Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ผู้ให้กำเนิดพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ (เสฐียรพงษ์ วรรณปก) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 20 เม.ย.2007, 10:32 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

ผู้ให้กำเนิดพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
โดย เสฐียรพงษ์ วรรณปก



พันเอก เฮนรี ออลคอตต์ (Colonel Henry Allcott) ชาวอเมริกัน แต่ก่อนก็มิได้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาแต่อย่างใด ได้อ่านรายงานการโต้วาทีอันบันลือโลกระหว่างผู้นำศาสนาคริสต์กับพระเถระชาวศรีลังกาชื่อ คุณานันทะ เกิดความสนใจ ถึงกับเดินทางมาศรีลังกา มาศึกษาพระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง จนกระทั่งมีความรอบรู้ในพระพุทธศาสนา

ได้ริเริ่มโครงการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างเอาจริงเอาจัง หนึ่งในโครงการเหล่านั้นคือ ได้ประดิษฐ์ธงฉัพพรรณรังสี ขึ้นเป็นธงพระพุทธศาสนา และก่อตั้งโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ขึ้น เป็นต้นแบบแห่งโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ในประเทศไทย ที่กำลังจะถูกยุบ (หรือยุบไปแล้วโดยผู้เกี่ยวข้องไม่รู้ตัว) อยู่ในปัจจุบันนี้

ก่อนอื่นผมขอเล่าความเป็นมาแห่งการโต้วาทีอันลือลั่นนั้นก่อน ท่านคุณานันทะ พระภิกษุหนุ่มผู้อาจหาญโต้หักล้างข้อกล่าวหาของบาทหลวงคริสต์ที่กล่าวหาย่ำยีพระพุทธศาสนาครั้งนี้ ชื่อเดิม ไมเคิล ซิลวา ถือกำเนิดในตระกูลพอมีอันจะกิน แห่งตำบลโมโหฏฏิวัตตะ เมืองกอลล์ ในช่วงนั้นพระพุทธศาสนาถูกเบียดเบียนโดยพวกโปรตุเกส บังเอิญบ้านท่านอยู่ใกล้โบสถ์คริสต์ แม่เองก็อยากให้ลูกเล่าเรียนมากๆ จึงพาไปฝากให้เรียนหนังสือกับบาทหลวง ในขณะเดียวกันแม่ในฐานะที่เป็นชาวพุทธก็พาลูกชายเข้าวัดเป็นประจำด้วย

ข้อนี้กลับเป็นประโยชน์แก่หนุ่มไมเคิลในระยะหลัง เมื่อแม่พาไปบวชเป็นสามเณร ทำให้มีความรู้ทั้งในพระพุทธศาสนาและศาสนาคริสต์เป็นอย่างดี เมื่อศึกษาเปรียบเทียบหลักคำสอนของพระพุทธศาสนากับศาสนาคริสต์ ก็ยิ่งเห็นความล้ำลึกแห่งพุทธธรรมมากขึ้น

ระหว่างนั้นบรรยากาศในวงการพระศาสนากำลังตึงเครียด ชาวพุทธถูกเบียดเบียน รุกราน ถูกปฏิบัติดั่งพลเมืองชั้นสอง ถึงขั้นประกาศว่าใครมาเข้ารีตจะได้สิทธิพิเศษในการทำงาน ใครยืนกรานเป็นพุทธอยู่ ถ้าเป็นข้าราชการก็ต้อง "แป้ก" อยู่กับที่ หรือไม่ก็ถูกหาเรื่องไล่ออกจากราชการ ผู้หวังความเจริญก้าวหน้าจึงพากันไปเข้ารีตตามๆ กัน

พระสงฆ์องค์เจ้าไม่ต้องพูดถึง ย่อมถูกเบียดเบียน อยู่อย่างลำบาก บางครั้งถูกนักปราชญ์คริสต์รุกไล่ด้วยวาทะคารม และตรรกะอันยอกย้อน ไม่สามารถโต้ตอบกับพวกเขาได้ รัฐเองก็ประกาศห้ามทำพิธีสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น วันวิสาขบูชา ในขณะที่ชาวคริสต์เฉลิมฉลองในวันสำคัญของเขาอย่างเต็มที่ แต่พระพุทธศาสนาได้เสื่อมโทรมอย่างขนาดหนัก

สามเณรคุณานันทะได้ชักชวนให้ชาวพุทธยืนหยัดในพระพุทธศาสนา ด้วยการออกไปเทศนาสั่งสอนปลุกขวัญกำลังใจให้ชาวพุทธเชิดชูคำสอนของพระพุทธศาสนาท่ามกลางวิกฤต ด้วยสติปัญญา หาทางกอบกู้พระพุทธศาสนา ชื่อเสียงของสามเณรก็ขจรขจายไปอย่างรวดเร็ว ว่ามีสามเณรตัวเล็กๆ ผู้เชี่ยวชาญในพระพุทธศาสนา มีวาทะคารมคมคาย แสดงธรรมได้อย่างไพเราะ และกล้าหาญ "ชูธงแห่งพระรัตนตรัย" อย่างไม่เกรงภัยใดๆ ทั้งสิ้น

สามเณรเดินทางไปกรุงโคลัมโบ ประจำอยู่ที่วัดทีปทุตตมาราม (โปรดทราบว่า วัดแห่งนี้เจ้านายไทยคือ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ มาผนวชและจำพรรษาอยู่ที่วัดนี้จนสิ้นพระชนม์) ได้รับการอุปสมบทเป็นภิกษุ มีฉายาว่า "คุณานันทะ" ด้วยความเป็นผู้ "รู้เขา รู้เรา" อันเป็นจุดแข็งของท่าน กอปรกับความเป็นนักพูดนักเทศน์ที่มีวาทะคารมคมคาย ในที่สุดท่านได้รับคำท้าของนักปราชญ์ฝ่ายคริสต์ มีบาทหลวงเดวิด เดอซิลวา และคณะ โต้วาทีอันลือลั่นที่เมืองปานาทุรา เป็นเวลาสามวัน

เนื้อหาเป็นเรื่องหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ลึกซึ้ง เช่น อิทัปปัจจยตา กรรม นิพพาน อนัตตา ที่คนนอกพระพุทธศาสนาเข้าใจด้วยระดับความรู้อันผิวเผิน และหาช่องตำหนิติเตียนว่า พระพุทธเจ้าทรงสอนเรื่องขัดกับความเป็นจริงเชื่อถือไม่ได้ ท่านคุณานันทะ ถือโอกาสชี้แจงหลักการแห่งพระพุทธศาสนาอย่างละเอียดลึกซึ้ง ให้เข้าใจแจ่มกระจ่างทุกประเด็น เป็นการประกาศเกียรติคุณแห่งพระพุทธศาสนาให้เรืองรองสง่างาม ท่ามกลางหมอกควันแห่งปรัปวาท (การกล่าวร้ายด้วยความเข้าใจผิด)

การโต้วาทะครั้งนี้มิได้จำกัดอยู่แค่ประเทศศรีลังกา หากมีการบันทึกถ่ายทอดตีพิมพ์เป็นเอกสารเผยแพร่ทั่วโลกด้วย โดยดอกเตอร์พีเบิลส์ ซึ่งมาศรีลังกาในช่วงที่มีการโต้วาทีนี้ ได้บันทึกรายละเอียดเผยแพร่

พันเอก ออลคอตต์เดินทางมาศรีลังกา มาศึกษาพระพุทธศาสนาเพิ่มเติมจนแตกฉาน ได้ร่วมมือกับพระสงฆ์และผู้รู้ชาวศรีลังกาตั้งโรงเรียนสอนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ขึ้น ชั่วระยะเวลาเพียงสามปี ก็ขยายถึง 149 โรง ออกนิตยสารพระพุทธศาสนาภาษาสิงหล และภาษาอังกฤษเผยแพร่ ฉบับภาษาอังกฤษชื่อว่า The Buddhist

พันเอก ออลคอตต์ได้เรียกร้องสิทธิทางศาสนาที่ถูกบั่นรอนให้กลับคืนมา คือสิทธิในการประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา หลังจากถูกฝ่ายรัฐสั่งห้ามมายาวนาน วันวิสาขบูชา ที่ชาวศรีลังกาเรียกว่า วัน "เวศาข" (Vesak) ได้รับการเฉลิมฉลองอีกครั้งและเป็นการกลับมาอย่างยิ่งใหญ่ ผลักดันให้รัฐบาลประกาศเป็นวันหยุดราชการ 7 วัน ในสัปดาห์แห่งวันเวศาขนี้ ชาวศรีลังกาทั้งเด็กและผู้ใหญ่จะนุ่งขาวห่มขาวเข้าวัด รักษาศีล 5 ศีล 8 เป็นภาพที่งดงามมาก ตามบ้านเรือนและบริษัทห้างร้าน จะปักธงฉัพพรรณรังสี ปลิวไสว

สิวลีเถโร พระศรีลังกาที่เคยเป็นศิษย์เรียนปริญญาโทกับผมที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ ชี้ให้ผมดูธงฉัพพรรณรังสี ที่ปลิวไสวเหนือบ้านเรือนชาวศรีลังกา ว่า "อาจารย์จะรู้ว่าในเมืองนี้มีชาวพุทธ และผู้นับถือศาสนาอื่นมากน้อยแค่ไหน ที่ผมสอนอยู่ก็ให้สังเกตธง บ้านไหนปักธงฉัพพรรณรังสี บ้านนั้นเป็นชาวพุทธ บ้านไหนไม่ปัก แสดงว่าเป็นผู้นับถือศาสนาอื่น"

เด็กที่อ่านบทความนี้ อาจสงสัยว่า ฉัพพรรณรังสี (รังสีทั้ง 7) นั้นสีอะไรบ้าง ก็ขอเรียนว่า

มี สีเขียว (นีลํ), สีเหลือง (ปีตํ), สีขาว (โอทาตํ), สีแดง (โลหิตกํ), สีหงสบาท คือสีเหมือนสีดอกหงอนไก่ (มญฺเชฏฺฐํ), สีเลื่อมพราย (ปภสฺสรํ)

ย้ำอีกที เป็นฝีมือออกแบบของ พันเอกออลคอตต์ ผู้ก่อตั้งโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ซึ่งทางมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยรับเอาแบบอย่างมาก่อตั้งและเผยแพร่มานานปี บัดนี้ได้ถูกกลายพันธุ์โดยกรมการศาสนาเปลี่ยนชื่อเป็น "ศูนย์การเรียนรู้ศีลธรรมในวัด" ไปแล้ว ไม่มีแม้กระทั่งคำว่า "พระพุทธศาสนา" ซึ่งผู้บริหารโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์บางท่าน หรือหลายท่านไม่รับทราบมาก่อนเลย

ข่าวว่าอนุกรรมาธิการพระพุทธศาสนาแห่งรัฐสภา จะเรียนเชิญผู้เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอธิบดีกรมการศาสนาไปชี้แจงว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร มีหลักการเหตุผลอย่างไร พระสงฆ์และครูอาจารย์ทั้งหลายกำลังงงๆ อยู่ครับ ผมเองก็งงเหมือนกัน แต่ตอนนี้ขอไปเล่นน้ำสงกรานต์ให้หายร้อนก่อน ค่อยว่ากัน



............................................................

คัดลอกมาจาก
หนังสือพิมพ์มติชน รายวัน หน้า 6
คอลัมน์ รื่นร่มรมเยศ โดย เสฐียรพงษ์ วรรณปก
วันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10627
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง