะมาถึงนั้นมีกำลังแรงไม่พอ เมื่อสามเณรได้ประกอบกุศลกรรมช่วยชีวิตปลามีวามตั้งใจแรงกล้ามาก กรรมดีนั้นมาแซงกรรมชั่วจนไม่สามารถให้ผลได้ ทำให้กาลมรณะที่กำลังจะสิ้นอายุขัยนั้นเปลี่ยนไป คือกรรมที่เป็นบาปนั้นจะต้องมาสนองในภายหลัง อาจในชาตินั้นหรือในชาติต่อๆไป และกำลังของกรรมชั่วนั้นอาจเบาลงหรืออาจอโหสิกรรมไปก็ได้



เรื่องกรรมนั้นเราคาดคิดเชื่อว่าควรเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ไม่ได้ แต่จะเห็นว่าความรู้เรื่องกรรมในพระสูตร และหลักกรรมสิบสองนั้น ถ้าเราเชื่อมั่นจริงว่าในชีวิตเราเป็นไปด้วยกรรมไม่ไมเหตุบังเอิญแล้ว ความชั่วทั้งหลายเราไม่ควรทำเลย และทำความดีและควรตั้งใจภาวนาเจริญสติให้มาก เพื่อเติมน้ำดีลงไปในตุ่มที่มีน้ำไม่ได ให้น้ำไม่ดีหรือน้ำเน่าเจือจางลง เพื่อผลกรรมชั่วจะอ่อนแรงลง ดังนั้นการทำบุญที่เป็นวามเชื่อว่าแก้กรรมก็คงเป็นไปตามนัยนี้ เพราะกรรมนั้นแก้ไม่ได้ แต่ทำให้เปลี่ยนแปลงแรงกรรมนั้นทำได้ครับ ไม่มากก็น้อย
 
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 24 พ.ย.2004, 4:09 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอต่อเรื่องอายุขัยนิดหนึ่งนะครับ อายุขัยของมนุษย์สมมุติว่าประมาณร้อยปี ถ้ามาป่วยตายตอนอายุในวัยหนุ่ม สาเหตุเพราะกรรมชั่วที่เคยทำอาจในชาติก่อนมาเบียดเบียน เราเรียกว่า"สิ้นบุญ"

คำว่าสิ้นบุญนี้ผมเคยสงสัยว่าสิ้นบุญจากอะไร ก็คิดว่าการที่เราได้ขันธ์ ๕ มาใช้คือได้ร่างกายและจิตใจได้ชีวิตมาอยู่ในโลกนี้ได้มาโดยบุญ และจะถูกบาปเบียดเบียน เมื่อบาปให้ผลมาเบียดเบียนเอาชีวิตไป บุญนั้นก็เลยสิ้นไป หรือบุญนั้นถูกปิดทางไม่มีกำลังแรงมาหล่อเลี้ยงขันธ์ ๕ ให้ยืนยาวตามอายุขัยได้จึงเรียกว่าสิ้นบุญ แต่ก็ใช้กับคนตายในวัยอื่นด้วยในภายหลังซึ่งผิดความหมายของคำว่าสิ้นบุญ นอกจากสิ้นบุญแล้วก็มีคำหนึ่งคือ "ถึงกาลมรณะ" หมายถึงคนตายก่อนถึงอายุขัยนะครับ



ดังนั้นการทำบุญก็สามารถเปลี่ยนกาลมรณะได้ และเราก็เรียกว่าต่ออายุ แต่จริงๆเป็นไปตามอำนาจของกรรมนั่นเอง



ดังนั้นโรคต่างๆเช่นมะเร็ง อาจบันเทา หรือยืดอายุ หรือหายได้ถ้ากรรมนั้นไม่หนักมากเช่นเคยชดใช้มาในชาติก่อนแล้ว เรามาปฏิบัติธรรมก็มีผล ถึงอย่างไรถ้าเจริญสติเอาจริงั้งวันทั้งคืน ทำให้มาก ผลของโรคย่อมลดหรืออ่นแรงไปอย่างแน่นอน อันนี้ผมไม่สงสัย และมีประสบการณ์ในเรื่องนี้จนเห็นเป็นธรรมดาไม่แปลกใจอะไรเลย
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง