Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 มีชีวิตที่คิดไม่ถึง - ตอนเกมกรรม อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ต้นข้าว**
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 14 ต.ค.2006, 4:54 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

มีชีวิตที่คิดไม่ถึง - ตอนเกมกรรม

---------------------------------------------------

สวัสดีครับ วันนี้ผมมีบทความดีๆ จากหนังสือเล่มหนึ่งมาให้เพื่อนๆ นักธรรมอ่านครับ แล้วเพื่อนๆ จะรู้ว่าตัวเองมีชีวิตที่อาจคิดไม่ถึงอย่างไร

คุณกำลังอยู่ในเกม จะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม คุณกำลังอยู่ในเกม จะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม

องค์ประกอบของเกม

ถ้ามองชีวิตทั้งหมดเป็นเกม ชีวิตจะปรากฏต่อคุณแตกต่างไปจากที่เคย อย่างน้อยที่สุดคุณอาจได้ตั้งคำถามขึ้นมาบ้าง ว่ามีวัตถุใดให้เลือกเก็บเพื่อเพิ่มคะแนน หรืออาจได้ตระหนักว่าหากปล่อยเวลาให้ผ่านไป สิ่งลึกลับที่ไล่ล่าทำร้ายคุณอยู่อาจตามทัน หรือหากคุณเดินหน้าช้าเกินไป เดี๋ยวจะไปไม่ทันเป้าหมาย เป็นต้น โดยสรุปคือเมื่อมองชีวิตเป็นเกม คุณคงเริ่มกระตือรือร้นสนใจกฎกติกาที่เป็นต่างหากจากกฎหมายบ้านเมืองขึ้นมาบ้าง

เมื่อตั้งใจมองชีวิตเป็นเกม ก็ต้องมีคำถามสามัญ เช่น

๑) ใครเป็นผู้เล่น?

๒) อุปกรณ์การเล่นคืออะไร?

๓) กติกาเป็นอย่างไร?

๔) แพ้ชนะแล้วได้อะไร?

๕) ใครเป็นผู้ตัดสิน?

มาไขคำถามแรกก่อน ผู้เล่นเกมในสายตาของคุณก็คือตัวคุณเอง คุณต้องเล่น ต้องเฝ้าชม และต้องรับผิดชอบตัวเอง คุณเล่นให้ตัวเองดูตลอดเวลา แม้ปลีกเวลาไปเฝ้าดู เฝ้าเพ่งโทษคนอื่นบ้างก็ได้แค่ชั่วประเดี๋ยวประด๋าว

คำตอบสำหรับคำถามที่สอง อุปกรณ์การเล่นคือบุคคลและวัตถุทุกชิ้นที่อยู่บนโลก หมายความว่า คุณมีสิทธิ์เข้าไปเกี่ยวข้องกับใครหรืออะไรก็ได้ แม้ไม่ใช่ด้วยการสัมผัสแตะต้องทางกาย ก็โดยการสัมผัสแตะต้องทางใจ เช่นคุณนึกด่าหรือคิดชมใครที่เขาไม่รู้จักคุณ คุณก็ได้ ‘กระทำ’ อะไรบางอย่างกับเขาไว้ด้วยใจเรียบร้อยแล้ว

คำตอบสำหรับคำถามที่สาม กติกาคือทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เมื่อทำดีจิตจะเป็นบุญกุศล มีผลเป็นความสุขความเจริญ ส่วนเมื่อทำชั่วจิตจะเป็นบาปอกุศล มีผลเป็นความทุกข์ความเสื่อม หากผลไม่เกิดเร็วทันตาทันใจในปัจจุบัน อย่างช้าในอนาคตใกล้หรือไกลก็ต้องออกดอกออกผลแน่นอน และจากกติกาข้อนี้ สมควรที่เกมจะได้ชื่อว่า ‘เกมกรรม’ เพราะอะไรๆต้องดูเอาจากกรรมทั้งหมด

คำตอบสำหรับคำถามที่สี่ เมื่อแพ้เกม สิ่งที่คุณจะได้รับคือบทลงโทษ ถ้าขั้นหนักสุดคือถูกพักการเล่นเกมชั่วคราว โดนคุมขังอยู่ในที่คับแคบและเร่าร้อนด้วยความทรมานราวกับจะไม่มีวันสิ้นสุด ส่วนถ้าชนะเกม สิ่งที่คุณจะได้รับคือการตกรางวัล ถ้าเยี่ยมสุดคือได้พักเหนื่อยชั่วคราว ไปอยู่ในที่กว้างขวางอย่างเป็นอิสระและเย็นสบาย ราวกับจงใจให้ลืมความเหนื่อยยากในการเล่นเกมเสียทั้งหมด อย่างไรก็ตาม การพักชั่วคราวจะสิ้นสุดลงตามความควรแก่เหตุ คุณจะต้องกลับมาเล่นเกมใหม่ซ้ำแล้วซ้ำเล่า

คำตอบสำหรับคำถามสุดท้าย ธรรมชาติในตัวคุณเองเป็นผู้ตัดสิน เช่นเมื่อทำดีมากๆ ร่างกายของคุณเองจะสะท้อนความดีผ่านผิวพรรณที่งดงามผ่องใสจนใครๆ อดไม่ได้ ต้องทักว่าไปทำอะไรมา เป็นต้น

ในเกมกรรมยังมีเกมย่อยอีกมากมายซ้อนๆกันอยู่ นับแต่เกมเด็กเล่น เกมกีฬา เกมคอมพิวเตอร์ เกมรัก เกมธุรกิจ เกมการเมือง เกมชีวิต ฯลฯ มนุษย์เราถูกล่อใจให้มัวแต่เล่นเกมอื่นกัน โดยไม่ตระหนักว่าทุกเกมเป็นเพียงองค์ประกอบของเกมกรรมทั้งสิ้น ขอแจกแจงเป็นตัวอย่างเช่นแม้เป็นเกมเด็กเล่น แต่ถ้าริอ่านโกงเพื่อน ก็จะเป็นความเคยนิสัยให้คิดเอาชนะด้วยกลเล่ห์เพทุบาย แต่ถ้ารู้จักเล่นเพื่อความสมานฉันท์ ก็จะเป็นความเคยนิสัยให้คิดอยู่ร่วมกับคนอื่นด้วยการมอบความบันเทิงเริงใจแก่กันและกัน ไม่คิดรังแก ไม่คิดกลั่นแกล้ง ไม่คิดคดโกงกัน

ในเกมกีฬา ผู้ชนะย่อมได้ชื่อว่าก่อเวร ส่วนผู้แพ้ย่อมนอนไม่หลับ (พุทธพจน์) การก่อเวรนับเป็นทางมาของการคิดสมน้ำหน้าและนึกทะนง บาปทางใจ บาปทางวาจา และบาปทางกายย่อมทยอยตามมาไม่ยาก แต่ถ้าใจผู้เล่นกีฬาไม่ผูกอยู่กับเรื่องแพ้ชนะ ก็ถือเป็นการร่วมมือกันทำบุญด้านการมีน้ำใจนักกีฬา รู้จักแพ้ด้วยความชื่นชมคู่ต่อสู้ รู้จักชนะด้วยการไม่ดูหมิ่นคู่แข่งขัน

สำหรับเกมคอมพิวเตอร์ ที่นับวันยิ่งเหมือนจริง และใส่เมล็ดพันธุ์ความโหดร้ายรุนแรงเข้าไปมากขึ้นทุกที ความสมจริงอันเลวร้ายย่อมก่อให้เกิดความคิดหฤโหดอย่างแน่วแน่และเป็นจริงเป็นจังมากขึ้นเรื่อยๆ กระทั่งถึงจุดหนึ่งเมื่อจิตถูกย้อมให้เห็นผิดเป็นชอบเต็มที่ ก็ย่อมพร้อมจะก่อบาปผ่านกายในโลกความจริงราวกับกำลังเล่นเกมคอมพิวเตอร์ก็ไม่ปาน แต่หากเล่นเกมสร้างสรรค์และเสริมสร้างสติให้เฉียบไวขึ้น ก็อาจนำไปสู่การเป็นผู้มีโอกาสทำบุญใหญ่อย่างชาญฉลาดหลายๆทาง

เกมรักที่ผู้ชนะเหมือนได้ทุกสิ่งในโลกไปครอง และผู้แพ้เหมือนสูญสิ้นทุกสิ่งแม้ลมหายใจเพื่อการมีชีวิตต่อ ย่อมก่อให้เกิดความผูกพันทางดีทางร้าย อาจเกื้อกูลหรืออาฆาต อาจกลับรักเป็นเกลียด อาจกลับเกลียดเป็นรัก แล้วทำบุญทำบาปร่วมกันตามวาระที่รักหรือเกลียด

ส่วนเกมธุรกิจที่ต้องห้ำหั่น แข่งขันเอาเป็นเอาตาย อาจนำไปสู่การคิดกำจัดคู่ต่อสู้ด้วยวิธีฆ่าฟันให้ตายจากโลก หรือสถานเบาคือกำจัดให้พ้นสนามแข่งเดียวกันด้วยความป่าเถื่อน แต่ก็มีบ้างที่เกมธุรกิจเปิดช่องให้มองหาลู่ทางทำประโยชน์แก่ผู้บริโภค ซึ่งก็จะจัดเป็นบุญใหญ่หากผู้บริโภคได้รับประโยชน์จริงตามความตั้งใจเริ่มแรก

ด้านเกมการเมืองอันเต็มไปด้วยผลประโยชน์ของกลุ่ม อำนาจล้นฟ้าในมือผู้นำ เงินทองกองภูเขา ตลอดจนชื่อเสียงและภาพลักษณ์น่าสนใจ จัดเป็นทางมาของบาปอกุศลนานัปการ แม้โกงกินก็อาจไม่รู้ตัวว่าโกงกิน แต่ขณะเดียวกันการเมืองการปกครอง ก็เป็นทางมาของบุญใหญ่อย่างยากจะหาเกมใดเสมอเหมือน เพราะเมื่อจิตคิดบริหารบ้านเมืองโดยมุ่งประโยชน์แก่ประชาชนในแผ่นดินอย่างแท้จริง เกมการเมืองก็ได้ชื่อว่าเป็นกำเนิดแห่งกุศลดวงใหญ่ปานพระอาทิตย์ทีเดียว

สำหรับเกมชีวิตที่ทุกคนนึกว่าเป็นเกมใหญ่สุด เพราะมองชีวิตโดยรวมว่าเป็นเกมเอาตัวรอด ก็ต้องคำนึงว่าวิธีเอาตัวรอดของแต่ละคนนั้น อาจไปเบียดเบียนใครบางคน รวมทั้งอาจต้องแกล้งลืมมโนธรรมที่ติดตัวมาแต่เกิด เพราะความอยู่รอดของตนและพวกพ้องต้องมาก่อนความถูกต้องชนิดไหนๆ ฉะนั้นเกมชีวิตที่มีแต่คำว่า ‘เอาตัวรอด’ ย่อมเป็นทางมาของบาปอกุศลเหนือเกมอื่นใด ในทางตรงข้าม หากคิดถึงความอยู่รอดของคนอื่นพอๆ กันหรือมากกว่าความอยู่รอดของตัวเอง ก็ย่อมเป็นทางมาของบุญกุศลเหนือเกมอื่นใดด้วย

ความไม่รู้จักเกมกรรม

ถามว่าความผิดจากการเล่นเกมหนึ่งๆนั้นเกิดขึ้นจากอะไรได้บ้าง คำตอบหลักๆ มีอยู่ ๓ ข้อคือ

๑) ตั้งใจผิดกติกา

๒) เผลอผิดกติกา

๓) ไม่รู้กฎกติกา

หากถามอีกว่าความผิดแบบใดในสามข้อข้างต้นถือว่าร้ายแรงที่สุด ประสามนุษย์ย่อมตอบว่าข้อแรกคือ ‘ตั้งใจผิดกติกา’ น่าจะเลวสุด แล้วตัดสินให้ข้อสุดท้ายคือ ‘ไม่รู้กฎกติกา’ น่าติเตียนน้อยกว่าเพื่อน แต่โดยการตัดสินของธรรมชาติแล้ว การไม่รู้กฎกติกามีความร้ายแรงที่สุด ทั้งนี้เพราะผู้ตั้งใจละเมิดกติกาอาจสำนึกผิด คิดเล่นตามกฎได้ใหม่ แต่ผู้ไม่รู้กระทั่งว่ากำลังเล่นเกมอยู่ และไม่รู้ว่ากติกาของเกมเป็นอย่างไร ย่อมไม่อาจทราบว่าควรหรือไม่ควรสำนึกผิด เมื่อรับรางวัลหรือถูกลงโทษก็งงๆ ว่าทำไมตนถึงต้องมีชะตากรรมที่แตกต่างจากคนอื่นอย่างนั้น

เมื่อทุกคนถูกล่อใจให้เล่นเกมอื่นๆ โดยไม่ตระหนักว่ากำลังเล่นเกมกรรมอันเป็นเกมใหญ่สุด ผลคือทุกคนดีแต่กระเสือกกระสนเอาแพ้เอาชนะในเกมอื่น ทว่าสำหรับเกมกรรมกลับไม่สนใจ แม้ปีท้ายๆของชีวิตที่ใกล้หมดเวลาแข่งขัน ก็ไม่สนว่าจวนแพ้หรือจวนชนะเอาเลย

บทต่อๆ ไปจะแสดงข้อพิสูจน์ให้เห็นว่าคุณกำลังอยู่ในเกมกรรมจริงๆ รวมทั้งแนะแนววิธีเล่นเพื่อไปสู่ความมีชีวิตที่คิดไม่ถึงด้วย



ที่มา : หนังสือ มีชีวิตที่คิดไม่ถึง ของ ดังตฤณ
http://dhammathai.org/news/view.php?No=65
 
ไลลารินทร์
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 14 ก.ค. 2006
ตอบ: 64

ตอบตอบเมื่อ: 16 มี.ค.2007, 3:14 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ
 

_________________
เชื่อ ศรัทธา และเคารพพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ด้วยหัวใจอย่างไม่มีข้อกังขาใดๆ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวYahoo Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง