Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 จิตสำนึกของสังคมไทย : พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ก้อนดิน
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 07 ก.ค. 2004
ตอบ: 623

ตอบตอบเมื่อ: 10 ม.ค. 2007, 11:14 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

จิตสำนึกของสังคมไทย
โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ก้อนดิน
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 07 ก.ค. 2004
ตอบ: 623

ตอบตอบเมื่อ: 10 ม.ค. 2007, 11:17 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

จิตสำนึกของสังคมไทย

เวลานี้เราก็รู้กันอยู่แล้วว่า สังคมมนุษย์ทั้งหมด รวมทั้งสังคมไทยของเราด้วย มีปัญหามากมายเพียงไร โลกได้พัฒนาไปก้าวไกล แต่เจริญเพียงในทางวัตถุ และเมื่อเจริญกันไปมากมายอย่างนี้แล้ว ความเสื่อมโทรมก็ได้ปรากฏขึ้นอย่างมากมายกว้างขวางทั่วทั้งโลก

ประเทศที่พัฒนาแล้ว แทนที่จะพ้นจากปัญหา กลับมีปัญหาอีกด้านหนึ่งเพิ่มขึ้นมากมาย และปัญหานั้นก็มีทั้งด้านชีวิตของมนุษย์เอง ด้านสังคม และด้านธรรมชาติแวดล้อม

เวลานี้ เรากำลังพูดกันมากถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมว่า ธรรมชาติเสื่อมโทรม ทรัพยากรธรรมชาติหมดเปลืองไป สิ่งแวดล้อมเสีย อากาศเสีย ดินเสีย น้ำเสีย และมีภัยอันตรายต่างๆ มากมาย ที่กำลังรุมล้อมเข้ามา จากการที่ธรรมชาติเสื่อมโทรมนั้น โดยเฉพาะสำหรับคนในกรุงเทพฯ นี้ ก็เห็นได้ชัดในเรื่องอากาศเสีย ว่ามีพิษมีภัยอันตรายอย่างไรบ้าง

การเดินทาง การที่จะทำมาหาเลี้ยงชีพ ก็ติดขัดอึดอัดไม่สบาย ชีวิตก็ไม่ปลอดภัย เพราะเมื่อธรรมชาติแวดล้อมเสีย ก็ส่งผลมาถึงแม้แต่อาหารการกิน ซึ่งอาจจะมีสารเคมีเจือปน มีการปรุงสรร แต่งรส แต่งสี อะไรต่างๆ ด้วยจิตใจที่โลภเห็นแก่ผลประโยชน์ แล้วส่งผลร้ายมาเป็นพิษเป็นภัยแก่ชีวิตของเพื่อนมนุษย์

ชีวิตมนุษย์ที่อยู่ในความเจริญ ใช่ว่าจะมีความสุขกันจริง ทางกาย สุขภาพก็เสื่อมโทรม โรคภัยไข้เจ็บบางอย่างรักษาได้จริง แต่เดี๋ยวนี้โรคภัยไข้เจ็บบางอย่างกลับมีอันตรายรุนแรงยิ่งขึ้น แถมยังเกิดมีโรคแห่งความเจริญ หรือโรคแห่งอารยธรรมขึ้นมาอีก

เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันจุกในเส้นเลือด โรคจำพวกนี้ซึ่งไม่ค่อยมีในยุคสมัยก่อน กลับมาปรากฏมากในยุคปัจจุบัน จนมาถึงโรคเอดส์ ซึ่งกำลังคุกคามต่อสวัสดิภาพของประชาชนทั้งโลก

ยิ่งกว่านั้น คนที่อยู่ในสภาพสังคมอย่างนี้ ก็ปรากฏว่ามีจิตใจที่คับเครียด มีปัญหาทางจิต เป็นโรคจิตมาก ฆ่าตัวตายมาก

คนจำนวนมากหาทางออกทางจิตใจให้ตัวเองไม่ได้ ก็ไประบายทุกข์แก่สังคม ไปออกในทางยาเสพติด ก่ออาชญากรรม มีการฆ่ากันตายมาก

ปัญหาสังคมต่างๆ เหล่านี้รุมล้อมหมู่มนุษย์ทั่วไปหมด ทั่วทั้งโลกขณะนี้กำลังประสบกับปัญหาอย่างนี้ จนถึงกับพูดกันว่า มนุษยชาตินี้จะต้องพินาศหรือไม่ อารยธรรมของมนุษย์จะถึงจุดอวสานหรืออย่างไร

ท่ามกลางความเสื่อมโทรมต่างๆ และปัญหาที่ระดมรุมล้อมทั่วโลกนั้น ก็ปรากฏว่า สังคมไทยของเรานี้กลับมาเด่นเป็นพิเศษในเรื่องความเสื่อมโทรมเหล่านี้ มีปัญหาขึ้นหน้าขึ้นตากว่าประเทศทั้งหลายในโลก

ไม่ว่าจะพูดถึงปัญหาอะไรก็ตามในโลกยุคปัจจุบันนี้ ที่ถือว่าเป็นความเลวร้าย ประเทศไทยจะมีชื่อเด่นมากในเรื่องที่เลวร้ายเหล่านั้น

เวลาเขาประกาศข่าววิทยุ หรือมีบทความในวิทยุต่างประเทศ พอพูดถึงโรคเอดส์ ก็จะมีชื่อประเทศไทยขึ้นมา และมักจะขึ้นนำเขาด้วย เวลาพูดถึงปัญหาโสเภณี ชื่อประเทศไทยก็ขึ้นมาเด่น จนกระทั่งเขายกเอาเป็นตัวอย่างสำหรับบรรยายปัญหา

หรือในเรื่องยาเสพติด ประเทศไทยก็มีชื่อดัง ทั้งในเรื่องที่เป็นแหล่งผลิต ทั้งในแง่ที่เป็นผู้ลักลอบนำยาเสพติดเข้าประเทศอื่น มีขบวนการค้ายาเสพติด การฆ่ากันตายก็มีสถิติสูง จราจรก็ติดขัดมากที่สุดประเทศหนึ่ง อากาศเสียก็มากกว่าประเทศอื่นส่วนมาก ป่าก็จะหมด ทั้งหมดนี้ไทยมักเข้าไปอยู่ในรายชื่อในฐานะเป็นประเทศที่เป็นผู้นำ

จนกระทั่งแม้แต่ในครอบครัว พ่อแม่ก็ขายลูกสาวไปเป็นโสเภณี ซึ่งเป็นความเสื่อมโทรมชนิดที่ประเทศไทยไม่น่าจะเป็นไป แต่ก็ได้ไปเป็นผู้นำอันดับสูงๆ ในเรื่องของความเลวร้าย และปัญหาที่ไม่ดีเหล่านั้น

ยังพอจำได้ครั้งหนึ่งวิทยุ Voice of America หรือเสียงอเมริกา (V.O.A.) ออกอากาศบทความเรื่อง "* Trade" คือการค้าขายทางเพศ หรือ "ค้ากาม" ก็ขึ้นชื่อประเทศไทยเด่น

เขายกแต่เรื่องประเทศไทยขึ้นมาพูด ว่าประเทศไทยมีการขายเด็กไปเป็นโสเภณี ส่วนมากอายุต่ำกว่า ๑๘ เป็นศูนย์กลางการค้าโสเภณี เด็กหญิงพม่าเข้ามาในไทยปีละไม่ต่ำกว่าหมื่น อะไรต่างๆ เหล่านี้

หวนนึกไปถึงที่คนไทยเราตื่นเต้นกับข่าวหนังสือพิมพ์ที่ลงกัน แล้วคนไทยก็ด่าฝรั่งกันเป็นการใหญ่ คือการที่ Dictionary ของ Longman ได้ลงคำจำกัดความ Bangkok ว่าเป็นเมืองที่มีโสเภณีมาก หรือจะเป็นคำว่า Thailand อาตมาก็จำไม่แม่น

คนไทยเราโกรธแค้น ด่าฝรั่งเป็นการใหญ่ แล้วก็ดิ้นรน ต่อสู้ รณรงค์ ให้เขาแก้ไข อย่างน้อยก็ให้เขาถอนหนังสือนี้ออกไปจากตลาดในเมืองไทย ก็ว่ากันอยู่นาน

แต่เท่าที่มองดู ก็วุ่นกันแต่ในเรื่องของการที่จะไปด่าไปว่าเขา แล้วก็ไม่ค่อยสำรวจมองดูตัวเอง และไม่คิดว่าเราจะใช้ประโยชน์จากการที่เขาว่านี้อย่างไรบ้าง เราน่าจะคิดหาทางถือเอาประโยชน์ให้ได้ว่า เออ เราจะปรับปรุงภาพของประเทศไทยในสายตาของชาวโลกอย่างไร

การที่เขาว่าอย่างนั้น ก็แสดงว่า ภาพของประเทศของเราในสายตาของสังคมโลกนั้นมันไม่ดีแล้ว นี่เราได้แต่มัวไปกระทบกระทั่งใจ แล้วก็ไปโกรธไปด่าเขาอยู่ แทนที่จะเอาทั้งสองอย่าง

โกรธเขาแล้วจะไปว่าเขา ก็ส่วนหนึ่ง แต่สิ่งที่ต้องทำอย่างสำคัญ ก็คือ จะต้องหันมาดูตัวเอง พิจารณาตัวเอง แล้วก็ปรับปรุงแก้ไข ไม่ให้ภาพนี้ปรากฏอีกต่อไป

แม้แต่การที่ไปโกรธเขานั้น ก็ปรากฏว่าเป็นไปแค่พักเดียว เสร็จแล้วไม่นานก็หายเงียบไป ไม่ได้เอาจริงเอาจังสักอย่าง จะแก้ไขสังคมก็ไม่มี



(มีต่อ ๑)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ก้อนดิน
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 07 ก.ค. 2004
ตอบ: 623

ตอบตอบเมื่อ: 10 ม.ค. 2007, 11:24 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

หลังจากที่เงียบกันไป อาตมภาพได้ลองพูดดูบ้าง เพราะที่จริง เรื่องอย่างนี้ไม่ได้มีเฉพาะใน Longman"s Dictionary เท่านั้นหรอก ใน Oxford Illustrated Encyclopaedia คือสารานุกรมของ Oxford ซึ่งมีภาพสีประกอบ ก็ลงอย่างนี้

คือในหัวข้อ "prostitution" เรื่องโสเภณี เขาลงประเทศไทยเป็นตัวอย่างสำหรับบรรยายเรื่อง ลงเสียเด่นเลย แล้วแถมยังลงภาพผู้หญิงอะไร ที่กำลังเต้นอยู่ในบาร์ที่พัฒน์พงศ์ด้วย แล้วก็มีคำบรรยายใต้ภาพ บอกว่าในเมืองไทยนี้ ผู้หญิงจนๆ ต้องมาเข้าสู่อาชีพโสเภณีมากมาย แล้วก็ได้เงินรายได้มากกว่าอาชีพอื่น เช่น มากกว่าการก่อสร้าง เป็นต้น ถึงสิบเท่าตัว

พอยกเรื่องขึ้นมาพูดตอนนี้ เขาซากันไป เขาไม่สนใจแล้ว เอ ทำไมเป็นอย่างนี้ ทำไม เราสนใจไม่จริงจัง เหมือนไฟไหม้ฟาง เราพูดขึ้นมาตอนนี้เขาเฉยๆ เพราะว่าได้แสดงความโกรธออกไปแล้ว ไม่ต้องทำอะไรอีก หายโกรธสบายแล้ว ก็เลยเงียบกันไปหมด

อันนี้ก็เป็นเรื่องที่น่าพิจารณา สังคมไทยของเราเป็นอย่างไร เวลานี้ วิทยุฝรั่ง ลองฟังเถิด ถ้าพูดถึงเรื่องเสียๆ หายๆ ชื่อของ ประเทศไทยจะขึ้นมาเรื่อยๆ ซึ่งเราจะต้องวิเคราะห์ ว่ามันเป็นอย่างนี้เพราะอะไร

เมื่อดูกันไป สังคมไทยเวลานี้ค่อนข้างจะเป็นสังคมที่มีความสับสน คนไทยมีความพร่า ไม่ค่อยมีหลักยึดที่ชัดเจน

แต่ละคนๆ ก็ยุ่งอยู่กับการหาผลประโยชน์ใส่ตัว ไม่คิดคำนึงถึงปัญหาของส่วนรวม ไม่คิดสร้างสรรค์สังคมกันอย่างจริงจัง ใจที่จะร่วมกันคิดสร้างสรรค์สังคมให้ก้าวสูงขึ้นไปสู่ความดีงามอะไรต่างๆ นี้ไม่ค่อยมี แต่ละคนก็คิดว่าตัวจะได้อะไรต่อไป ก็คิดกันไปแต่อย่างนี้


จะเอาวิธีของฝรั่งมาใช้
ก็เจาะจับเอาของจริงมาไม่ได้


แม้แต่ในการที่คิดจะสร้างสรรค์ความเจริญให้ประเทศพัฒนาทางวัตถุนั้น เราก็คิดว่าเรานี้สร้างความเจริญแบบตะวันตก เราแสดงออกจนกระทั่งเห็นกันชัดเจนว่า เรามีค่านิยมที่ตามวัฒนธรรมตะวันตก

แต่พอเอาเข้าจริง แม้แต่เรื่องวัฒนธรรมตะวันตกนั้นเราก็ไม่รู้จริง เราไม่มีความเข้าใจจริงแม้แต่วัฒนธรรมตะวันตกที่เราไปนิยมนั้นด้วย แล้วอย่างนี้เราจะมีอะไรชัดเจนกับตัวเองบ้าง ตัวเองก็ไม่รู้จัก เรื่องของเขาที่ตัวไปตามก็ไม่รู้จริง

เวลาจะรับอะไรก็รับเอาแต่รูปแบบ ขาดอุดมการณ์ ขาดความเข้าใจในเนื้อหาสาระ เช่น วิธีการประชุม เราก็รับเอาแบบจากสังคมตะวันตกมา แต่พอประชุมเข้าจริง จะเห็นว่า คนไทยประชุมกับฝรั่งประชุม ไม่เหมือนกัน

ในการประชุมพิจารณาปัญหาต่างๆ ของฝรั่งนั้น เขาอาจจะเถียงกันหน้าดำหน้าแดง แต่เสร็จแล้ว เขาก็ยังคงอยู่ในแนวของการประชุมเพื่อวัตถุประสงค์ที่มุ่งหมาย

แต่การประชุมของคนไทยนี้มีปัญหามาก เราจะออกนอกเรื่อง จะมาสู่เรื่องส่วนตัว และจะทะเลาะกัน แล้วก็กลายมาเป็นเรื่องของการโกรธแค้นส่วนตัวไป ทำไมเป็นอย่างนี้ เราเคยวิเคราะห์ไหม

รูปแบบการประชุมเรานำมา แต่สิ่งที่นำมาไม่ได้ หรือมองไม่เห็น คือส่วนที่เป็นเนื้อหาสาระ

เนื้อหาสาระสำคัญอย่างหนึ่งซึ่งเป็นตัวแกน ก็คือคุณค่าในจิตใจ ได้แก่สภาพจิตที่จะดำเนินการประชุมอย่างนั้นยังไม่มี สภาพจิตอย่างไร คือภาวะจิตใจที่ใฝ่ปรารถนาต่อสิ่งที่เรียกว่าเป็นอุดมธรรม หรืออุดมการณ์

ในการประชุมที่จะดำเนินไปด้วยดีนั้น ทุกคนจะต้องมีความใฝ่ปรารถนาในจุดมุ่งหมายที่สูงสุดอะไรอย่างหนึ่ง คือต้องการเข้าถึงสิ่งนั้น

ถ้าคนเรามีความใฝ่ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่สูงสุดแล้ว ใจไปใฝ่รวมในที่เดียวกัน เมื่อทุกคนมุ่งสิ่งนั้นแล้ว สิ่งที่เป็นจุดมุ่งหมายนั้นจะมีความสำคัญเหนือตัวตนของแต่ละคน จนกระทั่งแต่ละคนยอมได้เพื่อเห็นแก่สิ่งนั้น

ธรรมดามนุษย์ปุถุชนทุกคน ไม่ว่าฝรั่ง ว่าไทย ว่าแขก ว่าจีน แต่ละคนก็มีความยึดถือในเรื่องตัวตนทั้งนั้น ไม่อยากจะให้มีอะไรมากระทบกระทั่งตัวตน เมื่อกระทบกระทั่งตัวตนก็มีความรู้สึกโกรธ มีความไม่พอใจ มีความเศร้าเสียใจ เป็นธรรมดา

แต่ในสังคมที่เขามีสาระของการประชุมอยู่ มีความใฝ่ปรารถนาในสิ่งที่ดีงามสูงสุด สิ่งดีงามสูงสุดที่ทุกคนใฝ่ปรารถนานั้นจะเป็นตัวสยบอัตตาของแต่ละคนได้ คือทุกคนเมื่อมุ่งหมายสิ่งที่สูงสุดอันนั้นแล้ว เมื่อยังไม่ถึงก็ไม่ยอมหยุด ใจก็จะมุ่งไปยังสิ่งนั้นอย่างเดียว แม้ตัวตนจะถูกกระทบกระทั่งก็เอาแหละ ก็ยอมได้ แม้จะเสียใจก็ต้องยอม เพราะว่าใจของเรามุ่งไปสู่สิ่งที่สำคัญเหนือกว่าและซึ่งเป็นสิ่งเดียวกันสำหรับทุกคน

แต่ถ้าสิ่งที่มุ่งหมายแท้จริง ซึ่งสำคัญเหนือกว่าตัวตนและความใฝ่ในตัวธรรมที่เป็นอุดมการณ์เป็นตัวหลักนี้ไม่มีแล้ว ตัวตนของแต่ละคนก็จะเด่นขึ้นมา เพราะฉะนั้น มันก็ต้องปะทะกระแทกกัน แล้วความสนใจก็เบี่ยงเบนออกมาจากจุดมุ่งหมายของการประชุม มาสู่การกระทบกระทั่งระหว่างกัน เป็นส่วนตัวไป อันนี้เป็นสิ่งสำคัญที่ขาดไป

ถ้าเราสร้างสรรค์สิ่งนี้ไม่ได้ เราก็จะได้แต่รูปแบบของวัฒนธรรมตะวันตกมา แต่เนื้อหาสาระจะไม่มี



(มีต่อ ๒)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ก้อนดิน
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 07 ก.ค. 2004
ตอบ: 623

ตอบตอบเมื่อ: 10 ม.ค. 2007, 11:27 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ในสังคมแต่ละสังคม ที่สร้างสรรค์ความสำเร็จขึ้นมาได้โดยมีการพัฒนาอย่างแท้จริงนั้น จะต้องมีจุดหมายอันสูงสุดอย่างหนึ่ง ที่ทุกคนมุ่งหมายใฝ่ปรารถนาและทำให้ทุกคนรวมใจเป็นอันเดียวกัน ซึ่งเมื่อยึดถือในสิ่งนี้แล้ว ตัวตนของแต่ละคนจะมีความสำคัญเป็นรอง เรียกได้ว่าเอาจุดหมายสูงสุดนี้มาสยบอัตตาของแต่ละคนได้

เพราะฉะนั้น เมื่อพูดถึงสิ่งนี้แล้วทุกคนจะยอม

ในบางประเทศ ก็อาจจะเอาลัทธิชาตินิยม คือเพื่อความยิ่งใหญ่ของชาติของเรา ไม่ว่าจะมีอะไรมากระทบกระทั่งตัวตนของแต่ละคน ทุกคนก็ยอมได้

ในบางประเทศ ก็อาจจะเอาพระผู้เป็นเจ้ามาสยบอัตตาของแต่ละคนได้

ในพระพุทธศาสนาก็มีธรรม คือความจริง ความถูกต้องดีงาม เป็นจุดหมายสูงสุด

เพราะฉะนั้น จึงมีหลักการสำคัญที่สอนว่า ให้เป็นธรรมาธิปไตย ทุกคนต้องถือธรรมเป็นใหญ่ ทุกคนต้องใฝ่ธรรม ต้องถือธรรมเป็นบรรทัดฐาน และเพียรพยายามมุ่งที่จะเข้าให้ถึงธรรม ถ้ายังไม่ถึงธรรม คือความจริง ความถูกต้องดีงามแล้ว ก็ไม่ยอมหยุด เพราะจุดหมายยังไม่บรรลุ ทุกคนจะยอมได้เพื่อเห็นแก่ธรรม

ถ้าทำได้อย่างนี้ สาระของระบบและรูปแบบต่างๆ เช่น การประชุมเป็นต้นก็จะมี แต่เวลานี้สังคมไทยเรามีไหม สิ่งที่เป็นจุดรวมใจอันนี้ ที่เป็นจุดหมายอันสูงสุดไม่มี เพราะฉะนั้น แต่ละคน พอเข้าที่ประชุมก็มุ่งไปที่ตัวเอง อัตตาของแต่ละคนก็ใหญ่ขึ้นมา แล้วก็ออกมากระทบกระทั่งกัน ในการประชุมจึงมีการถกเถียงที่ออกนอกลู่นอกทางไปเรื่อย และเกิดเรื่องส่วนตัวเป็นปัญหาอยู่เป็นประจำ

เพราะฉะนั้น การที่เรารับเอารูปแบบของวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาโดยไม่มีเนื้อหาสาระนี้ จึงเป็นปัญหาสำคัญของสังคมไทย ที่เราจะต้องพยายามคิดแก้ไขให้ได้ อย่างที่กล่าวแล้ว

ในที่นี้ขอเน้นเรื่องการไม่เข้าใจสังคมตะวันตกจริง มีความรู้ผิวเผิน มองแค่รูปแบบ เห็นแต่เปลือกภายนอก แล้วก็รับเข้ามา

ยกตัวอย่าง แม้แต่การพัฒนาอุตสาหกรรมของตะวันตก เราก็มักจะมองไปว่า ตะวันตกได้พัฒนามาด้วยตัณหาและโลภะ

เราเข้าใจเขาผิดอย่างนั้น ทั้งๆ ที่ฝรั่งเขาก็พูดอยู่ปาวๆ ตำรับก็ว่า ตำราก็มี ว่าฝรั่งที่พัฒนาอุตสาหกรรมเจริญมาได้นี้เพราะอะไร ก็เพราะ work ethic คือ จริยธรรมในการทำงาน

ใน work ethic นั้น มีความสันโดษเป็นหลักการสำคัญอย่างหนึ่ง ความสันโดษนี้เมื่อมาโยงเข้ากับความขยันหมั่นเพียร โดยเป็นตัวเอื้อแก่อุตสาหะ ก็กลายเป็นรากฐานของการพัฒนาอุตสาหกรรม ทำให้ตะวันตกเจริญ

แต่มาบัดนี้ สังคมตะวันตก เช่น อย่างประเทศอเมริกานี้มีความพรั่งพร้อมฟุ่มเฟือยขึ้น ก็ได้เปลี่ยน (ตามที่เขาเองว่า) จากสังคมอุตสาหกรรมที่เป็นสังคมขยันขันแข็ง กลายไปเป็นสังคมบริโภค

คำว่า industry แปลว่า "อุตสาหะ" คือความขยัน อดทน ก็ได้แก่ความขยันหมั่นเพียรนั่นเอง

ที่ว่าเป็น industrial society ก็คือสังคมอุตสาหกรรม หรือสังคมแห่งความขยันหมั่นเพียร

ตะวันตกสร้างสังคมขึ้นมาได้ด้วย work ethic คือจริยธรรมในการทำงาน โดยมีความสันโดษเป็นฐานของอุตสาหะ หมายถึงการที่บรรพบุรุษของเขาไม่เห็นแก่การบำรุงบำเรอตนในเรื่องการเสพวัตถุเพื่อหาความสุข แต่ตั้งหน้าตั้งตาเพียรพยายามสร้างสรรค์ผลิตผลขึ้นมา ได้แล้วก็อดออม

เมื่อไม่เห็นแก่ความสุข ไม่บำเรอตนเอง ก็เอาผลผลิตนั้นไปทุ่มเป็นทุน คือเอาไปลงทุนทำงานต่อไป ด้วยเหตุนี้เขาจึงสร้างความเจริญแบบอุตสาหกรรมขึ้นมาได้

มาถึงปัจจุบันนี้ สังคมตะวันตกพ้นจากภาวะเป็นสังคมอุตสาหกรรม กลายมาเป็น postindustrial society (ผ่านพ้นหรือหลังยุคอุตสาหกรรม) และเป็น consumer society คือเป็นสังคมบริโภค

พอเป็นสังคมบริโภค ก็เห็นแก่กิน เห็นแก่เสพ เห็นแก่บริโภค แล้วก็เริ่มเสื่อม เวลานี้ในสังคมอเมริกันมีการวิเคราะห์ มีการทำงานวิจัย ที่แสดงผลออกมาว่า คนอเมริกันรุ่นใหม่เสื่อมจาก work ethic คือเสื่อมจากจริยธรรมในการทำงาน ขาดสันโดษ เห็นแก่การบริโภค ทำให้ความสามารถและประสิทธิภาพในการผลิตเสื่อมลง

คนไทยเรานึกว่าฝรั่งเจริญเพราะตัณหา แล้วไปปลุกเร้าให้คนมีความโลภ พร้อมกันนั้นก็มาติว่า พุทธศาสนาสอนให้มีความสันโดษ ทำให้คนไทยเราไม่สร้างสรรค์ความเจริญ

ที่จริงตัวเองจับจุดผิด ทำให้เราสร้างสรรค์ความเจริญไม่ถูกที่ พัฒนาไปแล้วเกิดปัญหามากมาย กลายเป็น ทันสมัยแต่ไม่พัฒนา


สันโดษนั้น พระพุทธเจ้าสอนไว้เพื่ออะไร
เราก็ไม่มีความชัดเจน


สันโดษ หมายถึงความพึงพอใจในวัตถุที่จะเอามาบำรุงบำเรอความสุขส่วนตัว ทำให้รู้จักอิ่มรู้จักพอต่อสิ่งเสพ จะได้ไม่ทุ่มเทแรงงานและความคิดไปในการแสวงหาวัตถุที่จะบำเรอตัวเองนั้น แล้วจะได้ออมเวลาแรงงานและความคิดไปใช้ในการทำหน้าที่ และในการสร้างสรรค์ทำสิ่งที่ดีงามเป็นประโยชน์

คนผู้ใดมีความสันโดษ คนผู้นั้นก็มีเวลามีแรงงานและมีความคิดเหลืออยู่ แล้วท่านก็ให้เอาเวลา แรงงาน และความคิดนั้นไปใช้ในการสร้างสรรค์ประโยชน์สุข ทำความดีงามต่อไป

เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงสอน ให้สันโดษในวัตถุบำเรอความสุข แต่ให้ไม่สันโดษในกุศลธรรม

เมื่อเราสันโดษในวัตถุบำรุงความสุข เราก็สามารถที่จะไม่สันโดษในกุศลธรรมได้เต็มที่ เพราะเรามีเวลา แรงงาน และความคิด ที่จะไปทุ่มให้แก่การที่จะสร้างสรรค์กุศลธรรม



(มีต่อ ๓)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ก้อนดิน
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 07 ก.ค. 2004
ตอบ: 623

ตอบตอบเมื่อ: 10 ม.ค. 2007, 11:32 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ธรรมะเหล่านี้ เราไม่มีความชัดเจน พร้อมกันนั้น ในเวลาที่เราไปรับเอาวัฒนธรรมตะวันตกมา แม้แต่จะพัฒนาอุตสาหกรรม เราก็ไปรับเอาแต่รูปแบบ แล้วก็เข้าใจผิด นึกว่าถ้ายั่วยุปลุกเร้าตัณหาให้ประชาชนมีความโลภแล้วจะพัฒนาประเทศได้

เมื่อพัฒนาไปในแนวทางของตัณหาอย่างนี้ คนก็มีแต่ความอยากได้ แต่ไม่อยากทำ

มองหาสิ่งที่จะเสพบริโภค แต่ไม่คิดที่จะประดิษฐ์คิดค้นหรือพยายามผลิตขึ้นมา

ในระบบตัณหานั้น คนไม่อยากทำงาน แต่ที่ทำก็เพราะจำเป็น เนื่องจากมีเงื่อนไขกำหนดว่าต้องทำจึงจะได้ ถ้าเลี่ยงได้ก็เลี่ยง เมื่อเลี่ยงไม่ได้ ก็จำใจทำไป หรือไม่ก็ทุจริต หรือไม่ก็หาทางได้ผลประโยชน์ทางลัด ทำให้มีการกู้หนี้ยืมสิน หรือลักขโมยเอาเงินมาเพื่อจะหาวัตถุสิ่งเสพให้ได้เร็วที่สุด โดยไม่ต้องทำงาน เมื่อเป็นอย่างนี้ ประเทศชาติจะเจริญได้อย่างไร


ดูของเขาก็ไม่เอาให้ชัด
ด้านของเราก็ห่างเมินจนพร่ามัว


อีกตัวอย่างหนึ่ง ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องศาสนา พอเห็นประเทศอเมริกามีการแยกระหว่าง church and state เห็นเขามีคติ separation of church and state ทั้งที่ไม่รู้ว่าภูมิหลังของเขาเป็นอย่างไร ก็นึกเอาง่ายๆ ว่า ประเทศอเมริกาเป็นผู้นำในทางประชาธิปไตย ตามคติของเขาศาสนากับรัฐต้องแยกจากกัน ไทยเราจะต้องเอาบ้าง เลยได้มาแต่รูปแบบ

คนไทยไม่รู้เหตุผลที่เป็นมาว่า ทำไมประเทศอเมริกาจึงต้องแยก church and state ทำไมรัฐกับศาสนาต้องแยกจากกัน

ที่จริงนั้น อเมริกาเขาแยกรัฐกับศาสนา เพราะมีปัญหาเรื่องแยกนิกายในศาสนาเดียวกัน คำว่า แยกรัฐกับศาสนา ความหมายของเขามุ่งไปที่นิกายต่างๆ เพราะในอเมริกานั้น แม้จะมีศาสนาใหญ่ศาสนาเดียว แต่ก็แยกเป็นหลายนิกาย แต่ละนิกายก็แก่งแย่งและระแวงกัน

ตอนที่อเมริกาจะตั้งประเทศนั้น ไม่ใช่เขาไม่เอาศาสนา เขาคิดมากทีเดียว เขาอยากจะเอาศาสนาขึ้นเป็นใหญ่ เพื่อช่วยประเทศชาติ แต่จะเอานิกายนั้น นิกายโน้นก็ร้อง จะเอานิกายโน้น นิกายนั้นก็ร้อง ตกลงกันไม่ได้ ผลที่สุดจึงต้องแยก church and state

นี่แหละ เพราะมันมีภูมิหลังอย่างนี้ ไม่ใช่เขาจะไม่เอาศาสนามาช่วยประเทศชาติ เขาอยากจะเอา แต่เอาไม่ได้ ถ้าเอามาคนจะแตกสามัคคีกัน เขาก็เลยต้องแยก

ทีนี้ถ้าเราไปดูในแง่อื่นๆ ที่เขาปฏิบัติต่อศาสนาโดยไม่ได้ประกาศ ดูว่าที่ประเทศอเมริกานี้มีศาสนาประจำชาติหรือเปล่า ขอให้มองให้ดี เช่น ในคำปฏิญาณธงของอเมริกาที่เขาเรียกว่า Pledge of Allegiance

ในคำปฏิญาณธงนั้น ซึ่งทุกคนแม้แต่เด็กนักเรียนก็จะต้องกล่าว เขามีข้อความหนึ่ง คือคำว่า one nation under God อันแสดงถึงอุดมการณ์ของประเทศอเมริกา ที่รวมประเทศชาติให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

ทุกคนต้องกล่าวว่า one nation under God แปลว่า "ประชาชาติหนึ่งเดียว ภายใต้องค์พระเป็นเจ้า" นี่หมายความว่าอย่างไร ทำไมเขากล่าวคำนี้ แล้วคนไทยชาวพุทธเข้าไป เขายกเว้นให้ไหม

ยิ่งกว่านั้น เมื่อปี ๒๔๙๙ รัฐสภาอเมริกัน คือคองเกรส ก็ได้ลงมติให้กำหนด national motto คือคำขวัญของชาติว่า "In God We Trust" แปลว่า พวกเราขอมอบชีวิตจิตใจไว้ในองค์พระผู้เป็นเจ้า อย่างนี้เป็นต้น นี่คือประเทศอเมริกา

นี้คือเนื้อหาสาระที่เราจะต้องศึกษาให้เข้าใจ ไม่ใช่ว่าเวลาไปดู ก็ไปดูแต่รูปแบบเอามา โดยไม่เข้าใจอะไรจริงจัง แล้วก็เกิดปัญหาที่ว่า เอามาใช้ในประเทศของตัวเองไม่ถูกต้อง เพราะฉะนั้น เราจะต้องเข้าใจสังคมตะวันตกให้ชัด แม้แต่จะตามเขาก็ขอให้ตามให้ได้จริงๆ เถิด ให้ได้เนื้อหาสาระมาด้วย อย่าเอาแต่เพียงรูปแบบเท่านั้นมา

แม้แต่เรื่องประชาธิปไตยก็เหมือนกัน เราก็มัวไปยุ่งไปวุ่นวายกันอยู่แต่เรื่องรูปแบบ จนกระทั่งเวลานี้ ประชาธิปไตยที่เรามีกันอยู่ ขอถามว่า เป็นประชาธิปไตยที่แท้จริงไหม ประชาธิปไตยที่แท้จริงคืออะไร จุดมุ่งหมายของประชาธิปไตยที่แท้อยู่ที่ไหน มันเป็นประชาธิปไตยที่จะนำสังคมไปสู่อุดมธรรม ไปสู่ความดีงามและสันติสุขหรือเปล่า ชีวิตที่ดีงาม สังคมที่ดีงาม มันจะนำเราไปถึงได้ไหม หรือว่ามันเป็นเพียงประชาธิปไตยที่รับใช้บริโภคนิยม

อันนี้ขอฝากไว้เป็นคำถาม เรามัวไปเถียงกันอยู่แต่เรื่องรูปแบบ ส่วนสาระสำคัญอะไรต่างๆ กลับไม่ค่อยพูดจาพิจารณากัน

เวลาไปเรียนวิชาการของตะวันตกก็เหมือนกัน การไปเรียนนั้นเป็นสิ่งที่ดี เพราะว่าเราจะต้องรู้เท่าทันเขา แต่เราควรมีความมุ่งหมายว่า เราไปเรียนเอาวิชาการของตะวันตกมาเพื่ออะไร เพื่อมาสร้างสรรค์พัฒนาสังคมของตัวเอง และเพื่อช่วยแก้ปัญหาอารยธรรมของโลกด้วย แต่เราทำอย่างนี้ได้แค่ไหน

เวลาเราเรียนตามตะวันตก เราไปเอาวิชาการมา แต่เสร็จแล้ว สิ่งที่เราควรจะรู้อย่างแท้จริง เราก็ไม่รู้ ปรากฏว่าเราตามฝรั่งไปโดยไม่ถูกไม่ตรง และไม่ถึงตัวความรู้ที่แท้จริง



(มีต่อ ๔)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ก้อนดิน
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 07 ก.ค. 2004
ตอบ: 623

ตอบตอบเมื่อ: 17 ม.ค. 2007, 7:31 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อาตมภาพจะขอยกตัวอย่างให้ฟังสักนิดหนึ่ง เช่น นักวิชาการของเราไปเรียนเรื่องของรัฐศาสตร์ ในแขนงประวัติศาสตร์การปกครอง ซึ่งฝรั่งเขาก็เรียนมาถึงทางเอเชียด้วย โดยเฉพาะทางด้าน Southeast Asia ซึ่งมีประวัติของการถืออุดมการณ์ทางการเมือง ตามคำสอนของพระพุทธศาสนา

ในพระพุทธศาสนามีหลักการปกครองของจักกวัตติ คือพระเจ้าจักรพรรดิ เรื่องอย่างนี้อยู่ในสายวัฒนธรรมของเราเอง ซึ่งเราควรจะรู้ดีกว่าฝรั่ง แต่กลายเป็นจุดอ่อนของเรา ที่เรากลับต้องไปเรียนรู้จากฝรั่ง ซ้ำร้ายเรายังรู้ไม่เท่าเขา และรู้ไม่จริงอีก จนทำให้เกิดความผิดพลาดที่ไม่สมควร

นักวิชาการของไทยเราไปเห็นบทนิพนธ์ของนักวิชาการฝรั่งเรื่องจักกวัตติหรือจักรพรรดินั้นเข้า แต่ไม่มีความรู้พื้นฐาน ไม่จัดเจนในสายวัฒนธรรมของตัวเอง ก็เข้าใจผิดพลาด

ฝรั่งเขียนว่า Cakravartin คนไทยเรางง ไม่รู้ว่าฝรั่งเขียนเรื่องอะไร หลักการถ่ายทอดอักษร หรือวิธีเขียนคำบาลีสันสกฤตด้วยอักษรฝรั่งก็ไม่รู้ เลยจับเอามาว่า จักรวาทิน แล้วเราก็เอามาเขียนในตำราของเรา ว่าฝรั่งพูดเรื่อง "จักรวาทิน"

จักรวาทินคืออะไร ที่จริงเป็นจักรวรรติน ซึ่งก็คือจักกวัตติ หรือพระเจ้าจักรพรรดินั่นเอง แต่ภาษาสันสกฤตเขียน จกฺรวรฺตินฺ ถอดเป็นอักษรโรมันว่า Cakravartin ตรงกับบาลีว่า จกฺกวตฺติ (Cakkavatti)

เมื่อเราเข้าใจคำพูดไม่ถูกต้อง อ่านเป็นจักรวาทินเสียแล้ว เราอ่านเรื่องที่เขาเขียน ก็เข้าใจไม่ตรงกับเรื่องที่เขาต้องการจะพูด ทำให้เกิดความสับสน

เราไปเรียนวิชาการรัฐศาสตร์ของฝรั่ง เขาเขียนเรื่องอุดมการณ์การปกครองในอดีตของ Southeast Asia เรามัวไปเข้าใจว่าเขาพูดเรื่องจักรวาทิน ก็เลยไม่รู้ว่าเขาพูดเรื่องพระเจ้าจักรพรรดินี่เอง กลายเป็นว่า เรื่องในสายของเราเอง ที่เราควรรู้ดีกว่าฝรั่ง เวลาไปอ่านของฝรั่ง เราควรจะวิเคราะห์และวินิจฉัยเขา และช่วยแก้ไขให้เขาได้ เรากลับรู้ได้ไม่ถึงเขา แถมยังเข้าใจผิดพลาดมาอีกด้วย

อีกตัวอย่างหนึ่ง ในเวลาที่ฝรั่งเขาจะใช้ภาษาอังกฤษเขียนถ้อยคำในภาษาอื่น เขามีระบบการถ่ายอักษร พร้อมทั้งวิธีการอ่านการออกเสียง เป็นต้น เช่น เมื่อเขียนชื่อคนชาวศรีลังกา คนศรีลังกาก็เขียนตามระบบถ่ายตัวอักษรที่วางไว้

ภาษาของศรีลังกานั้น มีรากฐานสืบมาจากภาษาบาลีเป็นอันมากทีเดียว ซึ่งก็อยู่ในสายวัฒนธรรมเดียวกับของเราเอง ซึ่งเราควรจะเข้าใจชัดเจนยิ่งกว่าฝรั่ง คนไทยเราไปอ่านชื่อของคนศรีลังกาที่เขียนเป็นภาษาฝรั่ง


เมื่อเราไม่รู้ไม่เข้าใจและไม่ได้ศึกษาระบบของเขา
เราก็อ่านไม่ถูก (และมองเขาไม่ทะลุด้วย)


เราไปเห็นชื่อประธานาธิบดีศรีลังกาคนก่อน ที่เขาเขียนว่า Jayawardene เราก็อ่านว่า "ชายาวาร์เดเน" ชายาวาร์เดเนอะไรที่ไหนกัน ที่จริงก็คือนายชยวรรธนะ หรือ ชัยวัฒน (ชัยวัฒน์) นั่นเอง แต่เขียนตามสำเนียงของเขา เมื่อเป็นภาษาอังกฤษจะเป็นอย่างนั้น

อาตมาก็ลองฟังดูว่าที่คนไทยออกเสียง ชายาวาร์เดเน นี้ วิทยุฝรั่ง เช่น V.O.A. และ B.B.C. เขาจะออกเสียงอย่างไร ไปฟังฝรั่งยังออกเสียงใกล้จริงกว่า ฝรั่งออกเสียงว่า ชะยะวาดะนะ ก็ยังใกล้เข้ามา ทำไมฝรั่งออกเสียงได้ดีกว่าคนไทย ก็เพราะคนไทยเราไม่ได้ศึกษาสืบค้นหาความรู้

ทั้งๆ ที่ว่า ศรีลังกานี้ใกล้เมืองไทยมากกว่าฝรั่ง เราอยู่ในสายวัฒนธรรมเดียวกัน คนศรีลังกานั้นชื่อของเขาส่วนมากก็มาจากพุทธศาสนา นายชัยวัฒนนี้ชื่อก็มาจากภาษาบาลีนี้แหละ

อีกตัวอย่างหนึ่ง นายกรัฐมนตรีศรีลังกาคนที่แล้ว ที่ถูกสังหารไป เขาเขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า Premadasa คนไทยเอามาอ่านออกเสียงทางวิทยุ โฆษกบางคนก็ออกว่า "เประมาดาซ่า" ลองดูว่าอะไรหนอ เประมาดาซ่า อ้อ นายเปรมทาสนี่เอง อย่างนี้เป็นต้น

ที่ว่ามานี้ เป็นเรื่องของการที่คนไทยเราตื่นความเจริญ แต่ตามความเจริญไม่ถึง ต้องขอพูดอย่างนั้น เพราะฉะนั้นเราจึงได้แต่รูปแบบและเปลือกนอกมา

แม้แต่ในเรื่องที่เราควรจะเหนือและนำเขา เราก็ยังรู้ไม่เท่าไม่ถึงไม่ถูกไม่ทัน ได้แต่งุ่มง่ามงมงำ ถ้าอย่างนี้เราก็จะต้องเป็นผู้ตามเขาแบบเถลไถลไถถาอยู่เรื่อยไป ไม่มีทางจะไปนำเขาได้


พูดเรื่องเดียวกัน แต่เถียงกันคนละเรื่อง

เมื่อถึงวาระที่มีการร่างรัฐธรรมนูญอย่างที่ตั้งกำหนดกันไว้ ก็ปรากฏว่า ได้มีการถกเถียงกันว่า จะให้มีบทบัญญัติว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติหรือไม่ ในที่สุด ฝ่ายที่ไม่ให้มีบัญญัติก็ชนะคะแนนไป อย่างที่ทราบกันอยู่แล้ว

ใครชนะคะแนน ใครชนะใจ เป็นอย่างไร ในที่นี้ไม่ขอวิจารณ์ แต่น่าสังเกตว่า ทั้งสองฝ่ายที่เถียงกันนั้น ดูท่าว่าได้มีความเข้าใจความหมายของคำว่า "ศาสนาประจำชาติ" ไม่เหมือนกัน ไม่ตรงกัน และไม่ได้ตกลงกันให้คำจำกัดความเสียด้วยว่า คำว่า "ศาสนาประจำชาติ" มีความหมายว่าอย่างไร

เมื่อเป็นอย่างนี้ จะถือว่าเป็นเรื่องน่าขำ หรือจะว่าน่าห่วงใยก็ได้ เพราะมันกลายเป็นว่า คนที่มาประชุมกันนั้น พูดเรื่องเดียวกันแต่เถียงกันคนละเรื่อง แล้วจะไปได้เรื่อง ได้อย่างไร

ทั้งสองฝ่ายที่เถียงกันนั้น นอกจากเข้าใจความหมายของคำว่า "ศาสนาประจำชาติ" ไม่เหมือนกันแล้ว ความหมายที่แต่ละฝ่ายเข้าใจก็คลุมๆ เครือๆ ไม่ชัดเจนด้วย

ฝ่ายชาวพุทธผู้เห็นควรให้มีบัญญัติว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ก็มองความหมายไปตามความคิดความเข้าใจของตน ตามแนวทางของวัฒนธรรมประเพณี

บ้างก็มองแค่ว่า ไหนๆ พระพุทธศาสนาเท่าที่ตนมองเห็นก็เป็นศาสนาประจำชาติไทยโดยพฤตินัยอยู่แล้ว ก็ขอให้มีชื่อปรากฏในกฎหมายโดยนิตินัยด้วย

บ้างก็มองว่า ให้มีการบัญญัติอย่างนั้น เพื่อว่ารัฐและสังคมจะได้เอาจริงเอาจังในการอุปถัมภ์บำรุง เป็นต้น



(มีต่อ ๕)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ก้อนดิน
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 07 ก.ค. 2004
ตอบ: 623

ตอบตอบเมื่อ: 18 ม.ค. 2007, 8:27 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ทั้งสองฝ่ายที่เถียงกันนั้น นอกจากเข้าใจความหมายของคำว่า "ศาสนาประจำชาติ" ไม่เหมือนกันแล้ว ความหมายที่แต่ละฝ่ายเข้าใจก็คลุมๆ เครือๆ ไม่ชัดเจนด้วย

ฝ่ายชาวพุทธผู้เห็นควรให้มีบัญญัติว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ก็มองความหมายไปตามความคิดความเข้าใจของตน ตามแนวทางของวัฒนธรรมประเพณี

บ้างก็มองแค่ว่า ไหนๆ พระพุทธศาสนาเท่าที่ตนมองเห็นก็เป็นศาสนาประจำชาติไทยโดยพฤตินัยอยู่แล้ว ก็ขอให้มีชื่อปรากฏในกฎหมายโดยนิตินัยด้วย

บ้างก็มองว่า ให้มีการบัญญัติอย่างนั้น เพื่อว่ารัฐและสังคมจะได้เอาจริงเอาจังในการอุปถัมภ์บำรุง เป็นต้น

จะมองแค่ไหนและอย่างไรก็ตาม ชาวพุทธเหล่านั้นก็มองไปแค่ในขอบเขตของวัฒนธรรมและหลักพระพุทธศาสนาที่สืบทอดกันมา ที่ว่าทางฝ่ายพระศาสนาโดยเฉพาะพระสงฆ์ไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการบ้านเมือง อาณาจักรก็มีหน้าที่อุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนา และพุทธจักรก็มีหน้าที่สั่งสอนประชาชนตั้งแต่ผู้ปกครองรัฐลงมา

ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งที่คัดค้าน ซึ่งโดยมากเป็นคนที่เรียกว่าสมัยใหม่ จบการศึกษามาจากเมืองฝรั่ง ก็มองความหมายของ "ศาสนาประจำชาติ" ในเชิงที่ว่าทางฝ่ายศาสนาจะมีอำนาจหรือมีอิทธิพลต่อกิจการของรัฐอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ก็ไม่ชัดไม่เจนว่าจะมีอำนาจหรืออิทธิพลแค่ไหนอย่างไร เพราะตนเองก็ไม่รู้ชัดอีกเหมือนกันในเรื่องของฝรั่งนั้น ตลอดจนในเรื่องของศาสนาอื่นและสังคมอื่น

เรื่องนี้ควรจะถือเป็นบทเรียนสำหรับการปฏิบัติต่อไปภายภาคหน้า เพราะมีเค้าว่าจะมีการถกเถียงกันในเรื่องนี้อีก ซึ่งไม่ควรจะวกวนกันอยู่อย่างเก่า แต่ควรจะพูดกันให้ชัดเสียที ตั้งแต่จำกัดความหมายให้เข้าใจตรงกัน แล้วจึงเถียงกันว่าจะเอาหรือไม่เอา

อย่างที่บอกแล้วว่า คำว่า "ศาสนาประจำชาติ" ในความหมายของคนไทยชาวบ้านหรือชาวพุทธ มองแค่เป็นความยอมรับสนับสนุนและสัมพันธ์กันเชิงสั่งสอนแนะนำและอุปถัมภ์บำรุง อย่างที่เรารู้สึกกันในเมืองไทย จนจำติดใจกันสืบมาว่าพระสงฆ์เป็นผู้สละบ้านเรือนไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการบ้านเมือง

กิจการศาสนาในความหมายแบบของเราจะเกี่ยวข้องกับชาวบ้านและกิจการบ้านเมืองก็เพียงในการสั่งสอนแสดงหลักการในการบริหารการปกครอง

แต่หันไปดูทางด้านตะวันตกเลยจากเราไป และในสังคมแบบอื่น เขาไม่ได้มองอย่างนี้เลย

ในความหมายของสังคมแบบอื่น กิจการศาสนาของเขารวมไปหมด ทั้งการจัดกิจการบ้านเมือง การปกครอง การทหาร ตลอดจนการจัดการเศรษฐกิจ เป็นต้น ถือเป็นเรื่องของศาสนาโดยตรง

อย่างที่บอกแล้วว่า คำว่า "ศาสนาประจำชาติ" ในความหมายของคนไทยชาวบ้านหรือชาวพุทธ มองแค่เป็นความยอมรับสนับสนุนและสัมพันธ์กันเชิงสั่งสอนแนะนำและอุปถัมภ์บำรุง อย่างที่เรารู้สึกกันในเมืองไทย จนจำติดใจกันสืบมาว่าพระสงฆ์เป็นผู้สละบ้านเรือนไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการบ้านเมือง

กิจการศาสนาในความหมายแบบของเรา จะเกี่ยวข้องกับชาวบ้านและกิจการบ้านเมืองก็เพียงในการสั่งสอนแสดงหลักการในการบริหารการปกครอง

แต่หันไปดูทางด้านตะวันตกเลยจากเราไป และในสังคมแบบอื่น เขาไม่ได้มองอย่างนี้เลย

ในความหมายของสังคมแบบอื่น กิจการศาสนาของเขารวมไปหมด ทั้งการจัดกิจการบ้านเมือง การปกครอง การทหาร ตลอดจนการจัดการเศรษฐกิจ เป็นต้น ถือเป็นเรื่องของศาสนาโดยตรง

ฝรั่งมีคำแสดงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับศาสนาในหลักการที่เรียกว่า Church and State หรือศาสนจักรกับอาณาจักร เพื่อรวบรัด ลองดูความหมายที่เขียนไว้ในสารานุกรมของฝรั่งฉบับหนึ่ง (Compton"s Interactive Encyclopedia, 2000) ขอยกคำของเขามาให้ดูเลยว่า (เพียงยกมาเป็นตัวอย่าง ข้อมูลในเรื่องนี้ยังมีที่น่ารู้อีกมาก)

The name given to the issue--church and state--is misleading, however: Church implies Christianity in one or more of its many denominations.

The issue is really between religion and politics. Which shall be the controlling force in a state?

อย่างไรก็ดี ชื่อที่ใช้เรียกประเด็นนี้ว่า "ศาสนจักร กับ อาณาจักร" นั้น ชวนให้เข้าใจผิด คือ ศาสนจักรเล็งไปที่ศาสนาคริสต์ อันหลากหลายนิกาย นิกายหนึ่งหรือหลายนิกาย

แท้จริงนั้น ประเด็นของเรื่องอยู่ที่ว่า ระหว่างฝ่ายศาสนากับฝ่ายการเมือง ฝ่ายไหนจะเป็นตัวกุมอำนาจบงการในรัฐ

ที่เขาเขียนอย่างนี้ก็เห็นได้ชัดตามประวัติศาสตร์ของอารยธรรมตะวันตก ที่ฝ่ายศาสนจักรกับอาณาจักร ต่างก็มีอำนาจในการบริหารปกครองกิจการบ้านเมือง จนกระทั่งมีการแก่งแย่งช่วงชิงแข่งอำนาจกัน (ให้ไปศึกษาประวัติศาสตร์ของสังคมตะวันตกเอาเอง)

ยิ่งกว่านั้น เมื่อศาสนจักร หรือศาสนาใดศาสนาหนึ่ง หรือแม้แต่นิกายใดนิกายหนึ่ง ขึ้นมาเป็นศาสนาแห่งรัฐ หรือเป็นศาสนาประจำชาติแล้ว ศาสนาอื่นๆ หรือนิกายอื่นๆ ก็จะถูกกีดกันออกไป หรือแม้แต่ถูกบังคับกดขี่ข่มเหง

ขอยกอีกตัวอย่างหนึ่งให้เข้าใจง่ายๆ

คำว่า "ศาสนาประจำชาติ" แบบพุทธ มีความหมายไปได้แค่ว่า รัฐอาจจะตรากฎหมายที่มีบทบัญญัติส่งเสริมให้ประชาชนประพฤติปฏิบัติตามข้อบัญญัติทางศาสนา (เช่น ส่งเสริมให้ประชาชนประพฤติตามหลักศีล 5)

แต่ "ศาสนาประจำชาติ" แบบตะวันตก/แบบสังคมอื่น หมายความว่า รัฐต้องยกเอาข้อบัญญัติของศาสนา หรือศาสนบัญญัติ ขึ้นมาใช้เป็นกฎหมายบังคับแก่ประชาชน

หรือให้องค์กรศาสนามีอำนาจตรากฎหมายของบ้านเมือง



(มีต่อ ๖)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ก้อนดิน
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 07 ก.ค. 2004
ตอบ: 623

ตอบตอบเมื่อ: 23 ม.ค. 2007, 3:05 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ด้วยเหตุที่ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับศาสนา แบบพุทธ กับแบบสังคมอื่น แตกต่างกันไกลอย่างนี้ เมื่อสองระบบที่ต่างกันนั้นเข้ามาปะทะหรือครอบงำกัน จึงทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงแปลกๆ ใหม่ๆ ขึ้น

ขอยกตัวอย่าง เช่น ในประเทศศรีลังกา แต่เดิมมา ความสัมพันธ์ระหว่างพุทธจักรกับอาณาจักร ก็เหมือนกับที่ชาวพุทธในเมืองไทยเข้าใจกันสืบๆ มา

ดังที่เมื่อหลายร้อยปีก่อน ในศรีลังกานั้น มีพระสงฆ์ส่วนหนึ่งไปให้ความเอื้อเฟื้อช่วยเหลือแก่กษัตริย์ตกยาก แล้วต่อมาพระสงฆ์ส่วนนั้นได้รับการอุปถัมภ์นับถือจากกษัตริย์ที่ได้อำนาจกลับคืนมา ก็ถูกรังเกียจจากพระสงฆ์อื่นๆ จนเป็นเหตุให้พระสงฆ์แตกแยกกัน

(เหมือนอย่างคนไทยในปัจจุบันยังมีความรู้สึกไม่ค่อยดี เมื่อพบเห็นหรือได้ยินข่าวพระสงฆ์ไปชุมนุมต่อต้านหรือสนับสนุนเหตุการณ์ต่างๆ ทางบ้านเมือง แม้แต่ที่เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับพระศาสนาเอง)

แต่เมื่อศรีลังกาตกเป็นอาณานิคมและฝรั่งเข้ามาปกครอง พร้อมทั้งนำระบบที่ศาสนจักรในศาสนาคริสต์มีอำนาจในกิจการของรัฐเข้ามาด้วย ทำให้พระสงฆ์และวัดวาอารามถูกบีบคั้นเบียดเบียนข่มเหงต่างๆ

จากการถูกกดดันนั้น ความเปลี่ยนแปลงก็เกิดขึ้น ทำให้ชาวพุทธและพระสงฆ์ต้องดิ้นรนต่อสู้กับอำนาจของรัฐเป็นต้น ตลอดจนท่าทีของประชาชนก็เปลี่ยนแปลงไป จนกลายเป็นอย่างที่เราเห็นกันในปัจจุบันว่า พระสงฆ์ในศรีลังกาชุมนุมประท้วงต่างๆ บ้าง หาเสียงช่วยนักการเมืองบ้าง ตลอดจนเป็นส.ส.เองก็มี

(ในประเทศเมียนมาร์ ซึ่งเคยเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ก็มีความเปลี่ยนแปลงที่คล้ายกันนี้)

เรื่องอย่างนี้ ควรศึกษากันให้เข้าใจชัดเจน แต่ในที่นี้ขอปิดท้ายสั้นๆ ว่า

ถ้าพูดว่า "พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ" สำหรับชาวพุทธไทย ที่เข้าใจกันมาแบบเดิม ก็จะหมายถึงการที่บ้านเมืองยอมรับเป็นทางการและเอาจริงเอาจังในการส่งเสริมสนับสนุนให้พระสงฆ์ปฏิบัติศาสนกิจแบบบรรพชิตของท่าน โดยไม่ต้องมาวุ่นวายกับกิจการบ้านเมือง

รัฐจัดการอุปถัมภ์บำรุงส่งเสริมให้พระสงฆ์มีโอกาสเล่าเรียนศึกษาปฏิบัติและเผยแผ่สั่งสอนธรรมอย่างเต็มที่ เพื่อประโยชน์สุขแก่ประชาชน สังคม ประเทศชาติ ไปตามหลักพระธรรมวินัย ตลอดจนวัฒนธรรมประเพณีที่สืบๆ กันมา

ทำให้สังคมมีสภาพเอื้อต่อการอยู่ร่วมกันและปฏิบัติกิจของศาสนิกชนทุกศาสนาโดยสงบสุข

แต่ถ้ารัฐหรือสังคมไทยหลงลืมเพี้ยนไปไม่เข้าใจความหมายอย่างนี้ ก็จะเกิดการกีดกั้น บีบคั้น ซึ่งจะทำให้พระสงฆ์ โดยความสนับสนุนของชาวพุทธเองนั่นแหละ จำนวนมากขึ้นๆ หันมาดิ้นรนเพื่อรักษาสถาบัน กิจการและหลักการของตนในรูปแบบต่างๆ อย่างที่ได้เริ่มปรากฏให้เห็นขึ้นมาบ้างแล้ว ในช่วง ๓-๔ ปีนี้

มองดูให้ดีจะเห็นว่า เรื่องนี้เหมือนจะกลับทางกับความเข้าใจของคนสมัยนี้ คือ ถ้าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ชาวพุทธก็ได้โอกาสที่จะปฏิบัติศาสนธรรมของตนไปโดยไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการบ้านเมือง แต่ถ้าพุทธศาสนาถูกกั้นออกไปจากความเป็นศาสนาประจำชาติ พระสงฆ์และชาวพุทธก็จะถูกบีบคั้นให้มีบทบาทในทางดิ้นรนต่อสู้เพื่อต่อรองกับอำนาจรัฐมากยิ่งขึ้น

ทั้งหมดนี้ จะเป็นจริงอย่างที่ว่าหรือหาไม่ ก็ลองไปศึกษาดูบนฐานแห่งข้อมูลความรู้ของจริง ซึ่งคิดว่ามีให้เห็นแล้วอย่างเพียงพอ

ในด้านชาวพุทธเอง เมื่อรู้เข้าใจเรื่องศาสนาไปตามหลักการแห่งพระศาสนาของตน และตามวัฒนธรรมไทยที่สอดคล้องกับหลักการนั้น จึงมองเรื่องศาสนาเหมือนกับแยกต่างหากออกไปจากสังคมและกิจการบ้านเมือง

แต่ขณะเดียวกันนั้น พวกชนชาติที่ต่อสู้กันมาในสังคมอื่น ที่ถือศาสนาแบบอื่น เขามองกิจการบ้านเมือง การปกครอง การทหาร เศรษฐกิจ เป็นต้น โดยรวมอยู่ในกิจการของศาสนาด้วย

เมื่อเกิดมีเหตุการณ์ทางศาสนาแบบอื่น ที่นอกวัฒนธรรมและนอกสังคมของตน ชาวพุทธไม่เคยรู้ไม่เคยเข้าใจ จึงมักมองสถานการณ์ไม่ออก และวางท่าทีไม่ถูก กลายเป็นคนไม่ทันเขา ทั้งรักษาตัวเองก็ไม่ได้ และไม่รู้ว่าจะสัมพันธ์กับคนอื่นอย่างไร

อย่างน้อยชาวพุทธก็แตกแยกกระจัดกระจายกันเอง ชาวพุทธแบบชาวบ้านก็ไม่ไหวทันตระหนักไว้ ว่าท่านผู้สมัยใหม่มิได้มองความหมายและมิได้คิดเข้าใจอะไรๆ อย่างตน


หาความรู้กันก่อนให้ชัดเจน
อย่าเพิ่งใส่ความคิดเห็นเข้าไป


ในการที่จะคิดเห็นพิจารณาเรื่องต่างๆ ให้ได้ผลดีนั้น ขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง คือการหาข้อมูลความรู้ ให้ได้ข้อเท็จจริงที่ชัดเจนและเพียงพอ

ในขั้นตอนที่ว่านี้ จุดเน้นที่สำคัญยิ่งตอนหนึ่งก็คือ การรวบรวมและแสดงข้อมูลความรู้ให้ดูตามที่มันเป็น โดยไม่ใส่ความคิดเห็นหรือข้อวิจารณ์ใดๆ

เมื่อเกิดเหตุการณ์สำคัญขึ้นในบ้านเมือง หน้าที่อย่างหนึ่งของรัฐ ตลอดจนสื่อทั้งหลาย ก็คือ การเผยแพร่ข้อมูลความรู้ตามที่มันเป็น อันไม่เจือปนความคิดเห็นอย่างที่ว่านี้



(มีต่อ ๗)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ก้อนดิน
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 07 ก.ค. 2004
ตอบ: 623

ตอบตอบเมื่อ: 25 ม.ค. 2007, 6:56 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เรื่องศาสนาประจำชาตินี้ก็เช่นกัน มีขั้นตอนสำคัญขั้นหนึ่ง คือ การแสวง และแสดงข้อมูลความรู้ ให้ผู้คนจะแจ้งถ่องแท้ชัดเจนตามที่มันเป็น เท่าที่จะเป็นไปได้ เมื่อประชาชนรู้แล้ว เขาจะคิดเห็นอย่างไร ก็ให้โอกาส และจะได้เป็นการเคารพต่อสติปัญญาของเขา

ในที่นี้ จะพูดถึงข้อมูลความรู้เกี่ยวกับเรื่องศาสนาประจำชาติ ไว้เป็นฐาน และเป็นทุน ที่จะใช้ในการคิดเห็นพิจารณาต่อไป

คำว่า "ศาสนาประจำชาติ" เราต้องเข้าใจตามที่สังคมภายนอกเขารู้และเข้าใจด้วย แล้วจะเทียบดูกับความรู้ความเข้าใจของตัวเราเองอย่างไร ก็พิจารณาเอา

พอพูดว่า "ศาสนาประจำชาติ" คนปัจจุบันก็มักนึกไปตามความหมายของฝรั่ง แต่มักนึกไปตามที่คิดเอาเอง โดยไม่รู้ว่าที่จริงนั้นฝรั่งหมายเอาความอย่างไร

ฝรั่งเรียกศาสนาประจำชาติโดยใช้คำว่า state relegion บ้าง official religion บ้าง

นอกจากนั้นยังมีคำที่มีความหมายใกล้เคียงอีก ได้แก่คำว่า national religion บ้าง national church บ้าง established church บ้าง

ประเทศที่มีศาสนาประจำชาตินั้นมีมากมาย ทั้งคริสต์ และอิสลาม ตลอดมาถึงพุทธศาสนา และศาสนาฮินดู

แต่ที่เหนือกว่าการเป็นศาสนาประจำชาติก็คือ เป็นประเทศของศาสนานั้นโดยตรง

ประเทศที่สถาปนาขึ้นเป็นดินแดนแห่งศาสนาโดยตรง เท่าที่พบ ก็มี

๑. รัฐอิสลามอัฟกานิสถาน (ประชากรมุสลิม ๙๙% = สุหนี่ ๘๔% ชีอะฮ์ ๑๕%)

[Islamic State of Afghanistan]

๒. สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน (มุสลิม ๙๒% = สุหนี่ ๗๗% ชีอะฮ์ ๒๐%)

[Islamic Republic of Pakistan]

๓. สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (มุสลิม ๙๙% = สุหนี่ ๖% ชีอะฮ์ ๙๓%)

[Islamic Republic of Iran]

๔. สาธารณรัฐอิสลามมอริเตเนีย (มุสลิม = สุหนี่ ๙๙%)

[Islamic Republic of Mauritania]

๕. สหพันธ์สาธารณรัฐอิสลามคอโมโรส (มุสลิม = สุหนี่ ๙๘%)

[Federal Islamic Republic of the Comoros]

ถัดลงมาคือประเทศที่มีศาสนาประจำชาติ ซึ่งก็เป็นประเทศมุสลิมมากที่สุด ได้แก่

๑. ซาอุดีอาระเบีย/Saudi Arabia (มุสลิม ๑๐๐% = สุหนี่ ๘๕% ชีอะฮ์ ๑๕%)

๒. โซมาเลีย/Somalia (มุสลิม ๙๙% แทบทั้งหมด = สุหนี่)

๓. ตูนิเซีย/Tunisia (มุสลิม ๙๙% ส่วนมาก = สุหนี่)

๔. โมร็อกโก/Morocco (มุสลิม ๙๘%)

๕. แอลจีเรีย/Algeria (มุสลิม ๙๖%)

๖. ลิเบีย/Libya (มุสลิม ๙๖% = สุหนี่)

๗. อียิปต์/Egypt (มุสลิม ๙๔% ส่วนมาก = สุหนี่)

๘. จอร์แดน/Jordan (มุสลิม ๙๓% แทบทั้งหมด = สุหนี่)

๙. คูเวต/Kuwait (มุสลิม ๘๕% = สุหนี่ ๔๕% ชีอะฮ์ ๔๐%)

๑๐. บาห์เรน/Bahrain (มุสลิม ๘๕% = สุหนี่ ๒๕% ชีอะฮ์ ๖๐%)

๑๑. มัลดีฟส์/Maldives (มุสลิม ๙๙% ส่วนมาก = สุหนี่)

๑๒. บังกลาเทศ/Bangladesh (มุสลิม ๘๖% ฮินดู ๔๖%)

๑๓. บรูไน/Brunei (มุสลิม ๖๔-๖๗% พุทธ ๙-๑๔% คริสต์ ๘-๑๐% อื่นๆ ๙-๑๙%)

๑๔. มาเลเซีย/Malaysia (มุสลิม ๔๘% คริสต์ ๘% พุทธ ๗% ฮินดู ๗% อื่น ๓๐%)

สำหรับประเทศซาอุดีอาระเบีย มีข้อที่ควรทำความเข้าใจพิเศษว่า แม้จะจัดเข้าในกลุ่มประเทศที่มีศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ แม้ว่าจะไม่ได้เรียกชื่อประเทศว่าเป็นรัฐอิสลาม หรือสาธารณรัฐอิสลาม (ชื่อทางการเรียกว่า ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย/Kingdom of Saudi Arabia) แต่รัฐประกาศิตได้ตราไว้ว่า ซาอุดีอาระเบีย เป็น Islamic State คือเป็นรัฐอิสลาม และบัญญัติให้พระคัมภีร์อัลกุรอ่าน พร้อมทั้งซุนนะฮ์ (Sunnah) เป็นรัฐธรรมนูญ โดยให้ประเทศใช้กฎหมายอิสลาม

ถัดลงมาคือประเทศที่มีศาสนาประจำชาติ ซึ่งก็เป็นประเทศมุสลิมมากที่สุด ได้แก่

๑. ซาอุดีอาระเบีย/Saudi Arabia (มุสลิม ๑๐๐% = สุหนี่ ๘๕% ชีอะฮ์ ๑๕%)

๒. โซมาเลีย/Somalia (มุสลิม ๙๙% แทบทั้งหมด = สุหนี่)

๓. ตูนิเซีย/Tunisia (มุสลิม ๙๙% ส่วนมาก = สุหนี่)

๔. โมร็อกโก/Morocco (มุสลิม ๙๘%)

๕. แอลจีเรีย/Algeria (มุสลิม ๙๖%)

๖. ลิเบีย/Libya (มุสลิม ๙๖% = สุหนี่)

๗. อียิปต์/Egypt (มุสลิม ๙๔% ส่วนมาก = สุหนี่)

๘. จอร์แดน/Jordan (มุสลิม ๙๓% แทบทั้งหมด = สุหนี่)

๙. คูเวต/Kuwait (มุสลิม ๘๕% = สุหนี่ ๔๕% ชีอะฮ์ ๔๐%)

๑๐. บาห์เรน/Bahrain (มุสลิม ๘๕% = สุหนี่ ๒๕% ชีอะฮ์ ๖๐%)

๑๑. มัลดีฟส์/Maldives (มุสลิม ๙๙% ส่วนมาก = สุหนี่)

๑๒. บังกลาเทศ/Bangladesh (มุสลิม ๘๖% ฮินดู ๔๖%)

๑๓. บรูไน/Brunei (มุสลิม ๖๔-๖๗% พุทธ ๙-๑๔% คริสต์ ๘-๑๐% อื่นๆ ๙-๑๙%)

๑๔. มาเลเซีย/Malaysia (มุสลิม ๔๘% คริสต์ ๘% พุทธ ๗% ฮินดู ๗% อื่น ๓๐%)

สำหรับประเทศซาอุดีอาระเบีย มีข้อที่ควรทำความเข้าใจพิเศษว่า แม้จะจัดเข้าในกลุ่มประเทศที่มีศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ แม้ว่าจะไม่ได้เรียกชื่อประเทศว่าเป็นรัฐอิสลาม หรือสาธารณรัฐอิสลาม (ชื่อทางการเรียกว่า ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย/Kingdom of Saudi Arabia) แต่รัฐประกาศิตได้ตราไว้ว่า ซาอุดีอาระเบีย เป็น Islamic State คือเป็นรัฐอิสลาม และบัญญัติให้พระคัมภีร์อัลกุรอ่าน พร้อมทั้งซุนนะฮ์ (Sunnah) เป็นรัฐธรรมนูญ โดยให้ประเทศใช้กฎหมายอิสลาม

ชาวซาอุดีอาระเบียส่วนใหญ่ถือปฏิบัติตามหลักศาสนาอิสลามนิกายสุหนี่อันเคร่งครัด ที่เรียกว่าลัทธิวาฮ์หะบี (Wahhabism) มีตำรวจศาสนาที่เรียกว่า "มุตอวีน" (mutawwiin) คอยตรวจตรากำกับให้ประชาชนปฏิบัติตามข้อบัญญัติ เช่นให้ร้านค้าปิดในเวลาละหมาด เป็นต้น ประชากรที่มีสัญชาติซาอุดีอาระเบียเป็นมุสลิมทั้งหมดทั้งสิ้น คนที่มิใช่เป็นมุสลิมเป็นคนต่างชาติเท่านั้น

มีขบวนการมุสลิมที่เคร่งครัดในหลายประเทศต่อสู้เพื่อให้ประเทศของตนเป็นรัฐอิสลาม และใช้กฎหมายอิสลาม ตัวอย่างในระยะใกล้ๆ นี้ ก็เช่น อียิปต์ แอลจีเรีย และอินโดนีเซีย

(โดยเปรียบเทียบ กล่าวกันว่า ในอินโดนีเซีย ที่มีประชากรมุสลิม ๘๕% ชาวมุสลิมที่นั่นมีความเคร่งครัดหย่อนกว่าในที่อื่นๆ และมีขบวนการที่เรียกว่ากบฏ ในรัฐอาเจะฮ์/Acheh/Aceh ซึ่งได้ต่อสู้กับรัฐบาลมาหลายสิบปีแล้ว เพื่อให้อินโดนีเซียเป็นรัฐอิสลาม หรือไม่ก็แบ่งแยกตัวออกไป)

กฎหมายอิสลาม คือชาริอะ (Sharia) มีบทบัญญัติที่เคร่งครัด เช่น ในทางอาญา ใช้การลงโทษแบบที่เรียกว่าตาต่อตา ฟันต่อฟัน มีโทษที่กำหนดแน่ว่า ถ้าลักของเขา ให้ตัดมือเสีย ถ้าปล้นตามหนทาง ให้ประหารชีวิต ถ้าละทิ้งศาสนา ให้ประหารชีวิต ถ้าสตรีมีชู้ ให้มัดไว้กลางที่ชุมชน และให้คนที่ผ่านไปมา เอาก้อนหินขว้างปาจนกว่าจะตาย ถ้าถูกกล่าวหาว่าล่วงละเมิดทางเพศ ก็ดี ดื่มสุรายาเมา ก็ดี ให้เฆี่ยน ๘๐ ที (รายละเอียดและการใช้ถ้อยคำที่ชัดเจน ต้องขอตรวจสอบกับเอกสารของวงการศาสนาอิสลามอีกที)

ประเทศที่มีศาสนาคริสต์เป็นศาสนาประจำชาติก็มีไม่น้อย แต่มักจะระบุชื่อนิกายใดนิกายหนึ่ง เป็นศาสนาประจำชาติ

มากกว่าจะออกชื่อศาสนาคริสต์



(มีต่อ ๘)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ก้อนดิน
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 07 ก.ค. 2004
ตอบ: 623

ตอบตอบเมื่อ: 30 ม.ค. 2007, 5:37 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอยกมาให้ดู สหราชอาณาจักร/United Kingdom (แองกลิแคนคือนิกายอังกฤษ ๔๕% โรมันคาทอลิก ๑๐% โปรเตสแตนต์อื่น ๙%)

ศาสนาประจำชาติเป็นนิกายโปรเตสแตนต์ แห่งนิกายย่อย ๒ ศาสนจักร คือ ศาสนจักรนิกายอังกฤษ (Church of England) และศาสนจักรนิกายสกอตแลนด์ (Church of Scotland) แต่กษัตริย์อังกฤษต้องนับถือนิกายอังกฤษ และเป็นประมุขของนิกายอังกฤษนั้น

มอลตา/Malta (โรมันคาทอลิก ๙๕%)

มีศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก เป็นศาสนาประจำชาติ

โมนาโก/Monaco (โรมันคาทอลิก ๙๐%)

มีศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก เป็นศาสนาประจำชาติ

แอนดอร์รา/Andorra (โรมันคาทอลิก ๘๙%)

มีศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก เป็นศาสนาประจำชาติ

นอร์เวย์/Norway (โปรเตสแตนต์ ๘๘% โรมันคาทอลิก ๑%)

มีศาสนาคริสต์นิกายลูเธอแรน เป็นศาสนาประจำชาติ

สวีเดน/Sweden (โปรเตสแตนต์ ๖๘-๙๔% โรมันคาทอลิก ๑.๕-๒%)

มีศาสนาคริสต์นิกายลูเธอแรน เป็นศาสนาประจำชาติ (แต่ได้ยกเลิกไปแล้วเมื่อ ค.ศ.2000/พ.ศ.๒๕๔๓)

ฟินแลนด์/Finland (โปรเตสแตนต์ ๘๖-๘๘% ออร์โธดอกซ์ ๑.๑% โรมันคาทอลิก ๐.๑%)

มีศาสนาคริสต์นิกายลูเธอแรนและออร์โธดอกซ์ เป็นศาสนาประจำชาติ

เดนมาร์ก/Denmark (โปรเตสแตนต์ ๘๘% โรมันคาทอลิก ๑%)

มีศาสนาคริสต์นิกายลูเธอแรน เป็นศาสนาประจำชาติ

กรีนแลนด์/Greenland

มีศาสนาคริสต์นิกายลูเธอแรน เป็นศาสนาประจำชาติ

กรีซ/Greece (กรีกออร์โธดอกซ์ ๙๔%)

มีศาสนาคริสต์นิกายกรีกออร์โธดอกซ์ เป็นศาสนาประจำชาติ

เอธิโอเปีย/Ethiopia (เอธิโอเปียนออร์โธดอกซ์ ๓๖% โปรเตสแตนต์ ๑๔% มุสลิม ๓๐%)

มีศาสนาคริสต์นิกายเอธิโอเปียนออร์โธดอกซ์ เป็นศาสนาประจำชาติ

ยังมีประเทศอื่นๆ ที่เคยมีศาสนาคริสต์เป็นศาสนาประจำชาติ แต่ประสบความเปลี่ยนแปลงในประวัติศาสตร์แล้วพ้นภาวะนั้นไป เช่น อาร์เมเนีย/Armenia (เป็นชนชาติที่ถือว่าตนนับถือศาสนาคริสต์เป็นศาสนาประจำชาติก่อนใครอื่น ตั้งแต่ต้น ค.ศต.4 ปัจจุบันมีชาวคริสต์ ๘๓%) และ ยูเครน/Ukraine (นับถือศาสนาคริสต์เป็นศาสนาประจำชาติตั้งแต่ ค.ศ.988 ปัจจุบันมีชาวคริสต์ ๖๕%) ซึ่งได้เข้ารวมในสหภาพโซเวียต (เป็นคอมมูนิสต์) อยู่นาน จนเพิ่งพ้นออกมาเมื่อสหภาพโซเวียตนั้นสลายในปี 1991/๒๕๓๔)

ฮังการี/Hungary (โรมันคาทอลิก ๖๓% แคลวินิสต์และลูเธอแรน ๒๕%) ก็มีศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก เป็นศาสนาประจำชาติตั้งแต่ ค.ศ.1000 แต่ต่อมาได้ถูกต่างชาติปกครอง และระหกระเหินมาจนกลายเป็นประเทศคอมมูนิสต์บริวารของสหภาพโซเวียต แล้วมาเข้าสู่ระบบประชาธิปไตยอีกในปี 1990/๒๕๓๓

ประเทศอิสราเอล/Israel (ยิว ๗๗% มุสลิม ๑๒%) รู้กันว่าเป็นประเทศเดียวที่มีศาสนายิว (Judaism) เป็นศาสนาประจำชนชาติ

ต่อไป ประเทศที่มีศาสนาฮินดูประจำชาติ ได้แก่ ประเทศเนปาล (ฮินดู ๘๖% พุทธ ๘% มุสลิม ๔%)

ส่วนประเทศที่มีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ได้แก่

๏ ภูฏาน/ภูฐาน/Bhutan (พุทธ ๗๔% ฮินดู ๒๑%)

๏ กัมพูชา/Cambodia (พุทธ ๘๕% มุสลิม ๒%)

๏ ลาว/Laos (พุทธ ๖๐% อื่นๆ ๔๐%)

สิกขิม/Sikkim เคยเป็นประเทศเอกราชและมีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ แต่ปัจจุบันสิกขิมได้เข้ารวมเป็นรัฐที่ ๒๒ ของอินเดียแล้ว

ที่ว่ามานี้เป็นข้อมูลข้อเท็จจริงที่จำเป็นต้องรู้ ยกมาให้อ่านให้ดูกันเพียงเป็นตัวอย่าง เรื่องที่ควรรู้ยังมีอีกมาก ถ้าต้องการพูดและปฏิบัติต่อสถานการณ์ให้ถูกต้องจะต้องหาความรู้กันให้จริงจัง จึงขอให้ท่านผู้หวังดีต่อส่วนรวมค้นหามาบอกกัน ไม่ใช่แค่พูดกันไปเรื่อยๆ เปื่อยๆ ว่า สังคมยุคไอทีเป็นสังคมแห่งความรู้

ถ้ามีข้อมูลเป็นฐานไว้พรั่งพร้อมดีแล้ว ต่อไปจะคิดเห็นจะพูดจะทำการใดๆ ก็จะศักดิ์สิทธิ์สัมฤทธิผลจริง ปาฏิหาริย์จึงจะเกิดขึ้นได้


มองแคบ คิดใกล้ ใฝ่ต่ำ
เพราะคิดแต่จะตามเขาจิตของเราจึงตกต่ำลงไป


ค่านิยมในการตามสังคมตะวันตก หรือตามวัฒนธรรมตะวันตกนี้ได้ฝังลึกลงไปในจิตใจของคนไทย จนกลายเป็นสภาพจิตที่ขอเรียกว่าเป็น สภาพจิตแบบผู้ตามและผู้รับ

เวลานี้คนไทยเราแทบไม่รู้ตัวเลย ว่าเรานี้เป็นผู้ตามและเป็นผู้รับตลอดเวลา สภาพจิตนี้มันฝังแน่นจนติดเป็นนิสัย

เวลาเรานึกถึงความเป็นไปในโลกที่มีความเจริญ เรานึกถึงอะไรที่ไหน เราจะนึกถึงความเจริญของตะวันตก และเราจะมองในแง่ว่าเวลานี้มีอะไรใหม่ๆ ในตะวันตก ฝรั่งมีอะไรใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ สิ่งเสพบริโภค หรือความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ที่ออกมาทางเทคโนโลยีใหม่ๆ หรือในทางวิชาการ เราก็จะคอยมองแบบเตรียมตัวรับว่าเขามีอะไรใหม่ เราจะไปรับเอา และใครจะเป็นคนรับก่อน

ภายในหมู่พวกเราถ้าใครรับได้ก่อนคนนั้นก็เรียกว่าเก่ง นำหน้า นำสมัย แทบไม่มีใครที่จะคิดว่าเราก็ต้องนำฝรั่งได้ ทำไมเราจะไม่มีภูมิปัญญาที่จะคิดจะทำอะไรใหม่ได้บ้างหรือ

เวลานี้สภาพจิตแบบผู้ตามรับนี้ติดฝังแน่นเหลือเกิน ความคิดของเราเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ความเจริญจึงเป็นไปในแบบที่คอยรอฟังว่ามีอะไรใหม่ๆ เกิดขึ้นในสังคมตะวันตก แล้วก็คอยตามรับเอา

แม้แต่เมื่อเราพูดว่าเราอยากเจริญแบบตะวันตก หรืออยากเจริญแบบฝรั่งนั้น ความหมายของความเจริญแบบฝรั่งเราก็มองในแง่ของการ "มีกินมีใช้อย่างฝรั่ง" ฝรั่งมีอะไรกินเราต้องมีกินอย่างนั้น ฝรั่งมีอะไรใช้เราต้องมีใช้อย่างนั้น แล้วก็มาอวดกันในหมู่พวกเราว่าใครได้มีได้ใช้ก่อน อันนี้ก็คือการนำกันในการตามเขา ว่าใครจะตามได้ก่อนเท่านั้นเอง

เป็นสภาพจิตของผู้คอยรับคอยตาม



(มีต่อ ๙)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ก้อนดิน
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 07 ก.ค. 2004
ตอบ: 623

ตอบตอบเมื่อ: 06 ก.พ.2007, 7:09 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ที่จริงนั้น ความหมายของความเจริญแบบฝรั่งยังมีอีกอย่างหนึ่ง เจริญอย่างฝรั่งคือ "ทำได้อย่างฝรั่ง" แต่คนไทยไม่ค่อยมีใครคิดอย่างนั้น คิดแต่เพียงว่าเจริญอย่างฝรั่ง คือมีกินมีใช้อย่างฝรั่ง ถ้าอย่างนั้นก็ต้องรอผลิตภัณฑ์ที่เขาทำสำเร็จแล้ว เราก็ไม่เป็นผู้สร้างสรรค์ แต่จะเป็นผู้ตามและเป็นผู้รับอยู่เรื่อยไป สภาพจิตนี้จะต้องแก้ไข

ฉะนั้น เวลานี้จึงต้องขอย้ำจุดเน้นที่สำคัญคือ ต้องปลุกจิตสำนึกของคนไทยในความเป็นผู้นำ และเป็นผู้ให้

ความเป็นผู้นำเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อมีอะไรที่จะให้แก่ผู้อื่น ถ้าเราคิดว่าเรามีดีอะไรจะให้แก่เขาบ้าง พอเรามีจะให้เราก็เป็นผู้นำทันที เพราะคนที่จะรับก็ต้องคอยดูเรา แล้วเขาก็ต้องตามที่จะรับจากเรา แต่เมื่อเราจะรับจากเขา เราต้องเป็นผู้ตาม

เวลานี้เราคิดจะรับ เพราะความที่คิดจะรับนั้นเลยทำให้เราเป็นผู้ตาม เพราะว่าเขามีอะไรที่จะให้ซึ่งเราคอยจะรับ เมื่อเราจะรับเราก็ต้องตามคอยดูเพื่อจะรับจากเขา เมื่อจะรับจากเขาก็ต้องตามเขาอยู่เรื่อยไป ฉะนั้น เราจะต้องปลุกคนไทย โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน ให้มีจิตสำนึกที่จะเป็นผู้นำและเป็นผู้ให้ จิตสำนึกนี้เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องสร้างขึ้นให้ได้ เพื่อแก้ไขสภาพจิตไม่ดีที่สั่งสมมานานแล้ว

สภาพของคนไทยทั่วไปเวลานี้ อาตมภาพอาจจะมองในแง่ร้ายสักหน่อย แต่ถ้าไม่มองในแง่ร้ายก็ไม่รู้จักตื่น แล้วก็จะตกอยู่ในความประมาท เพราะฉะนั้น บางทีก็จำเป็นจะต้องมองในแง่ร้าย เป็นการพูดในแง่ร้าย เพื่อปลุกพวกเราให้ตื่นขึ้นมา

สภาพของคนไทยเวลานี้ ขอพูดว่ามีลักษณะ ๓ อย่าง คือ

๑. มองแคบ

๒. คิดใกล้ และ

๓. ใฝ่ต่ำ (คำนี้รุนแรงหน่อย)

มองแคบ คือมัวแต่มองกันไปมองกันมาอยู่ข้างใน ในหมู่พวกเราเอง เหมือนกับไก่ในเข่ง ที่เขาจะเอาไปทำเครื่องเซ่นไหว้ตอนตรุษจีน ไก่มันมองไปมองมาก็เจอแต่หน้ากัน พอมองกันไปมองกันมามันก็กระทบกระแทกกัน แล้วมันก็ตีกันอยู่ในเข่งนั่นแหละ

แต่ถ้าเรามองกว้างออกไปภายนอก เราก็จะเห็นสภาพความเป็นไปต่างๆ เราจะมองเห็นปัญหาของมนุษยชาติ มองเห็นปัญหาของโลก ที่เราจะต้องช่วยกันคิดแก้ไข แล้วเราก็จะมองเห็นศักยภาพของตนเองในการที่จะร่วมแก้ไขปัญหาของโลก

และที่จะช่วยสร้างสรรค์โลกด้วย

ถ้าเรามองกว้างออกไป เราจะเห็นว่า คนไทยเราก็มีศักยภาพในการที่จะช่วยแก้ไขปัญหา และสร้างสรรค์อารยธรรมของโลกได้ เด็กและเยาวชนของเราจะต้องถูกสอนให้มองกว้างออกไป ไม่ใช่มองแคบๆ อยู่แค่ภายในสังคมของตนเอง แล้วก็คิดวกวนติดตันและกระทบกระแทกกันเอง

เด็กของเรายกพวกตีกันเพราะอะไร เพราะมันไม่มีอะไรเป็นจุดมองกว้างและไกล ที่พ้นเลยตัวออกไป

จุดมองที่กว้างและไกลนั้น นอกจากจะเลยตัวออกไปแล้ว ก็เป็นจุดรวมให้แก่ใจของทุกคนที่มองด้วย ให้เหมือนมีคู่ปรับหรือจุดหมายร่วมกันอยู่ข้างนอก ที่จะต้องช่วยกันจัดการ

แต่เมื่อมองอยู่แค่ข้างใน ก็เห็นแต่หน้ากัน พอมองเห็นหน้ากัน มองกันไปมองกันมาก็กระทบกระทั่งกัน กลายเป็นคู่ต่อสู้หรือเป็นจุดหมายของกันและกัน เดี๋ยวก็ตีกัน เดี๋ยวก็ชกกัน

เหมือนอย่างเรายืนอยู่ในสนามสักร้อยคน ถ้าไม่มีอะไรจะมองกว้างขวางออกไป เราก็มองหน้ากันเอง เมื่อมองหน้ากันไปมาเดี๋ยวบางคนก็เขม่นกัน แล้วก็กระทบกระทั่งชกต่อยกัน

แต่ถ้ามีอะไรลอยอยู่ในฟากฟ้าไกลๆ สักอันหนึ่ง พอมีใครสะกิดบอก สิ่งนั้นก็จะเป็นจุดรวมสายตา ทุกคนทั้งร้อยหรือทั้งห้าร้อยก็จะมองมุ่งไปยังจุดที่อยู่บนท้องฟ้าอันไกลโน้น เขาจะมองรวมจุดเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และไม่นึกถึงการที่จะกระทบกระทั่งกัน

ในสังคมไทยนี้ เราไม่มีเป้าหมายอันสูงส่งเป็นจุดรวมใจ ที่จะทำให้คนไทยสามัคคีมีความคิดรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ เพราะฉะนั้น เราจึงอยู่ในลักษณะที่ว่ามองแคบและคิดสั้น แล้วก็มาตีกัน วุ่นวายกันอยู่ข้างในนี่แหละ ไม่รู้จักจบ

ทำไมจึงว่า คิดใกล้ คือเราคอยรอคอยตามรับจากเขา จึงคิดใกล้ หรือคิดสั้น ไปหยุดไปตันแค่ที่เขาทำเท่านั้นเอง เราไม่คิดเลยหน้าไปไกลว่า เราจะสร้างสรรค์อะไรให้แก่อารยธรรมของโลกได้บ้าง

เราจะต้องคิดไกลไปข้างหน้า ปัญหาของโลกนี้มีอะไรที่เราจะช่วยแก้ไขได้อย่างไร คนที่จะทำอย่างนั้นได้จะต้องคิดไปไกลๆ วางแผนไปข้างหน้า

อีกอย่างหนึ่ง คือ ใฝ่ต่ำ ความใฝ่ต่ำคืออะไร คือมีความทะเยอทะยาน หวังแต่ลาภยศ มุ่งจะหาวัตถุบำรุงบำเรอความสุข และลุ่มหลงเพลิดเพลินอยู่กับการเสพอามิส ติดยศติดอำนาจ

ความใฝ่อามิสในทางธรรมถือเป็นของต่ำ แต่เราเห็นเป็นสูงไป การอยากได้ผลประโยชน์ อยากเป็นใหญ่เป็นโต อย่างนั้นอย่างนี้ เราถือว่าใฝ่สูง แต่ใฝ่สูงอะไรได้ ที่จริงคือใฝ่ต่ำ

สิ่งเหล่านี้พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญที่ไหน



(มีต่อ ๑๐)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ก้อนดิน
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 07 ก.ค. 2004
ตอบ: 623

ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.พ.2007, 6:26 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ใฝ่สูง คืออะไร ใฝ่สูงก็คือใฝ่ธรรม ใฝ่ธรรมเป็นอย่างไร ก็คือความปรารถนาที่จะสร้างสรรค์ความดีงามให้แก่ชีวิต ให้แก่สังคม อยากจะทำให้สังคมมีความสงบสุข มีสันติภาพ มีความเจริญก้าวหน้า มีความดีงามทั้งหลาย

เด็กของเรามีไหมความใฝ่สูงอันนี้ ไม่มี ถ้ามี ก็หายากอย่างยิ่ง เพราะสังคมของเราสอนเขาให้มีแต่ความใฝ่ประโยชน์ส่วนตัว ต้องการให้ตัวยิ่งใหญ่ ให้หาลาภ ให้แย่งชิงผลประโยชน์กัน ให้ร่ำรวยที่สุด แล้วเราก็เข้าใจว่าอย่างนี้แหละเป็นความใฝ่สูง

เมื่อเอาความใฝ่ต่ำเป็นใฝ่สูงเสียแล้ว มันก็หลงผิด ทิฏฐิก็ผิด มันจะไปดีได้อย่างไร แล้วความใฝ่สูงที่แท้จริงก็เลยถูกมองข้ามไป จนมองกันไม่เห็น

"มองกว้าง คิดไกล ใฝ่สูง" มีเมื่อไร คนไทยจะเป็นชาวพุทธได้อย่างดี

ชาวพุทธจะต้อง มองกว้าง คิดไกล ใฝ่สูง นี้เป็นหลักพระพุทธศาสนาใช่หรือเปล่า ขอให้พิจารณาดู

พระพุทธศาสนาสอนให้เรามองกว้าง มองกว้างอย่างไร คือไม่มองอยู่แค่ตัวเอง ไม่มองแค่สังคมของเรา แต่ให้มองทั้งโลก ให้มีปัญญามองเห็นระบบความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัยในสรรพสิ่ง ในธรรมชาติทั้งหมด

เรามองว่า ธรรมชาติทั้งหมดนี้เป็นระบบแห่งปัจจัยสัมพันธ์ สิ่งทั้งหลายในจักรวาลนี้มีความสัมพันธ์ พึ่งพาอิงอาศัยและส่งผลกระทบต่อกันทั้งสิ้น และให้มีเมตตากรุณา ดำเนินชีวิตและบำเพ็ญกิจต่างๆ พหุชนหิตาย พหุชนสุขาย โลกานุกมฺปาย เพื่อประโยชน์สุขแก่พหูชน เพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลโลก

มองกว้างนั้น ถ้ายังมองออกไปไม่ถึงทั้งโลกหรือถึงอารยธรรมของมนุษยชาติ ก็ขอให้มีจิตสำนึกทางสังคม ในระดับประเทศชาติของตัวเองก่อน เป็นการค่อยๆ ฝึก ค่อยๆ พัฒนากันไป ขยายทัศนะออกไป ไม่ใช่มองอยู่แค่ตัวเอง และผลประโยชน์ของตัว หรือเอาแต่กลุ่มแต่พวกของตัว แล้วก็กระทบกันไป กระแทกกันมา อยู่แค่นั้น

จิตสำนึกทางสังคมนั้น ตอนแรกเอาแค่ให้มีความรักบ้านเมือง มีความซาบซึ้งภูมิใจในความดีงามของชุมชนหรือสังคมของตน ซึ่งจะแสดงออกมาในจิตใจ เช่น เมื่อเห็นคนต่างประเทศเข้ามาในบ้านเมืองของตน ก็คิดนึกว่า ถ้าคนต่างชาติเหล่านั้นเดินทางไปในประเทศของเรา ได้เห็นความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความสะอาด

ทิวทัศน์ธรรมชาติที่สวยงามในบ้านเมืองของเรา

และประชาชนที่อยู่ดีมีสุขมีน้ำใจ เขาก็คงจะชื่นชม

แม้แต่ไม่เห็นคนต่างชาติเหล่านั้น แต่ตนเองเดินทางไปในบ้านเมืองของตัว มองเห็นความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความสะอาด ทัศนียภาพในธรรมชาติแวดล้อมที่ยังคงอยู่ในสภาพอันดี และประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี แล้วเกิดความรู้สึกชื่นใจ อยากให้คนต่างบ้านต่างเมืองมาเห็น และนึกว่าถ้าเขามาเห็นแล้ว เขาก็จะชื่นชม เมื่อนึกไป และทำให้เป็นไปจริงได้อย่างนี้แล้ว ก็เกิดความปีติ เอิบอิ่มปลาบปลื้มใจ ภูมิใจในประเทศชาติบ้านเมือง

ความรู้สึกนึกคิดอย่างนี้ ถ้ามีขึ้นเกิดขึ้นเสมอๆ ก็จะชักนำจิตใจและความคิดไปในทางที่ดีงาม และสร้างสรรค์ จะทำให้ชีวิตและสังคมเจริญพัฒนาไปในทางที่ดีงามถูกต้อง สำหรับมนุษย์ปุถุชน ได้แค่นี้ก็นับว่าดีนักหนาแล้ว

พระพุทธศาสนาสอนให้ คิดไกลไปข้างหน้า จนกว่าจะถึงจุดหมายสูงสุด ให้มีชีวิตอยู่กับปัจจุบัน โดยมีปัญญาสืบค้นหยั่งรู้เหตุปัจจัยยาวไกลในอดีต และมีความไม่ประมาทที่จะป้องกันความเสื่อม และสร้างสรรค์เหตุปัจจัยให้พร้อมที่จะนำไปสู่ความเจริญงอกงามในอนาคต บนฐานแห่งชีวิตที่อยู่กับปัจจุบัน ที่จัดการกับปัจจุบันให้ดีที่สุด ด้วยการพัฒนาตนก้าวไปข้างหน้าตลอดเวลา ให้ชีวิตงอกงามสมบูรณ์จนถึงพระนิพพาน นี่คือคิดไกลอย่างยิ่ง

ใฝ่สูง ก็คือใฝ่ธรรม มุ่งแสวงหาความรู้ความเข้าใจให้เข้าถึงความจริงแท้ ปรารถนาจะสร้างสรรค์ความดีงาม บำเพ็ญประโยชน์สุขแก่สังคม ให้ชีวิตและสังคมบรรลุความดีงามประเสริฐเลิศด้วยธรรม ให้โลกก้าวพ้นการเบียดเบียน ขึ้นสู่สันติสุข เหมือนดังพระโพธิสัตว์ที่ตั้งปณิธาน ใฝ่ปรารถนาโพธิญาณ มีใจเด็ดเดี่ยว มุ่งหวังบรมธรรม อย่างนี้จึงจะเรียกว่าใฝ่สูง

ความใฝ่สูง คือใฝ่ธรรม ที่เป็นหลักการใหญ่ประจำใจของคนทั้งสังคม คือ การถือธรรมเป็นใหญ่ เคารพธรรม บูชาธรรม

คนในสังคมนี้จะต้องเชิดชูบูชาความจริง ความถูกต้อง ความดีงาม ยึดเอาธรรม คือความจริง ความถูกต้อง ความดีงามนั้นเป็นบรรทัดฐาน

ถ้าสังคมไทยเป็นสังคมแห่งความใฝ่ธรรมได้อย่างนี้ ก็ถึงขั้นที่เรียกได้ว่าเป็นสังคมที่มีอุดมธรรม ถ้าคนไทยมีอุดมธรรมแล้ว ปัญหาต่างๆ ที่เลวร้ายทั้งหลายจะหมดไป และความเจริญพัฒนาที่แท้อันพึงปรารถนาจะตามมาอย่างแน่นอน

เพราะฉะนั้น ชาวพุทธเราจะต้องสอนกันให้ถูกต้อง แต่จะต้องเข้าใจความหมายให้ถูกต้องเสียก่อน ต้องมองกว้าง คิดไกล และ ใฝ่สูง ในความหมายดังที่ได้กล่าวมาแล้ว

อันนี้เป็นสิ่งที่เราจะต้องนำมาย้ำกัน นี่คือปัญหาสังคมไทยที่จะต้องแก้ไข และคือเป้าหมายที่จะต้องทำให้ได้

เมื่อรู้ว่าสังคมไทยเป็นอย่างนี้ และควรจะทำให้เป็นไปตามเป้าหมายอย่างนั้นแล้ว

เราจะดำเนินการแก้ไขอย่างไร



(มีต่อ ๑๑)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ก้อนดิน
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 07 ก.ค. 2004
ตอบ: 623

ตอบตอบเมื่อ: 13 ก.พ.2007, 9:39 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอสรุปความที่กล่าวมาเสียก่อนว่า เวลานี้สังคมไทยเรามีความสับสน และพร่ามัวมาก ต่างคนต่างไปคนละทิศละทาง

แม้แต่ที่บอกว่านับถือพระพุทธศาสนา ก็ต้องพูดว่า นับถือไปอย่างนั้นเอง นับถือเพียงถ้อยคำที่พร่ำแต่วาจา วาจาก็พร่ำไปว่าฉันนับถือพระพุทธศาสนา แต่เอาจริงแล้วเป็นการนับถือที่ไม่แท้ไม่จริง เอาอะไรก็ไม่รู้มานับถือ

ความพร่าความมัวความสับสนนี้เกิดจากการที่ไม่มีอะไรเป็นจุดหมายสูงสุดของชีวิต และไม่มีอะไรเป็นจุดหมายรวมของชาติของสังคมใช่หรือเปล่า

เราขาดอุดมการณ์ที่จะเป็นที่รวมแห่งความคิดจิตใจ เราขาดอุดมธรรมที่จะนำจิตสำนึกของสังคมและของชาติ

เลิกเสียที ความสับสนพร่ามัว และความขลาดกลัวที่เหลวไหล

แน่วแน่ ชัดเจน มั่นใจ คือทางออกอันเดียวของสังคมไทย

อุดมธรรมที่จะนำจิตสำนึกของสังคมนี้มีความสำคัญมาก เวลานี้เรามีอุดมธรรมนั้นหรือเปล่า เราพูดกันว่า ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ๆ บอกว่านี้เป็นอุดมการณ์ของเรา แต่เรามีความชัดเจนในอุดมการณ์นี้หรือเปล่า

ความจริง ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ยังไม่ใช่อุดมการณ์สูงสุด อุดมการณ์สูงสุดจะต้องเป็นหนึ่งเดียว หมายความว่า ชาติ ศาสน์ กษัตริย์นั้น จะต้องอิงอยู่บนอุดมการณ์สูงสุดนั้นอีกทีหนึ่ง และนั่นคืออุดมธรรม อุดมธรรมนั้นจะเป็นแกนร้อยชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ทั้งสามให้เป็นหนึ่งเดียวอีกทีหนึ่ง จะเป็นสามอยู่อย่างนี้ไม่ได้ ไม่ชัดเจน มันพร่า

ฉะนั้น ต้องถือว่าสิ่งนี้คนไทยขาดมาก คือการขาดอุดมการณ์สูงสุด ขาดอุดมการณ์ที่เป็นศูนย์รวมแห่งความคิดจิตใจที่เป็นหนึ่งเดียว และให้เป็นหนึ่งเดียว คือขาดอุดมธรรมที่จะนำจิตสำนึกของสังคมหรือของชาติไทย

เราพูดว่า พุทธศาสนานี้คนไทยส่วนใหญ่นับถือ เป็นศาสนาของคนไทย หรือเป็นศาสนาประจำชาติ แต่หลายคนจะแย้งว่า คนไทยนับถือพุทธศาสนา แต่ทำไมประเทศไทยจึงเป็นอย่างนี้ คือเต็มไปด้วยปัญหาอย่างที่พูดมาเมื่อกี้นี้ ที่ว่าสังคมของเราเด่นในการมีปัญหาที่ต่ำทรามของโลก คนไทยมีชื่อเป็นอันดับต้นๆ ในเรื่องที่เป็นความต่ำทรามเหล่านั้น แล้วประเทศไทยเรานับถือพุทธ ทำไมประเทศไทยจึงเป็นอย่างนี้เล่า

หลายคนจะมาติเตียนพุทธศาสนา คล้ายๆ จะให้พระพุทธศาสนารับผิดชอบ เป็นทำนองว่า เพราะนับถือพุทธศาสนาคนไทยจึงแย่ คนไทยจึงตกต่ำ ถ้าแค่นับถือกันธรรมดายังแย่อย่างนี้ ยิ่งไปบัญญัติเป็นศาสนาประจำชาติเข้าด้วยจะมิยิ่งแย่ใหญ่หรือ คนไทยนับถือพุทธศาสนา ขนาดที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญยังต่ำทรามขนาดนี้แล้ว

ถ้าบัญญัติจะขนาดไหน

ถ้าจะมาติเตียนกันอย่างนี้ ก็จะต้องให้ใช้ปัญญาพิจารณากันสักหน่อย ขอถามสัก ๓ อย่างว่า

๑. คนไทยนับถือพุทธศาสนากันจริงหรือเปล่า หรือเป็นอย่างที่ว่าเมื่อกี้ คือนับถือเพียงถ้อยคำ พร่ำแต่วาจา ขอให้สำรวจกันให้จริง

๒. คนไทยรู้พุทธศาสนากันจริงหรือเปล่า ขอให้สำรวจดูซิว่า คนไทยรู้พุทธศาสนาแค่ไหน คนไทยทั่วไปตอบว่าอะไรเป็นพุทธศาสนา

๓. คนไทยมีความตั้งใจจริงไหมที่จะเอาพุทธศาสนามาใช้ในการแก้ปัญหาหรือสร้างสรรค์สังคม และได้เอามาใช้หรือเปล่า

ถ้าได้ทำตามนี้แล้วสิ เราจึงจะบอกว่าพระพุทธศาสนาจะต้องรับผิดชอบ ถ้าคนไทยนับถือพุทธศาสนาจริง รู้พุทธศาสนา และได้มีความตั้งใจที่จะนำเอาพระพุทธศาสนามาใช้ในการแก้ปัญหาสังคมและสร้างสรรค์ประเทศชาติ ถ้าได้ปฏิบัติอย่างนี้แล้วคนไทยยังแย่ จึงมีความชอบธรรมที่จะพูดว่าพุทธศาสนาทำให้ประเทศไทยต่ำทรามอย่างนี้ และเราจะยอมรับ แต่ขอให้ตอบคำถาม ๓ ข้อนี้ให้ได้เสียก่อน

เพราะฉะนั้น จะต้องมีความชัดเจนในเรื่องเหล่านี้ ถ้าจะให้พุทธศาสนารับผิดชอบที่ว่าประเทศไทยนี้นับถือพุทธศาสนาแล้วเจริญหรือเสื่อม พุทธศาสนาจะต้องเป็นอุดมการณ์ของชาติ แล้วคนไทยได้ทำอย่างนั้นหรือไม่ ถ้าได้ทำอย่างนั้นแล้วไม่สำเร็จ ค่อยว่ากัน

เพราะฉะนั้น ตอนนี้จึงมีปัญหาว่า ในท่ามกลางความพร่ามัวของสังคมไทย ที่คนไทยกระจัดกระจายสับสน ไม่มีอะไรชัดเจน ไม่มีจุดรวมใจ ไม่มีเป้าหมายสูงสุด อย่างที่เป็นอยู่นี้ เราจะเอาอย่างไร เราจะปล่อยสังคมไทยให้โทรมและทรามอยู่อย่างนี้ เราจะอยู่กันไปวันๆ ต่างคนต่างหาผลประโยชน์ของตัวไปคนละทิศละทาง ปล่อยให้ปัญหาร้ายๆ ทั้งหลายโหมกระพือรุมล้อมเข้ามาอย่างนี้หรือ หรือจะพยายามแก้ไข อันนี้คือคำถาม

และถ้าจะแก้ไข เห็นด้วยไหมที่จะต้องมีแนวทางในการแก้ไขอย่างที่กล่าวมานั้น คือจะต้องมีจุดหมายสูงสุดเป็นที่รวมใจ หรือมีสิ่งที่ยึดเป็นอุดมการณ์อย่างที่กล่าวมา แล้วเอาสิ่งนี้มาเป็นแกนให้แก่อุดมการณ์ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ที่เราพูดถึงกันอย่างพร่ามัวนั้นอีกชั้นหนึ่ง ถ้าไม่มีแกนอันนี้ แม้แต่อุดมการณ์ ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ก็จะตื้อ ไม่แจ่มจ้า

เวลานี้ใครตอบได้ว่ามีความชัดเจนในเรื่องนี้

หรือพูดกันไปอย่างนั้นเอง



(มีต่อ ๑๒)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ก้อนดิน
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 07 ก.ค. 2004
ตอบ: 623

ตอบตอบเมื่อ: 15 ก.พ.2007, 8:01 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อนึ่ง สิ่งที่เราจะเอามาเป็นอุดมธรรมนำจิตสำนึกของสังคม หรือเป็นอุดมการณ์ของชาตินี้ จะต้องมีลักษณะดีที่จำเป็นประกอบด้วย อย่างน้อยอุดมการณ์นั้นจะต้องมีลักษณะที่เอื้อเฟื้อ ไม่บีบคั้นกลุ่มชนอื่นผู้มีลัทธิศาสนาที่นับถือต่างออกไป สิ่งสำคัญที่พึงย้ำคือ นอกจากจะไม่เบียดเบียน ไม่บีบคั้นแล้ว ยังเกื้อกูลด้วย

ลักษณะที่ไม่บีบคั้นไม่เบียดเบียนต่อลัทธิความเชื่อถืออย่างอื่นนี้ เป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะถ้าขาดลักษณะนี้เสียแล้ว ประโยชน์ที่จะได้ก็จะกลายเป็นเสียไป หรือมิฉะนั้นก็จะไม่คุ้ม ผลเสียไม่ใช่แค่แตกแยก แต่จะเป็นการทำร้ายเบียดเบียนข่มเหงกันต่างหาก

ถ้าลัทธิศาสนาที่มีลักษณะแบ่งแยก รังเกียจเดียดฉันท์ผู้อื่น และบังคับศรัทธา ได้รับการยกขึ้นเป็นอุดมการณ์ของชาติ สังคมก็จะสูญเสียเสรีภาพในการนับถือศาสนา และอาจจะถึงกับเกิดการรบราฆ่าฟันกันเพราะลัทธิศาสนาเป็นเหตุ

พระพุทธศาสนามีลักษณะที่จำเป็นข้อนี้แน่นอน คือมีความใจกว้าง ไม่แบ่งแยก ไม่จำกัดตัว ไม่บังคับศรัทธา แต่สนับสนุนเสรีภาพทางศาสนา โดยเฉพาะถือหลักเสรีภาพในการใช้ปัญญา ถ้าแม้ได้รับการยกขึ้นเป็นอุดมการณ์ของชาติ ก็ไม่เป็นเหตุให้กลายเป็นการได้ประโยชน์อย่างหนึ่ง แต่เป็นโทษอีกด้านหนึ่ง คือมิใช่ว่ามาช่วยแก้ปัญหาความตกต่ำเสื่อมโทรมของสังคม แต่กลับทำให้กลุ่มคนในสังคมเบียดเบียนข่มเหงทำร้ายกัน

ในทางตรงข้าม เมื่อพระพุทธศาสนาเป็นอุดมการณ์ของชาติ กลับจะทำให้ลัทธิศาสนาต่างๆ ดำรงอยู่ได้ด้วยดี ทั้งในแง่ของบรรยากาศที่มีเสรีภาพในการนับถือ และในแง่ที่ได้รับความเอื้อเฟื้อเกื้อกูล แทนที่จะได้อย่างหนึ่งเสียอย่างหนึ่ง ก็กลายเป็นได้สองชั้น

พุทธศาสนามีลักษณะที่ว่านี้ปรากฏให้เห็นชัด ไม่ว่าจะโดยหลักการก็ตาม หรือโดยประวัติศาสตร์ก็ตาม ขอให้ใช้ปัญญาตรวจสอบและพิจารณาด้วยใจเป็นธรรม ว่าเป็นความจริงตามที่ว่านี้หรือไม่

จำเป็นที่สังคมทั้งหมดจะต้องมีอุดมธรรมหรืออุดมการณ์ร่วมสักอย่างหนึ่ง ถ้าเรามีความคิดชัดและมั่นใจในความจำเป็นและประโยชน์แล้ว ก็ไม่ควรจะมัวกลัวอยู่ สิ่งที่ควรกลัวไม่กลัว กลับไปกลัวสิ่งที่ไม่ควรกลัว เช่น กลัวว่าจะมีการแตกแยก กลัวอย่างนั้นอย่างนี้

สิ่งที่ควรกลัวก็คือสังคมที่จะเสื่อมโทรม ที่จะไม่รู้จักพัฒนา ที่ย่ำแย่มีแต่ปัญหาอย่างที่เป็นอยู่นี้ ที่พ่อแม่ขายลูกไปเป็นโสเภณี ที่คนติดเอดส์กันมากมาย ที่สถาบันต่างๆ ในสังคมฟอนเฟะ

ประชาชนหวังพึ่งไม่ได้ อย่างนี้ไม่กลัวหรือ

สิ่งที่ควรกลัวไม่กลัว กลับไปกลัวต่อสิ่งที่จะเอามาใช้แก้ปัญหา แล้วไม่เอาสิ่งที่จะแก้ปัญหามาใช้ จะว่าสังคมไทยนี้มีมิจฉาทิฏฐิหรือเปล่า

เพราะฉะนั้น จะต้องคิดกันอย่างจริงจังในเรื่องของหลักหรือตัวของสิ่งที่จะใช้แก้ปัญหา จริงไหมที่ว่าจะต้องมีอะไรที่เป็นอุดมการณ์ของสังคม ที่ว่าจะต้องมีจุดหมายสูงสุดของชีวิตและสังคม

ถ้าจำเป็นแล้วก็ต้องคิดกันให้ชัด

เมื่อคิดได้แล้ว ถ้าจะมีปัญหาที่เป็นห่วงกันอยู่บ้าง เช่น ความแตกแยกแบ่งพวก หรือการบีบคั้นกัน ก็เห็นชัดอยู่แล้วว่า เรื่องนี้ไม่เป็นปัญหาในกรณีของพระพุทธศาสนา

เพราะฉะนั้น จึงขอให้คิดกันให้ชัดว่า ที่พูดมานี้เป็นจริงหรือไม่ ถ้าไม่ยอมแก้ปัญหาเพราะมัวกลัวสิ่งที่จะแก้ปัญหา ก็ต้องพูดว่ากลัวสิ่งที่ไม่ควรกลัว ส่วนสิ่งที่ควรกลัว คือปัญหาความเสื่อมโทรมของสังคม กลับไม่กลัว นี่เราเป็นอะไรกัน

ควรพูดย้ำไว้อีกครั้งหนึ่งว่า สำหรับพระพุทธศาสนานั้น การพิจารณาว่าควรบัญญัติให้เป็นศาสนาประจำชาติหรือไม่ ขึ้นอยู่กับเหตุผลอย่างอื่น ไม่ใช่เหตุผลเกี่ยวกับการกลัวความแตกแยก หรือกลัวชาวพุทธจะไปบีบคั้นข่มเหงผู้อื่น เพราะในแง่นี้ผลจะกลับตรงข้าม

กลายเป็นว่า ถ้าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ จะกลับเป็นการช่วยสร้างความอยู่รอดปลอดภัยให้แก่ลัทธิศาสนาอื่นด้วยซ้ำ ต้องย้ำว่า ความจริงในเรื่องนี้ ถ้าใครยังไม่ชัด ขอให้ไปศึกษาให้แจ่มแจ้ง ไม่ควรจมอยู่ในความไม่รู้หรือคาดคิดเอาเอง

ถ้ายังจะยกเหตุผลเกี่ยวกับการกลัวความแตกแยกบีบคั้นทางศาสนามาเป็นข้อถกเถียงในกรณีนี้ จะกลายเป็นการแสดงถึงการขาดความรู้ในเรื่องศาสนา และความไม่รู้จักพระพุทธศาสนา ทั้งในด้านหลักการ และในด้านประวัติศาสตร์ ความกลัวแง่นี้ ควรตัดไปได้เลย ควรจะพิจารณาเหตุผลอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์


สังคมไทย เลื่อนลอยกันต่อไป
หรือเด็ดเดี่ยวด้วยจิตสำนึกที่จะแก้ไข


อาตมาได้พูดแล้วว่า ไม่สนใจเรื่องการบัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติหรือไม่ แต่สนใจว่าจะเอาพุทธศาสนามาใช้แก้ปัญหาและสร้างสรรค์สังคมไทยของเราได้อย่างไร

แต่ปัญหามันโยงเข้ามาว่า ในการที่จะแก้ปัญหาของสังคมและสร้างสรรค์ประเทศชาตินั้น ถ้าจะทำให้สำเร็จจะต้องมีอะไรอย่างหนึ่งที่จะยึดเป็นอุดมการณ์สูงสุด หรือจะต้องเอาหลักอะไรสักอย่างหนึ่งมาสร้างมานำสังคมนี้ให้มีจิตสำนึกต่อจุดหมายร่วมกัน ซึ่งขอเรียกว่าเป็น "อุดมธรรมนำจิตสำนึกของสังคม"

เรื่องก็เลยมาพันกันตรงนี้



(มีต่อ ๑๓)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ก้อนดิน
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 07 ก.ค. 2004
ตอบ: 623

ตอบตอบเมื่อ: 20 ก.พ.2007, 8:27 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า อาตมาไม่สนใจเรื่องการบัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติหรือไม่ จุดที่สนใจก็คือว่า จะเอาพุทธศาสนามาใช้แก้ปัญหาของสังคมและสร้างสรรค์ประเทศชาตินี้อย่างไร แต่แล้วปัญหานี้มันโยงไปสู่อีกปัญหาหนึ่งว่า ในการที่จะแก้ปัญหาสังคมและสร้างสรรค์ประเทศชาติได้อย่างนั้น มันกลายเป็นเรื่องจำเป็นที่ว่าเราจะต้องมีอะไรสักอย่างหนึ่งมาเป็นอุดมการณ์ที่รวมความคิดจิตใจของคนในชาติ และเป็นอุดมธรรมที่จะมานำจิตสำนึกของสังคมนี้ เราจึงจะสามารถแก้ปัญหาของสังคมและนำชาติให้ก้าวหน้างอกงามไปได้สำเร็จ

ถ้าเราจะต้องบัญญัติเอาพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ก็น่าจะทำด้วยเหตุผลนี้ เพราะมันเป็นความจำเป็น ไม่มีทางอื่น ถ้าขืนปล่อยอยู่อย่างนี้ สังคมไทยจะเสื่อมโทรมและต่ำทรามลงไปตามลำดับ แล้วมีทางอื่นไหมที่จะแก้ปัญหา

ฉะนั้น ในตอนนี้ จะขอตั้งเป็นคำถาม ๒ ข้อ ให้ช่วยกันตอบ และขอให้ตอบโดยใช้ปัญญา ด้วยความคิดพิจารณา และด้วยความเป็นกลางที่มีใจไม่เอนเอียง

ข้อที่ ๑ ถามว่า จำเป็นไหม และถึงเวลาหรือยัง ที่ชาติไทยสังคมไทยนี้จะต้องมีอุดมการณ์สูงสุดที่รวมความคิดจิตใจของคนในชาติ และจะต้องมีสิ่งที่เรียกว่าอุดมธรรมนำจิตสำนึกของชีวิตและสังคม เราจะต้องมีสิ่งนี้หรือยัง หรือจะอยู่กันไปวันๆ เรื่อยๆ เปื่อยๆ ไปอย่างนี้ ปล่อยให้ปัญหาความเลวร้ายต่างๆ รุมล้อมรุกไล่สังคมต่อไป และปล่อยชีวิตปล่อยสังคมไปตามกระแสวัฒนธรรมตะวันตกที่เราตามมาอย่างไม่รู้ไม่เข้าถึงไม่เท่าทันนั้น

ข้อที่ ๒ ถามว่า ถ้าจำเป็นและถึงเวลาที่จะต้องมี อะไรเหมาะสมที่สุดที่จะมาเป็นอุดมการณ์สูงสุด และเป็นอุดมธรรมที่จะนำจิตสำนึกของสังคมนี้ ด้วยเหตุผลและปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ที่กล่าวมานั้น

อันนี้ขอตั้งเป็นคำถาม และขอให้ตอบด้วยใจบริสุทธิ์ยุติธรรม โดยมีใจเป็นกลาง และโดยใช้ปัญญาจริงๆ

ทีนี้ ขอถามคำถามย่อย ที่สืบเนื่องจากคำถามใหญ่นั้น ต่อไปอีกว่า

๑. อุดมการณ์อะไรที่คนไทยยึดถือแล้ว จะช่วยให้ประเทศไทยนี้มีอะไรที่จะให้แก่ชาวโลก ที่จะช่วยสร้างสรรค์อารยธรรมของโลก และทำให้คนไทยนี้มีความเป็นผู้นำได้บ้าง คือมีอะไรที่จะให้แก่ผู้อื่น

ไม่ใช่จะเป็นผู้รับอย่างเดียว

๒. อุดมการณ์อะไรที่เรายึดถือแล้วจะได้ผลในทางสร้างสรรค์ พร้อมทั้งไม่กดขี่บีบคั้นใครอื่นด้วยอุดมการณ์หลายอย่าง ถ้ายึดถือขึ้นมาแล้ว จะทำให้เกิดการบีบคั้นเบียดเบียนผู้อื่น

แต่ในโลกนี้ ขอให้คิดกัน ถามทั้งโลกเลย ขอให้ตอบด้วยใจเป็นธรรม และด้วยปัญญาพิจารณาให้ชัดเจนว่า อุดมการณ์ที่ยึดถือแล้ว จะไม่เป็นเหตุให้เกิดการเบียดเบียนบีบคั้นชนกลุ่มอื่นเลย และมีทางที่จะเกื้อกูลด้วย อย่างน้อยเป็นอุดมการณ์ที่ไม่เปิดช่องให้มีการเบียดเบียนบีบคั้นผู้อื่น หรือยากเหลือเกินที่จะไปเบียดเบียนใครได้ เพราะไม่มีคำสอนหรือหลักการที่จะยกขึ้นมาเป็นข้ออ้างให้ทำอย่างนั้นได้

อุดมการณ์อะไรที่ยึดถือแล้วจะเกิดผลอย่างนี้

ขอถามไว้เท่านี้ รวมความว่าเป็นคำถามใหญ่ ๒ ข้อ และคำถามย่อย ๒ ข้อ

อาตมภาพมาพูดวันนี้ ได้บอกแล้วว่าเป็นกลาง และไม่ได้สนใจในการรณรงค์ แต่สนใจในเรื่องที่ว่า

๑. ทำอย่างไรเราจึงจะเอาพระพุทธศาสนามาช่วยแก้ปัญหาของสังคมประเทศชาติตลอดจนของโลกทั้งหมดให้ได้ผล พร้อมกับที่มองว่า สังคมไทยของเรามีปัญหาอะไร และมีความเสื่อมโทรมอย่างไรบ้าง

๒. ได้คิดเห็นว่า ถึงเวลาแล้วที่จะต้องแก้ปัญหากันอย่างจริงจัง และเมื่อถึงเวลาสำคัญอย่างนี้คนไทยเรากลับไม่มีความชัดเจน มีแต่ความพร่ามัวสับสน แล้วก็พูดอะไรกันไปต่างๆ ที่ไม่ทำให้มีอะไรชัดเจนขึ้นมาสักอย่าง มีแต่ทำให้พร่าสับสนยิ่งขึ้น แล้วก็กลัวในสิ่งที่ไม่ควรกลัวอย่างที่ว่าเมื่อกี้

อะไรที่เป็นปัญหา อะไรที่ควรเอามาใช้แก้ปัญหา ซึ่งควรจะพูดกันให้ชัดเจนก็ไม่กล้าพูด กลัวทางโน้นกลัวทางนี้ ก็พูดกันมาให้มันชัดเจนสิ แล้วถ้ามันเป็นสิ่งที่จำเป็น มันดีจริงๆ เราก็เอามาใช้มาปฏิบัติกัน มีปัญหาพ่วงมาเล็กๆ น้อยๆ มีทางออกได้ ไม่ตัน ก็เดินหน้าไป ไม่มัวหวั่นไหว ควรจะมีความชัดเจนในเรื่องนี้สักที

แม้แต่ที่ว่ารักชาติ ความคิดก็พร่ามัวตื้อตัน รักสำหรับไว้ทะเลาะกัน ไม่มีความหมาย

ในเมื่อชาวพุทธเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศชาติ ถ้าคนส่วนใหญ่พร่ามัวสับสน สังคมจะเดินหน้าไปดีได้อย่างไร



(มีต่อ ๑๔)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ก้อนดิน
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 07 ก.ค. 2004
ตอบ: 623

ตอบตอบเมื่อ: 22 ก.พ.2007, 7:06 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อย่าปล่อยสังคมไทยให้พร่ามัวอยู่อย่างนี้
จะเอาอย่างไร ก็ให้จริงสักอย่าง


อาตมภาพต้องขออภัยด้วยที่ไปอ่านเหตุผลในการที่จะบัญญัติพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไว้ในรัฐธรรมนูญ ดังที่ปรากฏในเอกสารการประชุมที่ถวายไปนั้นแล้ว ก็ไม่ค่อยเห็นด้วย ต้องขออภัยท่านผู้ร่างด้วยว่าอย่าถือสากัน จะขอนำมาอ่านไว้หน่อย มีดังนี้

"...ยังมีคนไทยอีกหลายคน รวมทั้งคนไทยที่เป็นชาวพุทธที่มีความรู้และตำแหน่งสูง ไม่ยอมพูดว่า พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ...จึงมีความจำเป็นที่จะต้องบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญให้แน่ชัดว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ"

เรามีเหตุผลแค่นี้หรือ ที่จะเอาพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ เพื่อจะให้คนทุกคนต้องพูดอย่างนี้ หรือแม้แต่ตอนท้ายก็จะพูดในทำนองเดียวกัน ในตอนว่าด้วยผลที่คาดว่าจะได้รับ ก็บอกว่า

"...เป็นการยอมรับทั้งทางพฤตินัยและนิตินัยว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทย จะได้ไม่เกิดความลังเล ความคลางแคลงใจ และการโต้เถียงกันว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทยจริงหรือไม่..."

อาตมภาพว่าแค่นี้มันไม่น่าจะเป็นเหตุผลเลย และไม่น่าจะมาหวังผลเพียงแค่นี้เลย

อย่างที่กล่าวแล้วว่า พระพุทธศาสนาไม่ใช่มีเพื่อตัวเอง ถ้าจะทำ เราไม่ได้ทำเพื่อพระพุทธศาสนานะ เราจะต้องมีความคิดว่า ที่ทำนี้เราทำเพื่อสังคมไทยและเพื่อมนุษยชาติ เราจะเอาพระพุทธศาสนามาใช้เพื่อช่วยแก้ปัญหาสังคมที่มันเสื่อมโทรมอยู่อย่างนี้ และเพื่อสร้างสรรค์สังคมประเทศชาติให้เจริญงอกงามไปในทางที่ถูกที่ดี

และไม่ใช่แค่ประเทศไทยหรือสังคมไทยเท่านั้น แต่เราทำเพื่อจะได้ช่วยแก้ปัญหาของโลก เราจะได้เอาสิ่งที่เรามีอยู่ให้มาช่วยสร้างสรรค์อารยธรรมของมวลมนุษย์ด้วย อันนี้เป็นจุดหมายที่แท้จริง

จุดสำคัญอยู่ที่ว่า ถ้าเราเอาพระพุทธศาสนาขึ้นมาเป็นอุดมการณ์ที่เป็นจุดรวมใจรวมความคิดของคนในชาติ ที่ผู้นับถือพุทธศาสนาเป็นคนส่วนใหญ่อยู่แล้วนี้ หรือเอาพุทธศาสนามาเป็นอุดมธรรมนำจิตสำนึกของสังคมนี้ มันจะช่วยให้เราบรรลุจุดหมายนี้ได้ไหม กล่าวคือจุดหมายในการที่จะแก้ปัญหาสังคมไทย และในการที่จะช่วยแก้ปัญหาของสังคมโลก ทำให้ประเทศไทยนี้มีส่วนสร้างสรรค์อารยธรรมของโลกได้ด้วย

อาตมาอยากให้เบนความสนใจมาสู่จุดนี้

จึงได้ตั้งคำถามอย่างที่กล่าวมาแล้ว

เพราะฉะนั้น จะขอทวนคำถามอีกครั้งหนึ่ง ขอตั้งคำถามเพียง ๒ ข้อเท่านั้น คือ

ข้อ ๑ ถามว่า มีความจำเป็นไหม และถึงเวลาหรือยัง ที่ชาติไทย สังคมไทย จะต้องมีอุดมการณ์ที่เป็นจุดรวมความคิดจิตใจของคนในชาติ และมีจิตสำนึกของชีวิตและสังคมเสียที จำเป็นไหม และถึงเวลาหรือยัง

ข้อ ๒ ถามว่า ถ้าจำเป็นต้องมี และถึงเวลาที่จะต้องมีแล้ว อะไรเหมาะที่สุด ที่จะมาเป็นอุดมการณ์และเป็นเครื่องนำจิตสำนึกนั้น

ต่อจากนั้นมีคำถามย่อยอีก ๒ ข้อ คือ

๑. อุดมการณ์อะไร หรือสิ่งใดที่สังคมไทยยึดถือเป็นอุดมการณ์แล้ว จะทำให้ประเทศไทยเรานี้มีอะไรที่จะให้แก่โลกได้บ้าง และซึ่งจะทำให้สังคมไทยเปลี่ยนภาวะของตนจากความเป็นผู้รับและเป็นผู้ตาม ไปสู่ความเป็นผู้นำและเป็นผู้ให้

๒. อุดมการณ์อะไร ที่ยึดถือแล้วจะได้ผลในการแก้ปัญหาและสร้างสรรค์ โดยที่พร้อมกันนั้นก็ไม่กดขี่บีบคั้นใครอื่น แต่กลับมีผลในทางช่วยเหลือเกื้อกูลด้วย อย่างน้อยก็เป็นอุดมการณ์ที่เปิดช่องให้มีการบีบคั้นเบียดเบียนผู้อื่นได้ยากที่สุดหรือน้อยที่สุด ในโลกนี้มีอุดมการณ์และอุดมธรรมอะไรที่มีลักษณะอย่างนี้

ที่ว่ามานี้เป็นการพูดกันในเชิงปัญญา และเป็นการเชิญชวนให้พูดกันด้วยใจเป็นธรรม ไม่ต้องเอนเอียงเข้าข้างไหน แต่ให้ใช้ปัญญาพิจารณาด้วยใจเป็นกลางว่า คำถามที่ยกขึ้นมาตั้งนี้ เมื่อตอบด้วยความรู้สึกที่แท้บริสุทธิ์ และได้ใช้ปัญญาอย่างสูงสุดแล้ว คำตอบจะออกผลมาเป็นอย่างไร ขอให้ทุกท่านไปคิดพิจารณา

ถ้าจะบัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ก็น่าจะทำด้วยเหตุผลนี้ มิใช่ด้วยเหตุผลอย่างอื่น

พูดอีกอย่างหนึ่งว่า ถ้าพิจารณาด้วยปัญญาที่ชัดเจน และด้วยใจเป็นกลางแล้ว คำตอบออกมาว่า สิ่งนั้นคือพระพุทธศาสนา การบัญญัติให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ก็ถึงเวลาที่สมควร

แต่ก็ต้องย้อนกลับมาถามท่านผู้นำชาวพุทธทั้งหลายคือพวกเรากันเองนี้ว่า ชาวพุทธมีความชัดเจนแน่แล้วหรือในอุดมการณ์ของพระพุทธศาสนา และพร้อมแล้วหรือที่จะนำเสนออุดมธรรมของพระพุทธศาสนา ที่จะมาเป็นแกนนำในการแก้ปัญหาของสังคมไทย และสร้างสรรค์อารยธรรมของมนุษยชาติ

อาตมภาพได้พูดมาเป็นเวลาพอสมควรแล้ว ขออนุโมทนาทุกท่าน ซึ่งขอถือว่าเป็นชาวพุทธที่เป็นผู้นำ ซึ่งมีความรับผิดชอบต่อพระพุทธศาสนา และสังคมไทยส่วนรวม ตลอดจนประโยชน์สุขของมนุษยชาติทั้งหมด

อาตมภาพเข้าใจว่าทุกท่านมีเจตนาดี เป็นกุศลเจตนา เพราะฉะนั้น เราคงจะได้มาช่วยกันในการที่จะแก้ปัญหาของสังคมไทย และสร้างสรรค์สังคมนี้ให้เจริญก้าวหน้าไปสู่สันติสุข

และช่วยกันทำให้โลกนี้เป็นโลกแห่งความร่มเย็นเป็นสุขด้วย

ขอให้ทุกท่านที่มีกุศลเจตนานี้ จงประสบแต่จตุรพิธพรชัย ด้วยอานุภาพคุณพระรัตนตรัย จงมีความร่มเย็นเป็นสุข เจริญงอกงามในธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

โดยทั่วกันทุกท่าน ตลอดกาลนาน



(มีต่อ ๑๕)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ก้อนดิน
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 07 ก.ค. 2004
ตอบ: 623

ตอบตอบเมื่อ: 27 ก.พ.2007, 10:42 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เมื่อ ๓๐๐ กว่าปีก่อนโน้น บาทหลวงฝรั่งเศสชื่อว่า ฌอง เดอบูร์ เข้ามาเมืองไทยสมัยอยุธยา ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เห็นอัธยาศัยไมตรีของพุทธศาสนิกชนคนไทย ที่แสดงออกต่อคนต่างชาติต่างศาสนาแล้ว เกิดความประทับใจ ได้เขียนจดหมายเหตุยืนยันไว้หนักแน่น ซึ่งกลายเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่า ไม่มีประเทศไหนอีกแล้วในโลก ที่คนมีเสรีภาพทางศาสนาเท่ากับในประเทศสยาม

(ในเมืองฝรั่งเศสของเขาเอง ตลอดแผ่นดินยุโรปจนแทบทั่วเอเชีย เวลานั้น มีแต่การรบราฆ่าฟันห้ำหั่นบีฑาบีบคั้นกันด้วยเรื่องศาสนา)

แม้ถึงบัดนี้ ในยุครัตนโกสินทร์ แผ่นดินรัชกาลที่ ๙ คำพูดของบาทหลวง ฌอง เดอบูร์ ก็ยังเป็นความจริงอยู่เหมือนเดิม

คำพูดของบาทหลวง ฌอง เดอบูร์ ที่บันทึกไว้ใน จดหมายเหตุการเดินทางของพระสังฆราชแห่งเบริต ว่าดังนี้

"ข้าพเจ้าไม่เชื่อว่าจะมีประเทศใดในโลก ที่มีศาสนาอยู่มากมาย และแต่ละศาสนาสามารถปฏิบัติพิธีการของตนได้อย่างเสรีเท่ากับประเทศสยาม"

ความจริงที่ว่านี้ คนไทยในปัจจุบันมองเห็นหรือไม่ และจะรู้เข้าใจว่าเป็นจริงอย่างไร ก็อยู่ที่ว่า คนไทยเหล่านั้นรู้จักสังคมของตนเอง และรู้จักสังคมอื่นในโลกหรือไม่

สภาพที่เป็นจริงอย่างนี้ ไม่ควรจำกัดอยู่แค่ประเทศสยามเท่านั้น แต่ควรแผ่ขยายไปให้มีเป็นสากลทั่วทั้งโลก

อย่างไรก็ตาม ตามสภาพที่ปรากฏในปัจจุบัน ภาวะแห่งสันติภาพอย่างนั้นมิได้ขยายออกไป มีแต่ทำท่าว่าจะหดตัวแคบเข้าทุกทีแม้แต่ในประเทศสยามนี้ ก็ไม่รู้ว่าจะรักษาความดีงามที่เป็นจุดเด่นนี้ไว้ให้ยืนยาวต่อไปในอนาคตได้นานเท่าใด

ถ้าต้องการให้ดินแดนสยามยังมีความดีงาม อย่างที่บาทหลวงฝรั่งเศสชื่นชมด้วยความแปลกประหลาดอัศจรรย์ใจตั้งแต่ครั้งก่อนโน้นสืบต่อไป และถ้าปรารถนาจะให้โลกนี้มีสันติสุข โดยการที่มนุษย์ทุกชาติศาสนามีไมตรีเป็นมิตรต่อกัน . . .

คนไทยแห่งแดนสยามที่เคยได้รับความชื่นชมว่าดีเด่นในทางมีเสรีภาพที่เกื้อกูลแก่กันนี้ นอกจากมีเมตตาแล้ว จะต้องมีปัญญารู้เข้าใจ ทั้งรู้จักตัวเองและรู้จักคนชาติศาสนาอื่นๆ ให้ตรงตามความเป็นจริงด้วย จึงจะสามารถใช้เมตตานั้นสร้างสรรค์โลกแห่งความร่มเย็น ที่คนอยู่ร่วมกันเป็นสุขสันต์ขึ้นมาได้

เฉพาะอย่างยิ่งในโลกบัดนี้ ที่เต็มไปด้วยการแบ่งแยกและความรุนแรง เหมือนรอการแก้ไข คนไทยสมควรอย่างยิ่ง ที่จะคิดกันให้จริงจัง ในการสืบค้นคุณสมบัติพิเศษแห่งชาติวัฒนธรรมของตนขึ้นมาอนุวัตรพัฒนา ทำเมืองไทยสยามนี้ให้เป็นแผ่นดินแบบอย่างที่มนุษย์ทุกชาติเชื้อหมู่เหล่า

อยู่ร่วมกันด้วยน้ำใจไมตรีมีสันติสุข


>>>>> จบ >>>>>


เทียน รวมคำสอน “พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=48552
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
วีรเดช
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 01 เม.ย. 2008
ตอบ: 3

ตอบตอบเมื่อ: 01 เม.ย.2008, 2:46 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ
ได้ประโยชน์มาก ๆ เลยครับ

ขอบคุณครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง