Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 สองพี่น้องประลองวิชา (หลวงปู่ขาว อนาลโย) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
วิษณุ เทพศิริ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 13 พ.ย.2004, 11:18 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

เทียน เรื่องสองพี่น้องประลองวิชา

หลวงปู่ขาว อนาลโย ได้ยกนิทานเปรียบเทียบ แสดงเหตุผลว่าทำไมท่านจึงเลือกทางด้านการปฏิบัติภาวนา แทนที่จะเลือกเอาการเรียนทางตำราหรือเรียนภาคปริยัติ ดังนี้

ในครั้งพุทธกาล มีกุลบุตร ๒ พี่น้อง ได้ศรัทธาออกบวชในพระพุทธศาสนา

พระภิกษุ ๒ พี่น้องได้ปรึกษากันว่า เมื่อเราบวชแล้วจะมานั่งนอนกินของฆราวาสของเขาเฉยๆ ดูจะไม่สมควร อันกิจในพระพุทธศาสนามี ๒ อย่าง คือ คันถธุระ การศึกษาท่องบ่นคัมภีร์ต่างๆ อันเป็นเนื้อหาธรรมอย่างหนึ่ง กับ วิปัสสนาธุระ การฝึกปฏิบัติภาวนาเพื่อค้นหาความจริงอีกอย่างหนึ่ง

ขอให้เราทั้งสองเลือกเอาคนละอย่าง ต้องตั้งใจศึกษาอย่างจริงจัง ต่างคนต่างเรียนให้จบในแนวทางที่ตนเลือก แล้วเราจึงค่อยมาพบกัน

ฝ่ายภิกษุผู้น้องเป็นผู้เลือกก่อน บอกว่า “ผมจะถือเอาคันถธุระ คือการศึกษาเล่าเรียนจากคัมภีร์ และตำรับตำราต่างๆ”

ภิกษุผู้พี่จึงต้องเลือกอีกอย่างหนึ่ง ได้พูดว่า “เออดี ! เธอยังหนุ่มแน่นอยู่ เรียนไปจะได้มีความรู้ ขอให้ตั้งใจเรียนให้จบในตำราทุกเล่มที่มี จะได้มีลาภยศและชื่อเสียง เป็นที่นิยมยกย่องของคนทั่วไป ส่วนพี่นั้นแก่แล้ว ถ้ามัวเรียนตามตำรับตำรากลัวจะตายเสียก่อนที่จะพ้นทุกข์”

พระพี่ชายจึงตกลงใจเรียนฝ่ายวิปัสสนาธุระ คือการมุ่งปฏิบัติ เมื่อตกลงเช่นนั้นแล้วต่างก็แยกย้ายกันไปเสาะแสวงหาอาจารย์ตามแนวทางที่ตนเลือก


ฝ่ายพระพี่ชายก็มุ่งหน้าเข้าป่าเขาลำเนาไพร แสวงหาที่สงบสงัดปราศจากผู้คนพลุกพล่าน ตั้งใจบำเพ็ญภาวนาจนบรรลุถึงจุดสุดยอดของวิปัสสนากรรมฐาน ใช้เวลายาวนานพอสมควร จนจิตใจมั่นคงแข็งแกร่ง ตัดสิ้นขาดจากอาสวกิเลส สู่วิมุตติหลุดพ้น ภายในดวงจิตดวงใจสงบราบเรียบและผ่องใสทั้งกายและใจ ถือว่าจบกิจทางพระศาสนา

ฝ่ายพระน้องชายก็มุ่งเข้าเมืองใหญ่ เข้าศึกษาในสำนักที่มีชื่อเสียง ได้อาจารย์ที่เป็นปราชญ์ชั้นยอด ศึกษาธรรมะจนแตกฉานทุกเรื่องทุกตอน ศึกษาจนจบตำราและคัมภีร์ทุกประเภท ถือว่าเรียนจบขั้นสูงสุด มีความเป็นปราชญ์อย่างสมภูมิ กล่าวได้ว่าไม่มีอะไรจะไม่รู้อีกแล้ว


เมื่อพระสองพี่น้องต่างมั่นใจว่าตนสามารถบรรลุในสิ่งที่มุ่งหวังแล้ว จึงได้กลับมาพบกัน เมื่อเรียนรู้คนละอย่างจึงเกิดมีการประลองกันว่าใครจะดีจะเก่งกว่ากัน

ฝ่ายพระผู้น้องได้กล่าวขึ้นว่า “ที่พวกเราไปร่ำเรียนศิลปวิทยาการกันมาจนสำเร็จแล้วนั้น ผมอยากทราบว่าของใครจะดีกว่ากัน ?”

พระผู้พี่พูดว่า “วิชาของพี่นี่จบไตรโลกธาตุสูงสุด จนหมดที่จะศึกษาเล่าเรียนแล้ว จิตของเราถึงวิมุตติหลุดพ้นจากอาสวกิเลสทั้งปวง”

พระผู้น้องก็พูดขึ้นว่า “ผมก็เรียนเก่งเหมือนกัน เรียนจนจบคัมภีร์ตำราทุกเล่ม และเรียนจนหมดความรู้ของอาจารย์ ถือว่ารู้แจ้งจบในพระธรรมในพระพุทธศาสนาแล้ว”

พระสองพี่น้องจึงเกิดความข้องใจว่าวิชาของใครจะดีกว่ากัน จึงได้ตกลงกันว่า “เราทั้งสองก็ลูกศิษย์พระพุทธเจ้าเช่นเดียวกัน เราควรจะไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ให้พระองค์เป็นผู้ตัดสินเถิด พระองค์จะทรงวินิจฉัยอย่างไรก็ตาม เราทั้งสองต้องยอมรับ”

พระสองพี่น้องจึงออกเดินทางเพื่อไปเฝ้าพระพุทธองค์ซึ่งประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร เพื่อกราบทูลให้ทรงวินิจฉัยต่อไป

เทียน พระพุทธวินิจฉัย

ในระหว่างการเดินทางของพระภิกษุสองพี่น้องนั้น ฝนตกอย่างหนัก การเดินทางจึงยากลำบากเพราะอุปสรรคจากน้ำท่วม

พระภิกษุผู้พี่เดินนำหน้า พระภิกษุผู้น้องเดินตามหลัง เมื่อถึงบริเวณน้ำลึกจนท่วมหัว ก็ปรากฏว่าท่วมเพียงครึ่งแข้งของพระผู้พี่ ถ้าน้ำตื้นก็เดินอย่างแสนสบาย ซึ่งไม่เหมือนกับพระน้องชาย

กล่าวคือ ถ้าน้ำท่วมเพียงแข้งของพระพี่ชาย แต่กลับท่วมถึงอกของพระน้องชาย ถ้าน้ำตื้นพระพี่ชายก็เดินสบายมาก แต่พระน้องชายกลับเดินตกหลุมตกบ่อไปตลอดทาง พระน้องชายเดินทางด้วยความลำบากและทุลักทุเล ผ้าสบงจีวรเปียกปอนต้องยกกลดยกบาตรไว้เหนือศีรษะ

เมื่อไปถึงพระเชตวันมหาวิหาร พระภิกษุทั้งสองพี่น้องได้พักผ่อนพอสมควรแล้ว ก็ได้เข้าเฝ้าเพื่อขอฟังพระพุทธวินิจฉัย

พระพุทธองค์ตรัสว่า “ก่อนจะตอบข้อสงสัย ตถาคตจะขอถามอาการที่พวกเธอเดินทางมาเป็นอย่างไร ลำบากไหม ?”

พระผู้พี่ตอบว่า “ไม่ลำบากเลย ร่มเย็นตลอดทาง พระพุทธเจ้าข้า”


พระพุทธองค์ตรัสถามพระน้องชาย “แล้วเธอละลำบากไหม ?”

พระน้องชายตอบว่า “เกล้ากระผมลำบากเหลือเกิน ต้องลุยน้ำต้องตกหลุมตกบ่อ ผ้าเปียกปอนหมด พระพุทธเจ้าข้า”

พระพุทธองค์ตรัสถามต่อไปว่า “ทำไมเมื่อมาด้วยกันจึงไม่เหมือนกันเล่า คนหนึ่งสบาย อีกคนหนึ่งกลับเป็นทุกข์”


พระภิกษุสองพี่น้องกราบทูลว่า “เกล้ากระผมไม่ทราบดอก พระพุทธเจ้าข้า ขอพระองค์โปรดแสดงธรรมให้เกล้ากระผมเข้าใจด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า”

พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมโปรดพระภิกษุทั้งหลาย ณ ที่นั้นว่า

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนไม่มีกิเลสตัณหา ไม่ได้อุ้มกิเลสมา ย่อมเป็นคนเบา เหยียบน้ำก็ไม่เปียก เดินก็สบายไม่ทุกข์กาย

ส่วนคนที่มีกิเลสหยาบ ตัณหามากมาย จนไม่มีโกดังที่จะเก็บใส่ เอาไว้ที่ไหนก็เต็ม คนนั้นเป็นคนหนัก เหยียบน้ำก็เปียก เดินไปก็จมแสนลำบาก น้ำเกือบจะท่วมตาย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพี่หรือภิกษุน้อง ใครฟูใครจม”


พระภิกษุสาวกกราบทูลว่า “พวกข้าพระองค์ทราบแล้ว”

พระพุทธองค์ตรัสต่อไปว่า “ปัญหาที่เธอทั้งสองตกลงไม่ได้นั้น ทราบแล้วหรือยัง คนเรียนแต่ไม่ปฏิบัติตามคำสอนในพระธรรมวินัย กับคนเรียนสมถวิปัสสนาปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด จนกำจัดอวิชชาออกจากดวงใจแล้ว ดวงใจก็ใสสะอาด พี่เก่งหรือน้องเก่ง ? พี่ฟูหรือพี่จม น้องฟูหรือน้องจม”

พระพุทธองค์ไม่ทรงตอบคำถาม ให้ไปตัดสินเอาเอง


ด้วยนิทานอุทาหรณ์ข้างต้น หลวงปู่ขาวท่านจึงเรียนด้านปริยัติพอเป็นพื้นฐาน แล้วก็มุ่งการปฏิบัติสมถวิปัสสนา เพื่อลดละกิเลส พาจิตไปสู่ความหลุดพ้น ดังนั้น ท่านจึงยอมขัดคำสั่งของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์* ดังกล่าวแล้ว ซึ่งสมเด็จฯ ท่านเข้าใจจึงยอมตาม

--------

หมายเหตุ : * หมายถึง สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ พระโพธิวงศาจารย์ เจ้าอาวาสวัดสุทธจินดา จ.นครราชสีมา ในขณะนั้น

Image
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส)

Image

สาธุ สาธุ สาธุ จาก... หลวงปู่ขาว อนาลโย
วัดถ้ำกลองเพล อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู
โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม ๔ (หน้า ๕๘-๖๓)

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=20935

= รวมคำสอน “หลวงปู่ขาว อนาลโย”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=43187

= ประวัติและปฏิปทาของ “หลวงปู่ขาว อนาลโย”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=22390
 
ก็อกหลุด
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 13 พ.ย.2004, 12:26 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การป้องกันทุกข์ที่จะเกิดจากทวารทั้ง ๕ นั้น เราจะต้องสำรวมอินทรีย์ทั้ง ๕ ไม่เพลิดเพลินในอายตนะเหล่านั้น หากจำเป็นต้องอาศัยอายตนะทั้ง ๕ นั้น ประกอบการงานทางกาย ก็ควรจะกำหนดจิตให้ตั้งอยู่ในจิต เช่นเมื่อเห็นก็สักแต่ว่าเห็น ไม่คิดปรุง ได้ยินก็สักแต่ว่าได้ยิน ไม่คิดปรุง ดังนี้ เป็นต้น (ไม่คิดปรุงหมายความว่า ไม่ให้จิตเอนเอียงไปในความเห็นดีชั่ว)
 
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 13 พ.ย.2004, 7:36 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุค่ะ.....คุณวิเศษหรือวิชาต่างๆ ที่ได้มา ล้วนแล้วแต่เป็นผลพลอยได้จากการปฏิบัติทั้งสิ้น ผู้ปฏิบัติที่แท้จริงปรารถนาจะกำจัดอวิชชาออกจากดวงจิต

แต่มิได้ปรารถนาในความอยากได้ อยากมี อยากเป็นใดๆทั้งสิ้น.....สุดท้าย.....ไม่ติดในคุณวิเศษทั้งปวง.....

สาธุค่ะ.....
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
TU
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 23 พ.ค. 2004
ตอบ: 1589

ตอบตอบเมื่อ: 15 พ.ย.2004, 9:21 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

สาธุ สาธุ สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวYahoo Messenger
๛ Nirvana ๛
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 09 เม.ย. 2006
ตอบ: 403

ตอบตอบเมื่อ: 13 ส.ค. 2006, 6:00 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อนุโมทนาธรรมครับ สาธุ สาธุ สาธุ
 

_________________
ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่าน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวตำแหน่ง AIMMSN Messenger
norratan
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 28 ส.ค. 2006
ตอบ: 4
ที่อยู่ (จังหวัด): 927/8 หมู่15 ต.บ้านพระ อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี

ตอบตอบเมื่อ: 31 ส.ค. 2006, 1:53 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ สาธุ สาธุ สาธุ

สาธุ.......ธรรมที่หลวงปู่สอนลูกจะจดจำและนำไปประพฤติปฏิบัติ

ข้าวก้นบาตร

จ.ส.อ. นรธัญ อินทรเดชากุล
 

_________________
อัตนาโจทยัตตานัง
จิตออกนอก..............เป็น......สมุทัย
ผลของจิตออกนอก.....เป็น......ทุกข์
จิตเห็นจิต..................เป็น......มรรค
ผลของจิตเห็นจิต.......เป็น......นิโรธ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
kanalove
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 07 เม.ย. 2007
ตอบ: 35
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 13 พ.ค.2007, 4:57 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เป็นเรื่องที่สอนหลายๆ คนได้ดีทีเดียวเจ้าค่ะ * *
 

_________________
kanalovero@hotmail.com
ธรรมะสวัสดีคะ แอดเมล์ได้นะคะ
เรามักจะออนเอ็มเฉพาะวันเสาร์อาทิตย์นะ

เรามีชีวิตอยู่เพื่อตาย จงตายจริงก่อนที่เราจะตายลวง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailตำแหน่ง AIMYahoo MessengerMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง