Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ฐานะของพระพุทธศาสนาในรัฐธรรมนูญ (เสฐียรพงษ์ วรรณปก) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ก้อนดิน
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 07 ก.ค. 2004
ตอบ: 623

ตอบตอบเมื่อ: 27 มี.ค.2007, 6:01 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

ฐานะของพระพุทธศาสนาในรัฐธรรมนูญ
โดย เสฐียรพงษ์ วรรณปก


เมื่อครั้งกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับพุทธศักราช 2540 ที่ถูก "ฉีก" ไป โดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข นั้น ได้เปิดการรับฟังเสียงจากประชาชนทุกหมู่เหล่า จำได้ว่าชาวไทยที่นับถือพระพุทธศาสนาจำนวนเกือบสองล้าน นับตั้งแต่พระสงฆ์ระดับปกครองสูงสุด (ถ้าจำไม่มีผิดมีสมเด็จพระพุฒาจารย์, สมเด็จพระมหาธีราจารย์ เป็นต้น) ตลอดถึงพระสังฆาธิการระดับล่าง และพระภิกษุสามเณรทั่วไป รวมทั้งชาวพุทธไทยจำนวนมาก ได้ส่งข้อคิดเห็นแก่คณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ

ข้อเสนอหลักมีประเด็นเดียวคือ "ต้องการให้ใส่พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ" ไว้ในรัฐธรรมนูญที่จะร่างใหม่ ตรงไหนก็ได้ มาตราไหนก็ได้ แต่ข้อเสนอนี้ก็มิได้รับการสนองแต่อย่างใด กระนั้นยังอ้างว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นของประชาชน และสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่เคยมีมา

และแล้วรัฐธรรมนูญฉบับที่ว่าดีที่สุดนี้ ก็ได้ถูกยกเลิกไป คณะปฏิรูปการปกครองในระบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวไปก่อน ตอนนี้อยู่ในระหว่างรีบเร่งยกร่างฉบับถาวรต่อไป ประเด็นที่เคยตกไปในคราวร่างรัฐธรรมนูญฉบับก่อน (คือพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ) ถูกนำมาพูดคุยกันเบาๆ ในหมู่ชาวพุทธ ที่ยังไม่ดังจนถึงขั้นล่าลายเซ็นเหมือนคราวก่อน เพราะยังไม่ถึงวาระการรับฟังจากประชาชน หรือเพราะชาวพุทธเข็ดกันแล้ว ที่เสนอไปไม่ได้รับการพิจารณาก็ไม่ทราบ

แถมรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ไม่พูดถึงสถาบันศาสนาในจำนวนสามสถาบัน ซึ่งเป็นสถาบันหลักของไทยด้วย ก็ยิ่งเสียวๆ อยู่ รวมทั้งมาตราที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ "พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ" ก็ไม่มีด้วย

ผมเจอหน้าท่านอาจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร ที่ราชบัณฑิตยสถาน ก็เอ่ยเรื่องนี้ ท่านอาจารย์บอกว่า ฉบับชั่วคราวเขาเอาเฉพาะประเด็นหลักของการปกครอง จึงไม่ได้ใส่ไว้ อาจารย์ไม่ต้องห่วง ฉบับถาวร (ที่กำลังร่าง) มีแน่ มาตรานี้คงเดิม ผมก็เบาใจระดับหนึ่ง

พบท่านประสงค์ สุ่นศิริ ประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ผมก็ฝากท่านไว้ สามประเด็นคือ

1. พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ ต้องคงไว้ เพราะนี่คือความจริงของสังคมไทย และจารีตของสถาบันหลักของสังคมไทย เป็นอย่างอื่นมิได้

2. ในหมวดนโยบายแห่งรัฐของฉบับเก่า (ฉบับ 2540) ดีอยู่แล้วคือ "รัฐต้องให้การปกป้องคุ้มครองพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น" นั้นขอให้เติมข้อความว่า "ซึ่งได้รับการรับรองจากรัฐ คือศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาซิกข์"

ผมเรียนท่านประสงค์ว่า ที่ต้องใส่ไว้ให้ชัด เพราะศาสนาหรือลัทธิอื่นๆ ที่รัฐไม่รับรองก็จะอ้างสิทธิขอรับการคุ้มครองอุปถัมภ์จากรัฐด้วย

3. พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ข้อนี้เคยเสนอมาในคราวก่อนโน้นและก็ตกไป คราวนี้ถ้าเป็นไปได้ ขอท่านประธานประสงค์ช่วยนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมาธิการร่างฯ ด้วย ท่านก็รับปากแล้ว

เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา หนังสือพิมพ์มติชนได้ลงข่าวประเด็นนี้ว่าเป็นข้อเสนอของที่ประชุมอะไรสักอย่าง ให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ มีข้อคิดเห็นของท่านประธาน คมช. พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ท่านพูดไว้น่าสนใจมาก ดังนี้

"ผมพอใจการสรุปผลการสัมมนา ซึ่งก็ออกมาไม่แตกต่างกับความคิดของประชาชน ขึ้นกับคณะกรรมาธิการร่างจะปรับแก้....เมื่อถามถึงผลสรุปให้กำหนดพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ พลเอกสนธิกล่าวว่า จริงๆ แล้วมีหลายประเทศกำหนดให้ศาสนานั้นๆ เป็นศาสนาประจำชาติ ในกรอบของประเทศไทยก็อาจดีก็ได้"

ที่ว่าน่าสังเกตเป็นอย่างยิ่ง ท่านประธาน คมช. พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ท่านมิได้เป็นชาวพุทธ แต่ท่านก็ยังเห็นแนวคิดนี้อาจเป็นเรื่องดี เพราะต่างประเทศส่วนมากก็กำหนดศาสนาใดศาสนาหนึ่งเป็นศาสนาประจำชาติทั้งนั้น

จริงสินะครับ ผมมองไปที่ประเทศใหญ่ๆ ที่คนไทยยกย่องและมักจะอ้างเขามาเป็นแบบอย่างในหลายด้าน คือสหรัฐอเมริกา เขาก็มีคริสต์ศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ประเทศของแบร์เพื่อนซี้ของบุช คือสหราชอาณาจักร ก็มีคริสต์ศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติเช่นกัน ดูเหมือนว่าอเมริกากำหนดเอาคริสต์นิกายคาทอลิก อังกฤษกำหนดเอานิกายเชิร์ช ออฟ อิงแลนด์ (ถ้าผิดก็ขอให้ช่วยทักท้วงด้วยครับ ข้อมูลผมไม่แม่น) ที่แน่ๆ เขามีศาสนาประจำชาติ

ชอบตามก้นฝรั่งมิใช่หรือ ลองตามในเรื่องนี้บ้างสิครับ

พล.อ.สนธิ ซึ่งท่านเป็นมุสลิม ท่านยังคิดแทนคนไทยซึ่งเป็นพุทธส่วนมากว่า การกำหนดพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติเป็นความคิดที่อาจดีก็ได้ แล้วเราพวกเราที่เป็นพุทธไม่คิดว่าเป็นเรื่องดีหรือครับ ขอฝากไว้ด้วย โดยเฉพาะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญชุดปัจจุบัน

ผมมีข้อมูลจะแจ้งให้ผู้อ่านทราบ จากเอกสาร "แนวทางแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ประมวลเหตุการณ์การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540" จัดทำโดยคณะกรรมการศึกษาแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พูดไว้ว่า คณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาและรับฟังความเห็นของประชาชนเกี่ยวกับผลกระทบการใช้รัฐธรรมนูญ ของวุฒิสภาร่วมกับ "สวนดุสิตโพล" สถาบันราชภัฏสวนดุสิต และกรมประชาสัมพันธ์ ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทุกสาขาอาชีพ ทุกจังหวัดทั่วราชอาณาจักร จำนวน 26,433 คน ผลปรากฏว่า ประชาชนจำนวนร้อยละ 70.94 เห็นว่าสมควรกำหนดให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ร้อยละ 27.8 เห็นว่าไม่ควร เพราะประชาชนมีอิสระในการนับถือศาสนา ร้อยละ 1.88 ไม่ระบุ

เกือบจะร้อยเปอร์เซ็นต์ เห็นสมควรกำหนด "พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ" ขนาดเสียงมากมายเกือบถึงร้อยนี้ ท่านกรรมาธิการผู้ร่างยังไม่กรุณารับไว้พิจารณาใส่ไว้เลยครับ

เหตุผลคืออะไร เหตุผลมีอยู่ประการเดียว ซึ่งเป็นภาพหลอนที่สร้างกันขึ้นมา "กลัวว่าจะเป็นการแตกแยกของคนในชาติ และอาจเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมเกิดขึ้น"

เป็นความกลัวที่มิได้พิสูจน์ด้วยปัญญา มันเป็นเช่นนั้นจริงหรือ ? ไม่อยากให้พูด ไม่อยากให้กลัวกันไปเองโดยไม่มีเหตุผลรับรอง แน่นอนการจะกำหนดเอาทุกศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติย่อมไม่ได้ ไม่มีชาติไหนเคยทำ มีแต่กำหนดเอาศาสนาใดศาสนาหนึ่งที่มีจำนวนสมาชิกมาก และที่สำคัญเป็นรากเหง้าจริยธรรมและวัฒนธรรมเป็นส่วนมากของสังคมนั้นเป็นศาสนาประจำชาติ

ในกรณีประเทศไทย ศาสนาที่เก่าแก่และเป็นรากฐานของศีลธรรมและวัฒนธรรมไทยมายาวนานกว่าศาสนาอื่นก็คือ พระพุทธศาสนา

การกำหนดว่า ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ ก็เพื่อจะแสดงให้เห็นทั้งในแง่ประวัติศาสตร์ความเป็นมา จารีตขนบธรรมเนียม โดยเฉพาะราชประเพณีของสังคมนี้ว่ามี พระพุทธศาสนาเป็นหลักแห่งการฝึกฝนอบรมลูกหลานมายาวนาน เป็นบันทึกจารีตซึ่งมิได้เป็นอักษรให้เป็นกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรเท่านั้น

คือมันเป็นอยู่แล้วโดยเนื้อหา เพียงแต่ต้องการให้ท่านผู้ร่างรัฐธรรมนูญยืนยันข้อเท็จจริงนี้เป็นลายลักษณ์อักษรเท่านั้น

และเพื่อนศาสนิกศาสนาอื่นของเราต่างก็รู้ความจริงข้อนี้โดยตลอด ก็ไม่เห็นท่านเหล่านั้นรังเกียจแต่ประการใด จะมีแต่พวกเรากันเองแหละ ที่กลัวภาพหลอนกันไปเอง

กรรมาธิการร่างเพียงแต่เอาข้อเท็จจริงที่เป็นที่มีในประวัติความเป็นมาของไทยมาบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรเท่านั้น มิได้บัญญัติอะไรใหม่เลยครับ

ปัญหาต่างๆ ที่เกิดจากฝีมือผู้ก่อการร้ายในภาคใต้ เป็นเรื่องของโจรผู้ต้องการสร้างความเดือดร้อนวุ่นวายแก่สังคมไทย มิใช่มาจากเรื่องศาสนา ท่านคิดให้ดี โจรก่อการร้ายนั้นเขาทำร้ายคนดีๆ ทุกศาสนา ทั้งชาวอิสลามและชาวพุทธ ตลอดจนครูอาจารย์ ข้าราชการ ทหารตำรวจ มิใช่เป็นเรื่องของศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลามแต่ประการใด แม้จะพยายามอ้างกรณีพุทธอิสลามมาเป็นเงื่อนไขบ้างก็ไม่สำเร็จ เพราะประชาชนในท้องที่รู้ดีว่าอะไรเป็นอะไร

เราพูดกันในคณะกรรมาธิการศาสนา จริยธรรม และวัฒนธรรม ซึ่งมีทั้งพุทธ คริสต์ และอิสลาม เป็นกรรมาธิการว่า แนวคิดสมานฉันท์ที่จะนำมาใช้กับศาสนานั้น มันผิดตั้งแต่เริ่มคิดแล้ว เพราะต้องมีความแตกร้าวกันระหว่างศาสนาเกิดขึ้นแล้ว จึงจะมาสมานฉันท์ประะนีประนอมกัน แต่นี้ศาสนาต่างๆ ในประเทศไทยไม่มีการทะเลาะเบาะแว้งกัน ไม่มีการแตกแยกกัน ดูตัวอย่างได้ที่ประชาชนทางภาคใต้ ทั้งพุทธทั้งมุสลิมอยู่กันด้วยความเข้าอกเข้าใจกัน สมัครสมานสามัคคีกันอย่างดียิ่ง

แล้วจะมาสมานฉันท์กันด้วยเรื่องอะไร ?

สมานฉันท์นั้นเป็นเรื่องที่รัฐบาลจะต้องใช้กับพวกผู้ก่อการร้ายโน่น ส่วนจะสมานฉันท์โดยวิธีใด อย่างใด ก็ไปคิดกันเอาเอง

ที่พูดมาทั้งหมดนี้ต้องการบอกว่า การประกาศพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ มิใช่สาเหตุให้เกิดการแตกแยก ที่สังคมแตกแยกมิใช่เพราะเรื่องศาสนา หากเป็นเรื่องอื่น ที่แก้กันไม่ถูกจุด จนกระทั่งต้องมาสมานฉันท์กันอยู่ โดยที่ไม่รู้ว่าเมื่อไร การสมานฉันท์จะประสบผลสำเร็จ ยิ่งสมานฉันท์ก็ยิ่งห่างไกลความสงบ

ในหลวงรัชกาลที่หนึ่ง ตรัสว่า "ตั้งใจจะอุปถัมภก ยอยกพระพุทธศาสนา จะป้องกันขอบขัณฑสีมา รักษาประชาชนและมนตรี"

ในหลวงรัชกาลที่หก ตรัสว่า "พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาสำหรับชาติของเรา เป็นความจำเป็นที่เราทั้งหลายผู้เป็นไทย จะต้องมั่นอยู่ในศาสนาพระพุทธซึ่งเป็นศาสนาสำหรับชาติเรา"


เมื่อทรงประดิษฐ์ธงไตรรงค์ และทรงกำหนดให้แต่ละสีของธงชาติเป็นสัญลักษณ์แทนสถาบันทั้งสามคือ "ขาว บริสุทธิ์ศรีสวัสดิ์ หมายพระไตรรัตน์ และธรรมะคุ้มจิตไทย แดง คือโลหิตเราไซร้ ซึ่งยอมสละได้ เพื่อรักษ์ชาติศาสนา น้ำเงิน คือสีโสภา อันจอมประชา ธ โปรดเป็นของพระองค์"

พระเจ้าอยู่หัวของเราได้มีกระแสพระราชดำรัสกับสันตะปาปา จอห์น ปอล ที่ 2 เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2527 ตอนหนึ่งว่า "คนไทยเป็นคนศาสนิกชนที่ดีทั่วกัน ส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนาอันเป็นศาสนาประจำชาติ"

ปีนี้เป็นปีมงคลของชาวไทย เป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่อันเป็นที่รักของปวงชนชาวไทย มีพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา และบังเอิญว่า ประเทศไทยได้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรพอดี จะเป็นการดีหรือไม่ที่จะน้อมเกล้าฯ ถวายรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ซึ่งบรรจุ "พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ" ถวายเป็นพระราชกุศล เพื่อให้สอดคล้องกับกระแสพระราชดำรัสที่ตรัสประกาศต่อพระพักตร์สันตะปาปา จอห์น ปอล ที่ 2 ดังข้างต้น


มีต่อ >>>>> 1
 


แก้ไขล่าสุดโดย ก้อนดิน เมื่อ 08 เม.ย.2007, 11:32 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ก้อนดิน
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 07 ก.ค. 2004
ตอบ: 623

ตอบตอบเมื่อ: 01 เม.ย.2007, 8:08 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผมเขียนเรื่องข้อเรียกร้องให้บรรจุพระพุทธศาสนาลงในรัฐธรรมนูญ เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว ก่อนที่กรรมาธิการศาสนา จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม อันมีพลเอกปรีชา โรจนเสน เป็นประธานพร้อมกรรมาธิการสามท่าน ซึ่งมีทั้งชาวพุทธ คริสต์ ขาดเพียงกรรมาธิการมุสลิม ซึ่งติดภารกิจที่จังหวัดภาคใต้ ได้ร่วมกันแถลง

ท่านประธานกรรมาธิการ พลเอกปรีชา โรจนเสน ก็เสนอเพียง 3 ประเด็นหลัก คล้ายๆ กับที่ผมและท่านอื่นๆ เสนอไว้คือ

(1) ประเด็น "พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ" ที่รัฐธรรมนูญทุกฉบับเคยมี แต่ในฉบับชั่วคราวที่ประกาศใช้โดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนั้น ไม่ใส่ไว้ ต้องคงไว้ตามเดิม

(2) ประเด็นที่เสนอเข้ามาใหม่ ซึ่งชาวพุทธไทยพยายามมานานแล้ว ไม่ว่ามีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับไหน ก็เสนอคือ "พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ

ศาสนาอื่นคือ ศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาซิกซ์ เป็นศาสนาที่ได้รับการรับรองจากรัฐ"

(3) ประเด็นที่สาม มิได้เสนอใหม่ เพียงให้ปรับปรุงข้อความดังนี้ "รัฐต้องให้ความอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา และศาสนาอื่นที่ได้รับการรับรองจากรัฐ คือ ศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาซิกซ์ ส่งเสริมความสามัคคีปรองดองระหว่างศาสนิกทุกศาสนา รวมทั้งสนับสนุนการนำหลักธรรมของศาสนามาใช้ เพื่อเสริมสร้างคุณธรรมและพัฒนาคุณภาพชีวิต"

ก่อนหน้าที่รอคิวแถลงข่าว มีเยาวชนสองสามท่านแถลงข่าวเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญ ผู้สื่อข่าวและประชาชนมุงดูกันมากมาย พวกเราที่รอคิวอยู่แทบเบียดตัวเข้าห้องไม่ได้ แต่พอวัยรุ่นจบการแถลงข่าง พวก ส.ว. (สูงวัย) สามสี่ท่านนั่งลงเท่านั้น ปรากฏว่ากล้องมากมายที่ตั้งอยู่ค่อยๆ ลดลงทีละกล้องสองกล้อง คงเหลือประมาณหนึ่งหรือสองกล้องเท่านั่น

ท่านประธานกระเซ้าว่า พอเรื่องศาสนาเข้ามาก็หลบกันไปหมดเชียวนะ ท่านประธานไม่ต้องน้อยใจดอกครับ นี่คือสังคมไทย สังคมที่ไม่ให้ความสำคัญแก่พระศาสนาอันเป็นหลักใจ ไปให้ความสำคัญแก่เรื่องอื่นอันมีสาระน้อยกว่าเป็นธรรมดาอยู่แล้ว

ก็ได้แต่บ่นๆ กันว่า ศีลธรรม จริยธรรมของคนรุ่นหลัง (อย่าบ่นแต่เด็กเลย ตัวคนแก่ทั้งหลายด้วย) เสื่อมทรามลง ประเทศทั้งประเทศกำลังโหยหาจริยธรรมศีลธรรม ร้องขออย่างน่าสงสารว่า "ขอให้ศีลธรรมกลับมาๆ" ถ้าศีลธรรมจริยธรรมมันพูดได้ ก็คงสวนกลับไปว่า "ก็พวกมึง (ภาษาหลวงพ่อคูณครับ) ร้องแต่ปาก ไม่ได้ลงมือกระทำให้พฤติกรรมตัวเองเป็นศีลธรรมจริยธรรม ต่อให้ร้องจนปากแหก กู (ภาษาของหลวงพ่อ) ก็ไม่กลับ"

จะกลับได้อย่างไรเล่าครับ แม้แต่พื้นที่ให้หลักแห่งศีลธรรมจริยธรรมยืน ก็ยังไม่มีเลย รัฐธรรมนูญนั้นแหละเป็นที่ยืนแห่งศีลธรรมจริยธรรม เพราะไม่มีศีลธรรมจริยธรรมที่ไหนที่มีความหมายครบสมบูรณ์ นอกจากศีลธรรมจริยธรรมของพระศาสนา

พูดอีกนัยหนึ่ง ศีลธรรมจริยธรรมที่สมบูรณ์ต้องมาจากพระศาสนา หรืออยู่บนพื้นฐานของคำสอนทางศาสนาทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาซิกซ์

ทำไมจึงว่าศีลธรรม จริยธรรมทางศาสนาเท่านั้นเป็นศีลธรรมจริยธรรมที่ถูกต้องสมบูรณ์ ?

เพราะศีลธรรมจริยธรรมอย่างนี้เท่านั้นที่มีนัยแห่ง "การฝึกฝนอบรม" อยู่ด้วย มิใช่เป็นเพียงทฤษฎีแห่งความดีความชั่ว มาตรฐานแห่งความดีความชั่ว ดังของนักปรัชญา นักการศึกษา และนักจิตวิทยา ซึ่งเน้นแต่ความรู้อย่างเดียว ไม่เกี่ยวกับการหล่อหลอมพฤติกรรม

ท่านพุทธทาสเน้นแล้วเน้นอีกว่า พระพุทธศาสนาของท่านมิใช่ "ปรัชญา" ในความหมายของตะวันตก เพราะปรัชญาอย่างนั้นคือ food for the intellectual หรือ intellectual's food (ตามคำของท่าน) มิได้เน้นการปลูกฝังอบรมกายวาจาใจตามหลักพระพุทธศาสนาเลย

เรียนจนมีอิทธิฤทธิ์เหาะได้ (ความจริงก็เหาะได้อยู่แล้ว เหาะไปเหาะมาจนรันเวย์ แท็กซี่เวย์พังเป็นแถบๆ จนท่านบรรณวิทย์ เก่งเรียน และคณะต้องตามสอบจนเหนื่อย) ต่อให้รู้ศีลธรรมจริยธรรมจนเหาะได้ ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาหรือวิกฤตทางศีลธรรมได้ ในเมื่อท่านวิกฤตทางศีลธรรมจริยธรรมเสียเอง แต่ไม่รู้ตัว

ท่านผู้รู้ (ขออภัยที่ไม่เอ่ยนาม) พยายามอ้างว่า แม้ฝรั่ง (อเมริกันพ่อของคนไทย) ก็ยังไม่เอาศาสนามาเป็นหลักในการพัฒนาคนของเขา ก็เพราะไม่เอาศาสนาน่ะสิ สังคมอเมริกันจึงเลอะเทอะ เต็มไปด้วยปัญหาสารพัด เราจะตามอย่างสังคมเละเทะเฟะฟอนอย่างนั้นหรือ เอาก็เอา แล้วอย่ามาว่าเด็กรุ่นหลังละกัน

ถ้าสืบให้ชัดจะเห็นว่า ที่เอมริกันไม่ระบุเอาหลักคำสอนของศาสนานิกายใดมาเป็นหลักในการพัฒนาประเทศ ก็เพราะเขามีปัญหา ไม่รู้จะเอานิกายใด อเมริกานั้นเราก็ทราบกันแล้วว่าร้อยพ่อพันธุ์แม่ ไม่รู้กี่เผ่ากี่พันธุ์ กี่ชาติกี่ภาษารวมกันอยู่ จริงอยู่มี 2 นิกายศาสนาหลัก แต่ก็แบ่งออกเป็นนิกายย่อยสารพัดนิกาย ครั้งจะเอาหลักธรรมของนิกายใดมาเป็นหลักในการพัฒนาประเทศก็กลัวจะเกิดความขัดแย้ง จึงตัดปัญหาไม่เอาเสียเลย

แถมยังมีกฎหมายห้ามสอนศาสนาในโรงเรียนด้วย องค์กรศาสนาใดต้องการสอนก็ให้เป็นเรื่องส่วนตัวไป

ทีนี้การพัฒนาประเทศจะเน้นทางด้านวัตถุอย่างเดียวย่อมไม่ได้ ทางด้านจิตใจยิ่งสำคัญ และจะทำอย่างไรเมื่อปฏิเสธศาสนาไปแล้ว พวกผู้นำทางปัญญาทั้งหลาย ไม่ว่านักปรัชญา นักจิตวิทยา นักการศึกษา จึงมาคิด "จริยธรรม" ขึ้น บนพื้นฐานว่า

อะไรคือความดี อะไรคือความไม่ดีหรือความชั่ว คำตอบก็ออกมาเป็นข้อๆ เช่น ความไม่รุนแรง ความไม่เบียดเบียนกัน ความเมตตากรุณา ความไม่เอารัดเอาเปรียบกัน ความยุติธรรม สิ่งเหล่านี้ไม่ตีตราประทับสำหรับนิกายใด ศาสนาใด เป็น "สากล" นี่คือที่มาของจริยธรรมพันธุ์ใหม่ หรือจริยธรรมสากล

จริยธรรมพันธุ์ใหม่นี้ไม่เกี่ยวกับศาสนา เพราะไม่อยู่บนพื้นฐานของการฝึกฝนอบรม

พูดให้ชัดก็คือ ผู้ศึกษาจริยธรรมพันธุ์ใหม่นี้ จะเรียนรู้เกี่ยวกับทฤษฎีความดีความชั่ว มาตรฐานวัดดีวัดชั่วโดยเอาเหตุผลเป็นตัววัดตัดสิน ไม่เกี่ยวกับพฤติกรรมแต่อย่างใด

แม้เจ้าของทฤษฎีเองก็ไม่ผูกมัดกับทฤษฎีที่ตนวางไว้ เวลาผ่านไปสักระยะหนึ่งก็อาจปฏิเสธทฤษฎีของตนเสียเองก็ได้

ท่านพุทธทาสจึงรังเกียจนักหนา ถึงกับเรียกว่า เป็นแค่ "อาหาร (แดกด่วน) ทางปัญญา" ให้ถกให้เถียงกันมันปากเท่านั้น

เขียนมาถึงตรงนี้นึกถึงท่านบรรจง ชูสกุลชาติ อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ท่านพูดว่า "ถ้าถามว่าเข้ามหาวิทยาลัยเรียนอะไรมาบ้าง ทุกคนคงตอบว่า เรียนมามากมาย ครั้นถามต่อว่า เรียนมากขนาดนั้นมีคุณธรรมอะไรที่ยึดถือประจำใจบ้าง หลายคนหรือเกือบทุกคน คงมองตากันล่อกแล่ก ลังเลใจไม่รู้จะตอบอย่างไร"

เราจะเอากันอย่างนี้ใช่ไหม ถ้าจะเอาอย่างนี้ก็ไม่ควรโทษเด็กรุ่นหลังว่าศีลธรรมจริยธรรมเสื่อม เพราะมันเป็นวิธีผุกร่อนศีลธรรมจริยธรรมที่มีประสิทธิภาพอยู่แล้ว

สังคมเราเป็นสังคมที่ว่าตามกัน เจ้าคุณประยุทธ์ (พระพรหมคุณาภรณ์) ท่านแสดงธรรมซึ่งผมไม่ได้ฟัง ลูกชายฟังแล้วมาเล่าให้ฟังว่า พอคนที่มี authority เช่น ประธานนั้นประธานนี่ โฆษกกรรมาธิการนั่นนี่ ดร.นั่นนี่พูดว่า "ใส่ไว้ไม่ได้ เพราะจะเป็นการแตกแยก" ฟังแค่นี้แล้วก็เชื่อตามกันไป ไม่ได้พิจารณาด้วยเหตุด้วยผล ด้วยวิทยาศาสตร์ว่าจริงหรือไม่ ที่ใส่พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติแล้วคนไทยจะแตกแยก และที่มีปัญหาแตกแยกกันอยู่ปัจจุบันนี้มันเป็นปัญหาทางศาสนาหรือเปล่า หรือปัญหาจากเรื่องอื่น

พุทธวจนะว่า "พหูสุตบุคคล (ผู้คงแก่เรียน) ทั้งหลายมีการพินิจพิจารณาเป็นกำลัง" ท่านที่เป็นพหูสูตเหล่านั้นใช้ปัญญา หรือใช้ความรู้สึกตัดสิน สาธุ พระคุณเจ้า

ศาสตราจารย์ ดร.กีรติ บุญเจือ พูดในวันแถลงข่าวว่า พอพูดเรื่องนี้ขึ้นพี่น้องชาวคริสต์ก็ถามว่าทำอย่างนี้ได้หรือ ท่านก็ได้ชี้แจงว่า ในฐานะที่พระพุทธศาสนาเป็นหลักแห่งการอบรมบ่มนิสัยคนไทย มายาวนานในประวัติศาสตร์ ไม่ว่าจะอ้างประวัติศาสตร์ จารีตวัฒนธรรม ไม่ว่าจะอ้างจำนวนสมาชิกซึ่งมีมากกว่าศาสนาอื่น ควรที่จะให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติอยู่แล้ว เพราะเป็นอยู่แล้วโดยราชประเพณี โดยจารีต เพียงแต่ยังไม่บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรเท่านั้น ถ้าจะบันทึกในรัฐธรรมนูญก็ไม่เห็นจะมีอะไรเป็นอะไร

ครั้นมีผู้ถามว่า ถ้าจะใส่ไว้ก็ควรใส่ทุกศาสนา เพื่อให้ทัดเทียมกัน อาจารย์ชี้แจงว่า ที่จริงทุกศาสนาก็ได้รับการดูแลทัดเทียมกันอยู่แล้ว ไม่มีอะไรแตกต่าง เพียงแต่ใส่ศาสนาพุทธคล้ายๆ เป็นหัวแถวเท่านั้น ใส่ทั้งหมดไม่ได้ ดุจนิ้วทั้งห้านิ้วก็ยังไม่เท่ากัน ก็ต้องมีนิ้วหนึ่งที่ยกให้อยู่แถวหน้า แต่มิได้หมายความว่านิ้วอื่นไม่สำคัญ หลังจากแถลงแล้ว อาจารย์ก็หันมาหาผมว่า ผมพูดแทนชาวพุทธ เพราะเห็นอึกอักพูดไม่เต็มปาก อาจารย์ก็เป็นคนไทยเลยรู้กำพืดของไทยด้วยกัน

ที่อาจารย์ท่านหนึ่งว่า ดูรัฐธรรมนูญที่ผ่านมาทุกฉบับไม่มีฉบับไหนใส่ว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ พูดผิดพูดใหม่ได้นะครับ ท่านอาจารย์ธงทอง (ไหนว่าจะไม่เอ่ยไง)

ลองช่วยค้นเอกสารเก่าๆ ดู ในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ.2475 "ในร่างเดิมนั้นมีข้อความว่า "พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำอาณาจักรสยาม" แต่ถูกตัดออก "อนุกรรมาธิการร่างจำต้องตัดออกไปก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรให้พิจารณาและลงมติ เพราะ...มันเกรงใจเพื่อน...ของมัน"

ข้อมูลบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ จากบันทึกในเรื่องเดียวกันนี้ ท่านปรีดี พนมยงค์ ยังได้เล่าให้ทราบว่า เมื่อเสร็จการประชุมก่อตั้งคณะราษฎรแล้ว ข้าพเจ้ากลับสยามในเดือนมีนาคมปีนั้น แล้วเพื่อนที่ยังอยู่ในปารีสเลือกเฟ้นผู้ที่สมควรชวนร่วมคณะราษฎรต่อไป อีกประมาณ 2-3 เดือน เพื่อนได้ชวนนายทวี บุณยเกตุ นักศึกษาวิชาเกษตร และนายบรรจง ศรีจรูญ ไทยมุสลิมจากอียิปต์ที่มาเยือนปารีส ซึ่งรับภาระจัดตั้งมุสลิมต่อไป อาทิ นายแช่ม มุสตาฟา (บุตรหัวหน้าศาสนาอิสลามในไทย ที่รู้จักกันในนามว่า "ครูฟา" ต่อมานายแช่มเปลี่ยนนามสกุลว่า "พรหมยงค์" คล้ายนามสกุลของข้าพเจ้า)"

ความจริงก็คือว่า เคยมีในร่างของอนุกรรมาธิการ แต่ถูกดึงออกก่อนเสนอสภาแบบเส้นยาแดงผ่าแปด

แต่โดยราชประเพณี โดยประวัติศาสตร์ โดยจารีตประเพณีและวัฒนธรรม พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทยอยู่แล้ว เพียงแต่ไม่ได้จารึกเป็นลายลักษณ์ ด้วยภาพหลอนภาพลวงที่สืบทอดกันมาดังกล่าว จึงไม่ได้รับการบันทึกเป็นลายลักษณ์เท่านั้น

คราวนี้ก็แว่วว่า ดึงออกตั้งแต่ไม่บันทึกแล้ว คือ ดึงออกจากใจของคณะกรรมาธิการร่างทั้งหลาย (คงไม่หมดทุกคน) ท่านที่รับปากผมแล้วก็ไม่ต้องเกรงใจว่าจะผิดคำพูด เพราะผมรู้ดีว่าท่านเพียงแต่พูดว่า "ผมจะพิจารณา ผมจะนำเข้าสู่ที่ประชุม" ส่วนที่ประชุมจะเอาอย่างนี้ก็ไม่ว่าอะไร เพราะคาดการณ์ล่วงหน้าอยู่แล้ว

เพียงต้องการบอกว่า ผมจะคัดค้านและยกมือไม่ผ่านร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ครับ ใครจะเอากับผมด้วยก็ยกมือ


มีต่อ >>>>> 2
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงความเห็น
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 01 เม.ย.2007, 8:13 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ควรบัญญัติให้ไทยมีพุทธเป็นศาสนาประจำชาติไหม ในรัฐธรรมนูญ /////////////

ผมในฐานะชาวพุทธคนหนึ่งเห็นด้วย ที่จะให้รัฐธรรมนูญมีการบัญญัติให้พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำประเทศไทย ผมมีเหตุผลบางอย่างดังนี้เพื่อให้คนทุกศาสนาเข้าใจเรื่องศาสนาประจำชาติของไทยมากขึ้นคือ

1) การมีพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำประเทศไทย จะช่วยทำลายปัญหาสงครามศาสนาที่มีสาเหตุมาจากศาสนาที่เกิดจากชาวบ้านต่างศาสนาขัดแย้งกันเองง่ายง่าย โดยไม่มีกฏเกณท์มาตราฐานสากลระดับชาติและระดับโลกมารองรับอ้างอิง ถ้าไทยมีพุทธเป็นศาสนาประจำชาติครบถ้วน การตัดสินเรื่องสงครามศาสนา ศาสนาพุทธประจำชาติไทยจะใช้แบบแผนมาตราฐานโลกตามองค์กรโลกคริสต์วาติกันและองค์กรโลกอิสลามสายกลางทั้งปวงผสมกันเป็นแบบอ้างอิงโดยทางพุทธจะรอบคอบกว่าและเคร่งครัดกว่าแบบแผนมาตรฐานโลกของทั้ง 2 ศาสนานั้น ทำให้มีเพียง 1 ในพันล้าน ส่วนเท่านั้นที่ทางพุทธ ประจำชาติ จะทำสงครามศาสนาตามการชี้นำของประเทศคริสต์และประเทศมุสลิมได้

2) การมีพุทธเป็นศาสนาประจำประเทศชาติไทยก่อนในรัฐธรรมนูญ จะทำให้ในอนาคตยาวนานไทยไม่มีช่องโหว่ไดที่จะเปิดโอกาสให้คริสต์หรืออิสลามหรือศาสนาอื่นใด เป็นศาสนาประจำประเทศชาติไทยได้ และชี้นำสงครามได้ นอกจากชาวพุทธจะล้มเลิกกันเอง

3) การมีพุทธเป็นศาสนาประจำชาติประเทศไทยด้านนิตินัยในรัฐธรรมนูญ จะทำให้รัฐบาลไทยทำนโยบายเพิ่มการสนับสนุนร่วมมือไกล้ชิดชัดเจนด้านทุนพัฒนาองค์กรให้แก่องค์กรพุทธของพระสงฆ์ประจำชาติเพื่อบริหารงานสังคมไทยทุกด้านได้มากกว่าองค์กรศาสนาอื่นในไทยซึ่งจะทำให้องค์กรพุทธของสงฆ์ประจำชาติเพื่อพัฒนางานสังคมทุกด้าน มีการพัฒนาองค์กรเป็นเอกภาพอย่างทั่วถึงได้โดยไม่เน้นกำไรไปต่อเนื่องอีกยาวนาน แถมประชาชนทุกศาสนามาขอใช้บริการในราคาถูกถูกจากองค์กรพุทธเพื่อสังคมไทยของสงฆ์ประจำชาติได้ตามความสมัครใจพอพอกัน คนไทยทุกเชื้อชาติและทุกศาสนาย่อมพอใจในการบริการพอพอกันด้วยแน่นอน และสังคมประเทศไทยยังใช้ระบบทุนนิยมเสรีแบบแข่งขันผสมเช่นเดิม จึงเป็นไปไม่ได้ที่สังคมไทยจะมีระบบตั้งราคาสินค้าแตกต่างในทุกธุรกิจทั่วไปเพื่อแบ่งแยกศาสนาและเชื้อชาติ ดังนั้นไม่มีทางที่จะเกิดความรู้สึกแบ่งแยกพลเมืองเป็นชั้น 1/2/3 ต่างต่างตามเชื้อชาติศาสนาแน่นอน นอกจากคิดแง่ร้ายมากเกินไปจากความจริง ไม่เข้าใจจริงอย่างถ่องแท้

4) การมีพุทธเป็นศาสนาประจำชาติไทยในรัฐธรรมนูญ จะส่งเสริมให้หลักการเสรีภาพสากลของประชาชนในการนับถือเปลี่ยนบูชาศาสนาต่างต่างในไทยเป็นไปโดยเสรีอย่างมีระเบียบมากขึ้น ตราบเท่าที่คนในสาสนาต่างต่างนิกายต่างต่างในไทย ไม่มีแผนการกลเกมทำลายศาสนาประจำชาติไทย หรือทำลายความมั่นคงของประเทศชาติและการป้องกันประเทศจากภัยต่างประเทศนั้น ทุกศาสนาในไทยที่มีกฎหมายไทยรับรองยอมรับอย่างถูกต้องนั้น ต้องทำหน้าที่ตามกฎหมายปกป้องรักษาเอกราชของประเทศชาติไทยด้วย และต้องสามัคคีกันชนะภัยต่างประเทศเพื่อรักษากฎหมายของประเทศไทยและรักษาความมีเสรีภาพทุกด้านอย่างเหมาะสมของประเทศไทยด้วย

5) การที่ประเทศไทยและชาวพุทธจะอยุ่ในสังคมโลกอย่างเข้มแข็งมั่นคงได้นาน จะต้องมีปัจจัยหนุนอีกหลายอย่าง นอกจากแค่การมีพุทธเป้นศาสนาประจำชาติไทยในรัฐธรรมนูญ ด้วยตัวอย่างเช่น

5.1 นิสัยชาวพุทธจะต้องแยกคำสอนของพระพุทธเจ้าด้านคุณธรรมเพื่อตน ครอบครัว สังคมและประเทศ ออกจากคุณธรรมเพื่อหลุดพ้นไปนิพพานถาวรในชาติหน้าอีกหลายชาติได้ นี่จะรักษาชาติไทยและประชากรไทยไห้เป็นประเทสที่มั่นคงในโลกคนได้ดี

5.2 นิสัยชาวพุทธต้องฝึกใจให้มีสัทธาเชื่อเคารพต่อพระพุทธเจ้าในนิพพานและกฏแห่งกรรมหลายชาติให้มากกว่ารูปปั้นและชีวิตของตนเองทั้งปวง เพื่อรักษากฎหมายชาติและคุณธรรมและธรรมให้เป็นใหญ่มากกว่ากิเลสของตนเองและพวกพ้อง

5.3 ไม่ว่าครอบครัวชาวพุทธจะทุกข์ทรมานเพราะกรรมของแต่ละคนในสังคมที่ตนอยู่ อย่างไรก็ตาม ชาวพุทธจะต้องรักสังคมพุทธเสมอ และต้องเลือกสนับสนุนชาวพุทธคนที่เก่งคุณธรรมดีมีสติปัญญาเท่าทันโลกไม่เห้นแก่ตัวและเงินมากกว่าประเทศ นำทางสังคมพุทธและประเทศเสมอ โดยไม่หวังผลตอบแทนใดใด

6) การมีพุทธเป็นศาสนาประจำชาติไทย ไทยไม่ได้หมายถึง ตัวศาสนาพุทธเองดีกว่าเก่งกว่าศาสนาอื่นในโลก แต่ไทยหมายถึงศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่รักและซื่อสัตย์และรักษาปกป้องประเทศชาติไทยอย่างสูงสุดมายาวนานที่สุดจนติดเป็นสมบัติประจำชาติ

7) สิ่งที่ผมบอกมานี้ จะเปลี่ยนความเข้าใจผิดด้านประวัติศาตร์ที่ว่า ถ้ามีพุทธเป็นศาสนาประจำชาติประเทศมักอ่อนแอด้วย ผมเชื่อว่า การมีพุทธเป็นศาสนาประจำชาติไทย จะทำให้ประเทศเปลี่ยนแปลงไปก้าวหน้าและแข็งแกร่งกว่าประเทศพุทธในอดีตมากเกินคาดฝัน

8) ผมนีโอพุทธศิษย์เก่าสุโขทัยธรรมาธิราช คนหนึ่ง ชอบพระไตรปิฎกบาลีเถรวาทไทย เป็นอันดับ 1 ตามประวัติชาติไทย ผมหวังว่าคนทุกศาสนาในไทยจะเปิดกว้างยอมรับความจริงในประเทศไทย จากเราชาวพุทธครับ /////////////
 
ก้อนดิน
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 07 ก.ค. 2004
ตอบ: 623

ตอบตอบเมื่อ: 03 เม.ย.2007, 5:57 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

มีคนถามว่า พระพุทธศาสนาสำคัญอย่างไร จึงควรใส่ไว้ในรัฐธรรมนูญว่าเป็นศาสนาประจำชาติ ผมมองหน้าคนถาม บอกเขาไปว่า คุณถามผิด ที่ถูกควรถามว่า รัฐธรรมนูญสำคัญนักหนาเชียวหรือ ถึงไม่กล้าใส่พระพุทธศาสนาว่าเป็นศาสนาของประเทศไทย คงไม่ลืมว่าประเทศนี้โดยจารีต ขนบธรรมเนียมประเพณี แม้แต่ราชประเพณี ตลอดจนวัฒนธรรม พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติมาตั้งแต่ต้น

พระราชามหากษัตริย์ทุกพระองค์ทรงยืนยันว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาของประเทศนี้ ไม่ต้องย้อนไปไกลถึงสุโขทัย เอาแค่กรุงธนบุรี และรัตนโกสินทร์

พระเจ้าตากสินมหาราช ตรัสว่า "พระศาสนาคงอยู่คู่กษัตรา พระศาสดาตรัสไว้ให้คู่กัน"

รัชกาลที่หนึ่งแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ตรัสไว้ในพระปฐมบรมราชโองการว่า "ตั้งใจจะอุปถัมภก ยอยกพระพุทธศาสนา จะป้องกันขอบขัณฑสีมา รักษาประชาชนและมนตรี"

รัชกาลที่หก ตรัสว่า "พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาสำหรับชาติของเรา เป็นความจำเป็นที่เราทั้งหลายผู้เป็นไทยจะตั้งมั่นอยู่ในศาสนาพระพุทธซึ่งเป็นศาสนาสำหรับชาติเรา"

เมื่อทรงประดิษฐ์ธงไตรรงค์ และทรงกำหนดสีต่างๆ เป็นสัญลักษณ์แทนสถาบันทั้งสามคือ "ขาว บริสุทธิ์ศรีสวัสดิ์ หมายพระไตรลักษณ์ และธรรมะคุ้มจิตไทย แดง คือโลหิตเราไซร้ ซึ่งยอมสละได้ เพื่อรักษ์ชาติศาสนา น้ำเงิน คือสีโสภา อันจอมประชา ธ โปรดเป็นของพระองค์"

พระเจ้าอยู่หัวของเราได้มีกระแสพระราชดำรัสกับสันตะปาปา จอห์นปอลที่ 2 เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2527 ตอนหนึ่ง "คนไทยเป็นศาสนิกชนที่ดีทั่วกัน ส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนาอันเป็นศาสนาประจำชาติ"


สรุปพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทยมาแต่โบราณกาล โดยราชประเพณี โดยจารีต โดยวัฒนธรรม และโดยวิถีชีวิต พระพุทธศาสนาเป็นหลักยึดเหนี่ยวจิตใจของไทยมาตั้งแต่ต้น พูดให้ชัดคือ เป็นศาสนาประจำชาติไทยมาตลอด เพียงแต่มิได้บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร

เมื่อมีรัฐธรรมนูญขึ้น ตั้งแต่ฉบับแรกจนถึงฉบับชั่วคราว (พ.ศ.2550) ผู้ร่างมิได้ใส่ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งมิใช่เป็นความผิดของพระพุทธศาสนา หากเป็นความผิดของกรรมาธิการผู้ร่างรัฐธรรมนูญ

คำถามก็คือ กรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญถือสิทธิ์อะไรที่ละเลย ไม่บันทึกข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ของชาตินี้

เมื่อใครพูด (เช่น ครูสอนหนังสือแก่เด็ก) ว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ก็ท้วงติงว่าไม่ควรพูดอย่างนั้น เพราะแม้รัฐธรรมนูญยังไม่พูดว่าเป็นศาสนาประจำชาติเลย

แล้วทำไมต้องอ้างอิงรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีความบกพร่องไม่สมบูรณ์ ทำไมไม่รับรู้ความเป็นจริงของสังคมไทยเล่า


มีต่อ >>>>> 3
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
นีโอพุทธ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 12 เม.ย.2007, 4:12 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

มีคนไม่รู้คุณค่าของศาสนาประจำชาติกับจิตใจชาวพุทธ ผมเลยขอแสดงความเห็นตามที่รวบรวมมาได้อีกดังนี้

1. มีคนว่า ไม่ต้องบัญญัติพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ เพราะคนทั่วโลกส่วนไหญ่รู้ว่าคนไทยส่วนไหญ่นับถือสาสนาพุทธอยู่แล้ว --- ผมเห็นว่าการบอกแบบนี้ไม่ครบ เนื่องจากคนทั่วโลกย่อมเข้าใจได้ต่ออีกว่าคนทั่วโลกถือว่าศาสนาพุทธคือศาสนาประจำประเทสชาติไทย นั่นเอง นั่นคือ ถ้าไทยบัญัติพุทธเป็นศาสนาประจำชาติไทยย่อมสอดคล้องกับสติปัญญาการคิดต่อเนื่องของคนทั่วโลกด้วยที่ตอบรับเรื่องนี้อยู่แล้วด้วยความเข้าใจและ นี่มีคุณค่าด้านจิตใจให้แก่โลกเราด้วย ว่า โลกเรามีศาสนาประจำชาติตามกฏหมายหลากหลายมากขึ้นเหมือนกับ โลกมีสัตว์น้ำหลากหลายมากในธรรมชาตินั่นเอง ///////

2. พุทธศาสนาในไทยจะอยู่ได้มั่นคง เพราะการทำตัวของนักบวชและชาวพุทธมากกว่าการบัญญัติเป็นศาสนาประจำชาติ --- ผมเห็นว่านี่เป็นแนวคิดโบราณมากประมาณ 2000 ปีที่แล้วอย่างน้อยที่ระบบกฏหมายโบราณยังไม่มีความเป็นระบบซับซ้อนพอทุกเรื่อง ทุกศาสนาในอดีตจะเน้นการอยู่รอดไปที่ประเพณีและคนเป็นสำคัญและปัจจุบันนี้ก็ไม่ได้ละเลยหลักโบราณเก่าแก่นี้เลย เพียงแต่หลักโบราณนี้ใช้ได้กับโลกประเทศสมัยปัจจุบันยังไม่ดีพอเพราะสังคมซับซ้อนและขยายขอบเขตมากขึ้น งานสาสนาย่อมมีมากขึ้นตาม เพราะศาสนาปนะจำชาติประเทศอื่นมีการใช้ระบบกฏหมายรองรับอยู่และก้าวหน้ากว่าเป็นกฏหมายที่มีระบบชัดเจนเพื่อรองรับความมั่นคงของศาสนาประจำชาติได้ยาวนานกว่าประเพณีและคนด้วยหากมีการขาดตอนบางเวลาด้วยเหตุการณ์ไม่คาดฝันจากธรรมชาติและคนในอนาคตได้อีกทางหนึ่ง ยิ่งใช้วีธีกฏหมายด้วย ศาสนาพุทธยิ่งมั่นคงกว่าเดิมและต่อเนื่องเข้มแข็งชัดเจนเป็นระบบหนุนกันหลายทางและตรงตามพระพุทธเจ้าด้วยที่บอกนัยถึง พุทธบริษัทจะรักษาพุทธสาสนาได้มั่นคงต้องพึ่งพากันช่วยเหลือกันได้ทุกวีธีที่ทันโลกเพื่อรักษาพุทธศาสนาตามกาลเวลา

3. ไม่บัญญัติพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ ก็ทำให้คนต่างศาสนาสมานฉันท์กันยาก ถ้ายิ่งบัญญัติยิ่งไม่แย่กว่าเหรอ ? --- ผมเห็นว่าไม่แย่กว่าเดิมแต่จะดีขึ้นด้วย เพราะประเทศที่มีศาสนาประจำชาติหรือประเทศที่ไม่มีศาสนาประจำชาติ ต่างก็ทำให้คนต่างศาสนาสมานฉันท์กันยากพอพอกัน เหมือนเหมือนกัน เพราะศาสนาทั่วโลกมีรายละเอียดไม่ตรงกันทุกประเด็น ทั่วโลกทุกศาสนาตอนนี้ อยู่ร่วมกันได้อย่างสามัคคีเพราะยึดหลักคุณธรรมพื้นฐาน ยึดหลักเพื่อประเทศชาติ เพื่อสันติสุขของโลก เพื่อหลักมนุษยธรรมและนิติธรรมสากลทั้งสิ้นในการสามานท์ฉันท์เข้าใจกัน ดังนั้นต่อให้ไทยมีสาสนาประจำชาติ ปัญหาของการสมานฉันท์ก็มีอยู่เท่าเดิมในไทยซ้ำซากเหมือนอดีตตอนไทยไม่มีศาสนาประจำชาติเหมือนเดิม ไม่แย่ลงเพราะไม่ได้ไปเปลี่ยนหลักเสรีภาพที่เหมาะสมเพื่อไทยอะไรเลย จากนั้นจึงหาหลักกลางกลางคุณธรรมพื้นฐานจากทุกศาสนา มาสมานฉันท์กันเหมือนเดิมเอง คนทุกศาสนาทั่วโลกและคนไม่มีศาสนา เขาสามัคคีกันด้วยหลักคุณธรรมพื้นฐานของทุกสาสนาทั่วโลกนั่นแหละครับอยู่แล้ว

แต่การมีศาสนาประจำชาติไทยจะช่วยเป็นรากฐานส่งเสริมให้สาสนาประจำชาติไทยรักษาหลักคุณธรรมพื้นฐานของทุกศาสนาในโลกเป็นมาตรฐานสามัคคีสมานฉันท์ได้มั่นคงต่อเนื่องยิ่งขึ้นเป็นทางการอย่างยาวนานจนกว่า ประเทสไหญ่อื่นอื่นในโลกจะเปลี่ยนแปลงเรื่องนี้ก่อน

4. การบัญญัติพุทธสาสนาเป็นสาสนาประจำชาติ ตามจริงจะลดกันแข่งขันกันเองของศาสนาส่วนน้อยในชาติได้มากและลดการคิดทำลายกันอย่างลับลับหลายสิบปีมาสู่การเปิดเผยและสามัคคีกันมากขึ้นด้วยเหตุผลที่เหมาะสมเข้าใจกันและไม่มีความรุ้สึกกลัวหลอกหลอน การไม่บัญญัติสาสนาประจำชาติ มีแต่จะทำให้ปัญหาของทุกสาสนาในชาติ วนเวียนซ้ำซากในชาติไทยอย่างเดิมเดิมไม่จบสิ้นแน่นอน เป็นผลเสียแก่ชาติไทยต่อไปเช่นเดิม

5. ส่วนตัวผมอยากให้สงฆ์และสสร. กล้าทำสิ่งที่สร้างสรรค์ชาติไทยด้วยการสนับสนุนกันให้รัฐธรรมนูญ ฉบับไหม่ บัญญัติในหมวดศาสนาเลยว่า --- ประเทศไทยนับถือพระพุทธเจ้าด้วยจิตใจที่บริสุทธิ์เป็นบุคคลด้านศาสนาประจำประเทศไทยอย่างสูงสุด โดยไม่จำเป็นต้องใช้รูปปั้นเทียบเคียงก็ได้ --- การบัญญัติแบบนี้ จะตรงเป้ากว่า และมีแนวคิดรับรองคือ ยูเนสโก้รับรองพระพุทธเจ้าระดับโลก คนไทยโดยมากตั้งแต่ราชาก็รับรองพระพุทธเจ้าให้ประจำชาติไทย การส่งเสริมงานพุทธศาสนาของสงฆ์ทุกแบบทั้งคำสอนและองค์กร ภายใต้พระพุทธเจ้าจะได้รับการสนับสนุนเป็นทางการมากขึ้นเพื่อพัฒนาสังคมพุทธทันโลกอย่างมีระเบียบคู่จิตใจที่ดีเข้มแข็งและเป็นการควบคุมรูปปั้นไม่ให้มีมากเกินไปจนเด่นกว่าคำสอนธรรมของพระพุทธเจ้าหรือจนทำลายงานด้านอื่นของชาวพุทธเพื่อชาติอนาคตอย่างมาก ผมว่า แนวคิดนี้น่าจะดีกว่า มาก และดีกว่า การบัญญัติเป้นตัวหลักธรรมหรือศีลธรรมเลย ถ้าไทยบัญญัติศีลธรรมประจำชาติ ไทยจะเสียเปรียบ ประเทสที่มีศีลธรรมที่น้อยกว่าและยืดหยุ่นกว่าแน่นอน ตัวอย่างคือ อินโดยนีเซีย มีนโยบายปัญจศีล ก็จริง แต่ไม่เคยใช้ได้ต่อเนื่องเลยหรือทำเคร่งได้จริงต่อเนื่องทุกข้อเลยพร้อมกันเพราะความมั่นคงของชาติและการเสียเปรียบด้านผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจในเวทีนานาชาติ มันบังคับอยุ่ ดูจากอินโดวุ่นวายมากหลายปีทีเดียว ปัญจศีล เป็นเพียงภาพสวยเท่านั้นครับในเกม

แต่ไม่ว่าจะบัญญัติอย่างไร ชาวพุทธจะต้องมีหน้าที่ส่งเสริมความมั่นคงของศาสนาพุทธคู่กับประเทศไทยผ่านกฏหมายอยุ่เสมอ เป็นพันธะสัญญาเพื่อสังคมและชาติศาสนา พระมหากษัตริย์ที่ทรงปัญญาธรรมไม่เปลี่ยนแปลงเป็นจตุเอกภาพ

6. มีคนบอกว่าการบัญญัติ เพียง พระมหากษัตรย์เป็นพุทธมามกะ น่าจะเพียงพอแล้ว --- ผมเห็นว่า ยังไม่พอกับโลกที่พัฒนาโตขึ้นเรื่อยเรื่อยในยุคนี้ งานพุทธ สาสนาผ่านสำนักพุทธคณะสงฆ์แห่งชาติจะเพิ่มและ มีมากกว่างานพุทธมามกะมาก ได้อีกหลายพันปีข้างหน้า ชาวพุทธเราจะต้องเห็นตรงกันให้มีศาสนาประจำชาติเพื่อรองรับความซับซ้อนคอมเพล็กซ์ของงานและประเทศให้ได้ทันเวลาในอนาคต เพราะอนาคตแก้ได้ยากขึ้น โลกาภิวัฒน์แก้ได้ยากขึ้น หนีไม่ได้ ในโลกนี้ ///////

ผม เพื่อนพ้องสุโขทัยธรรมาธิราช คนหนึ่ง หวังว่าความเห็นผมคงจะช่วยให้สสร.และสังคมพุทธมีสติรอบคอบกันมากขึ้นนะครับ ///////
 
ดวงใจ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 13 เม.ย.2007, 11:30 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การกำหนดเป็นลายลักษณ์อักษรในรัฐธรรมนูญให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาตินั้นไม่สำคัญเท่ากับว่าคนไทยเป็นพุทธจริงหรือไม่ แม้จะมีไว้ในรัฐธรรมนูญแต่คนไทยยังเป็นอย่างที่เห็นในปัจจุบันก็ไม่มีความเป็นพุทธแต่อย่างใด ไม่ว่าจะเป็นกระแสคลั่งจตุคามรามเทพซึ่งไม่เห็นมหาเถรสมาคมหรือผู้ที่ออกมาเรียกร้อง(ทั้งพระและฆราวาส)ให้กำหนดให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญได้ออกมาชี้แนะให้ประชาชนได้ทราบว่านั่นไม่ใช่พุทธแต่อย่างใด แถมแต่ละวัดยังพากันจัดการสร้างจตุคามรามเทพเพื่อหารายได้เข้าวัดกันเป็นการใหญ่ อย่างนี้แล้วจะมีประโยชน์อะไรที่จะต้องระบุไว้ในรัฐธรรมนูญเพราะก็เป็นเพียงแต่อยู่ในกระดาษเท่านั้นแต่ความเป็นจริงไม่มีความเป็นพุทธแต่อย่างใด

การเรียกร้องให้ได้มาดังกล่าวเปรียบเสมือนการต้องการให้มีหีบห่อภายนอกเป็นพุทธแต่ของข้างในเป็นพราหมณ์และไสยศาสน์เต็มรูปแบบ จะมีประโยชน์อะไร
 
buddha-brotherhood
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 18 เม.ย.2007, 11:04 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พระพุทธเจ้าท่านแสดงชัดเจนว่า สวรรค์ชั้นดุสิต คือสวรรค์ของชาวพุทธโพธิสัตว์ผู้บำเพ็ญบารมีเพื่อนิพพานอย่างแรงกล้าเท่านั้น ไม่มีคนในศาสนาอื่นไปสวรรค์ชั้นนี้ได้ ถ้าไม่ทำตามแบบของพระพุทธเจ้า นี่แค่สวรรค์นะ ดังนั้น พระพุทธเจ้ารับรองให้สวรรค์ชั้นดุสิตเป็นสวรรค์ที่มีพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำสวรรค์ชั้นดุสิตอย่างจริงจัง

ในโลกของเรานี้ พระพุทธเจ้าท่านทรงประทานพระธาตุศักดิ์สิทธิ์ไว้ให้เป็นกำลังใจแก่กลุ่มชาวพุทธทั่วโลก เพื่อให้เกิดพุทธานุสสติไปสู่แดนสวรรค์ก่อนหลังตายอย่างง่ายได้ เห็นชัดว่า พระพุทธเจ้าทรงเน้นพระพุทธคู่พระธรรมเสมอ ให้แก่ชาวพุทธทั่วไป มีแต่พระอรหันต์เท่านั้นที่เน้นพระธรรมเหนือพระพุทธได้จริง อย่างถูกต้อง ต่างด้าวอย่ามามั่ว ว่าพระพุทธ เน้นปัจเจกชนอย่างเดียว นั่นเรื่องเรื่องสมาธิแรงกล้าเท่านั้น ที่พระพุทธเน้นเรื่องความเป็นปัจเจกชนและสงัดสงบยิ่ง สำหรับชาวบ้าน พระพุทธบอกต้องสร้างสังคมประเทศให้มีระบบให้ดี เพื่อให้ประเทศก้าวหน้ามั่นคง

การบัญญัติพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ เป็นเรื่องการสร้างระบบให้ดีก้าวหน้าและมั่นคง เพื่อประเทศ เป็นการทำตามพระพุทธเจ้าโดยแท้ ที่ต้องการให้ชาวพุทธสามัคคีกันรักษาพุทธ ภายใต้พระธาตุของพระพุทธคู่กับพระธรรมประจำประเทศ

เชื่อได้แน่นอนว่า พระพุทธเจ้าบอกเรื่องสวรรค์ชั้นดุสิต ก็เพื่อเป็นแนวทางตัวอย่างชัดเจนให้ชาวพุทธได้มีสิทธิและได้มีโอกาสเทียบเพื่อสร้างและปกป้องศาสนาพุทธประจำประเทศขึ้นมาได้ ด้วยพลังใจสามัคคีของชาวพุทธเอง และสอดคล้องกับหลักการทั่วโลก ที่ให้ประเทศมีสิทธิสากลในการประกาศศาสนาประจำประเทศได้อย่างถูกต้องตามกฏหมายประเทศเอง ผมจึงขอหนุน นีโอพุทธ เพราะบอกตรงตามจริง ธงขาวในไตรรงค์หมายถึง ทุกศาสนจักรทั่วโลกที่บริสุทธิ์ต่างยอมรับความจริงแท้ที่สะอาดว่า ประเทศไทยมีพุทธเป็นศาสนาประจำประเทศไทย และ รัชกาลที่ 6 แห่งจักรี ประกาศไปทั่วโลก เหมือนกัน
 
ก้อนดิน
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 07 ก.ค. 2004
ตอบ: 623

ตอบตอบเมื่อ: 20 เม.ย.2007, 9:50 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

จดหมายจากท่านผู้อ่าน "พระพุทธศาสนากับรัฐธรรมนูญ"

เรียน อาจารย์เสฐียรพงษ์ วรรณปก ที่นับถือ

ผมได้อ่านบทความเรื่อง "ฐานะของพระพุทธศาสนาในรัฐธรรมนูญ (1)" แสดงว่ามีสองตอนหรืออย่างไร อยากเรียนถามเพิ่มเติมว่า ทำไมเมื่อพระเจ้าแผ่นดินของไทยทุกพระองค์ทรงประกาศเป็นพระราชปณิธานบ้าง เป็นพระบรมราโชวาทบ้าง ว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งชาติของเรา ในหลวงองค์ปัจจุบันก็ตรัสกับโป๊ปจอห์น ปอล ที่ 2 ว่า "ชาวไทยส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนาอันเป็นศาสนาประจำชาติ" แล้วทำไมรัฐธรรมนูญไม่สำนึกในความจริงข้อนี้ ผมก็ไม่ทราบ

เมื่อรัฐบาลโดยพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้แถลงนโยบายเน้นว่าจะนำเอาศีลธรรมคุณธรรมมาพัฒนาประเทศ เราก็ดีใจว่า ต่อนี้ไปพระพุทธศาสนาจะได้รับการสนับสนุนอย่างดี อย่างน้อยข้อเรียกร้องให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติคงสำเร็จ แต่แล้วก็ทำท่าไม่สำเร็จ ชาวไทยก็เลยห่อเหี่ยวกันต่อไปหรืออย่างไร

นิกรไทย


ถูกแล้วครับ ผมเขียนข้อเรียกร้องในบทความเรื่อง "ฐานะของพระพุทธศาสนาในรัฐธรรมนูญ" สองอาทิตย์ติดต่อกัน จดหมายคุณมาก่อนตอนที่สองตีพิมพ์ ป่านนี้คงได้อ่านแล้ว

ถูกต้องอีกเช่นกัน รัฐบาลโดยพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้เน้นคุณธรรม ศีลธรรมทางศาสนาเป็นหลักในการพัฒนาประเทศ รวมถึงเศรษฐกิจพอเพียง ตามที่ในหลวงพระราชทานด้วย นั่นก็เป็นถ้อยคำที่สละสลวยในการแถลงนโยบายครับ แม้จะตั้งใจดีแต่ก็ยังคงเป็นความตั้งใจ การแสดงออกเป็นรูปธรรมชัดเจน เรายังมองไม่เห็นสักเท่าไหร่

ส่วนในเรื่องจะได้รัฐธรรมนูญมีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติหรือไม่ ไม่เกี่ยวกับรัฐบาลพลเอก สุรยุทธ์ ครับ เพราะรัฐบาลไม่มีสิทธิบันดาลให้มีหรือไม่ให้มี หน้าที่นั้นเป็นของกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ หรือที่เราเรียกย่อๆ ว่า ส.ส.ร.

เราในฐานะปัจเจกบุคคล หรือฐานะองค์กรต่างๆ มีสิทธิเพียงเสนอความเห็นว่าอยากให้ท่านบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ แม้ว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติอยู่แล้วโดยจารีต เป็นวิถีชีวิตของคนไทยมาแต่โบราณกาล แต่ยังไม่เป็นโดยลายลักษณ์ เราอยากให้บันทึกเป็นลายลักษณ์

จึงขอร้องวิงวอนท่าน ส.ส.ร.ทั้งหลายช่วยบันทึกให้ทีเถิด

เราก็มีสิทธิแค่นี้แหละครับ ไม่ต่างจากท่านพลเอกสุรยุทธ์ นายกรัฐมนตรีดอกครับ อย่าไปว่าท่านในเรื่องนี้เลย

ผมก็ใช้สิทธิของผมในฐานะประชาชนคนหนึ่ง บังเอิญว่าได้เป็นสมาชิกนิติบัญญัติแห่งชาติอยู่ด้วย จึงได้เสนอความเห็นไปยัง ส.ส.ร.ทั้งในฐานะส่วนตัว และในฐานะกรรมาธิการศาสนา จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม อันมีพลเอกปรีชา โรจนเสน เป็นประธาน

กรรมาธิการศาสนา จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรมนี้ มีสมาชิกทั้งชาวพุทธ และมุสลิม ต่างมีมติร่วมกันเห็นสมควรบันทึกพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญ เพราะโดยจารีตประเพณีอันมีมาแต่โบราณกาลนั้น เป็นอยู่แล้ว เพียงแต่ไม่ได้บันทึกไว้ในรัฐธรรมนูญเท่านั้น

พูดให้ถูกเกือบได้รับบันทึกมาเมื่อครั้งร่างรัฐธรรมนูญแห่งอาณาจักรสยาม เมื่อร่างครั้งแรก แต่ถูกถอดออกวินาทีสุดท้ายก่อนเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร (ข้อมูลนี้จาก ดร.จรัล ทองเกษม)

กรรมาธิการศาสนาฯ ได้แถลงข่าว ก่อนเสนอไปยัง ส.ส.ร. โดยข้อเสนอประเด็นใหญ่ๆ 3 ประเด็น ดังที่ผมเขียนไว้หลายครั้ง ทั้งก่อนหน้านั้นผมก็ได้ "จับเข่า" คุยกับท่านอาจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ และท่านนาวาตรีประสงค์ สุ่นศิริ ประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ มาก่อนแล้ว

ความเป็นห่วงของเราคือเห็นในคำปรารภเอ่ยถึงสถาบันหลักเพียง 2 สถาบัน คือ สถาบันชาติ และสถาบันพระมหากษัตริย์เท่านั้น ขาดสถาบันศาสนาไป และไม่มีระบุว่า "พระมหากษัตริย์เป็นพุทธศาสนิก" เหมือนในฉบับก่อนๆ มีเพียงว่า "พระมหากษัตริย์ทรงเป็นจอมทัพไทย"

เราได้ย้ำเตือนว่า ถ้าการร่างคราวนี้ไม่ได้อะไรใหม่ ก็โปรดอย่าลบที่เคยมีในรัฐธรรมนูญฉบับก่อน

ที่มีอยู่แล้วทั้งในรัฐธรรมนูญฉบับที่ฉีกไป และในฉบับชั่วคราว คือในหมวดว่าด้วยนโยบายแห่งรัฐที่ว่า "รัฐต้องให้ความอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น"

เราอยากให้เติมข้อความให้ชัดเจนขึ้นว่า "คือศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาซิกซ์ อันได้รับการรับรองจากรัฐ" ที่เติมก็เพราะกลัวศาสนาอื่นๆ ที่ไม่ได้รับรองจากรัฐ เช่น ศาสนาสนับสนุนฆ่าคน ศาสนาไม่นับถือพ่อแม่ ฯลฯ เขาอาจอ้างตัว ขออุปถัมภ์คุ้มครองจากรัฐด้วย

สิ่งที่ขอร้องกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญในเรื่องที่ไม่เคยมีมาก็คือ อยากขอให้เพิ่มข้อความว่า "พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ"

"ศาสนาอื่นคือศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาซิกซ์ ได้รับการรับรองจากรัฐ"

และได้เรียนกรรมาธิการร่างฯ ผ่านบทความของผมอย่างน้อยสองครั้งในมติชนนี้ว่า เหตุผลที่กลัว และเชื่อตามๆ กันมาโดยคำพูดของผู้ใหญ่บางคนว่า กลัวจะเป็นการแบ่งแยกนั้น เราได้พิสูจน์แล้วว่าไม่เป็นการแบ่งแยก ความกลัวอย่างนี้ไม่มีทางเกิดขึ้น

ก็อยากจะเรียนว่า แม้คำพูดเราก็ใช้กันง่ายๆ ลวกๆ ว่า "กลัวการแบ่งแยก" การแบ่งแยกนั้นถ้าเป็นการแบ่งแยกว่า ผู้นี้เป็นพุทธ ผู้นั้นเป็นมุสลิม เป็นคริสต์ ฯลฯ นั้นเป็นของธรรมดาอยู่แล้ว ไม่งั้นเราก็ไม่รู้ว่าใครนับถือศาสนาอะไร แต่การแบ่งแบบนี้เพื่อการรับรู้เท่านั้น มิใช่เป็นเหตุแห่งการทะเลาะกัน

ถ้าคำว่า "การแบ่งแยก" หมายถึง "การทะเลาะกัน" การระบุศาสนาใดศาสนาหนึ่งเป็นศาสนาประจำชาติ (เป็นลายลักษณ์อักษร แทนที่เป็นโดยจารีตอย่างเดียว) แล้ว ความเป็นจริงมันพิสูจน์อยู่แล้วว่าเราชาวไทยไม่มีการทะเลาะกันในเรื่องศาสนา เราคนไทยไม่ว่าไทยที่นับถือพุทธ ไทยที่นับถืออิสลาม ไทยที่นับถือคริสต์ ไทยที่นับถือพราหมณ์-ฮินดู หรือไทยที่นับถือซิกซ์ ไม่เคยทะเลาะกันเลย อย่างน้อยบรรยากาศในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่มีทุกศาสนา โดยเฉพาะกรรมาธิการศาสนา จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม เป็นตัวอย่างให้เห็นอยู่ เราสมัครสมานสามัคคีกันอย่างดี

ยิ่งถ้าดูเหตุการณ์ที่เกิดในภาคใต้ปัจจุบันนี้ ยิ่งเห็นได้ชัดว่ามิได้เกี่ยวกับเรื่องศาสนาเป็นสาเหตุ หากมาจากเหตุปัจจัยอย่างอื่น เหตุปัจจัยอะไร เชื่อว่ารัฐบาลและผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองรู้ดี เพียงแต่ไม่กล้าพูดออกมาดังๆ เท่านั้น ในการอภิปรายในสภา ก็พูดกันอ้อมๆ แอ้มๆ ไม่กล้าพูดตรงๆ แต่ที่แน่ๆ คือทุกท่านยืนยันว่าไม่ได้เกิดจากความขัดแย้งทางศาสนา

ภาพที่เห็นทั้งชาวมุสลิม และชาวพุทธ ต่างก็ถูกผู้ก่อการร้ายถล่มจนเสียชีวิตไปตามๆ กัน จนชาวบ้านทั้งมุสลิมและพุทธต้องพากันไปหลบภัยในวัด ก็เป็นข่าวให้รู้ให้เห็นทั่วไป ถ้าเป็นเรื่องศาสนา ทำไมเขาจึงฆ่าชาวมุสลิมด้วยเล่าครับ

นี่มันเล่นงานหมดไม่ว่าพุทธ ไม่ว่ามุสลิม ที่น่าสงสารก็คือหนูน้อย "เลาะห์" ผู้พิการ มีจักรยานคู่ชีพที่อาศัยขี่ไปโรงเรียน ซึ่งได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ไอ้วายร้ายมันยังเผาทิ้งด้วยความเหี้ยมโหด

เท็จจริงพิสูจน์แล้วว่า ภัยผู้ก่อความไม่สงบดังที่เป็นอยู่และไม่รู้จะเป็นไปนานแค่ไหน มิใช่เกิดเพราะความขัดแย้งทางศาสนาเป็นสาเหตุ กลัวทำไมว่าจะเป็นการแบ่งแยก กลัวทำไมจะทำให้การทะเลาะกันทางศาสนา

ดร.อิสมาแอล อาลี หนึ่งในคณะกรรมาธิการศาสนาฯ ของเราให้เหตุผลน่าฟังว่า คำว่า "สมานฉันท์" ไม่ควรใช้กับศาสนา เพราะตามความหมายที่เราใช้เรารู้กัน ต้องมีการทะเลาะเบาะแว้งกันแล้ว จึงมีการสมานฉันท์กัน นี่เราศาสนาต่างๆ ไม่ได้ทะเลาะกันเลย จะมาสมานฉันท์ด้วยเรื่องอะไร

เออ จริงครับอาจารย์ จริงจนท่านประธานคณะกรรมาธิการ (พี่แหลม ของน้องๆ) รีบเปลี่ยนมาเป็น "เพื่อความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน" เลยทีเดียว



มีต่อ >>>>> 4
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ก้อนดิน
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 07 ก.ค. 2004
ตอบ: 623

ตอบตอบเมื่อ: 20 เม.ย.2007, 9:51 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ก่อนอื่นขอทบทวนความจำของผู้อ่านทั้งหลายให้ทราบกันก่อน (ความจริงเชื่อว่าส่วนมากก็รู้กันอยู่บ้างแล้ว เพราะเป็นประวัติศาสตร์ไทย) ว่า

ตั้งแต่พระพุทธศาสนาเข้ามาสู่ประเทศนี้ อย่างน้อยตั้งแต่ยุคประวัติศาสตร์ (ยุคตำนาน เช่น สมัยพระเจ้าอโศก สมัยทวารวดี สมัยพุกาม ไม่ต้องนับก็ได้ เพราะข้อมูลไม่ค่อยลงตัว) พ่อขุนรามคำแหงฯ อาราธนาพระสังฆราชปราชญ์เรียนแห่งลังกาวงศ์ ขึ้นมาจากเมืองนครศรีธรรมราช มายังสุโขทัย สถาปนาพระพุทธศาสนาลังกาวงศ์ที่สืบทอดมาจากศรีลังกา เป็นศาสนาประจำประเทศไทย โดยก่อนหน้านั้นพระพุทธศาสนาแบบพุกามได้แพร่หลายจนกลายเป็นศาสนาแบบพื้นบ้านอยู่แล้ว ด้วยพระปรีชาญาณของพระมหากษัตริย์ พระองค์ได้สมานพุทธทั้งสองฝ่ายให้เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน พระสงฆ์ทั้งสองฝ่ายก็ได้แบ่งเป็นฝ่ายคามวาสี (พระบ้าน) และฝ่ายอรัญวาสี (พระป่า) มาแต่บัดนั้น

พระมหากษัตริย์ทุกยุคทุกสมัยทรงทำหน้าที่ 2 ประการ ซึ่งเป็นพระราชกรณียกิจหลักคือ

ด้านหนึ่ง ทรงทำหน้าที่ปกครองประเทศ ตามระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

โดยนำเอาหลักธรรมของพระพุทธศาสนา ที่เอื้อต่อการปกครอง เพื่อความสงบสุขของประชาชน เช่น ทศพิธราชธรรม ในระยะที่ยังไม่มีกฎหมายปกครองประเทศ ก็ทรงใช้หลักพระพุทธศาสนาเป็น "กฎหมายทางใจ" หรือเป็นหลักใจ

จะเห็นชัดเจนขึ้นเมื่อพญาลิไท ทรงพระราชนิพนธ์ "ไตรภูมิพระร่วง" ขึ้น โดยนำหลักพระพุทธศาสนามาปรับใช้เป็นธรรมผู้ปกครอง ปลูกฝังให้พสกนิกร "อายชั่ว กลัวบาป" ภาพของผู้ทำผิดต่างๆ เช่น ด่าทอทุบตีพ่อแม่ เบียดเบียนพระสงฆ์องค์เจ้า พ่อค้าโกงตาชั่ง ข้าราชการฉ้อราษฎร์บังหลวง ตายแล้วจะตกนรก ที่มีการลงโทษทัณฑ์สอดคล้องกับความผิดนั้นๆ เป็นการเตือนให้ประชาชนกลัวบาป และเร่งทำความดี เพื่อความสุขในปัจจุบัน และในชาติภพหน้า นี้คือ "กฎหมายทางใจ" ในขณะที่ยังมิได้ตรากฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษร

อีกด้านหนึ่ง พระมหากษัตริย์ทรงอุปถัมภ์ คุ้มครองพระพุทธศาสนาอันเป็นศาสนาประจำชาติ โดย

(1) สนับสนุนให้พระสงฆ์ได้เรียนรู้พุทธวจนะอย่างกว้างขวาง ส่งเสริมให้มีการบวชมาเพื่อศึกษาพระพุทธศาสนามากขึ้น ทั้งบวชชั่วคราวและบวชถาวร

ในยุคกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าอยู่หัวถึงกับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้พระราชโอรส พระราชนัดดา บวชเป็นสามเณรเพื่อศึกษาพระพุทธศาสนา จนเกิดประเพณี "การบวชสามเณร" สืบมา

การบวชเรียนได้รับความนิยมมากในยุคต่อมา จนบางสมัยมีผู้มาบวชกันมาก จนไม่มีผู้ประสงค์จะรับราชการรับใช้ประเทศชาติ พระมหากษัตริย์ต้องทรงปรึกษากับพระมหาเถระ เพื่อแก้ปัญหานี้ จึงได้มีการสอบความรู้ผู้บวชเรียน ใครสอบผ่านก็ให้อยู่รับใช้พระศาสนาต่อไป ใครสอบไม่ผ่านก็โดนไล่สึกเพื่อรับราชการรับใช้บ้านเมือง เราจึงมีสำนวนภาษาว่า "สอบไล่" มาแต่บัดนั้น (คือไล่สึกมารับใช้บ้านเมือง)

สำหรับผู้บวชถาวร ก็สนับสนุนให้ศึกษาและปฏิบัติยิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อเป็น "ศาสนทายาท" สืบทอดพระพุทธศาสนา ในด้านการเรียนการสอบบาลีนั้น จะเห็นได้ชัดมาก พระมหากษัตริย์เสด็จมาทรงฟังการสอบด้วย จึงมีสำนวนเรียกว่า "สอบสนามหลวง" มาจนบัดนี้

นี้ชี้ให้เห็นว่าพระมหากษัตริย์ผู้ทรงปกครองประเทศ ทรงเอาพระทัยใส่ในการเรียนการสอนของพระสงฆ์ขนาดไหน พระภิกษุรูปใดสอบผ่าน ตั้งแต่ 3 ประโยค ก็ทรงแต่งตั้งให้เป็น "มหาเปรียญ" พระราชทานพัดเปรียญให้และมีนิตยภัตด้วย ยิ่งผู้สอบได้ถึง 9 ประโยคตั้งแต่ยังเป็นสามเณร ก็ทรงรับไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์บวชให้เป็นนาคหลวง ดังในสมัยรัชกาลที่ 3 และรัชกาลที่ 5 และแม้ในรัชกาลปัจจุบัน

นอกจากวังหลวงแล้ว วังหน้าโดยกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพย์ ทรงประดิษฐ์พัดเปรียญเล็กกว่าพัดเปรียญปกติ พระราชทานแก่พระภิกษุสามเณรผู้สอบเปรียญ 3 ประโยคตก พร้อมนิตยภัตด้วย เพื่อเป็น "การเสริมแรง" ให้ท่านเหล่านั้นมีวิริยอุตสาหะเข้าสอบให้ได้ต่อไป

นับว่าเป็นกุศโลบายที่ดีที่ทรงให้กำลังใจแก่ผู้สอบไม่ผ่าน ให้ตั้งใจศึกษาและเข้าสอบต่อไปโดยไม่ท้อแท้ ท่านที่ได้รับพระกรุณาจากวังหน้า จึงมีชื่อเรียกว่า "เปรียญวังหน้า" มาแต่บัดนั้น

(2) อุปถัมภ์ด้วยการสร้าง และปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม

สถาบันพระมหากษัตริย์ได้ตระหนักถึงความสำคัญนี้ จึงทรงสร้างวัดและปฏิสังขรณ์วัดไว้มากมาย โดยมิต้องให้พระภิกษุสงฆ์ท่านต้องมาดำเนินการเอง มีหน้าที่ศึกษาและปฏิบัติ สั่งสอนประชาชนเพียงอย่างเดียว การจัดที่อยู่อาศัยและอำนวยความสะดวกในเรื่องปัจจัยดำรงชีวิตอย่างอื่น เป็นหน้าที่ของสถาบันพระมหากษัตริย์ และประชาชนชาวบ้านจัดให้

จึงมีวัดต่างๆ ที่สร้างขึ้นเป็นวัดประจำรัชกาล นอกจากนี้ก็พระราชทานโอกาสให้พสกนิกร ผู้มีฐานะดี เช่น เศรษฐี คหบดี ช่วยกันสร้างวัดถวายไว้ในพระศาสนา ให้สังเกตว่าสมัยก่อนพระราชามหากษัตริย์ และประชาชนต่างก็ช่วยกันสร้างวัดไว้เป็นสมบัติพระศาสนา

ผิดกับสมัยนี้ นอกจากไม่สร้าง ยังเอาวัดไปเป็นสนามกอล์ฟบ้าง ถวายแล้วฟ้องเอาคืนบ้าง รู้เห็นกันอยู่

ในบางรัชกาล เช่น รัชกาลที่ 3 ถึงกับมีคำพูดว่า ถ้าใครสร้างวัดจะเป็นที่โปรดปรานของพระมหากษัตริย์ เมื่อพระมหากษัตริย์บางพระองค์ทรงศึกษาพระศาสนาจนเชี่ยวชาญแล้ว นอกจากจะช่วยสร้างวัดในพระศาสนาแล้ว ยังช่วยบอกปริยัติธรรม คือสอนหนังสือแก่พระอีกด้วย ดังเช่นพระเจ้าทรงธรรม ในสมัยอยุธยา, พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 แห่งรัตนโกสินทร์ เป็นต้น

การอุปถัมภ์ในความหมายหนึ่งคือ ช่วยพระสงฆ์แก้ปัญหาของพระศาสนา ในเมื่อบางเรื่องบางราวมันเกินมือของพระสงฆ์จะแก้ได้ เช่น เกิดวิกฤตการณ์ถูกย่ำยีโดยอลัชชีผู้ไร้บางอาย สร้างความมัวหมองแก่พระศาสนา บังเอิญอลัชชีนั้นมีบารมี มีผู้นับถือมาก เกินกำลังพระสงฆ์จะแก้ไขด้วยการใช้พระวินัย ทางบ้านเมืองก็ยื่นมือเข้ามาช่วยแก้ปัญหา

ดังเช่น รัชกาลที่ 2 พระผู้ใหญ่ 3 รูปถูกกล่าวหาว่าเสพเมถุนธรรมปาราชิก จนมีบุตร รัชกาลที่ 2 ทรงให้กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ กับหม่อมไกสร ผู้รับผิดชอบกรมสังฆการี ชำระอธิกรณ์ ปรากฏว่าผู้ถูกกล่าวหารับเป็นสัตย์จริง จึงให้สึกไปรับโทษทางบ้านเมือง

จนมีบัตรสนเท่ห์อันลือลั่นสนั่นเมือง ข้อความว่า

ไกรสรพระเสด็จได้ สึกชี
กรมหมื่นเจษฎาบดี เร่งไม้
พิเรนทร์แม่นอเวจี ไปคลาด
อาจพลิกแผ่นดินได้ แม่นแม้นเมืองทมิฬ

เป็นเหตุให้เจ้านายชั้นผู้ใหญ่คือ กรมหมื่นศรีสุเรนทร์ ต้องอาญาถูกประหารชีวิต

ทั้งหมดนี้มิใช่เรื่องใครแทรกแซงใคร มิใช่พระมหากษัตริย์ยุ่งเกี่ยวกับพระ หรือพระยุ่งเกี่ยวกับการบ้านการเมือง หากต่างฝ่ายต่างร่วมกันทำนุบำรุงพระศาสนาตามหน้าที่ของตน แล้วยื่นมือเข้ามาช่วยกันแก้ปัญหา ในเมื่อบางครั้ง เกินอำนาจอีกฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะแก้ไขได้ วัดกับวังต่างเอื้อต่อกัน ประเทศชาติและพระพุทธศาสนาจึงอยู่มาได้จนบัดนี้

วัดกับวัง ยังอยู่คู่สยาม
ตราบนั้นความเป็นไทยก็ไม่สูญ
หากวักร้างวังไร้ใจอาดูร
น้ำตาพูนเพียบถิ่นแผ่นดินไทย
(ทองสุข จทัชบุตร)

ที่พูดมาค่อนข้างยาวนี้ ต้องการเตือนสำนึกชาวพุทธ ผู้มีอำนาจบันดาลรัฐธรรมนูญว่า

พระมหากษัตริย์ ทรงใช้รัฐธรรมนูญการปกครอง หรือ "กฎหมายทางใจ" อย่างเคร่งครัด บริหารประเทศของพระองค์ร่มเย็นเป็นสุขมา จนถึงวินาทีคณะราษฎร์เปลี่ยนแปลงการปกครอง ลดบทบาทของสถาบันกษัตริย์

แย่งอำนาจจากสถาบันพระมหากษัตริย์ ทั้ง 2 ประการ คือ 1) อำนาจในด้านการปกครองประเทศ 2) อำนาจในด้านการอุปถัมภ์คุ้มครอง และแก้ปัญหาแก่พระพุทธศาสนา จัดตั้งรัฐบาลปกครองประเทศสืบต่อกันมา ชุดแล้วชุดเล่า

ร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมา ในยุคแรกสุด อนุกรรมาธิการมีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งอนาจักรสยาม อยู่ด้วย แต่ถอดออกก่อนเข้าสู่สภา (มีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้) และตั้งแต่นั้นมาก็ไม่มีบรรจุพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ เป็นลายลักษณ์อักษรเลย ทั้งๆ ที่ "เป็นโดยจารีต" อยู่แล้ว

รัฐธรรมนูญที่เขียนขึ้นมา จึงเน้นแต่การปกครองประเทศ ละเลยหรือทำเป็นลืมหน้าที่ที่ 2 คือการอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา เมื่อเช่นนี้พระพุทธศาสนาจึงไม่ได้รับการดูแล และแก้ไขปัญหาที่หมักหมมมานาน นับถือพุทธกันแต่ปาก การกระทำเพื่อพระพุทธศาสนาจริงจังไม่ได้คิดสนับสนุนกัน

ถึงเวลาแล้วครับ ท่านผู้ร่างรัฐธรรมนูญทั้งหลายจะบันทึกพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประชาติเป็นลายลักษณ์เสียที ช่วยแก้ความผิดพลาดที่มีมาแต่อดีตเสียทีเถิด และช่วยให้รัฐบาลต่อๆ มาได้ทำหน้าที่ทั้งสองประการ ที่ยึดเอามาจากสถาบันกษัตริย์ให้สมบูรณ์ต่อไป

มิใช่เป็นการบัญญัติขึ้นใหม่ดังบางท่านอ้าง หากเพียงเขียนสิ่งที่มีอยู่ในแล้วจารึกลงให้ชัดเจนเท่านั้น และไม่ต้องไปอ้างว่ามีในหมวดว่าด้วยพระมหากษัตริย์เป็นพุทธมามกะอยู่แล้ว นั่นเป็นหมวดว่าด้วยภาระหน้าที่ส่วนพระองค์ของพระมหากษัตริย์ ภาระหน้าที่ของพวกเราโดยเฉพาะรัฐบาล จะให้ตั้งหน้าตั้งตาแต่จะปกครอง โดยไม่คิดทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอันเป็นภารกิจที่สองของผู้ปกครองเลยหรือ

อย่าได้วิตกว่าจะเกิดการแบ่งแยก เพราะประเทศนี้ไม่มีการทะเลาะกันทางศาสนาอยู่แล้ว เหตุการณ์ภาคใต้เป็นเครื่องพิสูจน์แล้วว่า มิใช่เรื่องศาสนา หากเป็นเรื่องอะไร เชื่อว่าผู้รู้คงทราบกันดี อย่าโยนให้พระศาสนาเลยครับ บาปกรรรมเปล่าๆ


มีต่อ >>>>> 5
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ก้อนดิน
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 07 ก.ค. 2004
ตอบ: 623

ตอบตอบเมื่อ: 22 เม.ย.2007, 11:01 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

รัฐธรรมนูญฉบับความรู้สึก พ.ศ.2550

ขณะนี้กำลังร่างรัฐธรรมนูญฉบับจะใช้ถาวร (ถาวรนานแค่ไหนเป็นเรื่องของกาลเวลา) แทนฉบับชั่วคราว (2549) ร่างแรกเสร็จหมาดๆ ได้ทำพิธีมอบต้นฉบับแก่องค์กรต่างๆ เรียบร้อยแล้ว เมื่อวานนี้ (วันที่ 28 เมษายน 2550) องค์กรต่างๆ ก็คงเอาไปพิจารณาว่ามีแง่ไหน ประเด็นใดยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ เสนอให้คณะผู้ร่างแก้ไข ได้มากน้อยเพียงใด ก็เป็นเรื่องของกระบวนการ และขั้นตอนของมัน (มัน ในที่นี้คือการร่างรัฐธรรมนูญ) สำหรับสภานิติบัญญัติแห่งชาตินั้น ได้รับร่างรัฐธรรมนูญที่ว่านี้ (ไม่เป็นทางการ) ก่อนหน้านั้นแล้ว และได้ประชุมสัมมนาถกประเด็นต่างๆ เพื่อเสนอไปยัง ส.ส.ร.แล้ว

สมาชิกบางท่านที่ทรงปัญญาและมีประสบการณ์มากก็ถึงกับเสนอว่าควรแก้ทั้งฉบับ เพราะเห็นว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ดูเหมือนร่างด้วยความระแวงอะไรบางอย่าง และพยายามปิดช่องโหว่ในบางเรื่อง แต่ละเลยเรื่องอื่นๆ อีกหลายประการ ท่านว่าอย่างนั้น ผมจำมาไม่ถนัด สำหรับผมซึ่งไม่มีความรู้เรื่องนี้เลย ก็ได้แต่สงบเสงี่ยมรับฟังความคิดเห็นของท่านผู้รู้ต่างๆ ไป เฉพาะพอที่จะแสดงความเห็นได้บ้างก็ในเรื่องพระพุทธศาสนา แน่นอนความรู้และความเห็นของผมก็เป็นเรื่องส่วนตัว ท่านอื่นไม่จำต้องเห็นด้วย เหมือนผมไม่เห็นด้วยกับท่านอื่นๆ นั่นแหละ

ผมอยากตั้งข้อเสนอว่า ประเทศไทยเรามีสถาบันหลัก 3 สถาบัน คือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ยืนยันกันอย่างนี้มาแต่โบราณกาล ในหลวงรัชกาลที่ 6 ท่านก็ทรงยืนยัน ถึงกับพระราชนิพนธ์สัญลักษณ์ประจำสีธงไตรรงค์ ที่ทรงประดิษฐ์ขึ้นมา ว่า สีขาวหมายถึงพระพุทธศาสนา และคุณธรรมทางศาสนา (ในประเด็นนี้รวมถึงคุณธรรมศาสนาอื่นที่มีอยู่ในประเทศไทยด้วย) สีแดง หมายถึงชาติ และสีน้ำเงินหมายถึงพระมหากษัตริย์ (ผมไม่ต้องท่องบทกวีนั้นให้ฟัง ท่านที่อยากจะอ่านอรรถรสอันไพเราะของบทกวี ก็หาอ่านเอาได้)

คำถามแรกของผมก็คือ แล้วหายไปไหนหนึ่งสถาบัน ในบททั่วไปของรัฐธรรมนูญ มีพูดถึงเพียงสถาบันชาติ ชาติไทยเป็นอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกไม่ได้ แล้วสถาบันพระมหากษัตริย์ ใครจะลบหลู่ดูหมิ่นไม่ได้

แล้วสถาบันศาสนาละครับ ไม่เห็นเขียนไว้แต่อย่างใด

ผมอ่านแล้วก็รู้สึกเช่นนี้ ไหนๆ สังคมไทยเราก็พูดกันแต่ "ความรู้สึก" ไม่พูดถึง "ความรู้" กันเลย (ดังที่หลวงพ่อประยุทธ์ ปยุตฺโต ท่านทักท้วงนั่นแหละ) ถ้าคนที่รู้สึกคนแรกเป็นคนมีความสำคัญในสังคม เช่น เป็นประธานกรรมการนั้นกรรมการนี้ เป็นหัวหน้าองค์กรนั้นองค์กรนี้ พูดความรู้สึกของตนออกมา สังคมก็จะคล้อยตาม ใช่แล้วๆ ถูกแล้วๆ ประมาณนั้น โดยไม่คิดว่าเรื่องที่พากันรู้สึกนั้น เป็นเรื่องต้องพิสูจน์ด้วยความรู้ ด้วยข้อมูลจริงๆ สังคมเราจึงควรถูกตราหน้าเป็น "สังคมแห่งความรู้สึก"

พูดไปทำไมมี แม้แต่เรื่องกฎหมายหลักของประเทศอย่างรัฐธรรมนูญนี้ ก็โยนให้เป็นเรื่องความรู้สึกกัน ใช่หรือไม่ใช่

ท่านผู้ทรงเกียรติร่างกันมาแล้ว ก็เอาร่างนั้นมาถามองค์กรต่างๆ ว่า รู้สึกอย่างไร แล้วก็จะมีกระบวนการถาม "ความรู้สึก" ของประชาชนว่าจะเอาด้วยไหม

เรามีกระบวนการให้ความรู้แก่ประชาชนบ้างไหมว่า การจะตัดสินว่ารัฐธรรมนูญนี้ดีหรือไม่ดี เหมาะหรือไม่เหมาะกับสังคมไทย ต้องใช้ความรู้ ใช้ข้อเท็จจริงเป็นตัวตัดสิน ไม่ใช่ใช้ความรู้สึก ? (นี่คือคำถามครับ ใครตอบได้กรุณาตอบ)

ถ้าไม่มีกระบวนการให้เรียนรู้แท้จริง ความดีหรือไม่ดี เหมาะหรือไม่เหมาะของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ หรือฉบับไหนก็ตาม ก็ไม่พ้นเรื่องของ "ความรู้สึก" เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "รัฐธรรมนูญฉบับความรู้สึก พ.ศ.2550" ประมาณนั้น

เมื่อความจริงเป็นเช่นนี้ มาห้ามไม่ให้ผมแสดงความรู้สึกไม่ได้ ผมเข้าใจว่าในอดีตนั้น พระมหากษัตริย์ไทยตั้งแต่สุโขทัยเป็นต้นมา ทรงรับเอาพระพุทธศาสนามาเป็นศาสนาประจำราชสำนักและประจำชาติ ถึงไม่มีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรตรงๆ ก็มีข้อความทำนองนั้น

เมื่อพ่อขุนรามคำแหงฯ ทรงให้คนนิมนต์สมเด็จพระสังฆราช (ปราชญ์เรียนผู้ "หลวกว่า" ปู่ครูทั้งปวงในเมืองนี้) ขึ้นมาจากนครศรีธรรมราช พระองค์ทรงรับเอาพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์มาเป็นหลักแห่งการปกครองประเทศ พระพุทธศาสนาแบบพื้นบ้านที่มีอยู่เดิมก็รวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพุทธศาสนาลังกาวงศ์ที่เข้ามาใหม่ จึงเกิดฝ่ายคามวาสี และฝ่ายอรัญวาสี ทำหน้าที่สองด้านสอดประสานกัน มาแต่บัดนั้น

สมัยพญาลิไท พระองค์พระราชนิพนธ์ไตรภูมิพระร่วง (ไตรภูมิกถา) จุดประสงค์นอกจากเพื่อเทศนาโปรดพระราชมารดาแล้ว ยังต้องการใช้เป็นเครื่องมือในการปกครองประเทศ โดยสร้างสำนึก "อายชั่วกลัวบาป" ขึ้นในใจของประชาชน อันเรียกว่าเป็น "กฎหมายทางใจ" ในขณะที่ยังไม่ได้ตรากฎหมายปกครองใดๆ

ในยุคล้านนา อยุธยา กรุงธนบุรี และรัตนโกสินทร์ พระมหากษัตริย์ทุกรัชกาลก็ทรงทำเช่นนี้ จนสถาบันศาสนาเป็นสถาบันหลักที่มั่นคงควบคู่กับสถาบันชาติ

พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ทรงทำหน้าที่ปกครองประเทศชาติ และทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาอันเป็นสถาบันหลักของสังคมสืบมา โดยมิได้บกพร่อง ประเทศชาติและพระพุทธศาสนาจึงรุ่งเรืองสถาพรสืบมา


เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง คณะผู้เปลี่ยนแปลงอันเรียกด้วยความภูมิใจว่า คณะปฏิวัติ รับถ่ายโอนอำนาจทั้งสองประการนั้นจากสถาบันพระมหากษัตริย์มา (คือการปกครอง และการอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา)

มีการร่างรัฐธรรมนูญปกครองขึ้นมา ก็ใส่ใจเฉพาะในเรื่องการปกครองประเทศ แต่เรื่องการอุปถัมภ์ดูแลพระพุทธศาสนาอันเป็นเรื่องของการพัฒนาจิตใจพลเมืองไม่สนใจ พูดให้ชัดก็คือตัดทิ้งไปเลย

เมื่อเป็นเช่นนี้ รัฐธรรมนูญกี่ฉบับๆ จึงพูดแต่เรื่องการใช้กฎหมายปกครองประชาชน ไม่พูดถึงพระพุทธศาสนาและการอุปถัมภ์ดูแลพระพุทธศาสนา นี้คือสาเหตุที่ว่าทำไมพระพุทธศาสนาไม่มีในรัฐธรรมนูญ คงมีแต่ใน "จารีต" ประเพณีของสังคมไทย

ถ้าจะเรียกว่าเป็นความผิดพลาด ก็เป็นความผิดพลาดของผู้ร่างรัฐธรรมนูญ ที่ไม่นึกถึงประเด็นนี้ เมื่อฉบับแรกไม่ใส่ ฉบับที่ 2 ที่ 3 จนกระทั่งฉบับที่ 17 ที่ 18 ก็ไม่ใส่ เป็นความผิดพลาดสืบทอดกันมา ดุจพิมพ์หนังสือผิด แล้วก็ถ่ายเอกสารต่อกันมา ข้อความผิดพลาดนั้น ก็ยังคงผิดอยู่ตลอดไป ตราบที่ไม่ไปตามไปแก้ต้นฉบับ

ถามกันมามากว่า ใส่ไว้ในรัฐธรรมนูญแล้วมันได้อะไร ก็เหมือนกับถามว่า ถ้าไม่ใส่แล้วมันได้อะไร ถ้าตอบด้วยความรู้สึกแล้ว มันก็ทั้งได้ทั้งไม่ได้นั้นแหละ เพียงแต่ว่าอย่างไหนได้มาก ได้น้อยกว่านั้น

1. ถ้าไม่ใส่ ก็ได้รู้เป็นความพลาดของผู้ร่างต่อๆ กันมา รู้ว่าคณะผู้ร่างคณะแรกละเลยไม่ใส่ไว้ ทั้งๆ ที่รับถ่ายโอนมาจากสถาบันกษัตริย์ ทั้งอำนาจการปกครองและอำนาจการดูแลพระพุทธศาสนา คือได้ความรู้ว่าสังคมไทยเราผิดแล้วไม่แก้ไขความผิด

2. ถ้าใส่ก็ได้ความรู้เหมือนกัน คือรู้ว่าสิ่งที่ผิดพลาดแล้วแก้ได้ ไม่จำต้องตะบันผิดซ้ำซาก อย่างน้อยก็ได้ความรู้ว่าสถาบันหลักมีอยู่ 3 ตกหล่น 1 สถาบัน บัดนี้ใส่ให้ครบ 3 แล้ว

3. ได้ "สำนึก" ความเป็นคนมีศาสนาประจำใจและนำมาปฏิบัติเป็นรูปธรรม ในฝ่ายประชาชนก็จะได้รู้สึกว่า "อ้อ เราเป็นคนมีพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำใจ" ควรจะปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับการเป็นชาวพุทธที่ดี (อย่าลืมนะ ถ้ายังไม่ตระหนัก ไม่มีทางปฏิบัติตามได้ เพราะไม่เห็นความสำคัญ) ในฝ่ายรัฐคือรัฐบาล จะได้ "ตระหนักความสำคัญ" ว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ รัฐต้องให้ความสำคัญส่งเสริมให้เป็นรูปธรรม มีโครงการนโยบายที่ชัดเจน หา "เจ้าภาพ" หางบประมาณสนับสนุนชัดเจน เพราะถ้าไม่เขียน "แม่บท" ไว้ ก็จะละเลยและขาดการดูแลอย่างที่เป็นมา (เพราะขาดการดูแลที่ชัดเจน กระแสไสยศาสตร์ เทพนั่นเทพนี่ จึงเกิดขึ้นเป็นดอกเห็ด ใช่ไหมครับอาจารย์นิธิ)


มีอีกมากนะครับ ถ้าจะให้จาระไน เสียดายหน้ากระดาษไม่พอ เอาไว้คราวหน้า


มีต่อ >>>>> 6
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เศษพุทธทาส
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 08 เม.ย. 2007
ตอบ: 121

ตอบตอบเมื่อ: 27 เม.ย.2007, 10:25 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

โอ้ว ข้าน้อยซึ้งใจยิ่งนัก
 

_________________
ทำวันนี้ให้ดีและต้องรู้ไว้ว่า ทำดีเพื่อดี ทำหน้าที่เพื่อหน้าที่ อุปสรรคไม่มี บารมีไม่เกิด
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ผ่านมา
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 29 เม.ย.2007, 1:55 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คนศาสนาอื่นนะถ้าออกมาคัดค้านการบัญญัติให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติก็คือศาสนิกชนชั้นเลวของศาสนานั้นๆ แหละครับแสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้ที่มีจิตใจคับแคบมีจิตอิจฉาริษยา ถ้าหากเราจะมัวเกรงใจกับคนเลวๆ ประเภทนี้อยู่ประเทศชาติไม่มีวันเจริญหรอกครับ ที่ถูกต้องก็ควรที่จะร่วมอนุโมทนายินดีกับเราชาวพุทธที่ถึงจะถูกและจะเป็นเรื่องที่สวยงามอันแสดงถึงเป็นผู้ที่มีธรรมในใจของท่าน..

ลองอ่านพระราชนิพนธ์ของ ร.4 ดูครับ
คัดจากพระราชนิพนธ์ใน ร. ๔ ....
ประกาศพระราชทานส่วนกุศลทรงบริจาคเพชรใหญ่ประดับอุณาโลมพระแก้วมรกต
ประชุมประกาศรัชกาลที่ ๔ เล่ม ๑ องค์การค้าของคุรุสภา, ๒๕๒๘, หน้า ๘๒

ความว่า
".........การพระราชบริจาคอันนี้ทรงพระราชดำริเห็นว่า
ไม่ขัดขวางเป็นเหตุให้ท่านผู้ใดขุ่นเคืองขัดใจเลย
พระนครนี้เป็นถิ่นของคนนับถือพระพุทธศาสนามาแต่เดิม
ไม่ใช่แผ่นดินของศาสนาอื่น คนที่ถือศาสนาอื่นมาแต่อื่นก็ดี
อยู่ในเมืองนี้ก็ดี จะโทมนัสน้อยใจด้วยริษยาแก่พระพุทธศาสนาเพราะบูชาอันนี้ไม่ได้
ด้วยไม่ใช่เมืองแห่งศาสนาตัวเลย ถ้าโทมนัสก็ชื่อว่าโลภล่วงเกินไป........"
 
เพื่อนผ่านมา
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 29 เม.ย.2007, 10:08 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เห็นด้วยครับ คุณผ่านมา
 
ก้อนดิน
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 07 ก.ค. 2004
ตอบ: 623

ตอบตอบเมื่อ: 06 พ.ค.2007, 6:19 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

ประโยชน์ที่พึงได้จากการเขียน
พระพุทธศาสนาในรัฐธรรมนูญ


ต้องกราบขออภัยท่านผู้อ่าน ผมเสมือน "คนพูดติดอ่าง" พูดเรื่องเดียวกันซ้ำซาก ขนาดเขียนลงในหนังสือพิมพ์ที่คุยว่ามียอดขายระดับต้นๆ ยังไม่ค่อยมีคนอ่านสักเท่าไหร่ ประเด็นที่ยกขึ้นมาชี้แจง ก็ยังได้เห็นได้ยินคนส่วนใหญ่ถามอยู่นั้นเอง

คำถามที่ฮิตที่สุดก็คือ "ใส่แล้วไม่กลัวจะเกิดการแตกแยกเกี่ยวกับพระศาสนาหรือ เพราะศาสนาในเมืองไทยมิใช่มีแต่พุทธศาสนา ทำไมต้องพุทธอย่างเดียว"

อีกคำถามหนึ่ง ก็คือ "พระสงฆ์ที่ออกมาร้องเรียนนั้น ทำไมไม่ไปจัดการพระที่ประพฤติผิด นอกรีตนอกรอยเสียก่อน มายุ่งเรื่องรัฐธรรมนูญทำไม ไม่ใช่กิจของสงฆ์"

อีกคำถามหนึ่ง "เอาศาสนาไปยุ่งกับการเมืองทำไม ต่างฝ่ายต่างอยู่ก็ดีแล้ว รัฐธรรมนูญประเทศไหนๆ (ที่เขาเป็นประชาธิปไตย) ก็ไม่เอาศาสนามายุ่งกับการเมือง"


อะไรประมาณนี้

คำถามเหล่านี้ก็ยังคงถามกันต่อไป และคงตอบกันต่อไป คนถามไม่ควรมี "ธง" ในใจอยู่แล้วถาม ไม่ว่าใครจะตอบ หรืออธิบายอย่างไรๆ ถ้าไม่ตรงกับความคิดความเชื่อของตนก็ไม่รับฟัง คนตอบเองก็ไม่ควรคิดว่าคำตอบ หรือเหตุผลของตนนั้นถูกต้อง และก็ไม่ควรคาดหวังว่าเขาจะเชื่อตามที่ตนตอบ

ก็รวมถึงข้อคิดเห็นของผมทางหน้าหนังสือพิมพ์นี้ด้วยแหละ ไม่จำต้องเชื่อ

พุทธวจนะใน "เกสปุตติยสูตร" หรืออีกชื่อหนึ่ง "กาลามสูตร" เป็นหลักตัดสินว่า ก่อนจะเชื่อหรือไม่ควรเชื่อ จะพึงทำอย่างไรดี

ดังที่พระเดชพระคุณเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ ติงไว้นั้นแหละ เรื่องสำคัญอย่างนี้ ไม่ใช่เรื่องจะต้องพึ่งพา "ความรู้สึก" ไม่ใช่เรื่องที่จะเชื่อตามความรู้สึก ของคนที่มีสถานะทางสังคมสูง มี authority สูง หากเป็นเรื่องที่ต้องใช้ "ความรู้" ความเข้าใจมาตัดสินกัน

ท่านติงว่า สังคมไทยเป็นสังคมที่เอาความรู้สึกมาวัดกัน แม้แต่เรื่องสำคัญๆ เช่น พระพุทธศาสนาควรเขียนว่าเป็นศาสนาประจำชาติไทยหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ ต้องอาศัยความรู้ ความรู้ประวัติศาสตร์ ของชาติ ของศาสนา รู้บทบาทของพระพุทธศาสนากับสังคมไทย รู้บทบาทและหน้าที่ของพระสงฆ์ต่อสังคมไทย และที่สำคัญรู้ภารกิจ หรือหน้าที่ที่รัฐจะพึงดูแลคุ้มครองพระพุทธศาสนาอย่างใด

สรุปให้ชัดก็คือ ไม่พึงใช้ความรู้สึก ควรใช้ความรู้ความเข้าใจตัดสิน

ผมพูดค้างไว้ในสัปดาห์ที่แล้วว่า จะจาระไนผลดีของการเขียนพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญต่อ (ไม่ใช่เขียนเพียงในคำปรารภว่า ศุภมัสดุ พระพุทธ ศาสนายุกาล..ฮิฮิ)

ทีแรกว่าจะแจงเป็นข้อๆ ดังที่ทำมาในฉบับที่แล้ว เปลี่ยนใจมาพูดในแง่อธิบายตามวิธีการเขียนบทความแทนก็แล้วกัน เมื่ออ้างวาทะอัน "กินใจ" ของหลวงพ่อประยุทธ์ ปยุตฺโต แล้วก็ขออ้างต่อไป

ในกรณีศาสนาประจำชาติ จำต้องทำความเข้าใจเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับศาสนาคือ

(1) หลักการของแต่ละศาสนาไม่เหมือนกัน

(2) ประเพณีความสัมพันธ์ไม่เหมือนกัน

ขอยกตัวอย่างความสัมพันธ์ในประวัติศาสตร์ซึ่งเป็นรูปธรรมและชัดเจน

กรณีศาสนาคริสต์ ทำไมฝรั่งต้องแยกศาสนาออกจากรัฐ เขามีความหลังอันยาวไกล ตั้งแต่ยุโรปสมัยกลาง อำนาจทั้งหมดอยู่ภายใต้ศาสนจักรคาทอลิก ซึ่งมีสันตะปาปาเป็นประมุข เมื่ออำนาจมีมากการคอร์รัปชั่นก็ตามมา นี่คือความเป็นจริงในทุกสังคม ความเสื่อมเกิดขึ้นในศาสนจักร เสื่อมถึงขนาดมีการขายใบไถ่บาปกันขึ้น

จึงเกิดบาทหลวงเยอรมัน (มาร์ติน ลูเธอร์) คัดค้านไม่เห็นด้วย เมื่อมีคนนำคัดค้านอำนาจอันสิทธิขาดนี้ รัฐต่างๆ ที่เคยยินยอมก็หันมาสนับสนุนลูเธอร์ เพราะตนเองก็ต้องการความเป็นอิสระจากโป๊ป กระบวนการคัดค้านนี้จึงได้ชื่อว่า "Protestant"

ในช่วงเวลาดังกล่าว ที่ประเทศอังกฤษ พระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 ซึ่งไม่เห็นด้วยกับศาสนจักร ด้วยจุดประสงค์ส่วนตัวคือต้องการเปลี่ยนพระมเหสี จึงแยกตัวจากศาสนจักร ถือโอกาสตั้ง Church of England ขึ้น สถาปนาพระองค์เองเป็นประมุขศาสนา

สิ้นพระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 พระนางแมรีซึ่งนับถือคาทอลิกเคร่งครัด ขึ้นครองราชย์ ก็กวาดล้างพวกที่ต่อต้านทั้งหมดเป็นการใหญ่ พวกนี้ถูกฆ่า บ้างถูกเผาทั้งเป็นจำนวนมาก จึงต้องหลบหนีออกต่างประเทศ กลุ่มหนึ่งหนีไปฮอนลอนด์ อีกกลุ่มหนึ่งลงเรือไปขึ้นที่

"นิวอิงแลนด์" (ในปีค.ศ.1620) พวกนี้มีปมในใจที่ถูกเบียดเบียนทางศาสนาจึงต้องหนีภัยทางศาสนามาหาอิสรภาพ (freedom) ซึ่งเป็นแกนสำคัญในการก่อตั้งประเทศอเมริกา

ดูภูมิหลังทางประวัติศาสตร์อย่างนี้ จึงพอมองเห็นใช่ไหมครับว่า ทำไมฝรั่ง (โดยเฉพาะอเมริกา) จึงรังเกียจที่จะให้ศาสนามาเกี่ยวข้องกับการปกครองประเทศ

จึงแยกรัฐออกจากศาสนา (Separation of Church and State) จึงมีกฎหมาย ห้ามสอนศาสนาในระบบโรงเรียน

เมื่อไม่เอาศาสนา อันเป็นรากฐานของศีลธรรมจริยธรรมมาเป็นหลักในการพัฒนาประเทศ ก็ต้องคิดค้น "จริยธรรม" ขึ้นมาใหม่ อันเรียกว่า "จริยธรรมสากล"

ซึ่งไม่เกี่ยวกับการหล่อหลอมพฤติกรรมของมนุษย์แต่อย่างใด เป็นเพียงทฤษฎีว่าด้วยความดี ความชั่ว มาตรฐานตัดสินดีชั่ว

พูดให้ชัดว่าเป็นแค่ทฤษฎีอย่างหนึ่งเท่านั้นเอง

สังคมที่ปฏิเสธศีลธรรมจริยธรรมทางศาสนา จึงไม่สามารถสร้างความดีงามขึ้นมาได้ จึงเต็มไปด้วยปัญหาสารพัดดังที่ทราบกัน แล้วเราก็ยังเป็นปลื้มชื่นชม และเอามาเป็นแบบอย่าง

ทีนี้มาดูลักษณะความสัมพันธ์ของศาสนากับรัฐในแบบของพระพุทธศาสนาบ้าง มันเป็นแบบเดียวกับที่เกิดขึ้นในประเทศตะวันตกหรือเปล่า

ไม่ว่าใช้สมองซีกไหนไตร่ตรองก็ตอบได้ทันทีว่า ไม่เหมือนครับ เวลาพระบวชเข้ามา ท่านต้องสละบ้านเรือน สละอาชีพที่ทำอยู่ รวมถึงสละกิจการทางบ้านเมืองทุกอย่าง กฎหมายบ้านเมืองยังได้นำประเพณีนี้มาบัญญัติไว้ โดยเขียนว่า นักบวช นักพรตไม่มีสิทธิในการลงคะแนนเลือกตั้ง (ความคลุมเครือของการนิยามคำ มีผลกระทบถึงแม่ชีไป เพราะไปนิยามว่าแม่ชีคือนักบวชนักพรต ไม่มีสิทธิเลือกตั้งด้วย แล้วก็ไม่มีการแก้ไข สิทธิทางการเมืองของสตรีไม่ต่ำกว่าสองแสนคนถูกตัดสิทธิอย่างน่าเสียดาย)

โดยโครงสร้างของความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับพระศาสนา พระสงฆ์ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองการปกครองโดยตรงอยู่แล้ว ท่านบวชมาศึกษา ปฏิบัติ เมื่อปฏิบัติได้ผลมากน้อยตามความสามารถแล้ว ก็เผยแผ่พระธรรม สั่งสอนประชาชน นั้นคือหน้าที่หลักของพระสงฆ์ ดังที่ตรัสไว้ในมหาปรินิพพานสูตรว่า "พระสงฆ์จะต้องศึกษา-ปฏิบัติสัมผัสผล-เผยแผ่-แก้ปัญหา"

ฝ่ายรัฐ (สมัยราชาธิปไตย) ก็มีหน้าที่ในการ (1) "ปกครองประเทศ" ให้เจริญรุ่งเรือง ร่มเย็นเป็นสุข โดยอาศัยหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ในการปกครองประเทศ (โดยเฉพาะทศพิธราชธรรม) (2) อุปถัมภ์คุ้มครองพระพุทธศาสนา รวมถึงช่วยศาสนจักรแก้ปัญหาใหญ่ๆ ที่เกิดขึ้นอันเกินความสามารถของพระสงฆ์จะจัดการได้

เหตุการณ์พระสงฆ์ผู้ใหญ่ต้องปาราชิกกระทบกระเทือนสังคมยุคนั้น พระสงฆ์ไม่สามารถจัดการได้ ทางอาณาจักรโดยพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงโปรดให้กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ และหม่อมไกรสร ซึ่งพระองค์แรกเป็นผู้ดูแลกรมสังฆการีด้วย ช่วยชำระสะสางให้เรียบร้อย

หรือย้อนไปสมัยพระเจ้าตากสินมหาราช การพระศาสนาเสื่อมโทรมมาก ถึงขนาดพระสงฆ์ตั้งก๊กมีจุดมุ่งหมายทางการเมือง ก็ทรงยื่นมือเข้ามาช่วย ปราบก๊กเจ้าพระฝางลงแล้ว ยังส่งพระสงฆ์จากส่วนกลางไปฟื้นฟูพระศาสนา

หรือย้อนขึ้นไปถึงสมัยอยุธยา สมัยพระนารายณ์มหาราช เกิดกรณีพระเพทราชากับพระเจ้าเสือ นำกองทัพล้อมวัง พระองค์ทรงเป็นห่วงข้าราชบริพารที่จงรักภักดีจะเป็นอันตราย จึงให้นิมนต์พระสงฆ์เข้ามาอุปสมบทแก่เหล่าอำมาตย์และข้าราชบริพารในพระราชวัง เมื่อบวชเป็นพระแล้ว ก็ตัดขาดจากทางบ้านเมืองไป ได้รับความคุ้มครอง อำนาจรัฐก็ไม่สามารถเอื้อมไปถึง

ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับพระพุทธศาสนา มิได้เหมือนประเทศใดๆ ถ้าจะเรียกว่าเป็น separation of Church and State ก็เป็นความสัมพันธ์แบบ positive Separation มากกว่า negative Separation คือไม่มีความขัดแย้งกันระหว่างพระศาสนากับรัฐ เนื่องจากต่างฝ่ายต่างทำหน้าที่ของตนสอดประสานสัมพันธ์กัน เพื่อความมั่นคงของรัฐ และความเจริญรุ่งเรืองของพระศาสนา

ความสัมพันธ์แบบนี้พระพุทธองค์ตรัสเรียกว่า "อัญโญญนิสสิตา" (รัฐและพระศาสนาพึงอาศัยกันและกันตามหน้าที่ของตน) ไม่ใช่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแทรกแซงอีกฝ่ายหนึ่ง

เพราะความเข้าใจลึกซึ้งอย่างนี้ พระมหากษัตริย์ในอดีตทุกพระองค์ จึงทรงประกาศพระปฐมบรมราชโองการก่อนขึ้นครองราชย์ เช่นรัชกาลที่ 1 ทรงประกาศว่า

ตั้งใจจะอุปถัมภก ยอยกพระพุทธศาสนา
ป้องกันขอบขัณฑสีมา รักษาประชาชนและมนตรี

บรรทัดแรกตรัสถึงการอุปภัมภ์คุ้มครองพระพุทธศาสนา อันเป็นหน้าที่หลักของพระมหากษัตริย์อย่างหนึ่ง (ที่คณะผู้ก่อการถ่ายโอนมาด้วยอำนาจปฏิวัติ แล้วแกล้งทำตกหล่นในรัฐธรรมนูญ)

บรรทัดสองตรัสถึงหน้าที่หลักอีกประการหนึ่งคือ การปกครองประเทศชาติและประชาชน

ใคร่กราบเรียนว่า ท่านที่กลัวว่าใส่ไว้ในรัฐธรรมนูญแล้ว จะทำให้พระสงฆ์ยุ่งกับการเมือง ศาสนาไม่ควรมายุ่งเกี่ยวกับการเมือง เมื่อได้ทราบว่า ด้วยประเพณีความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและพระศาสนาของสังคมไทยตั้งแต่ต้น คงสบายใจได้ พระศาสนาและพระสงฆ์ไม่มีทางยุ่งเกี่ยวกับการเมือง (ในความหมายของท่าน) แน่นอน เพราะเป็นความสัมพันธ์ที่เกื้อกูลกัน ต่างคนต่างทำหน้าที่สอดประสานกัน เพื่อเป้าหมายคือความเจริญรุ่งเรืองแห่งชาติและพระศาสนา


มีต่อ >>>>> 7
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ชาไทย
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 11 พ.ค.2007, 6:52 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อยากให้สสร.ทำใบลงประชามติ 3 ช่องคือ

ช่อง 1 ร่างรัฐธรรมนูญสสร. ที่ไม่มีมาตราพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ
ช่อง 2 ร่างรัฐธรรมนูญสสร.ที่มีมาตราพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ
ช่อง 3 ไม่เลือกร่างรัฐธรรมนูญสสร. เลย

ให้ประชาชนของประเทศเป็นคนลงมติกาช่องเองเถอะครับ สสร.ไม่มีหน้าที่ตัดสินเรื่องนี้ก่อนประชาชน และสสร. ก็ไม่ได้เสียหายอะไร ถ้าทำใบลงประชามติ 3 ช่อง แบบที่ผมเสนอนี้ ประเทศจะได้ผ่านกระบวนการโดยตามแผนเวลา
 
ก้อนดิน
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 07 ก.ค. 2004
ตอบ: 623

ตอบตอบเมื่อ: 13 พ.ค.2007, 5:27 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

แปดหมื่นสี่พันศุภมัสดุก็ไม่มีประโยชน์

ศาสตราจารย์ ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เจอหน้าผมในสภาทักว่า "นี่ใจคอจะเขียนแต่เรื่องพระพุทธศาสนากับรัฐธรรมนูญตลอดปีเลยหรือ" เพราะเห็นผมซีรอกซ์บทความเรื่องพระพุทธศาสนากับรัฐธรรมนูญ แจกจ่ายให้สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติทุกครั้ง

ผมเรียนท่านว่า ก็คงอย่างนั้น อย่างน้อยก็จนกว่าจะรู้รัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขออกมาแน่ชัดว่า ไม่มีคำว่า "พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ" และวรรคต่อไปว่า "ศาสนาอื่นคือศาสนาอิสลาม คริสต์ พราหมณ์-ฮินดู และซิกข์ ได้รับการรับรองจากรัฐ"

เหตุผลของผมมีง่ายๆ สั้นๆ พูดครั้งเดียวก็เข้าใจ (แต่ทำไมพูดบ่อยจัง) คือ

1. ในบททั่วไปของรัฐธรรมนูญ มีพูดถึงสถาบันชาติ และสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่สถาบันศาสนา ซึ่งเป็นหนึ่งในสามสถาบัน ทำไมตกไป หรือว่า เดี๋ยวนี้เรามีสองสถาบันเท่านั้น

2. พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6 ที่ทรงประดิษฐ์ธงไตรรงค์ และพระราชทานบทกวีบรรยายสีทั้งสามว่า สีแดง หมายถึง ชาติ, สีขาว หมายถึง พระพุทธศาสนา (ไตรรัตน์) และธรรมะคุ้มจิตไทย (ธรรมของพระพุทธศาสนาและของศาสนาอื่นที่มีอยู่ในประเทศไทย), สีน้ำเงิน หมายถึง สถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่เอาใช่ไหม "สีขาว" น่ะ จะให้มีธง ทวิรงค์ แทนธงไตรรงค์ ใช่ไหม

ถ้าจะเอาอย่างนั้น ผมก็จะเลิกพูดเลิกเขียน

3. พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ในสมัยก่อนมีรัฐธรรมนูญ ทรงทำหน้าที่ 2 ประการควบคู่กันไปคือ (1) ทรงปกครองประเทศ และ (2) ทรงอุปถัมภ์คุ้มครองพระพุทธศาสนา ใช่ไหม พอเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 คณะราษฎรถ่ายโอนพระราชอำนาจมาจากสถาบันพระมหากษัตริย์ เอามาเฉพาะหน้าที่ประการที่ 1 ลืมหน้าที่ประการที่ 2 ใช่ไหม เมื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรก จึงไม่มีเรื่องพระพุทธศาสนา ถ้ารุ่นก่อนลืม รุ่นนี้นึกขึ้นมาได้ ก็ใส่ไว้เสีย หน้าที่ที่รับถ่ายโอนมาจากสถาบันพระมหากษัตริย์จะได้สมบูรณ์

พูดทำไมว่า ก็ในเมื่อฉบับก่อนไม่ใส่ไว้ แล้วจะใส่ทำไม ถ้าเช่นนั้นเราพูดเราเตือนกันทำไมว่า "พูดผิด พูดใหม่ได้" "ทำผิด แก้ใหม่ได้" หรือจะยินดีผิดมาแล้วก็ปล่อยให้ผิดต่อไปชั่วกัลปาวสาน จะเอาอย่างนั้นก็เอา ผมจะได้ไม่ตะบันเขียน

การที่หลายคนถามซ้ำซากว่า ใส่ทำไม ใส่แล้วได้อะไร อีกหลายคนก็พูดซ้ำซากว่า ก็มันเป็นอยู่แล้วโดยจารีตประเพณี ไม่จำต้องใส่ก็ได้ ผมก็ตอบซ้ำซากเช่นกันว่า ใส่ไว้ดีกว่าไม่ใส่ ก็เมื่อเป็นอยู่แล้วโดยจารีต ไม่เป็นตัวหนังสือ ก็เขียนลงซะสิ จะได้หนักแน่นและถูกต้องขึ้น จะปล่อยไว้ครึ่งๆ กลางๆ กระนั้นหรือ

ใส่ไว้เสียให้สมบูรณ์ อย่างน้อยก็จะได้ปลุกสำนึกของประชาชนแต่ละคนให้รำลึกเสมอๆ ว่า เราเป็นคนมีศาสนา ไม่ใช่คนป่าคนเถื่อน อันใดที่เป็นหน้าที่ของคนมีศาสนาจะพึงทำ ก็จะได้ทำ เพื่อความสุขความเจริญส่วนตัว และแก่สังคมประเทศชาติ อันใดที่คนมีศาสนาประจำใจไม่พึงทำ ก็จะได้เลิกละเสีย

เตือนรัฐบาลผู้ปกครองประเทศว่า ตนมีหน้าที่ปกป้องดูแลพระพุทธศาสนา อันใดที่จัดทำให้พระศาสนาได้ เช่นเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญให้ชัดแจ้ง ก็รีบจัดรีบทำเสีย และมิใช่เพียงเขียนว่า เป็นศาสนาประจำชาติ เท่านั้นแล้วทุกอย่างจะดีขึ้นทันตาเห็น

ต้องมีบท หรือมาตราใดมาตราหนึ่งพูดไว้ชัดแจ้งว่า จะดูแลพระศาสนาและส่งเสริมพระศาสนาอย่างใดบ้าง

เพื่อจะได้ออกกฎหมายลูก หรือกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญในการส่งเสริม ดูแลพระศาสนาเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น เรื่องพระสงฆ์บางรูปบางองค์ปฏิบัติผิดเพี้ยนสร้างความมัวหมองแก่พระศาสนา (ดังที่ถูกยกมากล่าวประจาน) จะได้ลดน้อยลงและหมดไป

คนมีพุทธศาสนาประจำใจคือคนที่เชื่อมั่นในศักยภาพของตน ถึงพระรัตนตรัย (พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์) เป็นที่พึ่งเป็นเครื่องนำทางชีวิต มากกว่าไปหลงใหลได้ปลื้มกับเทพกับมาร ไม่ว่าจะเทพจตุคงจตุคาม หรือมารราหงราหูด้วยความเข้าใจผิดว่าจะบันดาลความสุขความสงบแห่งจิตใจของตนได้

พระพุทธเจ้าตรัสเตือนไว้เสมอๆ ว่า "เนตัง โข สะระณัง เขมัง เนตัง สะระณะมุตตะมัง เนตัง สะระณะมาคัมมะ สัพพะทุกขา ปะมุจจะเร = สิ่งนั้นมิใช่ที่พึ่งอันเกษมปลอดภัย มิใช่ที่พึ่งสูงสุด อาศัยที่พึ่งชนิดนั้นแล้ว หาพ้นจากทุกข์ทั้งปวงไม่"

กระนั้นก็มีคนติงผมว่า อย่าห่วงว่าพระพุทธศาสนาจะหายไปจากเมืองไทยเลย โดยเฉพาะท่านกวีรัตนโกสินทร์ เขียนไว้ใน มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับล่าสุดว่า อย่าห่วงว่าใครอื่นจะทำพุทธศาสนาจะอันตรธานเลย พระพุทธเจ้าก็ตรัสไว้ว่าพระพุทธศาสนาจะยังอยู่หรือสาบสูญหายไปก็เพราะพุทธบริษัท ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา มากกว่า

ถ้าพุทธบริษัทละเลยหน้าที่ของชาวพุทธ คือไม่สอนให้พุทธเป็นพุทธ สอนนอกทางของพุทธ หรือเป็นพุทธที่ไม่รู้จักพุทธ นั่นแหละพุทธศาสนาจะเสื่อมสูญ

รัฐธรรมนูญเป็นเรื่องของกฎหมาย เจตนารมณ์นี้จะบังคับใช้เอากับ "ศาสนา" อันเป็น "นามธรรม" ซึ่งต่างกับอีกสองสถาบันหลักคือ ชาติ (ประชาชน) พระมหากษัตริย์ (องค์พระประมุข) อันเป็น "รูปธรรม" ได้อย่างไร ถ้าจะให้บัญญัติไว้ลอยๆ โดยไม่มีผลบังคับใช้อย่างนั้น สู้เกริ่นไว้ในบทนำที่เริ่มต้นด้วย "ศุภมัสดุ" นั้นจะมิดีกว่าหรือ ?

ขอประทานโทษ คุณพี่เนาว์ เมื่อพูดถึงพระพุทธศาสนา ย่อมหมายรวมเอาทั้งรูปธรรมและนามธรรม นามธรรมก็มีทั้งระดับสมมุติและระดับปรมัตถะ พระพุทธวจนะที่ตรัสไว้ว่า "ความจริงสูงสุดนั้นย่อมอยู่เป็น ธรรมธาตุ ธรรมฐิติ ธรรมนิยาม หาได้ขึ้นอยู่กับการเกิดขึ้น หรือดำรงอยู่ของพระพุทธเจ้าไม่" หมายเอาระดับปรมัตถะครับ ระดับอื่นยังไงๆ ก็เสื่อมถ้ารักษาไว้ไม่ดี หรือถ้ารักษาดีก็อาจอยู่ได้นานหน่อย

ที่เขาห่วงนั้น เขาไม่ได้ห่วงพระพุทธศาสนาระดับปรมัตถธรรมดอกครับ ที่ห่วงนั้นคือพุทธศาสนาระดับสมมุติบัญญัติ และพุทธศาสนาส่วนที่เป็นวัตถุ บุคคลนั้นต่างหาก กรุณาอย่าพูดข้ามชอตไปไกล ทำให้คนงง

พุทธศาสนาเสื่อมจากอินเดีย ใครๆ ก็รู้ อินเดียไม่มีศาสนบุคคล คือพระสงฆ์เมื่อไม่มีศาสนบุคคล ศาสนวัตถุ ศาสนพิธี และพระวินัยบัญญัติของพระพุทธเจ้าก็มีไม่ได้

แต่ในแง่ปรมัตถสัจจะที่พระพุทธองค์ตรัสรู้แล้วนำเอามาสั่งสอนชาวโลกน่ะ ไม่มีใครเขาสงสัยว่าไม่มีอยู่ เชื่อว่ามันคงอยู่ เป็นธรรมธาตุ ธรรมฐิติ ธรรมนิยามอยู่อย่างนั้นตลอดกาล

ยังไงๆ ก็ขอให้ยึดหลักไว้บ้างเมื่อพูดถึงพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาแบ่งเป็น 4 ส่วน

(1) ศาสนวัตถุ วัดวาอาราม ปูชนียสถานต่างๆ

(2) ศาสนบุคคล พุทธบริษัท 4 สรุปเป็น 2 คือคฤหัสถ์ และบรรพชิต

(3) ศาสนพิธี พิธีกรรมที่ปฏิบัติในทางศาสนา

(4) ศาสนธรรม คำสอนทั้งระดับสมมติสัจจะ และปรมัตถสัจจะ

พระพุทธศาสนาในข้อที่ 1, 2, 3 และ 4 (เฉพาะสมมติสัจจะ) นั้นต่างหากที่เขาห่วงจะพินาศฉิบหายไป จากภัยภายในพุทธบริษัทกันเองนี่เป็นส่วนใหญ่ (ภัยจากปัจจัยภายนอกก็มี แต่ตัวแปรที่สำคัญคือภัยจากพุทธบริษัทกันเอง)

การเอารัฐธรรมนูญมาใช้กับ "พระพุทธศาสนา" ใช้เฉพาะในแง่ที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมระดับสมมุติ ไม่เกี่ยวกับระดับปรมัตถสัจจะ และการนำมาใช้ก็มิได้ในความหมายมาบังคับแทรกแซงพระศาสนา หรือเอาศาสนามายุ่งกับการเมือง หากเป็นนโยบายแห่งรัฐมากกว่า ว่าเมื่อพระพุทธศาสนาได้รับยกย่องโดยสมบูรณ์ทั้งด้านจารีตและลายลักษณ์ว่าเป็นศาสนาประจำชาติ รัฐพึงมีมาตรการอย่างใดที่จะอุปถัมภ์ ส่งเสริม พระพุทธศาสนา ทั้งด้านการศึกษา ปฏิบัติ เผยแผ่ และปกป้องพระพุทธศาสนาของพุทธบริษัท ทั้งในด้านการจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาและศีลธรรมของเยาวชนของชาติ

ที่ว่านี้ก็หมายรวมถึงศาสนาอื่นในเมืองไทยด้วย ซึ่งได้รับการอุปถัมภ์ดูแลจากรัฐทัดเทียมกันในทุกด้านดังที่พูดไว้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา

เพียงใส่ไว้ในคำปรารภว่า "ศุภมัสดุ" ไม่เกี่ยวกับเนื้อหาที่พึงปฏิบัติแต่ประการใด ต่อให้ใส่แปดหมื่นสี่พันศุภมัสดุเท่าพระธรรมขันธ์ ก็ไม่เกิดผลดอกครับ


มีต่อ >>>>> 8
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
kanawat_ny
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 04 มิ.ย. 2007
ตอบ: 47

ตอบตอบเมื่อ: 05 มิ.ย.2007, 11:01 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คิดดี ทำดี พูดดี (การปฏิบัติ หรือ ศีล สมาธิ ปัญญา)
ทำดี ละเว้นชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ (หัวใจของศาสนาขององค์สมณโคดม)

เพียงแค่นี้ ท่านก็ได้ว่ามี "ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติแล้ว"

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมากๆ ขอไม่แสดงความคิดเห็น
 

_________________
กมฺมุนา วตฺตตี โลโก
ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีทุกข์
(อิสระ ชีวา)
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
...........
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 05 มิ.ย.2007, 12:42 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

******* ศาสนาประจำชาติไทยที่เข้มแข็งต้องมีอยู่ในรัฐธรรมนูญไทย ด้วยสืบต่อจากอดีตไปอนาคต พยายามอย่าใช้คำว่าประจำชาติแบบลอยลอยมามั่วกับแบบประจำชาติไทย เพราะแต่ละประเทศชาติลอยลอยในทั่วโลกมีประวัติต่างกัน //////
 
20 มกราคม
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 09 มิ.ย.2007, 11:21 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอยืนยันว่าหลักของรัฐธรรมนูญทั่วโลกไม่ได้มีข้อห้ามให้มีศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญ คำนิยามที่ยกมาก็มาจากแบบประเทศที่ไม่ประกาศสาสนาประจำชาติ.แท้จริงในรัฐธรรมนูญจะมีสาสนาประจำชาติหรือไม่ ก็ได้ ขึ้นอยุ่กับว่าประชาชนต้องการอย่างไรให้รัฐธรรมนูญมีข้อเฉพาะแสดงถึงประจำชาติหรือไม่
ขอยืนยันว่า ราชจารีตประเพณีไทยและจารีตประเพณีของประชาชนไทย ต่างยืนยันว่า ไทยมีพุทธเป็นศาสนาประจำชาติและจารีตประเพณีไทยไม่ได้ห้ามให้บรรจุพุทธเป็นศาสนาประจำไทยในกฏหมายสุงสุดของไทยด้วยตลอดมายังเปิดทางให้ตลอดมา แสดงว่าตามหลักกฏหมายของไทยแต่โบราณไม่ได้มีข้อบัญญัติห้ามบรรจุพุทธเป็นสาสนาประจำชาติไว้ในกฏหมายสุงสุดเลยตลอดมายังเปิดทางให้ตลอดมา ดังนั้นเราบอกได้ว่า การบรรจุพุทธเป้นศาสนาประจำชาติไทยในกฎหมายสุงสุดของ ไทยไม่ผิดตามจารีตของไทยและไม่ผิดหลักการของทั่วโลกที่ไม่ผิดเพราะศาสนาประจำชาติไทยได้รับการคุ้มครองจากพระราชาที่อยู่เหนือกฏหมายสูงสุดของไทยแทน ในระบบราชาธิปไตย แต่ในระบบประชาธิปไตยปัจจุบัน รัฐธรรมนูญอยุ่เหนือราชา รัฐธรรมนูญกฏหมายสูงสุดจึงต้องรักษาพุทธเป้นสาสนาประจำชาติไทยแทนพระราชาต่อไป *****ผมขอสรุปให้ชัดเจนว่า ในสมัยราชาธิปไตย ศาสนาประจำชาติไทยถูกรักษาคุ้มครองทั้งจากพระราชาผุ้อยุ่เหนือกฎหมายสุงสุดและจากประชาชน นี่2ด้านเลยแม้ไม่ได้บัญญัติข้อความชัดเจนในกฎหมายสุงสุดก็ตาม แต่ยังเปิดทางที่3ด้วยคือไม่มีข้อบัญญัติชัดเจนห้ามให้บรรจุพุทธประจำชาติในกฎหมายสูงสุด นี่เป็นแบบจำลองการคุ้มครองพุทธประจำชาติในสมัยโบราณตลอดมา/ในสมัยประชาธิปไตยยุคปัจจุบัน ชาวไทย ควรทำตามแบบโบราณคือ พุทธเป็นศาสนาประจำชาติไทยต้องได้รับการคุ้มครองรักษาจากทั้ง2ด้านเช่นกันไม่น้อยกว่านี้คือ พระราชายุคนี้และรัฐบาลยุคนี้ต่างอยู่ใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศแทนพระราชา เราจึงต้องถึงเวลาให้กฎหมายรัฐธรรมนูญกฎหมายสุงสุดของไทยมีการบัญญัติพุทธเป็นสาสนาประจำชาติ เพื่อทำหน้าที่รักษาคุ้มครองพุทธศาสนา คุ่กับประชาชนรักษาคุ้มครองพุทธสาสนาด้วยนี่เป็น2ด้านหลักไหม่เพื่อรักษาพุทธศาสนาประจำไทยในสมัยระบบประชาธิปไตยต่อไปไม่ผิดตามจารีตไทยโบราณที่เปิดทางให้ตลอดมาและไม่ผิดหลักการของรัฐธรรมนูญทั่วโลกด้วยครับ........ผมpeach-yanunหรือนาย20มกราคม ขอออกความเห็นเท่านี้ครับ
 
ก้อนดิน
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 07 ก.ค. 2004
ตอบ: 623

ตอบตอบเมื่อ: 24 มิ.ย.2007, 9:20 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ธงชาติไทย

สมัยลูกชายยังเล็กๆ ติดตามพ่อไปนครปฐม ขณะไปสอนหนังสือ ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ นั่งรถไปก็ถามโน่นถามนี่ตามประสาเด็ก เราก็ตอบบ้างไม่ตอบบ้าง ครั้งหนึ่งเล่นเอาผู้เป็นพ่อสะดุ้ง เพราะนึกไม่ถึงว่าเด็กจะมีปัญญาเฉียบแหลมปานนั้น ลูกถามว่า "เขาตัดไม้ทำไม" พลางชี้มือไปที่สองข้างทาง ถนนสายพุทธมณฑลตัดเสร็จใหม่ๆ ไม่มีบ้านช่องมากมายเหมือนปัจจุบัน คนเขาตัดต้นไม้กองไว้สองข้างทางจำนวนมาก

"เขาคงเอาไปทำฟืนมั้ง ลูก" เราตอบอย่างเสียไม่ได้

"ไม่น่าจะใช่" ลูกเอ่ย

"ไม่ทำฟืน ก็คงเอาไปทำเฟอร์นิเจอร์แหละ" เราไม่ยอมจำนน

"หนูว่าไม่ใช่" มันเถียง

"อ้าว เอ็งรู้แล้ว ถามหาหอกอะไร" ผมชักฉุน "งั้นเขาตัดทำไมวะ"

"ตัดให้ขาดซิ ป๋า" ฟังมัน

เออ จริงของมันแฮะ ตัดไม้ทำไม ก็ตัดให้มันขาด ส่วนขาดแล้วจะเอาไปทำอะไรมันอีกเรื่องหนึ่ง ผู้ใหญ่อย่างเราๆ นี่ต่างหาก ตอบไม่ตรงคำถาม ตั้งแต่นั้นมาผมเชื่อแล้วว่า เด็กนั้นหลักแหลมกว่าผู้ใหญ่หลายเท่า เพียงแต่เราไม่รู้จักวิธีพัฒนาความใฝ่รู้ของเด็กในทางที่ถูกที่ควร สติปัญญาของลูกหลานเราจึงไม่งอกงามเท่าที่ควร

พูดให้ชัด ยิ่งโตก็ยิ่งโง่ เพราะระบบการศึกษาอบรมที่ผิดๆ ของผู้ใหญ่ โตมา คำถามด้วยความอยากรู้อยากเห็นเหล่านั้นหายเกลี้ยง อย่างน่าเสียดาย

พอถึงยุคหลาน ยิ่งเห็นความเก่งความคมของหลานหลายเท่า สี่ขวบมันอ่านหนังสือคล่องเหมือนผู้ใหญ่ สะกดการันต์ตัวยากๆ ได้หมด ทั้งๆ ที่ครูยังสอนไม่ถึง วันดีคืนดีเข้าอินเตอร์เน็ตมาแช็ตกับปู่ ใน address ของแม่ ทีแรกนึกว่าแม่เขา แต่คุยไปคุยไปกลายเป็นหลานชาย ถามไถ่ว่าใครพิมพ์ให้ เธอบอกว่า หนูพิมพ์เอง ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ

วันหนึ่งเราบอกหลานว่า ธงชาติมีสามสี คือ สีแดง สีขาว สีน้ำเงิน แล้วกางธงให้ดู เธอนับแล้วบอกว่า ปู่นับผิด มีห้าสี แล้วก็นับว่าสีแดง สีขาว สีน้ำเงิน สีขาว สีแดง เราบอกว่า สีซ้ำกันไม่นับ นับเป็นสีเดียว มันย้อนว่า แล้วทำไมไม่นับ เออ จริงสิ เมื่อกางให้ดูแล้วถามว่าธงมีกี่สี ก็ต้องนับให้หมดสิ

เคยมีประวัติของเพลงชาติไทย ใครไม่ทราบเขียน ถ่ายสำเนาเก็บไว้ เผื่อวันหน้าจะได้ใช้ แต่ไม่รู้เก็บไว้ที่ไหน วันนี้อยากเขียนถึงธงไตรรงค์ก็ไม่มีข้อมูลจึงเขียนจากความทรงจำกะท่อนกะแท่นแทน

อาจารย์ ต. อมาตยกุล (ถ้าจำไม่ผิด) เคยเล่าไว้ว่า เมืองไทยเรามีการประดิษฐ์ธงใช้ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่หนึ่ง แรกๆ ก็ใช้สำหรับเรือสินค้า พื้นธงก็เป็นสีแดงล้วน ต่อมาในหลวงท่านเห็นว่าสีแดงเฉยๆ ไม่บ่งบอกสัญลักษณ์อะไร จึงรับสั่งให้บรรดาเรือหลวงทำรูปจักร อันเป็นสัญลักษณ์แห่งราชจักรีวงศ์

ตกมาถึงรัชกาลที่สอง มีช้างเผือกเข้ามาสู่พระบรมโพธิสมภารสองตัว นับเป็นนิมิตที่ดียิ่ง จึงโปรดให้ทำรูปช้างเผือกเพิ่มเข้ามา คือเอารูปช้างเผือกไว้กลางวงจักร และใช้กันมาจนถึงรัชกาลที่สาม

ตกมาถึงรัชกาลที่สี่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ มีพระราชดำริว่าว่า จักรเป็นของสูงเป็นสัญลักษณ์แห่งราชวงศ์ ไม่ควรที่ชาวบ้านทั่วไปนำไปใช้ แต่ถ้าใช้เป็นธงแล้ว สุดจะห้ามไม่ให้ราษฎรใช้ จึงให้ยกรูปจักรออกเสียจากธง คงเหลือไว้แต่รูปช้างเผือกบนพื้นธงสีแดง และโปรดให้ทำธงเป็นรูปช้างเผือกบนพื้นสีขาวขึ้นอีกอย่างหนึ่ง สำหรับใช้ในเรือหลวงทั้งปวง เพื่อให้เห็นแตกต่างกับเรือของราษฎรด้วย

ต่อมาในรัชกาลที่หก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ พระราชดำริว่าธงที่ชักในเรือของพ่อค้าข้าวไทยนั้นยังไม่เหมาะสม รูปช้างที่ใช้กันอยู่นั้นไม่งาม ดูไกลๆ แทบไม่รู้ว่าเป็นรูปอะไร ควรแก้ไขใหม่

จึงโปรดให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นมาใหม่เมื่อ พ.ศ.2449 (พระราชบัญญัติว่าด้วยแบบอย่างของธงสยาม ร.ศ.110 (พ.ศ.2434)

ตกมาถึงวันที่ 28 กันยายน 2460 ในหลวงรัชกาลที่หก ทรงแก้ไขธงชาติไทยใหม่ เพิ่มสีเป็นสามสี อันเรียกว่า ธงไตรรงค์ (ธงสามสี) คือสีแดง สีขาว และสีน้ำเงิน

ดังต่อไปนี้

"ธงชาติไทย รูปสี่เหลี่ยมรี มีขนาดกว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน

มีแถบสีน้ำเงินแก่ กว้าง 1 ส่วน ซึ่งแบ่ง 3 ของขนาดกว้างแห่ง

ธงอยู่กลาง มีแถบขาวกว้าง 1 ส่วน ซึ่งแบ่ง 6 ของขนาดกว้าง

แห่งธงข้างละแถบ แล้วมีแถบสีแดงกว้างเท่าแถบขาวประกอบชั้นนอก

อีกข้างละแถบ"

ธงชาติไทยที่พระราชกำหนดให้ใช้ใหม่นี้ คือธงไตรรงค์ดังกล่าว ซึ่งใช้มาจนบัดนี้

บทพระราชนิพนธ์ที่กำหนดสีของธงไตรรงค์ ปรากฏอยู่ในหนังสือ ดุสิตสมิต ฉบับพิเศษ 2461 หน้า 42 มีดังนี้ครับ

"ขอร่ำรำพันบรรยาย
ความคิดเครื่องหมาย
แห่งสีทั้งสามงามถนัด
ขาว คือบริสุทธิ์ศรีสวัสดิ์
หมายพระไตรรัตน์
และธรรมะคุ้มจิตไทย
แดง คือโลหิตเราไซร้
ซึ่งยอมสละได้
เพื่อรักษะชาติศาสนา
น้ำเงิน คือสีโสภา
อันจอมประชา
ธ โปรดเป็นของส่วนองค์
จัดริ้วเป็นธงไตรรงค์
จึงเป็นสีธง
ที่รักแห่งเราชาวไทย"

ตามหลักแห่งสถาบันหลัก และสัญลักษณ์ของธงไตรรงค์นี้ ชาติ หมายถึงประเทศไทย ศาสนา หมายถึง พระพุทธศาสนา (ไตรรัตน์หมายถึงพระรัตนตรัย) และธรรมะคุ้มจิตไทยขยายไปถึงธรรมะของศาสนาอื่นที่มีอยู่ในประเทศไทยด้วย

ถึงจะเรียกร้องให้จารึกพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทย ก็พ่วงท้ายไว้ด้วยว่า “ศาสนาอื่นคืออิสลาม, คริสต์, พราหมณ์-ฮินดู และซิกข์ เป็นศาสนาที่ได้รับการรับรองจากรัฐ” จะต้องได้รับการอุปถัมภ์คุ้มครองจากรัฐทัดเทียมกัน

พระเถระผู้ใหญ่จากมหาเถรสมาคมรูปหนึ่งถามผมว่า มีทางเป็นไปได้ไหมที่รัฐธรรมนูญใหม่จะบรรจุพระพุทธศาสนาฯ ผมเรียนท่านว่า “ตราบใดที่คนในเมืองมิถิลานี้ ตั้งแต่คนรักษาม้าจนถึงมหาอำมาตย์ยังจาริกอยู่ในโมหภูมิ” (ขอโคว้ตข้อความจากมหาชนกชาดกหน่อยครับ) ไม่มีทางดอก ครับ แต่ไม่ต้องเสียใจ


>>>>> จบ >>>>>
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง