Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ขอเชิญสร้างปัญญาบารมี...ตอนที่ ๑ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
พี่ดอกแก้ว
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 07 มิ.ย. 2004
ตอบ: 118

ตอบตอบเมื่อ: 09 พ.ย.2004, 10:00 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เกริ่นนำ



เมื่อพูดถึงคำว่า “ชีวิต” ทุกคนจะมีความเข้าใจในภาพรวมว่าเป็นสิ่งที่ยังไม่ตาย ได้แก่ คน สัตว์ และพืชที่ยังคงสภาพในการทำงาน การเคลื่อนไหว การให้ผลผลิต การกินอาหาร การขับถ่าย การหายใจ การเจริญเติบโต และการสืบพันธุ์

พระพุทธศาสนาได้ให้ความหมายของคำว่า ชีวิต ไว้หลายประการ เช่น ชีวิต หมายถึง ความเป็นอยู่ ความมีอยู่ของอายุ ไออุ่นและวิญญาณ อัตภาพ เป็นตัวตน ความมีเบญจขันธ์(ขันธ์ 5) เป็นต้น



สภาพของชีวิตเป็นธรรมชาติที่ต้องประกอบไปด้วยสิ่งต่างๆหลายประการมาประชุมกัน ไม่มีตัวตนแท้ๆให้ถูกต้องสัมผัส เพราะเมื่อแยกส่วนประกอบต่างๆ ออกจากกันแล้วก็จะไม่ปรากฏสภาพความมีชีวิตในลักษณะของคนหรือสัตว์เลย องค์ประกอบของชีวิตมีอยู่ห้าประเภท หรือขันธ์ 5 โดยสรุปแล้ว ชีวิต หมายถึง ความเป็นอยู่ของสิ่งที่มีองค์ประกอบสองส่วน คือกายและใจ





ส่วนประกอบของชีวิต



ส่วนประกอบของชีวิตมีสองประการใหญ่ คือ รูปธรรมและนามธรรม หรือ ขันธ์ห้า ได้แก่ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้





2.1 รูปขันธ์ หมายถึง ร่างกายและพฤติกรรมทั้งหมดของร่างกาย เป็นธรรมชาติที่เกิดขึ้นจากสมุฏฐานกรรม จิต อุตุ และอาหาร ที่จะต้องแตกดับหรือเสื่อมไปได้ด้วยอำนาจของความร้อนและเย็น



2.2 เวทนาขันธ์ หมายถึง ความรู้สึกสบาย ความรู้สึกไม่สบาย และความรู้สึกเฉยๆ



2.3 สัญญาขันธ์ หมายถึง ความจำได้ในสิ่งต่างๆ



2.4 สังขารขันธ์ หมายถึง สภาพที่ปรุงแต่งใจให้เกิดความรู้สึกนึกคิด จินตนาการทั้งหลาย



2.5 วิญญาณขันธ์ หมายถึง จิต คือนามธรรมที่มีหน้าที่รู้อารมณ์ที่เกิดขึ้นตามทวารต่างๆ




เงื่อนไขของชีวิต



เงื่อนไขของชีวิตคือ ธรรมชาติที่อิงอาศัยกันเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปรากฏการณ์ใด ๆ ของโลกและชีวิตมีเหตุทำให้เกิดขึ้น มีปัจจัยเป็นตัวสนับสนุนเหตุนั้นให้เจริญและตั้งมั่นอยู่ได้ โดยดำเนินไปได้ตามแบบแผนที่พึงจะเป็น ชีวิตเป็นไปตามเงื่อนไขของเหตุผล การศึกษาถึงเงื่อนไขของชีวิต ก็คือการศึกษาให้เข้าใจหลักธรรมที่เรียกว่า ปฏิจสมุปบาท



พระพุทธองค์กล่าวถึงหลักทั่วไปของความสัมพันธ์ไว้ว่า



เมื่อสิ่งนี้มี…....สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น…..สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น



เมื่อสิ่งนี้ไม่มี…..สิ่งนี้ก็ไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับไป…...สิ่งนี้ก็ดับ (ด้วย)



ปฏิจจสมุปบาท หมายถึง หลักการที่ว่าด้วย ระบบการกำเนิดแห่งชีวิต เป็นธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นพร้อม หรือธรรมที่เป็น เหตุให้เกิดผล ต่อเนื่องกันไม่ขาดสาย จึงทำให้สัตว์โลกทั้งหลายต้องมีการเวียนว่ายตายเกิด ประกอบด้วยองค์ 12 ประการ

 

_________________
เป็นประธานมูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
พี่ดอกแก้ว
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 07 มิ.ย. 2004
ตอบ: 118

ตอบตอบเมื่อ: 09 พ.ย.2004, 10:03 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เป็นวงจรปฏิจจสมุปบาท ที่ไม่มีจุดเริ่มต้นที่แน่นอน ทุกปัจจัยล้วนเป็นจุดเริ่มต้นแก่การเกิดได้ทั้งสิ้น แต่โดยเหตุผลแล้วนิยมเลือกอวิชชาเป็นจุดเริ่มต้น เพราะง่ายแก่การอธิบายให้เข้าใจตลอดกระบวน การ (ของการเกิด) ได้



ความเข้าใจถึงหลักสำคัญนี้ จะสามารถคลายเงื่อนไขของชีวิต ที่ต้องหมุนเวียนตาย-เกิดโดยไม่รู้จบ นั่นคือ เป็นผู้มี ดวงตาเห็นธรรม ตามเป้าหมายของพุทธธรรม ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า



“ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นย่อมเห็นธรรม



ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นย่อมเห็นปฏิจจสมุปบาท”




ผลของปฎิจจสมุปบาท ทำให้เห็นว่า ชีวิตที่ไม่รู้ความเป็นจริง (อวิชชา) ตามกฎธรรมชาติจะสร้าง ความเป็น “ตัวตน” ขึ้นมา สร้างอารมณ์ต่างๆ ขึ้นมาปรุงแต่งโลกในความคิดของตน สามารถทำลาย ความ เห็นที่ว่าสิ่งต่าง ๆ นั้น มีสภาพเที่ยง เช่นเกิดเป็นคนนั้นเมื่อตายไปก็ไปเป็นคน ๆ นั้นอีกเป็นต้น และสามารถทำลาย ความเห็นที่ว่าสรรพสิ่งเป็นสภาพขาดสูญ เช่นบาปบุญคุณโทษไม่มีผล เป็นต้น
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
พี่ดอกแก้ว
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 07 มิ.ย. 2004
ตอบ: 118

ตอบตอบเมื่อ: 09 พ.ย.2004, 10:07 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ความหมายของกรรม



คำว่า “กรรม” แปลตามศัพท์ว่า การงาน หรือการกระทำ



ภาษาทางธรรม หมายถึง การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา



หรือ การกระทำที่เป็นไปด้วยความจงใจ และเจตนาหรือ เจตจำนง ความจงใจ ความมุ่งหมายที่จะกระทำ เป็นตัวกำหนดทิศทางแห่งการกระทำทั้งหมดของมนุษย์ บุคคลจงใจแล้วจึงกระทำด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ





เมื่อรับกระทบอารมณ์ทางทวารทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กายแล้ว

สภาพที่ปรุงแต่งจิต เป็นความชอบ ความชังนั้น



ประกอบด้วยเจตนาเป็นตัวนำ ปรุงแต่งให้จิตดี หรือชั่ว



และมีการแสดงออกมาทางกาย วาจา ใจ



ในอีกแง่หนึ่ง หมายถึง การกระทำที่แสดงออกทางกาย วาจา และใจ ซึ่งอาจมีได้ทั้งฝ่ายดี และฝ่ายไม่ดี ฝ่ายดี ได้แก่ กายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ส่วนฝ่ายไม่ดี ได้แก่ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต



กรรมฐาน เป็นคำเรียกโดยรวมในหมวดของการปฏิบัติธรรมประเภทหนึ่งในพระพุทธศาสนา หมวดกรรมฐานคือ การงานที่เป็นเหตุแห่งการบรรลุคุณวิเศษชื่อว่า “กรรมฐาน”



การฝึกกรรมฐานเป็นการกระทำกุศลกรรมทางใจประเภทหนึ่ง ต่างจากกรรมทั่วไป ตรงที่จุดหมายการกระทำเป็นไปเพื่อความสิ้นภพชาติ สิ้นทุกข์ ไม่ต้องไปเกิดในแหล่งกำเนิดใดอีก เนื่องจากจิตต้องอาศัย อารมณ์จึงเกิดขึ้นได้ และธรรมชาติของจิตมีความxxxส่ายไปตามอารมณ์ ไม่อาจหยุดนิ่งเพื่อการพิจารณาแม้เพียงชั่วครู่ จึงจำเป็นต้องใช้ อุบายบางอย่างเพื่อลดความxxxส่าย โดยหาสิ่งที่ไม่เป็นโทษให้จิตอิงอยู่ อุบายที่ว่านี้คือ ที่มาของกิจกรรมที่เรียกว่า กรรมฐาน



อุบายดังกล่าวแยกออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่



ก. อุบายสงบใจ กล่าวคือ อาศัยวิธีการท่องถ้อยคำบางอย่างซ้ำ ๆ กัน และบังคับตนเองในลักษณะการสร้างแนวคิดเกี่ยวกับคำนั้น สิ่งที่เราสร้างขึ้นไม่ว่าจะเป็นแนวคิด ความคิด หรือภาพพจน์ของคำ ๆ นั้น ล้วนเป็นองค์ประกอบของความสงบที่เรียกว่า สมถกรรมฐาน



ข. อุบายเรืองปัญญา อาศัยความรู้สึกตัวที่มีอยู่ รู้ถึงการสัมผัสทางทวารทั้ง 6 รู้ถึงปรากฏการณ์ทางจิตขณะร่างกายมีการกระทบสิ่งเร้า เฝ้าติดตามการรับรู้นี้ด้วยความตั้งใจ เมื่อมีความตั้งใจอยู่ที่การรับกระทบ ความคิดต่าง ๆ ก็จะถูกตัดออกไป จนไม่สามารถสอดแทรกเข้ามาได้ ไม่เปิดโอกาสให้มีการก่อตัวของแนวคิด ภาพลักษณ์ หรือความคิดใด ๆ เกิดตามมา เท่ากับเป็นการรู้เท่าทันกระบวนการที่เกิดขึ้นโดยตรงในทันทีที่เกิดขึ้น จึงไม่เกิดการบิดผันใด ๆ ทางด้านความคิด นี้คือส่วนของกิจกรรมที่เรียกว่า วิปัสสนากรรมฐาน





สมถกรรมฐาน คือ การฝึกจิตให้สงบเป็นสมาธิระดับต่าง ๆ ถึงขั้นรูปปัญจมฌานและอรูปฌาณ จนสามารถเข้าออกฌานได้อย่างคล่องแคล่ว เกิดอำนาจจิตที่มีความสามารถในการรับรู้ขั้นพิเศษเหนือประสาทสัมผัสทั้ง 5 ธรรมดา ที่เรียกว่า อภิญญาจิตแล้วอธิษฐานให้เกิดฤทธิ์ต่าง ๆ ได้ตามสมควรแก่การฝึก สามารถหยั่งรู้ถึงจุติ ปฏิสนธิ และการเวียนว่ายตายเกิดที่ผ่านมาของสัตว์ได้ เป็นการพิสูจน์การเวียนว่ายตายเกิด จากการประจักษ์แจ้งด้วยตนเอง ไม่ใช่จินตนาการหรืออาศัยผู้อื่นพาไป



วิปัสสนากรรมฐาน อาศัยการฝึกจิตให้รู้เท่าทันการเกิดขึ้นของอารมณ์ ความรู้สึก และการตอบสนองทางทวารทั้ง 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ตลอดจนเหตุปัจจัยของการเกิดขึ้น ความสิ้นสุดของอารมณ์ ของความรู้สึกและการตอบสนองดังกล่าว เกิดญาณปัญญาเป็นลำดับตั้งแต่ นาม-รูปปริจเฉทญาณ ปัจจัยปริคหญาณ สัมมสนญาณ จนถึงอุทยัพพยญาณ คือ ญาณหยั่งรู้การเกิดดับของนามรูปอย่างแท้จริง



ผู้เจริญวิปัสสนากรรมฐานจนถึงขั้นอุทยัพพยญาณนี้ จะหมดความสงสัยในเรื่องขบวนการสืบต่อภพชาติว่าเป็นไปได้อย่างไร ความซับซ้อนในการให้ผลของกรรมจะเกิดขึ้นและจบลงเพราะอะไร มีความเข้าใจถูกต้องว่า อดีตนามรูปของตนมีเหตุปัจจัยมาจากสิ่งใด ปัจจุบันได้สร้างเหตุปัจจัยที่จะทำให้นามรูปมีความเป็นไปในภพชาติหน้าอย่างไรบ้าง เป็นผู้มีความมั่นคงในพระรัตนตรัยโดยแท้



ชีวิตเกี่ยวข้องกับการสมมุติ หรือ สิ่งที่บัญญัติขึ้นมา ความจริงของชีวิตย่อมเกี่ยวเนื่องกับสภาพการอิงอาศัยกันของนามกับรูป การพิจารณาถึงสภาวะความจริงของชีวิต เริ่มตรงที่การพิจารณานาม-รูปนี้เป็นเบื้องต้น

ในตอนต่อๆไป จะเป็นการเสนอความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับนาม-รูป หรือ จิต-เจตสิกซึ่งเป็นนามธรรม และรูป



ความรู้พื้นฐานนี้ จะช่วยให้เราเข้าใจสภาวะที่แท้ของชีวิต คลายจากความเห็นผิด ว่าชีวิตมีตัวตนเที่ยงแท้ถาวร มีสาระ ดลบันดาลได้ อันเป็นเหตุของการเวียนว่ายตายเกิดอย่างไม่รู้สิ้นสุด



ในตอนสุดท้าย เป็นการเสนอวิธีการเจริญสติปัฏฐาน และวิธีปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเบื้องต้นจุดมุ่ง หมายเพื่ออนุเคราะห์แก่พุทธศาสนิกชน ที่สนใจปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานได้รับความรู้ความเข้าใจถูกตรง และสามารถนำไปปฏิบัติได้ในชีวิตประจำวัน





ด้วยความปรารถนาดีค่ะ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เด็กบ้านยางสีสุราช
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 05 มิ.ย. 2004
ตอบ: 305

ตอบตอบเมื่อ: 09 พ.ย.2004, 9:40 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน













อนุโมทนานำแหน่ครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
สำเร็จ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 09 พ.ย.2004, 11:52 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณพี่ดอกแก้วแสดงอภิธรรมได้ถูกต้อง...แม่นยำ

เป็นการแสดงที่มีประโยชน์...เป็นเรื่องจริง..มีสภาวะรองรับ

แสดงเป็นลำดับ แสดงด้วยความเมตตา ไม่กระทบตนและผู้อื่น

ไม่มีผลประโยชน์แอบแฝง ...



ขอให้แสดงธรรมอย่างนี้ไปเรื่อยๆครับ....จะช่วยให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง

อ่านแล้วก็ขอกล่าวสาธุการว่า...สาธุ...ซึ่งแปลว่า...ดีแล้ว...อีกคนหนึ่ง



สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง



ท่านกำลังทำสิ่งที่สมควรยินดี...ครับ















 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง