Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ขอเชิญสร้างปัญญาบารมี...ตอนที่ ๒ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
พี่ดอกแก้ว
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 07 มิ.ย. 2004
ตอบ: 118

ตอบตอบเมื่อ: 10 พ.ย.2004, 8:53 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

แนวคิดเรื่องจิตในพระอภิธรรม

พระพุทธศาสนาจำกัดความคำว่า จิต ไปในทางธาตุรู้หรือธาตุคิด ที่มีกระบวนการเปลี่ยนแปลงไปตามองค์ประกอบหรือคุณภาพต่าง ๆ ที่เรียกว่า เจตสิก กระบวนการนี้เกิดดับไปตามแต่ที่จิตจะเหนี่ยวสิ่งใดขึ้นมาจับไว้ จิตจึงเป็นความคิดที่เกิด ๆ ดับ ๆ ส่วนใหญ่ใช้คู่กับคำว่า ใจ แต่คำว่าใจเมื่อประสมกับคำอื่นมัก จะบ่งถึงสภาพความรู้สึกอย่างใดอย่างหนึ่ง มากกว่าจะเป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดดับ เช่น เสียใจ บ่งสภาพความเศร้าโศก ดีใจบ่งสภาพความดียินดี



ในที่นี้คำว่าใจจึงบอกถึงสภาพของสิ่งหนึ่งที่เป็นศูนย์กลางของความรู้สึกมากกว่าจะเป็นกระบวนการของความคิดเหมือนอย่างคำว่า จิต (ประพจน์ อัศววิรุฬหการ และ สุวรรณา สถาอานันท์, “จิตใจ” ใน คำ : ร่องรอยความคิดความเชื่อไทย : 2537 หน้า 313)



ลักษณะของจิต



จิต เป็นนามธรรมประเภทหนึ่ง มีธรรมชาติของการรู้อารมณ์ คือ ได้รับอารมณ์อยู่เสมอ



1. ความหมายของจิต อธิบายได้ด้วยลักษณะ 4 ประการดังนี้



๑. ลักษณะของจิต คือ การรู้อารมณ์



๒. หน้าที่การงานของจิต คือ เกิดก่อนและเป็นประธาน ทำให้ดวงหนึ่ง ๆ เกิดติดต่อกัน



๓. ผลงานของจิต คือ การเห็น การได้ยินเป็นต้น ที่สืบต่อเนื่องกันไม่ขาดสาย



๔. เหตุส่งเสริมให้จิตเกิดขึ้นได้ คือ เจตสิกและรูปที่เกิดร่วมกัน





การรู้อารมณ์ของจิต เป็นการรู้แบบวิญญาณรู้ คือ จิตเกิดตามทวารทั้ง 6 เพื่อรู้อารมณ์ จิตมีลักษณะของการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป เป็นสภาวะรู้อารมณ์อย่างเดียว การรู้นั้นรู้ทีละอย่างเท่านั้น เช่น การนึกคิดถึงบ้านเรือน ต้นไม้ ก็รู้เฉพาะบ้านเรือนอย่างเดียวแล้วดับไป จึงมารู้ต้นไม้ใหม่ เป็นต้น แต่ความเกิด-ดับที่สืบต่อเนื่องอย่างรวดเร็วของจิต อาจทำให้ดูเหมือนรู้พร้อมกันหลายอย่างในคราวเดียวกันได้ เช่นเวลาดูทีวี ได้ยินทั้งเสียงและมองเห็นภาพด้วยเป็นต้น แท้ที่จริงคือ การรู้ภาพและเสียงเกิด-ดับสลับกันอย่างรวดเร็ว [center][/center]
 

_________________
เป็นประธานมูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
พี่ดอกแก้ว
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 07 มิ.ย. 2004
ตอบ: 118

ตอบตอบเมื่อ: 10 พ.ย.2004, 8:56 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เหตุที่ทำให้จิตเกิดขึ้น



จิตจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องอาศัยสภาวธรรม (สมุฏฐาน) 3 อย่าง คือ อดีตกรรม วัตถุรูป และอารมณ์ เกิดขณะอายตนะภายในและภายนอกประชุมกัน หากขาดอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว จิตก็ไม่สามารถทำหน้าที่ของตนได้ ไม่มีใครสร้างหรือบังคับให้จิตเกิดขึ้นตามต้องการได้ ต่อเมื่อมีปัจจัยพร้อมจิตจึงเกิดการรู้อารมณ์ ห้ามไม่ให้รู้ก็ไม่ได้



ที่อาศัยเกิดของจิต



จิตเป็นนามธรรม ไม่มีรูปร่างเฉพาะ โดยส่วนมากต้องอาศัยรูปเกิดขึ้น ธรรมชาติของจิตมีที่อาศัยทำงานอยู่ 6 ที่ เท่านั้น เพื่อทำกิจของตน จิตที่อาศัยในตำแหน่งที่ต่างกัน จะมีชื่อเรียกไม่เหมือนกันได้แก่

จิตขณะอยู่ที่ประสาทตา.... เพื่อทำกิจเห็น.......... เรียกว่า จักขุวิญญาณ



จิตขณะอยู่ที่ประสาทหู...... เพื่อทำกิจได้ยิน........เรียกว่า โสตวิญญาณ



จิตขณะอยู่ที่ประสาทจมูก.. เพื่อทำกิจดมกลิ่น.....เรียกว่า ฆานะวิญญาณ



จิตขณะอยู่ที่ประสาทลิ้น ... เพื่อทำกิจลิ้มรส....... เรียกว่า ชิวหาวิญญาณ



จิตขณะอยู่ที่ประสาทกาย.. เพื่อทำกิจรับสัมผัส....เรียกว่า กายวิญญาณ



จิตขณะอยู่ที่หทยวัตถุ....... เพื่อทำภวังคกิจ.........เรียกว่า มโนวิญญาณ



หทยรูปเป็นที่อาศัยของภวังคจิตเพื่อรักษาภพชาติของตน โดยเป็นที่ตั้งให้ภวังคจิตทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะภายในเช่น สมอง หัวใจ ตับไต เป็นต้น ให้ทำหน้าที่ของตน เพื่อรักษาชีวิต



ชื่อเรียกของจิต



จิตมีชื่อต่าง ๆ ที่ใช้เรียกขานกันถึง 10 ชื่อ แต่ละชื่อแสดงให้รู้ถึงคุณลักษณะต่าง ๆ ของจิตได้แก่





๑. ธรรมชาติใดย่อม คิด ..............................ธรรมชาตินั้นชื่อว่า....จิต



๒. ธรรมชาติใดย่อมน้อมไปหาอารมณ์..............ธรรมชาตินั้นชื่อว่า....มโน



๓. จิตนั่นแหละได้รวบรวมอารมณ์ไว้ภายใน........... ดังนั้นจึงชื่อว่า.....หทัย



๔. ธรรมชาติคือ ฉันทะที่มีในใจนั่นเอง...........................จึงชื่อว่า.....มนัส



๕. จิตเป็นธรรมชาติที่ผ่องใส.........................................จึงชื่อว่า.....ปัณฑระ



๖. มนะนั่นเองเป็นอายตนะ คือเป็นเครื่องต่อ................... จึงชื่อว่า.....มนายตนะ



๗. มนะอีกนั่นแหละที่เป็นอินทรีย์ คือครองความเป็นใหญ่.. จึงชื่อว่า....มนินทรีย์



๘. ธรรมชาติใดที่ รู้อารมณ์ทางทวาร..............ธรรมชาตินั้นชื่อว่า....วิญญาณ



๙. วิญญาณนั่นแหละเป็นขันธ์.........................................จึงชื่อว่า...วิญญาณขันธ์



๑๐. มนะนั่นเองเป็นธาตุชนิดหนึ่ง ที่รู้แจ้งซึ่งอารมณ์........... จึงชื่อว่า..มโนวิญญาณธาตุ

 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
พี่ดอกแก้ว
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 07 มิ.ย. 2004
ตอบ: 118

ตอบตอบเมื่อ: 10 พ.ย.2004, 8:59 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ในหนังสือสังคหะบาลีแปล 9 ปริจเฉท แสดงแผนผังเรื่องจิตไว้ จิตมีลักษณะแตกต่างกันรวม 89 หรือ 121 ลักษณะ จากแผนผังของจิต แบ่งจิตออกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้13 กลุ่ม แต่ละกลุ่มจะมีลักษณะประจำกลุ่มเฉพาะของตน เช่น



กลุ่มที่ 1... อกุศลจิต มี 12

กลุ่มที่ 2... อเหตุกจิต มี 18

กลุ่มที่ 3... มหากุศลจิต มี 8

กลุ่มที่ 4... มหาวิบากจิต มี 8

กลุ่มที่ 5... มหากิริยาจิต มี 8



กลุ่มที่ 6... รูปาวจรกุศลจิต มี 5

กลุ่มที่ 7... รูปาวจรวิบากจิต มี 5

กลุ่มที่ 8... รูปาวจรกิริยาจิต มี 5

กลุ่มที่ 9... อรูปาวจรกุศลจิต มี 4

กลุ่มที่10.. อรูปาวจรวิบากจิต มี 4

กลุ่มที่11.. อรูปาวจรกิริยาจิต มี 4



กลุ่มที่ 12... มรรคจิต มี 4 / 20

กลุ่มที่ 13.. ผลจิต มี 4 / 20
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
พี่ดอกแก้ว
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 07 มิ.ย. 2004
ตอบ: 118

ตอบตอบเมื่อ: 10 พ.ย.2004, 9:00 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

จากแผนภาพจิต เครื่องหมายต่าง ๆ แสดงถึง เวทนาประจำจิตแต่ละดวง



เวทนา หมายถึง ความรู้สึกที่เกิดพร้อมกับจิต ซึ่งมีอยู่ 5 เวทนา แสดงด้วยเครื่องหมายที่ต่างกัน 5 ลักษณะ เป็นการแบ่งจิตโดยประเภทแห่งความรู้สึก(เวทนา) จิตทุกดวงจะต้องเกิดพร้อมด้วยความรู้สึกอย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ จิตจะเกิดขึ้นโดยไม่มีความรู้สึกเลยไม่ได้





- สุขเวทนา คือความรู้สึกที่ดีที่เกิดขึ้นทางกาย เช่น ความสบายกายหลังอาบน้ำชำระผิวกายเป็นต้น



- ทุกขเวทนา คือความรู้สึกที่ไม่ดีที่เกิดขึ้นทางกาย เช่นโดนหนามตำที่เท้า ก็รู้สึกไม่สบายทางกายเป็นต้น



- โสมนัสเวทนา คือความรู้สึกที่ดีที่เกิดขึ้นทางใจ เช่น ดีใจเมื่อได้เห็นสิ่งที่ตนรัก เป็นต้น



- โทมนัสเวทนา คือความรู้สึกที่ไม่ดีที่เกิดขึ้นทางใจ เช่น เสียใจเมื่อต้องสูญเสียของที่ตนรักเป็นต้น



- อุเบกขาเวทนา คือความรู้สึกยินดีเล็กน้อยที่เกิดขึ้นทางใจ เช่น ได้รับของขวัญจากเพื่อน รู้สึกยินดีมาก(โสมนัส) เมื่อเปิดดูพบว่าของมีตำหนิ ไม่ค่อยสวยงาม ความยินดีจึงลดลง(เป็นอุเบกขา)เป็นต้น



 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
พี่ดอกแก้ว
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 07 มิ.ย. 2004
ตอบ: 118

ตอบตอบเมื่อ: 10 พ.ย.2004, 9:02 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อายุของจิต จิตเมื่อเกิดขึ้นแล้วมีอายุ 3 ขณะ



2. ประเภทของจิต



การจัดประเภทของจิต แบ่งออกตามลักษณะต่าง ๆ มี 9 กลุ่ม (เภทนัย) ได้แก่ การแบ่งประเภทจิตตามชนิดของการเกิด(ชาติ) สถานที่เกิด(ภูมิ) และความรู้สึกของจิต(เวทนา) เป็นต้น



การแบ่งประเภทต่าง ๆ ของจิตนี้ ก็เพื่อใช้อธิบายคุณลักษณะของจิตดวงหนึ่ง ๆ และเพื่อแยกประ เภทของจิตได้ถูกต้อง ในที่นี้จะกล่าวถึงเพียงบางประเภท เพื่อความเข้าใจในภาพรวมของจิต ที่สมควรต่อการพัฒนาจิตเท่านั้น เช่น การแบ่งโดยชาติ และโดยภูมิเป็นต้น



การแบ่งประเภทของจิตโดยชาติ ซึ่งบอกถึงชนิดของจิตว่าเป็นฝ่ายดีหรือไม่ดี หรือฝ่ายกลาง และ การแบ่งประเภทโดยภูมิ ซึ่งบอกถึงระดับพัฒนาการทางจิตไปในทางต่ำหรือสูง





 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
พี่ดอกแก้ว
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 07 มิ.ย. 2004
ตอบ: 118

ตอบตอบเมื่อ: 10 พ.ย.2004, 9:03 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

2.1 จิต แบ่งโดยชาติ มี 4 ชาติ คือ

๑. อกุศลชาติ หมายถึง ธรรมชาติ (จิต) ที่เป็นบาป มีโทษ ให้ผลเป็นความทุกข์ ความเดือดร้อนใจ ได้แก่ อกุศลจิต 12



๒. กุศลชาติ หมายถึง ธรรมชาติ(จิต)ที่เป็นบุญ ไม่มีโทษ ให้ผลเป็นความสุข ความสบายใจได้แก่ มหากุศลจิต 8 รูปาวจรกุศลจิต 5 อรูปาวจรกุศลจิต 4 มัคคกุศล 4/20



๓. วิบากชาติ หมายถึง ธรรมชาติ (จิต) ที่ไม่กล่าวว่าเป็นกุศลหรืออกุศลในตัวเอง เป็นแต่เพียงผลที่เกิดจากกุศลหรืออกุศล ได้แก่ อกุศลวิบากจิต 7 อเหตุกกุศลวิบากจิต 8 มหาวิบากจิต 8 รูปาวจรวิบากจิต 5 อรูปาวจรวิบากจิต 4 ผลจิต 4/20



๔. กิริยาชาติ หมายถึง ธรรมชาติ (จิต) ที่ไม่กล่าวว่าเป็นกุศลหรืออกุศล ทั้งไม่ใช่ผลของกุศลและอกุศลด้วย เป็นแต่เพียงกิริยาอาการของจิตที่เกิดขึ้นเพื่อรับรู้อารมณ์ แต่ไม่ได้รับรู้ด้วยกิเลส มีความพอใจหรือความไม่พอใจ เป็นต้น ยกเว้น 2 ดวงแรกในกลุ่มแล้วกิริยาจิตที่เหลือ จะเกิดขึ้นกับพระอรหันต์เท่านั้น



 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
พี่ดอกแก้ว
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 07 มิ.ย. 2004
ตอบ: 118

ตอบตอบเมื่อ: 10 พ.ย.2004, 9:06 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

2.2 จิต แบ่งโดยภูมิ มี 4 ภูมิ คือ



๑. กามาวจรภูมิ เป็นภูมิของจิตที่เกิดขึ้นเพื่อรับกามคุณอารมณ์ ได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ความนึกคิด เรียกว่า กามาวจรจิต จัดว่าเป็นจิตที่อยู่ในภูมิระดับต่ำ รับอารมณ์ได้มากมาย กระจัดกระจายมีทั้งฝ่ายดีและฝ่ายไม่ดี จิตของมนุษย์โดยมากเกิด-ดับวนเวียนอยู่ในชั้นกามาวจรภูมินี้เอง จิตในชั้นนี้มี 54 ดวง



๒. รูปาวจรภูมิ เป็นภูมิที่รองรับจิตที่พัฒนามาจากชั้นกามาวจรภูมิอีกทีหนึ่ง เป็นจิตฝ่ายดีอย่างเดียว สำหรับบุคคลผู้เบื่อหน่าย เห็นโทษแห่งกามคุณอารมณ์ จึงพัฒนาจิตที่เรียกว่ารูปาวจรจิตขึ้น ด้วยการอาศัยภาพลักษณ์หรือการสร้างรูปวัตถุบางอย่างมาเป็นอารมณ์ให้แก่จิต(แทนกามคุณอารมณ์) ควบคุมจิตให้รับรู้แต่เพียงอารมณ์เดียวที่สร้างขึ้น เกิดความสงบนิ่งแนบแน่นเป็นสมาธิ จนกระทั่งเกิดฌานจิต ที่เรียกว่ารูปฌานในระดับต่าง ๆ 5 ระดับ รูปาวจรจิตมี 15 ดวง เป็นภูมิที่เกิดของพรหมบุคคลทั้งหลาย



๓. อรูปาวจรภูมิ เป็นภูมิของจิตที่พัฒนาสูงกว่าชั้นรูปาวจรจิต เรียกว่า อรูปาวจรจิต เป็นจิตฝ่ายดีฝ่ายเดียว เนื่องจากเห็นโทษของรูปวัตถุว่าหยาบกว่า มีความเข้าใจว่าความทุกข์ต่าง ๆ มีขึ้นได้เพราะมีรูป เข้าใจว่ารูปเป็นตัวทุกข์ จึงพอใจที่จะพัฒนาจิตที่ละเอียดขึ้น โดยการเพิกรูปวัตถุที่เคยได้มาแล้ว ใช้จิตเพ่งอารมณ์ที่เป็นนามธรรมหรือเพ่งความว่างเปล่าแทน เกิดความแนบแน่นที่ละเอียดขึ้นในระดับต่าง ๆ 4 ระดับ ฌานจิตที่เกิด เรียกว่า อรูปฌาน



๔. โลกุตตรภูมิ เป็นภูมิของจิตที่พัฒนาชั้นสูงสุด รับพระนิพพานเป็นอารมณ์ได้แน่นอน พ้นจากความพินาศทั้งปวง ความทุกข์ ความเศร้าโศก ไม่อาจเกิดขึ้นมาได้อีก มีอำนาจพิเศษในการหยุดการเวียนว่ายตายเกิดของตนเองได้ในระดับต่าง ๆ ตั้งแต่พระโสดาบันจนถึงพระอรหันต์ จิตถึงแม้จะพัฒนาจนเกิดอำนาจพิเศษใด ๆ ก็แล้วแต่ หากยังไม่พัฒนาจนถึงโลกุตตรจิตแล้ว ก็ยังต้องตายเกิดในภพภูมิทั้ง 31 ภูมิอยู่นั่นเอง





สรุปแนวคิดเรื่องจิตได้ว่า จิต เป็นนามธรรมประเภทหนึ่ง มีธรรมชาติของการรู้อารมณ์ คือ ได้รับอารมณ์อยู่เสมอ เหตุที่ทำให้จิตเกิดขึ้นอาศัยสภาวธรรม (สมุฏฐาน) 3 อย่าง คือ อดีตกรรม วัตถุรูป และอารมณ์ ประชุมกัน ธรรมชาติของจิตมีที่อาศัยทำงานอยู่ 6 ที่เท่านั้น เพื่อทำกิจของตน มีการแบ่งประเภทของจิตโดยชาติ และโดยภูมิ



เนื่องจากจิตใจเป็นส่วนที่ติดต่อสัมพันธ์กับโลกภายนอก ส่วนประ กอบที่อยู่ภายในจิต ทำให้จิตมีลักษณะต่าง ๆ มีทั้งฝ่ายดี-ไม่ดี การเรียนรู้ถึงลักษณะพื้นฐานของจิตแต่ละกลุ่มทั้งฝ่ายดี-ไม่ดี ทำให้ทราบว่าจิตประเภทใดควรพัฒนา และควรพัฒนาไปในทางใด เพราะเหตุว่า จิตแต่ละกลุ่มมีความสำคัญและมีจุดมุ่งหมายการพัฒนาต่างกัน



กลุ่มอกุศลจิต จัดอยู่ในภูมิระดับต่ำ คือ กามาวจรภูมิเท่านั้น อกุศลเป็นต้นเหตุของวัฏฏะสงสาร จึงเป็นกลุ่มจิตที่ควรละ ไม่ควรเจริญอีกต่อไป



กลุ่มกุศลจิต มีทั้งกุศลชั้นต่ำที่เป็นกามกุศล อันเกี่ยวเนื่องด้วยการให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา กุศลชั้นสูงกว่า คือ ฌานกุศลทั้งที่เป็นรูปฌานและ อรูปฌาน สำหรับกุศลชั้นสูงสุดคือ มัคคกุศล ดังนั้น กลุ่มกุศลชาติจึงเป็นกลุ่มที่สามารถเจริญและพัฒนาจากระดับต่ำให้สูงขึ้นได้ โดยการฝึกจิตทั้งด้านสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน



ทางสายเอก สายเดียวของการพัฒนาคือ การมีสติตั้งอยู่บนฐาน 4 ฐาน ได้แก่กาย เวทนา จิต ธรรม เท่านั้น อาจเป็นฐานใดฐานหนึ่ง หรือพิจารณาธรรมชาติโดยรวมภายในตัวเรา ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจมิใช่เป็นเรื่องง่ายนักสำหรับการดำรงชีวิตในสังคม ที่มีความซับซ้อนยุ่งเหยิงในปัจจุบัน แต่เหมาะสำหรับคนยุคใหม่ ที่คำสอนทางศาสนาระดับศีลธรรมจรรยาธรรมดา บางครั้งไม่สามารถบรรเทาเบาบางความทุกข์ร้อนของชีวิตได้ การประยุกต์ใช้หลักการขั้นสูงจะช่วยส่งเสริมในส่วนที่ขาดหายไปได้ดีกว่า




ด้วยความปรารถนาดีค่ะ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
สำเร็จ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 10 พ.ย.2004, 10:51 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอเสริมการแสดงกระทู้นี้ครับ....



ในการศึกษาอภิธรรม...ท่านผู้อ่านพึงทราบ



บุคคลหรือสัตว์ทั้งหลาย..หมายถึง มนุษย์ สัตว์เดรัจฉาน..สัตว์นรก.เปรต

อสุรกาย..เทวดา...พรหมต่างๆ....

จะมีองค์ประกอบ 3 อย่าง คือ 1.ร่างกาย 2.จิตใจ 3.สิ่งที่อยู่ในจิตใจ



แต่ในอภิธรรมจะอธิบายถึงเรื่องราว 4 ประการ คือ



1. จิต........หมายถึงจิตใจ

2.เจตสิก...หมายถึงสิ่งที่อยู่ในจิตใจ

3. รูป........หมายถึง(ร่างกาย) สิ่งที่ไม่ใช่จิต และ ไม่ใช่เจตสิก

4. นิพพาน..หมายถึงความสงบจากข้อ 1,2,3



หากสรุปได้ตามนี้ไว้ก่อน...จะอ่านและติดตามการแสดงธรรมของ คุณพี่ดอกแก้วได้อย่างเข้าใจ



ส่วนรายละเอียดทั้ง 4 ประการ คุณพี่ดอกแก้วอธิบายได้ชัดเจนดี...น่าชื่นชม
 
สายลม
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 พ.ค. 2004
ตอบ: 1245

ตอบตอบเมื่อ: 12 พ.ย.2004, 7:15 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน







ขออนุโมทนาสาธุครับพี่ดอกแก้ว



เนื้อเยอะดีครับ คงมีประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจได้มากเลย



 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง